วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การกกัณฑ์ ๕ - ปัญจมีวิภัตติ


ปญฺจมีวิภตฺติราสิ
กลุ่มอรรถแห่งปัญจมีวิภัตติ
กสฺมิํ อตฺเถ ปญฺจมี?

ปัญจมีวิภัตติใช้ในความหมายใดบ้าง?
๓๑๒. ปญฺจมฺยาวธิสฺมิํ [1].
อวธิยติ ววตฺถิยติ ปทตฺโถ เอตสฺมาติ อวธิ, ตสฺมิํ ปญฺจมี โหติ, อวธีติ จ อปาทานํ วุจฺจติฯ

ปัญจมีวิภัตติใชัในความหมายว่า เขตแดน (อวธิ,อปาทาน) ด้วยสูตรนี้
๓๑๒. ปญฺจมฺยาวธิสฺมิํ
ปัญจมีวิภัตติใช้ในความหมายว่า อวธิ (กำหนดอรรถของบท). อวธิ ได้แก่ เขตแดนเป็นที่กำหนดอรรถของบท, ใช้ปัญจมีวิภัตติในอวธินั้น, อนึ่ง อปาทาน ท่านเรียกว่า อวธิ.


อปเนตฺวา อิโต อญฺญํ อาททาติ คณฺหาตีติ อปาทานํฯ ตํ ติวิธํ นิทฺทิฏฺฐวิสยํ, อุปฺปาฏวิสยํ, อนุเมยฺยวิสยนฺติฯ
อปาทาน ได้แก่ การกะที่ออกไปจากที่นี่แล้ว ย่อมจับจองซึ่งสถานที่อื่น. อปาทานมี ๓ ประการคือ นิททิฏฐวิสัย, อุปปาฏวิสัย และอนุเมยยวิสัย.

ตตฺถ
ยสฺมิํ อปาทานวิสยภูโต กฺริยาวิเสโส สรูปโต นิทฺทิฏฺโฐ โหติ, ตํ นิทฺทิฏฺฐวิสยํฯ ยถา? คามา อเปนฺติ มุนโย, นครา นิคฺคโต ราชาฯ

บรรดาอปาทาน ๓ เหล่านั้น
กิริยาพิเศษ อันเป็นที่ตั้งแห่ง (ชื่อว่า) อปาทาน ถูกแสดงไว้โดยประจักษ์ในการกะใด การกะนั้น ชื่อว่า นิททิฏฐวิสยอปาทาน เช่น
คามา อเปนฺติ มุนโย.
พระมุนีทั้งหลาย ออกจากบ้าน
นครา นิคฺคโต ราชา.  
พระราชาเสด็จออกจากพระนคร

ยสฺมิํ ปน โส ปาฐเสสํ กตฺวา อชฺฌาหริตพฺโพ โหติ, ตํ อุปฺปาฏวิสยํฯ ยถา? วลาหกา วิชฺโชตเต วิชฺชุ, อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิโตติฯ เอตฺถ หิ นิกฺขมิตฺวาติ ปทํ อชฺฌาหริตพฺพํฯ

แต่ถ้า การกะใด พึงนำบทอื่นมาทำเป็นปาฐเสสะ, การกะนั้น ชื่อว่า อุปปาฏวิสัย  เช่น
วลาหกา วิชฺโชตเต วิชฺชุ. 
สายฟ้า แลบ (ออก) จากเมฆ ย่อมส่องสว่าง.
 อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิโต (วิ.มหาวคฺค. ๔/๓๐)
กุลบุตร ออกจากเรือน บวชในลัทธิแห่งชนผู้ไม่มีเรือน.
ในตัวอย่างนี้ จะเห็นได้ว่า ต้องนำบทว่า นิกขมิตฺวา (ออก) มาทำให้เป็นปาฐเสสะ.

ยสฺมิํ ปน โส นิทฺทิฏฺโฐ จ น โหติ, อชฺฌาหริตุญฺจ น สกฺกา, อถ โข อตฺถโต อนุมานวเสน โส วิญฺเญยฺโย โหติ, ตํ อนุเมยฺยวิสยํฯ ยถา? มาถุรา ปาฏลิปุตฺตเกหิ อภิรูปตรา, สีลเมว สุตา เสยฺโย, มยา ภิยฺโย น วิชฺชติ, อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส, เชฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส, เสฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส อิจฺจาทิฯ

แต่ถ้าในการกะใด กิริยานั้นไม่ถูกแสดงไว้ และไม่สามารถจะนำบทอื่นมาเพิ่มได้ แม้ก็จริง, กระนั้น ก็ยังสามารถรู้กิริยานั้นได้ เนื่องด้วยการคะเนจากความหมาย, การกะนั้น ชื่อว่า อนุเมยยวิสัย เช่น
มาถุรา ปาฏลิปุตฺตเกหิ อภิรูปตรา
ชาวมาถุรา เป็นผู้งดงามกว่าชาวปาฏลีบุตร.  
สีลเมว สุตา เสยฺโย [ขุ.ชา.๒๗/๗๕๘]
ศีลนั่นเทียว เป็นคุณชาต ประเสริฐกว่าสุตะ.
มยา ภิยฺโย น วิชฺชติ
ไม่มีบุคคลผู้ยิ่งกว่าเรา.  
อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส, เชฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส, เสฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส  [ม.อุ.๑๔/๓๗๗]
เราเป็นผู้เลิศของโลก, เราเป็นผู้เจริญของโลก, เราเป็นผู้ประเสริฐสุดของโลก.

กฺริยํ วินา การกํ นาม น สิชฺฌตีติ กตฺวา อุกฺกํสนกฺริยา เอตฺถ อนุเมตพฺพา โหติฯ เอวํ กฺริยาปทรหิเตสุ ทูรโยคาทีสุปิ อวินาภาวิกฺริยานุมานํ เวทิตพฺพํฯ

ในตัวอย่างเหล่านี้ พึงคะเนกิริยาการยิ่งยวดได้ เพราะมีหลักการว่า เว้นกริยาเสียแล้ว การกะจะสำเร็จมิได้.  ควรทราบว่า แม้ในที่ประกอบกับทูรศัพท์(ไกล)เป็นต้น ถึงจะเว้นจากกริยาบท ก็สามารถคะเนกริยาที่ไม่มีการแยกจากกัน ด้วยหลักการนี้.

ปุน จลาจลวเสน ทุวิธํฯ
จลํ ยถา? ปุริโส ธาวตา อสฺสา ปตติ, ทฺเว เมณฺฑา ยุชฺฌิตฺวา อญฺญมญฺญโต อปสกฺกนฺติฯ เอตฺถ จ ยทิ จลํ สิยา, กถํ อวธิ นาม ภเวยฺยฯ อจฺจุติลกฺขโณ หิ อวธีติ? วุจฺจเต-ทฺเว เมณฺฑา สกสกกฺริยาย จลนฺติ, อิตรีตรกฺริยาย อวธี โหนฺตีติ นตฺถิ เอตฺถ อวธิลกฺขณวิโรโธติฯ

อปาทาน ยังแบ่งเป็นอีก ๒ ชนิด คือ จลอปทาน (อปาทานที่เคลื่อนไหว) และอจลอปาทาน.(อปาทานที่ไม่เคลื่อนไหว)
จลอปาทาน  มีตัวอย่างดังนี้.
ปุริโส ธาวตา อสฺสา ปตติ.
บุรุษ ตกจากม้าตัวกำลังวิ่งไป.
เทฺว เมณฺฑา ยุชฺฌิตฺวา อญฺญมญฺญโต อปสกฺกนฺติ.
 แพะสองตัวต่อสู้กันแล้ว จึงจากกันไป.
ในตัวอย่างว่าด้วยแพะสองตัวนี้ หากพึงเป็นจลอปาทานแล้ว, ก็จะมีชื่อว่า อวธิ ได้อย่างไร? เพราะอวธิ มีการไม่เคลื่อนไหวมิใช่หรือ? จะขอชี้แจงดังนี้. แพะสองตัว ย่อมเคลื่อนไหว ด้วยกริยาของตนๆ, และเป็นอวธิ ด้วยกริยาของแต่ละฝ่าย เพราะฉะนั้น ในตัวอย่างนี้จึงไม่มีอะไรขัดแยังกับหลักการของอวธิเลย.

อจลํ ยถา? คามา อเปนฺติ มุนโย, นครา นิคฺคโต ราชาฯ

อจลอปทาน มีตัวอย่างดังนี้.
คามา อเปนฺติ มนโย
พระมุนีทั้งหลาย หลีกออกจากบ้าน.
นครา นิคฺคโต ราชา
พระราชา เสด็จออกไปจากพระนคร.

ปุน กายสํสคฺคปุพฺพกํ, จิตฺตสํสคฺคปุพฺพกนฺติ ทุวิธํ โหติ, คามา อเปนฺติ มุนโย, โจรา ภยํ ชายเตฯ เอตฺถ จ ‘‘กิํว ทูโร อิโต คาโม, อิโต สา ทกฺขิณา ทิสา ฯ อิโต เอกนวุติกปฺเป’’ติ อาทีสุ วทนฺตสฺส จิตฺตสํสคฺคปุพฺพกมฺปิ เวทิตพฺพํฯ
ยังแบ่งเป็นสองอย่างอีก คือ กายสังสัคคปุพพกอปาทาน (อปาทานมีกิริยาการหลีกออกที่เกี่ยวกับข้องกับรูปธรรมปรากฏอยู่ หรือ อปาทานประเภทเข้าถึงด้วยกาย) และจิตตสังสัคคปุพพกอปาทาน (อปาทาน ที่มีกิริยาการหลีกออกที่เกี่ยวกับข้องกับนามธรรมปรากฏอยู่ หรืออปาทานประเภทเข้าถึงด้วยจิต). ตัวอย่าง
คามา อเปนฺติ มุนโย
พระมุนีทั้งหลาย หลีกออกจากบ้าน.  
โจรา ภยํ ชายเต.
ภัย ย่อมเกิด แต่โจร.
ในอปาทานสองชนิดนี้ การหลีกออกไปของบุคคลผู้กล่าวในประโยคพระบาฬีเป็นต้นว่า
กิํว ทูโร (กีวทูโร?) อิโต คาโม 
บ้านอยู่ไกลเท่าไรจากที่นี้[2].
อิโต สา ทกฺขิณา ทิสา [ที.ปา.๑๑/๒๑๑]
แต่นี้ไป ทิศที่ชนเรียกกันว่า ทักขิณทิศ.
อิโต เอกนวุติกปฺเป[3] [ที.ม.๑๐/๑] ในกัปที่ ๙๑ จากกัปนี้” พึงทราบว่า ก็จัดเป็นอปาทานชนิดจิตตสังสัคคปุพพกะเช่นกัน.

‘‘น มาตา ปุตฺตโต ภายติ, น จ ปุตฺโต มาติโต ภายติ, ภยา ภีโต น ภาสสี’’ติ ปาฬิฯ  อตฺถิ เต อิโต ภยํ . นตฺถิ เต อิโต ภยํ, ยโต เขมํ ตโต ภยํ โจรา ภายติ, โจรา ภีโตฯ

จิตตสังสัคคปุพพกะอปาทาน มีพระบาฬี ดังนี้เป็นตัวอย่าง. 
น มาตา ปุตฺตโต ภายติ,  น จ ปุตฺโต มาติโต ภายติ [ชา.อ.๗/๒๘๒ มหาจุฬา.]
มารดา ย่อมกลัวบุตรหามิได้, บุตรจะกลัวมารดาก็หามิได้[4].
ภยา ภีโต น ภาสสิ [ขุ.ชา. ๒๘/๒๒๐]
ท่านมาถึงบริษัทของเราแล้วกลัวภัย จึงไม่พูด.
อตฺถิ เต อิโต ภยํ
ภัยแต่เหตุนี้ จะมีแก่เธอ.  
นตฺถิ เต อิโต ภยํ [ม.ม.๑๓/๕๒๘]
ภัยแต่องคุลิมาลนี้ จะไม่มีแก่มหาบพิตร.  
ยโต เขมํ ตโต ภยํ [ชุ.ชา.๒๗/๑๒๖๔]
ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.
โจรา ภายติ
ย่อมกลัวแต่โจร. 
โจรา ภีโต
ผู้กลัวแล้ว แต่โจร.

ฉฏฺฐี จ, โจรสฺส ภายติ, โจรสฺส ภีโตฯ ทุติยา จ, ‘‘กถํ ปรโลกํ น ภาเยยฺย, เอวํ ปรโลกํ น ภาเยยฺย, ภายสิ มํ สมณ. นาหํ ตํ ภายามิ. ภายิตพฺพํ น ภายติ, นาหํ ภายามิ โภคินํ. น มํ มิคา อุตฺตสนฺตี’’ติ ปาฬิปทานิ ทิสฺสนฺติฯ ตตฺถ ‘‘โภคินนฺติ นาคํ, โจรา ตสติ อุตฺตสติ โจรสฺส วา, สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส. ปาปโต โอตฺตปฺปติ ชิคุจฺฉติ หรายติ ปาเปน วาฯ

นอกจากนี้ ยังพบบทพระบาฬีที่เป็นวิภัตติอื่น ดังนี้.
ฉัฏฐีวิภัตติ เช่น
โจรสฺส ภายติ
ย่อมกลัวแต่โจร.
โจรสฺส ภีโต
ผู้กลัวแล้วแต่โจร.
ทุติยาวิภัตติ เช่น
กถํ ปรโลกํ น ภาเยยฺย
อย่างไร จะชื่อว่า ไม่พึงกลัวซึ่งโลกหน้า. 
เอวํ ปรโลกํ น ภาเยยฺย
ด้วยเหตุนี้ ไม่พึงกลัวซึ่งปรโลก. 
ภายสิ มํ สมณ [ขุ.สุ.๒๕/๓๑๙ สูจิโลมสุตฺต]
ข้าแต่ท่านสมณะ ท่านอย่ากลัวข้าพเจ้า
นาหํ ตํ ภายามิ [ขุ.สุ.๒๕/๓๑๙สูจิโลมสุตฺต]
ข้าพเจ้ามิได้กลัวท่าน.
ภายิตพฺพํ น ภายติ [ขุ.ชา.๒๘/๒๒๒]
ไม่กลัวสิ่งที่จะพึงกลัว.
นาหํ ภายามิ โภคินํ [ขุ.ชา. ๒๘/๗๑๗]
เราทรงไว้ซึ่งผลอันวิเศษในมนต์นั้น จึงไม่กลัวต่อนาค.
น มํ มิคา อุตฺตสนฺติ [ขุ.ชา.๒๘/๔๘๖]
ฝูงมฤค ย่อมไม่สะดุ้งกลัวข้าพระองค์. 
ในตัวอย่างว่า นาหํ ภายามิ โภคินํ นั้น บทว่า โภคินํ ได้แก่ นาคํ แปลว่า ซึ่งงู.
โจรา ตสติ อุตฺตสติ โจรสฺส วา
โจรทั้งหลาย ย่อมกลัว ย่อมสะดุ้งกลัวแต่โจร.
 สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส [ขุ.ธ.๒๕/๑๒๙]
สัตว์ทั้งหลายย่อมสะดุ้งกลัวแต่อาชญา.
ปาปโต โอตฺตปฺปติ ชิคุจฺฉติ หรายติ ปาเปน วา
ย่อมสะดุ้งกลัว ย่อมรังเกียจ แต่บาป ย่อมละอาย แต่บาป).

ยโต กิญฺจิ สิปฺปํ วา วิชฺชํ วา ธมฺมํ วา คณฺหาติ, ตสฺมิํ อกฺขาตริ ปญฺจมี, อุปชฺฌายา อธีเต, อุปชฺฌายา สิปฺปํ คณฺหาติ, ทฺวาสีติ พุทฺธโต คณฺหิํ, ทฺเว สหสฺสานิ ภิกฺขุโตฯ จตุราสีติสหสฺสานิ, เยเม ธมฺมา ปวตฺติโน.

ย่อมเรียนศิลปะ ก็ดี วิชา ก็ดี ธรรม ก็ดี จากบุคคลใด ให้ลงปัญจมีวิภัตติ (นามท้ายศัพท์อันแสดง[5]) ที่เป็นไปในบุคคลผู้สอนนั้น เช่น 
อุปชฺฌายา อธีเต
ย่อมเรียน ซึ่งศิลปะจากพระอุปัชฌาย์.
อุปชฺฌายา สิปฺปํ คณฺหาติ
ย่อมถือเอา ซึ่งศิลปะจากพระอุปัชฌาย์.  
ทฺวาสีติ พุทฺธโต คณฺหิํ, ทฺเว สหสฺสานิ ภิกฺขุโตฯ จตุราสีติสหสฺสานิ, เยเม ธมฺมา ปวตฺติโน [ขุ.เถรคา. ๒๖/๓๙๗. อานนฺทเถรคาถา]ฯ
พระอานนทเถระ ได้เรียนธรรมจากพระพุทธเจ้ามา ๘๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ เรียนมาจากสำนักภิกษุ มีพระธรรมเสนาบดีเป็นต้น ๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ จึงรวมเป็นที่คล่องปากขึ้นใจ  ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์

ยโต สุณาติ, ตสฺมิํ ปญฺจมี, ฉฏฺฐี จ, อิโต สุตฺวา, อิมสฺส สุตฺวา วา, ยมฺหา ธมฺมํ วิชาเนยฺย, สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ ฯ

ย่อมฟังจากบุคคลใด, ลงปัญจมีวิภัตติ และ ฉัฏฐีวิภัตติ ท้ายนามศัพท์อันแสดงบุคคลนั้น เช่น
อิโต สุตฺวา, อิมสฺส สุตฺวา
ฟังแล้ว จากบุคคลนั้น.
ยมฺหา ธมฺมํ วิชาเนยฺย, สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ [ขุ.ธ.๒๕/๓๖]
พึงรู้แจ้ง ซึ่งธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด.

ยโต ลภติ, ตสฺมิํ ปญฺจมี, สงฺฆโต ลภติ, คณโต ลภติฯ

ย่อมได้ จากบุคคลใด, ลงปัญจมีวิภัตติท้ายนามศัพท์ที่เป็นไปในบุคคลนั้น เช่น
สงฺฆโต ลภติ
ได้จากสงฆ์.
คณโต ลภติ
ได้จากคณะ.

ยโต ปราชยติ, ยโต ปภวติ, ยโต ชายติ, ตสฺมิํ ปญฺจมี, พุทฺธสฺมา ปราชยนฺติ อญฺญติตฺถิยา, ปาฬิยํ ปน ปราชิโยเค อปาทานํ ปาฐเสสวเสน ลพฺภติ, ตสฺมิํ โข ปน สงฺคาเม เทวา ชินิํสุ, อสุรา ปราชินิํสุฯ เอตฺถ เทเวหิ ปราชินิํสูติ ปาฐเสโสฯ ‘‘มยํ ชิตามฺหา อมฺพกายฯ

ย่อมพ่ายแพ้ จากบุคคลใด, ย่อมถือกำเนิด จากสถานที่ใด, ย่อมเกิด จากสิ่งใด, ลงปัญจมีวิภัตติท้ายนามศัพท์ที่เป็นไปในบุคคลหรือสถานที่หรือสิ่งนั้น เช่น
ท้ายนามศัพท์ที่เป็นไปในผู้ทำให้พ่ายแพ้
พุทฺธสฺมา ปราชยนฺติ อญฺญติตฺถิยา
พวกอัญญเดียรถีย์ พ่ายแพ้ จากพระพุทธเจ้า.
แต่ในพระบาฬี พบการใช้อปาทานการกะ ท้ายศัพท์ที่ประกอบกับความพ่ายแพ้ เนื่องด้วยปาฐเสสะ เช่น
ตสฺมิํ โข ปน สงฺคาเม เทวา ชินิํสุ, อสุรา ปราชินิํสุ[6] [ที.ม.๑๐/๒๖๓]
ก็ในสงครามคราวนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรพ่ายแพ้ (จากเทวดาทั้งหลาย) ).
ในพระบาฬีนี้ มีบทว่า  “ปราชินิํสุ พ่ายแพ้ เทเวหิ (แต่เทวดาทั้งหลาย)” เป็นปาฐเสสะ.
มยํ ชิตามฺหา อมฺพกาย.
พวกเรา พ่ายแพ้ แต่แม่นางเสียแล้ว[7].

หิมวนฺตา ปภวนฺติ ปญฺจ มหานทิโย, อยํ ภาคีรถี คงฺคา, หิมวนฺตา ปภาวิตา’’ติ ปาฬิ, โจรา ภยํ ชายเต, กามโต ชายเต ภยํ . ชาตํ สรณโต ภยํ, ยํกิญฺจิ ภยํ วา เวรํ วา อุปทฺทโว วา อุปสคฺโค วา ชายติ, สพฺพํ ตํ พาลโต ชายติ, โน ปณฺฑิตโต, กามโต ชายตี โสโก , อุภโต สุชาโต ปุตฺโต, อุรสฺมา ชาโต, อุเร ชาโต วา, จีวรํ อุปฺปชฺเชยฺย สงฺฆโต วา คณโต วา ญาติมิตฺตโต วาฯ

ท้ายศัพท์ที่เป็นไปในสถานที่ก่อกำเนิด มีพระบาฬีตัวอย่าง ดังนี้
หิมวนฺตา ปภวนฺติ ปญฺจ มหานทิโย [อํ.อฏฺฐ.๓/๘/๑๙]
แม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ ย่อมเกิดแต่ภูเขาหิมวันต์.
อยํ ภาคีรถี คงฺคา, หิมวนฺตา ปภาวิตา [ขุ.อป.๓๒/๑๑]
แม่น้ำคงคาชื่อภาคีรถี เกิดแต่ประเทศหิมวันต์.
ท้ายศัพท์ที่เป็นไปในสิ่งที่ให้เกิด เช่น
โจรา ภยํ ชายเต 
(ภัยย่อมเกิดแต่โจร).  
กามโต ชายเต ภยํ [ขุ.ธ.๒๕/๔๓]
(ภัยย่อมเกิดแต่ของที่รัก).
ชาตํ สรณโต ภยํ [ขุ.ชา.๒๗/๓๖]
(ภัยเกิดจากที่พึ่งของพวกเราแล้ว).
ยํกิญฺจิ ภยํ วา เวรํ วา อุปทฺทโว วา อุปสคฺโค วา ชายติ, สพฺพํ ตํ พาลโต ชายติ, โน ปณฺฑิตโต [ม.อุ.๑๔/๒๓๕]
(ภัย ก็ตาม อุปัทวะ ก็ตาม อุปสรรค ก็ตาม ไม่ว่าชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต).  
กามโต ชายตี โสโก [ขุ.ธ.๒๕/๒๖]
(ความโศกย่อมเกิดแต่ของที่รัก).
อุภโต สุชาโต ปุตฺโต [วิ.มหาวิ.๒/๗๓๕]
(เป็นผู้เกิดดีแล้วแต่ ๒ ฝ่าย).
อุรสฺมา ชาโต, (เกิดแล้ว จากอก) ใช้เป็นสัตตมีวิภัตติได้บ้าง เช่น
อุเร ชาโต เกิดแล้วที่อก.  
จีวรํ อุปฺปชฺเชยฺย สงฺฆโต วา คณโต วา ญาติมิตฺตโต วา [วิ.มหาวิ.๒/๓๔]
(จีวร พึงเกิด แต่สงฆ์ก็ตาม แต่คณะก็ตาม แต่ญาติหรือมิตรก็ตาม).

อญฺญตฺถานํ โยเค ปญฺจมี, ตโต อญฺญํ, ตโต ปรํ , ตโต อปเรน สมเยนฯ

ลงปัญจมีวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่ประกอบกับอญฺญศัพท์ และศัพท์ที่มีอรรถแห่งอญฺญศัพท์  (อื่น) เช่น
ตโต อญฺญํ
(อื่นจากนั้น). 
ตโต ปรํ [วิ.มหาวิ.๒/๒๘]
(นอกจากนั้น). ตโต อปเรน สมเยน [วิ.มหาวิ.๑/๒๓๑] 
(ในสมัยอื่นจากนั้น).

อุปสคฺคานํ โยเค ปน
๓๑๓. อปปรีหิ วชฺชเน
วชฺชเน ปวตฺเตหิ อป, ปรีหิ โยเค ปญฺจมี โหติฯ
อนึ่ง ท้ายศัพท์ที่ประกอบกับอุปสัค ให้ลงปัญจมีวิภัตติด้วยสูตรนี้
๓๑๓. อปปรีหิ วชฺชเน[8]
ปัญจมีวิภัตติย่อมลงท้ายศัพท์ ที่ประกอบกับ อป ปริ อุปสัค ที่เป็นไปในการเว้น.
ลงปัญจมีวิภัตติท้ายศัพท์ ที่ประกอบกับอุปสัค คือ อป และ ปริ ที่เป็นไปในการเว้น.

อปปพฺพตา วสฺสติ เทโว, ปริปพฺพตา วสฺสติ เทโว, อปสาลาย อายนฺติ วาณิชา, ปริสาลาย อายนฺติ วาณิชา, ปพฺพตํ สาลํ วชฺเชตฺวาติ อตฺโถฯ กจฺจายเน ปน ‘‘อุปริปพฺพตา เทโว วสฺสตี’’ติ ปาโฐ [โปราณปาโฐ], ปริปพฺพตาติ ยุตฺโตฯ อุปริโยเค ปน สตฺตมีเยว ทิสฺสติ – ‘‘ตสฺมิํ อุปริปพฺพเต, อุปริปาสา, อุปริเวหาเส, อุปริเวหาสกุฏิยา’’ติ, ตตฺถ ปพฺพตสฺส อุปริ อุปริปพฺพตนฺติ อตฺโถฯ

ตัวอย่างเช่น
อปปพฺพตา วสฺสติ เทโว (ฝนตก เว้นจากภูเขา). ปริปพฺพตา วสฺสติ เทโว ฝนตก (เว้นจากภูเขา).  อปสาลาย อายนฺติ วาณิชา, ปริสาลาย อายนฺติ วาณิชา เหล่าพ่อค้า เว้นจากศาลา ย่อมมา  ความหมายคือ ปพฺพตํ วชฺเชตฺวา เว้นจากภูเขา และ สาลํ วชฺเชตฺวา เว้นจากศาลา. ส่วนในคัมภีร์กัจจายนะมีข้อความว่า อุปริ ปพฺพตา เทโว วสฺสติ ซึ่งที่ถูกควรเป็น ปริปพฺพตา แปลว่า ฝนตก เว้นภูเขา. ด้วยว่า ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับ อุปริ ปรากฏว่ามีการใช้สัตตมีวิภัตติเท่านั้น [9] เช่น ตสฺมิํ อุปริปพฺพเต [ม.๓.๒๑๖] (ในเบื้องบนแห่งภูเขา), อุปริปาสาเท [ม.อุ.๑๔/๓๙๔] (ในเบื้องบนแห่งปราสาท), อุปริเวหาเส ในเบื้องบนแห่งท้องฟ้า, อุปริเวหาสกุฏิยา [ที.สี.๙/๑๘๐] ในชั้นบนปราสาท. ในตัวอย่างว่า อุปริปพฺพเต ความหมาย คือ ปพฺพตสฺส อุปริ อุปริปพฺพตํ เบื้องบนแห่งภูเขา ชื่อว่า อุปริปพฺพตํ.

๓๑๔. ปฏินิธิปฏิทาเนสุ ปตินา[10]
ปฏินิธิ นาม ปฏิพิมฺพฏฺฐปนํ, ปฏิทานํ นาม ปฏิภณฺฑทานํ เตสุ ปวตฺเตน ปตินา โยเค ปญฺจมี          โหติ.
พุทฺธสฺมาปติ สาริปุตฺโต ธมฺมํ เทเสติ, เตลสฺมา ปติ ฆตํ เทติฯ

๓๑๔. ปฏินิธิปฏิทาเนสุ ปตินา.
ลงปัญจมีวิภัตติท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับปติ ที่เป็นไปในการแต่งตั้งตัวแทน และ ในการให้แทน.
ปฏินิธิ  คือ การแต่งตั้งตัวแทน, ปฏิทาน คือการให้สิ่งแทนกัน. ปัญจมีวิภัตติ ย่อมลง ท้ายปติอุปสรรค ที่เป็นไปในความหมายทั้งสองเหล่านั้น เช่น
พุทฺธสฺมา ปติ สาริปุตฺโต ธมฺมํ เทเสติ
พระสารีบุตรเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า แสดงธรรม. เตลสฺมา ปติ ฆตํ เทติ ให้เนยใสแทนน้ำมัน.

๓๑๕. ริเต ทุติยา จ[11]
ริเตสทฺเทน โยเค ปญฺจมี โหติ ทุติยา จฯ
ริเต สทฺธมฺมา, ริเต สทฺธมฺมํฯ

๓๑๕. ริเต ทุติยา จ.
ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับริต ศัพท์ ลงได้ทั้ง ปัญจมีวิภัตติ และทุติยาวิภัตติ.
ปัญจมีวิภัตติ และ ทุติยาวิภัตติ ย่อมลง ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับ ริเตศัพท์.
ตัวอย่างเช่น
ริเต สทฺธมฺมา เว้นจากพระสัทธรรม.
ริเต สทฺธมฺมํ เว้นซึ่งพระสัทธรรม.

๓๑๖. วินาญฺญตฺเรหิ ตติยา จ[12]
วชฺชเน ปวตฺเตหิ วินา, อญฺญตฺรสทฺเทหิ โยเค ปญฺจมี, ทุติยา, ตติยา จ โหนฺติฯ
วินา สทฺธมฺมา, วินา สทฺธมฺมํ, วินา สทฺธมฺเมน, อญฺญตฺร สทฺธมฺมา, อญฺญตฺร สทฺธมฺมํ, อญฺญตฺร สทฺธมฺเมนฯ

๓๑๖. วินาญฺญตฺเรหิ ตติยา จ.
ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับ วินา, อญฺญตร นิบาต ลงทั้งปัญจมีวิภัตติ, ทุติยาวิภัตติ และ ตติยาวิภัตติ.
ปัญจมีวิภัตติ ด้วย ทุติยาวิภัตติ ด้วย ตติยาวิภัตติ ด้วย ย่อมลง ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับ วินา และ อญฺญตร นิบาต ที่เป็นไปในการเว้น.
ตัวอย่างเช่น
วินา สทฺธมฺมา เว้นจากพระสัทธรรม.  
วินา สทฺธมฺมํ  เว้นซึ่งพระสัทธรรม.
วินา สทฺธมฺเมน เว้นด้วยพระสัทธรรม.  
อญฺญตฺร สทฺธมฺมา
เว้นจากพระสัทธรรม.  
อญฺญตฺร สทฺธมฺมํ,
เว้นซึ่งพระสัทธรรม.
อญฺญตฺร สทฺธมฺเมน 
เว้นด้วยพระสัทธรรม.

๓๑๗. ปุถุนานาหิ จ[13]
วชฺชเน ปวตฺเตหิ ปุถุ, นานาสทฺเทหิ จ โยเค ปญฺจมี, ตติยา จ โหนฺติฯ
ปุถเคว ชนสฺมา, ปุถเคว ชเนน, นานา สทฺธมฺมา, นานา สทฺธมฺเมน, ปิเยหิ มนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโวฯ

๓๑๗. ปุถุนานาหิ จ.
ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับ ปุถุนิบาต และ นานานิบาต ลงทั้งปัญจมีวิภัตติและตติยาวิภัตติ.
ปัญจมีวิภัตติ ด้วย ตติยาวิภัตติด้วย ย่อมลง ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับ ปุถุนิบาต และ นานานิบาต ที่เป็นไปในการเว้น.
ตัวอย่างเช่น
ปุถเคว ชนสฺมา, ปุถเคว ชเนน,
เว้นจากชน, เว้น ด้วยชน.
นานา สทฺธมฺมา, นานา สทฺธมฺเมน
เว้นจากพระสัทธรรม , เว้นด้วยพระสัทธรรม.
ปิเยหิ มนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว [ที.มหา.๑๐/๑๐๖]
จักมีความละเว้น ความละทิ้ง จากสิ่งอันเป็นที่รัก ที่ชอบใจ.

‘‘เต ภิกฺขู นานากุลา ปพฺพชิตา’’ติ เอตฺถ ปน นานาปฺปการตฺโถ นานาสทฺโท, น วชฺชนตฺโถ, เอตฺถ จ วชฺชนตฺโถ นาม วิโยคตฺโถ อสมฺมิสฺสตฺโถฯ

แต่ในพระบาฬีนี้ว่า
เต ภิกฺขู นานากุลา ปพฺพชิตา
ภิกษุเหล่านั้น ออกบวชแล้วจากตระกูลต่างๆ.
นานา-นิบาต มีความหมายว่า อย่างต่างๆ (นานัปปการ), มิได้มีความหมายว่า ละเว้น (วชฺชนตฺถ).  ด้วยว่า ความหมายละเว้นในที่นี้ คือ พลัดพราก (วิโยคตฺถ) กล่าวคือ ไม่เจือปนกัน (อสมฺมิสฺสตฺถ).

มริยาทาภิวิธีสุ ปวตฺเตหิ อาสทฺท, ยาวสทฺเทหิ โยเคปิ ปญฺจมี, ทุติยา จฯ

แม้ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับ อา อุปสรรค และ ยาว นิบาต ซึ่งเป็นไปในความหมายว่า เขตแดน (มริยาท) และ แผ่ไป (อภิวิธิ) ก็ลงทั้งปัญจมีวิภัตติและทุติยาวิภัตติ เช่นกัน.

ตตฺถ ยสฺส อวธิโน สมฺพนฺธินี กฺริยา, ตํ พหิกตฺวา ปวตฺตติ, โส มริยาโทฯ ยถา? อาปพฺพตา เขตฺตํ ติฏฺฐติ อาปพฺพตํ วา, ยาวปพฺพตา เขตฺตํ ติฏฺฐติ ยาวปพฺพตํ วาฯ

บรรดาสองศัพท์เหล่านั้น กริยาที่มีความสัมพันธ์กับอวธิ (อปทานการกะ) ใด, คือ ย่อมเป็นไปกระทำซึ่งวัตถุนั้นให้อยู่ภายนอก อวธินั้น ชื่อว่า มริยาท เช่น
อา ปพฺพตา เขตฺตํ ติฏฺฐติ.
นา ตั้งอยู่ จรดภูเขา. ลงทุติยาวิภัตติเป็น อา ปพฺพตํ ก็มีบ้าง.
ยาว ปพฺพตา เขตฺตํ ติฏฺฐติ,  ยาว ปพฺพตํ วา.
นา ตั้งอยู่ ไปถึงภูเขา. ลงทุติยาวิภัตติเป็น ยาว ปพฺพตํ ก็มีบ้าง.

ยสฺส สมฺพนฺธินี กฺริยา, ตํ อนฺโตกตฺวา พฺยาเปตฺวา ปวตฺตติ, โส อภิวิธิฯ ยถา? อาภวคฺคา ภควโต กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคโต อาภวคฺคํ วา, ภวโต อาภวคฺคํ ธมฺมโต อาโคตฺรภุํ สวนฺตีติ อาสวา, ยาวภวคฺคา ยาวภวคฺคํ วา, ตาวเทว ยาวพฺรหฺมโลกา สทฺโท อพฺภุคฺคโตฯ


ส่วนกิริยา มีความสัมพันธ์กับอวธิใด, คือ ย่อมแผ่กระทำซึ่งอวธินั้นให้อยู่ข้างใน, อวธินั้น ชื่อว่า อภิวิธิ เช่น
อา ภวคฺคา ภควโต กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคโต.  
กิตติศัพท์ของพระผู้มีพระภาค โด่งดังเข้าไปในภวัคคภูมิ (พรหมโลกชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ), ลงทุติยาวิภัตติเป็น อา ภวคฺคํ ก็มีบ้าง.
ภวโต อาภวคฺคํ ธมฺมโต อา โคตฺรภุํ สวนฺตีติ อาสวา.
อาสวะ คือ กิเลสที่ไหลเข้าไปถึง ภวัคคภูมิ โดยภพ ถึงโคตรภูจิต โดยธรรม.(คือ ไหลแผ่ไปใน ... )
ใช้ ยาว นิบาต เป็น ยาว ภวคฺคา ก็มี,  ลงทุติยาวิภัตติ เป็นยาว ภวคฺคํ ก็มี.
ตาวเทว ยาวพฺรหฺมโลกา สทฺโท อพฺภุคฺคโต. เสียง ดังเข้าไปถึงพรหมโลก ในขณะนั้นทีเดียว.

อารพฺเภ, สหตฺเถ จ ปญฺจมี,
ยโตหํ ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโต, ยโต ปฏฺฐายาติ อตฺโถฯ ยโต สรามิ อตฺตานํ, ยโต ปตฺโตสฺมิ วิญฺญุตํฯ ยโต ปฏฺฐาย, ยโต ปภุติฯ

ลงปัญจมีวิภัติ ในอรรถอารัพภะ (เริ่ม, จำเดิม ในสัททนีติ ใช้เป็น ปภุติ) และ อรรถแห่งสหศัพท์ ตัวอย่างเช่น.
ยโตหํ ภคินี อริยาย ชาติยา ชาโต [ม.ม.๑๓/๕๓๑] ดูก่อนน้องหญิง นับแต่เราเกิดโดยอริยชาติ. ความหมายคือ ยโต ปฏฺฐาย (จำเดิม แต่กาลใด).  ยโต สรามิ อตฺตานํ นับแต่เราจำความได้ , ยโต ปตฺโตสฺมิ วิญฺญุตํ [ชา.๒๘-๔๘๖] นับแต่เราถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา. ยโต ปฏฺฐาย (จำเดิมแต่กาลใด).  ยโต ปภุติ (จำเดิมแต่กาลใด).

สหตฺเถ
สห สพฺพญฺญุตญฺญาณปฺปฏิลาภา, สห ปรินิพฺพานา, สห ทสฺสนุปฺปาทาฯ

ลงปัญจมีวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่มีอรรถสหนิบาต
สห สพฺพญฺญุตญฺญาณปฺปฏิลาภา
พแต่การบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ,
สห ปรินิพฺพานา [ที.ม.๑๐/๑๔๕]
ขณะเดียวแต่การปรินิพพาน,
สห ทสฺสนุปฺปาทา
ขณะเดียวแต่การเกิดขึ้นแห่งโสตาปัตติผล.

‘‘อุปฺปาทา วา ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตาน’’นฺติ, เอตฺถ ภาวลกฺขเณ ปญฺจมีฯ
ตัวอย่างนี้ ลงปัญจมีวิภัตติท้ายศัพท์ที่เป็นภาวลักขณะ (คือ กำหนดกิริยานั้น ด้วยกิริยาอื่น)
อุปฺปาทา วา ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ [สํ.นิทาน.๑๖/๖๑]
เมื่อมีการเกิดขึ้นแห่งพระตถาคต ก็ตาม เมื่อไม่มีการเกิดแห่งพระตถาคต ก็ตาม.

‘‘สหตฺถา ทานํ เทติ, สหตฺถา ปฏิคฺคณฺหาตี’’ติ เอตฺถ กรเณฯ

ในตัวอย่างนี้ ลงปัญจมีวิภัตติท้ายศัพท์ที่เป็นกรณะ
สหตฺถา ทานํ เทติ ย่อมให้ทานด้วยมือ
สหตฺถา ปฏิคฺคณฺหาติ ย่อมรับด้วยมือ

‘‘อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ, ตทคฺเค โข วาเสฏฺฐ’’อิจฺจาทีสุ อารพฺเภ สตฺตมีฯ
ท้ายศัพท์ที่เป็นการเริ่ม ลงสัตตมีวิภัตติ
อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ [ที.สี. ๙/๑.๙],
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตเริ่มแต่วันนี้เป็นต้นไป.
ตทคฺเค โข วาเสฏฺฐ [ที.ปา ๓/๖๒],
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็เพราะมีเหตุเช่นนั้นเป็นต้นมา

‘‘ยตฺวาธิกรณํ, ยโตนิทานํ, ตโตนิทานํ’’ อิจฺจาทีสุ วากฺเย อิจฺฉิเต สติ เหตฺวตฺเถ ปญฺจมี, สมาเส อิจฺฉิเต สติ อตฺถมตฺเต ปญฺจมีฯ
ในตัวอย่างเป็นต้นเหล่านี้ ลงปัญจมีวิภัตติ ในอรรถแห่งเหตุ เมื่อต้องการวิเคราะห์,  ลงในเพียงความหมายเดิม เมื่อต้องการให้เป็นบทสมาส เช่น
‘‘ยตฺวาธิกรณํ [ที.สี. ๙/๑๒๒]
เพราะเหตุแห่งการไม่สำรวมซึ่งจักขุนทรีย์ใด[14]
ยโตนิทานํ [ขุ.สุ.๒๕/๓๒๒], [15]
ราคะโทสะ มีอะไรเป็นเหตุเกิด (เพราะเหตุใด)
ตโตนิทานํ
มีสิ่งนัันเป็นเหตุ (เพราะเหตุนั้น).

ทฺวินฺนํ การกานํ กฺริยานญฺจ มชฺเฌ ปวตฺตกาลทฺธานวาจีหิ ปญฺจมี, ลุทฺทโก ปกฺขสฺมา มิคํ วิชฺฌติ, โกสา กุญฺชรํ วิชฺฌติฯ

ลงปัญจมีวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่แสดงอรรถกาลและระยะทาง ที่เป็นไปในท่ามกลางแห่งการกะทั้งสอง (คือ กรรมการกะและอปาทานการกะ) และกริยา ทั้งสอง (คือ กริยาหน้าและกริยาหลัง) เช่น
ลุทฺทโก ปกฺขสฺมา มิคํ วิชฺฌติ.
แต่ปักษ์นี้ไป นายพราน จะยิงเนื้อ.
โกสา กุญฺชรํ วิชฺฌติ
นายพราน ย่อมยิงช้าง จากที่นี้ไปอีก ๑ โกสะ.

เอตฺถ จ ลุทฺทโก สกิํ มิคํ วิชฺฌิตฺวา ปกฺขพฺภนฺตรมฺหิ น วิชฺฌิ, ปกฺเข ปริปุณฺเณ ปุน วิชฺฌติ, ปกฺขสทฺโท ทฺวินฺนํ วิชฺฌนวารานํ มชฺเฌ กาลวาจี โหติ, ทฺเวปิ วิชฺฌนกฺริยา การเกหิ สเหว สิชฺฌนฺตีติ การกานญฺจ มชฺเฌติ วุจฺจติฯ วุตฺติยํ ปน ‘‘อชฺช ภุตฺวา เทวทตฺโต ทฺวิเห ภุญฺชิสฺสติ, ทฺวิหา ภุญฺชิสฺสติ, อตฺรฏฺโฐยมิสฺสาโส โกเส ลกฺขํ วิชฺฌติ, โกสา ลกฺขํ วิชฺฌตี’’ติ [โมค. ๗๙] เอวํ สตฺตมีวเสน ปริปุณฺณวากฺยมฺปิ วุตฺตํฯ ปาฬิยํ ‘‘อนาปตฺติ ฉพฺพสฺสา กโรติ [ปารา. ๕๖๔], อติเรกฉพฺพสฺสา กโรตี’’ติ [ปารา. ๕๖๔], ‘‘ฉพฺพสฺสานี’’ติปิ ปาโฐฯ

ในตัวอย่างนี้ นายพราน ครั้นยิงเนื้อแล้วหนึ่งครั้ง จะไม่ยิงซ้ำภายในปักษ์ (ใน ๑๕ วัน) แต่เมื่อครบปักษ์แล้ว จะยิงอีก.  ปกฺข ศัพท์ เป็นศัพท์กล่าวถึงเวลา ซึ่งมีในระหว่างแห่งวาระการยิงทั้งสองครั้ง, กริยาการยิงแม้ทั้งสองครั้ง จะสำเร็จพร้อมทั้งการกะทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ในท่ามกลางแห่งการกะทั้งสอง. ส่วนในวุตติ (โมคคัลลานวุตติ ๗๙) แสดงแม้วากยะที่สมบูรณ์ เนื่องด้วยสัตตมีวิภัตติ อย่างนี้ คือ อชฺช ภุตฺวา เทวทตฺโต ทฺวิเห ภุญฺชิสฺสติ, ทฺวิหา ภุญฺชิสฺส, อตฺรฏฺโฐยมิสฺสาโส โกเส ลกฺขํ วิชฺฌติ, โกสา ลกฺขํ วิชฺฌติ. (นายเทวทัต ครั้นทานอาหารในวันนี้แล้ว จักทานภายในสองวัน, คือ ถัดไปอีกสองวัน จึงจักกิน,  นายขมังธนู ยืนตรงนั้น จะยิงเป้า ในที่ ๑ โกสะ, คือ จะยิงเป้า จากที่ ๑ โกสะ). ในพระบาฬี ก็มีข้อความสนับสนุนดังนี้ อนาปตฺติ ฉพฺพสฺสา กโรติ, อติเรกฉพฺพสฺสา กโรติ [วิ.มหาวิ. ๒/๙๐]  ครบ ๖ ฝนแล้วภิกษุทำใหม่ ๑, เกิน ๖ ฝนแล้ว ภิกษุทำใหม่ ๑. ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติแล.
แม้ในบางแห่งก็มีปาฐะ(คือ ปาฐะปัจจุบัน) (เป็นทุติยาวิภัตติ) ดังนี้ว่า ฉพฺพสฺสานิ.

รกฺขนตฺถานํ โยเค
ยญฺจ วตฺถุํ คุตฺตํ อิจฺฉิยเต, ยโต จ คุตฺตํ อิจฺฉิยเต, ตตฺถ ปญฺจมี, ยเวหิ คาโว รกฺขติ วาเรติ, ตณฺฑุลา กาเก รกฺขติ วาเรติ, ตํ มํ ปุญฺญา นิวาเรสิ, ปาปา จิตฺตํ นิวารเย , น นํ ชาติ นิวาเรติ, ทุคฺคตฺยา ครหาย วาฯ ราชโต วา โจรโต วา อารกฺขํ คณฺหนฺตุฯ

ลงปัญจมีวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่มีความหมายว่า รักษา
ย่อมปรารถนา วัตถุใด อันเขารักษาไว้, ย่อมปรารถนาวัตถุอันเขารักษาไว้ จากบุคคลใด. ลงปัญจมีวิภัตติ  ท้ายศัพท์ที่กล่าวถึงวัตถุและบุคคลอันเขารักษาไว้นั้น.
ยเวหิ คาโว รกฺขติ วาเรติ,
ระวังฝูงโคจากข้าวบาร์เลย์
ตณฺฑุลา กาเก รกฺขติ วาเรติ.
ระวังฝูงกาจากข้าวสาร.
ตํ มํ ปุญฺญา นิวาเรสิ.
ย่อมห้ามซึ่งเราจากบุญ.
ปาปา จิตฺตํ นิวารเย [ขุ.ธ.๒๕/๑๙]
พึงระวังจิตจากบาป
น นํ ชาติ นิวาเรติ, ทุคฺคตฺยา ครหาย วา [ขุ.สุ.๒๕/๓๐๖ (น เน)].
ชาติ ย่อมปกป้องซึ่งบุคคลนั้น จากทุคติ หรือ คำครหา ก็หามิได้.
ราชโต วา โจรโต วา อารกฺขํ คณฺหนฺตุฯ
จงถือเอาซึ่งการปกปักรักษาจากพระราชา หรือ โจร.

อนฺตรธานตฺถโยเค
ยสฺส อทสฺสนํ อิจฺฉิยติ, ตสฺมิํ ปญฺจมี, อุปชฺฌายา อนฺตรธายติ สิสฺโส, นิลียตีติ อตฺโถฯ ปาฬิยํ ปน ยสฺส อทสฺสนํ อิจฺฉิยติ, ตสฺมิํ ฉฏฺฐี เอว- ‘‘อนฺตรธายิสฺสามิ สมณสฺส โคตมสฺส, อนฺตรธายิสฺสามิ สมณสฺส โคตมสฺสา’’ติฯ ‘‘น สกฺขิ เม อนฺตรธายิตุ’’นฺติ ปาฬิ, ‘อนฺตรธายิสฺสามีติ อนฺตริเต อจกฺขุวิสเย ฐาเน อตฺตานํ ฐเปสฺสามีตฺยตฺโถ, นิลียิสฺสามีติ วุตฺตํ โหติฯ

ลงปัญจมีวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับธาตุที่มีความหมายว่าหายไป
ย่อมปรารถนาการไม่เห็น ซึ่งบุคคลใด, ลงปัญจมีท้ายศัพท์ที่แสดงบุคคลนั้น.
อุปชฺฌายา อนฺตรธายติ สิสฺโส,
ศิษย์ หายไปจากพระอุปัชฌาย์. ความหมายคือ หลบซ่อน.
แต่ในพระบาฬี ท้ายศัพท์ที่แสดงถึงบุคคลซึ่งปรารถนาจะไม่ให้เห็น พบที่ลงฉัฏฐีวิภัตติเท่านั้น เช่น
อนฺตรธายิสฺสามิ สมณสฺส โคตมสฺส, อนฺตรธายิสฺสามิ สมณสฺส โคตมสฺส.  [ม.มู.๑๒/๕๐๔]
เราจักหายไปจากพระสมณโคดม, เราจักหายไปจากพระสมณโคดม,
น สกฺขิ เม อนฺตรธายิตุํ. [ม.มู.๑๒/๕๐๔]
ไม่อาจหายไปจากเราได้.  
พระบาฬีนี้มีความหมายว่า “เราจักดำรงตนอยู่ ในช่องว่าง ซึ่งไม่ใช่วิสัยของจักษุ (คือ ในสถานที่ซึ่งไม่สามารถจะมองเห็นได้ด้วยตาปกติ) ด้วยหวังว่า จะหายไป กล่าวคือ จะหลบซ่อนกำบังตัวไว้ นั่นเอง.

ยสฺมิํ ฐาเน อนฺตรธายติ, ตสฺมิํ สตฺตมี เอว ทิสฺสติ, อติขิปฺปํ โลเก จกฺขุ อนฺตรธายิสฺสติ, เชตวเน อนฺตรธายิตฺวา, พฺรหฺมโลเก อนฺตรธายิตฺวา, มทฺทกุจฺฉิสฺมิํ อนฺตรธายิตฺวา, ตตฺเถวนฺตรธายี อิจฺจาทิฯ ‘‘ภควโต ปุรโต อนฺตรธายิตฺวา’’ติ เอตฺถปิ โตสทฺโท สตฺตมฺยตฺเถ เอวฯ ‘‘สกฺโก นิมิสฺส รญฺโญ สมฺมุเข อนฺตรหิโต’’ติ ปาฬิฯ เชตวเน อนฺตรธายิตฺวาติ เชตวเน อญฺเญสํ อทสฺสนํ กตฺวา, อญฺเญสํ อจกฺขุวิสยํ กตฺวาติ อตฺโถฯ ‘‘อนฺธกาโร อนฺตรธายติ, อาโลโก อนฺตรธายติ, สทฺธมฺโม อนฺตรธายติ, สาสนํ อนฺตรธายติ’’ อิจฺจาทีสุ ปน ฉฏฺฐี, สตฺตมิโย ยถาสมฺภวํ เวทิตพฺพาฯ

ย่อมหายไปในที่ใด, สัตตมีวิภัตติเท่านั้นที่พบว่าลงท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่สื่อถึงที่นั้น มีพระบาฬี (เป็นหลักฐาน) ดังนี้
อติขิปฺปํ โลเก จกฺขุ อนฺตรธายิสฺสติ [ที.มหา.๑๐/ ๒๒๔[16],
จักษุ (พระผู้มีจักษุ) จักหายไปในโลก ทันที.
เชตวเน อนฺตรธายิตฺวา,
อันตรธานไปแล้วในเชตวัน.
พฺรหฺมโลเก อนฺตรธายิตฺวา
หายไปในพรหมโลกแล้ว
มทฺทกุจฺฉิสฺมิํ อนฺตรธายิตฺวา.
หลบหายเข้าในท้องเพื่อขยำไส้.
ตตฺเถวนฺตรธายี [สํ.ส.๑๕/๓]
หายไปในที่นั้นนั่นเทียว.
ภควโต ปุรโต อนฺตรธายิตฺวา
หายไปในเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค.
แม้ในพระบาฬีนี้ โตปัจจัย เป็นไปในความหมายแห่งสัตตมีวิภัตติเท่านั้น.
สกฺโก นิมิสฺส รญฺโญ สมฺมุเข อนฺตรหิโต
ท้ายสักกะ หายไปในที่เบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าเนมิราช.
เชตวเน อนฺตรธายิตฺวา
หายไปในพระเชตวันแล้ว
หมายความว่า กระทำซึ่งการไม่เห็นแห่งบุคคลอื่น, คือ ไม่ให้เป็นวิสัยแห่งจักษุของผู้อื่น.
อนึ่ง ในพระบาฬีนี้ เช่น
อนฺธกาโร อนฺตรธายติ
ความมืด ย่อมหายไป
อาโลโก อนฺตรธายติ
แสงสว่าง ย่อมหายไป
สทฺธมฺโม อนฺตรธายติ
พระสัทธรรม ย่อมอันตรธานไป
สาสนํ อนฺตรธายติ
พระศาสนา ย่อมหายไป.
ควรทราบว่า มีใช้ทั้งฉัฏฐีวิภัตติและสัตตมีวิภัตติ ตามความเหมาะสม.

ทูรตฺถโยเค
กิํว ทูโร อิโต คาโม, กจฺจิ อารา ปมาทมฺหา, อโถ อารา ปมาทมฺหา, คามโต อวิทูเร, อารกา เต โมฆปุริสา อิมสฺมา ธมฺมวินยา, อารกา เตหิ ภควา, กิเลเสหิ อารกาติ อรหํ, อารา โส อาสวกฺขยา ฯ

ลงปัญจมีวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่มีความหมายแห่ง ทูรศัพท์ เช่น
กิํว ทูโร อิโต คาโม
บ้านไกลเท่าไรจากที่นี้
กจฺจิ อารา ปมาทมฺหา [ขุ.สุ.๒๕/๓๐๙],
พระผู้มีพระภาค ทรงห่างไกล จากความประมาทแลหรือ
อโถ อารา ปมาทมฺหา [ขุ.สุ.๒๕/๓๐๙],
พระผู้มีพระภาค ทรงห่างไกล จากความประมาทแน่แท้
คามโต อวิทูเร
ในที่ไม่ไกลจากหมูบ้าน,
อารกา เต โมฆปุริสา อิมสฺมา ธมฺมวินยา,
โมฆบุรุษเหล่านั้นห่างไกลจากพระธรรมวินัยนี้
อารกา เตหิ ภควา,
พระผู้มีพระภาค ทรงห่างไกลจากพวกเขา.
กิเลเสหิ อารกาติ อรหํ.
พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า อรหํ (อรหันต์)  เพราะห่างไกลจากกิเลสทั้งหลาย.
อารา โส อาสวกฺขยา [ขุ.ธ.๒๕/๒๘]
บุคคลนั้นเป็นผู้ไกลจากความสิ้นอาสวะ.

ทุติยา จ ตติยา จ ฉฏฺฐี จ, อารกา อิมํ ธมฺมวินยํ อิมินา ธมฺมวินเยน วา, อารกา มนฺทพุทฺธีนํฯ

อนึ่ง ลงได้ทั้งทุติยาวิภัตติ, ตติยาวิภัตติ และ ฉัฏฐีวิภัตติ เช่น
อารกา อิมํ ธมฺมวินยํ,  อิมินา ธมฺมวินเยน วา.
ไกลจากธรรมวินัยนี้
อารกา มนฺทพุทฺธีนํ [วิสุทฺธิ ฏี. ๑/๑๓๐].
ห่างไกลจากชนผู้มีปัญญาน้อย.

ทูรตฺเถ
ทูรโตว นมสฺสนฺติ, อทฺทสา โข ภควนฺตํ ทูรโตว อาคจฺฉนฺตํ, กินฺนุ ติฏฺฐถ อารกา, ตสฺมา ติฏฺฐาม อารกา.

ลงปัญจมีวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่มีความหมายว่า ไกล เช่น
ทูรโตว นมสฺสนฺติ
นอบน้อมจากที่ไกลทีเดียว.
อทฺทสา โข ภควนฺตํ ทูรโตว อาคจฺฉนฺตํ [ที.มหา.๑๐/๑]
ได้เห็นพระผู้มีพระภาค กำลังเสด็จมาจากที่ไกลนั่นเทียว.
กินฺนุ ติฏฺฐถ อารกา
ทำไม ท่านจึงยืนอยู่ไกล.
ตสฺมา ติฏฺฐาม อารกา
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า จึงยืนอยู่แต่ไกล.
ทุติยา จ ตติยา จ, ทูรํ คามํ อาคโต, ทูเรน คาเมน อาคโต, ทูรา คามา อาคโต อิจฺเจวตฺโถ, ทูรํ คาเมน วาฯ

ลงทั้งทุติยาวิภัตติ และ ตติยาวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่มีความหมายว่า ไกล เช่น
ทูรํ คามํ อาคโต
มาไกลจากหมู่บ้าน
ทูเรน คาเมน อาคโต
มาแล้วแต่ที่ไกล จากหมู่บ้าน.
ความหมายคือ ทูรา คามา อาคโต มาแล้วแต่ที่ไกล จากหมู่บ้าน. ใช้รูปเป็น “ทูรํ คาเมน” บ้าง.

อนฺติกตฺถโยเค
อนฺติกํ คามา, อาสนฺนํ คามา, สมีปํ คามาฯ ทุติยา จ ตติยา จ ฉฏฺฐี จ, อนฺติกํ คามํ, อนฺติกํ คาเมน, อนฺติกํ คามสฺสฯ

ลงปัญจมีวิภัตติท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่มีความหมายว่า ใกล้ เช่น
อนฺติกํ คามา
ใกล้หมู่บ้าน
อาสนฺนํ คามา
ใกล้หมู่บ้าน
สมีปํ คามา
ใกล้หมู่บ้าน
แม้ทุติยาวิภัตติ ตติยาวิภัติ และฉัฏฐีวิภัตติ ก็ลงได้ เช่น
อนฺติกํ คามํ, อนฺติกํ คาเมน, อนฺติกํ คามสฺส (แปลว่า ใกล้หมู่บ้าน ทุกตัวอย่าง)

กาลทฺธานํ ปริมาณวจเน
อิโต มถุราย จตูสุ โยชเนสุ สงฺกสฺสํ, ราชคหโต ปญฺจจตฺตาลีสโยชเน สาวตฺถิ, อิโต เอกนวุติกปฺเป, อิโต เอกติํเส กปฺเป, อิโต สตฺตเม ทิวเส, อิโต ติณฺณํ มาสานํ อจฺจเยน ปรินิพฺพายิสฺสามิ อิจฺจาทิฯ

ลงปัญจมีวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่กล่าวถึงปริมาณแห่งกาลและระยะทาง เช่น
อิโต มถุราย จตูสุ โยชเนสุ สงฺกสฺสํ
เมืองสังกัสสะ อยู่ห่างจากเมืองมธุรานี้ ประมาณ ๔ โยชน์.
ราชคหโต ปญฺจจตฺตาลีสโยชเน สาวตฺถิ,
เมืองสาวัตถี อยู่ห่างจากเมืองราชคฤห์ ประมาณ ๔๕ โยชน์.
อิโต เอกนวุติกปฺเป [ที.ม.๑๐/๑],
ในกัปป์ที่ ๙๑ จากกัปป์นี้
อิโต เอกติํเส กปฺเป [ที.ม.๑๐/๑],
ในกัปป์ที่ ๓๑ จากกัปป์นี้
อิโต สตฺตเม ทิวเส
ในวันที่ ๗ จากวันนี้
อิโต ติณฺณํ มาสานํ อจฺจเยน ปรินิพฺพายิสฺสามิ [ที.ม.๑๐/๙๕]
โดยล่วงไป ๓ เดือน แต่นี้ เราตถาคต จักปรินิพพาน.

ปมาณตฺเถ
อายามโต จ วิตฺถารโต จ โยชนํ, ปริกฺเขปโต นวโยชนสตปริมาโณ มชฺฌิมเทโส ปริกฺเขเปน วา, ทีฆโส นววิทตฺถิโย, โยชนํ อายาเมน โยชนํ วิตฺถาเรน โยชนํ อุพฺเพเธน สาสปราสิ [สํ. นิ. ๒.๑๒๙] อิจฺจาทิฯ

ลงปัญจมีวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่มีความหมายว่าประมาณ (จำนวน) เช่น
อายามโต จ วิตฺถารโต จ โยชนํ
ประมาณหนึ่งโยชน์ จากความยาวและความกว้าง.
ปริกฺเขปโต นวโยชนสตปริมาโณ มชฺฌิมเทโส.
มัชฌิมประเทศ โดยรอบ มีพื้นที่ประมาณ ๙๐๐ โยชน์.  ใช้เป็นรูปว่า “ปริกฺเขเปน” บ้าง
ทีฆโส นววิทตฺถิโย วิ.มหาวิ.๒/๗๗]
ประมาณ ๙ คืบพระสุคต โดยส่วนยาว.
(ลงตติยาวิภัตติบ้าง เช่น)
โยชนํ อายาเมน
โยชน์หนึ่ง โดยส่วนยาว
โยชนํ วิตฺถาเรน
โยชน์หนึ่ง โดยส่วนกว้าง
โยชนํ อุพฺเพเธน สาสปราสิ [[17]]
กองเมล็ดพันธ์ผักกาด โยชน์หนึ่งโดยส่วนสูง (สูงประมาณ ๑ โยชน์)

ตฺวาโลเปปิ ปญฺจมีฯ เอตฺถ จ ตฺวาโลโป นาม ปริปุณฺณวากฺเย ลทฺธพฺพสฺส ตฺวานฺตปทสฺส อปริปุณฺณวากฺเย นตฺถิ ภาโว, ยญฺจ ปทํ ตฺวานฺตปเท สติ กมฺมํ วา โหติ อธิกรณํ วาฯ ตํ ตฺวานฺตปเท อสติ ปทนฺตเร อวธิ โหติ, ตสฺมิํ ปญฺจมี, ปาสาทา วา ปาสาทํ สงฺกเมยฺย, หตฺถิกฺขนฺธา วา หตฺถิกฺขนฺธํ สงฺกเมยฺย อิจฺจาทิฯ เอตฺถ จ ปฐมํ เอกํ ปาสาทํ อภิรูหิตฺวา ปุน อญฺญํ ปาสาทํ สงฺกเมยฺยาติ วา ปฐมํ เอกสฺมิํ ปาสาเท นิสีทิตฺวา ปุน อญฺญํ ปาสาทํ สงฺกเมยฺยาติ วา เอวํ ปริปุณฺณวากฺยํ เวทิตพฺพํฯ ‘‘อนฺธการา วา อนฺธการํ คจฺเฉยฺย, ตมา วา ตมํ คจฺเฉยฺยา’’ติ ปาฬิฯ ตถา รฏฺฐา รฏฺฐํ วิจรติ, คามา คามํ วิจรติ, วนา วนํ วิจรติ, วิหารโต วิหารํ คจฺฉติ, ปริเวณโต ปริเวณํ คจฺฉติ, ภวโต ภวํ คจฺฉติ, กุลโต กุลํ คจฺฉติ อิจฺจาทิฯ ตถา วินยา วินยํ ปุจฺฉติ, อภิธมฺมา อภิธมฺมํ ปุจฺฉติ, วินยา วินยํ กเถติ, อภิธมฺมา อภิธมฺมํ กเถติฯ เอตฺถปิ ปฐมํ เอกํ วินยวจนํ ปุจฺฉิตฺวา วา เอกสฺมิํ วินยวจเน ฐตฺวา วา ปุน อญฺญํ วินยวจนํ ปุจฺฉตีติ ปริปุณฺณวากฺยํ เวทิตพฺพํฯ วุตฺติยํ ปน ‘‘ปาสาทํ อารุยฺห เปกฺขติ, ปาสาทา เปกฺขติ, อาสเน ปวิสิตฺวา เปกฺขติ, อาสนา เปกฺขตี’’ติ วุตฺตํฯ

แม้ในข้อความที่มีการลบ ตฺวา ปัจจัย ก็ลงปัญจมีวิภัตติ. การลบตฺวาปัจจัย ในที่นี้ ได้แก่ ความไม่มี แห่งบทลงตฺวาปัจจัย ในประโยคที่ไม่เต็ม (คือ ประโยคที่ลบบทลงตฺวาปัจจัยไป ในฐานะที่สามารถสื่อความหมายให้เข้าใจกันได้)  ซึ่งต้องมีในประโยคเต็ม.   เมื่อมีบทลงตฺวาปัจจัย บทใดซึ่งเป็นบทกรรมหรือบทอธิกรณะ (ลงทุติยาวิภัตติหรือสัตตมีวิภัตติ),   ต่อมา เมื่อไม่มีบทลงตฺวาปัจจัย บทนั้นก็จะเป็นอปาทาน ในระหว่างบททั้งหลาย (คือ แทนบทอื่นๆที่ถูกลบไป). ให้ลงปัญจมีวิภัตติ ท้ายศัพท์นั้น (ที่เคยเป็นบทกรรมหรือบทอธิกรณะ).
ตัวอย่างเช่น
ปาสาทา วา ปาสาทํ สงฺกเมยฺย [สํ.ส.๑๕/๓๙๗]
พึงย้ายจากปราสาท.  มีรูปเป็น ปาสาทํ บ้าง.
หตฺถิกฺขนฺธา วา หตฺถิกฺขนฺธํ สงฺกเมยฺย [สํ.ส.๑๕/๓๙๗]
พึงย้ายจากคอช้าง. มีรูปเป็น หตฺถิกฺขนฺธํ บ้าง.
ในตัวอย่างเหล่านี้ ควรทราบประโยคเต็ม ดังนี้
[แทนบทกรรม]
ปฐมํ เอกํ ปาสาทํ อภิรูหิตฺวา ปุน อญฺญํ ปาสาทํ สงฺกเมยฺย.
ขึ้นสู่ปราสาทหลังหนึ่งก่อนแล้ว พึงย้ายไปสู่ปราสาทอีกหลังหนึ่ง
[แทนบทอธิกรณะ]
ปฐมํ เอกสฺมิํ ปาสาเท นิสีทิตฺวา ปุน อญฺญํ ปาสาทํ สงฺกเมยฺย.
นั่งในปราสาทหลังหนึ่งก่อนแล้ว พึงย้ายไปสู่ปราสาทอีกหลังหนึ่ง.
มีตัวอย่างพระบาฬี
อนฺธการา วา อนฺธการํ คจฺเฉยฺย, ตมา วา ตมํ คจฺเฉยฺย. [สํ.ส.๑๕/๓๙๔].
บุรุษพึงไปจากความมืดทึบสู่ความมืดทึบ หรือพึงไปจากความมืดมัวสู่ความมืดมัว.
ตัวอย่างเหล่านี้ มีนัยเดียวกัน เช่น
รฏฺฐา รฏฺฐํ วิจรติ,
เที่ยวไปจากประเทศสู่ประเทศ.
คามา คามํ วิจรติ
เที่ยวไปจากบ้านสู่บ้าน.
วนา วนํ วิจรติ
เที่ยวไปจากป่าสู่ป่า.
วิหารโต วิหารํ คจฺฉติ
ไปจากวิหารสู่วิหาร.
ปริเวณโต ปริเวณํ คจฺฉติ
ไปจากบริเวณสู่บริเวณ.
ภวโต ภวํ คจฺฉติ
ไปจากภพสู่ภพ.
กุลโต กุลํ คจฺฉติ
ไปจากสกุลสู่สกุล.
แม้ในตัวอย่างเหล่านี้ คือ
วินยา วินยํ ปุจฺฉติ
ย่อมสอบถามพระวินัยจากพระวินัย
อภิธมฺมา อภิธมฺมํ ปุจฺฉติ
ย่อมสอบถามพระอภิธรรมจากพระอภิธรรม
วินยา วินยํ กเถติ
ย่อมกล่าวพระวินัยจากพระวินัย
อภิธมฺมา อภิธมฺมํ กเถติ
ย่อมกล่าวพระอภิธรรมจากพระอภิธรรม
ก็เช่นกัน ควรทราบข้อความเต็ม ดังนี้
ปฐมํ เอกํ วินยวจนํ ปุจฺฉิตฺวา วา เอกสฺมิํ วินยวจเน ฐตฺวา วา ปุน อญฺญํ วินยวจนํ ปุจฺฉติ
ภิกษุ สอบถามพระบาฬีวินัยข้อหนึ่ง หรือ ดำรงอยู่ในพระบาฬีวินัยข้อหนึ่ง ก่อนแล้ว จึงถามพระวินัยข้ออื่นอีกต่อไป.
ส่วนในโมคคัลลานวุตติ มีข้อความอธิบายว่า
“ปาสาทํ อารุยฺห เปกฺขติ, ปาสาทา เปกฺขติ, อาสเน (อุ)ปวิสิตฺวา เปกฺขติ, อาสนา เปกฺขติ (โมคฺ.วุตฺติ.๓/๒๖).  
ขึ้นปราสาทแล้วมอง,  มองจากปราสาท,  เข้าไปนั่งบนอาสนะแล้วมอง, ย่อมมองจากที่นั่ง.

ทิสตฺถโยเค ทิสตฺเถ จ ปญฺจมี, อิโต สา ปุริมา ทิสา, อิโต สา ทกฺขิณา ทิสา, อวีจิโต อุปริ, อุทฺธํ ปาทตลา, อโธ เกสมตฺถกาฯ

ลงปัญจมีวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่มีความหมายว่า ทิศ และ ท้ายศัพท์ที่มีความหมายว่า ทิศ.
(ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่มีความหมายว่า ทิศ เช่น)
อิโต สา ปุริมา ทิสา [ที.ปา.๑๑/๒๑๐]
จากจุดนี้ ทิศนั้น เป็นทิศตะวันออก.
อิโต สา ทกฺขิณา ทิสา [ที.ปา.๑๑/๒๑๐]
จากจุดนี้ ทิศนั้น เป็นทิศใต้.
อวีจิโต อุปริ
เบื้องบนแต่อเวจีมหานรกขึ้นไป.
อุทฺธํ ปาทตลา
เบื้องบนแต่ฝ่าเท้าขึ้นไป.
อโธ เกสมตฺถกา [ที.ม.๑๐/๒๗๗]
เบื้องล่างแต่ปลายผมลงมา.

ทิสตฺเถ
ปุริมโต คามสฺส, ทกฺขิณโต คามสฺส, อุปริโต ปพฺพตสฺส, เหฏฺฐโต ปาสาทสฺส, ปุรตฺถิมโต, ทกฺขิณโต, ยโต เขมํ, ตโต ภยํ, ยโต ยโต สมฺมสติ, ขนฺธานํ อุทยพฺพยํ อิจฺจาทิฯ

ท้ายศัพท์ที่มีความหมายว่า ทิศ เช่น
ปุริมโต คามสฺส
ในที่ด้านหน้าแห่งหมู่บ้าน
ทกฺขิณโต คามสฺส
ในที่ด้านซ้ายแห่งหมู่บ้าน
อุปริโต ปพฺพตสฺส
ในที่เบื้องบนแห่งภูเขา
เหฏฺฐโต ปาสาทสฺส
ข้างล่างแห่งปราสาท
ปุรตฺถิมโต
ในทิศตะวันออก
ทกฺขิณโต
ในทิศใต้
 ยโต เขมํ, ตโต ภยํ [ขุ.ชา.๒๗/๑๒๖๔],
ความเกษมเกิดขึ้นในที่ใด จะมีภัยเกิดแต่ที่นั้น.
ยโต ยโต สมฺมสติ, ขนฺธานํ อุทยพฺพยํ [ขุ.ธ.๒๕/๓๓]
ย่อมพิจารณาเห็น ความเกิดขึ้นและดับไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลใดๆ.[18]

ปุพฺพาทิโยเคปิ ปญฺจมี, ปุพฺเพว เม สมฺโพธา [อ. นิ. ๓.๑๐๔], อิโต ปุพฺเพ, ตโต ปุพฺเพ, อิโต ปรา ปจฺจนฺติมา ชนปทา [มหาว. ๒๕๙], ตโต ปุเร, ตโต ปจฺฉา, ตโต อุตฺตริ [ปารา. ๔๙๙] อิจฺจาทิฯ

 ลงปัญจมีวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับศัพท์มี ปุพฺพ เป็นต้น เช่น
ปุพฺเพว เม สมฺโพธา [อํ.สตฺตก.๒๓/๒๔๕],
ก่อนแต่การตรัสรู้แห่งเราตถาคต
อิโต ปุพฺเพ.
ในกาลก่อนแต่กาลนี้
ตโต ปุพฺเพ.
ในกาลก่อนแต่กาลนั้น
อิโต ปรา ปจฺจนฺติมา ชนปทา [วิ.มหา.๕/๒๓],
นอกจากนั้นออกไปเป็นปัจจันตชนบท.
ตโต ปุเร
ก่อนหน้านั้น
ตโต ปจฺฉา
หลังจากนั้น
ตโต อุตฺตริ [วิ.ภิกฺขุนี.๓/๑๓๘]
ถ้าให้จ่ายยิ่งกว่านั้น.

วิภตฺตตฺเถ จ ปญฺจมี ฉฏฺฐี จฯ วิภตฺติ นาม ปเคว วิสุํภูตสฺส อตฺถสฺส เกนจิ อธิเกน วา หีเนน วา ภาเคน ตทญฺญโต ปุถกฺกรณํ, มาถุรา ปาฏลิปุตฺตเกหิ อภิรูปตรา, ยโต ปณีตตโร วา วิสิฏฺฐตโร วา นตฺถิ, อตฺตทนฺโต ตโต วรํ [ธ. ป. ๓๒๒], ฉนฺนวุตีนํ ปาสณฺฑานํ ปวรํ ยทิทํ สุคตวินโย, สเทวกสฺส โลกสฺส, สตฺถา โลเก อนุตฺตโร, อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส [ม. นิ. ๓.๒๐๗], เชฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส [ม. นิ. ๓.๒๐๗], เสฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส [ม. นิ. ๓.๒๐๗], ปญฺญวนฺตา นาม สาริปุตฺตโต หีนา สาริปุตฺตสฺส วา, ตโต อธิกํ วา อูนํ วา น วฏฺฏติ อิจฺจาทิฯ

ลงทั้งปัญจมีวิภัตติ และ ฉัฏฐีวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่มีความหมายว่า จำแนก. การจำแนก ในที่นี้ ได้แก่ การกระทำให้แตกต่างจากอีกสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะโดยความยิ่ง ความด้อย หรือโดยส่วน อย่างใดอย่างหนึ่ง แห่งเนื้อความ ที่เป็นคนละอย่างกันมาก่อนแล้ว เช่น
มาถุรา ปาฏลิปุตฺตเกหิ อภิรูปตรา
ชาวเมืองมาถุรา มีรูปงามยิ่งกว่าชาวเมืองปาฏลีบุตร
ยโต ปณีตตโร วา วิสิฏฺฐตโร วา นตฺถิ
ไม่มีธรรมอื่นใดที่จะประณีตกว่า หรือ วิเศษกว่าธรรมของพระผู้มีพระภาค.
 อตฺตทนฺโต ตโต วรํ [ขุ.ธ.๒๕/๓๓],
ผู้มีตนอันฝึกแล้ว ประเสริฐกว่าสัตว์อาชาไนยที่ฝึกแล้วนั้น.
ฉนฺนวุตีนํ ปาสณฺฑานํ ปวรํ ยทิทํ สุคตวินโย,
พระวินัยของพระสุคตเจ้า ประเสริฐ กว่าลัทธิปาสัณฑะทั้ง ๙๖.
สเทวกสฺส โลกสฺส, สตฺถา โลเก อนุตฺตโร[19],
พระศาสดา ผู้ยอดเยี่ยมในโลก ยิ่งกว่ามนุษย์และเทวดา
อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส [ม.อุ.๑๔/๓๗๗]
เราเป็นผู้เลิศกว่าชาวโลก
เชฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส [ม.อุ.๑๔/๓๗๗]
เราเป็นผู้เจริญกว่าชาวโลก,
เสฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส [ม.อุ.๑๔/๓๗๗]
เราเป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าชาวโลก.
ปญฺญวนฺตา นาม สาริปุตฺตโต หีนา สาริปุตฺตสฺส วา.
ธรรมดาผู้มีปัญญาทั้งหลาย เป็นผู้ด้อยกว่าพระสารีบุตร, ลงฉัฏฐีวิภัตติเป็น สาริปุตฺตสฺส บ้าง.
ตโต อธิกํ วา อูนํ วา น วฏฺฏติ
ไม่ควรให้ยิ่งหรือหย่อนกว่านั้น.

วิรมณตฺถโยเค
อารตี วิรตี ปาปา [ขุ. ปา. ๕.๘], ปาณาติปาตา เวรมณิ [ขุ. ปา. ๒.๑] อิจฺจาทิฯ

ลงปัญจมีวิภัตติท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่มีความหมายว่า งดเว้น เช่น
อารตี วิรตี ปาปา [ขุ.ขุ.๒๕/๖]
การงดเว้น จากบาป.
ปาณาติปาตา เวรมณิ [ขุ.ขุ.๒๕/๒]
การงดเว้นจากปาณาติบาต.

สุทฺธตฺถโยเค
โลภนีเยหิ ธมฺเมหิ สุทฺโธ อิจฺจาทิฯ

ลงปัญจมีวิภัตติท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่มีความหมายว่า บริสุทธิ์ เช่น
โลภนีเยหิ ธมฺเมหิ สุทฺโธ.
บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ.

โมจนตฺถโยเค ปญฺจมี ตติยา จ, โส ปริมุจฺจติ ชาติยา ชราย มรเณน โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ, ปริมุตฺโต โส ทุกฺขสฺมาติ วทามิ [สํ. นิ. ๓.๒๙], โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา [ธ. ป. ๓๗], น เต มุจฺจนฺติ มจฺจุนา อิจฺจาทิ, สพฺพตฺถ อวธิอตฺโถ เวทิตพฺโพฯ

ลงได้ทั้งปัญจมีวิภัตติและตติยาวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่มีความหมายว่า หลุดพ้น เช่น
โส ปริมุจฺจติ ชาติยา ชราย มรเณน โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ
เขา จะหลุดพ้นจากความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์ ความเสียใจ ความระทม
ปริมุตฺโต โส ทุกฺขสฺมาติ วทามิ [สํ.นิ.๑๖/๔๑๓]
เราย่อมกล่าวว่า บุคคลนั้น เป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากความทุกข์.
โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา [ขุ.ธ.๒๕/๑๓]
จักหลุดพ้นจากบ่วงมาร,
น เต มุจฺจนฺติ มจฺจุนา
พวกเขา ย่อมไม่พ้นจากความตาย.
ควรทราบว่า (ศัพท์ที่ลงตติยาวิภัตติและปัญจมีวิภัตติ)ทั้งหมดนี้ มีอรรถแห่งอวธิ.

เหตฺวตฺเถ
กสฺมา เหตุนา, เกน เหตุนา, กสฺมา นุ ตุมฺหํ กุเล ทหรา น มิยฺยเร [ชา. ๑.๑๐.๙๒ (มียเร)], ตสฺมาติห ภิกฺขเว [สํ. นิ. ๒.๑๕๗]ฯ

ลงปัญจมีวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่มีความหมายว่า เหตุพ้น เช่น
กสฺมา เหตุนา
เพราะเหตุอะไร
เกน เหตุนา
เพราะเหตุอะไร
กสฺมา นุ ตุมฺหํ กุเล ทหรา น มิยฺยเร [ขุ.ชา.๒๗/ ๑๔๑๐]
เพราะเหตุไรหนอ คนหนุ่มในตระกูลของท่านจึงไม่ตาย
ตสฺมาติห ภิกฺขเว [สํ.ส.๑๕/๓๘๔]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ใน... นี้.
ทุติยา ตติยา ฉฏฺฐี จ, กิํการณํ [ชา. อฏฺฐ. ๖.๒๒.อุมงฺคชาตกวณฺณนา], ยตฺวาธิกรณํ [ที. นิ. ๑.๒๑๓], ยโตนิทานํ [สุ. นิ. ๒๗๕], ตโตนิทานํ [ม. นิ. ๑.๒๓๘], เกน การเณน [ชา. อฏฺฐ. ๔.๒๐.มาตงฺคชาตกวณฺณนา], ตํ กิสฺสเหตุ [ม. นิ. ๑.๒], กิสฺส ตุมฺเห กิลมถ อิจฺจาทิฯ

ท้ายศัพท์ที่มีความหมายว่า เหตุ ยังลงทั้งทุติยาวิภัตติ ฉัฏฐีวิภัตติ และฉัฏฐีวิภัตติ ได้อีกด้วย เช่น
กิํการณํ [ขุ.วิ.๒๖/๓๙๙]
เพราะเหตุอะไร
ยตฺวาธิกรณํ [ที.สี.๙/๖๖ (ฉ)]
เพราะเหตุใด
ยโตนิทานํ [ขุ.ธ.๒๕/๓๒๐]
เพราะเหตุใด
ตโตนิทานํ [วิ.มหาวิ.๑/๑๖]
เพราะเหตุนั้น
เกน การเณน [ชา.อฏฺฐ.๔/๕๔],
เพราะเหตุอะไร
ตํ กิสฺส เหตุ [อํ.สตฺตก.๒๓/๓๔๒],
ข้อนั้น เพราะเหตุไร
กิสฺส ตุมฺเห กิลมถ
พวกเธอย่อมลำบาก เพราะเหตุไร.

วิเวจนตฺถโยเค
วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ [ที. นิ. ๑.๒๒๖], วิวิตฺโต ปาปกา ธมฺมาฯ


ลงปัญจมีวิภัตติท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่มีความหมายว่า สงัด เช่น
วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ [ที.สี.๙/๕๐]
สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
วิวิตฺโต ปาปกา ธมฺมา.
สงัดแล้วจากบาปธรรมฯ

พนฺธนตฺถโยเค
๓๑๘. ปญฺจมีเณ วา[20]
อิณภูเต เหตุมฺหิ ปญฺจมี โหติ วาฯ
สตสฺมา พนฺโธ นโร สเตน วาฯ

ลงปัญจมีวิภัตติท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่มีความหมายว่า ผูก (ด้วยสูตรนี้)
๓๑๘. ปญฺจมีเณ วา.
ท้ายศัพท์ที่เป็นเหตุ อันเป็นหนี้ ลงปัญจมีวิภัตติ ได้บ้าง.
ท้ายศัพท์ที่เป็นเหตุ คือ หนี้ (คือ หนี้อันเป็นเหตุให้ถูกจองจำ) ลงปัญจมีวิภัตติ ได้บ้าง เช่น
สตสฺมา พนฺโธ นโร สเตน วาฯ
นรชน ถูกพระราชาสั่งจองจำ เพราะหนี้ ๑๐๐ , ลงตติยาวิภัตติเป็น สเตน ก็ได้.

๓๑๙. คุเณ[21]
อชฺฌตฺตภูโต เหตุ คุโณ นาม, อคุโณปิ อิธ คุโณตฺเวว วุจฺจติ, ตสฺมิํ ปญฺจมี โหติ วาฯ
ชฬตฺตา พนฺโธ นโร ชฬตฺเตน วา, อตฺตโน พาลตฺตาเยว พนฺโธติ อตฺโถ, ปญฺญาย พนฺธนา มุตฺโต, วาจาย มรติ, วาจาย มุจฺจติ, วาจาย ปิโย โหติ, วาจาย เทสฺโส, อิสฺสริยา ชนํ รกฺขติ ราชา อิสฺสริเยน วา, สีลโต นํ ปสํสนฺติ [อ. นิ. ๔.๖] สีเลน วา, หุตฺวา อภาวโต อนิจฺจา, อุทยพฺพยปีฬนโต ทุกฺขา, อวิชฺชานิโรธา สงฺขารนิโรโธ [อุทา. ๒], สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ [อุทา. ๒], จตุนฺนํ อริยสจฺจานํ อนญฺญา อปฺปฏิเวธา ทีฆมทฺธานํ สํสรนฺติ [ที. นิ.๒.๑๘๖ (วิสทิสํ)] อิจฺจาทิฯ

ลงปัญจมีวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่ระบุถึงคุณสมบัติ (อันเป็นเหตุให้ผลสำเร็จ) (ด้วยสูตรนี้)
๓๑๙. คุเณ
ท้ายศัพท์ที่ระบุถึงคุณลักษณะ ลงปัญจมีวิภัตติได้บ้าง
เหตุอันเป็นภายใน ชื่อว่า คุณ, แม้เหตุที่ไม่ใช่คุณ ก็เรียกว่า คุณ ในที่นี้เช่นกัน[22], ท้ายศัพท์ดังกล่าวนั้น ลงปัญจมีวิภัตติได้บ้าง. ตัวอย่างเช่น
ชฬตฺตา พนฺโธ นโร.
นรชน อันพระราชาจองจำแล้ว เพราะความเป็นคนโง่. ลงตติยาวิภัตติเป็น ชฬตฺเตน ก็มีบ้าง. หมายความว่า เพราะตนเป็นคนโง่เขลา จึงถูกจองจำ.
ปญฺญาย พนฺธนา มุตฺโต
เป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องจองจำ เพราะปัญญา.
วาจาย มรติ
ตาย เพราะคำพูด.
วาจาย มุจฺจติ
หลุดพ้นเพราะคำพูด
วาจาย ปิโย โหติ
เป็นที่รัก เพราะคำพูด.
วาจาย เทสฺโส
เป็นที่น่าชัง ก็เพราะวาจา.
อิสฺสริยา ชนํ รกฺขติ ราชา.
พระราชา ย่อมรักษา ประชาชน เพราะความเป็นใหญ่. ลงตติยาวิภัตติเป็น อิสฺสริเยน ก็มีบ้าง.
สีลโต นํ ปสํสนฺติ [อํ.จตุกฺก.๒๑/๖]
ย่อมสรรเสริญเขา เพราะศีล. ลงตติยาวิภัตติเป็น สีเลน ก็มีบ้าง.
หุตฺวา อภาวโต อนิจฺจา
ชื่อว่า อนิจจะ เพราะมีแล้วกลับไม่มี.
อุทยพฺพยปีฬนโต ทุกฺขา
ชื่อว่า ทุกข์ เพราะการบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและดับไป
อวิชฺชานิโรธา สงฺขารนิโรโธ [ขุ.ธ.๒๘/๕๐๕]
สังขารดับ เพราะอวิชชาดับ
สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ [ขุ.ธ.๒๘/๕๐๕],
วิญญาณดับ เพราะสังขารดับ
จตุนฺนํ อริยสจฺจานํ อนญฺญา อปฺปฏิเวธา ทีฆมทฺธานํ สํสรนฺติ [ที.มหา.๑๐/๘๖]
หมู่สัตว์ ย่อมท่องไปสิ้นเวลายาวนาน เพราะไม่รู้แจ้ง เพราะไม่เข้าใจทะลุปรุโปร่ง ซึ่งอริยสัจ ๔.

ปญฺหา, กถเนสุปิ ปญฺจมี, กุโต ภวํ, อหํ ปาฏลิปุตฺตโต อิจฺจาทิฯ

ลงปัญจมีวิภัตติท้ายศัพท์ที่ระบุถึงการถาม และตอบ เช่น
กุโต ภวํ
ท่านผู้เจริญมาจากที่ไหน.
อหํ ปาฏลิปุตฺตโต
ผมมาจากเมืองปาฏลิบุตร.

โถกตฺเถปิ อสตฺววจเน ปญฺจมี, สตฺวํ วุจฺจติ ทพฺพํ, โถกา มุจฺจติ โถเกน วา, มุจฺจนมตฺตํ โหตีติ วุตฺตํ โหติ ‘‘นทิํ ตรนฺโต มนํ วุฬฺโห’’ติ [มหาว. ๑๔๘] เอตฺถ วิยฯ อปฺปมตฺตกา มุจฺจติ อปฺปมตฺตเกน วา, กิจฺฉา มุจฺจติ กิจฺเฉน วา, กิจฺฉา ลทฺโธ ปิโย ปุตฺโต [ชา. ๒.๒๒.๓๕๓], กิจฺฉา มุตฺตามฺห ทุกฺขสฺมา, ยาม ทานิ มโหสธ [ชา. ๒.๒๒.๗๐๐]ฯ

ลงปัญจมีวิภัตติท้ายศัพท์ที่มีความหมายว่า น้อย[23]  คือ ท้ายศัพท์ที่ระบถึงอสัตวะ (ไม่ใช่ทัพพะ). สัตวะ คือ ทัพพะ[24].
โถกา มุจฺจติ.
ย่อมหลุดพ้นหน่อยหนึ่ง. ลงตติยาวิภัตติเป็น โถเกน ก็มีบ้าง. ความหมายคือ เป็นเพียงแค่การหลุดพ้น. เหมือนในข้อความพระบาฬีนี้ว่า นทิํ ตรนฺโต มนํ วุฬฺโห [วิ.มหา.๔/๑๖๒]  เมื่อจะข้ามแม่น้ำ  ก็ถูกพัดไปหน่อยหนึ่ง.
อปฺปมตฺตกา มุจฺจติ
หลุดพ้น เพียงประมาณไม่มาก. ลงตติยาวิภัตติเป็น อปฺปมตฺตเกน บ้าง.
กิจฺฉา มุจฺจติ
ย่อมพ้นอย่างยาก
ลงตติยาวิภัตติเป็น กิจฺเฉน (โดยยาก) บ้าง
กิจฺฉา ลทฺโธ ปิโย ปุตฺโต [ขุ.ชา. ๒๘/๕๐๕]
บุตรเป็นที่รักหาได้ยาก
กิจฺฉา มุตฺตามฺห ทุกฺขสฺมา,  ยาม ทานิ มโหสธ [ขุ.ชา. ๒๘/๖๕๒]
ดูกรมโหสถ เราทั้งหลายพ้นจากทุกข์ได้ยาก  จงไปกัน ณ บัดนี้เถิด.

อสตฺววจเนติ กิํ?
ปจฺจติ มุนิโน ภตฺตํ, โถกํ โถกํ ฆเร ฆเรติ [เถรคา. ๒๔๘ (กุเล กุเล)]ฯ ‘‘อนุปุพฺเพน เมธาวี, โถกํ โถกํ ขเณ ขเณ [ธ. ป. ๒๓๙]’’ อิจฺจาทีสุ กฺริยาวิเสสเน ทุติยาฯ

ข้อยกเว้น
กล่าวถึงคำว่า อสตฺว ทำไม?
(ในกรณีที่กล่าวถึงทัพพะ ดังตัวอย่างเหล่านี้ ไม่ลงปัญจมีวิภัตติ แต่) ลงทุติยาวิภัตติในอรรถกิริยาวิเสสนะ  เช่น
ปจฺจติ มุนิโน ภตฺตํ, โถกํ โถกํ ฆเร ฆเรติ [ขุ.เถรคาถา. ๒๖/๓๑๖ ]
บุคคลทุกสกุล,  ย่อมหุงอาหารสกุลละเล็กละน้อยไว้ เพื่อนักปราชญ์.
‘‘อนุปุพฺเพน เมธาวี, โถกํ โถกํ ขเณ ขเณ [ขุ.ธ.๒๕/๒๘]’’
นักปราชญ์ทำกุศลทีละเล็กละน้อย ทุกขณะ พึงขจัดมลทินของตนออกได้โดยลำดับ.

อกตฺตริปิ ปญฺจมี, ตสฺส กมฺมสฺส กตตฺตา อุปจิตตฺตา อุสฺสนฺนตฺตา วิปุลตฺตา ตถาคโต สุปฺปติฏฺฐิตปาโท โหติ [ที. นิ. ๓.๒๐๑]ฯ เอตฺถ จ อกตฺตรีติ อการเก ญาปกเหตุมฺหีติ วทนฺติฯ ญาเส ปน ‘‘อกตฺตรีติ เหตฺวตฺเถ สงฺคณฺหาติฯ ยตฺถ หิ กตฺตุพุทฺธิ สญฺชายเต, โสว กตฺตา น โหตีติ วตฺตุํ สกฺกา’’ติ วุตฺตํฯ เอเตน กตฺตุสทิโส ชนกเหตุ อกตฺตา นามาติ ทีเปติ, กมฺมสฺส กตตฺตาอิจฺจาทิ จ ชนกเหตุ เอวาติฯ

ลงปัญจมีวิภัตติท้ายศัพท์ที่ไม่ใช่กัตตา เช่น
ตสฺส กมฺมสฺส กตตฺตา อุปจิตตฺตา อุสฺสนฺนตฺตา วิปุลตฺตา ตถาคโต สุปฺปติฏฺฐิตปาโท โหติ [ที.ปา.๑๑/๑๓๑-๒]ฯ
เพราะกรรมนั้นเป็นสภาพอันทำแล้ว เพราะเป็นสภาพสั่งสมแล้ว เพราะเป็นสภาพเพิ่มพูนแล้ว เพราะเป็นสภาพไพบูลย์แล้ว พระตถาคตเจ้า จึงทรงเป็นผู้มีพระบาทตั้งอยู่อย่างดี.
ในกรณีนี้ อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า คำว่า อกตฺตริ (ไม่ใช่กัตตา) ได้แก่ ไม่ใช่การกเหตุ คือ เป็นญาปกเหตุ. แต่อาจารย์วิมลพุทธิ กล่าวไว้ในคัมภีร์นยาสะ[25]ว่า คำว่า อกตฺตริ (ไม่ใช่กัตตา) สงเคราะห์อรรถเหตุทั้งหลาย. ดังนั้น ความรู้ว่าเป็นกัตตา เกิดขึ้นในศัพท์ใดสามารถกล่าวได้ว่า ศัพท์นั้นนั่นเทียวไม่ใช่กัตตา (คือเป็นเพียงความสำคัญของผู้กล่าว). ด้วยคำนี้ เป็นอันแสดงว่า ชนกเหตุ ที่เหมือนกันกับกัตตา ได้ชื่อว่า อกัตตา ดังนั้น คำว่า กมฺมสฺส กตตฺตา เป็นต้น จึงเป็นชนกเหตุ อย่างแน่นอน (แต่ก็ได้ชื่อว่า อกตฺตริ (ไม่ใช่กัตตา) จึงลงปัญจมีวิภัตติตามหลักการนี้ได้ไม่ขัดข้องเลย).

ภิยฺยตฺถโยเค
โยธ สีตญฺจ อุณฺหญฺจ, ติณา ภิยฺโย น มญฺญติ [ที. นิ. ๓.๒๕๓], สุขา ภิยฺโย โสมนสฺสํ [ที. นิ. ๒.๒๘๗], ขนฺตฺยา ภิยฺโย น วิชฺชติ [สํ. นิ. ๑.๒๕๐], มยา ภิยฺโย น วิชฺชติ, โสตุกามาตฺถ ตุมฺเห ภิกฺขเว ภิยฺโยโสมตฺตาย ปุพฺเพนิวาสกถํ, อตฺตมโน ตฺวํ โหหิ ปรํ วิย มตฺตาย, อหมฺปิ อตฺตมโน โหมิ ปรํ วิย มตฺตายฯ

ลงปัญจมีวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่มีความหมายว่า มาก เช่น
โยธ สีตญฺจ อุณฺหญฺจ, ติณา ภิยฺโย น มญฺญติ [ที.ปา.๑๑/๑๘๕],
ส่วนผู้ใดไม่สำคัญความหนาวและความร้อนยิ่งไปกว่าหญ้า.
สุขา ภิยฺโย โสมนสฺสํ [ที.ม.๑๐.๒๐๒],
โสมนัสอันยิ่งกว่าสุขก็เกิดขึ้น
ขนฺตฺยา ภิยฺโย น วิชฺชติ [สํ.ส.๑๕/๘๗๕],
ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี
มยา ภิยฺโย น วิชฺชติ
บุคคลผู้ยิ่งกว่าเราย่อมไม่มี.
โสตุกามาตฺถ ตุมฺเห ภิกฺขเว ภิยฺโยโส มตฺตาย ปุพฺเพนิวาสกถํ.
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ ต้องการฟัง เรื่องปุพเพสันนิวาส โดยยิ่งกว่าประมาณ (ยิ่งนัก)หรือ?
อตฺตมโน ตฺวํ โหหิ ปรํ วิย มตฺตาย.
พวกเธอมีใจยินดีมาก หรือ?
อหมฺปิ อตฺตมโน โหมิ ปรํ วิย มตฺตายฯ[26]
แม้ข้าพระองค์ เป็นผู้มีใจยินดียิ่งนัก

ปญฺจมีวิภตฺติราสิ นิฏฺฐิโตฯ

กลุ่มศัพท์ที่มีความหมายแห่งปัญจมีวิภัตติ จบ


[1] [ก. ๒๙๕; รู. ๓๐๗; นี. ๖๐๗; จํ. ๒.๑.๘๑; ปา. ๒.๓.๒๘; ๑.๔.๒๔]ฯ
[2] ตัวอย่างที่คล้ายกัน เช่น  กีวทูโร ปน สมฺม การายน นครกมฺหา เมทฬุปํ นาม สกฺยานํ นิคโม โหตีติ. [ม.มู.๑๓/๕๖๐] (ดูกรการายนะผู้สหาย ก็นิคมของพวกเจ้าศากยะชื่อว่าเมทฬุปะ มีอยู่จากนิคมนครกะไกลเพียงไร?
[3] พระบาฬีที่คล้ายกัน เช่น อิโต โส  ภิกฺขเว เอกนวุโต กปฺเป ยํ วิปสฺสี ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ โลเก อุทปาทิ. [ที.ม.๑๐/๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นับแต่นี้ไป ๙๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก.
[4] แต่อรรถกถาฉบับสยามรัฐเป็น นปิ  มาตา ปุตฺตโต ยาติ น  ปุตฺโต  มาติโต (ชา.อ.๗/๒๒๙๕)  ที่คล้ายกัน
[5] อาศัยคำอธิบายจากสูตรที่๖๒. ปฐมาตฺถมตฺเต. = กตฺตุ, กมฺมาทิกํ พาหิรตฺถํ อนเปกฺขิตฺวา ลิงฺคตฺถมตฺเต ปวตฺตา นามสฺมา  ปฐมาวิภตฺติ โหติ. (ลงปฐมาวิภัตติท้ายนามที่เป็นไปในเนื้อความสามัญแห่งลิงค์ โดยไม่ระบุอรรถภายนอกมีกัตตุและกรรมเป็นต้น). จึงเรียงข้อความดังนี้ ตสฺมิํ อกฺขาตริ (ปวตฺตา นามสฺมา) ปญฺจมี ลงปัญจมีวิภัตติท้ายคำนาม อันเป็นไปในผู้สอนนั้น.
[6] ปัจจุบันพระบาฬีเป็น ปราชยิํสุ
[7] เทียบพระบาฬีทีฆนิกายมหาวรรค มหาปรินิพพานสูตรว่า ชิตมฺห วต โภ อมฺพกาย [ที.ม.๑๐/๙๒]  (ท่านทั้งหลาย พวกเราแพ้นางเสียแล้วหนอ).
[8] [ก. ๒๗๒; รู. ๓๐๙; นี. ๕๕๘, ๕๖๘; จํ. ๒.๑.๘๒; ปา. ๑.๔.๘๘; ๒.๓.๑๐]
[9] คัมภีร์สัททนีติ สุตตมาลา สูตร ๕๖๑ อธิบายว่า มาจาก อุ และ ปริ โดยอุ แปลว่า อุทฺธํ เบื้องบน และ ปริ คือ สมนฺตโต โดยรอบ ดังนั้น จึงแปลว่า ฝนตก บนภูเขา โดยรอบ. กรณีที่เป็นปัญจมีวิภัตติ อุปริ มาจาก อุปสัคสองตัวนี้. ถ้าเป็น อุปริ นิบาต  ลงฉัฏฐีวิภัตติและสัตตมีวิภัตติเท่านั้น เป็น อุปริ ปพฺพตสฺส หรือ ปพฺพเต
[10] [ก. ๒๗๒; รู. ๓๐๙; นี. ๕๕๘, ๕๖๘; จํ. ๒.๑.๘๓; ปา. ๒.๓.๑๑; ๑.๔.๙.๒]ฯ
[11] [ก. ๒๗๒; รู. ๓๐๙; นี. ๕๕๘, ๕๖๘; จํ. ๒.๑.๘๔; ปา. ๒.๓.๒๙]ฯ
[12]  [ก. ๒๗๒; รู. ๓๐๙; นี. ๕๕๘, ๕๖๘; จํ. ๒.๑.๘๕; ปา. ๒.๓.๓๒; ‘วินาญฺญตฺร ตติยาจ’ (พหูสุ)]ฯ
[13]  [ก. ๒๗๒; รู. ๓๐๙; นี. ๕๕๘, ๕๖๘; จํ. ๒.๑.๘๖; ปา. ๒.๓.๓๒; ‘ปุถนานาหิ จ’ (พหูสุ)]ฯ
[14] ดูบันทึกเพิ่มเติม (๓) )
[15] (ดูบันทึกเพิ่มเติม (๔) )
[16] ปาฐะฉบับฉัฏฐสังคายนาปัจจุบันเป็น อติขิปฺปํ จกฺขุํ โลเก อนฺตรธายิสฺสติ. ส่วนในฉบับสยามรัฐเป็น อติขิปฺปํ  จกฺขุมา โลเก  อนฺตรธายิสฺสติ.
[17] ดูที่ใกล้เคียงในพระบาฬีสังยุตตนิกาย นิทานวรรค อายสํ  นครํ   โยชนํ   อายาเมน  โยชนํ  วิตฺถาเรน  โยชนํ  อุพฺเพเธน  ปุณฺณํ  สาสปานํ  คุฬิกาพนฺธํ  (สํ.๑๖/๔๓๒) นครที่ทำด้วยเหล็ก ยาวโยชน์ ๑ กว้างโยชน์ ๑ สูงโยชน์ ๑ เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดรวมกันเป็นกลุ่มก้อน.

[18] ตัวอย่างที่ลงโตปัจจัยเหล่านี้ ในสัททนีติกล่าวว่า ลงโตปัจจัยในอรรถสัตตมี.
[19] ที่คล้ายกัน : สตฺถา โลเก อนุตฺตโร  อํ.สตฺตก. ๒๓/๑๒๐
[20] [ก. ๒๙๖; รู. ๓๑๔; นี. ๖๐๘; จํ. ๒.๑.๖๙; ปา. ๒.๓.๒๔]
[21] [จํ. ๒.๑.๗๐; ปา. ๒.๓.๒๕]
[22] คำว่า เหตุ ในที่นี้ คือ เหตุอันทำให้ผลสำเร็จ (เรียกว่า ผลสาธนเหตุ) ตามนัยที่มาในคัมภีร์ปทรูปสิทธิ. แต่ในคัมภีร์นี้ท่านเรียกว่า คุณ. คำว่า คุณ ในที่นี้ หมายถึงคุณลักษณะ อันอยู่ภายในตัวบุคคล อันเป็นเหตุให้เกิดผลคือการถูกตำหนิ จองจำ สรรเสริญเป็นต้น. แต่อย่างไรก็ตาม  แม้สิ่งที่ไม่ใช่คุณลักษณะ ก็เรียกว่า คุณได้โดยอ้อม เพราะอาศัยความเป็นเหตุให้ผลเกิดเช่นกัน เพื่อให้สอดคล้องกับคำว่า คุเณ ในตัวสูตร. กรณีหลังนี้ ดูอุทาหรณ์ตั้งแต่ หุตฺวา อภาวโต อนิจฺจา เป็นต้นไป
[23] กิจฺฉา ไม่มีอรรถโถก (เล็กน้อย) ดังนั้น คำว่า โถกตฺถ จึงเป็นอุปลักขณะ ที่หมายถึง กิจฺฉา ด้วย สอดคล้องกับคัมภีร์สัททนีติ อธิบายว่า โถกตฺถาทีสุ อสตฺววจเน ปญฺจมี ตติยา จ. (ลงปัญจมีวิภัตติและตติยาวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่มีอรรถว่า น้อยเป็นต้น กล่าวคือ ท้ายศัพท์ที่ระบุถึงสิ่งที่ไม่ใช่ทัพพะ)
[24] ทัพพะ คือ วัตถุสิ่งของ ที่เป็นรูปธรรม หรือ นามธรรม  เป็นคำนาม ดังนั้น อสัตวะในที่นี้จึงหมายถึง วิเสสนะ หรือ คุณศัพท์นั่นเอง. ดังนั้น คำว่า โถก ที่เป็นอสัตวะ จึงมุ่งถึงสภาพเล็กน้อย ไม่ใช่สิ่งของเล็กน้อย แต่กรณีที่ระบุทัพพะหรือสิ่งของเล็กน้อย ไม่ลงปัญจมีวิภัตติ แต่ลงตติยาวิภัตติเท่านั้น.
[25] นฺยาสปกรณํ ๒๗๕. สุตฺต. (ดูบันทึกเพิ่มเติมข้อที่ ๑)

[26] ๒ อุทาหรณ์นี้ พบที่คล้ายกันในพระบาฬีดังนี้ โก  หิ  ภนฺเต  ภควโต  ธมฺมํ  สุตฺวา  อตฺตมโน อสฺส  ปรํ   วิย   มตฺตาย   อหํปิ   ภนฺเต   ภควโต  ธมฺมํ  สุตฺวา  อตฺตมโน  ปรํ   วิย   มตฺตาย [ที.สี.๒๗๓]  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่า ฟังธรรมของพระองค์แล้วจะไม่ปลื้มใจอย่างเหลือเกิน แม้ข้าพระองค์ฟังธรรมของพระองค์แล้วก็ยังปลื้มใจเหลือเกิน. (ดูเพิ่มเติมบันทึกข้อที่ ๒)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น