วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ปุงลิงค์ - อการันต์ ครั้งที่ ๘ (คจฺฉนฺตาทิคณะ - วิเสสวิธาน ก.)


วิเสสวิธานมุจฺจเตฯ
จะกล่าวถึงรูปแบบพิเศษ

นฺตสฺส จ ฏ วํเสติ อํ, เสสุ นฺตสฺส ฏตฺตํ, ยํ ยญฺหิ ราช ภชติ, สนฺตํ วา ยทิ วา อสํฯ สีลวนฺตํ วิสีลํ วา, วสํ ตสฺเสว คจฺฉติ [ชา. ๑.๑๕.๑๘๑]ฯ กิจฺจานุกฺรุพฺพสฺส กเรยฺย กิจฺจํ [ชา. ๑.๒.๑๔๕] อนุกฺรุพฺพสฺสาติ ปุน กโรนฺตสฺสฯ
แปลง นฺต เป็น อ เพราะอํ และวิภัตติที่เหลือ ด้วยสูตร นฺตสฺส จ ฏ วํเส เช่น
                       ยํ ยญฺหิ ราช ภชติ,        สนฺตํ วา ยทิ วา อสํฯ
                            สีลวนฺตํ วิสีลํ วา,          วสํ ตสฺเสว คจฺฉติ [ขุ.ชา. (๑) ๒๗/๒๑๕๒ (สยาม)]ฯ
ข้าแต่พระราชา บุคคลคบคนใดๆ เป็นสัตบุรุษ อสัตบุรุษ มีศีล หรือไม่มีศีล บุคคลนั้นย่อมไปสู่อำนาจของบุคคลนั้นนั่นเทียว.


กิจฺจานุกฺรุพฺพสฺส กเรยฺย กิจฺจํ [ขุ.ชา.(๑)๒๗/๒๙๕ (สยาม)]
ควรทำกิจ แก่ผู้ที่ช่วยทำกิจของตนเนืองๆ.
ในตัวอย่างนี้ บทว่า อนุกฺรุพฺพสฺส ได้แก่ ปุน กโรนฺตสฺส (ทำเนืองๆ)[1]

มหาวุตฺตินา ปฐมาโยมฺหิ จ สวิภตฺติสฺส นฺตสฺส อํ โหติ, อปิ นุ ตุมฺเห เอกนฺตสุขํ โลกํ ชานํ ปสฺสํ วิหรถ [ที. นิ. ๑.๔๒๕], กสํ เขตฺตํ พีชํ วปํ, ธนํ วินฺทนฺติ มาณวา [เถรีคา. ๑๑๒], ภรนฺติ มาตาปิตโร, ปุพฺเพ              กตมนุสฺสรํ [อ. นิ. ๕.๓๙]ฯ
ด้วยมหาสูตร เพราะโยปฐมาวิภัตติ แปลง นฺต พร้อมกับวิภัตติเป็น อํ เช่น
อปิ นุ ตุมฺเห เอกนฺตสุขํ โลกํ ชานํ ปสฺสํ วิหรถ [ที.สี.๑๐/๒๙๙ (สยาม)],
เออก็ ท่านยังรู้เห็นโลกมีสุขโดยส่วนเดียวบ้างหรือ

กสํ เขตฺตํ พีชํ วปํ, ธนํ วินฺทนฺติ มาณวา [ขุ.เถรี.๒๖/๔๔๘][2],
มาณพทั้งหลายไถนาด้วยไถ หว่านพืชลงบนแผ่นดิน หาทรัพย์เลี้ยงบุตรภรรยา

ภรนฺติ มาตาปิตโร, ปุพฺเพ กตมนุสฺสรํ [อํ.ปญฺจ.๒๒/๓๙ (สยาม)]ฯ
เมื่อระลึกถึงบุรพคุณของท่าน จึงเลี้ยงมารดาบิดา.

๑๒๘. มหนฺตารหนฺตานํ ฏา วา [นี. ๓๘๗, ๗๑๒]ฯ
แปลง นฺต ของ มหนฺต และ อรหนฺต ศัพท์ เป็น อา ได้บ้าง

สิมฺหิ เอเตสํ นฺตสฺส ฏา โหติ วาฯ มหา, มหํ, มหนฺโต, มหนฺตา, มหนฺโต, โภ มห, โภ มหา, โภ มหํ, โภนฺโต มหนฺตา, โภนฺโต มหนฺโต, มหนฺตํฯ
เพราะสิวิภัตติอันเป็นเบื้องหลัง แปลง นฺต อันเป็นที่สุดของ มหนฺต และ อรหนฺตศัพท์ เหล่านั้นเป็น อา ได้บ้าง เช่น
ปฐมาวิภัตติ
มหา, มหํ, มหนฺโต  ผู้ยิ่งใหญ่
มหนฺตา, มหนฺโต ผู้ยิ่งใหญ่ท.

อาลปนวิภัตติ
โภ มห, โภ มหา, โภ มหํ ข้าแต่ผู้ยิ่งใหญ่
โภนฺโต มหนฺตา, โภนฺโต มหนฺโต ข้าแต่ผู้ยิ่งใหญ่ท.

ทุติยาวิภัตติ
มหนฺตํ ซึ่งผู้ยิ่งใหญ่

นฺตสฺส จ ฏ วํเสติ อํมฺหิ นฺตสฺส ฏตฺตํ, ‘‘สุมหํ ปุรํ, ปริกฺขิปิสฺส’’นฺติ [ชา. ๒.๒๒.๗๙๒] ปาฬิ-สุฏฺฐุ มหนฺตํ พาราณสิปุรนฺติ อตฺโถฯ เสสํ คจฺฉนฺตสมํฯ
เพราะอํ แปลง นฺต เป็น อ ได้ด้วยสูตรว่า นฺตสฺส จ ฏ วํเส มีพระบาฬีนี้เป็นหลักฐาน
‘‘สุมหํ ปุรํ, ปริกฺขิปิสฺส’’นฺติ [ชา. ๒).๒๘/]
(นาคทั้งหลายจงแผ่พังพานห้อยอยู่ที่บ้านเรือน ในสระน้ำ ที่ทางเดินที่ทาง ๔ แพร่ง บนยอดไม้ และบนเสาระเนียด แม้เราก็จะนิรมิตตัวให้ใหญ่ขาวล้วน วงล้อมเมืองใหญ่ ด้วยขนดหาง ยังความกลัวให้เกิด.
ในพระบาฬีนั้น สุมหํ ปุรํ ได้แก่ สุฏฺฐุ มหนฺตํ พาราณสิปุรํ แปลความว่า ซึ่งเมืองพาราณสี ที่ใหญ่ดี
ในรูปที่เหลือเหมือนคจฺฉนฺต ศัพท์

อรหา ติฏฺฐติฯ นฺตสฺสํ สิมฺหีติ สิมฺหิ นฺตสฺส อํ, อรหํ สุคโต โลเก [สํ. นิ. ๑.๑๖๑], อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ [ปารา. ๑], อรหนฺตา, อรหนฺโต, อรหนฺตํ, อรหนฺเต, อรหนฺเตน, อรหตา, อรหนฺเตหิ, อรหนฺเตภิ, อรหนฺตสฺส, อรหโต, อรหนฺตานํ, อรหตํ อิจฺจาทิฯ
อรหนฺต ศัพท์
ปฐมาวิภัตติ
อรหา พระอรหันต์ เช่น
อรหา ติฏฺฐติ พระอรหันต์ ย่อมยืน.

ทุติยาวิภัตติ
เพราะ สิ แปลง นฺต ของ อรหนฺต ศัพท์ เป็น อํ ด้วยสูตร นฺตสฺสํ สิมฺหิ (สำเร็จรูปเป็น อรหํ) เช่น
อรหํ ซึ่งพระอรหันต์ เช่น
อรหํ สุคโต โลเก [สํ.ส. ๑๕/๑๖๑ (มหาจุฬา)]
พระผู้มีพระภาค เป็นพระอรหันต์ ผู้เสด็จไปดีแล้ว ทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก

อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
พระผู้มีพระภาค เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ.

อรหนฺตา, อรหนฺโต ซึ่งพระอรหันต์
อรหนฺตํ, อรหนฺเต ซึ่งพระอรหันต์ท.

ตติยาวิภัตติ
อรหนฺเตน, อรหตา ด้วยพระอรหันต์
อรหนฺเตหิ, อรหนฺเตภิ ด้วยพระอรหันต์ท.

จตุตถีวิภัตติ
อรหนฺตสฺส, อรหโต แก่พระอรหันต์
อรหนฺตานํ, อรหตํ แก่พระอรหันต์ท.

มหาวุตฺตินา พฺรหฺมนฺตสฺส จ นฺตสฺส ฏา โหติ สิมฺหิ, พฺรหา, พฺรหนฺโต, พฺรหนฺตา, พฺรหนฺโต, พฺรหนฺตํ, พฺรหนฺเต อิจฺจาทิฯ
ด้วยมหาสูตร เพราะ สิวิภัตติ แปลง ที่สุดของพฺรหฺม ศัพท์ และ นฺต เป็น อา เช่น
ปฐมาวิภัตติ
พฺรหา, พฺรหนฺโต พรหม
พฺรหนฺตา, พฺรหนฺโต, พรหมท.

ทุติยาวิภัตติ
พฺรหนฺตํ ซึ่งพรหม
พฺรหนฺเต ซึ่งพรหมท.

‘‘สา ปริสา มหา โหติ, สา เสนา ทิสฺสเต มหา’’ติ [ชา. ๒.๒๒.๗๗๑] จ ‘‘มหา ภนฺเต ภูมิจาโล’’ติ               [อ. นิ. ๘.๗๐] จ ‘‘มหา เต อุปาสก ปริจฺจาโค’’ติ [ชา. อฏฺฐ. ๔.๑๓.อกิตฺติชาตกวณฺณนา] จ ‘‘มหา เม                  ภยมาคต’’นฺติ จ ‘‘พาราณสิรชฺชํ นาม มหา’’ติ [ชา. อฏฺฐ. ๑.๑.มหาสีลวชาตกวณฺณนา] จ ‘‘มหาสฺส โหนฺติ ปริวารา พฺราหฺมณคหปติกา, มหาสฺส โหนฺติ ปริวารา ภิกฺขู ภิกฺขุนิโย’’ติ [ที. นิ. ๓.๒๐๔] จ ‘‘มหา วหนฺติ ทุทิฏฺฐิํ, สงฺกปฺปา ราคนิสฺสิตา’’ติ จ ปาฬีฯ อตฺร มหาสทฺโท นิปาตปฏิรูปโกปิ สิยาฯ
แต่ยังมีมหาศัพท์ ที่เป็นศัพท์นิบาตปฏิรูปกะ (มีรูปคล้ายนิบาต) ในพระบาฬีเช่น
สา ปริสา มหา โหติ,
บริษัทนั้น เป็นบริษัทใหญ่มาก.

สา เสนา ทิสฺสเต มหา [ชา. (๒) ๒๘/๖๗๙ (สยาม)]
เสนา คือ กองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ ปรากฏมากมาย

มหา ภนฺเต ภูมิจาโล [อ. นิ. ๘.๗๐]
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินไหวครั้งนี้ ใหญ่มาก.

มหา เต อุปาสก ปริจฺจาโค [ชา. อฏฺฐ. ๔.๑๓.อกิตฺติชาตกวณฺณนา]
อุบาสก การบริจาคของท่านยิ่งใหญ่.

มหา เม ภยมาคตํ
ภัยใหญ่มาถึงแก่เราแล้ว

พาราณสิรชฺชํ นาม มหา [ชา. อฏฺฐ. ๑.๑.มหาสีลวชาตกวณฺณนา]
ขึ้นชื่อการครองรัชสมบัติในเมืองพาราณสี ยิ่งใหญ่.

มหาสฺส โหนฺติ ปริวารา พฺราหฺมณคหปติกา [ที.ปา. ๑๑/๑๓๔ (สยาม)]
พึงมีบริวารมาก คือ มีบริวารเป็นพราหมณ์ เป็นคฤหบดี

มหาสฺส โหนฺติ ปริวารา ภิกฺขู ภิกฺขุนิโย [ที.ปา. ๑๑/๑๓๔ (สยาม)]
พึงมีบริวารมาก คือ มีบริวารเป็นภิกษุ เป็นภิกษุณี เป็นอุบาสก เป็นอุบาสิกา

มหา วหนฺติ ทุทิฏฺฐิํ, สงฺกปฺปา ราคนิสฺสิตา [ขุ.ธ.๒๕/๒๔ (สยาม)]
ความดำริทั้งหลายที่อาศัยราคะ เป็นของใหญ่ ย่อมนำบุคคลผู้มีตัณหาไป.


[1] ปาฐะฉบับสยามรัฐและ ฉบับฉัฏฐสังคายนาเป็น กิจฺจานุกุพฺพสฺส.
[2]  แปลตามปาฐะที่มีในพระบาฬีเถรีคาถา (๒๖/๔๔๘) ปัจจุบัน ที่เป็น
นงฺคเลหิ กสํ เขตฺตํ       พีชานิ ปวปํ ฉมา 
ปุตฺตทารานิ โปเสนฺตา      ธนํ วินฺทนฺติ มาณวา ฯ
มาณพทั้งหลายไถนาด้วยไถ หว่านพืชลงบนแผ่นดิน หาทรัพย์เลี้ยงบุตรภรรยา
จากปาฐะนี้ กสํ คือ กสนฺตา, ปวปํ คือ วปนฺตา โดยแปลง นฺต เป็น อํ เพราะโย. แต่ตามอรรถกถานัยแปลง นฺต เป็น อํ ตามหลักการของสูตร ๑๒๗. นฺตสฺสํ สิมฺหิ (เพราะสิ แปลง นฺต เป็น อํ) ตามที่อรรถกถาอธิบายว่า เป็น เอกวจนะ ใช้ในอรรถพหุวจนะ. ตตฺถ กสนฺติ กสนฺตา กสิกมฺมํ กโรนฺตาฯ พหุตฺเถ หิ อิทํ เอกวจนํฯ ปวปนฺติ พีชานิ วปนฺตาฯ (บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสํ ได้แก่ ไถนา คือ ทำกสิกรรม. ความจริงคำนี้เป็นเอกวจนะ ใช้ในอรรถพหุวจนะ.  บทว่า  ปวปํ ได้แก่   หว่านเมล็ดพืช.) [เถรี.อ.ปฎาจาราเถรีคาถา]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น