วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ปุงลิงค์ - อการันต์ ครั้งที่ ๙ (คจฺฉนฺตาทิคณะ - วิเสสวิธาน ข จบ.)


๑๒๙. ภูโต
แปลง นฺต ของศัพท์ที่สำเร็จแต่ภูธาตุ เป็น อํ เพราะสิวิภัตติ.

ภูธาตุสิทฺธโต นฺตสฺส อํ โหติ สิมฺหิฯ สุทฺเธ นิจฺจํ, อุปปเท อนิจฺจํฯ
แปลง นฺต ของศัพท์ที่สำเร็จแต่ภูธาตุเป็น อํ เพราะสิวิภัตติ. ถ้าไม่มีบทหน้า แปลงเป็น อํ แน่นอน, แต่ถ้ามีบทหน้า ไม่แน่นอน.


ภวํ ติฏฺฐติ, สมฺปตฺติํ อนุภวํ, อนุภวนฺโต, ตณฺหํ อภิภวํ, อภิภวนฺโต, ทุกฺขํ ปริภวํ, ปริภวนฺโต ติฏฺฐติ, ภวนฺตา, ภวนฺโต, เห ภวนฺต, เห ภวนฺตา, เห ภวนฺโต, เห ภว, เห ภวา, เห ภวํ. ‘‘กจฺจิ ภวํ อภิรมสิ อรญฺเญติ [ชา.๒.๑๘.๑๘] ปาฬิฯ เห ภวนฺตา, เห ภวนฺโต, ภวนฺตํ, ภวนฺเต, ภวนฺเตน, ภวตา, ภวนฺเตหิ, ภวนฺเตภิ, ภวนฺตสฺส, ภวโต, ภวนฺตานํ, ภวตํ, ภวนฺตสฺมา, ภวนฺตมฺหา, ภวนฺตา, ภวตา, ภวนฺเตหิ, ภวนฺเตภิ,ภวนฺตสฺส, ภวโต, ภวนฺตานํ, ภวตํ, ภวนฺตสฺมิํ, ภวนฺตมฺหิ, ภวติ, ภวนฺเต, ภวนฺเตสุฯ
ปฐมาวิภัตติ
ภวํ ท่านผู้เจริญ เช่น
ภวํ ติฏฺฐติ ท่านผู้เจริญ ย่อมยืนอยู่
สมฺปตฺติํ อนุภวํ, อนุภวนฺโต  บุคคลผู้ครอบครองสมบัติ ย่อมยืนอยู่
ตณฺหํ อภิภวํ, อภิภวนฺโต บุคคลผู้กำราบตัณหา ย่อมยืนอยู่
ทุกฺขํ ปริภวํ, ปริภวนฺโต ติฏฺฐติ บุคคลผู้เสวยทุกข์ ย่อมยืนอยู่
ภวนฺตา, ภวนฺโต ท่านผู้เจริญท.

อาลปนวิภัตติ
เห ภวนฺต, เห ภวนฺตา, เห ภวนฺโต, เห ภว, เห ภวา, เห ภวํ ดูก่อนท่านผู้เจริญ
มีพระบาฬีที่เป็นตัวอย่างของการแปลง นฺต เป็น อํ ในเพราะสิ อาลปนะ เช่น
กจฺจิ ภวํ อภิรมสิ อรญฺเญ [ชา. (๒). ๒๘/๑๓ (สยาม)]
ท่านย่อมรื่นรมย์อยู่ในป่าแลหรือ

เห ภวนฺตา, เห ภวนฺโต ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท.

ทุติยาวิภัตติ
ภวนฺตํ ซึ่งท่านผู้เจริญ
ภวนฺเต ซึ่งท่านผู้เจริญท.

ตติยาวิภัตติ
ภวนฺเตน, ภวตา ด้วยท่านผู้เจริญ
ภวนฺเตหิ, ภวนฺเตภิ ด้วยท่านผู้เจริญท.

จตุตถีวิภัตติ
ภวนฺตสฺส, ภวโต แก่ท่านผู้เจริญ
ภวนฺตานํ, ภวตํ แก่ท่านผู้เจริญท.

ปัญจมีวิภัตติ
ภวนฺตสฺมา, ภวนฺตมฺหา, ภวนฺตา, ภวตา จากท่านผู้เจริญ
ภวนฺเตหิ, ภวนฺเตภิ จากท่านผู้เจริญท.

ฉัฏฐีวิภัตติ
ภวนฺตสฺส, ภวโต แห่งท่านผู้เจริญ
ภวนฺตานํ, ภวตํ แห่งท่านผู้เจริญท.

สัตตมีวิภัตติ
ภวนฺตสฺมิํ, ภวนฺตมฺหิ, ภวติ, ภวนฺเต ในท่านผู้เจริญ
ภวนฺเตสุ ในท่านผู้เจริญท.

๑๓๐. ภวโต วา โภนฺโต คโยนาเส [ก. ๒๔๓; รู. ๘, ๑๑๐; นี. ๔๘๔]ฯ
เพราะ สิ ชื่อ ค, โย, นา และสวิภัตติ แปลง ภวนฺตศัพท์ เป็น โภนฺต ได้บ้าง.

, โย, นา, เสสุ ภวนฺตสฺส โภนฺโต โหติ วาฯ  สุตฺตวิภตฺเตน อํ, หิ, นํ, สฺมาทีสุ จฯ
เพราะ สิชื่อ ค, โย, นา และสวิภัตติ แปลง ภวนฺต เป็น โภนฺต ได้บ้าง. ด้วยการแบ่งสูตร (ภวโต วา โภนฺโต) แม้เพราะวิภัตติอื่นๆ คือ อํ หิ นํและสฺมาเป็นต้น ก็ทำวิธีนี้ได้ด้วย.

โภนฺตา, โภนฺโต, เห โภนฺต, เห โภนฺตา, เห โภนฺโต, โภนฺตํ, โภนฺเต, โภนฺเตน, โภตา, โภนฺเตหิ, โภนฺเตภิ, โภนฺตสฺส, โภโต, โภนฺตานํ, โภตํ, โภนฺตสฺมา, โภนฺตมฺหา, โภนฺตา, โภตา, โภนฺเตหิ, โภนฺเตภิ, โภนฺตสฺส, โภโต, โภนฺตานํ, โภตํ, โภนฺตสฺมิํ, โภนฺตมฺหิ, โภติ, โภนฺเต, โภนฺเตสุฯ
ปฐมาวิภัตติ
โภนฺตา ท่านผู้เจริญ
โภนฺโต ท่านผู้เจริญท.

อาลปนวิภัตติ
เห โภนฺต ดูก่อนท่านผู้เจริญ
เห โภนฺตา เห โภนฺโต ดูก่อนท่านผู้เจริญท.

ทุติยาวิภัตติ
โภนฺตํ ซึ่งท่านผู้เจริญ
โภนฺเต ซึ่งท่านผู้เจริญท.

ตติยาวิภัตติ
โภนฺเตน, โภตา ด้วยท่านผู้เจริญ
โภนฺเตหิ, โภนฺเตภิ ด้วยท่านผู้เจริญท.

จตุตถีวิภัตติ
โภนฺตสฺส, โภโต แก่ท่านผู้เจริญ
โภนฺตานํ, โภตํ แก่ท่านผู้เจริญท.

ปัญจมีวิภัตติ
โภนฺตสฺมา, โภนฺตมฺหา, โภนฺตา, โภตา จากท่านผู้เจริญ
โภนฺเตหิ, โภนฺเตภิ จากท่านผู้เจริญท.

ฉัฏฐีวิภัตติ
โภนฺตสฺส, โภโต  แห่งท่านผู้เจริญ
โภนฺตานํ, โภตํ  แห่งท่านผู้เจริญท.

สัตตมีวิภัตติ
โภนฺตสฺมิํ, โภนฺตมฺหิ, โภติ, โภนฺเต ในท่านผู้เจริญ
โภนฺเตสุ ในท่านผู้เจริญท.

โภ, ภนฺเตติ ทฺเว วุทฺธิอตฺเถ สิทฺธา อามนฺตนตฺเถ นิปาตา เอว, เตหิ ปรํ ค, โยนํ โลโป, อิโต โภ สุคติํ คจฺฉ [อิติวุ. ๘๓], อุมฺมุชฺชโภ ปุถุสิเล, กุโต นุ อาคจฺฉถ โภ ตโย ชนา [ชา. ๑.๙.๘๗], ปสฺสถ โภ อิมํ กุลปุตฺตํ, เอหิ ภนฺเต ขมาเปหิ, โส เต ภิกฺขู ขมาเปสิ ‘‘ขมถ ภนฺเต’’ติฯ
ส่วน โภ และ ภนฺเต สองศัพท์นี้ เป็นนิบาตในอรรถอามันตนะ (อาลปนะ) ซึ่งใช้ในความหมายว่า เป็นผู้เจริญ. กรณนี้ ลบ สิและโยอาลปนะท้าย โภ และ โภนฺต.
ตัวอย่างเช่น
อิโต โภ สุคติํ คจฺฉ [อิติวุ. ๘๓],
ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงไปจากโลกนี้สู่สุคติภพเถิด

อุมฺมุชฺช โภ ปุถุสิเล [สํ.สฬา.๒๗/๕๙๙ (สยาม)]
ขอจงโผล่ขึ้นเถิด ท่านก้อนหินผู้เจริญ

กุโต นุ อาคจฺฉถ โภ ตโย ชนา [ชา.๒๗ (๑) /๑๒๙๒ (สยาม)],
ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านทั้งสามคนพากันมาจากที่ไหนหนอ

ปสฺสถ โภ อิมํ กุลปุตฺตํ
ท่านผู้เจริญ จงดูกุลบุตรนี้,

เอหิ ภนฺเต ขมาเปหิ,
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงไปเถิด จงยังพระผู้มีพระภาคให้ทรงอดโทษนั้นเถิด.

โส เต ภิกฺขู ขมาเปสิ ‘‘ขมถ ภนฺเต’’ติ
อุบาสกนั้น ยังภิกษุท.เหล่านั้นให้งดโทษว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงงดโทษนั้นเถิด”

ตถา ภทฺทนฺเต, ภทฺทนฺตาติ ทฺเว ‘‘ตุยฺหํ ภทฺทํ โหตุ, ตุมฺหากํ ภทฺทํ โหตู’’ติ อตฺเถ สิทฺธา อามนฺตน -                นิปาตาว. ‘‘ภทฺทนฺเต’’ติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุํ [สํ. นิ. ๑.๒๔๙], ตํ โว วทามิ ภทฺทนฺเต, ยาวนฺเตตฺถ สมาคตา [ชา. ๑.๗.๑๐๘]ฯ ภทฺทนฺต, ภทนฺตสทฺทา ปน ปุริสาทิคณิกา เอวฯ
ภทฺทนฺเต และ ภทฺทนฺต สองศัพท์นี้ก็เช่นกัน เป็นนิบาตในอรรถการทักทาย ใช้ในความหมายว่า “ขอความเจริญจงมีแด่ท่าน, ขอความเจริญจงมีแด่ท่านท.”  ตัวอย่างเช่น
‘‘ภทฺทนฺเต’’ติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุํ [สํ.ส.๑๕/๒๓].
ภิกษุท.เหล่านั้น ทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “พระเจ้าข้า[๑]

ตํ โว วทามิ ภทฺทนฺเต, ยาวนฺเตตฺถ สมาคตา [ชา. (๑).๒๗/๑๐๗].
เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายเท่าที่มาประชุมกันอยู่ในที่นี้,
แต่สองศัพท์นี้คงเป็นศัพท์ที่อยู่ในปุริสาทิคณะเท่านั้น. (แจกเหมือนปุริสศัพท์)

สนฺตสทฺโท ปน สปฺปุริเส วิชฺชมาเน สมาเน จ ปวตฺโต อิธ ลพฺภติฯ สเมติ อสตา อสํ [ชา. ๑.๒.๑๖]ฯ สํ, สนฺโต, สนฺตา, สนฺโต, โภสนฺต, โภสนฺตา, โภส, โภ สา, โภ สํ วา, โภนฺโต สนฺตา, โภนฺโต สนฺโตฯ ยํ ยญฺหิ ราช ภชติ, สนฺตํ วา ยทิ วา อสํ [ชา. ๑.๑๕.๑๘๐]ฯ สนฺเต, สนฺเตน, สตาฯ
สนฺตศัพท์ ที่เป็นไปในความหมายว่า สปฺปุริส (สัตบุรุษ), วิชฺชมาน (มีอยู่), สมาน (มีอยู่) เป็นศัพท์ที่พบได้ในคจฺฉนฺตาทิคณะ เช่น
สเมติ อสตา อสํ[๒] [ชา.(๑)  ๒๗ /๒๑๕๒]ฯ
กรรมชั่ว ย่อมสมกับอสัตบุรุษ[๓]
       
ปฐมาวิภัตติ
สํ, สนฺโต สัตบุรุษ
สนฺตา, สนฺโต สัตบุรุษท.

โภ สนฺต, โภ สนฺตา, โภ ส, โภ สา, โภ สํ  ข้าแต่สัตบุรุษ
โภนฺโต สนฺตา, โภนฺโต สนฺโต ข้าแต่สัตบุรุษท.

ทุติยาวิภัตติ
สนฺตํ ซึ่งสัตบุรุษ ตัวอย่างเช่น
ยํ ยญฺหิ ราช ภชติ, สนฺตํ วา ยทิ วา อสํ [ขุ.ชา. (๑) ๒๗/๒๑๕๒ (สยาม)]ฯ
ข้าแต่พระราชา บุคคลคบคนใดๆ เป็นสัตบุรุษ หรืออสัตบุรุษ ก็ตาม.  
สนฺเต  ซึ่งสัตบุรุษท.

ตติยาวิภัตติ
สนฺเตน, สตา ด้วยสัตบุรุษ

๑๓๑. สโต สพฺพ เภ [ก. ๑๘๕; รู. ๑๑๒; นี. ๓๗๘]ฯ[๔]
เพราะ ภ อันเป็นเบื้องหลัง แปลง สนฺต เป็น สพ ได้บ้าง

เภ ปเร สนฺตสฺส สพอาเทโส โหติ วาฯ
เพราะ ภ อักษร (ของ ภิ) อันเป็นเบื้องหลัง อาเทส คือ สพ แห่งสนฺต ได้บ้าง

สนฺเตหิ, สนฺเตภิ, สพฺภิ, สนฺตสฺส, สโต, สนฺตานํ, สตํ, สนฺตสฺมา, สนฺตมฺหา, สนฺตา, สตา, สนฺเตหิ,           สนฺเตภิ, สพฺภิ, สนฺตสฺส, สโต, สนฺตานํ, สตํ, สนฺตสฺมิํ, สนฺตมฺหิ, สติ, สนฺเต, สนฺเตสุฯ สนฺโต สปฺปุริสา โลเก, ทูเรสนฺโต ปกาเสนฺติ [ธ. ป. ๓๐๔], จตฺตาโร ปุคฺคลา สนฺโต สํวิชฺชมานา โลกสฺมิํ [อ. นิ. ๔.๘๕], ปหุสนฺโต น ภรติ [สุ. นิ. ๙๑]ฯ
ตติยาวิภัตติ (ต่อ)
สนฺเตหิ, สนฺเตภิ, สพฺภิ ด้วยสัตบุรุษท.

จตุตถีวิภัตติ
สนฺตสฺส, สโต แก่สัตบุรุษ
สนฺตานํ, สตํ แก่สัตบุรุษท.
ปัญจมีวิภัตติ
สนฺตสฺมา, สนฺตมฺหา, สนฺตา สตา จากสัตบุรุษ
สนฺเตหิ, สนฺเตภิ, สพฺภิ จากสัตบุรุษท.

ฉัฏฐีวิภัตติ
สนฺตสฺส, สโต สัตบุรุษ
สนฺตานํ, สตํ สัตบุรุษท.

สัตตมีวิภัตติ
สนฺตสฺมิํ, สนฺตมฺหิ, สติ, สนฺเต ในสัตบุรุษ
สนฺเตสุ สัตบุรุษท.

ตัวอย่างเช่น
สนฺโต สปฺปุริสา โลเก [ขุ.ชา.๒๗/๖]
เป็นผู้สงบระงับ เป็นบุรุษผู้ดีงาม ท่านเรียกว่า ผู้มีเทวธรรม ในโลก

ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ [ขุ.ธ. ๒๕/๕๕]
สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์ ฉะนั้น

จตฺตาโร ปุคฺคลา สนฺโต สํวิชฺชมานา โลกสฺมิํ [สํ.ส. ๑๕/๓๙๗],
ดูกรมหาบพิตร บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีอยู่ ปรากฏอยู่ในโลก[๕]
ปหุ สนฺโต น ภรติ [ขุ.สุ. ๒๕/๓๐๔]
คนใด เป็นผู้สามารถ มีอยู่[๖] แต่ไม่เลี้ยงมารดาหรือบิดาผู้แก่เฒ่า

เขเท นิโรเธ จ ปวตฺโต สนฺโต ปุริสาทิคณาทิโก, ทีฆํ สนฺตสฺส โยชนํ [ธ. ป. ๖๑], สนฺตา โหนฺติ สมิตา นิรุทฺธา อิจฺจาทิฯ
สนฺต ศัพท์ ที่เป็นไปในความหมายว่า เขท ลำบาก, และ นิโรธ ดับ เป็นศัพท์ในปุริสาทิคณะ
ตัวอย่างเช่น
ทีฆํ สนฺตสฺส โยชนํ [ขุ.ธ. ๒๕/๖๐],
ระยะทางโยชน์หนึ่ง ยาวไกลสำหรับคนผู้เมื่อยล้า[๗]
สนฺตา[๘] โหนฺติ สมิตา นิรุทฺธา
เป็นผู้สงบ ระงับ นิพพานแล้ว.
อิติ คจฺฉนฺตาทิคณราสิฯ
กลุ่มนามศัพท์มีคจฺฉนฺตเป็นต้น เป็นอย่างนี้.


[๑] แสดงว่า ภทฺทนฺเต ที่มักแปลว่า พระเจ้าข้า มีความหมายโดยสัททัตถนัยว่า “ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงพระเจริญ”
[๒] ฉบับสยามรัฐเป็น สเมติ อสตาสตํ.
[๓] อสํ ได้แก่ อสาธุกมฺมํ กรรมที่ไม่ใช่กรรมดี กล่าวคือ เป็น กรรมชั่ว. ส่วน อสตา ได้แก่ บุคคลผู้ไม่ใช่สัตบุรุษ ดังอรรถกถาสีหนุชาดก (ชา.อ. ๑/๑๖) อธิบายว่า อสตา อสนฺติ เอเตสุ อญฺญตเรน อสตา อนาจารโคจรสมฺปนฺเนน สห อิตรสฺส อสํ อสาธุกมฺมํ สเมติ, คูถาทีนิ วิย คูถาทีหิ เอกโต สํสนฺทติ สทิสํ นิพฺพิเสสเมว โหตีติ. ความชั่วคือกรรมไม่ดี ของอีกฝ่ายหนึ่ง ย่อมสม คือ ย่อมคบหาร่วมกัน เป็นเหมือนกัน อย่างไม่แตกต่างกันนั่นเทียว กับผู้มีมรรยาททรามเป็นปกติ ผู้ไม่ใช่สัตบุรุษ อีกฝ่ายหนึ่ง เหมือนคูถเป็นต้นเข้ากันได้ดีกับคูถเป็นต้นด้วยกัน ฉะนั้น.
[๔] โมคคัลลานฯ สูตรที่ ๑๔๕. เป็น สโต สพ เภฯ สนฺตสทฺทสฺส สพ ภวติ ภกาเร, สพฺภิฯ
[๕] สนฺโต ในตัวอย่างนี้ มีความหมายว่า สํวิชฺชมาโน ซึ่งเป็นคจฺฉนฺตาทิคณะ. แต่ สนฺต ที่มีความหมายว่า เขท และ นิโรธ ที่ท่านจะกล่าวต่อไป เป็นปุริสาทิคณะ.
[๖] สนฺต ในตัวอย่างนี้ มีอรรถสมาน (กิริยาว่ามีอยู่) ดังอรรถกถาปราภวสูตร สุตตนิบาต อธิบายว่า ปหุ สนฺโตติ สมตฺโถ สมาโน สุขํ ชีวมาโนฯ บทว่า ปหุ สนฺโต (เป็นผู้สามารถ) ได้แก่ เป็นผู้สามารถ มีอยู่ คือ เป็นอยู่อย่างสบาย.
[๗] สนฺต ในตัวอย่างนี้ คัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา อธิบายว่า สนฺตสฺส ปน กิลนฺตสฺส ทีฆํ โหติ (แต่ระยะทางหนึ่งโยชน์ ยาวไกลสำหรับบุคคลที่เหนื่อยล้า) ดังนั้น สนฺต ศัพท์ในที่นี้จึงมีความหมายว่า เขท ลำบาก. ส่วนคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา ใช้ศัพท์ว่า ขินฺน ผู้เหน็ดเหนื่อย ซึ่งเป็น ๑ ในอรรถ ๗ อย่าง ของสนฺต ศัพท์ ดังนี้
อจฺจิเต วิชฺชมาเน จ            ปสตฺเถ สจฺจสาธุสุ
ขินฺเน จ สมิเต เจว             สนฺโตภิเธยฺยลิงฺคิโกติ.
สนฺต  ศัพท์ ที่เป็นอภิเธยยลิงค์ เป็นไปในอรรถ ๗ อย่าง คือ อจฺจิเต ในการบูชา วิชฺชมาเน ในสิ่งที่มีอยู่    ปสตฺเถ  ในสิ่งที่ได้รับการสรรเสริญ   สจฺจสาธุสุ  ในความจริงและคนดี    ขินฺเน  ในผู้เหน็ดเหนื่อย   สมิเต  ในผู้สงบ (ธาน. ๘๔๑)
[๘] สนฺต ในที่นี้มีอรรถ สมิต ผู้สงบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น