วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การกกัณฑ์ ๔ - จตุตถีวิภัตติ


จตุตฺถีวิภตฺติราสิ
กลุ่มอรรถของจตุตถีวิภัตติ
กสฺมิํ อตฺเถ จตุตฺถี?
จตุตถีวิภัตติ ใช้ในอรรถใดบ้าง?
อรรถสัมปทาน
(ใช้จตุตถีวิภัตติในอรรถแห่งสัมปทาน ด้วยสูตรนี้)


๓๐๙. สมฺปทาเน จตุตฺถี [๑]
สมฺปทาเน จตุตฺถี โหติฯ
สมฺมา ปทียเต อสฺสาติ สมฺปทานํ, สมฺปฏิจฺฉกนฺติ วุตฺตํ โหติฯ

๓๐๙. สมฺปทาเน จตุตฺถี.
จตุตถีวิภัตติ ใช้ในอรรถคือสัมปทาน.
ลงจตุตถีวิภัตติในสัมปทานะ.
บทว่า สมฺปทาน มีวิเคราะห์ว่า
สมฺมา ปทียเต อสฺสาติ สมฺปทานํ, สมฺปฏิจฺฉกนฺติ วุตฺตํ โหติ.  สิ่งของ อันเขา ย่อมให้ แก่บุคคลนี้ โดยชอบ เพราะเหตุนั้น บุคคลนี้ ชื่อว่า สัมปทานะ  หมายความว่า เป็นผู้รับ.

ตํ วตฺถุสมฺปฏิจฺฉกํ, กฺริยาสมฺปฏิจฺฉกนฺติ ทุวิธํฯ ภิกฺขุสฺส จีวรํ เทติ, พุทฺธสฺส สิลาฆเตฯ


สัมปทานะดังกล่าวมามี ๒ คือ ผู้รับวัตถุ และ ผู้รับการกระทำ (กริยา). ตัวอย่างเช่น ภิกฺขุสฺส จีวรํ เทติ ทายก ย่อมถวาย ซึ่งจีวรแก่ภิกษุ.  พุทฺธสฺส สิลาฆเต  อุบาสก ย่อมนอบน้อม ต่อพระพุทธเจ้า.

ปุน อนิรากรณํ, อนุมติ, อาราธนนฺติ ติวิธํ โหติ.
ตตฺถ น นิรากโรติ น นิวาเรตีติ อนิรากรณํ, ทิยฺยมานํ น ปฏิกฺขิปตีติ อตฺโถฯ อสติ หิ ปฏิกฺขิปเน สมฺปฏิจฺฉนํ นาม โหตีติฯ กายจิตฺเตหิ สมฺปฏิจฺฉนาการํ ทสฺเสตฺวา ปฏิคฺคณฺหนฺตํ สมฺปทานํ อนุมติ นามฯ วิวิเธหิ อายาจนวจเนหิ ปรสฺส จิตฺตํ อาราเธตฺวา สมฺปฏิจฺฉนฺตํ อาราธนํ นามฯ โพธิรุกฺขสฺส ชลํ เทติ, ภิกฺขุสฺส อนฺนํ เทติ, ยาจกสฺส อนฺนํ เทติฯ


สัมปทานะแบ่งเป็น ๓ อย่างอีก คือ อนิรากรณสัมปทาน, อนุมติสัมปทาน และ อาราธนสัมปทาน.
บรรดาสัมปทาน ๓ เหล่านั้น
อนิรากรณสัมปทาน ได้แก่ สัมปทานะ(ผู้รับ) ชนิดที่ไม่ห้าม หมายถึง ไม่ปฏิเสธสิ่งของที่มีผู้นำมาให้. เพราะว่า เมื่อไม่ห้าม ก็คือการรับนั่นเอง.
อนมุติสัมปทาน ได้แก่ สัมปทานะ ที่ผู้รับครั้นได้แสดงอาการที่รับด้วยกายและจิตแล้ว จึงรับเอา.
อาราธนสัมปทาน ได้แก่ สัมปทานะที่ทำให้จิตของผู้อื่น (คือ ผู้ที่ตนขอ) ยินดี ด้วยการอ้อนวอนหลายอย่างด้วยกัน จึงรับเอา.
อนิรากรณสัมปทานเป็นต้น มีตัวอย่างดังนี้.
โพธิรุกฺขสฺส ชลํ เทติ. เขาให้น้ำ (รดน้ำ) แก่ต้นโพธิ์. ภิกฺขุสฺส อนฺนํ เทติ. อุบาสิกา ถวายข้าวแก่ภิกษุ.ยาจกสฺส อนฺนํ เทติ. บุรุษให้ข้าวแก่ยาจก.

กฺริยาสมฺปฏิจฺฉกํ นานากฺริยาวเสน พหุวิธํฯ

ผู้รับการกระทำ มีมากอย่าง เนื่องด้วยกริยาต่างๆกัน.
ตตฺถ โรจนกฺริยาโยเค

บรรดาผู้รับการกระทำต่างๆเหล่านั้น ลงจตุตถีวิภัตติในสัมปทาน ในที่ประกอบด้วยกิริยาการ “ยินดี (โรจนกริยา)” เช่น
ตญฺจ อมฺหากํ รุจฺจติ เจว ขมติ จ. ปพฺพชฺชา มม รุจฺจติ.กสฺส สาทุํ น รุจฺจติ, น เม รุจฺจติ ภทฺทนฺเต, อุลูกสฺสาภิเสจนํ.คมนํ มยฺหํ รุจฺจติ. มายสฺมนฺตานมฺปิ สงฺฆเภโท รุจฺจิตฺถ. ยสฺสายสฺมโต น ขมติ, ขมติ สงฺฆสฺส.ภตฺตํ มยฺหํ ฉาเทติ, ภตฺตมสฺส นจฺฉาเทติ. เตสํ ภิกฺขูนํ ลูขานิ โภชนานิ นจฺฉาเทนฺติ. ตตฺถ ฉาเทตีติ อิจฺฉํ อุปฺปาเทตีติ อตฺโถฯ

ตญฺจ อมฺหากํ รุจฺจติ เจว ขมติ จ  (ม.มู.๑๒/๒๑๙) คำที่นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวแล้วนั้น ชอบใจและควรแก่พวกข้าพเจ้า. ปพฺพชฺชา มม รุจฺจติ (ขุ.ชา.๒๘/๔๐๙)การบวช ชอบใจ แก่เกล้ากระหม่อม (เกล้ากระหม่อมก็ชอบบวช). กสฺส สาทุํ น รุจฺจติ (วิ.มหา.๒/๔๗๕) อาหารที่อร่อยจะไม่ชอบใจแก่ใคร. น เม รุจฺจติ ภทฺทนฺเต, อุลูกสฺสาภิเสจนํ (ขุ.ชา.๒๗/๔๑๑) ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย การแต่งตั้งนกเค้าให้เป็นใหญ่ ไม่ชอบใจแก่ข้าพเจ้า. น วาสมภิโรจามิ, คมนํ มยฺหํ (มยฺหํปิ – สฺยาม) รุจฺจติ (ขุ.ชา.๒๘/๑๑๖๔) ข้าแต่พระองค์ผู้จอมทัพ ข้าพระองค์ไม่ชอบใจการพักอยู่  ข้าพระองค์ยินดีจะไป. มายสฺมนฺตานมฺปิ สงฺฆเภโท รุจฺจิตฺถ (วิ.มหา.๑/๖๐๒).ความทำลายสงฆ์ อย่าได้ชอบใจ แม้แก่พวกท่าน. ยสฺสายสฺมโต น ขมติ (วิ.มหา.๑/๕๐๔). พื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์แสดงแล้ว ชอบแก่สงฆ์. ขมติ สงฺฆสฺส (วิ.มหา.๑/๕๙๘) .(ภิกษุผู้มีชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้น) ชอบแก่สงฆ์.  ภตฺตํ มยฺหํ ฉาเทติ. อาหารย่อมไม่ชอบแก่ข้าพเจ้า. ภตฺตมสฺส นจฺฉาเทติ (วิ.จูฬ.๗/๑๗๓).อาหารย่อมไม่ชอบแก่ภิกษุนั้น (ผู้ไม่เคี้ยวไม้ชำระฟัน).เตสํ ภิกฺขูนํ ลูขานิ โภชนานิ นจฺฉาเทนฺติ.โภชนาหารทั้งหลาย ที่เศร้าหมอง ย่อมไม่ชอบใจ แก่ภิกษุเหล่านั้น. ในตัวอย่างนี้ บทว่า ฉาเทติ ความหมายคือ อิจฺฉํ อุปฺปาเทติ ทำความปรารถนาให้เกิดขึ้น.

ธารณปฺปโยเค
ฉตฺตคฺคาโห รญฺโญ ฉตฺตํ ธาเรติ. สมฺปติชาตสฺส โพธิสตฺตสฺส เทวา ฉตฺตํ ธารยิํสุฯ


ในที่ประกอบด้วยกิริยาการทรงไว้ เช่น
ฉตฺตคฺคาโห รญฺโญ ฉตฺตํ ธาเรติ.พนักงานร่ม กั้นร่มถวาย แด่พระราชา. สมฺปติชาตสฺส โพธิสตฺตสฺส เทวา ฉตฺตํ ธารยิํสุ. เทวดาทั้งหลาย กางร่มแก่พระโพธิสัตว์ ที่ทรงประสูติในขณะนั้น.

พุทฺธสฺส สิลาฆเต, โถเมตีติ อตฺโถ.
(ในที่ประกอบกับสิลาฆธาตุเป็นต้น)
ที่ประกอบกับสิลาฆธาตุ เช่น
พุทฺธสฺส สิลาฆเต, โถเมตีติ อตฺโถ ย่อมสรรเสริญต่อพระพุทธเจ้า. บทว่า สิลาฆเต ความหมายคือ โถเมติ สรรเสริญ.

ตุยฺหํ หนุเต, ตุณฺหิภาเวน วญฺเจตีติ อตฺโถ.
ที่ประกอบกับ หนุธาตุ[๒] เช่น ตุยฺหํ หนุเต, ตุณฺหิภาเวน วญฺเจตีติ อตฺโถ ย่อมหลอกลวง ต่อท่าน. หมายความว่า ย่อมหลอกลวงโดยความเป็นผู้นิ่ง.

ภิกฺขุนี ภิกฺขุสฺส ภุญฺชมานสฺส ปานีเยน วา วิธูปเนน วา อุปฏฺฐาติ.ทุติยาปิ โหติ, รญฺโญ อุปฏฺฐาติ. ราชานํ อุปฏฺฐาติ, อหํ โภติํ อุปฏฺฐิสฺสํ. อหํ ตํ อุปฏฺฐิสฺสามิ, มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ.
ที่ประกอบกับ ฐา ธาตุ[๓] เช่น ภิกฺขุนี ภิกฺขุสฺส ภุญฺชมานสฺส ปานีเยน วา วิธูปเนน วา อุปฏฺฐาติ [วิ.ภิกฺขุนี.๓/๑๖๘ ) (ภิกษุนีใด) พึงอุปัฏฐาก (รับใช้) ต่อภิกษุ  ผู้ฉันอยู่ ด้วยการถวายน้ำ หรือด้วยการพัดวี.
ลงทุติยาวิภัตติ ก็มี เช่น
รญฺโญ อุปฏฺฐาติ, ราชานํ อุปฏฺฐาติ, ย่อมถวายการบำรุงแด่พระราชา, ถวายการบำรุงซึ่งพระราชา. อหํ โภติํ อุปฏฺฐิสฺสํ [ชา. ๒/๑๑๒๗] ฉันจักบำรุงเธอ (แม่นางผู้เจริญ). อหํ ตํ อุปฏฺฐิสฺสามิ เราจะบำรุงซึ่งท่าน. มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ [ขุ.ปา.๕,] การบำรุงมารดาและบิดา.

ตุยฺหํ สปเต. สปสฺสุ เม เวปจิตฺติ. เต สมฺม อหํ กโรมิ. ตว มยิ สทฺทหนตฺถํ สจฺจํ กโรมีติ อตฺโถ.
ที่ประกอบกับ สป ธาตุ[๔] เช่น ตุยฺหํ สปเต  ย่อมสาบาน ต่อท่าน. สปสฺสุ เม เวปจิตฺติ (สํ.ส.๑๕/๘๘๘) (ท้าวสักกะตรัสว่า) ดูก่อนท้าวเวปจิตติ ก็ท่านจงสาบาน (เพื่อที่จะไม่ประทุษร้ายต่อเรา). สปถมฺปิ เต สมฺม อหํ กโรมิ (ชา.๒๘/๓๓๘) ดูกรพระสหาย  หม่อมฉัน (จะจับดาบและหอก) จะทำแม้การสาบานแก่พระองค์ก็ได้. (ข้อความนี้หมายความว่า) ตว มยิ สทฺทหนตฺถํ สจฺจํ กโรมีติ อตฺโถ. หม่อมฉันจะกระทำซึ่งคำสัตย์ เพื่อให้ท่านเชื่อถือในหม่อมฉัน.

รญฺโญ สตํ ธาเรติ.  อิธ กุลปุตฺโต น กสฺสจิ กิญฺจิ ธาเรติ. ตสฺส รญฺโญ มยํ นาคํ ธารยาม.  





ตตฺถรญฺโญ สตํ ธาเรตีติ สตํ พลิธนํ วา ทณฺฑธนํ วา นิเทตีติ อตฺโถ, ‘‘อิณํ กตฺวา คณฺหาตี’’ติ จ วทนฺติฯ ธารยามาติ ปุน นิเทม.
ในที่ประกอบกับ ธร ธาตุ เช่น รญฺโญ สตํ ธาเรติ ย่อมทรงไว้ซึ่งทรัพย์หนึ่งร้อย[๕] แด่พระราชา. อิธ กุลปุตฺโต น กสฺสจิ กิญฺจิ ธาเรติ [อํ.จตุกฺก.๒๑/๖๒] กุลบุตรในโลกนี้ ย่อมไม่ทรงไว้ซึ่งทรัพย์  (คือเป็นหนี้) อะไรๆ แก่ใครๆ น้อยก็ตาม มากก็ตาม. ตสฺส รญฺโญ มยํ นาคํ ธารยาม พวกเรา ย่อมทรงไว้ ซึ่งช้าง แด่พระราชานั้น.

บรรดาตัวอย่างเหล่านั้น ตัวอย่างว่า รญฺโญ สตํ ธาเรติ หมายความว่า ประชาชนจะต้องชดใช้ทรัพย์คือภาษี ก็ดี ทรัพย์คือค่าปรับ ก็ดี จำนวน ๑๐๐ คืนให้พระราชาและ อาจารย์ทั้งหลายกล่าวอธิบายว่า ลูกหนี้ รับ (ทรัพย์) มาโดยทำให้เป็นหนี้. และรับเอาอีก โดยกล่าวว่า “พวกเราทรงไว้ (ยอมรับ) ซึ่งหนี้นั้นไว้.[๖]
ตุยฺหํ สทฺทหติ, มยฺหํ สทฺทหติ, สทฺทหาสิ สิงฺคาลสฺส, สุราปีตสฺส พฺราหฺมณ [ชา. ๑.๑.๑๑๓]ฯ


ตุยฺหํ สทฺทหติ ย่อมเชื่อ ต่อท่านมยฺหํ สทฺทหติ.ย่อมเชื่อ ต่อเรา. สทฺทหาสิ สิงฺคาลสฺส, สุราปีตสฺส พฺราหฺมณ. [ขุ.ชา.๒๗/๑๑๓] ดูกรพราหมณ์ ท่านเชื่อต่อสุนัขผู้ดื่มสุราหรือ?
เทวาปิ เต ปิหยนฺติ ตาทิโน. เทวาปิ เตสํ ปิหยนฺติ.  สมฺพุทฺธานํ สตีมตํ. ‘ปิหยนฺตีติ ปุนปฺปุนํ ทฏฺฐุํ ปตฺเถนฺตีติ อตฺโถฯ





ทุติยาปิ โหติ, สเจ มํ ปิหยสิ, ธนํ ปิเหติ, หิรญฺญํ ปิเหติ, สุวณฺณํ ปิเหติฯ
ตติยาปิ ทิสฺสติ, รูเปน ปิเหติ, สทฺเทน ปิเหติ อิจฺจาทิฯ

ในที่ประกอบกับ ปิห ธาตุ เช่น เทวาปิ ตสฺส ปิหยนฺติ ตาทิโน. (ขุ.ธ.๒๕/๗) แม้เทวดาทั้งหลาย ย่อมปรารถนา ต่อบุคคลผู้คงที่นั้น.เทวาปิ เตสํ ปิหยนฺติ สมฺพุทฺธานํ สตีมตํ. (ขุ.ธ. ๒๕/๒๔). แม้เทพเจ้า ย่อมปรารถนา ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหล่านั้น ผู้มีสติ. บทว่า ปิหยนฺติ มีความหมายว่า ปรารถนาจะเห็นอยู่บ่อยๆ.[๗]

นอกจากจะลงจตุตถีวิภัตติแล้ว แม้ในที่ประกอบกับธาตุนี้ ยังลงวิภัตติอื่นได้อีก คือ ทุติยาวิภัตติและตติยาวิภัตติ. ทุติยาวิภัตติ เช่น สเจปิมํ ปิหยสิ (ขุ.ชา.๒๗/๙๖๗) ถ้าท่านปรารถนา (การแต่งหนวด อันข้าพเจ้ากระทำแล้ว)นี้.[๘] ธนํ ปิเหติต้องการทรัพย์. หิรญฺญํ ปิเหติ ต้องการเงินสุวณฺณํ ปิเหติ ต้องการทอง. ตติยาวิภัตติ เช่น รูเปน ปิเหติ ปรารถนารูป. สทฺเทน ปิเหติ ปรารถนาเสียง.

ตสฺส กุชฺฌ มหาวีร. มา เม กุชฺฌ รเถสภ.  ยทิหํ ตสฺส กุปฺเปยฺยํ.  มาตุ กุปฺปติ. ปิตุ กุปฺปติ.
(ลงจตุตถีวิภัตติ ในที่ประกอบกับ กุธธาตุ และธาตุอื่นที่มีความหมายของกุธธาตุนั้น) เช่น ตสฺส กุชฺฌ มหาวีร [ขุ.ชา. ๒๗/๕๕๐] ข้าแต่ท่านผู้มีความเพียรมาก (ผู้ใด ให้ตัดมือ ตัดเท้า หู และจมูกของท่าน) ท่านจงโกรธผู้นั้นเถิด  มา เม กุชฺฌ รเถสภ [ขุ.ชา. ๒๗/๓๗๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ขอพระองค์อย่าได้ทรงพิโรธแก่ข้าพระองค์เลย. ยทิหํ ตสฺส กุปฺเปยฺยํ (ขุ.อป.(๒) ๓๓/๑๓) ถ้าแหละ เราโกรธเคืองต่อหมองูนั้น ก็พึงทำเขาให้เป็นเถ้าโดยฉับพลัน.มาตุ กุปฺปติ เขาโกรธเคือง ต่อมารดา. ปิตุ กุปฺปติ.เขาโกรธเคือง ต่อบิดา

โย อปฺปทุฏฺฐสฺส นรสฺส ทุสฺสติ.
ในที่ประกอบกับทูสธาตุ เช่น โย อปฺปทุฏฺฐสฺส นรสฺส ทุสฺสติ [ขุ.ธ.๒๕/๑๙] ผู้ใดย่อมประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้าย.

ทุหยติ ทิสานํ เมโฆ, ปูเรติ วินาเสติ วาติ อตฺโถ, อกาเล วสฺสนฺโต หิ วินาเสติ นาม, โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ. อทุฏฺฐสฺส ตุวํ ทุพฺภิ. มิตฺตานํ น ทุพฺเภยฺย.
ในที่ประกอบกับ ทุหธาตุ เช่น ทุหยติ ทิสานํ เมโฆ, ปูเรติ วินาเสติ วาติ อตฺโถ, อกาเล วสฺสนฺโต หิ วินาเสติ นาม. เมฆ ย่อมประทุษร้าย ต่อทิศทั้งหลาย. ความหมายคือ ทำให้เต็ม. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ทำให้พินาศ. จริงอยู่ เมื่อเมฆให้ฝนตกในสมัยมิใช่กาล ชื่อว่า ทำให้พินาศ. โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ [ขุ.ชา. ๒๘/๔๐๑]ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตรอทุฏฺฐสฺส ตุวํ ทุพฺภิ  [ขุ.ชา. ๒๘/๗๕๗] เป็นคนประทุษร้ายต่อท่านผู้ไม่ประทุษร้าย.มิตฺตานํ น ทุพฺเภยฺย ไม่พึงประทุษร้ายต่อมิตรทั้งหลาย.

ติตฺถิยา อิสฺสนฺติ สมณานํ.
ในที่ประกอบกับ อิสฺส ธาตุ เช่น ติตฺถิยา อิสฺสนฺติ สมณานํ. เดียรถีย์ริษยาต่อสมณะทั้งหลาย.

อุสฺสูยนฺติ ทุชฺชนา คุณวนฺตานํ. ปติวิสฺสกานํ อุชฺฌาเปสิ.มา ตุมฺเห ตสฺส อุชฺฌายิตฺถ.มหาราชานํ อุชฺฌาเปตพฺพํ วิรวิตพฺพํ วิกฺกนฺทิตพฺพํ.
ในที่ประกอบกับ อุสูย ธาตุ เช่น  อุสฺสูยนฺติ ทุชฺชนา คุณวนฺตานํ.คนชั่ว ย่อมกล่าวโทษต่อท่านผู้มีคุณ.ปติวิสฺสกานํ อุชฺฌาเปสิ [ม.มู.๑๒/๒๖๖]  (นางกาลีทาสี) .... จึงเที่ยวกล่าวโทษ (โพนทะนา) ให้เพื่อนบ้านทราบ. มา ตุมฺเห ตสฺส อุชฺฌายิตฺถ[๙] เธอทั้งหลายอย่ายกโทษต่อภิกษุนั้นเลย. มหาราชานํ อุชฺฌาเปตพฺพํ วิรวิตพฺพํ วิกฺกนฺทิตพฺพํ [๑๐]อุบาสิกานั้น พึงยกโทษ พึงคร่ำครวญ พึงร้องแก่ท้าวมหาราชทั้งหลาย.

กฺยาหํ อยฺยานํ อปรชฺฌามิ, อยฺเย วา.  รญฺโญ อปรชฺฌติ ราชานํ วา, อาราโธ เม ราชา โหติ.

 (ลงจตุตถีวิภัตติในที่ประกอบ ราธธาตุ ที่มีอปเป็นบทหน้า และที่มี อา เป็นบทหน้า[๑๑])
(ราธ ที่มี อป เป็นบทหน้า = ทำร้าย)
กฺยาหํ อยฺยานํ อปรชฺฌามิ [วิ.มหาวิ.๑/๕๔๖] ภิกษุณีเมตติยาถามว่า ดิฉันผิดต่อพระคุณเจ้าอย่างไร.
(หรือจะใช้เป็นทุติยาวิภัตติก็ได้ เช่น)
อยฺเย อปรชฺฌามิ ดิฉันผิดซึ่งพระคุณเจ้าอย่างไร. รญฺโญ อปรชฺฌติ, ราชานํ วา อปรชฺฌติ ย่อมผิดต่อพระราชา.
(ราธ ที่มี อา เป็นบทหน้า =ยินดี)
อาราโธ เม ราชา (รญฺโญ?) โหติฯ ความยินดีของหม่อมฉัน ย่อมมี แก่พระราชา.

ปติ, อาปุพฺพสฺส สุ-ธาตุสฺส อนุ, ปติปุพฺพสฺส จ คี-ธาตุสฺส โยเค สมฺปทาเน จตุตฺถีฯ ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ‘‘ภิกฺขโว’’ติ, ‘‘ภทฺทนฺเต’’ติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุํ. เอตฺถ จ ปุพฺพวากฺเย อามนฺตนกฺริยาย กตฺตา ภควา, โส ปรวากฺเย ปจฺจาสุโยเค สมฺปทานํ โหติ, ‘ปจฺจสฺโสสุนฺติ ภทฺทนฺเตติ ปฏิวจนํ อทํสูติ อตฺโถฯ
ลงจตุตถีวิภัตติในอรรถสัมปทานะ ในที่ประกอบกันแห่งธาตุ คือ สุ ที่มี ปติ และ อา อุปสัค เป็นบทหน้า และ คี ที่มี อนุ และ ปติ เป็นบทหน้า เช่น ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ‘‘ภิกฺขโว’’ติ, ‘‘ภทฺทนฺเต’’ติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุํ. (อํ.เอก.๒๐/๑).  ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับต่อพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ.
ในตัวอย่างของ สุธาตุ ที่มี ปติเป็นบทหน้านี้ พระผู้มีพระภาค เป็นกัตตาของกิริยาคือการตรัสเรียก (อามันตกริยา) ในประโยคต้น, คำว่า พระผู้มีพระภาค ในประโยคหลัง เป็นสัมปทานะในที่ประกอบด้วย สุธาตุและปติอุปสัค. (ดังนั้น) คำว่า ปจฺจสฺโสสุํ จึงมีความหมายว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้ถวายคำตอบว่า ภทฺทนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าข้า[๑๒].
ภิกฺขู พุทฺธสฺส อาสุณนฺติ, ราชา พิมฺพิสาโร ปิลินฺทวจฺฉตฺเถรสฺส อารามิกํ ปฏิสฺสุตฺวา. อมจฺโจ รญฺโญ พิมฺพิสารสฺส ปฏิสฺสุตฺวา สมฺปฏิจฺฉิตฺวาติ อตฺโถ, ภิกฺขุ ชนํ ธมฺมํ สาเวติ, ชโน ตสฺส ภิกฺขุโน อนุคิณาติ ปฏิคิณาติ, สาธุการํ เทตีติ อตฺโถฯ

ภิกฺขู พุทฺธสฺส อาสุณนฺติ. พวกภิกษุ ทูลรับสนอง ต่อพระพุทธองค์.ราชา พิมฺพิสาโร ปิลินฺทวจฺฉตฺเถรสฺส อารามิกํ ปฏิสฺสุตฺวา [วิ.มหาว. ๔/๒๗๐].พระราชา พระนามว่า พิมพิสาร ทรงตอบรับ (คือ ปฏิญญา) ซึ่งการถวายอารามิกชน (ชนผู้ทำการวัด)  แด่พระปิลินทวัจฉเถระ.อมจฺโจ รญฺโญ พิมฺพิสารสฺส ปฏิสฺสุตฺวา [วิ.มหาว. ๔/๒๗๐]. อำมาตย์ทูลรับสนอง แด่พระเจ้าพิมพิสาร. หมายความว่า ปฏิสฺสุตฺวา หมายถึง สมฺฏิจฺฉิตฺวา แปลว่า รับสนอง. ภิกฺขุ ชนํ ธมฺมํ สาเวติ, ชโน ตสฺส ภิกฺขุโน อนุคิณาติ ปฏิคิณาติ. ภิกษุ ยังประชาชนให้สดับฟังพระธรรม, ประชาชน ได้ส่งเสียงตามแก่ภิกษุนัั้น, หมายความว่า ให้สาธุการ.

อาโรจนตฺถโยเค
อาโรจยามิ โว ภิกฺขเว ปฏิเวทยามิ โว ภิกฺขเว, อามนฺตยามิ โว ภิกฺขเว, ธมฺมํ โว เทเสสฺสา, ภิกฺขูนํ ธมฺมํ เทเสติ, ยถา โน ภควา พฺยากเรยฺย, นิรุตฺติํ เต ปวกฺขามิ, อหํ เต อาจิกฺขิสฺสามิ, อหํ เต กิตฺตยิสฺสามิ, ภิกฺขูนํ เอตทโวจฯ

ในที่ประกอบกับธาตุที่มีอรรถว่า บอก (อาโรจนตฺถ) เช่น อาโรจยามิ โว ภิกฺขเว [ม.มู. ๑๒/๔๑๖].ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต จะขอบอกแก่พวกเธอ.ปฏิเวทยามิ โว ภิกฺขเว [ม.มู. ๑๒/๔๑๖].ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจะแจ้งให้เธอทั้งหลายได้รู้.อามนฺตยามิ โว ภิกฺขเว [ที.มหา.๑๐/๒๑๘].ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจะขอเตือนพวกเธอ. ธมฺมํ โว เทเสสฺสามิ [ม.อุ.๑๔/๑๐๕] เราจะแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย ภิกฺขูนํ ธมฺมํ เทเสติ, ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย. ยถา โน ภควา พฺยากเรยฺย พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย โดยประการใด. นิรุตฺติํ เต ปวกฺขามิ.ข้าพเจ้าจะบอกคำขยายความแก่ท่าน. อหํ เต อาจิกฺขิสฺสามิ. เราจะบอกแก่ท่าน. อหํ เต กิตฺตยิสฺสามิ. ข้าพเจ้า ขอป่าวประกาศต่อท่าน. ภิกฺขูนํ เอตทโวจ ได้ตรัสพระดำรัสนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย.

๓๑๐. ตทตฺเถ
ตสฺสา ตสฺสา กฺริยาย อตฺโถติ ตทตฺโถ, ตทตฺเถ สมฺปทาเน จตุตฺถี โหติฯ


ตทัตถสัมปทาน
ลงจตุตถีวิภัตติ ในตทัตถสัมปทาน (การกะที่เป็นไปในประโยชน์ของกิริยานั้น) ด้วยสูตรนี้
๓๑๐ ตทตฺเถ[๑๓]
ใช้จตุตถีวิภัตติในตทัตถสัมปทาน.
ตทัตถะ หมายถึง ประโยชน์ของกิริยานั้นๆ. ลงจตุตถีวิภัตติในสัมปทาน อันเป็นประโยชน์ของกิริยานั้นๆ.

๓๑๑. สสฺสาย จตุตฺถิยา
อการนฺตโต จตุตฺถีภูตสฺส สสฺส อาโย โหติ วาฯ
วินโย สํวรตฺถาย, สํวโร อวิปฺปฏิสารตฺถาย, อวิปฺปฏิสาโร ปามุชฺชตฺถาย, ปามุชฺชํ ปีตตฺถาย, ปีติ ปสฺสทฺธตฺถาย, ปสฺสทฺธิ สุขตฺถาย, สุขํ สมาธตฺถาย, สมาธิ ยถาภูตญาณทสฺสนตฺถาย, ยถาภูตญาณทสฺสนํ นิพฺพิทตฺถาย, นิพฺพิทา วิราคตฺถาย, วิราโค วิมุตฺตตฺถาย, วิมุตฺติ วิมุตฺติญาณทสฺสนตฺถาย, วิมุตฺติญาณทสฺสนํ อนุปาทาปรินิพฺพานตฺถาย.อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ.อลํ กุกฺกุจฺจาย. อลํ สมฺโมหาย, ปากาย วชติ, ยุทฺธาย คจฺฉติ, คามํ ปิณฺฑาย ปาวิสิํฯ


๓๑๑. สสฺสาย จตุตฺถิยา[๑๔].
เปลี่ยน ส จตุตถีวิภัตติ เป็น อาย.
กรณีที่อยู่ท้าย อการันต์ ใช้ อาย แทน ส ที่เป็นจตุตถีวิภัตติ ได้บ้าง เช่น วินโย สํวรตฺถาย วินัย เพื่อประโยชน์แก่ความสำรวม. สํวโร อวิปฺปฏิสารตฺถาย. ความสำรวม เพื่อประโยชน์แก่ความไม่เดือดร้อน. อวิปฺปฏิสาโร ปามุชฺชตฺถาย. ความไม่เดือดร้อน เพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์ ปามุชฺชํ ปีตตฺถาย. ความปราโมทย์ เพื่อประโยชน์แก่ความปีติ. ปีติ ปสฺสทฺธตฺถาย. ความปีติ เพื่อประโยชน์แก่ปัสสัทธิ. ปสฺสทฺธิ สุขตฺถาย ปัสสัทธิ เพื่อประโยชน์แก่ความสุข. สุขํ สมาธตฺถาย. ความสุข เพื่อประโยชน์แก่สมาธิ. สมาธิ ยถาภูตญาณทสฺสนตฺถาย. สมาธิ เพื่อประโยชน์ แก่ความรู้เห็นตามเป็นจริง.ยถาภูตญาณทสฺสนํ นิพฺพิทตฺถาย. ความรู้เห็นตามเป็นจริง เพื่อประโยชน์แก่ความเบื่อหน่าย. นิพฺพิทา วิราคตฺถาย. ความเบื่อหน่าย เพื่อประโยชน์แก่ความสำรอก.  วิราโค วิมุตฺตตฺถาย ความสำรอก เพื่อประโยชน์แก่วิมุตติ. วิมุตฺติ วิมุตฺติญาณทสฺสนตฺถาย วิมุตติเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ. วิมุตฺติ -ญาณทสฺสนํ อนุปาทาปรินิพฺพานตฺถาย [วิ.ปริวาร.๘/๑๐๘๕] วิมุตติญาณทัสสนะเพื่อประโยชน์แก่ความดับสนิทหาปัจจัยมิได้. อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ [ม.มู.๑๒/๔๖] เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. อลํ กุกฺกุจฺจาย [วิ.มหาวิ.๑/๑๙]. ควรจะรำคาญ. อลํ สมฺโมหาย ควรจะลุ่มหลง. ปากาย วชติ  ไปเพื่อการหุงยุทฺธาย คจฺฉติ ไปเพื่อการรบ. คามํ ปิณฺฑาย ปาวิสิํ [วิ.ภิกขุนี. ๓/๔๘๐] เข้าไปสู่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต.

ตุมตฺโถปิ ตทตฺเถ สงฺคยฺหติ, อลํ มิตฺเต สุขาเปตุํ, อมิตฺตานํ ทุขาย จฯ โลกานุกมฺปาย พุทฺโธ โลเก อุปฺปชฺชติ, อลํ ผาสุวิหาราย, อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติฯ

ตุมัตถสัมปทาน (สัมปทานที่เป็นอรรถของตุํปัจจัย) ก็สงเคราะห์เข้าในตทัตถสัมปทานนี้ได้[๑๕] เช่น อลํ มิตฺเต สุขาเปตุํ, อมิตฺตานํ ทุขาย จ [ขุ.ชา. ๒๗/๓๒๖].ควรเพื่ออันยังมิตรทั้งหลาย ให้ถึงความสุข หรือควรเพื่้่่ออันยังศัตรูทั้งหลายให้ถึงความทุกข์ได้.โลกานุกมฺปาย พุทฺโธ โลเก อุปฺปชฺชติ. พระพุทธเจ้า เสด็จเกิดขึ้นในโลก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก.อลํ ผาสุวิหาราย. ควรเพื่อการอยู่ผาสุก.อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ [วิ.มหา. ๔/๑๓].ย่อมเป็นไป เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

อลมตฺถโยเค
อลํ มลฺโล มลฺลสฺส, อรหติ มลฺโล มลฺลสฺส, อลํ เต อิธ วาเสน. อลํ เต หิรญฺญสุวณฺเณน.กิํ เม เอเกน ติณฺเณน. กิํ เต ชฏาหิ ทุมฺเมธ, กิํ เต อชินสาฏิยา.

ใช้จตุตถีวิภัตติ ในที่ประกอบด้วยอลํศัพท์และศัพท์ที่มีอรรถของอลํศัพท์[๑๖]  เช่น อลํ มลฺโล มลฺลสฺส. อรหติ มลฺโล มลฺลสฺส.นักมวยคนหนึ่ง ย่อมควร แก่นักมวยคนหนึ่ง. อลํ เต อิธ วาเสน [วิ.มหา.๑/๖๒๖], อย่าเลยด้วยการอยู่ในที่นี้ แก่ท่าน. อลํ เม หิรญฺญสุวณฺเณน.เงินและทอง ไม่ควร แก่เรา. กิํ เม เอเกน ติณฺเณน ปุริเสน ถามทสฺสินา [ขุ.พุทฺธวํ. ๓๓/๒ (ทีปงฺกรพุทฺวํส)] ประโยชน์อะไร ด้วยเป็นคนมีกำลัง ข้ามไปคนเดียว แก่เรา. กิํ เต ชฏาหิ ทุมฺเมธ, กิํ เต อชินสาฏิยา [ขุ.ธ.๒๕/๓๖]ฯดูก่อนดาบสผู้มีปัญญาทราม ประโยชน์อะไร ด้วยชฏา (มุ่นหรือมวยผม) แก่ท่าน. ประโยชน์อะไร ด้วยผ้าสาฎกที่ทำด้วยหนังชะมดแก่ท่าน

มญฺญนาปโยเค อนาทเร อปาณิสฺมิเมว จตุตฺถี, กฏฺฐสฺส ตุวํ มญฺเญ, กลิงฺครสฺส ตุวํ มญฺเญ, ชีวิตํ ติณายปิ น มญฺญติฯ

ในที่ประกอบกับมน ธาตุ (มญฺญติปโยค)[๑๗] อันมีความหมายว่า ดูหมิ่นหรือไม่ได้รับความนับถือ (อนาทร) และเป็นสิ่งไม่มีชีวิต (อปฺปาณิ)  เช่น กฏฺฐสฺส ตุวํ มญฺเญ,  เรา[๑๘] ย่อมสำคัญ ซึ่งท่านเป็นไม้ (หรือเหมือนไม้). กลิงฺครสฺส ตุวํ มญฺเญ. เรา ย่อมสำคัญ ซึ่งท่าน เป็นไม้. ชีวิตํ ติณายปิ น น มญฺญติ. ไม่สำคัญอยู่ ซึ่งชีวิต แม้เท่ากับหญ้า (คือ มองเห็นชีวิตเหมือนกับเป็นเส้นหญ้า).

อนาทเรติ กิํ? สุวณฺณํ ตํ มญฺเญฯ
อปาณิสฺมินฺติ กิํ? คทฺรภํ ตุวํ มญฺเญฯ


ข้อยกเว้น
บทว่า อนาทร (ไม่เอื้อเฟื้อ) มีประโยชน์อะไร. มีประโยชน์เพื่อห้ามลงจตุตถีวิภัตติ ในกรณีที่ไม่ใช่เป็นการไม่เอื้อเฟื้อ  เช่น สุวณฺณํ ตํ มญฺเญ  เราย่อมสำคัญซึ่งท่านว่าเสมอด้วยทอง.[๑๙]
บทว่า อปาณิสฺมิํ (ไม่มีชีวิต) มีประโยชน์อะไร. มีประโยชน์เพื่อห้ามลงจตุตถีวิภัตติ ในกรณีที่บทกรรมไม่ใช่เป็นสิ่งมีชีวิต เช่น คทฺรภํ ตุวํ มญฺเญ ย่อมสำคัญ ซึ่งท่านว่าเป็นลา.[๒๐]

คตฺยตฺถานํ นยนตฺถานญฺจ ธาตูนํ กมฺมนิ จตุตฺถี, อปฺโป สคฺคาย คจฺฉติ. โย มํ ทกาย เนติ. นิรยายุปกฑฺฒติ. มูลาย ปฏิกสฺเสยฺย.

ลงจตุตถีวิภัตติ ในอรรถกรรมของธาตุที่มีอรรถว่า ไป (คตฺยตฺถกมฺม)  และ ที่มีอรรถว่า นำไป (นยนตฺถกมฺม)  เช่น  อปฺโป สคฺคาย คจฺฉติ [ขุ.ธ. ๒๕/๒๓]. สัตว์มีจำนวนน้อย ย่อมไป สู่สวรรค์. โย มํ (คเหตฺวา) (อุ)ทกาย เนติ [ขุ.ชา.๒๗/๙๒๖].ผู้ใด จับฉันไปสู่แม่น้ำ (ลอยน้ำ). นิรยายุปกฑฺฒติ [ขุ.ธ.๒๕/๓๒].ย่อมคร่าตัวเข้าไปสู่นรก. มูลาย ปฏิกสฺเสยฺย [วิ.จูฬ.๖/๑๑๑]. ภิกษุ พึงชักเข้า สู่อาบัติเดิม.

อาสีสนกฺริยาโยเค
อายุ ภวโต โหตุ, ภทฺทํ เต โหตุ, ภทฺทมตฺถุ เต . กุสลํ เต โหตุ, อนามยํ เต โหตุ, สุขํ เต โหตุ, อตฺถํ เต โหตุ, หิตํ เต โหตุ, กลฺยาณํ เต โหตุ, สฺวาคตํ เต โหตุ, โสตฺถิ เต โหตุ โสตฺถิ คพฺภสฺส. มงฺคลํ เต โหตุ.

ในที่ประกอบกับกิริยาการปรารถนา (อาสีสนกริยา)[๒๑] เช่น
อายุ ภวโต โหตุ. อายุ จงมี แด่ท่านผู้เจริญ. ภทฺทํ เต โหตุ. ความเจริญ (เหตุแห่งความเจริญ) จงมี แด่ท่าน[๒๒]. ภทฺทมตฺถุ เต [ขุ.ชา.๒๗/๑๑๓๔,๒๔๓๘; ขุ.ชา.๒๘/.๔๑๑,๗๔๒]. ความเจริญ (เหตุแห่งความเจริญ) จงมี แด่ท่าน. กุสลํ ภวโต โหตุ. ความสบายดี จงมี แก่ท่าน[๒๓]. อนามยํ ภวโต โหตุ. ความเป็นผู้ไม่มีโรค จงมี แก่ท่าน. สุขํ เต โหตุ. ความสุข ขอจงมี แก่ท่าน. อตฺถํ เต โหตุ. ประโยชน์ ขอจงมี แก่ท่าน. หิตํ เต โหตุ.ประโยชน์เกื้อกูล ขอจงมี แก่ท่าน. กลฺยาณํ เต โหตุ. ความดีงาม จงมี แด่ท่าน. สฺวาคตํ เต โหตุ.การมาดี ขอจงมี แก่ท่าน[๒๔]โสตฺถิ เต โหตุ โสตฺถิ คพฺภสฺส (ม.ม.๑๓/๕๓๑).ความสวัสดี ขอจงมี แก่ท่าน และ ความสวัสดี จงมี แก่ทารกในครรภ์.มงฺคลํ เต โหตุ.มงคล (ความเจริญ) จงมี แก่ท่าน.

สมฺมุติโยเค กมฺมตฺเถ [ฉฏฺฐี], อิตฺถนฺนามสฺส ภิกฺขุโน รูปิยฉฑฺฑกสฺส สมฺมุติ.ปตฺตคาหาปกสฺส สมฺมุติอิจฺจาทิ.

ลงฉัฏฐีวิภัตติ ในอรรถกรรมอันประกอบกับ สมฺมุติ[๒๕] ศัพท์ เช่น อิตฺถนฺนามสฺส ภิกฺขุโน รูปิยฉฑฺฑกสฺส สมฺมุติ [วิ.มหาวิ. ๒/๑๐๖] สงฆ์พึงสมมติ ซึ่งผู้ทิ้งรูปิยะ แก่ภิกษุ มีชื่อนี้ ปตฺตคาหาปกสฺส สมฺมุติ  [วิ.มหาวิ.๒/๑๓๒] สงฆ์พึงสมมุติ ซึ่ง (ภิกษุ) ผู้เปลี่ยนบาตร แก่ภิกษุรูปนี้.

อาวิกรณาทิโยเค
ตุยฺหญฺจสฺส อาวิ กโรมิ. ตสฺส เม สกฺโก ปาตุรโหสิ. ตสฺส ปหิเณยฺย. ภิกฺขูนํ ทูตํ ปาเหสิ. กปฺปติ ภิกฺขูนํ อาโยโค. วฏฺฏติ ภิกฺขูนํ อาโยโค. ปตฺโถทโน ทฺวินฺนํ ติณฺณํ นปฺปโหติ. เอกสฺส ปโหติ. เอกสฺส ปริยตฺโต. อุปมํ เต กริสฺสามิ.อญฺชลิํ เต ปคฺคณฺหามิ . ตถาคตสฺส ผาสุ โหติ. อาวิกตา หิสฺส ผาสุ.โลกสฺส อตฺโถ.โลกสฺส หิตํ, มณินา เม อตฺโถ. น มมตฺโถ พุทฺเธน. นมตฺถุ พุทฺธานํ นมตฺถุ โพธิยา. วิปสฺสิสฺส จ นมตฺถุ. นโม กโรหิ นาคสฺส. นโม เต ปุริสาชญฺญ, นโม เต ปุริสุตฺตม.โสตฺถิ ปชานํ.สุวตฺถิ ปชานํ อิจฺจาทิ.


ในที่ประกอบด้วย อาวิกรณ - ศัพท์เป็นต้น [๒๖] เช่น ตุยฺหญฺจสฺส อาวิ กโรมิ  เรา จะทำให้แจ้ง ในท่านนั้นด้วย. ตสฺส เม สกฺโก ปาตุรโหสิ ท้าวสักกะ ปรากฏแล้ว ในเรานั้น.ตสฺส ปหิเณยฺย พึงส่งไป แก่บุคคลนั้น. ภิกฺขูนํ (สนฺติเก) ทูตํ ปาเหสิ (วิ.มหาวิ. ๒/๔๘๑) ส่งไปแล้ว ซึ่งทูต ใน (สำนักแห่ง) ภิกษุท. กปฺปติ ภิกฺขูนํ อาโยโค, วฏฺฏติ ภิกฺขูนํ อาโยโค การพันผ้า[๒๗] ย่อมสมควร แก่สมณะท. ปตฺโถทโน ทฺวินฺนํ ติณฺณํ นปฺปโหติ, เอกสฺส ปโหติ ข้าวในบาตร ย่อมเพียงพอต่อภิกษุสอง สามรูป หามิได้, แต่ย่อมพอแก่รูปเดียว. เอกสฺส ปริยตฺโต, ตระเตรียมแล้ว แก่ภิกษุรูปเดียว. อุปมํ เต กริสฺสามิ [ม.มู.๑๒/๒๕๘,ขุ.ชา. ๒๘/๑๙)ข้าพเจ้าจะกระทำซึ่งอุปมาแก่ท่าน. อญฺชลิํ เต ปคฺคณฺหามิ [ชา. ๒.๒๒.๓๒๗] ข้าพเจ้าประคองอัญชลี แก่ท่าน. ตถาคตสฺส ผาสุ โหติ ความผาสุก ย่อมมี แก่พระตถาคต. อาวิกตา หิสฺส ผาสุ โหติ [วิ.มหา. ๔/๑๔๙] เพราะภิกษุใดเปิดเผยอาบัติแล้ว  ความผาสุก ย่อมมี แก่ภิกษุนั้น. โลกสฺส อตฺโถ ประโยชน์ แก่ชาวโลก (ย่อมมี) โลกสฺส หิต เกื้อกูล แก่ชาวโลก (ย่อมมี). มณินา เม อตฺโถ [วิ.มหาวิ. ๑/๔๙๙]ความต้องการ ด้วยแก้วมณี แก่เรา ย่อมมี[๒๘]น มมตฺโถ พุทฺเธน [วิ.มหาวิ. ๑/๓๑]  ความต้องการด้วยพระพุทธเจ้า ย่อมไม่มี แก่ข้าพเจ้า. นมตฺถุ พุทฺธานํ,  นมตฺถุ โพธิยา [ขุ.ชา. ๒๘/๑๖๗] ความนอบน้อม แด่พระพุทธเจ้าท. ขอจงมี, ความนอบน้อม แก่พระโพธิญาณ ขอจงมี. วิปสฺสิสฺส จ นมตฺถุ [ที.ปา. ๑๑/๒๐๙] ความนอบน้อมแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า จงมี. นโม กโรหิ นาคสฺส [ม.มู.๑๒/๒๘๙], ท่าน จงกระทำ  ซึ่งความนอบน้อม แด่พระอรหันต์. นโม เต ปุริสาชญฺญ, นโม เต ปุริสุตฺตม [ที.ปา.๑๑/๒๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ความนอบน้อม ขอจงมี แด่พระองค์, ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษสูงสุด ความนอบน้อม ขอจงมี แด่พระองค์. โสตฺถิ ปชานํ[๒๙] [ที.สี.๙/๑๕๔] ความสวัสดี แก่ประชาชน จงมี. สุวตฺถิ ปชานํ ความสวัสดี แก่ประชาชน จงมี.

จตุตฺถีวิภตฺติราสิ นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มอรรถแห่งจตุตถีวิภัตติ จบ



[๑] [ก. ๒๙๓; รู. ๓๐๑; นี. ๖๐๕; จตุตฺถี สมฺปทาเน (พหูสุ), จํ. ๒.๑.๗๓; ปา. ๒.๓.๑๓]ฯ
[๒] หนุ ธาตุ หนังสือปทรูปสิทธิแปลและอธิบายให้ความเห็นไว้ดังนี้ อรรถของหนุธาตุในฉบับนี้เป็น “อปนยเน ในการทิ้ง” แม้ในโมคคัลลานะก็แสดงอรรถไว้เช่นนี้เหมือนกัน. แต่บางฉบับเป็น “อปลปเน” ในการหลอกลวง” เห็นว่าอย่างหลังน่าจะดีกว่า เพราะสมกับคำที่ท่านพรรณนาไว้ว่า “อปลปตีติ อตฺโถ”. สำหรับในคัมภีร์ธาตุของสันสกฤต แสดงอรรถไว้ว่า “โจริเย ในความเป็นแห่งขโมย” ซึ่งอรรถ “โจริเย” นี้ก็มีลักษณะเหมือนกับอรรถ “อปลปเน”. 
คัมภีร์รูปสิทธิอธิบายอรรถของหนุธาตุ อปนยน ว่า อปลปติ ย่อมหลอกลวง และรูปสิทธิฎีกาย้ำว่า อปลปตีติ วญฺเจติ อตฺโถ. ก็คือ หลอกลวง. แม้คัมภีร์ธาตวัตถสังคหะคาถา ๔๒๒ ก็กล่าวว่า หนุ โจเร หลอกลวง, โกง
คัมภีร์สัททนีติ ธาตุมาลา แสดงอรรถ หนุ ธาตุว่า อปณยเน ไม่กล่าว และอรรถาธิบายว่า อปนยนํ อนาลาปกรณํ นิพฺพจนตากรณํ อปณยน คือ การไม่กล่าว, การกระทำการไม่พูด เช่น หโนติ ย่อมนิ่ง, หนุเต ย่อมนิ่ง. (ธาตุมาลา แปล หน้า ๖๘๕ – ๖.  ผู้แปลคัมภีร์นี้ให้ความเห็นว่า  ”รูปว่า อปณยน มาจาก อ (ไม่) + ปณยน (พูด) ที่มาจาก ปณ ธาตุ + ณย ปัจจัย + ยุปัจจัย ดังข้อความในคัมภีร์นี้ว่า ปณ พฺยวหาเร ถุติยญฺจ (ปณ ธาตุ ใช้ในความหมายว่าพูด, สรรเสริญ) ฉบับฉัฏฐสังคายนามีรูปว่า หนุ อปนยเน ตามนัยนี้แปลว่า “นำออก” แต่รูปนี้ไม่สอดคล้องกับคำอธิบายที่กล่าวว่า อปนยนํ อนาลาปกรณํ นิพฺพจนตากรณํ (อปนยน คือ การไม่กล่าว, การกระทำการไม่พูด) ดังนั้น อรรถว่า อปณยน จึงเหมาะสมกว่า”.  - กรณีนี้ ข้าพเจ้า (สมภพ) คิดว่า อปนยน ก็คือ อปณยน นั่นเอง โดยแปลง ณ เป็น น ตามสูตรว่า ณสฺส จ โน นีติ.สุตฺต ๙๒)
               คัมภีร์สัททนีติ สุตตมาลา กล่าวว่า หนุปโยเค , หนุเต มยฺหเมว, หนุเต ตุยฺหเมว. เอตฺถ จ หนุเตติ อปนยติ. อปลปติ อลฺลาปสลฺลาปํ  น กโรตีติ อตฺโถ. ลงจตุตถีวิภัตติท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์เข้ากับ หนุ ธาตุ ตัวอย่างเช่น หนุเต มยฺหเมว ย่อมลวงเรานั่นเทียว, หนุเต ตุมฺหเมว ย่อมลวงท่านนั่นเทียว.  ก็ในตัวอย่างนี้ คำว่า หนุเต คือ ไม่พูด ไม่กล่าว ไม่ทำการสนทนาปราศัย.
               ตามมติของสัททนีติ ธาตุนี้แปลว่า ย่อมไม่พูด เพราะ อ มีอรรถว่า ไม่มี  ดังนั้น อุทาหรณ์นี้จึงมีความหมายว่า ย่อมไม่พูด คือ แสร้งลวงโดยทำเป็นนิ่งเสีย ต่อเรา. ดังคัมภีร์นิรุตติทีปนีนี้อธิบายว่า ตุยฺหํ หนุเต, ตุณฺหิภาเวน วญฺเจตีติ อตฺโถ คำว่า ย่อมลวงต่อท่าน หมายถึง ย่อมลวงโดยความนิ่งเฉย.
               จากหลักฐานในคัมภีร์ต่างๆ จึงได้ข้อสรุปว่า อปนยน มาจาก อ + ปณ ธาตุ ในการกล่าว และแปลง ณ เป็น น (ด้วยสูตร ณสฺส จ โณ - นีติ. ๙๒) ในที่นี้ คือ อปลปน การหลอกลวง ได้แก่ การหลอกลวงโดยการไม่พูดหรือแสร้งทำเป็นนิ่งเสีย
[๓] ฐาธาตุ อันมีอุปเป็นบทหน้านั้น มีความหมายว่า “การอยู่ใกล้, การคบหา, การอุปัฏฐาก” ในที่ประกอบด้วยฐาธาตุอันมีความหมายเช่นนี้ โดยมากผู้ที่ถูกอุปัฏฐาก ต้องเป็นสัมปทานตามระเบียบของไวยากรณ์ แต่พบว่า ที่ใช้เป็นกรรมก็มี เช่น อหํ โภตึ อุปฏฺฐิสฺสํ เรา จักอุปัฏฐาก ซึ่งนายหญิง.
อุปฏฺฐานํ แปลได้ ๒ อย่าง คือ การยืนใกล้ และ การบำรุง. คัมภีร์ปทรูปสิทธิอธิบายบทว่า อุปฏฺฐานํ ว่า  อุปคมนํ ซึ่งมีคำแปลตามศัพท์ว่า ยืนใกล้, อยู่ใกล้ แต่ถ้าถือเอาโดยโวหารของชาวโลก หมายถึง การบำรุงหรือปรนนิบัติรับใช้ โดยไม่เพียงยืนใกล้อย่างเดียว การใช้คำในลักษณะนี้เรียกว่า สังเกตัตถะ  คือ อรรถที่หมายรู้กันทางโลก ดังคัมภีร์สัททนีติ กล่าวไว้ว่า
เอตฺถ จ อุปฏฺฐานํ นาม อุปคมนํ สทฺทตฺถวเสน, สงฺเกตตฺถวเสน ปน อุปฏฺฐหนนฺติ อตฺโถ. ตถา หิ ครู “อนฺเนน ปาเนน อุปฏฺฐิโตสฺมีติ อุปคนฺตฺวา ฐิโต อสฺมีติ อตฺถํ วทนฺติ สทฺทตฺถวเสน, สงฺเกตตฺถวเสน ปน “มาตาปิตุอุปฏฺฐานนฺติ อาทีสุ วิย อุปฏฺฐหนํ อธิปฺเปตํ.
ก็คำว่า อุปติฏฺเฐยฺย หากแปลตามความหมายของศัพท์ แปลว่า การเข้าไปใกล้ หากแปลตามความหมายอันเป็นโวหารัตถะ แปลว่า การบำรุง. จริงอย่างนั้น ในข้อความพระบาลีว่า อนฺเนน ปาเนน อุปฏฺฐิโตสฺมิ นี้ ครูทั้งหลายได้อธิบายบทว่า อุปฏฺฐิโต โดยสัททัตถะว่า อุปคนฺตฺวา ฐิโต อสฺมิ เราเข้าไปยืนอยู่อย่างใกล้ชิด. ส่วนความหมายที่เป็นโวหารัตถะ ท่านประสงค์เอาการบำรุง ดังในข้อความพระบาลีว่า มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ การบำรุงบิดามารดา. (เรียบเรียงจากหนังสือปทรูปสิทธิมัญชรีและคัมภีร์สัททนีติสุตตมาลาแปล)
[๔] สปธาตุ แม้มีอรรถว่า อกฺโกส ด่า ก็จริง แต่ในที่นี้หมายถึง การสบถสาบาน เพื่อให้คนอื่นเชื่อถือในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพราะฉะนั้น คัมภีรปทรูปสิทธิจีงพรรณนาว่า “สปนํ นาม สจฺจกรณํ” การตั้งสัจจะ ชื่อว่า สาบาน. ในที่ประกอบด้วยสปธาตุ ที่หมายถึง การด่าจริง เป็นกรรมการกะ และลงทุติยาวิภัตติเช่น  ยา ปน ภิกฺขุนี อตฺตานํ วา ปรํ วา นิรเยน วา พฺรหฺมจริเยน วา อภิสเปยฺย. ภิกษุณีใด พึงด่าซึ่งตนก็ดี ซึ่งบุคคลอื่นก็ดี ด้วยคำที่เกี่ยวกับนรกก็ดี ด้วยคำที่เกี่ยวกับพรหมจรรย์ก็ดี. คัมภีร์สัททนีติ สุตตมาลา อธิบายว่า สปนญฺจ นาม ปเรสํ โตสาปนตฺถํ สจฺจกรณํ อนึ่ง การตั้งสัจจะเพื่อยังผู้อื่นให้ยินดี ชื่อว่า การสาบาน. คัมภีร์นิรุตติทีปนี อธิบายว่า ตว มยิ สทฺทหนตฺถํ สจฺจํ กโรมีติ อตฺโถ ดังนั้น อุทาหรณ์นี้จึงมีความหมายว่า อหํ เรา กโรมิ จะทำ สจฺจํ ซึ่งคำสัตย์ ตว แก่ท่าน สทฺทหนตฺถํ เพื่อการเชื่อถือ มยิ ในเรา (เราขอสาบานเพื่อให้ท่านเชื่อเรา).
[๕] คำว่า สตํ  ปกติแปลว่า (ทรัพย์คือเงินทอง)จำนวน ๑๐๐ แต่ ในที่นี้หมายถึง หนี้ คือ โดยต้องใช้หนี้เป็นเงินหรือทองจำนวน ๑๐๐. คำนี้ใช้เป็นสำนวนในภาษาบาลีเกี่ยวกับเรื่องหนี้สินมีความหมายว่า เขาเป็นหนี้แก่ท่าน ดังที่กล่าวกันว่า เขาเป็นลูกหนี้ของท่าน.
[๖] ในที่ประกอบกับธร ธาตุ ในกรณีนี้ ธนิโก เจ้าของทอง (แปลตามศัพท์ว่า ผู้มีทรัพย์ หรือ เจ้าของทรัพย์) เป็นสัมปทาน เป็นผู้รับทอง. บทว่า เต แก่ท่าน หมายถึงเจ้าของทรัพย์ เพราะเมื่อมีการกู้หนี้ยืมสินกันแล้ว เจ้าของทรัพย์หรือเจ้าหนี้เป็นสัมปทานที่ลูกหนี้พึงมอบให้ในภายหลัง ดังที่คัมภีร์ปทรูปสิทธิอธิบายว่า ธารยติปฺปโยเค ธนิโกเยว สมฺปทานํ. สุวณฺณํ เต ธารยเต. อิณํ ธารยตีติ อตฺโถ. เจ้าหนี้นั่นเทียวเป็นสัมปทานการกะในที่ประกอบด้วยธรธาตุ. ย่อมทรงไว้ซึ่งทองแก่ท่าน ความหมายคือ ทรงไว้ซึ่งหนี้.
[๗] จากตัวอย่างนี้ แสดงว่า นามศัพท์ที่จะประกอบกับธาตุนี้ต้องมีความหมายเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกปรารถนาบ่อยๆ
[๘] แปลตามอรรถกถาชาดกนี้ว่า สเจปิมํ ปิหยสีติ สเจ อิมํ มม กตํ มสฺสุกุตฺติํ ตฺวํ อิจฺฉสิฯ ถือเอาความว่า ถ้าแม้ท่านปรารถนาจะให้แต่งหนวดจนเรียบร้อยเหมือนอย่างเรา.
[๙] ปาฐะเดิมในคัมภีร์เป็นอย่างนี้ แต่ปัจจุบันพบอุทาหรณ์คล้ายคลึงกันดังนี้ มา โข ตุเมฺห ภิกฺขเว วจฺฉสฺส ภิกฺขุโน อุชฺฌายิตฺถ [ขุ.อุทาน. ๒๕/๗๘]. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ายกโทษวัจฉภิกษุเลย.
[๑๐] ปาฐะที่มาในพระบาฬีปาฏิกวรรคมีดังนี้ อิเมสํ ยกฺขานํ มหายกฺขานํ เสนาปตีนํ มหาเสนาปตีนํ  อุชฺฌาเปตพฺพํ วิกฺกนฺทิตพฺพํ วิรวิตพฺพํ. (ที.ปา.๑๑/๒๑๔) อุบาสิกานั้นพึงยกโทษ พึงคร่ำครวญ พึงร้องแก่ยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดี มหาเสนาบดี.  ในที่นี้แปลตามปาฐะของคัมภีร์นี้.
[๑๑] คัมภีร์สัททนีติ ธาตุมาลาว่า ราธ สํสิทฺธิยํ แปลว่า ความสำเร็จ ตัวอย่าง ราธยติ อาราธนํ ยินดี, เชื้อเชิญ. (ธาตุนี้เป็นได้ ๒ คณะ คือ ทิวาทิและสฺวาทิ). แต่ถ้าเป็น รธ ธาตุ จะมีความหมายว่า หึสา เบียดเบียน. (ทิวาทิ.).  ส่วนคัมภีร์ธาตุวัตถสังคหะแสดงว่า
ราธ สฺวา นิปฺผาทเน ทิ            สิทฺธิยํ อา ตุ โตสเน,
อปปุพฺโพ ปทุฏฺฐมฺหิ              ราโส สทฺเท ปวตฺตติ.  (๓๑๖)
ราธ ในอรรถว่า นิปฺผาทเน ให้สำเร็จ (สฺวาทิ), สิทฺธิยํ สำเร็จ (ทิวาทิ) ถ้ามี อา เป็นบทหน้า ใช้ในความหมายว่า โตสน ความยินดี, ถ้ามี อป เป็นบทหน้า ใช่ในความหมายว่า ปทุฏฺฐ การปทุษร้าย, ความผิด.
(ตย. จาก ธส. นิสสยะ) เช่น
อนฺนํ ราธุณาติ น้ำย่อมสำเร็จ,  ราโธ ความสำเร็จ, (สวาทิ)
สิทฺธิตฺถ -- นิจฺจํ รชฺฌติ สิริยา ย่อมสำเร็จเนืองนิจ ด้วยสิริ. (สวาทิ) ทิวาทิ
ที่มี อา เป็นบทหน้า อารชฺฌติ ย่อมยินดี, อาราโธหํ รญฺโญ, ข้าพเจ้าเป็นที่รักต่อพระราชา. อาราเธมิ สกํ จิตฺตํ เรายังจิตของตนให้ยินดี, ภิกฺขเว ภิกฺขู อาราธยึสุ วต เม ภิกษุ ยังเราย่อมให้ยินดีอย่างไรหนอ.
ที่มี อป เป็นบทหน้า อปรชฺฌติ ย่อมประทุษร้าย. เช่น
กฺยาหํ อยฺยานํ อปรชฺฌามิ. เราย่อมประพฤติผิดต่อพระคุณเจ้าท. หรือ?
อปราโธ ความผิด.
[๑๒] บทกัตตา กล่าวคือ ประธาน ในประโยคแรกที่มีกิริยาเกี่ยวกับการกล่าว       อันสำเร็จรูปจาก สุธาตุ ที่มีสุ หรือ อา อุปสัคเป็นบทหน้า และคิธาตุ  ที่มีสุ หรือ อา อุปสัคเป็นบทหน้า จะเป็นสัมปทานการกะในประโยคหลัง.  ความเป็นสัมปทานของนามศัพท์ในข้อนี้ เกิดขึ้นได้ในกรณีที่มี ๒ ประโยคและมีความสัมพันธ์กันดังนี้ คือ
๑. ประโยคทั้งสองนี้มีกิริยาที่เกี่ยวกับการกล่าว โดยที่ในประโยคแรก ต้องเป็นกิริยาที่เกี่ยวกับการกล่าว เช่น อโวจ กล่าว สาเวติ ให้ฟังธรรม
๒. บทกัตตาในประโยคแรก จะมาเป็นสัมปทานในประโยคหลัง แต่ต้องประกอบด้วยธาตุ ๒ ตัวนี้ดังนี้คือ
๒.๑. สุธาตุ ที่มี ปติ และ อา อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นบทหน้า,
๒.๒ คิธาตุ ที่มี อนุ และ ปติ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นบทหน้า
ซึ่งธาตุทั้งสองเปลี่ยนความหมายไปด้วยอำนาจอุปสัคคือ
สุธาตุ ซึ่งมีปติ หรือ อา เป็นบทหน้า เช่น ปจฺจโสสุํ, อาสุณาติ จะไม่มีความหมายว่า ฟัง (สวณ) เหมือนในเวลาที่อยู่เดี่ยว แต่จะมีความหมายว่า ตอบ แปลว่า ตอบ, รับคำ, ทูลรับ .
คิธาตุ ซึ่งมีอนุ หรือ ปติ เป็นบทหน้า เช่น อนุคิณาติ, ปติคิณาติ จะไม่มีความหมายว่า เปล่งเสียง (สทฺท) เหมือนในเวลาที่อยู่เดี่ยว แต่จะมีความหมายว่า กล่าวตอบ เช่นเดียวกับ สุธาตุ.
[๑๓] [ก. ๒๗๗; รู. ๓๐๓; นี. ๕๕๔]
[๑๔] [ก. ๑๐๙; รู. ๓๐๔; นี. ๒๗๙-๘๐]ฯ
[๑๕] ในกรณีนี้ ต้อง เป็นคำแสดงประโยชน์ที่สามารถแปลงกับเป็น ตุํปัจจัยได้
[๑๖] อรรถของอลํศัพท์ ในที่นี้ คือ อรหะ (สมควร) และ ปฏิกเขปะ (ห้าม).ในข้อนี้ ต่างกับการกที่เป็นตุมัตถสัมปทาน คือ ตุมัตถสัมปทาน ลง ส ที่แปลงเป็น อาย และใช้แทน ตุทั้งหมด.  สำหรับในที่นี้ นามศัพท์นั้นไม่ใช้แทนอลํศัพท์ แต่อยู่ในที่มีความสัมพันธ์หรือประกอบด้วยอลํศัพท์ ในอรรถดังกล่าว และศัพท์อื่นๆที่มีความหมายเหมือน อลํ ศัพท์.
[๑๗] มญฺญติ ใน มญฺญติปโยค นี้สำเร็จรูปมาจาก มน ญาเณ ธาตุ ในการรู้ + ย วิกรณทิวาทิคณ + ติ ธาตุนิฏทิฏฐปัจจัย เพื่อบอกให้ทราบว่า ในทีนี้ต้องมนธาตุในทิวาคณเท่านั้น ไม่เอามนธาตุที่เป็นภูวาทิคณะซึ่งมีอรรถว่าบูชา จึงชี้แจงด้วย ยปัจจัยดังกล่าว และลง ติปัจจัย.
[๑๘] มญฺเญ มาจาก มน ญาเณ รู้ + ย + มิ แปลง มิเป็น เอ ได้ ด้วยสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ ดังรูปสิทธิฎีกาอธิบายว่า มญฺญามิ อหํ เรา ย่อมสำคัญ
[๑๙] แม้ในที่ประกอบด้วย มน ธาตุ ถ้าไม่เข้ากฏเกณฑ์ ดังกล่าว ก็ไม่เป็นสัมปทานในข้อนี้ได้ ตัวอย่างนี้ เป็นการ ยกย่องท่านเป็นผู้มีคุณค่ามากดังทอง ไม่ใช่ไม่นับถือ หรือดูหมิ่น จึงลงทุติยาวิภัตติเป็นรูปว่า สุวณฺณํ ตามปกติ ไม่ลงจตุตถีวิภัตติเป็น สุวณฺณสฺส
[๒๐] ในที่นี้ถึงแม้ว่าเป็นการดูถูก แต่เนื่องจากบทว่า คทฺรภ เป็นสิ่งมีชีวิต แม้ประกอบกับมนธาตุ ก็ไม่ลงจตุตถีวิภัตติว่า คทฺรภสฺส แต่ลงทุติยาวิภัตติว่า คทฺรภํ.
[๒๑] ศัพท์เหล่านี้ คือ อายุ อายุ ภทฺทํ ความดีงาม (เจริญ) กุสล (ความสบายดี) อนามย (ความเป็นผู้ปราศจากโรค) , สุข (ความสุข), อตฺถ (ประโยชน์),  หิต (ประโยชน์เกื้อกูล), สฺวาคต (การมาดี) และ โสตฺถิ (ความสวัสดี) โดยทั่วไปจะมีความหมายว่า อายุ ความเจริญ ความไม่มีโรคเป็นต้น แต่ในที่นี้มีอรรถว่า ปรารถนา หมายถึง ปรารถนาอายุ (อันยืนยาว) เป็นต้น เพื่อคนอื่น ซึ่งได้แก่ การให้พร หรือ อวยพรแก่ผู้อื่น ดังนั้น นามศัพท์ที่ประกอบกับศัพท์เหล่านี้ จึงชื่อว่า สัมปทาน
[๒๒] ในที่นี้ ภทฺท ศัพท์ มีอรรถว่า ความดีงาม โดยแปลตามมติคัมภีร์กัจจายนัตถทีปนีให้เป็นภาวสาธนะ แปลว่า ความเจริญ โดยมาจาก ภทิ ธาตุ มีอรรถว่า กลฺลาณ (คือ กลฺยาณ) ดี, งาม, เจริญ และอรรถว่า โสขิย ความสุข สบาย. ลง ทปัจจัยในภาวสาธนะ มีรูปวิเคราะห์ว่า ภทฺทิยเต ภทฺทํ ความเจริญ ชื่อว่า ภทฺท.  หนังสือปท.แปลและอธิบาย ถือเอาอรรถว่ามงคลที่มาในคัมภีร์โถมนิธิแล้วพรรณนาว่า ภทฺทศัพท์ กล่าวอรรถมงคล. ถ้าถือเอาอรรถว่ามงคล ก็ควรอยู่ เพราะคำว่า มงคล คือ เหตุแห่งการเข้าถึงความเจริญและความสำเร็จแห่งสมบัติทั้งปวง. (ดูมังคลัตถทีปนี ภาค ๑)
[๒๓] กุศลศัพท์ในที่นี้ มีอรรถ อาโรคฺย ความไม่มีโรค ดังนั้น จึงแปลว่า ความสบายดี หมายถึง สุขภาพดี ไม่มีโรคเบียดเบียน.
[๒๔]สฺวาคตํ เป็นศัพท์ที่ใช้ในการทักทาย ตรงกับคำว่า “ยินดีต้อนรับ” ในภาษาไทย แต่ความหมายตามศัพท์แปลว่า การมาดี. 
ดูรายละเอียดในคัมภีร์อรรถกถาวิมานวัตถุและอรรถกถาธัมมปทวรรคที่ ๑๖ ปิยวรรค นันทิยวัตถุ ส่วนความหมายตามพยัญชนะดูรายละเอียดในคัมภีร์มหาวรรคอรรถกถาทีฆนิกาย เป็นต้น
[๒๕] คำว่า สมฺมติ ในตัวอย่างนี้ คือ การแต่งตั้ง. สมฺมุติ มาจาก สํ + มุ สมฺมนน (กัจจายนัตถทีปนี). หรือ สํ + มน ญาณ (อภิธาน.สูจิ) มีรูปวิเคราะห์ว่า สมฺมนิตฺวา คหณํ การรู้ด้วยกันหรือการที่รู้ด้วยดีแล้วกำหนดเอา (ปทรูปสิทธิฎีกา) และอภิธาน.ฎีกาว่า อนุญฺญายํ จ โวหาเร จ สมฺมุติสทฺโท แปลว่า สมฺมุติ ศัพท์เป็นไปในความอนุญาตและคำโวหารหรือคำพูด.
[๒๖] ในที่ประกอบกับกิริยาว่า อาวิกรณ ทำให้แจ้ง และปาตุภวน ปรากฏ ชื่อว่า สัมปทานมีอรรถสัตตมีวิภัตติ  ด้วยสูตรนี้ และลงจตุตถีวิภัตติ ด้วยสูตร สมฺปทาเนฯ เหมือนนัยก่อน. สัมปทานชนิดนี้ เรียกว่า สัททสัมปทาน คือ รูปเป็นสัมปทาน แต่มีความหมายเป็นโอกาส แปลหักวิภัตติว่า ใน หรือเพิ่มคำว่า “ในสำนัก” เข้ามาตามนิยมในภาษาไทยว่า ในสำนักของ... แม้ในที่ประกอบดัวย ปาหิณน ศัพท์ ส่งไป ก็มีนัยนี้. อนึ่ง ในพระบาฬี วิ.มหาวิ.๒/๔๘๑ มีคำว่า สนฺติเก ประกอบด้วย ดังนั้น คำนี้ ควรเป็น ฉัฏฐีวิภัตติ ในอรรถสัมพันธะ เข้ากับ สนฺติเก.
[๒๗] อาโยค ได้แก่ การพันผ้าที่เข่าในเวลานั่งเป็นต้น. อีกนัยหนึ่ง แปลว่า การประกอบความเพียร.
[๒๘] ตัวอย่างนี้ บทว่า เม เป็นสัมปทานใน อตฺโถ เม เป็นสัมปทาน เพราะมีในที่ประกอบกับ อตฺถ ศัพท์. ไม่ใช่สัมปทานใน โหติ เพราะตั้งชื่อสัมปทานในที่ประกอบด้วย อตฺถ ศัพท์ แปลตามศัพท์ว่า ความต้องการแก่เราด้วยแก้วมณีย่อมมี
[๒๙] ในพระบาฬีที่อ้างมาเป็น โสตฺถิ ชนปทสฺส (ที.สี.๙/๑๕๔ อมฺพฏฺฐสุตฺต) ความสวัสดี แก่ประเทศ จงมี.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น