วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สมาสกัณฑ์ ๘ - วิเสสวิธาน ค - นานาเทส

นานาเทสราสิ
กลุ่มศัพท์สมาสที่มีการเปลี่ยนรูปต่างๆ
๓๗๘. อุตฺตรปเท [1]

๓๗๘.อุตฺตรปเท
เมื่อมีบทหลัง  จะมีกระบวนการทางไวยากรณ์ที่บทหน้าเท่านั้น.

อุตฺตรปเท ปเร ปุพฺพปเท วิธิ โหตีติ อตฺโถฯ อธิการสุตฺตมิทํฯ
‘‘อพฺราหฺมโณ, อนริโย, อภิกฺขุโก, อนนฺโต’’อิจฺจาทีสุ สมาเส อุตฺตรปเท ปเร น-การสฺส อ, อน โหนฺติฯ

เพราะบทหลัง กระบวนการทางไวยากรณ์มีที่บทหน้า. สูตรนี้เป็นอธิการสูตร.
ในตัวอย่างเป็นต้นว่า อพฺรหฺมโณ ไม่ใช่พราหมณ์, อนริโย ไม่ใช่อริยะ, อภิกฺขุโก ไม่เป็นภิกษุ, อนนฺโต ไม่มีที่สุด ดังนี้ แปลง น (บทหน้า)  เป็น อ และ อน เพราะมีบทข้างหลัง.


๓๗๙. นขาทโย [2]

๓๗๙. นขาทโย.
(นข ศัพท์เป็นต้น ใช้  น - ปกติ)
นขาทโย สทฺทา นปกติกา สิชฺฌนฺติฯ

นข เป็นต้น ย่อมสำเร็จรูป โดยคง น ไว้ตามเดิม.
นาสฺส ขมตฺถีติ นโข, ‘นฺติ สุขํ, ทุกฺขญฺจ, นาสฺส กุลมตฺถีติ นกุโล, เอวํนามโก พฺราหฺมโณ, ปุมสฺส สกํ ปุํสกํ นตฺถิ ปุํสกํ เอตสฺมินฺติ นปุํสโก, ขญฺชนํ เวกลฺลคมนํ ขตฺตํ, นตฺถิ ขตฺตํ เอตสฺสาติ นกฺขตฺตํ, กํ วุจฺจติ สุขํ, ตพฺพิรุทฺธตฺตา อกํ วุจฺจติ ทุกฺขํ, นตฺถิ อกํ เอตสฺมินฺติ นาโก, สคฺโค, น มุญฺจตีติ นมุจิ, มาโรฯ น คลติ น จวตีติ นครํ, เคเห วตฺตพฺเพ อคารนฺติ สิชฺฌติฯ

ขํ คือ ความสุขและทุกข์ ของบุคคลนี้ ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า นข, ตระกูลของบุคคลนี้ ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า นกุล, คำนี้เป็นชื่อของพราหมณ์คนหนึ่ง, เพศอันมีอยู่ของชาย ชื่อว่า ปุํสกํ, เพศอันมีอยู่แห่งชาย ย่อมไม่มีในบุคคลนี้ เหตุนั้น บุคคลนี้ จึงชื่อว่า นปุํสโก,  การไปไม่ตรงทาง คือ ไปอย่างบกพร่อง ชื่อว่า ขตฺตํ, การไปไม่ตรงทาง ของธรรมชาตินี้ ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า นกฺขตฺตํ ดาว (อันเป็นธรรมชาติไปตรงทางเดินเสมอ), สุข เรียกว่า กํ, ทุกข์ เรียกว่า อกํ เพราะตรงข้ามกับ สุข ที่เรียกว่า กํ นั้น. ทุกข์ ในสถานที่นั้น ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อกํ ได้แก่ สคฺคํ สวรรค์. มาร ชื่อว่า นมุจิ เพราะความหมายว่า ย่อมไม่ปล่อย. ย่อมไม่เคลื่อนที่ ชื่อว่า นครํ, เมื่อควรกล่าวความหมายว่า เคห แต่รูปว่า อคารํ ย่อมสำเร็จใช้.

๓๘๐. นโค วา ปาณินิ[3]

๓๘๐. นโค วา ปาณินิ
(ในกรณีที่ใช้แสดงถึงสิ่งไม่มีชีวิต ให้ใช้ รูปว่า นค ก็ได้อีก ๑ รูป)
อปาณิมฺหิ นโคติ สิชฺฌติ วาฯ
น คจฺฉนฺตีติ นคา, รุกฺขาฯ นคา, ปพฺพตาฯ อคา, รุกฺขา, อคา, ปพฺพตาฯ
อปาณินีติ กิํ? อโค วสโล กิํ เตนฯ เอตฺถ อโคติ ทุคฺคตชโน, ‘วสโลติ ลามโก, ‘กิํ เตนาติ นินฺทาวจนํ, ‘‘สีเตนา’’ติปิ ปาโฐฯ เอวํ เนเก, อเนเก, เนกานิ, อเนกานิ อิจฺจาทิฯ

ในกรณีที่ใช้แสดงถึงสิ่งไม่มีชีวิต  รูปว่า นค ย่อมมีใช้อีก ๑ รูป
สิ่งที่ไม่ไปไหน ชื่อว่า นคา ได้แก่ รุกฺขา ต้นไม้. นคา ภูเขา, อคา ได้แก่ รุกฺขา ต้นไม้, อคา ปพฺพตา ได้แก่ ภูเขา.
บทว่า อปาณินิ ไม่มีชีวิต มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการไม่เป็นรูปว่า นค อีก ๑ รูป ในกรณีนี้ที่ใช้แสดงถึงสิ่งมีชีวิต ในตัวอย่างว่า อโค วสโล กิํ เตน คนยากจน ต่ำทราม ประโยชน์อะไรด้วยเจ้าเล่า?. สำหรับในตัวอย่างนี้ คำว่า อโค ได้แก่ ทุคฺคตชโน คนยากจน, วสโล ได้แก่ ลามโก ต่ำทราม, กิํ เตน เป็นคำตำหนิ, มีรูปว่า สีเตน ดังนี้ก็มี. ตัวอย่างเหล่านี้ ก็เช่นเดียวกันนี้ คือ เนเก จำนวนมาก, รูปว่า อเนก ก็มี, เนกานิ อเนกานิ รูปว่า อเนกานิ ก็มี

อิติ น-ราสิฯ
****

กลุ่มศัพท์สมาสที่มีการแปลง น บทต้น
เป็นอย่างนี้
****





๓๘๑. สหสฺส โสญฺญตฺเถ[4]

๓๘๑. สหสฺส โสญฺญตฺเถ.
เพราะบทหลัง แปลง สห เป็น ส
อญฺญปทตฺเถ สมาเส อุตฺตรปเท ปเร สหสฺส โส โหติ วาฯ
ปุตฺเตน สห โย วตฺตตีติ สปุตฺโต, สหปุตฺโตฯ
อญฺญตฺเถติ กิํ? สห กตฺวา, สห ยุชฺฌิตฺวาฯ

กรณีที่เป็นอัญญัตถสมาส เพราะบทหลัง แปลง สห  เป็น ส ได้อีก ๑ รูป.
ผู้ใด เป็นไป กับ ด้วยบุตร เพราะเหตุนั้น เขาชื่อว่า สปุตฺโต เป็นไปกับด้วยบุตร มีรูปว่า สหปุตฺโต ได้อีก ๑ รูป.
คำว่า อญฺญตฺเถ ในอัญญัตถสมาส มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการไม่แปลง สห เป็น ส กรณีที่สมาสนั้นไม่ใช่อัญญัตถสมาส (ไม่เข้าสมาสเลย) ในตัวอย่างว่า สห กตฺวา ทำ กับด้วย ... , สห ยุชฺฌิตฺวา รบ กับ ด้วย ....

๓๘๒. สญฺญายํ[5]

๓๘๒. สญฺญายํ
ถ้าเป็นชื่อ แปลง สห เป็น ส
สญฺญายํ อุตฺตรปเท ปเร สหสฺส โส โหติฯ
สห อายตฺตํ สายตฺตํ, สห ปลาสํ สปลาสํ, อครุการสฺเสตํ นามํฯ

ในกรณีที่เข้าสมาส แล้วแสดงความหมายว่าเป็นชื่อ เพราะบทหลัง  แปลง สห เป็น ส.
สห อายตฺตํ สายตฺตํ. ผู้ช่วยเหลือ, สห ปลาสํ สปลาสํ มีใบไม้, คำนี้ เป็นชื่อการไม่เคารพ.

๓๘๓. อปจฺจกฺเข

๓๘๓. อปจฺจกฺเข.
(แปลง สห เป็น ส หากรู้กันว่าเป็นสิ่งที่ไม่เห็นประจักษ์)
อปจฺจกฺเข คมฺยมาเน อุตฺตรปเท ปเร สหสฺส โส โหติฯ
เพราะบทหลัง แปลง สห เป็น ส หากรู้กันว่าเป็นสิ่งที่ไม่เห็นประจักษ์.
โอฑฺฑิยติ เอตายาติ โอฑฺฑิ, ปาโสฯ โอฑฺฑิยา สห โย วตฺตตีติ โสฑฺฑิ, กโปโตฯ อิธ โอฑฺฑิอปจฺจกฺขาฯ ‘‘สาคฺคิ กโปโต’’ติปิ ปาโฐ, ปิจุนา สห วตฺตตีติ สปิจุกา, วาตมณฺฑลิกา, สา จ อปจฺจกฺขา, อุคฺคนฺตฺวา อากาเส ปริพฺภมนฺตํ ปิจุสงฺฆาฏํ ทิสฺวา ญาตพฺพาฯ ‘‘สปิสาจา วาตมณฺฑลิกา’’ติปิ ปาโฐฯ เอวํ สรชา, วาตา, สรกฺขสี, รตฺติฯ

ชื่อว่า โอฑฺฑิ เพราะเป็นเครื่องมือที่ทำให้ติดกับดัก ได้แก่ ปาส บ่วง, สัตว์เป็นไปกับด้วยบ่วง อันชื่อว่า โอฑฺฑิ ชื่อว่า โสฑฺฑิ, ได้แก่ กโปต นกพิราบ. ในตัวอย่างนี้ คำว่า โอฑฺฑิ เป็นสิ่งที่ไม่รู้ได้โดยประจักษ์ (ไม่รู้แน่ชัดว่าอะไร). ในบางแห่ง (โมคคัลลานไวยากรณ์) เป็น สาคฺคิ กโปโต นกพิราบ อันเป็นไปกับด้วยไฟ. ธรรมชาติอันเป็นไปกับด้วยปุยนุ่น ชื่อว่า สปิจุกา เป็นไปกับด้วยปุยนุ่น, ได้แก่ ลมหมุน สิ่งนั้น ไม่เห็นได้ชัดเจนว่าอะไร แต่เมื่อเห็นกลุ่มปุยนุ่นลอยหมุนคว้างในอากาส จึงได้รู้ว่าเป็นลมหมุน. บางแห่ง (โมคคัลลานไวยากรณ์) มีรูปเป็น สปิสาจา วาตมณฺฑลิกา กระแสลมอันเป็นไปกับด้วยปีศาจ. สรชา, วาตา ลมอันเป็นไปกับด้วยฝุ่น, สรกฺขสี รตฺติ ราตรีอันเป็นไปกับด้วยนางรากษส.[6]

๓๘๔. อกาเล สกตฺถสฺส [7]

๓๘๔. อกาเล สกตฺถสฺส.
(เมื่อมีบทหลังไม่ใช่บอกกาล แปลง สห ซึ่งมีอรรถของตนเป็นประธาน เป็น ส)
สกตฺถปฺปธานสฺส สหสทฺทสฺส โส โหติ อกาเล อุตฺตรปเท ปเรฯ
เมื่อมีบทหลังไม่ใช่บอกกาล แปลง สห ซึ่งมีอรรถของตนเป็นประธาน เป็น ส.
สพฺรหฺมํ, สจกฺกํฯ
อกาเลติ กิํ? สห ปุพฺพณฺหํ, สห ปรณฺหํ, สุนกฺขตฺเตน สห ปวตฺตํ ปุพฺพณฺหํ, ปรณฺหนฺติ อตฺโถฯ

ตัวอย่างเช่น สพฺรหฺมํ พร้อมด้วยเวทย์, สจกฺกํ พร้อมด้วยจักร.
บทว่า อกาเล มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการไม่แปลง สห เป็น ส ถ้าบทหลังเป็นบทที่บอกกาล ในตัวอย่างเหล่านี้ คือ สห ปุพฺพณฺหํ พร้อมด้วยวันข้างหน้า, สห ปรณฺหํ พร้อมด้วยวันข้างหลัง. หมายความว่า วันข้างหน้า, และวันข้างหลัง เป็นไปพร้อมด้วยฤกษ์ดี.

๓๘๕. คนฺถนฺตาธิกฺเย [8]

๓๘๕. คนฺถนฺตาธิกฺเย.
(แปลง สห เป็นไปในความหมายว่า คนฺถนฺต ที่สุดแห่งคัมภีร์, และ ยิ่ง (เพิ่ม) เป็น ส เพราะบทหลัง)
คนฺถสฺส อนฺโต คนฺถนฺโตฯ ยถา ตํ กจฺจายนคนฺถสฺส อนฺโต อุณาทิกปฺโป, อธิกภาโว อาธิกฺยํ, คนฺถนฺเต จ อาธิกฺเย จ วตฺตมานสฺส สหสทฺทสฺส โส โหติ อุตฺตรปเท ปเรฯ
ตอนจบ แห่งคัมภีร์ ชื่อว่า คนฺถนฺโต เช่น อุณาทิกัปป์ เป็นตอนจบ ของคัมภีร์กัจจายนวยากรณ์. ความยิ่ง ชื่อว่า อาธิกฺย. แปลง สห เป็นไปในความหมายว่า ที่สุดแห่งคัมภีร์, และ ยิ่ง (เพิ่ม) เป็น ส เพราะบทหลัง.
สห อุณาทินายํ อธิยเตติ ตํ โสณาทิ, สกลํ กจฺจายนํ อธีเตตฺยตฺโถฯ สห มุหุตฺเตน สกลํ โชติํ อธีเต สมุหุตฺตํ, โชตีติ นกฺขตฺตสตฺถํฯ

คัมภีร์ใด อันบุคคลย่อมเรียนพร้อมด้วยอุณาทิกัปป์  เพราะเหตุนั้น คัมภีร์นั้น ชื่อว่า โสณาทิ, หมายความว่า เรียนคัมภีร์กัจจายนะทั้งสิ้น(เรียนกัจจายนไวยากรณ์จนจบถึงอุณาทิกัป). ย่อมเรียน ซึ่งตำราดูดาวทั้งสิ้น พร้อมด้วยฤกษ์ยาม ตำรานั้นชื่อว่า สมุหุตฺตํ. คำว่า โชติ คือ ตำราเกี่ยวกับดวงดาว.
อาธิกฺเย สโทณา, ขารี, สกหาปณํ, นิกฺขํ, สมาสกํ, กหาปณํฯ นิจฺจตฺถมิทํ สุตฺตํฯ

ในอรรถว่า ความยิ่ง เช่น สโทณา ขารี ๑ ขารี เพิ่มอีก ๑ ทะนาน, สกหาปณํ นิกฺขํ นิกขะ เพิ่มอีก ๑ กหาปณะ, กหาปณะ เพิ่มอีก ๑ มาสก.

๓๘๖. สมานสฺส ปกฺขาทีสุ วา [9]

๓๘๖. สมานสฺส ปกฺขาทีสุ วา.
(แปลง สมาน เป็น ส ในเพราะบทหลังมีปกฺข เป็นต้น ได้อีก ๑ รูป)
ปกฺขาทีสุ อุตฺตรปเทสุ สมานสฺส โส โหติ วา.
แปลง สมาน เป็น ส ในเพราะบทหลังมีปกฺข เป็นต้น ได้อีก ๑ รูป. ตัวอย่างเช่น
สมาโน ปกฺโข สหาโย สปกฺโข, สมาโน ปกฺโข ยสฺสาติ วา สปกฺโข, สมานปกฺโข วาฯ เอวํ สชาติ, สมานชาติ, สชนปโท, สรตฺติฯ
สหาย อันมีฝ่ายเสมอกัน ชื่อว่า สปกฺข, อีกนัยหนึ่ง ฝ่าย อันเสมอกัน ของบุคคลใด มีอยู่ บุคคลนั้น ชื่อว่า สปกฺโข มีฝ่ายเสมอกัน มีรูปว่า สมานปกโข อีก ๑ รูป. ตัวอย่างว่า สชาติ, สมานชาติ มีชาติกำเนิดเสมอกัน, สชนปโท มีแคว้นเดียวกัน, สรตฺติ อยู่ร่วมราตรีเดียวกัน ก็เช่นเดียวกันนี้.
สมาโน ปติ ยสฺสา สา สปติฯ เอวํ สนาภิ, สพนฺธุ, สพฺรหฺมจารี, สนาโมฯ อวฺหยํ วุจฺจติ นามํ, จนฺเทน สมานํ อวฺหยํ ยสฺส โส จนฺทสวฺหโย, สโคตฺโต, อินฺเทน สมานํ โคตฺตํ ยสฺส โส อินฺทสโคตฺโต, สรูปํ, สฏฺฐานํฯ หริ วุจฺจติ สุวณฺณํ, หรินา สมาโน วณฺโณ ยสฺส โส หริสฺสวณฺโณ, สสฺส ทฺวิตฺตํฯ เอวํ สิงฺคีนิกฺขสวณฺโณ, สวโย, สธโน, สธมฺโม, สชาติโยฯ
ปกฺขาทีสูติ กิํ? สมานสีโลฯ

สามี ที่เสมอกัน ของหญิงใด มีอยู่ หญิงนั้น ชื่อว่า สปติ หญิงร่วมสามี. ตัวอย่างว่า สนาภิ มีจมูกร่วมกัน, สพนฺธุ มีพวกพ้องเสมอกัน, สพฺรหฺมจารี มีพรหมจรรย์ (ศาสนา)ร่วมกัน, สนาโม มีชื่อพ้องกัน. ในตัวอย่างนี้ การเรียก ชื่อว่า นาม, ชื่อเรียก อันเสมอกันกับด้วยพระจันทร์ ของผู้ใด มีอยู่ ผู้นั้น ชื่อว่า จนฺทสวฺหโย มีชื่อเสมอด้วยพระจันทร์, สโคตฺโต มีโคตร (วงศ์ตระกูล, เชื้อสาย) เสมอกัน, โคตร อันเสมอกันกับด้วยพระอินทร์ ของผู้ใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า อินฺทสโคตฺโต มีโคตรเสมอด้วยโคตรของพระอินทร์. สรูปํ มีรูปเสมอกัน, สฏฺฐานํ มีฐานะเสมอกัน. ทองเรียกว่า หริ, ผิวพรรณ อันเสมอด้วย ทอง ของบุคคลใด มีอยู่ บุคคลนั้น ชื่อว่า หริสฺสวณฺโณ มีผิวพรรณเสมอด้วยทอง, ซ้อน ส. ตัวอย่างว่า สิงฺคีนิกฺขสวณฺโณ, มีผิวพรรณเสมอด้วยลิ่มแห่งทองคำ, สวโย มีวัยเสมอกัน, สธโน มีทรัพย์เสมอกัน, สธมฺโม มีธรรมเสมอกัน, สชาติโย มีชาติเสมอกัน ก็เช่นเดียวกันนี้.
คำว่า ปกฺขาทีสุ มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการไม่แปลง สมาน เป็น ส ถ้าไม่มีบทว่า ปกฺข เป็นต้น เป็นบทหลัง เช่นในตัวอย่างว่า สมานสีโล มีศีลเสมอกัน.

๓๘๗. อุทเร อิเย [10]

๓๘๗. อุทเร อิเย
(เพราะ อุทร-ศัพท์ อันประกอบด้วย อิย เป็นบทหลัง แปลง สมาน เป็น ส ได้อีก ๑ รูป)
อิยยุตฺเต อุทเร ปเร สมานสฺส โส โหติ วาฯ

เพราะ อุทร-ศัพท์ อันประกอบด้วย อิย เป็นบทหลัง มีความเป็น ส แห่ง สมาน - ศัพท์ บ้าง.
สมาเน อุทเร ชาโต โสทริโย, สมาโนทริโยฯ
อิเยติ กิํ? สมาโนทรตาฯ
อญฺเญสุปิ สมานสฺส โส โหติ, จนฺเทน สมานา สิรี ยสฺส ตํ จนฺทสฺสสิรีกํ, มุขํฯ เอวํ ปทุมสฺสสิรีกํ, วทนํฯ
มหาวุตฺตินา สนฺตาทีนญฺจ โส โหติ, สํวิชฺชติ โลมํ อสฺสาติ สโลมโกฯ เอวํ สปกฺขโก, สํวิชฺชนฺติ อาสวา เอเตสนฺติ สาสวา, สํวิชฺชนฺติ ปจฺจยา เอเตสนฺติ สปฺปจฺจยา, สํวิชฺชนฺติ อตฺตโน อุตฺตริตรา ธมฺมา เอเตสนฺติ สอุตฺตรา, สนฺโต ปุริโส สปฺปุริโสฯ ตถา สชฺชโน, สทฺธมฺโม, สนฺตสฺส ภาโว สพฺภาโว อิจฺจาทิฯ

ตัวอย่างเช่น ผู้เกิดในท้อง อันเสมอกัน ชื่อว่า โสทริโย, สมาโนทริโย. ผู้ร่วมท้องเดียวกัน (พี่น้องร่วมท้อง).
บทว่า อิเย ประกอบด้วย อิย มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการไม่แปลง สมาน เป็น ส ถ้าอุทร ไม่ประกอบด้วย อิย เช่นในตัวอย่างนี้ว่า สมาโนหรตา ความเป็นผู้ร่วมท้องเดียวกัน.
แม้ในที่อื่นจากนี้ สมาน เป็น ส ได้ เช่น จนฺเทน สมานา สิรี ยสฺส ตํ จนฺทสฺสสิรีกํ, มุขํ ศรี อันเสมอด้วยพระจันทร์ ของใบหน้า ใด มีอยู่ ใบหน้านั้น ชื่อว่า จนฺทสฺสสิรีกํ มีศรีเสมอด้วยพระจันทร์ ได้แก่ มุขํ ใบหน้า. ปทุมสฺสสิรีกํ คำพูด อันมีศรีเหมือนพระจันทร์.
อนึ่ง สนฺต ศัพท์ เป็นต้น เป็น ส ก็มี ด้วย มหาสูตร เช่น สํวิชฺชติ โลมํ อสฺสาติ สโลมโก ขน มีอยู่ แก่นกใดนั้น เพราะเหตุนั้น นกนั้น ชื่อว่า สโลมโก นกมีขน. ตัวอย่างว่า สปกฺขโก นกมีปีก ก็เช่นเดียวกันนี้. อาสวะ ของธรรมเหล่านั้น มีอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สาสวา, ปัจจัยเหล่านั้น ของธรรมเหล่านั้น มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สปฺปจฺจยา.  ธรรมอื่น อันยิ่งขึ้นไปแห่งตน มีอยู่ แก่ธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สอุตฺตรา, ตัวอย่างเป็นต้นว่า บุรุษ ผู้สงบ ชื่อวา สปฺปุริโส. สชฺชโน ชนผู้สงบ, สทฺธมฺโม ธรรมอันสงบ, ความเป็นแห่งธรรมที่มีอยู่ ชื่อว่า สพฺภาโว ก็เหมือนกัน.

อิติ ส-ราสิฯ

กลุ่มศัพท์ที่มีการแปลงเป็น ส
เป็นอย่างนี้

๓๘๘. อิมสฺสิทํ [11]

๓๘๘. อิมสฺสิทํ.
(เพราะบทหลัง เป็นเบื้องหลัง แปลง อิม เป็น อิทํ)
อุตฺตรปเท ปเร อิมสฺส อิทํ โหติฯ

ในเพราะบทเบื้องหลัง อันเป็นบทหลัง (แห่งสมาส) แปลง อิมสฺส เป็น อิทํ.
อยํ อตฺโถ เอตสฺสาติ อิทมตฺถี, สมาสนฺเต อี, อิทมตฺถิโน ภาโว อิทมตฺถิตาฯ อยํ ปจฺจโย เอเตสนฺติ อิทปฺปจฺจยา, อิทปฺปจฺจยานํ ภาโว อิทปฺปจฺจยตาฯ ‘‘อิเมสํ ปจฺจยา อิทปฺปจฺจยา, อิทปฺปจฺจยา เอว อิทปฺปจฺจยตา’’ติปิ โยเชนฺติฯ

ตัวอย่างเช่น เนื้อความนี้ ของบทนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บทนั้น ชื่อว่า อิทมตฺถี, ลง อี ปัจจัย ในที่สุดแห่งสมาส, ความเป็นแห่งบทอันมีเนื้อความนี้ ชื่อว่า อิทมตฺถิตา. ปัจจัยนี้ ของธรรมเหล่านั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อวา อิทปฺปจฺจยา, ความเป็นแห่ง ธรรมอันมีปัจจัยนี้ ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา. อาจารย์บางท่าน ประกอบความแม้ว่า อิเมสํ ปจฺจยา อิทปฺปจฺจยา, อิทปฺปจฺจยา เอว อิทปฺปจฺจยตา ปัจจัยแห่งธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยา, อิทปฺปจฺจยา นั่นแหละ คือ อิทปฺปจฺจยตา.
อิทนฺติ นิปาตปทมฺปิ อตฺถิ, ‘‘รูปญฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺสา, เวทนา จ หิทํฯ สญฺญา จ หิทํฯ สงฺขารา จ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺสํสุอิจฺจาทิ [12]

บทว่า อิทํ แม้ที่เป็นบทนิบาต ก็มี, ดังพระบาฬีเป็นต้นว่า “รูปญฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺสา, เวทนา จ หิทํ ฯปฯ  สญฺญา จ หิทํ ฯปฯ สงฺขารา จ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺสํสุ แปลว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว, เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว, สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว, สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว (สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.)

๓๘๙. ปุํ ปุมสฺส วา[13]

๓๘๙. ปุํ ปุมสฺส วา
(เมื่อมีบทหลัง แปลง ปุม เป็น ปุํ ได้อีกรูปหนึ่ง.)
อุตฺตรปเท ปเร ปุมสฺส ปุํ โหติ วาฯ

ในเพราะบทหลัง อันเป็นบทหลัง (แห่งสมาส) แปลง ปุม เป็น ปุํ ได้บ้าง.
ปุมสฺส ลิงฺคํ ปุลฺลิงฺคํ, ปุมสฺส ภาโว ปุมฺภาโว, ปุมา จ โส โกกิโล จาติ ปุงฺโกกิโล, ปุมา จ โส โค จาติ ปุงฺคโว, ‘โค ตฺวจตฺเถ…’ติ อปจฺจโย, นปุํสโกฯ
วาติ กิํ? ปุมิตฺถีฯ

ตัวอย่างเช่น เพศ แห่งผู้ชาย ชื่อว่า ปุลฺลิงฺคํ, ความเป็นแห่งผู้ชาย ชื่อว่า ปุมฺภาโว, ตัวผู้ด้วย ตัวผู้นั้น เป็นนกดุเหว่า ด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ปุงโกกิโล, ตัวผู้ ด้วย ตัวผู้นั้น เป็น โค ด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ปุงฺคโว,  ลง อ ปัจจัย ด้วยสูตรว่า โค ตฺวจตฺเถ จาโลเป. (ลง อ เป็นหน่วยเสียงที่สุดแห่งการเข้าสมาส ในตำแหน่งที่มีการลบ ท้ายโคศัพท์ ในสมาสที่ไม่ใช่ทวันทสมาส, พหุพพีหิสมาสและอัพยยีภาวสมาส), นปุํสโก บุคคลไม่มีเพศชายเป็นของตนเอง[14].
บทว่า วา (ได้บ้าง) มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการไม่แปลง ปุม เป็น ปุํ ได้ ในตัวอย่างนี้ว่า ปุมิตฺถี ผู้ชายและผู้หญิง.

๓๙๐. ฏ นฺตนฺตูนํ[15]

๓๙๐. ฏ นฺตนฺตูนํ
(ในกรณีที่มีบทหลัง นฺต และ นฺตุ เป็น อุ ได้บ้างเป็นบางตัวอย่าง).
อุตฺตรปเท ปเร นฺต, นฺตูนํ ฏ โหติ วา กฺวจิฯ
ภวํ ปติฏฺโฐ เยสํ เต ภวํปติฏฺฐา, พินฺทาคโมฯ ภควา มูลํ เยสํ เต ภควํมูลกา, ธมฺมาฯ เอวํ ภควํปฏิสรณา, ธมฺมาฯ
พหุลาธิการา ตราทีสุ จ ปเรสุ, มหนฺตีนํ อติสเยน มหาติ มหตฺตรี, รตฺตญฺญูนํ มหนฺตสฺส ภาโว รตฺตญฺญุมหตฺตํฯ เอวํ ชาติมหตฺตํ, คุณมหตฺตํ, ปุญฺญมหตฺตํ, อรหนฺตสฺส ภาโว อรหตฺตํฯ

ในเพราะบทหลัง อันเป็นเบื้องหลัง อ เป็นอาเทสของ นฺตุ และ นฺตุ ได้บ้าง ในบางแห่ง.
ตัวอย่างเช่น ผู้เจริญ เป็นที่พึ่ง ของชนท.เหล่าใด ชนท.เหล่นั้น ชื่อว่า ภวํปติฏฺฐา มีผู้เจริญเป็นที่พึ่ง, ลง นิคคหิตอาคม. พระผู้มีพระภาค เป็นมูล (เป็นที่ตั้ง, ที่ยืนหยัด, เป็นเหตุ) แห่งธรรมทั้งหลายเหล่าใด ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า ภควํมูลกา มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล ได้แก่ ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย.ตัวอย่างว่า ภควํปฏิสรณาล, ธมฺมา มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ได้แก่ พระธรรม ก็เช่นเดียวกันนี้.
เพราะการตามแห่งคำว่า พหุล (โดยมา) ในเพราะบทอื่ืนมี ตร เป็นต้น ก็เข้าเกณฑ์ ตัวอย่างเช่น
มหนฺตีนํ อติสเยน มหาติ มหตฺตรี หญิง ผู้ใหญ่ โดยยิ่ง แห่ง (หรือ กว่า) หญิงผู้เป็นใหญ่ทั้งหลาย ชื่อ มหตฺตรี หญิง ผู้ใหญ่กว่า,
รตฺตญฺญูนํ มหนฺตสฺส ภาโว รตฺตญฺญุมหตฺตํความเป็นแห่งบุคคลผู้เป็นใหญ่แห่ง (กว่า) ภิกษุผู้รู้ราตรี ชื่อว่า รตฺตญฺญุมหตฺตํ ความเป็นผู้ใหญ่แห่งภิกษุผู้รู้ราตรี ตัวอย่างว่า ชาติมหตฺตํ ความเป็นใหญ่แห่งผู้ใหญ่โดยชาติ, คุณมหตฺตํ ความเป็นใหญ่แห่งผู้ใหญ่โดยคุณ, ปุญฺญมหตฺตํ ความเป็นใหญ่แห่งผู้ใหญ่โดยบุญ ก็เช่นเดียวกันนี้, ความเป็นแห่งพระอรหันต์ ชื่อว่า อรหตฺตํ

๓๙๑. [16]

๓๙๑. .
เพราะมีบทหลัง แปลงสระที่สุดของ นฺตุ และ นฺตุ เป็น อ.
อุตฺตรปเท ปเร นฺต, นฺตูนํ อ โหติฯ
ภวนฺตปติฏฺฐา, มยํ, คุณวนฺตปติฏฺฐา, มยํฯ

เพราะบทหลัง อันเป็นเบื้องหลัง อ เป็น อาเทสของสระที่สุดของ นฺตุ และ นฺตุ.
ตัวอย่างเช่น ภวนฺตปติฏฺฐา, มยํ ข้าพเจ้า มีท่านผู้เจริญ เป็นที่พึ่ง คุณวนฺตปติฏฺฐา, มยํ ข้าพเจ้า มีท่านผู้มีคุณ เป็นที่พึ่ง.

๓๙๒. รีริกฺขเกสุ [17]

๓๙๒. รีริกฺขเกสุ.
เพราะศัพท์ลง รี, ริกฺข และ กปัจจัย อยู่หลัง แปลง สมาน เป็น ส.
รี, ริกฺข, กปจฺจยนฺเตสุ ปเรสุ สมานสฺส โส โหติฯ
นิจฺจสมาสตฺตา อญฺญปเทน วิคฺคโห, สํวิชฺชตีติ สมาโน, ปจฺจกฺเข วิย จิตฺเต อุปลพฺภตีติ อตฺโถฯ สมาโน วิย โส ทิสฺสตีติ สที, สทิกฺโข, สทิโส, สมานา วิย เต ทิสฺสนฺตีติ สทิสาฯ

ในเพราะศัพท์อันมี รี, ริกฺข และ กปัจจัย เป็นที่สุด เป็นเบื้องหลัง ส เป็นอาเทส ของ สมาน.
เพราะความเป็นนิจจสมาส จึงวิเคราะห์ด้วยบทอื่น ดัวอย่างเช่น ชื่อว่า สมาน เพราะอรรถว่า มีอยู่. หมายความว่า มีอยู่ในจิต เหมือนอย่างที่มีโดยประจักษ์ชัด[18]. บุคคลนั้น ย่อมปรากฏ เหมือนกับว่า มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุรุษนั้น จึงชื่อว่า สที, สทิกฺโข, ผู้ปรากฏเหมือนกับว่ามีอยู่, บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า สทิสา เพราะเป็นผู้ปรากฏเหมือนกับว่า มีอยู่.

๓๙๓. นฺตกิมิมานํ ฏากีฏี [19]
๓๙๓. นฺตกิมิมานํ ฏากีฏี.
เพราะศัพท์ลง รี, ริกฺข และ กปัจจัย อยู่หลัง แปลงนฺต เป็น อา, กิํ เป็น กี และอิม เป็น อี ตามลำดับ
เตสุ ปเรสุ นฺตปจฺจยนฺตสฺส จ กิํ, อิมสทฺทานญฺจ กเมน ฏา, กี, ฏี โหนฺติฯ
ในเพราะศัพท์ลง รี, ริกฺข และ กปัจจัยเหล่านั้น อา กี และ อี เป็นอาเทสของนฺตปัจจัย, กิํ และ อิม ศัพท์ ตามลำดับ.
ภวํ วิย โส ทิสฺสตีติ ภวาที, ภวาทิกฺโข, ภวาทิโส, โก วิย โส ทิสฺสตีติ กีที, กีทิกฺโข, กีทิโส, อยํ วิย โส ทิสฺสตีติ อีที, อีทิกฺโข, อีทิโสฯ

ตัวอย่างเช่น บุคคลนั้น ย่อมปรากฏ เหมือนท่านผู้เจริญ เหตุนั้น จึงชื่อว่า ภวาที, ภวาทิกฺโก, ภวาทิโส, บุคคลนั้น ย่อมปรากฏเหมือนใคร เหตุนั้น จึงชื่อว่า กีที, กีทิกฺข, กีทิโส, บุคคลนั้น ย่อมปรากฏเหมือนผู้นี้ เหตุนั้น จึงชื่อว่า อีที, อีทิกฺข, อีทิโส.

๓๙๔. สพฺพาทีนมา [20]
๓๙๔. สพฺพาทีนมา.
เพราะศัพท์ที่ลงรี ปัจจัยเป็นต้น แปลงสระที่สุดของสรรพนาม มี ย ต เป็นต้นเป็น อา.
เตสุ ปเรสุ สพฺพาทินามกานํ ย, , เอต, อญฺญ, อมฺห, ตุมฺหสทฺทานํ อนฺโต อา โหติฯ
ยาที, ยาทิกฺโข, ยาทิโส, ตาที, ตาทิกฺโข, ตาทิโส, เอตาที, เอตาทิกฺโข, เอตาทิโสฯ
เพราะศัพท์ที่ลงรี ปัจจัยเป็นต้นเหล่านั้น เป็นเบื้องหลัง สระที่สุดของสรรพนาม คือ  ย, ต, เอต, อญฺญ, อมฺห และตุมฺห อันชื่อว่า สพฺพาทิ  เป็น อา.
ตัวอย่างเช่น ยาที, ยาทิกฺโข, ยาทิโส ย่อมปรากฏเหมือนผู้ใด, ตาที, ตาทิกฺโข, ตาทิโส ย่อมปรากฏเหมือนผู้นั้น, เอตาที, เอตาทิกฺโข, เอตาทิโส ย่อมปรากฏเหมือนผู้นั่น.

๓๙๕. เวตสฺเสฏ[21]

๓๙๕. เวตสฺเสฏ.
แปลง เอต เป็น เอ เพราะปัจจัยมีรีเป็นต้น
เตสุ ปเรสุ เอตสฺส เอฏ โหติ วาฯ
เอที, เอทิกฺโข, เอทิโส, อญฺญาที, อญฺญาทิกฺโข, อญฺญาทิโส, อมฺหาที, อมฺหาทิกฺโข, อมฺหาทิโส, ตุมฺหาที, ตุมฺหาทิกฺโข, ตุมฺหาทิโสฯ

เพราะปัจจัยมีรีเป็นต้นเหล่านั้น เอ เป็นอาเทศของ เอต ศัพท์ ได้บ้าง.
ตัวอย่างเช่น เอที, เอทิกฺโข, เอทิโส ย่อมปรากฏเหมือนผู้นั่น.
(ตัวอย่างของสูตรว่า สพฺพาทีนมา ต่อ)
อญฺญาที, อญฺญาทิกฺโข, อญฺญาทิโส ย่อมปรากฏเหมือนผู้อื่น, อมฺหาที, อมฺหาทิกฺโข, อมฺหาทิโส ย่อมปรากฏเหมือนข้าพเจ้า, ตุมฺหาที, ตุมฺหาทิกฺโข, ตุมฺหาทิโส ย่อมปรากฏเหมือนท่าน.

๓๙๖. ตุมฺหมฺหานํ ตาเมกสฺมิํ[22]

๓๙๖. ตุมฺหมฺหานํ ตาเมกสฺมิํ.
(เพราะปัจจัยมีรี เป็นต้น ดังกล่าว ตุมฺห และ อมฺห ในเอกวจนะ เป็น ตา และ มา ตามลำดับ)
เตสุ ปเรสุ เอกวจเน ปวตฺตานํ ตุมฺหมฺหสทฺทานํ ตา, มา โหนฺติ วาฯ
อหํ วิย โส ทิสฺสตีติ มาที, มาทิกฺโข, มาทิโส, ตฺวํ วิย โส ทิสฺสตีติ ตาที, ตาทิกฺโข, ตาทิโสฯ
เอกสฺมินฺติ กิํ? อมฺเห วิย เต ทิสฺสนฺตีติ อมฺหาทิโน, อมฺหาทิกฺขา, อมฺหาทิสา, ตุมฺเห วิย เต ทิสฺสนฺตีติ ตุมฺหาทิโน, ตุมฺหาทิกฺขา, ตุมฺหาทิสาฯ เอตฺถ จ อุปมานตฺถสฺเสว เอกตฺตํ อิจฺฉียติ, ตสฺมา อหํ วิย เต ทิสฺสนฺตีติ มาทิสา ตฺวํ วิย เต ทิสฺสนฺตีติ ตาทิโน, ตาทิสาติปิ ยุชฺชนฺติฯ ‘‘มาทิสา เว ชินา โหนฺติ, เย ปตฺตา อาสวกฺขย’’นฺติ[23] ปาฬิ, อิมานิ ปทานิ อุปริ กิตกณฺเฑปิ อาคมิสฺสนฺติฯ

เพราะปัจจัยทั้งหลายเหล่านั้นเป็นเบื้องหลัง ตา และ มา เป็นอาเทสของ ตุมฺห และ อมฺห อันเป็นไปในเอกวจนะ ได้บ้าง.
ตัวอย่างเช่น
บุคคลนั้น ย่อมปรากฏ เหมือนข้าพเจ้า เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มาที, มาทิกฺโข, มาทิโส, บุคคลนั้น ย่อมปรากฏ เหมือนท่าน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตาที, ตาทิกฺโข, ตาทิโส.
บทว่า เอกสฺมิํ มีประโยชน์อะไร ?.
มีประโยชน์ในการไม่แปลง ตุมฺห และ อมฺห เป็น ตา และ มา ถ้าไม่ใช่เอกวจนะ ในตัวอย่างว่า บุคคลเหล่านั้น ย่อมปรากฏเหมือนข้าพเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อมฺหาทิโน, อมฺหาทิกฺขา, อมฺหาทิสา, บุคคลเหล่านั้น ย่อมปรากฏเหมือนท่านทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตุมฺหาทิโน, ตุมฺหาทิกฺขา, ตุมฺหาทิสา. ในกรณีนี้ ท่านต้องการเพียงสิ่งที่เป็นอุปมาเท่านั้นว่าเป็นเอกวจนะ, เพราะเหตุนั้น ถ้าตุมฺห และ อมฺห ซึ่งเป็นอุปมา เป็นเอกวจนะ ก็ควรแปลงเป็นตา และ มา ได้ ดังวิเคราะห์นี้ว่า  อหํ วิย เต ทิสฺสนฺตีติ มาทิสา, ตาทิสา บุคคลเหล่านั้น ย่อมปรากฏเหมือนข้าพเจ้า เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มาทิสา ตฺวํ วิย เต ทิสฺสนฺตีติ ตาทิโน บุคคลเหล่านั้น ย่อมปรากฏเหมือนท่าน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตาทิโน. ดังมีพระบาฬีว่า มาทิสา เว ชินา โหนฺติ, เย ปตฺตา อาสวกฺขยํ บุคคลเหล่าใดถึงความสิ้นอาสวะแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้เช่นเรา. บทเหล่านี้ (คือ มาทิสา เป็นต้น) จักแสดงไว้ในกิตกัณฑ์อีก.

๓๙๗. ตํมมญฺญตฺร[24]

๓๙๗. ตํมมญฺญตฺร.
ถึงบทอื่นซึ่งนอกจาก รี, ริกฺข และ กปัจจัย เป็นเบื้องหลัง ตํ และ มํ ยังเป็นอาเทสของ ตุมฺห และ อมฺห ได้ในบางแห่ง.
รี, ริกฺข, กปจฺจเยหิ อญฺญสฺมิํ อุตฺตรปเท ปเร ตุมฺหมฺหานํ ตํ, มํอาเทสา โหนฺติ กฺวจิฯ
ตฺวํ เลณํ เยสํ เต ตํเลณา, อหํ เลณํ เยสํ เต มํเลณา[25]ฯ เอวํ ตํทีปา, มํทีปา[26], ตํปฏิสรณา, มํปฏิสรณาฯ

ในเพราะบทหลังซึ่งนอกจากรี, ริกฺข และ กปัจจัย เป็นเบื้องหลัง ตํ และ มํ เป็นอาเทสของ ตุมฺห และ อมฺห ได้ในบางแห่ง.
ตัวอย่างเช่น
ท่าน เป็นที่แอบ(จาก)ภัย ของชนทั้งหลายเหล่าใด  ชนทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า ตํเลณา มีท่านเป็นที่แอบ(จาก)ภัย. ข้าพเจ้า เป็นที่แอบ(จาก)ภัยของชนทั้งหลายเหล่าใด  ชนทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า มํเลณา มีข้าพเจ้าเป็นที่แอบ(จาก)ภัย. ตัวอย่างว่า ตํทีปา มีท่านเป็นเกาะ (ที่พึ่ง), มํทีปา มีข้าพเจ้าเป็นเกาะ, ตํปฏิสรณา มีท่านเป็นที่พึ่ง, มํปฏิสรณา มีข้าพเจ้าเป็นที่พึ่ง ก็เช่นเดียวกันนี้.

๓๙๘. มนาทฺยาปาทีนโม มเย จ [27]

๓๙๘. มนาทฺยาปาทีนโม มเย จ.
เพราะมยปัจจัย และ บทอื่นๆ เป็นเบื้องหลังแปลงสระที่สุดของ มนศัพท์ เป็นต้น และ อาปศัพท์เป็นต้น เป็น โอ.
อุตฺตรปเท มยปจฺจเย จ ปเร มนาทีนํ อาปาทีนญฺจ โอ โหติฯ
มโนเสฏฺฐา, มโนมยา, รโชชลฺลํ, รโชมยํ, สพฺโพ มโนคโณ อิธ วตฺตพฺโพ, อาโปธาตุ, อาโปมยํฯ อนุยนฺติ ทิโสทิสํ[28], ชีว ตฺวํ สรโทสตํ [29]

ในเพราะบทหลัง อันเป็นมยปัจจัย และ บทอื่นๆ เป็นเบื้องหลัง สระที่สุดของมนศัพท์เป็นต้น ด้วย ของมโนคณาทิคณศัพท์มี อาป เป็นต้น ด้วย เป็นโอ.
ตัวอย่างเช่น
มโนเสฏฺฐา ธรรมทั้งมีใจเป็นสภาพประเสริฐสุด, มโนมยา เกิดด้วยใจ, รโชชลฺลํ ความเป็นน้ำที่เจือด้วยฝุ่นละออง[30], รโชมยํ สำเร็จจากละออง. ควรกล่าวถึงมโนคณศัพท์ทั้งหมดไว้ในที่นี้ เช่น อาโปธาตุ ธาตุน้ำ, อาโปมยํ สำเร็จจากน้ำ, อนุยนฺติ ทิโสทิสํ ย่อมติดตามไปทั่วทุกทิศ, ชีว ตฺวํ สรโทสตํ ขอท่านจงเป็นอยู่ ตลอด ๑๐๐ ปี. [31]

๓๙๙. ปรสฺส สงฺขฺยาสุ [32]

๓๙๙. ปรสฺส สงฺขฺยาสุ.
เพราะสังขยาศัพท์ แปลงสระที่สุดของ ปร ศัพท์ เป็น โอ.
สงฺขฺยาสุ ปราสุ ปรสฺส โอ โหติฯ
ปโรสตํ, ปโรสหสฺสํ, ปโรปณฺณาส ธมฺมา, อิธ ปรสทฺโท ‘‘อินฺทฺริยปโรปริยตฺต’’นฺติ เอตฺถ วิย อธิกตฺถวาจิสทฺทนฺตรํ, น สพฺพนามํฯ

ในเพราะสังขยาศัพท์ เป็นเบื้องหลัง สระที่สุด ของปร เป็น โอ.
ตัวอย่างเช่น
ปโรสตํ เกินกว่า ๑๐๐, ปโรสหสฺสํ เกินกว่า ๑,๐๐๐, ปโรปณฺณาส ธมฺมา ธรรมเกินกว่า ๕๐. ปรศัพท์ในที่นี้ เป็นศัพท์ชนิดหนึ่งที่แสดงความหมายว่า ยิ่ง (มาก), ไม่ใช่สัพพนาม.

๔๐๐. ชเน ปุถสฺสุ [33]

๔๐๐. ชเน ปุถสฺสุ.
เพราะ ชน ศัพท์ สระที่สุดของ ปุถ เป็น อุ.
ชเน ปเร ปุถสฺส อุ โหติฯ
อริเยหิ ปุถเควายํ ชโนติ ปุถุชฺชโนฯ อปิ จ ปาฬินเย ปุถุสทฺโทเยว พหุลํ ทิสฺสติ, ปุถุ กิเลเส ชเนนฺตีติ ปุถุชฺชนา, ปุถุ นานาสตฺถารานํ มุขํ อุลฺโลเกนฺตีติ ปุถุชฺชนา, ปุถุ นานาโอเฆหิ วุยฺหนฺตีติ ปุถุชฺชนา[34], สญฺญานานาตฺตปุถุตฺตปเภทํ ปฏิจฺจ ตณฺหานานาตฺตปุถุตฺตปเภโท โหติ[35], อิงฺฆ อญฺเญปิ ปุจฺฉสฺสุ, ปุถู สมณพฺราหฺมเณ [36]ฯ คามา คามํ วิจริสฺสํ, สาวเก วินยํ ปุถู, อายตานิ ปุถูนิ จ, ปุถุนา วิชฺชุวณฺณินา[37], ปุถุกายา ปุถุภูตา อิจฺจาทิฯตสฺมา ‘‘ปุถเคว, ปุถกฺกรเณ’’ อิจฺจาทีสุ ถุสฺส อุการสฺส อกาโร[38] ยุชฺชติฯ

ในเพราะชน ศัพท์ อันเป็นเบื้องหลัง สระที่สุดของ ปุถ เป็น อุ.
ตัวอย่างเช่น
ชนนี้ เป็นอีกพวกหนึ่ง จากพระอริยะทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ปุถุชฺชโน.
อนึ่ง ในปาฬีนัย (นัยอันมาในพระบาฬี) พบ ปุถศัพท์นั่นเทียวอยู่มากด้วยกัน ตัวอย่างเช่น
ปุถุ กิเลเส ชเนนฺตีติ ปุถุชฺชนา ชื่อว่า ปุถุชน เพราะทำกิเลสมากมายให้เกิด.
ปุถุ นานาสตฺถารานํ มุขํ อุลฺโลเกนฺตีติ ปุถุชฺชนา. ชื่อว่า ปุถุชน เพราะมองหน้าของศาสดาทั้งหลายโดยมาก.
ปุถุ นานาโอเฆหิ วุยฺหนฺตีติ ปุถุชฺชนา = ชื่อว่า ปุถุชน เพราะถูกโอฆะต่างๆมากมายพัดพาไป.
สญฺญานานาตฺตปุถุตฺตปเภทํ ปฏิจฺจ ตณฺหานานาตฺตปุถุตฺตปเภโท โหติ. =  ตัณหา มีประเภทหลากหลายมากมาย เพราะอาศัยสัญญาที่มีประเภทหลากหลายมากมาย.
อิงฺฆ อญฺเญปิ ปุจฺฉสฺสุ, ปุถู สมณพฺราหฺมเณ = เชิญท่านถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่น.
คามา คามํ วิจริสฺสํ, สาวเก วินยํ ปุถู =  จักเที่ยวจากหมู่บ้านนี้ไปยังหมู่บ้านโน้น แนะนำสาวกเป็นอันมาก[39],
อายตานิ ปุถูนิ จ[40] =ใครมีเนตรซ้ายขวากว้างและใหญ่,
ปุถุนา วิชฺชุวณฺณินา = (หน้าผากของใครสวมแล้ว ด้วยแผ่นทอง) อันหนามีสีดุจสายฟ้า[41].
ปุถุกายา =ชนเป็นอันมาก[42].
ปุถุภูตา = เป็นพรหมจรรย์ที่ยิ่งใหญ่, หรือ ถึงความยิ่งใหญ่[43].
เพราะฉะนั้น  ในตัวอย่างเป็นต้นว่า ปุถเคว, ปุถกฺกรณ การแปลง อุ ของ ถุ เป็น อ ก็เห็นสมควรเช่นกัน.

๔๐๑. โส ฉสฺสาหายตเนสุ วา[44]

๔๐๑. โส ฉสฺสาหายตเนสุ วา.
ถ้า อห และ อายตนศัพท์ อยู่หลัง แปลง ฉ เป็น ส ได้บ้าง.
อเห จ อายตเน จ ปเร ฉสฺส โส โหติ วาฯ
ฉ อหานิ สาหํฯ อตฺถิ สาหสฺส ชีวิตํ[45], ‘สาหสฺสาติ สาหํ+อสฺสาติ เฉโทฯ สฬายตนํฯ
วาติ กิํ? ฉาหปฺปฏิจฺฉนฺนา อาปตฺติ[46], ฉ อายตนานิฯ

ในเพราะ อหศัพท์ และ อายตน ศัพท์ อันเป็นเบื้องหลัง ส เป็น อาเทสของ ฉ ได้บ้าง.
ตัวอย่างเช่น
๖ วัน ชื่อว่า สาหํ. อตฺถิ สาหสฺส ชีวิตํ เขามีชีวิตอยู่ได้ ๖ วัน, บทว่า สาหสฺส ตัดบทเป็น สาหํ + อสฺส. สฬายตนํ อายตนะ ๖.
บทว่า วา มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการไม่แปลง ฉ เป็น ส ในตัวอย่างเหล่านี้ คือ ฉาหปฺปฏิจฺฉนฺนา อาปตฺติ อาบัติที่ปกปิดไว้ชั่วเวลา ๖ วัน, ฉ อายตนานิ อายตนะ ๖.

๔๐๒. ลฺตุปิตาทีนมารงฺรง[47]

๔๐๒. ลฺตุปิตาทีนมารงฺรง.
เพราะบทหลังแห่งบทสมาส ข้างหลัง แปลงสระที่สุดแห่งบทลงตุปัจจัย มีปิตุ เป็นต้น เป็นอาร, และ ร ได้บ้าง.
สมาสุตฺตรปเท ปเร ลฺตุปจฺจยนฺตานํ ปิตาทีนญฺจ กเมน อารง, รง โหนฺติ วาฯ
สตฺถุโน ทสฺสนํ สตฺถารทสฺสนํฯ เอวํ กตฺตารนิทฺเทโสฯ มาตา จ ปิตา จ มาตรปิตโร, มาตาปิตูสุ สํวฑฺโฒ มาตาปิตรสํวฑฺโฒฯ
วาติ กิํ? สตฺถุทสฺสนํ, กตฺตุ นิทฺเทโส, มาตาปิตโรฯ

เพราะบทหลังแห่งบทสมาส ข้างหลัง แปลง อาร, และ ร.เป็นอาเทสของสระที่สุดแห่งบทลงตุปัจจัย มีปิตุ เป็นต้น ได้บ้าง.
ตัวอย่างเช่น
การเข้าเฝ้าพระศาสดา ชื่อว่า สตฺถารทสฺสนํ. ตัวอย่างว่า กตฺตารนิทฺเทโส การแสดงเป็นกัตตุวาจก (หรือแสดงเป็นกัตตา) ก็เช่นเดียวกันนี้. มารดา และ บิดา ชื่อว่า มาตรปิตโร, บุคคลผู้เจริญเติบโตใน (สำนัก)ของมารดาและบิดา ชื่อว่า มาตรปิตรสํวฑฺโฒ.
บทว่า วา มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการไม่แปลงสระที่สุดของบทลง ตุ ปัจจัยและปิตุเป็นต้นเป็น อาร และ ร ในตัวอย่างนี้คือ สตฺถุทสฺสนํ การเข้าเฝ้าพระศาสดา, กตฺตุ นิทฺเทโส การแสดงเป็นกัตตา, มาตาปิตโร มารดาและบิดา.

๔๐๓. วิชฺชาโยนิสมฺพนฺธีนมา ตตฺร จตฺเถ[48]

๔๐๓. วิชฺชาโยนิสมฺพนฺธีนมา ตตฺร จตฺเถ.
ในจัตถสมาส แปลงสระที่สุดของบทลง ลฺตุ ปัจจัยและปิตุศัพท์เป็นต้น ที่สัมพันธ์กับ วิชา และ โยนิ เป็น อา ในเพราะบทเหล่านั้นเป็นเบื้องหลัง.
จตฺถสมาเส วิชฺชาสมฺพนฺธีนํ โยนิสมฺพนฺธีนญฺจ ลฺตุปิตาทีนํ อา โหติ เตสฺเวว ปเรสุฯ
มาตาปิตา, มาตาปิตโร อิจฺจาทิฯ
ตตฺราติ กิํ? มาตุยา ภาตา มาตุภาตาฯ
เอตฺถ จ วิชฺชาสิปฺปานิ สิกฺขาเปนฺตา อาจริยา สิสฺสานํ วิชฺชาสมฺพนฺธี มาตาปิตโร นามฯ

ในจัตถสมาส (ทวันทสมาส) แปลงสระที่สุดของบทลง ลฺตุ ปัจจัยและนามศัพท์มีปิตุเป็นต้น ที่สัมพันธ์กับวิชา (ความรู้) และ โยนิ (กำเนิด) เป็น อา ในเพราะบทเหล่านั้นเป็นเบื้องหลัง.[49]
ตัวอย่างเช่น
มาตาปิตา, มาตาปิตโร มารดาและบิดา.
บทว่า ตตฺร มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ ในการไม่แปลงสระที่สุดของศัพท์เหล่านั้นเป็นอา ในที่ไม่เป็นจัตถมาส เช่นในตัวอย่างว่า มาตุภาตา เพราะมีวิเคราะห์เป็นตัปปุริสสมาสว่า มาตุยา ภาตา มาตุภาตา พี่ชายของมารดา ชื่อว่า มาตุภาตา  (คุณอา).
ในที่นี้ อาจารย์ทั้งหลาย เมื่อให้ศิษย์เล่าเรียนวิชาและศิลปะ ที่มีความสัมพันธ์กับวิชา ของศิษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่า มาตาปิตโร มารดาและบิดา.

๔๐๔. ปุตฺเต [50]

๔๐๔. ปุตฺเต.
ในทวันทสมาส เมื่อคำว่า ปุตฺต เป็นบทหลัง แปลง สระที่สุดของบทลงลฺตุ ปัจจัยและปิตุ เป็นต้น ซึ่งมีความสัมพันธ์กับวิชาและโยนิ เป็น อา.
จตฺเต ปุตฺเต ปเร วิชฺชาโยนิสมฺพนฺธีนํ ลฺตุปิตาทีนํ อา โหติฯ
มาตาปุตฺตา คจฺฉนฺติ, ปิตาปุตฺตา คจฺฉนฺติฯ มหาวุตฺตินา เตสญฺจ อิ โหติ, มาติปกฺโข, ปิติปกฺโขฯ มาติโฆ ลภเต ทุขํ[51], ปิติโฆ ลภเต ทุขํ, มาตฺติกํ ธนํ, เปตฺติกํ ธนํ[52] ฯ เอตฺถ จ มาตุยา สนฺตกํ มาตฺติกํ, ปิตุโน สนฺตกํ เปตฺติกํ, ทฺวิตฺตํ วุทฺธิ จฯ มาติโต, ปิติโต, ภาตา เอว ภาติโก, ภาติกราชาฯ

ในทวันทสมาส เมื่อคำว่า ปุตฺต เป็นบทหลัง อาเป็น อาเทสของสระที่สุดของบทลงลฺตุ ปัจจัยและปิตุ เป็นต้น ซึ่งมีความสัมพันธ์กับวิชาและโยนิ.
ตัวอย่างเช่น
มาตาปุตฺตา คจฺฉนฺติ. มารดาและบุตร ย่อมไป. ปิตาปุตฺตา คจฺฉนฺติ. บิดาและบุตร ย่อมไป. 
แปลงสระที่สุดของบทเหล่านั้นเป็น อิ ด้วยมหาสูตร เช่น มาติปกฺโข ฝ่ายมารดา, ปิติปกฺโข ฝ่ายบิดา. (มาในพระบาฬี เช่น) มาติโฆ ลภเต ทุขํ[53] ผู้ฆ่ามารดาเป็นทุกข์,  ปิติโฆ ลภเต ทุขํ ผู้ฆ่าบิดาดาเป็นทุกข์, มาตฺติกํ ธนํ ทรัพย์อันมาแล้วจากมารดา, เปตฺติกํ ธนํ ทรัพย์อันมาแล้วจากบิดา (ตามนัยอรรถกถาชาดกที่ว่า เปตฺติกนฺติ ปิติโต อาคตํ.). ในสองตัวอย่างนี้ ทรัพย์อันเป็นของมีอยู่แห่งมารดา ชื่อว่า มาตฺติกํ, ทรัพย์อันเป็นของมีอยู่แห่งบิดา ชื่อว่า เปตฺติกํ. ซ้อน ต และ วุทธิ (คือ อิ ที่ ปิตฺติ  เป็น เอ, ส่วน มาตฺติกํ ซ้อน ตฺ อย่างเดียว). มาติโต ฝ่ายมารดา, ปิติโต ฝ่ายบิดา. ภาตา นั่นเอง ชื่อว่า ภาติก, ภาติกราชา พระราชาผู้เป็นพี่.

๔๐๕. ชายาย ชายํ ปติมฺหิ[54]

๔๐๕. ชายาย ชายํ ปติมฺหิ.
เพราะปติ ศัพท์เป็นบทหลัง แปลง ชาย เป็น ชายํ.
ปติมฺหิ ปเร ชายาสทฺทสฺส ชายํ โหติฯ

เพราะ ปติ ศัพท์ เป็นเบื้องหลัง ชายํ เป็นอาเทศของ ชายา ศัพท์.
ปุตฺตํ ชเนตีติ ชายา, ชายา จ ปติ จ ชายมฺปตี [55]ฯ อถ วา ‘‘ชายมฺปตี’’ติ อิทํ สนฺธิวิธินาว สิทฺธํ, ตสฺมา ‘‘ชมฺปตี’’ติ ปาโฐ สิยา ยถา ‘‘เทวราชา สุชมฺปตี[56]ติ, ยถา จ สกฺกตคนฺเถสุ ‘‘ทาโร จ ปติ จ ทมฺปตี’’ติฯ อิธ ปน มหาวุตฺตินา ปติมฺหิ สุชาตาย สุชํ โหติ, ทารสฺส จ ทํ โหติ, ตถา ชายา จ ปติ จ ชมฺปตีติ นิฏฺฐํ คนฺตพฺพํฯ
ยญฺจ วุตฺติยํ ‘‘ชานิปตีติ ปกตฺยนฺตเรน สิทฺธํ, ตถา ทมฺปตี’’ติ วุตฺตํฯ ตตฺถ ปุตฺตํ ชเนตีติ ชานีฯ ชานี จ ปติ จ ชานีปตีติ ยุชฺชติฯ ‘‘ตุทมฺปตี’’ติ ปาโฐฯ กจฺจายเน จ ชายาย ตุ ทํชานิ ปติมฺหีติฯ ตตฺถ ตุสทฺโท ปทปูรณมตฺเต ยุชฺชติฯ

สตรีผู้ยังบุตรให้กำเนิด ชื่อว่า ชายา (ภรรยา), ภรรยา ด้วย สามี ด้วย ชื่อว่า ชายมฺปตี.  อีกนัยหนึ่ง คำว่า ชายมฺปติ นี้สำเร็จด้วยวิธีการแห่งสนธินั่นเทียว[57], เพราะฉะนั้น ข้อความว่า ชมฺปติ พึงมีได้เช่น เทวราชา สุชมฺปติ ท้าวสุชัมบดี (ผู้เป็นพระสวามีแห่งนางสุชาดา) เทวราช. อนึ่ง ในคัมภีร์ฝ่ายสันสกฤต มีว่า “ทาโร จ ปติ จ ทมฺปติ ภรรยา ด้วย สามีด้วย ชื่อว่า ทมฺปติ. แต่ในฝ่ายบาฬีนี้ เพราะปติศัพท์อยู่หลัง แปลง สุชาต ศัพท์ เป็น สุชํ และ ทาร ศัพท์เป็น ทํ ด้วยมหาสูตร โดยประการใด, ท่านทั้งหลายพึงตัดสินได้ว่า รูปว่า ชมฺปติ ย่อมมีได้  โดยวิเคราะห์ว่า ชายา จ ปติ จ ชมฺปติ ภรรยา ด้วย สามี ด้วย ชื่อว่า ชมฺปติ โดยประการนั้น.
อนึ่ง คำใดที่ท่านกล่าวไว้ในวุตติว่า ชานิปตีติ เป็นต้น ความว่า รูปว่า ชานิปติ นี้สำเร็จได้ด้วยวิธีการอื่นจากปกติ (วิธีพิเศษ), รูปว่า ทมฺปติ ก็เหมือนกัน”. ในคำนั้น บทว่า ชานี ได้แก่ ภรรยา เพราะเป็นผู้ยังบุตร ให้กำเนิด, ภรรยา ด้วย สามี ด้วย ชื่อว่า ชานีปติ ดังนี้ก็ควร. มีข้อความว่า ตุทมฺปติ. และ ในคัมภีร์กัจจายนะ ก็มีข้อความเป็นสูตรว่า “ชายาย ตุทํชานิ ปติมฺหิ แปลง ชาย เป็น ตุทํ หรือ ชานิ ในเพราะปติศัพท์ บางแห่ง”. ในข้อความนั้น ตุศัพท์ ควรเป็นไปในความหมายว่าทำบทให้เต็มเท่านั้น.

๔๐๖. สญฺญายมุโททกสฺส [58]

๔๐๖. สญฺญายมุโททกสฺส.
เมื่อรู้ว่าเป็นชื่อ แปลง อุทก เป็น อุท เพราะบทหลัง.
สญฺญายํ คมฺยมานายํ อุตฺตรปเท ปเร อุทกสฺส อุโท โหติฯ
อุทกํ ธาเรตีติ อุทธิ, มหนฺตํ อุทกํ ธาเรตีติ มโหทธิ, อุทกํ ปิวนฺติ เอตฺถาติ อุทปานํ, อุทกํ ปิวนฺติ เอตายาติ อุทปาติฯ

เมื่อชื่อ ถูกรู้อยู่ อุท เป็น อาเทส ของ อุทก ในเพราะบทหลัง.
ตัวอย่างเช่น ชื่อว่า อุทธิ เพราะทรงน้ำไว้ (ทะเล), ชื่อว่า มโหทธิ เพราะทรงน้ำอันใหญ่ไว้ (มหาสมุทร), ชื่อว่า อุทปานํ เพราะเป็นสถานที่ดื่มน้ำ (โรงน้ำดื่ม), ชื่อว่า อุทปาติ เพราะเป็นเครื่องใช้สำหรับดื่มน้ำ (แก้วน้ำ).

๔๐๗. กุมฺภาทีสุ วา [59]

๔๐๗. กุมฺภาทีสุ วา.
เพราะบทว่า กุมฺภ เป็นต้นเป็นเบื้องหลัง แปลง อุทก เป็น อุท ได้บ้าง.
กุมฺภาทีสุ ปเรสุ อุทกสฺส อุโท โหติ วาฯ
อุทกสฺส กุมฺโภ อุทกุมฺโภ, อุทกกุมฺโภฯ เอวํ อุทปตฺโต, อุทกปตฺโต, อุทพินฺทุ, อุทกพินฺทุฯ มหาวุตฺตินา สฺยาทีสุปิ, ‘‘นีโลทา โปกฺขรณี’’ติ ปาฬิฯ

ในเพราะบทว่า กุมฺภ เป็นต้นเป็นเบื้องหลัง อุท เป็นอาเทสของ อุทก ศัพท์ ได้บ้าง.
ตัวอย่างเช่น
หม้อแห่งน้ำ ชื่อว่า อุทกุมฺโภ, อุทกกุมฺโภ (หม้อใส่น้ำ), อุทปตฺโต, อุทกปตฺโต บาตรใส่น้ำ,  อุทกพินฺทุ, อุทกพินฺทุ หยาดน้ำ. แม้ในเพราะ สิ เป็นต้น แปลง อุทก เป็น อุท ด้วยมหาสูตร มีพระบาฬีว่า นีโลทา โปกฺขรณี สระบัวมีน้ำสีเขียว[60].

๔๐๘. โสตาทีสุ โลโป [61]

๔๐๘. โสตาทีสุ โลโป.
เพราะโสตศัพท์เป็นต้น ลบ อุ ที่ อุทก ศัพท์
โสตาทีสุ ปเรสุ อุทกสฺส อุสฺส โลโป โหติฯ
อุทกสฺส โสตํ ทกโสตํ, อุทเก รกฺขโส ทกรกฺขโส, อุทกํ อาสโย เยสํ เต ทกาสยา, ปาณาฯ มหาวุตฺตินา สฺยาทีสุปิ, ‘‘ทเก ทกาสยา เสนฺตี’’ติ [62]ปาฬิฯ

ในเพราะโสตศัพท์เป็นต้น ลบ อุ ที่ อุทก ศัพท์.
ตัวอย่างเช่น
กระแสแห่งน้ำ ชื่อว่า ทกโสตํ, รากษส (ที่อาศัยอยู่) ในน้ำ ชื่อว่า ทกรกฺขโส, น้ำ เป็นที่อยู่ ของสัตว์เหล่าใด, สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า ทกาสยา มีน้ำเป็นที่อยู่, ได้แก่ สัตว์. ด้วยมหาสูตร แม้ในเพราะสิเป็นต้น ลบ อุ ที่ อุทกศัพท์ มีพระบาฬีว่า ทเก ทกาสยา เสนฺติ สัตว์ดิรัจฉานทุกหมู่เหล่า ฯลฯ จำพวกที่อาศัยอยู่ในน้ำ ย่อมดำน้ำ.

๔๐๙. ปุพฺพาปรชฺชสายมชฺเฌหาหสฺส ณฺโห[63]

๔๐๙. ปุพฺพาปรชฺชสายมชฺเฌหาหสฺส ณฺโห.
แปลง อหศัพท์ ซึ่งอยู่หลังจากปุพฺพ, อปร, อชฺช, สายํ, อชฺฌ ศัพท์เป็น ณฺห
ปุพฺพาทีหิ ปรสฺส อหสฺส ณฺโห โหติฯ
ปุพฺพณฺโห, อปรณฺโห, อชฺชณฺโห, สายณฺโห[64], มชฺฌณฺโหฯ

แปลง อหศัพท์ ซึ่งอยู่หลังจากศัพท์มีปุพฺพ, ศัพท์เป็นต้น เป็น ณฺห.
ตัวอย่างเช่น
ปุพฺพณฺโห ช่วงแรกของวัน, อปรณฺโห ช่วงหลังของวัน, อชฺชณฺโห ขณะนี้ของวัน, สายณฺโห กาลสิ้นไปแห่งวัน (ช่วงเย็น), มชฺฌนฺโห ส่วนกลางแห่งวัน (กลางวัน, เที่ยงวัน).

นานาเทสราสิ นิฏฺฐิโตฯ

กลุ่มศัพท์สมาสที่มีการเปลี่ยนรูปต่างๆ
จบแล้ว





[1] [ก. ๓๓๓-๓๓๔; รู. ๓๔๔-๓๔๕; นี. ๗๑๗-๗๑๘]
[2] [ก. ๓๒๘; รู. ๓๕๒; นี. ๗๐๘; จํ. ๕.๒.๙๕; ปา. ๖.๓.๗๕]
[3] [ก. ๓๓๓-๓๓๔; รู. ๓๔๔-๓๔๕; นี. ๗๑๗-๗๑๘; จํ. ๕.๒.๙๖; ปา. ๖.๓.๗๗; ‘นโค วาปฺปาณินิ’ (พหูสุ)]
[4] [ก. ๔๐๔; รู. ๓๗๐; นี. ๘๕๙; จํ. ๕.๒.๙๗; ปา. ๖.๓.๘๒]
[5] [ก. ๔๐๔; รู. ๓๗๐; นี. ๘๕๙; จํ. ๕.๒.๙๘; ปา. ๖.๓.๗๘]
[6]
[7] [ก. ๔๐๔; รู. ๓๗๐; นี. ๘๕๙; จํ. ๕.๒.๑๑๐; ปา. ๖.๓.๘๑]
[8] [ก. ๔๐๔; รู. ๓๗๐; นี. ๘๕๙; จํ. ๕.๒.๑๐๑; ปา. ๖.๓.๗๙]
[9] [ก. ๔๐๔; รู. ๓๗๐; นี. ๘๕๙; จํ. ๕.๒.๑๐๓-๔; ปา. ๖.๓.๘๔-๘๖]
[10] [ก. ๔๐๔; รู. ๓๗๐; นี. ๘๕๙; จํ. ๕.๒.๑๐๕; ปา. ๖.๓.๘๘]
[11] [ก. ๑๒๙; รู. ๒๒๒; นี. ๓๐๕]
[12] [มหาว. ๒๐], (วิ.มหาวคฺค.๒๐)
[13] [ก. ๘๒; รู. ๑๔๙]
[14] ในที่นี้ แปลตามรูปศัพท์ ที่คิดว่าจะสอดคล้องกับเนื้อหาของสูตร. แต่คัมภีร์สัททนีติ อธิบายว่า มาจาก ปุนฺส ธาตุ ในความหมายว่า อภิมทฺทน ย่ำยี. มีการแปลง นฺ เป็น นิคคหิต (ธาตุที่มี นฺ มักจะแปลง น เป็น อํ) จึงได้รูปว่า ปุํส มีรูปสำเร็จเป็น ปุํเสติ, ปุํสยติ, นปุํสโกฯ สำหรับ นปุํสโก มีวิเคราะห์ว่า ปุริโส วิย สาติสยํ ปจฺจามิตฺเต น ปุํเสติ อภิมทฺทนํ กาตุํ น สกฺโกติ บุคคล ผู้ไม่ทำลาย คือ ไม่สามารถทำความย่ำยีศัตรู โดยยิ่ง เหมือน บุรุษที่ทำได้. ได้แก่ บุคคลที่เว้นจากอิตถีภาวะและปุมภาวะ หรือปุริสภาวะ กล่าวคือ นิมิตเป็นต้นอันเป็นเหตุให้รู้ว่าเป็นหญิงหรือชาย). ท่านยกวิเคราะห์ของเกจิอาจารย์มาประกอบความว่า น ปุมา, น อิตฺถีติ นปุํสโก ผู้มิใช่ชาย มิใช่หญิง ชื่อว่า นปุํสก, และอาจารย์สายสัททศาสตร์ เรียกบุคคลประเภทนั้นว่า นปุํสก เนื่องด้วยเป็นผู้มีเพศไม่ใช่ชาย ไม่ใช่หญิง. (ดูรายละเอียดในคัมภีร์สัททนีติ ธาตุมาลา :  ปุนฺส ธาตุ.) ส่วนคัมภีร์ปาจิตติโยชนา. อธิบายว่า การสำเร็จรูปเป็น นปุํสก โดยแปลง นปุมนอิตฺถิ ศัพท์ ด้วยนิรุตตินัย. (ปาจิตฺ.โย.๒๐)
[15] [ก. ๑๒๖; รู. ๑๐๑; นี. ๓๐๑]
[16] [ก. ๖๔๒; รู. ๕๘๙; นี. ๑๒๖๙; จํ. ๕.๒.๑๐๖; ปา. ๖.๓.๘๙]
[17] [ก. ๖๔๒; รู. ๕๘๙; นี. ๑๒๖๙; จํ. ๕.๒.๑๐๗; ปา. ๖.๓.๘๙-๙๐]
[18] แสดงว่าศัพท์ที่ลงปัจจัยเหล่านี้สื่อถึงเนื้อความของสิ่งที่ปรากฏในความทรงจำซึ่งเป็นเหมือนกับเป็นสิ่งมีอยู่โดยประจักษ์. ถือเอาความว่า สิ่งที่ตนนึกเหมือนกับสิ่งที่มีอยู่จริง
[19] [ก. ๑๒๖; รู. ๑๐๑; นี. ๓๐๑]
[20] [ก. ๖๔๒; รู. ๕๘๙; นี. ๑๒๖๙; จํ. ๕.๒.๑๐๘; ปา. ๖.๓.๙๑]
[21]  [ก. ๖๔๒; รู. ๕๘๙; นี. ๑๒๖๙]
[22]  [ก. ๖๔๒; รู. ๕๘๙; นี. ๑๒๖๙]
[23] [มหาว. ๑๑]
[24]  [ก. ๑๔๓; รู. ๒๓๕; นี. ๓๒๒]ฯ
[25] [สํ. นิ. ๔.๓๕๙]
[26] [สํ. นิ. ๔.๓๕๙]
[27] [ก. ๑๘๓; รู. ๓๘๖; นี. ๓๗๕]
[28] [ที. นิ. ๓.๒๘๑]
[29] [ชา. ๑.๒.๙]
[30] ตามที่ปัญจิกาฏีกาอธิบายว่า รชโส ชลฺลํ รโชชลฺลํ ความเป็นน้ำที่เจือด้วยธุลี.  อีกนัยหนึ่ง ชุ่มด้วยฝุ่นละออง แปลตามนัยของสีลขันธวรรคอรรถกถาและฏีกาว่า รโชชลฺลธโรติ สรีรํ เตเลน มกฺขิตฺวา รชุฏฺฐานฏฺฐาเน ติฏฺฐติ, อถสฺส สรีเร รโชชลฺลํ ลคฺคติ, ตํ ธาเรติ. คำว่า รโชชลฺลธโร ความว่า เขาใช้น้ำมันทาตัวแล้วไปยืน ณ ที่ฝุ่นฟุ้งขึ้น. ต่อมา สิ่งสกปรกจึงจับที่สรีระของเขา. ที.อ.๑/๓๙๖. รโช เอว ชลฺลํ มลีนํ รโชชลฺลํฯ เตน วุตฺตํ ‘‘สรีร’’นฺติอาทิฯ  ที.สี.๒/๓๙๖. ฝุ่น คือ สิ่งสกปรก ได้แก่ มลทิน ชื่อว่า รโชชลฺลํ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สรีรํ ดังนี้เป็นต้นไว้.
[31] (๒ตัวอย่างนี้ ดูวินิจฉัยในอัปปวิธาน สรสนธิ)
[32] [ก. ๓๖; รู. ๔๗; นี. ๑๓๐]
[33] [ก. ๔๙; รู. ๔๔; นี. ๑๒๙]
[34] [มหานิ. ๕๑, ๙๔]
[35] [ธ. ส. อฏฺฐ. ๑]
[36] [สํ. นิ. ๑.๒๔๖]
[37] [ชา. ๒.๒๒.๙๖๘]
[38] [อกาโรติ?]
[39] ขุ.สุ.๒๕/๓๕๕. ต่างจากที่อ้างไว้โดยเป็น รฏฺฐํ รฏฺฐา วิจริสฺสํ.
[40] ขุ.ชา.๒/๒๘/๗๗๓
[41] ขุ.ชา.๒/๒๘/๗๗๓
[42] ที.ม.๑๐/๒๕๕ เย จญฺเญ สนฺติ ปุถุกายา. ปุถุกายาติ พหุชนาฯ ที.อ.๒/๒๕๕. ปุถุกายาติ พหู สตฺตกายา. ที.ฏี.๒/๒๕๕.
[43] ยาว เม อิทํ พฺรหฺมจริยํ น อิทฺธํ ฯปฯ ปุถุภูตํ. ที.ม.๑๐/๙๕.  ปุถุภูตนฺติ สพฺพาการวเสน ปุถุลภาวปฺปตฺตํ. ที.อ.๒/๙๕. ปุถุ ปุถุลํ ภูตํ ชาตํ, ปุถุ วา ปุถุตฺตํ ภูตํ ปตฺตนฺติ ปุถุภูตํฯ ที.ฏี.๒/๙๕
[44] [ก. ๓๗๔; รู. ๔๐๘; นี. ๘๐๔]
[45] [ชา. ๒.๒๒.๓๑๔]
[46] [จูฬว. ๑๓๔]
[47] [ก. ๒๐๐; รู. ๑๕๙; นี. ๔๑๕; จํ. ๕.๒.๒๐; ปา. ๖.๓.๓๒]
[48] [ก. ๑๙๙; รู. ๑๕๘; นี. ๗๓๖; จํ. ๕.๒.๒๑; ปา. ๖.๓.๒๕]
[49] น่าจะหมายความว่า วิชา เป็นสัมพันธะ ส่วนผู้สอนวิชา กล่าวคือ อาจารย์ เป็นสัมพันธี โยนิ กำเนิด ชื่อว่า สัมพันธะ มารดา ผู้ให้กำเนิด ชื่อว่า สัมพันธี. ดังนั้น สูตรนี้มีใจความโดยสรุปว่า เมื่อบทหลัง ซึ่งลง ตุ ปัจจัย และเป็นนามศัพท์มี ปิตุ เป็นต้น มีอำนาจให้บทหน้าซึ่งตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ให้วิชาหรือผู้ให้กำเนิด ที่ท่านเรียกในที่นี้ว่า วิชฺชาสมฺพนฺธี และ โยนิสมฺพนฺธี ให้แปลงสระที่สุดของบทหน้านั้นเป็น อา และสูตรนี้เป็นวิสัยของทวันทสมาสเท่านั้น.
[50] [ก. ๑๙๙; รู. ๑๕๘; นี. ๗๓๖; จํ. ๕.๒.๒๒; ปา. ๖.๓.๒๕]
[51] [ชา. ๒.๑๙.๑๑๘]
[52] [ปารา. ๓๔]
[53] พระบาฬีชาดกเล่ม ๒ เป็น มาตุโฆ (ขุ.ชา.๒๘/๙๒ หรือ ฉบับฉัฏฐ.ข้อ ๑๑๘)
[54] [ก. ๓๓๙; รู. ๓๕๘; นี. ๗๓๑; ‘…ชยํ ปติมฺหิ’ (พหูสุ)]
[55] [ชยมฺปตี (พหูสุ)]
[56] [สํ. นิ. ๑.๒๖๔]
[57] ความข้อนี้มาในบาฬีสังยุตตนิกาย นิทานวรรคว่า เสยฺยยถาปิ ภิกฺขเว เทฺว ชายมฺปติกา ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปมาเหมือนภรรยาสามี สองคน.  และคัมภีร์สังยุตตฏีกาอธิบายคำว่า ชายมฺปติกา ว่าเป็นการเข้าสนธิระหว่าง ชายา  และ ปติ โดยวิธีการแห่งอาคมสนธิสนธิว่า ยาการสฺส รสฺสตฺตํ สานุนาสิกญฺจ กตฺวา วุตฺตํ ชายมฺปติกา. ทำรัสสะ ยา อักษร (เป็นย) และลงนิคคหิตเป็นอาคม. โดยนัยนี้ บทว่า ชายมฺปติ ไม่ใช่สมาส.
[58] [ก. ๔๐๔; รู. ๓๗๐; นี. ๒๕๗; จํ. ๕.๒.๖๕; ปา. ๖.๓.๕๗]
[59] [ก. ๔๐๔; รู. ๓๗๐; นี. ๒๕๗; จํ. ๕.๒.๖๙; ปา. ๖.๓.๕๙]
[60] ไม่พบตัวอย่างดังที่ท่านอ้างไว้ แต่มีพระบาฬีซึ่งสอดคล้องกับกฏข้อนี้ ดังนี้  นีโลทํ วนมชฺฌโต, ยมุนํ ปวิส ขุ.ชา.๒๘/๖๙๖. จงเข้าไปยังแม่น้ำยมุนาเป็นแม่น้ำมีสีเขียวไหลจากกลางป่า.
[61] [ก. ๔๐๔; รู. ๓๗๐; นี. ๒๕๖]
[62] [สํ. นิ. ๓.๗๘ (โถกํ วิสทิสํ)]
[63] [ก. ๔๐๔; รู. ๓๗๐; นฺโห (สี.)]
[64] [สายนฺโห]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น