วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สมาสกัณฑ์ ๓ - กัมมธารยสมาส

กมฺมธารยสมาส

กัมมธารยสมาส

อถ กมฺมธารยสญฺญิโต ปฐมาตปฺปุริโส วุจฺจเตฯ

ต่อจากอมาทิสมาส จะกล่าวถึงปฐมาตัปปุริสสมาส ซึ่งเรียกชื่อว่า กัมมธารยสมาส.

กมฺมมิว ทฺวยํ ธาเรตีติ กมฺมธารโยฯ ยถา กมฺมํ กฺริยญฺจ ปโยชนญฺจ ทฺวยํ ธาเรติ กมฺเม สติ ตสฺส ทฺวยสฺส สมฺภวโต, ตถา อยํ สมาโส เอกสฺส อตฺถสฺส ทฺเว นามานิ ธาเรติ อิมสฺมิํ สมาเส สติ เอกตฺถโชตกสฺส นามทฺวยสฺส สมฺภวโตติ [๑]

กัมมธารยสมาส มีวิเคราะห์ว่า สมาสที่ทรงนามศัพท์สองศัพท์ไว้ เหมือนอย่างกรรม (การกระทำ). หมายความว่า กรรมย่อมทรงไว้ ซึ่งสิ่งสองอย่าง คือ กริยาและผลประโยชน์ เพราะทั้งสองนั้นจะมีขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อกรรมมีอยู่ ฉันใด, สมาสนี้ ก็ย่อมทรงไว้ซึ่งนามศัพท์สองศัพท์ ของอรรถอย่างเดียว เพราะนามศัพท์สองศัพท์ซึ่งแสดงอรรถอย่างเดียว จะมีได้ ก็ต่อเมื่อมีสมาสชนิดนี้.


อปิ จ กตฺตพฺพนฺติ กมฺมํ, ธาเรตพฺพนฺติ ธาริยํ, กมฺมญฺจ ตํ ธาริยญฺจาติ กมฺมธาริยํ, ยํกิญฺจิ หิตกมฺมํ, กมฺมธาริยสทฺทสทิสตฺตา สพฺโพ จายํ สมาโส กมฺมธารโยติ วุจฺจติ อิสฺส อตฺตํ กตฺวาฯ ยถา หิ กมฺมธาริยสทฺโท เอกสฺส อตฺถสฺส ทฺเว นามานิ ธาเรติ, ตถา อยํ สมาโสปีติฯ

อีกนัยหนึ่ง สิ่งที่บุคคลพึงทำ ชื่อว่า กรรม, สิ่งที่บุคคลพึงทรงไว้ ชื่อว่า ธาริย. กรรมด้วย กรรมนั้น เป็นธาริยะ ด้วย ชื่อว่า กรรมธาริยะ (สิ่งอันพึงกระทำ ก็พึงทรงไว้ด้วย) ได้แก่ การงานที่มีประโยชน์เกื้อกูล, เพราะสมาสนี้ ทุกประเภท เป็นเหมือนกับกัมมธาริยะนั้น จึงเรียกว่า กัมมธารยะ โดยแปลง อิ เป็น อ.  หมายความว่า คำว่า กัมมธารยะ ย่อมทรงไว้ซึ่งนามศัพท์สองศัพท์ แห่งอรรถอย่างเดียว เป็นเช่นใด สมาสชนิดนี้ ก็เป็นเหมือนอย่างนั้นแหละ.

โส เอว อุตฺตรปทตฺถปธานตาสงฺขาเตน ตปฺปุริสลกฺขเณน ยุตฺตตฺตาตปฺปุริโสติ จ วุจฺจติฯ ภินฺนปวตฺตินิมิตฺตานํ ทฺวินฺนํ ปทานํ วิเสสนวิเสสิตพฺพภาเวน เอกสฺมิํ อตฺเถ ปวตฺติ ตุลฺยาธิกรณตา นาม, เตน ตุลฺยาธิกรณลกฺขเณน ยุตฺตตฺตา ตุลฺยาธิกรณสมาโสติ จ วุจฺจติฯ โส เอว จ วิเสสนปทวเสน คุณวิเสสทีปนตฺตา วิเสสนสมาโสติ จ วุจฺจติฯ ตสฺมิํ วิเสสนสมาเส

อนึ่ง กัมมธารยะนั้นนั่นเอง ก็เรียกชื่อว่า ตัปปุริสะ เพราะประกอบด้วยลักษณะแห่งตัปปุริส กล่าวคือ ความมีเนื้อความของบทหลังเป็นประธาน.
ความเป็นไปแห่งบทนามสองบท แม้จะมีเหตุเป็นไปแห่งศัพท์ต่างกัน (คือ ประกอบด้วยธาตุ และปัจจัย ซึ่งแสดงความหมายต่างกันของแต่ละศัพท์) ในความหมายอย่างเดียวกันโดยความเป็นวิเสสิตัพพะและวิเสสนะ ชื่อว่า ตุลยาธิกรณตา (ความมีอรรถแห่งที่ตั้งของศัพท์เดียวกัน).  กรรมธารยสมาส นั้น มีชื่อเรียกว่า ตุลยาธิกรณสมาส เพราะประกอบด้วยลักษณะแห่งตุลยาธิกรณะนั้น.
กรรมธารยสมาสนั้น นั่นแหละ มีชื่อเรียกว่า วิเสสนสมาส เพราะแสดงคุณพิเศษ (ความต่างกันโดยคุณ) โดยเกี่ยวกับเป็นบทวิเสสนบท.
ในวิเสสนสมาสนั้น มีความเป็นไปตามหลักการของสูตรนี้

๓๔๖. วิเสสนเมกตฺเถน[๒]
วิเสสนภูตํ สฺยาทฺยนฺตปทํ เอกตฺเถน วิเสสฺยภูเตน สฺยาทฺยนฺตปเทน สทฺธิํ เอกตฺถํ โหติฯ

๓๔๖ วิเสสนเมกตฺเถน
(บทวิเสสนะเข้าสมาสกับบทวิเสสยะได้)
บทนาม ซึ่งเป็นบทวิเสสนะ มีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน (เข้าสมาส) กับบทนาม ซึ่งเป็นบทวิเสสยะได้.

เอตฺถ จ วิเสสียติ ทพฺพํ วิสิฏฺฐํ กรียติ เอเตนาติ วิเสสนํฯ เอโก อตฺโถ ยสฺสาติ เอกตฺถํ, ‘เอโกติ สมาโน, ‘อตฺโถติ อภิเธยฺยตฺโถ, เนมิตฺตกตฺโถ, โสเยว ทฺวินฺนํ ปวตฺตินิมิตฺตานํ อธิฏฺฐานฏฺเฐน อธิกรณนฺติ จ วุจฺจติฯ ปวตฺตินิมิตฺตานญฺจ อธิฏฺฐานตฺเต สติ ปทานมฺปิ อธิฏฺฐานตา สิทฺธา โหติฯ อิติ เอกตฺถนฺติ ตุลฺยาธิกรณํ, สมานาธิกรณนฺติ วุตฺตํ โหติ,  เตน เอกตฺเถนฯ เอกตฺถํ โหตีติ เอกตฺถีภูตํ โหตีติ อตฺโถฯ

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทัพพะ (นาม) ย่อมถูกสิ่งนี้ทำให้แตกต่าง คือ กระทำให้แปลกไป จึงเรียกว่า วิเสสนะ. เนื้อความของบทใดเสมอกัน เหตุนั้น บทนั้น ชื่อว่า เอกตฺถ. บทว่า เอโก คือ สมาโน แปลว่า เสมอกัน. คำว่า เนื้อความ (อตฺถ) ได้แก่ เนื้อความที่นามศัพท์ระบุถึง (อภิเธยฺยตฺถ) ได้แก่ เนื้อความอันเป็นเหตุให้นามศัพท์เป็นไป (เนมิตฺตกตฺถ), เนื้อความดังกล่าวนั้น มีชื่อเรียกว่า อธิกรณะ เพราะมีความหมายว่า เป็นที่ตั้งแห่งเนื้อความอันเป็นเหตุเป็นไปของบทนาม ทั้งสอง. ด้วยว่า เมื่อมีความเป็นที่ตั้งแห่งเนื้อความซึ่งเป็นเหตุเป็นไป ความเป็นที่ตั้งแม้แห่งบททั้งหลาย ก็เป็นอันสำเร็จได้ด้วย. เพราะเหตุนั้น คำว่า มีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน (เอกตฺถ) จึงเรียกชื่อว่า  ตุลยาธิกรณะ ที่หมายถึง สมานาธิกรณะ   (มีเนื้อความอันเป็นที่ตั้งเสมอกัน).  (บทนามที่เป็นวิเสสนะ) เข้าสมาสกับ บทนาม (ที่เป็นวิเสสยะ) นั้น ซึ่งมีเนื้อความ อันเป็นเหตุให้ศัพท์เป็นไปเสมอกันนั้น. คำว่า ย่อมมีอรรถเป็นอันเดียวกัน (เอกตฺถํ โหติ) หมายความว่า เป็นบทที่มีอรรถอันเป็นที่ตั้งเดียวกัน. (คือระบุทัพพะเดียวกัน).

โส จ สมาโส นววิโธ วิเสสนปุพฺพปโท, วิเสสนุตฺตรปโท, วิเสสโนภยปโท, อุปมานุตฺตรปโท, สมฺภาวนาปุพฺพปโท, อวธารณปุพฺพปโท, นนิปาตปุพฺพปโท, กุนิปาตปุพฺพปโท, ปาทิปุพฺพปโท จาติฯ

กรรมธารยสมาสมี ๙ คือ วิเสสนบุพพบท, วิเสสนุตตรบท, วิเสสโนภยบท, อุปมานุตตรบท, สมฺภาวนาบุพพบท, อวธารณบุพพบท, นนิปาตบุพพบท, กุนิปาตบุพพบท และปาทิบุพพบท
ตตฺถ วิเสสนปุพฺพปโท ยถา? มหาปุริโส, มหานที, มหพฺภยํฯ เอตฺถ จ ‘‘สา เสนา ทิสฺสเต มหา [ชา. ๒.๒๒.๗๗๑], พาราณสิรชฺชํ นาม มหา’’ติ [ชา. อฏฺฐ. ๑.๑.มหาสีลวชาตกวณฺณนา] ปาฬิ ทิสฺสติฯ ตสฺมา สมาเสปิ ติลิงฺเค นิปาตรูโป มหาสทฺโท ยุชฺชติฯ มหา จ โส ปุริโส จาติ มหาปุริโส, มหา จ สา นที จาติ มหานที, มหา จ ตํ ภยญฺจาติ มหพฺภยํ, ทฺวิตฺตํ สํโยเค จ รสฺสตฺตํฯ มหาสทฺทเววจเนน มหนฺตสทฺเทนปิ วากฺยํ ทสฺเสตุํ ยุชฺชติ, มหนฺโต ปุริโส มหาปุริโส, มหนฺตี นที มหานที, มหนฺตํ ภยํ มหพฺภยนฺติฯ จ, ตสทฺเทหิ จ สทฺธิํ ปริปุณฺณํ กตฺวา ทสฺเสตุํ ยุชฺชติ, มหนฺโต จ โส ปุริโส จาติ มหาปุริโส, มหนฺตี จ สา นที จาติ มหานที, มหนฺตญฺจ ตํ ภยญฺจาติ มหพฺภยนฺติฯ มหนฺตสทฺโท วา มหา โหติ, ‘ฏ นฺตนฺตูนนฺติ สุตฺเตน อุตฺตรปเท ปเร นฺตสฺส สพฺพสฺส อตฺตํ, มหาวุตฺตินา ทีโฆ จฯ

บรรดากรรมธารยสมาส ๙ อย่างนั้น วิเสสนบุพพบท ตัวอย่างเช่น มหาปุริโส (บุรุษประเสริฐ), มหานที (แม่น้ำใหญ่), มหพฺภยํ (ภัยใหญ่).
ในตัวอย่างเหล่านั้น พบพระบาฬีว่า สา เสนา ทิสฺสเต มหา [ชา. ๒.๒๒.๗๗๑] กองทัพยิ่งใหญ่นั้น ย่อมปรากฏ, พาราณสิรชฺชํ นาม มหา’’ติ [ชา. อฏฺฐ. ๑.๑.มหาสีลวชาตกวณฺณนา] ธรรมดาว่า การเป็นพระราชาแห่งเมืองพาราณสี ยิ่งใหญ่”. เพราะฉะนั้น มหา-ศัพท์ จะมีรูปเป็นนิบาตในลิงค์ทั้งสาม ก็สามารถใช้ได้ในสมาส. (จึงมีวิเคราะห์ในลิงค์ทั้งสามดังนี้) ผู้ประเสริฐด้วย ผู้ประเสริฐนั้นเป็นบุรุษด้วย ชื่อว่า มหาปุริโส บุรุษผู้ประเสริฐ, ใหญ่ด้วย ใหญ่นั้น เป็นแม่น้ำด้วย ชื่อว่า มหานที แม่น้ำใหญ่, ใหญ่ด้วย ใหญ่นั้นเป็นภัยด้วย ชื่อว่า มหพฺภยํ ภัยใหญ่. (รูปมหพฺภยํ) ซ้อน พฺ และเป็นรัสสะเพราะสังโยค.

เอตฺถ จ ทฺวีหิ จสทฺเทหิ ทฺวินฺนํ ปทานํ สกตฺถนานาตฺตํ ทีเปติฯ ตํสทฺเทน สกตฺถนานาตฺเตปิ สกตฺถานํ อธิกรณภูตสฺส ทพฺพตฺถสฺส เอกตฺตํ ทีเปติ.



และในที่นี้ แสดงความมีสกัตถะ (เนืัอความของตน คือ ของนามศัพท์สองศัพท์) ต่างกัน ด้วยจ ศัพท์สองศัพท์.  และถึงนามศัพท์ทั้งสองจะมีสกัตถะต่างกันก็ตาม ก็ได้แสดงความเป็นอันเดียวกันแห่งทัพพัตถะ (สิ่งที่ระบุไว้) ซึ่งเป็นที่ตั้งของสกัตถะ ด้วยตศัพท์.

อิมสฺมิํ พฺยากรเณ วิสุํ รูปวิธานกิจฺจํ นาม นตฺถิ, ตํตํสุตฺตวิธานญฺจ ตทนุรูปํ ทสฺสิตวิคฺคหวากฺยญฺจ ทิสฺวา ตสฺส ตสฺส สิทฺธปทสฺส อตฺถพฺยญฺชนวินิจฺฉเย ญาเต รูปวิธานกิจฺจํ สิทฺธํ โหติ, สนฺโต จ โส ปุริโส จาติ สปฺปุริโส, เสตหตฺถี, นีลุปฺปลํ, โลหิตจนฺทนํฯ

ในคัมภีร์ (โมคคัลลานไวยากรณ์)นี้ จะไม่มีแสดงวิธีสร้างรูปคำแยกเป็นต่างหาก, ดังนั้น เมื่อวินิจฉัยอรรถและพยัญชนะของบทที่สำเร็จรูปแล้วนั้นๆ ที่นักศึกษารู้ได้แล้ว โดยพบวิธีการของสูตรนั้นๆ และวากยะแสดงรูปวิเคราะห์ซึ่งได้แสดงไว้โดยสอดคล้องกับวิธีการของตัวสูตรนั้นแล้ว, ก็เป็นอันว่า วิธีการสำเร็จรูปคำอันพึงกระทำ ได้สำเร็จแล้วเช่นกัน. (ตัวอย่างของวิเสสนปุพพปท อื่นอีก คือ ) สนฺโต จ โส ปุริโส จาติ สปฺปุริโส ผู้สงบแล้ว ด้วย ผู้สงบแล้ว นั้น เป็นบุรุษ ด้วย ชื่อว่า บุรุษผู้สงบแล้ว. เสตหตฺถี (ช้างเผือก), นีลุปฺปลํ (ดอกบัวเขียว), โลหิตจนฺทนํ (ไม้จันทน์แดง)

วิสทิสลิงฺค, วจนาปิ สทฺทา เอกตฺถา โหนฺติ, วินโย จ โส ปริยตฺติ จาติ วินยปริยตฺติ, วินโย จ โส ปิฏกญฺจาติ วินยปิฏกํ, อวิชฺชา จ สา ปจฺจโย จาติ อวิชฺชาปจฺจโย, อวิชฺชา จ สา นีวรณญฺจาติ อวิชฺชานีวรณํฯ เอวํ อิตฺถิรตนํ, สีลญฺจ ตํ คุโณ จาติ สีลคุโณ, สีลญฺจ ตํ ปติฏฺฐา จาติ สีลปติฏฺฐา อิจฺจาทิฯ

ศัพท์ซึ่งจะต่างกันทั้งลิงค์และวจนะ ก็มีเนื้อความเป็นอันเดียวกันได้ (คือ นำมาเข้าสมาสกันได้) เช่น วินโย จ โส ปริยตฺติ จาติ วินยปริยตฺติ พระวินัยด้วย พระวินัยนั้น เป็นปริยัตติธรรมด้วย เหตุนั้น ชื่อว่า วินยปริยตฺติ ปริยัตติธรรมอันเป็นพระวินัย, วินโย จ โส ปิฏกญฺจาติ วินยปิฏกํ พระวินัยด้วย พระวินัยนั้น เป็นปิฏกด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า วินยปิฏกํ ปิฏกอันเป็นพระวินัย, อวิชฺชา จ สา ปจฺจโย จาติ อวิชฺชาปจฺจโย อวิชชาด้วย อวิชชานั้น เป็นปัจจัย ด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า อวิชฺชาปจฺจโย ปัจจัยอันเป็นอวิชชา, อวิชฺชา จ สา นีวรณญฺจาติ อวิชฺชานีวรณํ อวิชชาด้วย อวิชชานั้น เป็นนิวรณ์ด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า นิวรณ์อันเป็นอวิชชา. อิตฺถิรตนํ (รัตนะที่เป็นสตรี) ก็เหมือนกัน.  สีลญฺจ ตํ คุโณ จาติ สีลคุโณ ศีลด้วย ศีลนั้นเป็นคุณด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า คุณอันเป็นศีล, สีลญฺจ ตํ ปติฏฺฐา จาติ สีลปติฏฺฐา ศีลด้วย ศีลนั้น เป็นที่พึ่ง ด้วย ชื่อว่า ที่พึ่งอันเป็นศีล.

ตถา วีสติ จ สา ปุริสา จาติ วีสติปุริสา, สตญฺจ ตํ ปุริสา จาติ สตปุริสา, สงฺขารา จ เต ปจฺจโย จาติ สงฺขารปจฺจโย, องฺคา จ เต ชนปทญฺจาติ องฺคชนปทํ, มคธา จ เต รฏฺฐญฺจาติ มคธรฏฺฐํฯ เอวํ กาสิรฏฺฐํ อิจฺจาทิฯ

ตัวอย่างนอกจากนี้ เช่น วีสติ จ สา ปุริสา จาติ วีสติปุริสา ยี่สิบด้วย ยี่สิบนั้น เป็นบุรุษ ด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วีสติปุริสา บุรุษ ๒๐, สตญฺจ ตํ ปุริสา จาติ สตปุริสา ร้อยด้วย ร้อยนั้น เป็นบุรุษ ด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สตปุริสา บุรุษ ๑๐๐, สงฺขารา จ เต ปจฺจโย จาติ สงฺขารปจฺจโย สังขารด้วย สังขารเหล่านั้น เป็นปัจจัยด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สงฺขารปจฺจโย ปัจจัยอันเป็นสังขาร, องฺคา จ เต ชนปทญฺจาติ องฺคชนปทํ อังคะด้วย อังคะนั้น เป็นชนบทด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า องฺคชนปทํ อังคชนบท (แคว้นอังคะ), มคธา จ เต รฏฺฐญฺจาติ มคธรฏฺฐํ มคธ ด้วย มคธนั้น เป็นแคว้นด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มคธรฏฺฐํ (แคว้นมคธ). กาสิรฏฺฐํ (แคว้นกาสี) ก็วิเคราะห์เช่นนี้เหมือนกัน.

อิธ น โหติ[๓], ปุณฺโณ มนฺตานีปุตฺโต, จิตฺโต คหปติ, สกฺโก เทวราชา, พฺรหฺมา สหมฺปติ อิจฺจาทิฯ

ในตัวอย่างเหล่านี้ไม่เป็นสมาส เช่น ปุณฺโณ มนฺตานีปุตฺโต บุตรของนางมันตานี ที่ชื่อว่า ปุณณะ, จิตฺโต คหปติ คฤหบดี ชื่อว่า จิตตะ, สกฺโก เทวราชา เทวราช ทรงพระนามว่า สักกะ, พฺรหฺมา สหมฺปติ ท้าวสหัมบดี ผู้เป็นพรหม.

กฺวจิ นิจฺจสมาโส, กณฺหสปฺโป, โลหิตมาลํ อิจฺจาทิฯ

ในบางตัวอย่างเป็นสมาสแน่นอน เช่น กณฺหสปฺโป (งูดำ), โลหิตมาลํ (พวงมาลาสีแดง)
วิเสสนุตฺตรปโท ยถา? สาริปุตฺตตฺเถโร, พุทฺธโฆสาจริโย, อาจริยคุตฺติโล วา, มโหสธปณฺฑิโต, ปุริสุตฺตโม, ปุริสวโร, ปุริสวิเสโส อิจฺจาทิฯ

วิเสสนุตรบท ตัวอย่างเช่น สาริปุตฺตตฺเถโร พระสารีบุตรผู้เป็นพระเถระ, พุทฺธโฆสาจริโย พระพุทธโฆสะ ผู้เป็นอาจารย์, มีรูปเป็น อาจริยคุตฺติโล พระคุตติละผู้เป็นอาจารย์ , มโหสธปณฺฑิโต ท่านมโหสธ ผู้เป็นบัณฑิต, ปุริสุตฺตโม บุรุษผู้สูงสุด, ปุริสวโร บุรุษประเสริฐ, ปุริสวิเสโส บุรุษผู้วิเศษ.

วิเสสโนภยปโท ยถา? ฉินฺนญฺจ ตํ ปรูฬฺหญฺจาติ ฉินฺนปรูฬฺหํ, สีตญฺจ ตํ อุณฺหญฺจาติ สีตุณฺหํ, ขญฺโช จ โส ขุชฺโช จาติ ขญฺชขุชฺโชฯ เอวํ อนฺธพธิโร, กตญฺจ ตํ อกตญฺจาติ กตากตํ, ฉิทฺทาวฉิทฺทํ, ฉินฺนภินฺนํ, สิตฺตญฺจ ตํ สมฺมฏฺฐญฺจาติ สิตฺตสมฺมฏฺฐํ, สนฺตสฺส ภาโว สจฺจํ, อเขมฏฺเฐน ทุกฺขญฺจ ตํ อวิปรีตฏฺเฐน สจฺจญฺจาติ ทุกฺขสจฺจํ อิจฺจาทิฯ

วิเสสโนภยบท ตัวอย่างเช่น ฉินฺนญฺจ ตํ ปรูฬฺหญฺจาติ ฉินฺนปรูฬฺหํ (ตํ) วัตถุนั้น ขาดแล้วด้วย งอกแล้วด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า  ฉินฺนปรูฬฺหํ ทั้งขาดและงอก, สีตญฺจ ตํ อุณฺหญฺจาติ สีตุณฺหํ (ตํ) วัตถุนั้น เย็นด้วย ร้อนด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า สีตุณฺหํ ทั้งเย็นและร้อน, ขญฺโช จ โส ขุชฺโช จาติ ขญฺชขุชฺโช (โส) บุรุษนั้น ขาเขยกด้วย  ค่อมด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ขญฺชขุชฺโช ทั้งขาเขยกและค่อม. อนฺธพธิโร (ทั้งบอดและหนวก) ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. กตญฺจ ตํ อกตญฺจาติ กตากตํ กรรมนั้น ทั้งทำแล้ว ด้วย ทั้งที่ยังไม่ได้ทำแล้ว ด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า กตากตํ ทั้งทำแล้วและยังไม่ทำ, ฉิทฺทาวฉิทฺทํ วัตถุมีทั้งช่องใหญ่และช่องเล็ก, ฉินฺนภินฺนํ วัตถุอันถูกตัดและผ่า, สิตฺตญฺจ ตํ สมฺมฏฺฐญฺจาติ สิตฺตสมฺมฏฺฐํ (ตํ) พื้นที่ อันรดน้ำแล้วด้วย อันกวาดแล้วด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ชื่อว่า ทั้งรดน้ำและกวาด, สนฺตสฺส ภาโว สจฺจํ, อเขมฏฺเฐน ทุกฺขญฺจ ตํ อวิปรีตฏฺเฐน สจฺจญฺจาติ ทุกฺขสจฺจํ ความเป็นแห่งธรรมอันมีอยู่ ชื่อว่า สัจจะ, ขันธปัญจกนั้น เป็นทุกข์ เพราะสภาพที่ไม่ปลอดภัย ด้วย เป็นสัจจะด้วย เพราะมีสภาพที่ไม่บิดเบือน เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ทุกฺขสจฺจํ เป็นทั้งทุกข์และสัจจะ.

อุปมานุตฺตรปโท ยถา? สีโห วิยาติ สีโห, มุนิ จ โส สีโห จาติ มุนิสีโหฯ เอวํ มุนิปุงฺคโว, พุทฺธนาโค, พุทฺธาทิจฺโจ, รํสิ วิยาติ รํสิ, สทฺธมฺโม จ โส รํสิ จาติ สทฺธมฺมรํสิฯ เอวํ วินยสาคโร, สมณปทุโม, สมณปุณฺฑรีโก อิจฺจาทิฯ

อุปมานุตตรบท ตัวอย่างเช่น สีโห วิยาติ สีโห, มุนิ จ โส สีโห จาติ มุนิสีโห เพียงดังสีหะ ชื่อว่า สีห, พระมุนีด้วย พระมุนีนั้น เป็นพียงดังสีหะ ด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า มุนิสีโห พระมุนีเพียงดังสีหะ. เหมือนกันคือ มุนิปุงฺคโว พระมุนีเพียงดังโคหนุ่ม, พุทฺธนาโค พระพุทธเจ้าเพียงดังช้างตัวประเสริฐ, พุทฺธาทิจฺโจ พระพุทธเจ้าเพียงดังพระอาทิตย์. รํสิ วิยาติ รํสิ , สทฺธมฺโม จ โส รํสิ จาติ สทฺธมฺมรํสิ เพียงดังรัศมี ชื่อว่า รํสิ, พระสัทธรรมด้วย พระสัทธรรมนั้น เพียงดังรัศมีด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า สทฺธมฺมรํสิ พระสัทธรรมเพียงดังรัศมีฯ เอวํ เหมือนกันคือ วินยสาคโร พระวินัยเพียงมหาสมุทร, สมณปทุโม พระสมณะเพียงดังดอกปทุม, สมณปุณฺฑรีโก พระสมณะเพียงดังดอกบัวบุณฑริก.

สมฺภาวนาปุพฺพปโท ยถา? เหตุ หุตฺวา ปจฺจโย เหตุปจฺจโยฯ เอวํ อารมฺมณปจฺจโย, มนุสฺสภูโต, เทวภูโตธมฺโม อิติ สงฺขาโต ธมฺมสงฺขาโต, ธมฺมสมฺมโต, ธมฺมสญฺญิโต, ธมฺมลกฺขิโตเอว อิติ สงฺขาโต สทฺโท เอวสทฺโทฯ เอวํ จสทฺโท, วาสทฺโทอริยภูโต สงฺโฆ อริยสงฺโฆฯ เอวํ พุทฺธมุนิ, ปจฺเจกมุนิ อิจฺจาทิ



สัมภาวนาบุพพบท ตัวอย่างเช่น  เหตุ หุตฺวา ปจฺจโย เหตุปจฺจโย ปัจจัยเป็นเหตุฯ อารมฺมณปจฺจโย ปัจจัยเป็นอารมณ์, มนุสฺสภูโต บุคคลผู้เป็นมนุษย์, เทวภูโต บุคคลผู้เป็นเทวดา นี้ก็เหมือนกันธมฺโม อิติ สงฺขาโต ธมฺมสงฺขาโต คำที่กล่าวว่า ธรรม ชื่อว่า ธมฺมสงฺขาโต , ธมฺมสมฺมโต คำที่นับว่าธรรม, ธมฺมสญฺญิโต คำที่หมายเอาว่าธรรม, ธมฺมลกฺขิโต คำที่กำหนดว่าธรรม นี้ก็เหมือนกันเอว อิติ สงฺขาโต สทฺโท เอวสทฺโท ศัพท์ที่กล่าวว่า เอว ชื่อว่า เอวสทฺโท.  จสทฺโท (ศัพท์ที่กล่าวว่า จ, วาสทฺโท (ศัพท์ที่กล่าวว่า วาศัพท์) นี้ก็เหมือนกันอริยภูโต สงฺโฆ อริยสงฺโฆ สงฆ์ที่เป็นอริยบุคคล ชื่อว่า อริยสงฺโฆ.  พุทฺธมุนิ พระมุนีที่เป็นพระพุทธเจ้า, ปจฺเจกมุนิ พระมุนีที่เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นี้ก็เหมือนกัน.

เอตฺถ จ สมฺภาวนา นาม สามญฺญภูตสฺส อุตฺตรปทตฺถสฺส ทฬฺหํ กตฺวา โถมนา สรูปวิเสสทีปนา, น คุณมตฺตทีปนาติ อธิปฺปาโยฯ ครู ปน ‘‘ธมฺโม อิติ พุทฺธิ ธมฺมพุทฺธิฯ เอวํ ธมฺมสญฺญา, อนิจฺจสญฺญา, ธาตุสญฺญา, มาตุสญฺญา, ปาณสญฺญิตา, อตฺตทิฏฺฐิ’’ อิจฺจาทีนิปิ เอตฺถ อาหรนฺติ, อิมานิ ปน ‘‘สรณํ อิติ คโต อุปคโต สรณงฺคโต’’ติ ปทํ วิย อิติลุตฺตานิ ปฐมาตปฺปุริสปทานิ นาม ยุชฺชนฺตีติ[๔]


อนึ่ง ในเรื่องนี้ มีความประสงค์ว่า ชื่อว่า สัมภาวนา ได้แก่ การยกย่องโดยทำอรรถของบทหลัง ที่เป็นธรรมดาให้หนักแน่น โดยการแสดงลักษณะพิเศษ มิได้เพียงแสดงแต่คุณลักษณะเท่านั้น. ส่วนครูทั้งหลาย ยกศัพท์เหล่านี้เป็นตัวอย่างในเรื่องนี้ว่า ธมฺโม อิติ พุทฺธิ ธมฺมพุทฺธิ ความรู้ว่าเป็นธรรม ชื่อว่า ธมฺมพุทฺธิ, ธมฺมสญฺญา (ความหมายจำว่าเป็นธรรม), อนิจฺจสญฺญา (ความจำหมายว่าไม่เที่ยง), ธาตุสญฺญา (ความจำหมายว่าเป็นธาตุ), มาตุสญฺญา(ความจำหมายว่าเป็นมารดา), ปาณสญฺญิตา (สัตว์ที่กำหนดหมายว่ามีชีวิต), อตฺตทิฏฺฐิ (ความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา) นี้ก็เหมือนกัน. แต่ตัวอย่างเหล่านี้ ควรเป็นปฐมาตัปปุริสสมาสซึ่งลบอิติศัพท์ไปมากกว่า เหมือนบทว่า สรณํ อิติ คโต อุปคโต สรณงฺคโต บุคคลผู้ถึง คือ เข้าถึง (พระพุทธเจ้าเป็นต้น) ว่าเป็นสรณะ ชื่อว่า สรณงฺคโต.

อวธารณปุพฺพปโท ยถา? คุโณ เอว ธนํ น มณิสุวณฺณาทีติ คุณธนํฯ เอวํ สทฺธาธนํ, สีลธนํ, จกฺขุ เอว ทฺวารํ น คามทฺวาราทีติ จกฺขุทฺวารํฯ เอวํ จกฺขุวตฺถุ, จกฺขุนฺทฺริยํ, จกฺขายตนํ, จกฺขุธาตุ, ขนฺธา เอว ภารา ขนฺธภาราฯ เอตฺถ จ ยทิ ภริตพฺพฏฺเฐน ภารา นาม สิยุํ, ปญฺจกฺขนฺธา เอว ภารา นาม สิยุํ, น สีสภาร, อํสภาราทโยฯ ขนฺธา หิ นิจฺจภารา โหนฺติ, อิตเร ตาวกาลิกา, ขนฺธมูลิกา จาติฯ เอวํ อติสยตฺถสมฺภาวนตฺถํ ขนฺธา เอว ภาราติ อวธารณวากฺยํ ปยุชฺชติ, น สีสภาราทีนํ สพฺพโส ภารภาวปฏิกฺขิปนตฺถนฺติฯ เอวํ สพฺพตฺถ, อวิชฺชา เอว มลํ น กํสมลาทิกนฺติ อวิชฺชามลํ, อวิชฺชา เอว อาสโว น มธฺวาสวาทิโกติ อวิชฺชาสโวฯ เอวํ ตณฺหาสลฺลํ, ปญฺญาสตฺถํ, ปญฺญาโลโก, ปญฺญาปชฺโชโต, ราคคฺคิ, โทสคฺคิ, โมหคฺคิ อิจฺจาทิฯ ครู ปน ‘‘ธนํ วิยาติ ธนํ, สทฺธา เอว อริยานํ ธนํ สทฺธาธนํ, สตฺถํ วิยาติ สตฺถํ, ปญฺญา เอว สตฺถํ ปญฺญาสตฺถ’’นฺติ โยเชนฺติ, เอวํ สติ อติสยสมฺภาวนตฺโถ น สิชฺฌติ[๕]

อวธารณบุพพบท ตัวอย่างเช่น คุโณ เอว ธนํ น มณิสุวณฺณาทีติ คุณธนํ ทรัพย์เท่านั้นเป็นคุณ, เงินและทองเป็นต้นไม่ใช่ทรัพย์ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า คุณธนํ ทรัพย์คือคุณ. สทฺธาธนํ (ทรัพย์คือศรัทธา), สีลธนํ (ทรัพย์คือศีล) ก็เหมือนกัน, จกฺขุ เอว ทฺวารํ น คามทฺวาราทีติ จกฺขุทฺวารํ จักษุเท่านั้นเป็นทวาร, ประตูบ้านเป็นต้น หาใช่ทวารไม่ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า จกฺขุทฺวารํ ทวารคือจักษุ.  จกฺขุวตฺถุ (วัตถุคือจักษุ), จกฺขุนฺทฺริยํ (อินทรีย์คือจักษุ), จกฺขายตนํ (อายตนะคือจักษุ), จกฺขุธาตุ (ธาตุคือจักษุ), ขนฺธา เอว ภารา ขนฺธภารา ขันธ์นั่นเองเป็นภาระ ชื่อว่า ขนฺธภาร (ภาระคือขันธ์). ในตัวอย่างว่า ขนฺธภาร นี้ ถ้าหากสิ่งที่ชื่อว่า ภาระ เพราะมีความหมายว่าเป็นสิ่งที่จะต้องนำไปแล้วไซร้, ขันธ์ ๕ เท่านั้น จะพึงเป็นภาระ, สิ่งที่จะต้องทูนหัวและแบกไปด้วยบ่าเป็นต้น จะไม่ใช่ภาระ. อันที่จริง ขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเป็นภาระอย่างแน่นอน, สิ่งอื่นจากนี้เป็นภาระเพียงชั่วเวลาหนึ่ง และมีขันธ์เป็นมูลเหตุ. การที่ประกอบวากยะที่ประกอบด้วยอรรถอวธารณะ ว่า ขนฺธา เอว ภารา (ขันธ์นั่นเองเป็นภาระ) ก็เพื่อยกย่องอรรถที่เป็นพิเศษเท่านั้น, หาใช่เพื่อปฏิเสธความเป็นภาระของสิ่งที่จะต้องทูนหัว และแบกไปด้วยบ่าเป็นต้นโดยประการทั้งปวงไม่. ในตัวอย่างทั้งหมด ก็มีอธิบายโดยนัยนี้ คือ อวิชฺชา เอว มลํ น กํสมลาทิกนฺติ อวิชฺชามลํ อวิชชานั่นเองเป็นมลทิน, มลทินแห่งกังสดาลหาใช่มลทินไม่ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า อวิชฺชามลํ มลทินคืออวิชชา, อวิชฺชา เอว อาสโว น มธฺวาสวาทิโกติ อวิชฺชาสโว อวิชชานั่นเอง เป็นอาสวะ, เครื่องหมักด้วยน้ำหวานเป็นต้นอาใช่อาสวะไม่ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า อวิชฺชาสโว (อาสวะคืออวิชชา), ตณฺหาสลฺลํ (ศรคือตัณหา), ปญฺญาสตฺถํ (ดาบคือปัญญา), ปญฺญาโลโก (แสงสว่างคือปัญญา), ปญฺญาปชฺโชโต (ประทีปคือปัญญา), ราคคฺ (ไฟคือราคะ), โทสคฺคิ (ไฟคือโทสะ), โมหคฺคิ (ไฟคือโมหะ) ก็มีนัยเช่นนี้. แต่ครูทั้งหลายแต่งวากยะว่า ธนํ วิยาติ ธนํ, สทฺธา เอว อริยานํ ธนํ สทฺธาธนํ สิ่งที่เหมือนกับทรัพย์เรียกว่า ธนํ (ทรัพย์), ศรัทธานั่นเอง ก็เป็นเหมือนทรัพย์ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย จึงชื่อว่า สทฺธาธนํ (ทรัพย์คือศรัทธา), สตฺถํ วิยาติ สตฺถํ, ปญฺญา เอว สตฺถํ ปญฺญาสตฺถํ สิ่งที่เหมือนศัตรา ชื่อว่า สตฺถํ (ศัสตรา),  ปัญญานั่นเอง เป็นเหมือนศัตรา จึงชื่อว่า ปญฺญาสตฺถํ (ศัสตราคือปัญญา) ดังนี้ไว้, เมื่อเป็นเช่นนี้ อรรถคือการยกย่องความพิเศษ จึงไม่ปรากฏ (คือ ไม่ต้องโทษที่กลายเป็นสัมภาวนบุพพบท)


นนิบาตบุพพบทกัมมธารยสมาส มีดังนี้

๓๔๗. นนิปาตปุพฺพปเท นญฺ[๖]
ญานุพนฺโธ ปฏิเสธมฺหา อญฺญนการนิวตฺตนตฺโถ, นญฺอิจฺเจตํ สฺยาทฺยนฺตํ อญฺเญน สฺยาทฺยนฺเตน สห เอกตฺถํ โหติฯ อิมินา นเญกตฺถสญฺญํ กตฺวา


๓๔๗. นนิปาตปุพฺพปเท นญฺ
(ในนนิปาตบุพพบท น-นิบาต เข้าสมาสกับนามศัพท์อื่นได้) ญอนุพันธ์ มีอรรถห้ามนอักษรอรรถอื่นจากอรรถการปฏิเสธ, (ตัวสูตรมีอธิบายว่า) นามศัพท์คือ น นี้ เข้าสมาสกับนามศัพท์อื่นได้. ครั้นตั้งชื่อว่า น สมาสด้วยสูตรนี้แล้ว (แปลง น เป็น อ ด้วยสูตรนี้คือ) -

๓๔๘. ฏ นญฺสฺส [๗]
อุตฺตรปเท ปเร นญฺอิจฺเจตสฺส ฏานุพนฺโธ อ โหตีติ นสฺส อตฺตํฯ

๓๔๘. ฏ นญฺสฺส
(แปลง น เป็น อ)
ในเพราะบทหลัง อันเป็นเบื้องหลัง อ มีฏอนุพันธ์ เป็นตัวเปลี่ยนของน เพราะเหตุนั้น แปลง น เป็น อ.

น พฺราหฺมโณ อพฺราหฺมโณฯ เอตฺถ สิยา กิํ วิชฺชมานสฺส วายํ นิเสโธ, อุทาหุ อวิชฺชมานสฺส วาติ, กิญฺเจตฺถ ยทิ วิชฺชมานสฺส นิเสโธ, เอวํ สติ โลเก วิชฺชมานา สพฺเพ พฺราหฺมณา อพฺราหฺมณา นาม ภเวยฺยุํฯ ตสฺมา ‘‘อิธ ชโน น พฺราหฺมโณ, ตตฺถ ชโน น พฺราหฺมโณ’’ติอาทินา เทสาทินิยมํ วินา โลเก วิชฺชมานสฺส พฺราหฺมณสฺส นิเสโธ น ยุชฺชติ, อถ โลเก อวิชฺชมานสฺส นิเสโธ, เอวญฺจ สติ กิํ อวิชฺชมานสฺส นิเสเธน นิเสธนียสฺเสว อวิชฺชมานตฺตาติ? วุจฺจเต ตํสทิสาทิอตฺเถสุ ตพฺโพหารสฺเสวายํ นิเสโธฯ ตถา หิ พฺราหฺมณสทิเส อพฺราหฺมเณ เกสญฺจิ พฺราหฺมณสญฺญา สณฺฐาติ, สญฺญานุรูปญฺจ พฺราหฺมณโวหาโร ตสฺมิํ ปวตฺตติ, เอวํ ปวตฺตสฺส อพฺราหฺมเณ พฺราหฺมณโวหารสฺส อยํ ปฏิเสโธ โหติฯ ยถา ตํ? โลกสฺมิํ พาลชนานํ มิจฺฉาสญฺญาวเสน มิจฺฉาโวหาโร ปวตฺตติเยว ‘‘รูปํ อตฺตา, เวทนา อตฺตา’’ อิจฺจาทิ, เตสํ ตสฺส มิจฺฉาภาวขฺยาปนตฺถํ ปฏิเสโธ โยชิยติ ‘‘รูปํ อนตฺตา, เวทนา อนตฺตา’’[๘] อิจฺจาทิฯ เอตฺตาวตา สุทฺธพฺราหฺมณสทฺทสฺสปิ มิจฺฉาวเสน ตํสทิเส อตฺเถ ปวตฺติสมฺภโว สิทฺโธ โหติ, นการสฺส จ ตทตฺถโชตกมตฺตตา สิทฺธา โหติ, เอวญฺจ สติ อุตฺตรปทตฺถปธานตาสงฺขาตํ ตปฺปุริสลกฺขณมฺปิ อิธ น วิรุชฺฌติ, ตสฺมา อพฺราหฺมโณติ พฺราหฺมณสทิโสติ วุตฺตํ โหติฯ เอส นโย ตทญฺญ, ตพฺพิรุทฺธ, ตทภาวตฺถาทีสุฯ

ตัวอย่างเช่น น พฺราหฺมโณ อพฺราหฺมโณ บุรุษนี้ไม่ใช่พราหมณ์ ชื่อว่า อพฺราหฺมโณ ผู้ไม่ใช่พพราหมณ์. ในเรื่องนี้ หากมีคำถามว่า หากเป็นการปฏิเสธสิ่งที่มีอยู่, พราหมณ์ทั้งปวงที่มีอยู่ในโลกนี้ จะพึงเป็นผู้มิใช่พราหมณ์ไปเสีย, ดังนั้น การที่จะปฏิเสธพราหมณ์ซึ่งมีอยู่จริงในโลกนี้ โดยเว้น การกำหนดมีเทสะเป็นต้น[๙] โดยนัยว่า ชนในที่นี้มิใช่พราหมณ์, ชนในที่นั้น มิใช่พราหมณ์ ดังนี้ก็ไม่ควร, ทีนั้น หากเป็นการปฏิเสธสิ่งไม่มีอยู่ในโลก, เมื่อเป็นเช่นนี้ ประโยชน์อะไรด้วยการปฏิเสธของไม่มีอยู่ เพราะสิ่งที่ควรจะปฏิเสธนั้นนั่นแหละ หาได้มีอยู่ไม่? ข้าพเจ้าจะชี้แจง, การปฏิเสธนี้ เป็นการปฏิเสธคำเรียกบุคคลนั้นเท่านั้น ในอรรถทั้งหลายมีการเหมือนเป็นต้น. จริงอย่างนั้น ความสำคัญว่าพราหมณ์ ของบุคคลบางคน ในผู้มิใช่พราหมณ์ ซึ่งเหมือนกับว่าเป็นพราหมณ์ ย่อมดำรงอยู่, และ คำเรียกว่าพราหมณ์ ซึ่งคล้อยตามความจำหมาย ย่อมเป็นไปในบุคคลนั้น, การปฏิเสธนี้ เป็นการปฏิเสธคำเรียกว่าพราหมณ์ ในผู้มิใช่พราหมณ์ ซึ่งเป็นไปอย่างนั้น. เช่นเดียวกับคำเรียกผิดๆ เนื่องด้วยความหมายจำผิดว่า “รูปเป็นอัตตา, เวทนา เป็นอัตตา” ดังนี้เป็นต้นเท่านั้น ของคนเขลาในโลกนี้ ย่อมเป็นไป, การปฏิเสธว่า “รูป ไม่ใช่อัตตา, เวทนาไม่ใช่อนัตตา” นี้บัณฑิตประกอบขึ้น เพื่อชี้แจงความผิดพลาดของคำเรียกนั้น ของคนเขลาเหล่านั้น. ด้วยคำเพียงเท่านั้น ความเกิดขึ้นของความเป็นไปในอรรถที่เหมือนกับสิ่งนั้น เนื่องด้วยความผิด แม้แห่งคำว่าพราหมณ์ล้วนๆ (ไม่มีน-นิบาต) เป็นอันสำเร็จลง และความที่ น-นิบาตซึ่งแสดงอรรถปฏิเสธนั้น เป็นอันสำเร็จด้วย เพราะเป็นคำที่แสดงความหมายแห่งน-นิบาตนั้น, เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้ลักษณะแห่งตัปปุริสะ กล่าวคือความมีอรรถของบทหลังเป็นประธาน จึงไม่เสียไป, เพราะฉะนั้น คำว่า อพราหฺมโณ (ไม่ใช่พราหมณ์) จึงมีความหมายว่า ผู้คล้ายกับพราหมณ์. แม้ในความหมาย ตทญฺญ อื่นจากสิ่งนั้น, ตพฺพิรุทฺธ ตรงข้ามจากสิ่งนั้น, ตทภาเว ไม่มีสิ่งนั้น ก็มีนัยเช่นนี้.

ตตฺถ ตทญฺญตฺเถ
สงฺขตา ธมฺมา อสงฺขตา ธมฺมา[๑๐] ฯ เอตฺถ จ น สงฺขตา อสงฺขตา, สงฺขตธมฺเมหิ อญฺเญ ธมฺมาติ อตฺโถฯ

บรรดาความหมายแห่งน-นิบาตที่เหลือสามเหล่านั้น ในความหมายว่า ตทญฺญ อื่นจากสิ่งนั้น ตัวอย่างเช่น สงฺขตา ธมฺมา อสงฺขตา ธมฺมา ธรรมที่เป็นสังขตะ (ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) มีอยู่ ธรรมที่เป็นอสังขตะ  (ไม่ใช่สังขตะ) มีอยู่.  ในตัวอย่างนี้ อสังขตะ คือ ไม่ใช่สังขตะ หมายความว่า เป็นธรรม อื่นจากสังขตธรรม

ตพฺพิรุทฺเธ
อกุสโล, กุสลปฏิปกฺโข ธมฺโมติ อตฺโถฯ
ในความหมายว่า ตพฺพิรุทฺธ ตรงข้ามจากสิ่งนั้น ตัวอย่างเช่น อกุสโล อกุศล (ธรรมที่ตรงข้ามจากกุศล) ได้แก่ ธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกุศล.

ตทภาเว
น กตฺวา อกตฺวา, กรเณน สพฺพโส วินาติ อตฺโถฯ

ในความหมายว่า ตทภาเว ไม่มีสิ่งนั้น ตัวอย่างเช่น  อกตฺวา คือ ไม่กระทำ หมายความว่า เว้นจากการกระทำโดยประการทั้งปวง.
ทุวิโธ ปฏิเสโธ ปสชฺชปฏิเสโธ, ปยิรุทาสปฏิเสโธ จาติฯ

การปฏิเสธ มี ๒ อย่าง คือ ปสัชชปฏิเสธ (ปฏิเสธสิ้นเชิงว่าไม่มีสิ่งอื่นจากนี้) และ ปยิรุทาสปฏิเสธ (ปฏิเสธวัตถุหรือบุคคลว่า แท้จริงแล้วเป็นอีกสิ่งหนึ่ง)

ตตฺถ อตฺตนา ยุตฺตปทตฺถํ ปสชฺช ลคฺเคตฺวา ปฏิเสเธตีติ ปสชฺชปฏิเสโธ, ตทภาวมตฺตโชตโก นกาโร, กฺริยามตฺตนิเสโธติ วุตฺตํ โหติฯ อกตฺวา, อกาตุํ, อกโรนฺโต, น กโรติ, น กาตพฺพํ อิจฺจาทิฯ

บรรดาอรรถสองประการนั้น ปสัชชปฏิเสธ คือ น-นิบาต เข้าถึง คือ เกี่ยวข้องซึ่งอรรถของบทที่ตนประกอบ (คืออรรถของบทหลัง) แล้วปฏิเสธ ได้แก่ นนิบาตที่แสดงความไม่มีแห่งสิ่งนั้นอย่างเดียว, หมายความว่า ปฏิเสธเฉพาะกริยาเท่านั้น เช่น อกตฺวา ไม่กระทำแล้ว, อกาตุํ การไม่ทำ, อกโรนฺโต ไม่กระทำอยู่, น กโรติ ย่อมไม่กระทำ, น กาตพฺพํ ไม่พึงกระทำ.

ปสชฺชมตฺเต อฏฺฐตฺวา ตํสทิสาทิเก ปริโตภาเค อุคฺคยฺห นิเสเธตพฺพํ อตฺถํ อสติ ขิปติ ฉฑฺเฑตีติ ปยิรุทาโส, ตํสทิสาทิโชตโก, ทพฺพนิเสโธติ วุตฺตํ โหติฯ อพฺราหฺมโณ อิจฺจาทิฯ เอวํ อสมโณ, อสกฺยปุตฺติโย, อมิตฺโต, มิตฺตธมฺมวิธุโรติ อตฺโถฯ

น-นิบาต ที่ไม่ตั้งอยู่ในฐานะที่เป็นเพียงเข้าถึงอรรถของบทหลังที่ตนปฏิเสธ  แล้วถือเอาในส่วนที่คล้ายกัน ซึ่งเหมือนกับวัตถุนั้นเป็นต้นแล้ว ทิ้งอรรถที่ตนพึงปฏิเสธ, ได้แก่ น-นิบาตที่แสดงสิ่งที่เหมือนกันเป็นต้นกับสิ่งที่ตนปฏิเสธ หมายความว่า เป็นการปฏิเสธทัพพะ. ตัวอย่างเช่น อพฺราหฺมโณ ไม่ใช่พราหมณ์, อสมโณ ไม่ใช่สมณะ, อสกฺยปุตฺติโย ไม่ใช่พระสักยบุตร, ไม่ใช่มิตร คือ ห่างไกลจากธรรมที่เป็นมิตร.[๑๑]

๓๔๙. อน สเร [๑๒]
สเร ปเร นญฺอิจฺเจตสฺส อน โหติฯ
อริโย อนริโย, อริยธมฺมวิมุโขติ อตฺโถฯ น อาวาโส อนาวาโส, น อิสฺสโร อนิสฺสโรฯ น อีติ อนีติ, ‘อีตีติ อุปทฺทโว, น ยุตฺโต อุปาโย อนุปาโย, น อูมิ อนูมิ, น ยุตฺตา เอสนา อเนสนา, น ยุตฺโต โอกาโส อโนกาโส, น อติกฺกมฺม อนติกฺกมฺม, อนาทาย, อโนโลเกตฺวา อิจฺจาทิฯ

๓๔๙. อน สเร
(ในเพราะสระเบื้องหลัง แปลง น เป็น อน)
ในเพราะสระอันเป็นเบื้องหลัง อน เป็น ตัวเปลี่ยนของศัพท์นี้คือ น อันมี ญฺ เป็นอนุพันธ์.
ตัวอย่าง ผู้มิใช่พระอริยะ ชื่อว่า อนริโย, ความหมายคือ ผู้มีหน้าเบือนหนีจากธรรมของพระอริยะ. ไม่ใช่ที่อยู่ ชื่อว่า อนาวาโส, ไม่ใช่ผู้เป็นใหญ่ ชื่อว่า อนิสฺสโร, ไม่ใช่อุปัททวะ ชื่อว่า อนีติ. ในที่นี้ อีติ ได้แก่ อุปัททวะ. อุบาย อันไม่ควรแล้ว ชื่อว่า อนุปาโย (ไม่ใช่อุบาย), ไม่มีคลื่น ชื่อว่า อนูมิ (ไม่มีคลื่น, สงบ ถือว่า ตรงข้ามกับมีคลื่น), การแสวงหา อันไม่สมควร ชื่อว่า อเนสนา, โอกาส อันไม่สมควร ชื่อว่า อโนกาโส, ไม่ก้าวล่วงแล้ว ชื่อว่า อนติกฺกม, อนาทาย ไม่ถือเอาแล้ว, อโนโลเกตฺวา ไม่แลดูแล้ว เป็นต้น.

พหุลาธิการา อยุตฺตตฺถานมฺปิ สมาโส โหติ[๑๓], ปุน น คายิตพฺพาติ อปุนเคยฺยา, คาถา, จนฺทํ น อุลฺโลเกนฺตีติ อจนฺทมุลฺโลกิกานิ, มุขานิ, สูริยํ น ปสฺสนฺตีติ อสูริยปสฺสา, ราชกญฺญา, สทฺธํ น ภุญฺชติ สีเลนาติ อสทฺธโภชีฯ เอวํ อลวณโภชี, อตฺถํ น กาเมนฺตีติ อนตฺถกามาฯ เอวํ อหิตกามา, โอกาสํ น กาเรสีติ อโนกาสํกาเรตฺวาฯ เอวํ อนิมิตฺตํกตฺวา, มูลมูลํ น คจฺฉตีติ อมูลมูลํคนฺตฺวา อิจฺจาทิฯ

เพราะพหุล ศัพท์ติดตามมา แม้อรรถที่ไม่สัมพันธ์ (ไม่ประกอบกัน) ก็เป็นสมาสได้ เช่น ปุน น คายิตพฺพาติ อปุนเคยฺยา คาถาที่ไม่พึงสวดซ้ำ มีรูปว่า อปุนเคยฺยา.  ใบหน้าที่ไม่แหงนดูพระจันทร์ มีรูปว่า อจนฺทมุลฺโลกิกานิ. ใบหน้าที่ไม่เห็นพระอาทิตย์ มีรูปว่า อสูริยมฺปสฺสานิ หมายถึง ใบหน้า.ย่อมไม่บริโภคเครื่องเซ่นโดยปกติ มีรูปว่า อสฺสทฺธโภชี. อลวณโภชี ผู้ไม่บริโภคเกลือโดยปกติ ก็เหมือนกัน. ย่อมไม่ปรารถนา ซึ่งประโยชน์ มีรูปว่า อนตฺถกามา. อหิตกามา ไม่ปราถนาเกื้อกูล ก็เช่นกัน. ไม่ให้ใครๆทำโอกาส (ไม่ขอโอกาส) มีรูปว่า อโนกาสํกาเรตฺวา. อนิมิตฺตํกตฺวา ไม่กระทำซึ่งนิมิต ก็เช่นกัน. ไม่ติดตามเหตุอย่างหนึ่งจากเหตุอีกอย่างหนึ่ง มีรูปว่า อมูลมูลํ คนฺตฺวา ดังนี้เป็นต้น

‘‘ปุน คายิตพฺพาติ ปุนเคยฺยา, น ปุนเคยฺยา อปุนเคยฺยาฯ อตฺถํ กาเมนฺตีติ อตฺถกามา, น อตฺถกามา อนตฺถกามาฯ อถ วา น อตฺโถ อนตฺโถ, อนตฺถํ กาเมนฺตีติ อนตฺถกามา’’ อิจฺจาทินา วากฺเย โยชิเต ปน ยุตฺตสมาสา โหนฺติฯ

แต่เมื่อประกอบประโยคเป็นรูปว่า ปุน คายิตพฺพาติ ปุนเคยฺยา (คาถาที่พึงสวดซ้ำ มีรูปว่า ปุนเคยฺยา), น ปุนเคยฺยา อปุนเคยฺยา (คาถาที่พึงสวดซ้ำหามิได้ มีรูปว่า อปุนเคยฺยา), อตฺถํ กาเมนฺตีติ อตฺถกามา (ผู้ปรารถนาประโยชน์ มีรูปว่า อตฺถกามา), น อตฺถกามา อนตฺถกามา (ผู้ปรารถนาประโยชน์หามิได้ มีรูปว่า อนตฺถกามา) อีกอย่างหนึ่ง มีรูปวิเคราะห์ว่า น อตฺโถ อนตฺโถ (สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ มีรูปว่า อนตฺโถ), อนตฺถํ กาเมนฺตีติ อนตฺถกามา (ผู้ปรารถนาสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ มีรูปว่า อนตฺถกามา) เป็นต้น.  

ครู ปน ‘‘อตฺถํ น กาเมนฺติ อนตฺถเมว กาเมนฺตีติ อนตฺถกามา, หิตํ น กาเมนฺติ อหิตเมว กาเมนฺตีติ อหิตกามา, ผาสุํ น กาเมนฺติ อผาสุเมว กาเมนฺตีติ อผาสุกามา’’ติ โยเชสุํ, ทฺวาธิปฺปายปทํ นาเมตํฯ

อย่างไรก็ตาม ครูทั้งหลายประกอบรูปวิเคราะห์ว่า อตฺถํ น กาเมนฺติ อนตฺถเมว กาเมนฺตีติ อนตฺถกามา (ผู้ที่ไม่ปรารถนาประโยชน์ คือ ปรารถนาสิ่งที่มิใช่ประโยชน์นั่นแหละ มีรูปว่า อนตฺถกามา), หิตํ น กาเมนฺติ อหิตเมว กาเมนฺตีติ อหิตกามา (ผู้ที่ไม่ปรารถนาความเจริญ คือ ปรารถนาสิ่งที่มิใช่ความเจริญนั่นแหละ มีรูปว่า อหิตกามา), ผาสุํ น กาเมนฺติ อผาสุเมว กาเมนฺตีติ อผาสุกามา (ผู้ที่ไม่ปรารถนาความผาสุข คือ ปรารถนาสิ่งที่มิใช่ความผาสุขนั่นแหละ มีรูปว่า อผาสุกามา) บทเหล่านี้ชื่อว่าบทที่มีความมุ่งหมายสองประการ (คือ เป็นยุตตสมาส หรืออยุตตสมาสตามรูปวิเคราะห์).

กุนิปาตปุพฺพปเท นิจฺจสมาสตฺตา อญฺญปเทน วิคฺคโห, ขุทฺทกา นที กุนฺนที, ขุทฺทโก โสมฺโภ กุโสมฺโภ, ขุทฺทกํ วนํ กุพฺพนํฯ

ในกุนิบาตบุพพบท (กัมมธารยสมาสที่มีกุนิบาตเป็นบทหน้า) มีวิเคราะห์ด้วยบทอื่น เพราะเป็นนิจจสมาส เช่น ขุทฺทกา นที กุนฺนที แม่น้ำสายน้อย ชื่อว่า กุนฺนที, ขุทฺทโก โสมฺโภ กุโสมฺโภ ตุ๊กตาตัวน้อย ชื่อว่า กุโสมฺโภ, ขุทฺทกํ วนํ กุพฺพนํ ป่าเล็ก ชื่อว่า กุพฺพนํ.

๓๕๐. สเร กท กุสฺสุตฺตรตฺเถ[๑๔]
สราทิเก อุตฺตรปเท ปเร อุตฺตรปทตฺเถ วตฺตมานสฺส กุนิปาตสฺส กทิ โหติฯ
กุจฺฉิตํ อนฺนํ กทนฺนํ, กุจฺฉิตํ อสนํ กทสนํ, กุจฺฉิโต อริโย กทริโย, มจฺฉรีฯ
สเรติ กิํ? กุปุตฺตา, กุทารา, กุทาสาฯ
อุตฺตรตฺเถติ กิํ? กุจฺฉิโต โอฏฺโฐ ยสฺสาติ กุโอฏฺโฐฯ

๓๕๐. สเร กท กุสฺสุตฺตรตฺเถ
(เพราะสระข้างหลัง แปลง กุ ที่เป็นไปในอรรถของบทหลังเป็น กทิ)
ในเพราะบทข้างหลังมีสระเป็นตัวต้น กทิ เป็นตัวเปลี่ยนของ กุ นิบาต ซึ่งเป็นไปในตัปปุริสสมาส ซึ่งมีอรรถของบทหลัง เช่น กุจฺฉิตํ อนฺนํ กทนฺนํ ข้าวอันน่าเกลียด ชื่อว่า กทนฺนํ, กุจฺฉิตํ อสนํ กทสนํ อาหารอันน่าเกลียด ชื่อว่า กทสนํ, กุจฺฉิโต อริโย กทริโย, มจฺฉรีสัตว์น่าเกลียด ชื่อว่า กทริโย ได้แก่ บุคคลผู้มีความตระหนี่[๑๕].
บทว่า สเร มีประโยชน์อะไร? มีประโยชน์เพื่อการไม่แปลง กุ เป็น กท  ถ้าบทหลังไม่ใช่สระ เช่น กุปุตฺตา บุตรน่าเกลียด, กุทารา ภรรยา น่าเกลียด, กุทาสา ทาสน่าเกลียด.
บทว่า อุตฺตรตฺถ มีประโยชน์อะไร? มีประโยชน์เพื่อการไม่ กุ เป็น กท ถ้าไม่ได้เป็นไปในตัปปุริสสมาส เช่น กุจฺฉิโต โอฏฺโฐ ยสฺสาติ กุโอฏฺโฐ ปากน่ารังเกียจ ของบุคคลนี้ มีอยู่ เหตุนั้น บุคคลนี้ ชื่อว่า กุโอฏฺโฐ. (เพราะศัพท์นี้เป็นอัญญัตถสมาส หรือพหุพพีหิสมาส)

๓๕๑. กาปฺปตฺเถ [๑๖]
อุตฺตรปเท ปเร อุตฺตรปทตฺเถ ฐิตสฺส อปฺปตฺเถ วตฺตมานสฺส กุนิปาตสฺส กา โหติ วาฯ
อปฺปกํ ลวณํ กาลวณํฯ เอวํ กาปุปฺผํฯ

๓๕๑. กาปฺปตฺเถ
(ในตัปปุริสสมาส เพราะบทหลัง แปลง กุ ที่มีความหมายว่า น้อย เป็น กา บ้าง)
ในเพราะบทหลัง กา เป็นตัวเปลี่ยนของกุนิบาตที่เป็นไปในอรรถว่าน้อย ซึ่งตั้งอยู่ในตัปปุริสสมาส ซึ่งมีอรรถของบทหลังเป็นประธานได้บ้าง เช่น อปฺปกํ ลวณํ กาลวณํ เกลือน้อย ชื่อว่า กาลวณํ. กาปุปฺผํ ดอกไม้น้อย ก็เช่นเดียวกัน.

ปาทิปุพฺพปโท จ นิจฺจสมาโสว, ปกฏฺฐํ วจนํ ปาวจนํ, ทีฆตฺตํ, ปกฏฺฐํ หุตฺวา นีตํ ปณีตํ, ปมุขํ หุตฺวา ธานํ ปธานํฯ เอวํ ปฏฺฐานํ, วิวิธา มติ วิมติ, อธิโก เทโว อธิเทโว, อติเรโก วิเสโส วา ธมฺโม อภิธมฺโม, สุนฺทโร คนฺโธ สุคนฺโธ, กุจฺฉิโต คนฺโธ ทุคฺคนฺโธฯ โสภณํ กตํ สุกตํ, กุจฺฉิตํ กตํ ทุกฺกฏํ, วิปรีโต ปโถ อุปฺปโถฯ เอวํ อุมฺมคฺโค, อุทฺธมฺโม, อุพฺพินโยอิจฺจาทิฯ

อนึ่ง ปาทิบุพพบท (กัมมธารยสมาสที่มีปานิบาตเป็นต้นเป็นบทหน้า) ก็เป็นนิจจสมาสเท่านั้น. ตัวอย่างเช่น ปกฏฺฐํ วจนํ ปาวจนํ คำพูดอันเป็นประธาน ชื่อว่า ปาวจนํ (ปาพจน์, พระพุทธวจนะ), ทีฆตฺตํ, ปกฏฺฐํ หุตฺวา นีตํ ปณีตํ นำไปโดยเป็นประธาน ชื่อว่า ปณีตํ, ปมุขํ หุตฺวา ธานํ ปธานํ ตั้งอยู่โดยความเป็นประมุข ชื่อว่า ปธานํ. ปฏฺฐานํ ปฏฺฐานํ ตั้งอยู่โดยความเป็นประธาน ก็มีนัยเช่นนี้, วิวิธา มติ วิมติ ความเข้าใจอันมีอย่างต่างๆ ชื่อว่า วิมติ, อธิโก เทโว อธิเทโว เทพผู้ยิ่ง ชื่อว่า อธิเทโว, อติเรโก วิเสโส วา ธมฺโม อภิธมฺโม ธรรมอันยิ่ง หรือ ธรรมอันพิเศษ ชื่อว่า อภิธมฺโม, สุนฺทโร คนฺโธ สุคนฺโธ กลิ่นหอม ชื่อว่า สุคนฺโธ, กุจฺฉิโต คนฺโธ ทุคฺคนฺโธ กลิ่นเหม็น ชื่อว่า ทุคฺคนฺโธ. โสภณํ กตํ สุกตํ กรรมอันบุคคลทำแล้ว งาม ชื่อว่า สุกตํ, กุจฺฉิตํ กตํ ทุกฺกฏํ กรรมอันบุคคลทำแล้ว น่ารังเกียจ ชื่อว่า ทุกฺกตํ, วิปรีโต ปโถ อุปฺปโถ หนทางอันวิปริต ชื่อว่า อุปฺปโถ. อุมฺมคฺโค (มิจฉามรรค), อุทฺธมฺโม (ธรรมผิด), อุพฺพินโย (วินัยผิด) ก็เช่นเดียวกัน.

อยมฺปิ กมฺมธารยสมาโส อภิเธยฺยวจโน ปรปทลิงฺโค จฯ

แม้กัมมธารยสมาสนี้ ก็กล่าวอรรถของบทหลังและมีลิงค์เหมือนบทหลัง
กมฺมธารยสมาโส นิฏฺฐิโตฯ

กัมมธารยสมาส จบ.



__________



[๑] [ก. ๓๒๔; รู. ๓๓๙; นี. ๗๐๒]
[๒] [ก. ๓๒๔; รู. ๓๓๙; นี. ๗๐๒; จํ. ๒.๒.๑๘; ปา. ๒.๑.๕๗]
[๓] [รู. ๓๔๑; นี. ๖๘๑]
[๔] [รู. ๓๔๓; นี. ๗๐๒]
[๕]  [รู. ๓๔๓; นี. ๗๐๒]
[๖] [ก. ๓๒๖; รู. ๓๔๑; นี. ๗๐๗] (ดูสูตรว่า นญฺฯ = นญิจฺเจตํ สฺยาทฺยนฺตํ สฺยาทฺยนฺเตน สเหกตฺถํ โหติ, น พฺราหฺมโณ อพฺราหฺมโณ ฯลฯ [โมค.๓/๑๒.] ประกอบด้วย.
[๗] [ก. ๓๓๓; รู. ๓๔๔; นี. ๗๑๗; จํ. ๒.๒.๒๐; ปา. ๒.๒.๖; ‘‘นญฺ’’ (พหูสุ)], ดูสูตรว่า ฏ นญ สฺสฯ =  อุตฺตรปเท นญ สทฺทสฺส ฏ โหติฯ [โมค.๓/๗๔.] ประกอบด้วย.
[๘] [มหาว. ๒๐]
[๙] คือ ไม่ระบุสถานที่, อาการและ เวลา. หมายความว่า ในการปฏิเสธวัตถุที่มีอยู่จริง เช่น โจร (ซึ่งมีอยู่ในโลกจริง) เป็นต้นนั้น ต้องระบุสถานที่ว่า อิธ โจ นตฺถิ ในที่นี้ไม่มีโจร” หรือระบุกาลเวลาว่า อิทานิ โจโร นตฺถิ ในเวลานี้ไม่มีโจร หรือระบุอาการของผู้นั้นว่า “นายํ โจโร บุคคลนี้ไม่ใช่โจร ดังนี้ จึงควร. ดูคำอธิบายเรื่องนี้ในหนังสือปทรูปสิทธิแปลและอธิบายเล่ม ๒ หน้า ๔๒-๔๓
[๑๐] [ธ. ส. ทุกมาติกา ๘]
[๑๑] ในที่นี้ท่านจะแสดงอรรถปฏิเสธของ น-นิบาต ๒ อย่าง เพื่อสนับสนุนสมาสชนิดนี้ คือ ปสัชชะ (น นิบาตที่ปฏิเสธโดยตรง) และปริยุทาสะ (น นิบาตที่ยังมุ่งแสดงอรรถอื่นที่เสมอกันกับสิ่งที่กล่าวปฏิเสธไว้) โดยตัวอย่างว่า อพราหมโณ เป็นตัวอย่างของปริยุทาสวาจี. เกี่ยวกับเรื่องนี้  คัมภีร์ปทรูปสิทธิอธิบายว่า “น นิบาตใดย่อมแสดงความไม่มีทั้งหมดของความหมายแห่งบทหลัง เหมือนในอุทาหรณ์เป็นต้นว่า อสูริยปสฺสา ราชทารา (นางสนมของพระราชาผู้ไม่เห็นพระอาทิตย์) น นิบาตนั้น ชื่อว่า ปสัชชปฏิเสธวาจี (น นิบาตที่กล่าวปฏิเสธโดยตรง). แต่ น นิบาตใดห้ามความหมายของบทหลัง ยังสิ่งที่พึงกระทำในสิ่งที่เหมือนกับสิ่งนั้นให้สำเร็จ เหมือนในอุทาหรณ์เป็นต้นว่า อพฺราหฺมณ (ผู้มิใช่พราหมณ์) อมนุสฺส (ผู้มิใช่มนุษย์) น นิบาตนั้น ชื่อว่า ปริยุทาสวาจี (น นิบาตที่ยังมุ่งแสดงอรรถอื่นที่เสมอกันกับสิ่งที่กล่าวปฏิเสธไว้). สมจริงดังคำกล่าวว่า ‘ความไม่มีแห่งวัตถุ (คือ กิริยาการเห็น การทำเป็นต้นที่ประกอบกับ น นิบาต) เป็นลักษณะของปสัชชปฏิเสธ ส่วนการกล่าวถึงวัตถุอื่น [ที่ปรากฏ] (คือ ธรรมอื่นๆ ทั้งที่เป็นบัญญัติและปรมัตถ์นอกเหนือจากวัตถุที่นนิบาตนั้นปฏิเสธ) เป็นลักษณะของปริยุทาสะ.’ ”.
ขยายความว่า ปสชฺชปฏิเสธ คือ การปฏิเสธชนิดนี้เป็นการปฏิเสธกิริยาโดยตรง โดยไม่มีสิ่งอื่นใดมาเกี่ยวข้อง.  คำว่า ปสชฺชปฏิเสธ มีรูปวิเคราะห์ว่า ปสชฺช ปฏิเสโธ ปสชฺชปฏิเสโธ (การเข้าถึง[สิ่งที่พึงห้าม]แล้วปฏิเสธ ชื่อว่า ปสัชชปฏิเสธ) คำว่า ปสชฺช มีความหมายเหมือน ปตฺวา ดังที่ฎีกาปทรูปสิทธิอธิบายว่า ปสชฺช = ปตฺวา เข้าถึง (ป + สช ธาตุ มีความหมายว่า เข้าถึง + ตฺวา ดังที่คัมภีร์นี้อธิบายเป็น ลคฺเคตฺวา เกี่ยวข้องแล้ว โดยที่ ลค ธาตุมีอรรถว่า ติด, ข้อง). คำว่า ถึง นี้ ได้แก่ การเข้าถึงอรรถที่ถูกปฏิเสธ โดยตรงเลยทีเดียว โดยไม่ส่องหาวัตถุอันเหมือนกับอรรถที่ถูกปฏิเสธนั้น. ตัวอย่างเช่น อกตฺวา ไม่กระทำแล้ว  น-นิบาต ปฏิเสธ กตฺวา ที่เป็นบทกริยาซึ่งประกอบกับตนข้างหลังโดยสิ้นเชิงว่า ไม่มีการกระทำโดยสิ้นเชิง ไม่มีสิ่งนี้เลย ไม่ใช่ปฏิเสธสิ่งนี้แล้วหมายเอาสิ่งอื่นอีกที่คล้ายกัน.
ปริยุทาสปฏิเสธ คือ การปฏิเสธโดยถือเอาอรรถที่เสมอกัน หมายถึง การปฏิเสธที่มิได้กล่าวห้ามไว้อย่างเดียว แต่ยังมุ่งแสดงอรรถอื่นที่เสมอกันกับสิ่งที่กล่าวปฏิเสธไว้ เช่น อพฺราหฺมโณ (ผู้มิใช่พราหมณ์). อศัพท์ (ที่แปลงมาจาก นนิบาต) ในที่นี้ปฏิเสธอรรถพราหมณ์จริงของบทหลัง คือ พราหฺมณ แล้วส่งผลให้หมายเอาบุคคลที่เหมือนพราหมณ์ หมายความว่า คำนี้ไม่เพียงกล่าวปฏิเสธความเป็นพราหมณ์เท่านั้น. แต่ยังมุ่งแสดงว่าผู้ที่ถูกปฏิเสธมีลักษณะเหมือนพราหมณ์โดยมีเครื่องนุ่งห่ม และสายสะพายเป็นสายสิญจ์เหมือนพราหมณ์. นอกจากนี้ ปริยุทาสะ ยังหมายความถึงสิ่งอื่นจากสิ่งที่ปฏิเสธ เช่น อพฺยากโต (ธรรมที่ไม่ควรกล่าวว่าเป็นกุศลและอกุศล) หมายถึง วิบากและกิริยาที่นอกเหนือไปจากกุศลและอกุศล พร้อมทั้งยังหมายความถึงสิ่งที่ตรงกันข้ามจากสิ่งที่ปฏิเสธไว้เช่น อกุสโล (ธรรมที่มิใช่กุศล) หมายถึง อกุศลที่ตรงกันข้ามกับกุศล มิใช่วิบากและกิริยาที่ไม่ตรงกันข้ามกับกุศล.  คำว่า ปริยุทาส สำเร็จรูปมาจาก ปริ บทหน้า + อุ บทหน้า + อสุ ธาตุ (เขเป = ทิ้ง, ปฏิเสธ) + ณ ปัจจัย มีรูปวิเคราะห์ว่า ปริตุลิต’มตฺถ’มุคฺคยฺห อสนํ เขโป ปริยุทาโส (การปฏิเสธโดยถือเอาซึ่งอรรถที่เสมอกัน ชื่อว่า ปริยุทาสะ).  ตามนัยนี้ ปริ อุปสรรคมีอรรถว่า ปริตุลิต (เสมอกัน) ส่วน อุ อุปสรรคมีอรรถว่า อุคฺคยฺห (ยกขึ้น, ถือเอา, แสดง)
กล่าวโดยสรุป ปสัชชปฏิเสธเป็นการปฏิเสธกิริยา ส่วนปริยุทาสะเป็นการปฏิเสธทัพพะ คือ บุคคล วัตถุสิ่งของ หรือสภาวธรรม อันเป็นทั้งบัญญัติและปรมัตถ์ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต.
[๑๒] [ก. ๓๓๔; รู. ๓๔๕; นี. ๗๑๘; จํ. ๕.๒.๑๑๙; ปา. ๖.๓.๑๐๕]
[๑๓] [ก. ๓๓๖; รู. ๓๔๗; นี. ๖๘๙]
[๑๔]  [ก. ๓๓๕; รู. ๓๔๖; นี. ๗๑๙]
[๑๕] อริย ศัพท์ ในที่นี้ ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย ตามที่มาคัมภีร์อังคุตรฏีกา ทุกนิบาต มีอธิบายว่าตา ตา คติโย อรนฺติ อุปคจฺฉนฺตีติ อริยา, สตฺตาฯ อิเม ปน กุจฺฉิตา อริยาติ กทริยาฯ ถทฺธมจฺฉริโน, ถทฺเธน มจฺฉเรน สมนฺนาคตาติ อตฺโถฯ  บุคคลผู้เข้าถึงคตินั้นๆ ชื่อว่า อริยา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย. ก็สัตว์เหล่านี้ เรียกว่า กทริยา เพราะเป็นสัตว์ที่น่าเกลียด หมายคามว่า ประกอบด้วยความกระด้างคือตระหนี่. [อํ.ฏี. จตุกฺ.๕๓.(ปฐมสํวาสสุตฺตวณฺณนา) ]
[๑๖] [ก. ๓๓๖; รู. ๓๔๗; นี. ๗๒๐]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น