วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สมาสกัณฑ์ ๒ - ตัปปุริสสมาส

ตปฺปุริสสมาส
ทุติยาตปฺปุริส
ตปฺปุริสสมาส
ทุติยาตปฺปุริส
อถ อมาทิสมาโส วุจฺจเต, โส ตปฺปุริโสติ จ วุจฺจติฯ ตสฺส ปุริโส ตปฺปุริโส, ตปฺปุริสสทฺเทน สทิสตฺตา อยํ สมาโส ตปฺปุริโสติ วุจฺจติฯ ยถา หิ ตปฺปุริสสทฺโท วิเสสนปทตฺถํ ชหิตฺวา วิเสสฺยปทตฺเถ ติฏฺฐติ, เอวํ อยํ สมาโสปีติฯ

ต่อจากอัพยยีภาวสมาส จะกล่าวอมาทิสมาส. อนึ่ง อมาทิสมาสนั้น เรียกว่า ตปฺปุริส. คำว่า ตปฺปุริส มีวิเคราะห์ว่า “ตสฺส ปุริโส ตปฺปุริโส บุรุษของพระราชานั้น ชื่อว่า ตปฺปุริส, เพราะสมาสนี้เป็นเช่นเดียวกับตปฺปุริสศัพท์ จึงเรียกว่า ตปฺปุริส”. จะเห็นได้ว่า ตปฺปุริสศัพท์ ทิ้งเนื้อความของบทวิเสสนะ (คือ ตสฺส ราชาโน ของพระราชานั้น)ไปแล้วตั้งอยู่ในเนื้อความของบทวิเสสยะ (คือ ปุริส บุรุษ) ฉันใด, แม้สมาสนี้ ก็เป็นเหมือนฉันนั้น.

๓๔๕. อมาทิ[๑]

๓๔๕. อมาทิ
บทนาม ซึ่งประกอบด้วยอํวิภัตติเป็นต้น สมาสกับบทนามที่ลงปฐมาวิภัตติเป็นต้น ชื่อว่า  อมาทิ.


อมาทิวิภตฺติยุตฺตํ สฺยาทฺยนฺตปทํ ปฐมนฺเตน สฺยาทฺยนฺตปเทน สห เอกตฺถํ ภวติ, อยญฺจ สมาโส อนฺวตฺถวเสน ‘‘อมาทิสมาโส’’ติ จ ‘‘ตปฺปุริสสมาโส’’ติ จ วุจฺจติฯ อิมินา อมาทิสหิตสฺส วากฺยสฺส อมาเทกตฺถสญฺญํ กตฺวา วุตฺตตฺถานํ วิภตฺตีนํ โลโป, ตโต เอกตฺถปทนฺเต สฺยาทฺยุปฺปตฺติ โหติฯ

บทนามซึ่งประกอบด้วยวิภัตติมีอํเป็นต้น มีเนื้อความอันเดียวกัน (หรือ ย่อเข้า) กับบทนามที่ลงปฐมาวิภัตติ, สมาสนี้ เรียกว่า อมาทิสมาส ด้วย เรียกว่า ตัปปุริสสมาส ด้วย เกี่ยวกับชื่อที่คล้อยตามความหมาย. ครั้นตั้งชื่อว่า “อมาทิสมาส” แก่วากยะซึ่งประกอบด้วยบทลงอํวิภัตติเป็นต้น ด้วยสูตรว่า “อมาทิ” นี้แล้ว, ลบวิภัตติซึ่งมีอรรถอันสมาสกล่าวแล้ว, ต่อจากนั้น ลงวิภัตติมีสิเป็นต้น ท้ายบทสมาส.

โส ปน สมาโส ทุติยาตปฺปุริโส, ตติยาตปฺปุริโส, จตุตฺถีตปฺปุริโส, ปญฺจมีตปฺปุริโส, ฉฏฺฐีตปฺปุริโส, สตฺตมีตปฺปุริโสติ ฉพฺพิโธฯ เอกเมกสฺมิญฺเจตฺถ ‘‘นิจฺจสมาโส, อนิจฺจสมาโส’’ติ จ ‘‘ลุตฺตสมาโส, อลุตฺตสมาโส’’ติ จ ทุวิโธฯ

ก็ ตัปปุริสสมาส มี ๖ คือ ทุติยาตัปปุริสะ, ตติยาตัปปุริสะ, จตุตถีตัปปุริสะ, ปัญจมีตัปปุริสะ, ฉัฏฐีตัปปุริสะ, สัตตมีตัปปุริสะ. ในสมาสแต่ละประเภท ยังแบ่งออกเป็น๒ คือ นิจจสมาสและอนิจจสมาส, กับ ลุตตสมาสและอลุตตสมาส.

ตตฺถ ทุติยาตปฺปุริโส กตฺตุวาจเกสุ คต, นิสฺสิต,-อตีต, อติกฺกนฺต, ปตฺต, อาปนฺนอิจฺจาทีสุ ปเรสุ โหติฯ

บรรดาตัปปุริสสมาส ๖ นั้น ทุติยาตัปปุริสะ ย่อมมี ในกรณีที่บทหลังเป็น คต (ไป) นิสฺสิต (อาศัย) อตีต (ล่วง) อติกฺกนฺต (ก้าวลวง) ปตฺต (บรรลุ) และ อาปนฺน (เข้าถึง) เป็นต้น ซึ่งเป็นกัตตุวาจก. ตัวอย่างเช่น

คามํ คโตติ คามคโต คามํ คโต วาฯ เอวํ อรญฺญคโต, ภูมิคโต, ราชานํ นิสฺสิโตติ ราชนิสฺสิโตฯ เอวํ อตฺถนิสฺสิโต, ธมฺมนิสฺสิโตฯ ภวํ อตีโต ภวาตีโตฯ เอวํ ภยาตีโต, กาลาตีโต, ขณาตีโต, ปมาณํ อติกฺกนฺโตติ ปมาณาติกฺกนฺโต, สุขํ ปตฺโตติ สุขปฺปตฺโตฯ เอวํ ทุกฺขปฺปตฺโต, โสตํ อาปนฺโนติ โสตาปนฺโนฯ เอวํ นิโรธสมาปนฺโน, อทฺธานมคฺคํ ปฏิปนฺโนติ อทฺธานมคฺคปฺปฏิปนฺโน, รุกฺขํ อารูฬฺโหติ รุกฺขารูฬฺโห, รถารูฬฺโห, โอฆํ ติณฺโณติ โอฆติณฺโณ โอฆํ ติณฺโณ วา อิจฺจาทิฯ

บุรุษ ผู้ไปสู่บ้าน ชื่อว่า คามคต, ไม่เข้าสมาสกันเป็น คามํ คโต บ้าง. ตัวอย่างเหล่านี้ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. อรญฺญคต (บุรุษผู้ไปสู่ป่า), ภูมิคต(ผู้ไปสู่แผ่นดิน), ราชนิสฺสิต (บุรุษผู้อาศัยพระราชา), อตฺถนิสฺสิต (ผู้อาศัยแล้วซึ่งประโยชน์),  ธมฺมนิสฺสิต(ผู้อาศัยแล้วซึ่งธรรม), ภวาตีต (ผู้ล่วงแล้วซึ่งภพ. ภยาตีต (ผู้ล่วงแล้วซึ่งความกลัว), กาลาตีต (ผู้ล่วงแล้วซึ่งกาล)] ขณาตีต(ผู้ล่วงแล้วซึ่งขณะ), ปมาณาติกฺกนฺต (ผู้ข้ามพ้นซึ่งประมาณ, เกินขีดจำกัด), สุขปฺปตฺต (ผู้ถึงแล้วซึ่งความสุข), ทุกฺขปฺปตฺต (ผู้ถึงแล้วซึ่งความทุกข์), โสตาปนฺน(ผู้เข้าถึงแล้วซึ่งกระแสแห่งนิพพาน), นิโรธสมฺปนฺน (ผู้เข้าถึงแล้วซึ่งนิโรธ), อทฺธานมคฺคปฺปฏิปนฺน (ผู้ดำเนินไปแล้วสู่ทางไกล), รุกฺขารูฬฺห (ผู้ขึ้นแล้วสู่ต้นไม้), รถารุฬฺห (ผู้ขึ้นแล้ว สู่รถ), โอฆติณฺณ (ผู้ข้ามแล้วซึ่งห้วงน้ำ), มีรูปที่ไม่เป็นสมาสว่า โอฆํ ติณฺโณ ก็มี.

กมฺมุปปทวิหิเตหิ กิตนฺตปเทหิ ปน นิจฺจสมาโสเยว, กุมฺภํ กโรตีติ กุมฺภกาโร, รถกาโร, ปตฺตํ คณฺหาตีติ ปตฺตคฺคาโห, อตฺถํ กาเมตีติ อตฺถกาโม, ธมฺมกาโม, วินยํ ธาเรตีติ วินยธโร, ธมฺมธโร, พฺรหฺมํ จรติ สีเลนาติ พฺรหฺมจารี, ภวปารํ คจฺฉติ สีเลนาติ ภวปารคู, สพฺพํ ชานาตีติ สพฺพญฺญู, อตฺถญฺญู, ธมฺมญฺญูอิจฺจาทิฯ

แต่จะเป็นนิจจสมาสแน่นอน หากมีบทหลังเป็นบทมีกิตปัจจัยเป็นที่สุด ซึ่งประกอบด้วยอุปบท (บทนามที่วางไว้หน้าธาตุ) เป็นบทกรรม เช่น กุมฺภํ กโรตีติ กุมฺภกาโร ผู้กระทำซึ่งหม้อ ชื่อว่า กุมฺภการ. ผู้กระทำซึ่งรถ ชื่อว่า รถการ. ปตฺตํ คณฺหาตีติ ปตฺตคฺคาโห ผู้รับซึ่งบาตร ชื่อว่า ปตฺตคฺคาห. อตฺถํ กาเมตีติ อตฺถกาโม ผู้ยินดีซึ่งประโยชน์ ชื่อว่า อตฺถกาม. ผู้ยินดีซึ่งธรรม ชื่อว่า ธมฺมกาม. วินยํ ธาเรตีติ วินยธโร ภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่งพระวินัย ชื่อว่า วินยธร. ผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม ชื่อว่า ธมฺมธร. พฺรหฺมํ จรติ สีเลนาติ พฺรหฺมจารี ผู้ประพฤติพรหมรรย์โดยปกติ ชื่อว่า พฺรหฺมจารี. ภวปารํ คจฺฉติ สีเลนาติ ภวปารคู ผู้ถึงซึ่งฝั่งแห่งภพ โดยปรกติ ชื่อว่า ภวปารคู. สพฺพํ ชานาตีติ สพฺพญฺญู พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวง ชื่อว่า สพฺพญฺญู. อตฺถญฺญู (ผู้รู้ซึ่งประโยชน์).ธมฺมญฺญู (ผู้รู้ซึ่งธรรม)

พหุลาธิการตฺตา ต, ตวนฺตุ, ตาวี, อนฺต, มาน, ตุน, ตฺวาน, ตฺวา, ตุํ, ตเวปจฺจยนฺเตสุ ปเรสุ สมาโส น โหติ, วสฺสํ วุตฺโถ, โอทนํ ภุตฺโต, โอทนํ ภุตฺตวา, โอทนํ ภุตฺตาวี, ธมฺมํ สุณนฺโต, ธมฺมํ สุณมาโน ธมฺมํ โสตุน, ธมฺมํ สุตฺวาน, ธมฺมํ สุตฺวา, ธมฺมํ โสตุํ, ธมฺมํ โสตเวฯ
อิติ ทุติยาตปฺปุริโสฯ

เพราะการตามมาแห่ง พหุล ศัพท์ (โดยมาก) สมาสย่อมไม่มี ในกรณีที่บทหลังเป็นบทลงปัจจัย คือ ต, ตวนฺตุ ตาวี, อนฺต, มาน, ตุน, ตฺวาน, ตฺวา, ตุํ, ตเว เช่น วสฺสํ วุตโถ  ผู้จำพรรษา, โอทนํ ภุตฺโต ผู้รับประทานข้าวสวย, โอทนํ ภุตฺตวา ผู้รับประทานข้าวสวย, โอทนํ ภุตฺตาวี ผู้รับประทานข้าวสวย, ธมฺมํ สุณนฺโต ผู้ฟังซึ่งธรรม, ธมฺมํ สุณนฺโต ผู้ฟังซึ่งธรรม, ธมฺมํ สุณมาโน ผู้ฟังซึ่งธรรม, ธมฺมํ โสตุน ผู้ฟังซึ่งธรรม, ธมฺมํ สุตฺวาน ผู้ฟังซึ่งธรรม, ธมฺมํ สุตฺวา ผู้ฟังซึ่งธรรม, ธมฺมํ โสตุํ ผู้ฟังซึ่งธรรม, ธมฺมํ โสตเว ผู้ฟังซึ่งธรรม.
นี้เป็นทุติยาตัปปุริสสมาส


ตติยาตปฺปุริส
ตติยาตัปปุริสสมาส
ตติยาตปฺปุริโส กมฺมวาจเกสุ กิตนฺเตสุ จ สมฺปนฺน, สหคตาทีสุ จ ปุพฺพ, สทิส, สม, อูนตฺถ, กลห, นิปุณ,  มิสฺสก, สขิลาทีสุ จ ปเรสุ โหติฯ

ตติยาตัปปุริสสมาส มีได้ในกรณีที่บทหลัง (๑) เป็นบทลงกิตปัจจัย กัมมวาจก, (๒) เป็นบทว่า สมฺปนฺน, สหคต เป็นต้น และ (๓) เป็นบทว่า ปุพฺพ, สทิส, สม, อูนตฺถ, กลห, นิปุณ, มิสฺสก, สขิล เป็นต้น

พุทฺเธน ภาสิโต พุทฺธภาสิโตฯ เอวํ พุทฺธเทสิโต, พุทฺธปญฺญตฺโต, พุทฺธรกฺขิโต, สตฺถารา วณฺณิโต สตฺถุวณฺณิโต, วิญฺญูหิ ครหิโต วิญฺญุครหิโต, วิญฺญุปสตฺโถ, อิสฺสเรน กตํ อิสฺสรกตํ, อตฺตนา กตํ สยํกตํ, ปเรหิ กตํ ปรํกตํ, พินฺทาคโมฯ สุเกหิ อาหฏํ สุกาหฏํ, รญฺญา หโต ราชหโต, โรเคน ปีฬิโต โรคปีฬิโต, อคฺคินา ทฑฺโฒ อคฺคิทฑฺโฒ, สปฺเปน ทฏฺโฐ สปฺปทฏฺโฐ, สลฺเลน วิทฺโธ สลฺลวิทฺโธ, อิจฺฉาย อปกโต อภิภูโต อิจฺฉาปกโตฯ

(ในกรณีที่กิตบทกัมมวาจกเป็นบทหลัง -)
พุทฺเธน ภาสิโต พุทฺธภาสิโต พระธรรม อันพระพุทธเจ้า ตรัสแล้ว ชื่อว่า พุทฺธภาสิต.  (ตัวอย่างเหล่านี้ คือ) (พุทฺธเทสิต) พระธรรม อันพระพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว, (พุทฺธปญฺญตฺต) พระวินัย อันพระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติแล้ว, (พุทฺธรกฺขิต) พระภิกษุ อันพระพุทธเจ้า ทรงรักษาแล้ว ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. สตฺถารา วณฺณิโต สตฺถุวณฺณิโต, วิญฺญุปสตฺโถ พระธรรม อันพระศาสดา ทรงสรรเสริญแล้ว ชื่อว่า สตฺถุวณฺณิต, วิญฺญูหิ ครหิโต วิญฺญุครหิโต บุคคลอันวิญญูชน ติเตียนแล้ว ชื่อว่า วิญฺญุครหิต, บุคคลอันวิญญูชนสรรเสริญแล้ว ชื่อว่า วิญฺญุปสตฺถ, อิสฺสเรน กตํ อิสฺสรกตํ การงาน อันผู้เป็นใหญ่กระทำแล้ว ชื่อว่า อิสฺสรกต. อตฺตนา กตํ สยํกตํ กรรมอันตนทำแล้ว ชื่อว่า สยํกต. ปเรหิ กตํ ปรํกตํ กรรมอันบุคคลอื่นกระทำแล้ว ชื่อว่า ปรํกต. (ตัวอย่างว่า ปรํกต นี้) ลงนิคคหิตอาคม. สุเกหิ อาหฏํ สุกาหฏํ ข้าวสารอันนกแก้วทั้งหลายนำมาแล้ว ชื่อว่า สุกาหฏ. รญฺญา หโต ราชหโต โจรอันพระราชาทรงกำจัดแล้ว ชื่อว่า ราชหต. โรเคน ปีฬิโต โรคปีฬิโตบุรุษ อันโรคเบียดเบียนแล้ว ชื่อว่า โรคปีฬิต. อคฺคินา ทฑฺโฒ อคฺคิทฑฺโฒผ้า อันไฟ ไหม้แล้ว ชื่อว่า อคฺคิทฑฺฒ, สปฺเปน ทฏฺโฐ สปฺปทฏฺโฐ บุรุษ อันงู กัดแล้ว ชื่อว่า สปฺปทฏฺฐ, สลฺเลน วิทฺโธ สลฺลวิทฺโธสัตว์โลก อันศรแทงแล้ว ชื่อว่า สลฺลวิทฺธ, อิจฺฉาย อปกโต อภิภูโต อิจฺฉาปกโต บุคคล อันความปรารถนา กระทำออกแล้ว  คือ ครอบงำแล้ว ชื่อว่า อิจฺฉาปกต.

สีเลน สมฺปนฺโน สีลสมฺปนฺโนฯ เอวํ สุขสหคตํ, ญาณสมฺปยุตฺตํ, มิตฺตสํสคฺโค, ปิยสมฺปโยโค, ปิยวิปฺปโยโค, ชาติยา อนฺโธ ชจฺจนฺโธ, คุณหีโน, คุณวุฑฺโฒ, จตุวคฺเคน สงฺเฆน กรณียํ กมฺมํ จตุวคฺคกรณียํฯ เอวํ ปญฺจวคฺคกรณียํ, กาเกหิ เปยฺยา กากเปยฺยา, นทีฯ

(ในกรณีที่ สมฺปนฺน ศัพท์เป็นบทหลัง) -
สีเลน สมฺปนฺโน สีลสมฺปนฺโน  สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่า สีลสมฺปนฺน. (ตัวอย่างเหล่านี้ คือ) สุขสหคต (ประกอบด้วยสุข)] ญาณสมฺปยุตฺต (ประกอบพร้อมด้วยญาณ), มิตฺตสํสคฺค (คลุกคลีด้วยมิตร), ปิยสมฺปโยค (ประจวบกับสิ่งเป็นที่รัก),  ปิยวิปฺปโยค (พลัดพรากกับสิ่งเป็นที่รัก), ชจฺจนฺธ(บอดโดยชาติ), คุณหีโน  (เสื่อมโดยคุณ), คุณวุฑฺฒ (เจริญโดยคุณ), จตุวคฺคกรณีย (กรรมอันสงฆ์พวก ๔ พึงกระทำ), , ปญฺจวคฺคกรณีย (กรรมอันสงฆ์ที่มีพวก ๕ พึงกระทำ), กากเปยฺยา (แม่น้ำอันกาพึงดื่มได้) ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้.

เอกกฺขเรสุ ปรปเทสุ นิจฺจสมาโส, อุเรน คจฺฉตีติ อุรโค, ปาเทน ปิวตีติ ปาทโป อิจฺจาทิฯ

ในกรณีที่บทหลังเป็นศัพท์มีอักษรตัวเดียว จะเป็นนิจจสมาส (ต้องเข้าสมาสแน่นอน) เช่น อุเรน คจฺฉตีติ อุรโค (อุร + ค) สัตว์ที่ไปด้วยอก ชื่อว่า  อุรค (งู).  ปาเทน ปิวตีติ ปาทโป (ปาท + ป)  ดื่มทางราก ชื่อว่า ปาทป (ต้นไม้).

กฺวจิ มชฺเฌปทโลโป, คุเฬน สํสฏฺโฐ โอทโน คุโฬทโนฯ เอวํ ขีโรทโน, อสฺเสน ยุตฺโต รโถ อสฺสรโถฯ เอวํ อาชญฺญรโถ, มคฺเคน สมฺปยุตฺตํ จิตฺตํ มคฺคจิตฺตํ, ชมฺพุยา ปญฺญาโต ทีโป ชมฺพุทีโป, เอเกน อธิกา ทส เอกาทส อิจฺจาทิฯ

ที่ลบบทกลาง มีบ้างในบางตัวอย่าง เช่นคุเฬน สํสฏฺโฐ โอทโน คุโฬทโน ข้าวสุกคลุกน้ำอ้อย ชื่อว่า คุโฬทน.  ตัวอย่างว่า ขีโรทน (ข้าวสุกผสมกับน้ำนม) ก็มีนัยเดียวกันนี้. อสฺเสน ยุตฺโต รโถ อสฺสรโถ  รถเทียมแล้วด้วยม้า ชื่อว่า อสฺสรถ.ตัวอย่างว่า อาชญฺญรถ (รถเทียมแล้วด้วยม้าอาชาไนย) ก็มีนัยเดียวกันนี้. มคฺเคน สมฺปยุตฺตํ จิตฺตํ มคฺคจิตฺตํ จิตที่ประกอบพร้อมด้วยมรรค ชื่อว่า มคฺคจิตฺต. ชมฺพุยา ปญฺญาโต ทีโป ชมฺพุทีโป ทวีปอันปรากฏ (คือ ถูกจดจำ) ด้วยต้นหว้า ชื่อว่า ชมฺพุทีป.  เอเกน อธิกา ทส เอกาทส สิบที่เกินด้วยหนึ่ง ชื่อว่า เอกาทส.

ปุพฺพาทีสุ มาเสน ปุพฺโพ มาสปุพฺโพ, มาตรา สทิโส มาตุสทิโสฯ เอวํ มาตุสโม, ปิตุสโม, เอเกน อูนา วีสติ เอกูนวีสติ, สีเลน วิกโล สีลวิกโล, อสินา กลโห อสิกลโห, วาจาย นิปุโณ วาจานิปุโณฯ เอวํ ยาวกาลิกสมฺมิสฺสํ, วาจาสขิโล, สตฺถารา สทิโส สตฺถุกปฺโป, ปุญฺเญน อตฺโถ ปุญฺญตฺโถ, ปุญฺเญน อตฺถิโก ปุญฺญตฺถิโกฯ เอวํ เสยฺยตฺถิโก, มหคฺฆตฺถิโก, คุเณน อธิโก คุณาธิโก อิจฺจาทิฯ

ในกรณีที่บทหลังเป็นศัพท์มีปุพฺพเป็นต้น -
มาเสน ปุพฺโพ มาสปุพฺโพ ก่อนโดยเดือน ชื่อว่า มาสปุพฺพ. มาตรา สทิโส มาตุสทิโสเหมือนกับมารดา ชื่อว่า มาตุสทิส.ในตัวอย่างเหล่านี้ คือ มาตุสม (เสมอกับมารดา), ปิตุสม (เสมอกับบิดา) ก็มีนัยเดียวกันนี้.  เอเกน อูนา วีสติ เอกูนวีสติยี่สิบ หย่อนด้วยหนึ่ง ชื่อว่า เอกูนวีสติ (๑๙).บกพร่องโดยศีล ชื่อว่า สีลวิกลห. ทะเลา (วิวาท, ต่อสู้กัน) ด้วยดาบ ชื่อว่า อสิกลห. ละเอียดอ่อนโดยวาจา ชื่อว่า วาจานิปุณ. ตัวอย่างเหล่านี้ คือ ยาวกาลิกสมฺมิสฺส โภชนะเจือแล้วด้วยยาวกาลิก,วาจาสขิล (ผู้อ่อนโยนด้วยวาจา) ก็มีนัยเดียวกันนี้.  สตฺถารา สทิโส สตฺถุกปฺโป ภิกษุผู้เป็นเช่นกับพระศาสดา ชื่อว่า สตฺถุกปฺป. ปุญฺเญน อตฺโถ ปุญฺญตฺโถ ผู้ต้องการด้วยบุญ ชื่อว่า ปุญฺญตฺถ. ปุญฺเญน อตฺถิโก ปุญฺญตฺถิโก ผู้มีความต้องการด้วยบุญ ชื่อว่า ปุญฺญตฺถิก. ตัวอย่างเหล่านี้ คือ เสยฺยตฺถิก (ผู้มีความต้องการด้วยโลกุตรธรรมอันประเสริฐ),มหคฺฆตฺถิก (ผู้มีความต้องการด้วยทรัพย์มีค่ามาก) ก็มีนัยเดียวกันนี้.  คุเณน อธิโก คุณาธิโก ผู้ยิ่งใหญ่โดยคุณ ชื่อว่า คุณาธิก.

พหุลาธิการา กฺวจิ สมาโส น โหติ, ผรสุนา ฉินฺนํ, กาเกหิ ปาตพฺพา, ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา, ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา อิจฺจาทิฯ
อิติ ตติยาตปฺปุริโสฯ

เนื่องจากมี “พหุล” ศัพท์ตามมา ในบางตัวอย่าง จึงไม่เข้าสมาสบ้าง เช่น ผรสุนา ฉินฺนํ ตัดแล้ว ด้วยขวาน กาเกหิ ปาตพฺพา แม่น้ำอันกาพึงดื่ม ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันทัสสนะ (โสตาปัตติมรรค) พึงละ. ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันภาวนา (มรรคเบื้องบน ๓ )พึงละ.
นี้เป็นตติยาตัปปุริสสมาส.

จตุตฺถีตปฺปุริส
จตุตฺถีตปฺปุริโส ตทตฺเถ วา อตฺถ, หิต, เทยฺยาทีสุ วา ปเรสุ โหติฯ

จตุตถีตัปปุริสสมาส
จตุตถีตัปปปุริสสมาส ย่อมมี ในกรณีที่บทหลังเป็น ตทตฺถ (ประโยชน์เพื่อสิ่งนั้น) บ้าง เป็นบทมี อตฺถ (ประโยชน์) , หิต (เกื้อกูล) และเทยฺย (พึงให้) เป็นต้น บ้าง.เช่น

กถินสฺส ทุสฺสํ กถินทุสฺสํ, กถินตฺถาย อาภฏํ ทุสฺสนฺติ อตฺโถฯ เอวํ กถินจีวรํ, กถินาย ทุสฺสํ, กถินาย จีวรนฺติปิ ยุชฺชติ, กถินตฺถารายาติ อตฺโถฯ จีวราย ทุสฺสํ จีวรทุสฺสํฯ เอวํ จีวรมูลํ[๒],


กถินสฺส ทุสฺสํ กถินทุสฺสํ. ผ้าเพื่อกถิน ชื่อว่า กถินทุสฺส. ความหมายคือ ผ้าที่นำมาเพื่อประโยชน์แก่กถิน. กถินจีวร (จีวรเพื่อกถิน) ก็เช่นเดียวกันนี้. จะใช้คำว่า กถินจีวร(จีวรเพื่อกถิน)  หรือ กถินทุสฺส (ผ้าเพื่อกถิน) ก็ถูกทั้งสอง. ความหมายคือ จีวรเพื่อประโยชน์แก่การกรานกถิน. จีวรมูลํ (ทรัพย์เพื่อจีวร) ก็เช่นเดียวกันนี้.

สงฺฆสฺส อาภฏํ ภตฺตํ สงฺฆภตฺตํ, สงฺฆตฺถาย วา ปฏิยตฺตํ ภตฺตํ สงฺฆภตฺตํฯ เอวํ อาคนฺตุกภตฺตํ, คมิกภตฺตํ, คิลานภตฺตํฯ

สงฺฆสฺส อาภฏํ ภตฺตํ สงฺฆภตฺตํ. ภัต ที่นำมาเพื่อสงฆ์ ชื่อว่า สงฺฆภตฺต. อีกนัยหนึ่ง สงฺฆตฺถาย ปฏิยตฺตํ ภตฺตํ สงฺฆภตฺตํ. ภัต ที่เตรียมไว้เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ชื่อว่า สงฺฆภตฺต. ตัวอย่างเหล่านี้ คือ อาคนฺตุกภตฺตํ (ภัตเพื่อภิกษุผู้มาเยือน),คมิกภตฺตํ (ภัตเพื่อภิกษุผู้ต้องการเดินทาง), คิลานภตฺตํ (ภัตเพื่อภิกษุไข้) ก็เช่นเดียวกันนี้.

สงฺฆสฺส อตฺโถ สงฺฆตฺโถ, โลกสฺส หิโต โลกหิโต, พุทฺธสฺส เทยฺยํ พุทฺธเทยฺยํ, พุทฺธสฺส ปณาโม พุทฺธปฺปณาโมฯ เอวํ พุทฺธโถมนา, พุทฺธุปฏฺฐานํ,

สงฺฆสฺส อตฺโถ สงฺฆตฺโถ ประโยชน์แก่สงฆ์ ชื่อว่า สงฺฆตฺถ.โลกสฺส หิโต โลกหิโต ผู้เกื้อกูล แก่ชาวโลก ชื่อ โลกหิต. ทานที่พึงถวายแด่พระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทฺธเทยฺย. พุทฺธสฺส ปณาโม พุทฺธปฺปมาโณ.ความน้อมนอบแด่พระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทฺธปฺปณาม.ตัวอย่างเหล่านี้ คือ พุทฺธโถมนา (การสรรเสริญต่อพระพุทธเจ้า), พุทฺธุปปฏฺฐานํ (การบำรุงต่อพระพุทธเจ้า) ก็เช่นเดียวกันนี้
สุตฺตสฺส อนุโลมํ สุตฺตานุโลมํฯ เอวํ สุตฺตานุรูปํ, สุตฺตานุกูลํ, สุตฺตานุคุณํ,

สุตฺตสฺส อนุโลมํ สุตฺตานุโลมํ คำพูดอันคล้อยตามต่อพระสูตร ชื่อว่า สุตฺตานุโลม. ตัวอย่างเหล่านี้ คือ สุตฺตานุรูปํ (คำพูดอันเหมาะสมต่อพระสูตร), สุตฺตานุกูลํ (คำพูดอันเกื้อกูลต่อพระสูตร), สุตฺตานุคุณํ (คำพูดอัน...ต่อพระสูตร) ก็มีนัยเดียวกันนี้.

ฐานสฺส อรหํ ฐานารหํ, รญฺโญ อรหํ ราชารหํฯ เอวํ ราชคฺฆํ, ราชเทยฺยํ,

ฐานสฺส อรหํ ฐานารหํ กรรมอันควรต่อฐานะ ชื่อว่า ฐานารห. รญฺโญ อรหํ ราชารหํ กรรมอันควรต่อพระราชา ชื่อว่า ราชารห. ตัวอย่างเหล่านี้คือราชคฺฆํ (ทรัพย์มีค่าควรต่อพระราชา), ราชเทยฺยํ (สิ่งที่ควรถวายแด่พระราชา) ก็มีนัยเดียวกันนี้.

กตฺตุํ กาเมตีติ กตฺตุกาโมฯ เอวํ คนฺตุกาโม, กเถตุกาโม, ทฏฺฐุกาโม, โสตุกาโมฯ เอตฺถ จ ตุมนฺตสฺส อสงฺขฺยตฺตา อสงฺขฺเยหิ สพฺพาสนฺติ ตโต นิจฺจํ จตุตฺถีโลโป โหติ, สมาเส กเต นิจฺจํ นิคฺคหีตโลโป จฯ

กตฺตุํ กาเมตีติ กตฺตุกาโม ผู้ปรารถนาเพื่อทำ ชื่อว่า กตฺตุกาม. ตัวอย่างเหล่านี้ คือ คนฺตุกาโม (ผู้ปรารถนาเพื่อไป), กเถตุกาโม (ผู้ปรารถนาเพื่อกล่าว), ทฏฺฐุกาโม (ผู้ปรารถนาเพื่อเห็น), โสตุกาโม (ผู้ปรารถนาเพื่อฟัง) ก็มีนัยเดียวกันนี้. ในเรื่องนี้ เพราะศัพท์ที่มี ตุํ เป็นที่สุด จัดเป็นอัพยยะ ดังนั้น จึงลบจตุตถีวิภัตติท้ายศัพท์เหล่านั้น ด้วยสูตรว่า “อสงฺขเยหิ สพฺพาสํ (ลบวิภัตติทั้งหมดท้ายอัพยยศัพท์)”,  และเมื่อเข้าสมาสแล้ว ลบนิคหิตแน่นอน.

 ‘‘สงฺฆสฺส ทาตพฺพํ, สงฺฆสฺส ทาตุํ’’ อิจฺจาทีสุ สมาโส น โหติฯ
อิติ จตุตฺถีตปฺปุริโสฯ

ไม่เป็นสมาส ในตัวอย่างเป็นต้นว่า สงฺฆสฺส ทาตพฺพํ. จีวร ที่อันบุคคลพึงถวายแก่ภิกษุสงฆ์. สงฺฆสฺส ทาตุํ เพื่อถวาย แก่ภิกษุสงฆ์
นี้เป็นจตุตถีตัปปุริสสมาส.

ปญฺจมีตปฺปุริส
ปญฺจมีตปฺปุริโส อปคมน, ภย, วิรติ, โมจนาทิอตฺเถสุ ปเรสุ โหติฯ

ปญฺจมีตปฺปุริส
ปัญจมีตัปปุริสสมาส ย่อมมี ในกรณีที่บทหลังเป็นศัพท์ซึ่งมีความหมายว่า อปคมน (การหลีกไป), ภย (ความกลัว), วิรติ (การงดเว้น) โมจ (การพ้น) เป็นต้น.

เมถุนา อเปโตติ เมถุนาเปโต, ปลาสโต อปคโตติ ปลาสาปคโต, นครมฺหา นิคฺคโตติ นครนิคฺคโต, ปิณฺฑปาตโต ปฏิกฺกนฺโตติ ปิณฺฑปาตปฺปฏิกฺกนฺโตฯ เอวํ คามนิกฺขนฺโต, รุกฺขปติโต,สาสนมฺหา จุโตติ สาสนจุโต, อาปตฺติยา วุฏฺฐานํ อาปตฺติวุฏฺฐานํ, อุทกโต อุคฺคโต อุทกุคฺคโต, ภวโต นิสฺสโฏ ภวนิสฺสโฏ, ขนฺธสงฺคหโต นิสฺสฏนฺติ ขนฺธสงฺคหนิสฺสฏํ,
(ในกรณีที่บทหลังเป็นศัพท์ ที่มีความหมายว่า อปคมน [การหลีกไป]) เช่น เมถุนา อเปโตติ เมถุนาเปโต มุนี ผู้หลีกหนีออกจากเมถุน ชื่อว่า เมถุนาเปต. ปลาสโต อปคโตติ ปลาสาปคโต ต้นไม้อันปราศจากใบ ชื่อว่า ปลาสาปคต.  นครมฺหา นิคฺคโตติ นครนิคฺคโต พระราชาผู้เสด็จออกจากพระนคร ชื่อว่า นครนิคฺคต. ปิณฺฑปาตโต ปฏิกฺกนฺโตติ ปิณฺฑปาตปฺปฏิกฺกนฺโต ภิกฺษุผู้กลับจากบิณฑบาต ชื่อว่า ปิณฺฑปาตปฺปฏิกฺกนฺต. ตัวอย่างเหล่านี้ คือ คามนิกฺขนฺต (ผู้ออกจากหมู่บ้านแล้ว), รุกฺขปติต (ผลอันร่วงจากต้นไม้แล้ว) ก็มีนัยเดียวกันนี้. สาสนมฺหา จุโตติ สาสนจุโต ภิกษุผู้เคลื่อนจากพระศาสนาแล้ว ชื่อว่า สาสนจุต. อาปตฺติยา วุฏฺฐานํ อาปตฺติวุฏฺฐานํการออกจากอาบัติ ชื่อว่า อาปตฺติวุฏฺฐาน. อุทกโต อุคฺคโต อุทกุคฺคโต ปลาที่โผล่ขึ้นจากน้ำ ชื่อว่า อุทกุคฺคต. ภวโต นิสฺสโฏ ภวนิสฺสโฏ ผู้พ้นแล้ว จากภพ ชื่อว่า ภวนิสฺสฏ. ขนฺธสงฺคหโต นิสฺสฏนฺติ ขนฺธสงฺคหนิสฺสฏํ พ้นจากการสงเคราะห์โดยเป็นขันธ์ ชื่อว่า ขนฺธสงฺคหนิสฺสฏ.

โจรมฺหา ภีโตติ โจรภีโต, ปาปโต ภายติ สีเลนาติ ปาปภีรุโก, ปาปโต ชิคุจฺฉติ สีเลนาติ ปาปชิคุจฺฉี, วฏฺฏโต นิพฺพินฺทตีติ วฏฺฏนิพฺพินฺโน,
ในกรณีบทหลังเป็นศัพท์ที่มีความหมายว่า ภย (กลัว) เช่น โจรมฺหา ภีโตติ โจรภีโต ผู้กลัวจากโจร ชื่อว่า โจรภีต. ปาปโต ภายติ สีเลนาติ ปาปภีรุโก ผู้เกรงกลัวจากบาป โดยปกติ ชื่อว่า ปาปภีรุก. ปาปโต ชิคุจฺฉติ สีเลนาติ ปาปชิคุจฺฉี ผู้รังเกียจแต่บาป โดยปกติ ชื่อว่า ปาปชิคุจฺฉี. วฏฺฏโต นิพฺพนฺทตีติ วฏฺฏนิพฺพินฺโน. ผู้เบื่อหน่ายจากวัฏฏะ ชื่อว่า วฏฺฏนิพฺพินฺน.

กายทุจฺจริตโต วิรติ กายทุจฺจริตวิรติฯ เอวํ วจีทุจฺจริตวิรติ,
[ในกรณีบทหลังเป็นศัพท์ที่มีความหมายว่า วิรติ  (การงดเว้น) เช่น] กายทุจฺจริตโต วิรติ กายทุจฺจริตวิรติ การงดเว้น จากกายทุจริต ชื่อว่า กายทุจฺจริตวิรติ. วจีทุจฺจริตวิรติ (การงดเว้นจากวจีทุจริต) ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้.

พนฺธนา มุตฺโต พนฺธนมุตฺโตฯ เอวํ พนฺธนโมกฺโข,
ในกรณีที่บทหลัง เป็นศัพท์อันมีความหมายว่า โมจ  (การพ้น) เช่น พนฺธนา มุตฺโต พนฺธนมุตฺโต ผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก ชื่อว่า พนฺธนมุตฺต. พนฺธนโมกฺข (การพ้นจากเครื่องผูก) ก็มีนัยเดียวกันนี้.

กมฺมโต สมุฏฺฐิตํ กมฺมสมุฏฺฐิตํฯ เอวํ กมฺมชาตํ, กมฺมสมฺภูตํ, กมฺมนิพฺพตฺตํ,

[ในกรณีที่บทหลัง เป็นศัพท์อันมีความหมายอื่นซึ่งกล่าวไว้ด้วยอาทิศัพท์ เช่น] กมฺมโต สมุฏฺฐิตํ กมฺมสมุฏฺฐิตํ รูปที่เกิดกรรม ชื่อว่า กมฺมสมุฏฺฐิต. ตัวอย่างเหล่านี้ คือ กมฺมชาต (รูปที่เกิดจากกรรม), กมฺมสมฺภูตํ (รูปที่มีขึ้นจากกรรม), กมฺมนิพฺพตฺต (รูปที่เกิดขึ้นแล้วจากกรรม) ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้.

โลกโต อคฺโค โลกคฺโคฯ เอวํ โลกเชฏฺโฐ, โลกุตฺตโม, สพฺเพหิ เชฏฺโฐ สพฺพเชฏฺโฐ, สพฺเพหิ กนิฏฺโฐ สพฺพกนิฏฺโฐฯ เอวํ สพฺพหีโน, สพฺพปจฺฉิโม, อุกฺกฏฺฐโต อุกฺกฏฺโฐติ อุกฺกฏฺฐุกฺกฏฺโฐ, โอมกโต โอมโกติ โอมโกมโกฯ

โลกโต อคฺโค โลกคฺโคผู้เลิศกว่าโลก ชื่อว่า โลกคฺค. โลกเชฏฺฐ (ผู้เจริญกว่าชาวโลก), โลกุตฺตม (ผู้สูงส่งเหนือกว่าโลก) ก็มีนัยเดียวเช่นกันนี้. สพฺเพหิ เชฏฺโฐ สพฺพเชฏฺโฐ ผู้เจริญกว่าบุคคลทั้งปวง ชื่อว่า สพฺพเชฏฺฐ. สพฺเพหิ กนิฏฺโฐ สพฺพกนิฏฺโฐ. ผู้น้องกว่าบุตรทั้งปวง ชื่อว่า สพฺพกนิฏฺฐ. สพฺพหีโน (ผู้ต่ำต้อยกว่าบุคคลทั้งปวง), สพฺพปจฺฉิโม (ผู้เกิดในภายหลังกว่าชนทั้งปวง) ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. อุกฺกฏฺฐโต อุกฺกฏฺโฐติ อุกฺกฏฺฐุกฺกฏฺโฐ บาตรใหญ่กว่าบาตรใหญ่ ชื่อว่า อุกฺกฏฺฐุกฏฺฐ. โอมกโต โอมโกติ โอมโกมโก บาตรเล็กกว่าบาตรเล็ก ชื่อว่า โอมโกมก.

กฺวจิ นิจฺจสมาโส โหติ, มาติโต ชาโต มาตุโชฯ เอวํ ปิตุโช, กมฺมชํ, จิตฺตชํ, อุตุชํ อิจฺจาทิฯ
อิติ ปญฺจมีตปฺปุริโสฯ


ในบางตัวอย่าง เป็นสมาสแน่นอน เช่น มาติโต ชาโต มาตุโช ผู้เกิดจากมารดา ชื่อว่า มาตุช. ปิตุช (ผู้เกิดจากบิดา), กมฺมช (รูปอันเกิดจากรรม), จิตฺตช (รูปที่เกิดจากจิต), อุตุช (รูปที่เกิดจากจิต) ก็มีนัยเดียวกันนี้.
นี้เป็นปัญจมีตัปปุริสสมาส.


ฉฏฺฐีตปฺปุริส
รญฺโญ ปุตฺโต ราชปุตฺโตฯ เอวํ ราชปุริโส, พุทฺธสาวโก, สมุทฺทโฆโส, ธญฺญานํ ราสิ ธญฺญราสิ,

ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส
(ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส เช่น) รญฺโญ ปุตฺโต ราชปุตฺโต บุตรของพระราชา ชื่อว่า ราชปุตฺต (พระราชบุตร). ตัวอย่างเหล่านี้ คือ ราชปุริโส (บุรุษของพระราชา), พุทฺธสาวโก (พระสาวกของพระพุทธเจ้า), สมุทฺทโฆโส (เสียงของมหาสมุทร) ก็มีนัยเดียวกันนี้. ธญฺญานํ ราสิ ธญฺญราสิ กองแห่งข้าวเปลือก ชื่อว่า ธญฺญราสิ,

มตฺติกาย ปตฺโตติ มตฺติกาปตฺโต, วิการสมฺพนฺเธ ฉฏฺฐี, มตฺติกามยปตฺโตติ อตฺโถฯ เอวํ สุวณฺณกฏาหํ, สุวณฺณภาชนํ,

มตฺติกาย ปตฺโตติ มตฺติกาปตฺโต บาตรแห่งดินเหนียว ชื่อว่า มตฺติกาปตฺต. ฉัฏฐีวิภัตตินี้ ใช้ในความหมายแห่งวิการสัมพันธ์ (ความสัมพันธ์โดยเป็นสิ่งที่แปลงมา), ความหมายคือ บาตรที่ทำด้วยดินเหนียว. ตัวอย่างเหล่านี้ คือ สุวณฺณกฏาหํ (อ่างแห่งทองคำ), สุวณฺณภาชนํ (ภาชนะแห่งทองคำ) ก็มีนัยเดียวกันนี้.

ปานียสฺส ถาลกํ ปานียถาลกํฯ
ปานียสฺส ถาลกํ ปานียถาลกํ ถ้วยแห่งน้ำดื่ม ชื่อว่า ปานียถาลกํ. (ถ้าบทหลังเป็นอธิกรณสาธนะ ต้องเข้าสมาสกับบทหน้า เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาสอย่างแน่นอน ดังนั้น คำนี้  จึงหมายความว่า ถ้วยเป็นที่ใส่น้ำดื่ม)

สมาสมชฺเฌ อี, อูนํ พหุลํ รสฺสตฺตํ, ทณฺฑิโน กุลํ ทณฺฑิกุลํ, หตฺถิปทํ, อิตฺถิรูปํ, นทิกูลํ, นทิตีรํ, ภิกฺขุนีนํ สงฺโฆ ภิกฺขุนิสงฺโฆ, ชมฺพุยา สาขา ชมฺพุสาขา อิจฺจาทิฯ

โดยมากจะรัสสะอี และ อู กลางบทสมาส เช่น ทณฺฑิโน กุลํ ทณฺฑิกุลํ ตระกูลแห่งคนถือไม้เท้า ชื่อว่า ทณฺฑิกุลํ. หตฺถิปทํ (รอยเท้าแห่งช้าง), อิตฺถิรูปํ (รูปแห่งหญิง), นทิกูลํ (ที่ใกล้แห่งแม่น้ำ), นทิตีรํ (ฝั่งแห่งแม่น้ำ), ภิกฺขุนีนํ สงฺโฆ ภิกฺขุนิสงฺโฆ หมู่แห่งภิกษุนี ชื่อว่า ภิกฺขุนิสงฺโฆ, ชมฺพุยา สาขา ชมฺพุสาขา กิ่งแห่งต้นหว้า ชื่อว่า ชมฺพุสาขา.

อนฺต, มาน, นิทฺธารณิย, ปูรณ, ภาว, สุหิตตฺเถหิ สมาโส น โหติ, มมํ อนุกุพฺพนฺโต, มมํ อนุกุรุมาโน, คุนฺนํ กณฺหา สมฺปนฺนขีรตมาฯ

ไม่มีการเข้าสมาสกับบทหลังที่ลง อนฺตปัจจัย, มานปัจจัย, ที่เป็นนิทธารณิย (บทที่ถูกไข), ที่มีอรรถว่า ปูรณ (เป็นที่เต็ม), ภาว (ความเป็น) และ สุหิต (อิ่ม, เต็ม) เช่น มมํ อนุกุพฺพนฺโต ผู้ช่วยเหลือ ของข้าพเจ้า, มมํ อนุกุรุมาโน ผู้ช่วยเหลือ ของข้าพเจ้า, คุนฺนํ กณฺหา สมฺปนฺนขีรตมา บรรดาแม่โคทั้งหลาย แม่โคสีดำ มีน้ำนมสมบูรณ์ที่สุด.

วิภตฺตาวธิฉฏฺฐิยา ปน โหติเยว, นรานํ อุตฺตโม นรุตฺตโม, นรเสฏฺโฐ, นรวโร, คณานํ อุตฺตโม คณุตฺตโม, ทฺวิปทานํ อุตฺตโม ทฺวิปทุตฺตโม อิจฺจาทิฯ
แต่เข้าสมาสได้กับฉัฏฐีวิภัตติ และปัญจมีวิภัตติที่มีอรรถวิภัตตะ (การจำแนกเพื่อเปรียบเทียบ) เช่น นรานํ อุตตโม นรุตฺตโม ผู้สูงส่งกว่านรชนทั้งหลาย ชื่อว่า นรุตฺตม. ทฺวิปทานํ อุตฺตโม ทฺวิปทุตฺตโม ผู้สูงส่งกว่ามนุษย์ที่มีสองเท้าทั้งหลาย ชื่อว่า ทฺวิปทุตฺตม.

สิสฺสานํ ปญฺจโม สิสฺโส, กปฺปสฺส ตติโย ภาโค, ปกฺขสฺส อฏฺฐมี, ปฏสฺส สุกฺกตา, รูปสฺส ลหุตา, รูปสฺส มุทุตา, รูปสฺส กมฺมญฺญตาฯ กฺวจิ โหติ, กายลหุตา, จิตฺตลหุตา, พุทฺธสุพุทฺธตาฯ ธมฺมสุธมฺมตา,

สิสฺสานํ ปญฺจโม สิสฺโส ศิษย์เป็นที่เต็มจำนวน ๕ (ลำดับที่) แห่งศิษย์ทั้งหลาย,  กปฺปสฺส ตติโย ภาโค ส่วนที่ ๓ แห่งกัปป์, ปกฺขสฺส อฏฺฐมี ดีถีลำดับที่ ๘ แห่งปักษ์, ปฏสฺส สุกฺกตา ความสะอาดแห่งผ้า, รูปสฺส ลหุตา ความเบาแห่งรูป, รูปสฺส มุทุตา ความเบาแห่งรูป, รูปสฺส กมฺมญฺญตา ความควรแห่งรูป. บางแห่งเข้าสมาสก็มี เช่น กายลหุตา (ความเบาแห่งกาย), จิตฺตลหุตา (ความเบาแห่งจิต), พุทฺธสุพุทฺธตาความเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยดีแห่งพระพุทธเจ้า, ธมฺมสุธมฺมตา (ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม).

ผลานํ สุหิโต, ผลานํ ติตฺโต, ผลานํ อสิโต, กรณตฺเถ ฉฏฺฐีฯ

ผลานํ สุหิโต ผู้อิ่มหนำแล้วด้วยผลไม้, ผลานํ ติตฺโต ผู้เอิบอิ่มด้วยผล, ผลานํ อสิโต ผู้เพียงพอแล้วด้วยผลไม้. ตัวอย่างเหล่านี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ.

‘‘ภโฏ รญฺโญ ปุตฺโต เทวทตฺตสฺสา’’ติ เอตฺถ ราชปุตฺโตติ น โหติ อญฺญมญฺญานเปกฺขตฺตาฯ

ในตัวอย่างว่า ภโฏ รญฺโญ ปุตฺโต เทวทตฺตสฺส (บุตรของนายเทวทัต เป็นข้าราชการของพระราชา) นี้ไม่เข้าสมาสเป็น ราชปุตฺโต (พระราชบุตร) เพราะไม่มองหาซึ่งกันและกัน.[๓]

‘‘เทวทตฺตสฺส กณฺหา ทนฺตา’’ติ เอตฺถ เทวทตฺตกณฺหทนฺตาติ น โหติ อญฺญสาเปกฺขตฺตา ฯ

ในตัวอย่างว่า เทวทตฺตสฺส กณฺหา ทนฺตา (ฟันอันดำของนายเทวทัต) นี้ ไม่เข้าสมาสเป็น เทวทตฺตกณฺหทนฺตา (ฟันดำของนายเทวทัต) เพราะยังมีการมองหากันและกัน.[๔]

อญฺญสาเปกฺขตฺเตปิ นิจฺจํ สมฺพนฺธีเปกฺขสทฺทานํ สมาโส โหติ วากฺเย วิย สมาเสปิ สมฺพนฺธสฺส วิทิตตฺตาฯ วุตฺตญฺจ ‘‘สติปิ สาเปกฺขตฺเต คมกตฺตา สมาโส โหตี’’ติ[๕], เทวทตฺตคุรุกุลํ, ราชทาสีปุตฺโต, เทวทาสีปุตฺโต อิจฺจาทิฯ

แม้เมื่อความที่สัมพันธีเปกขศัพท์ (ศัพท์ที่มองหาสัมพันธีบทเสมอ) มีการมองหาบทอื่น แน่นอน การเป็นสมาสย่อมมีได้ เพราะสามารถรู้ความสัมพันธ์กัน(กับบทอื่น) แม้ในสมาสได้เหมือนในวากยะ. ดังข้อความที่กล่าว (ไว้ในคัมภีร์กัจจายนไวยากรณ์ สูตรที่ ๓๒๘) ว่า “สติปิ สาเปกฺขตฺเต คมกตฺตา สมาโส โหติ” (แม้ครั้นเมื่อความที่สัมพันธีศัพท์ท. มีการมองหาบทอื่นแน่นอน แม้มีอยู่, การทำสมาสกัน ย่อมมี เพราะความที่ศัพท์ท.เหล่านั้นสามารถให้รู้อรรถ) เช่น เทวทตฺตคุรุกุลํ ตระกูลของครูของเทวทัต, ราชทาสีปุตฺโต บุตรของทาสีของพระราชา, เทวทาสีปุตฺโต บุตรของทาสีของพระราชาผู้เป็นสมมุติเทพ.

ตตฺถ เทวทตฺตสฺส คุรุ เทวทตฺตคุรุ, ตสฺส กุลํ เทวทตฺตคุรุกุลนฺติ วิคฺคโหฯ คุรุโน กุลํ คุรุกุลํ, เทวทตฺตสฺส คุรุกุลํ เทวทตฺตคุรุกุลนฺติปิ วทนฺติฯ

ในตัวอย่างเหล่านั้น บทว่า เทวทตฺตคุรุกุลํ มีวิเคราะห์ว่า เทวทตฺตสฺส คุรุ เทวทตฺตคุรุ ครูของเทวทัต ชื่อว่า เทวทตฺตคุรุ, ตสฺส กุลํ เทวทตฺตคุรุกุลํ ตระกูลแห่งครูของเทวทัตนั้น ชื่อว่า เทวทตฺตคุรุกุลํ. บางตำรามีวิเคราะห์ว่า คุรุโน กุลํ คุรุกุลํ ตระกูลแห่งครู ชื่อว่า คุรุกุลํ, เทวทตฺตสฺส คุรุกุลํ เทวทตฺตคุรุกุลํ ตระกูลแห่งครู ของเทวทัต ชื่อว่า เทวทตฺตคุรุกุลํ.

‘‘รญฺโญ มาคธสฺส พิมฺพิสารสฺส ปุตฺโต’’ติ เอตฺถปิ อญฺญสาเปกฺขตฺตาพิมฺพิสารปุตฺโตติ น โหติ

แม้ในตัวอย่างนี้ว่า “รญฺโญ มาคธสฺส พิมฺพิสารสฺส ปุตฺโต พระราชบุตรของพระราชาแห่งแคว้นมคธ ทรงพระนามว่า พิมพิสาร” ไม่เป็นสมาสว่า “พิมฺพิสารปุตฺโต” เพราะ (บทว่า พิมฺพิสาโร) ยังมีการมองหาบทอื่น (คือ รญฺโญ).

รญฺโญ โค จ อสฺโส จ ปุริโส จาติ อตฺเถราชควสฺสปุริสาติ โหติ ทฺวนฺทโต ปุพฺพปทสฺส ทฺวนฺทปเทหิปิ ปจฺเจกํ สมฺพนฺธสฺส วิทิตตฺตา. ตถา ทฺวนฺทโต ปรปทสฺสปิ, นรานญฺจ เทวานญฺจ สารถิ นรเทวสารถิ.
อิติ ฉฏฺฐีตปฺปุริโสฯ






บทที่อยู่หน้าบททวันทสมาส เข้าสมาสแม้กับบททวันทสมาสซึ่งเป็นบทหลัง ก็ได้ เช่น ราชควสฺสปุริสา ซึ่งเป็นไปในความหมายว่า “โค, ม้า และบุรุษของพระราชา” เพราะให้รู้ความสัมพันธ์กันแต่ละบทได้. ถึงบทที่อยู่หลังทวันทสมาสก็เหมือนกัน เช่น นรเทวสารถิ สารถีของมนุษย์และเทวดา ซึ่งมีวิเคราะห์ว่า นรานญฺจ เทวานญฺจ สารถิ นรเทวสารถิ สารถี ของมนุษย์ด้วย ของเทวดาด้วย ชื่อว่า นรเทวสารถิ.
นี้เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส

สตฺตมีตปฺปุริส
สัตตมีตัปปุริสสมาส
สตฺตมีตปฺปุริเส รูเป สญฺญา รูปสญฺญาฯ เอตฺถ จ การกานํ กฺริยาสาธนลกฺขณตฺตา กฺริยาปเทเหว สมฺพนฺโธ โหติ, ตสฺมา อกฺริยวาจเกน ปรปเทน สทฺธิํ สมาเส ชาเต มชฺเฌ อนุรูปํ กฺริยาปทํ วิญฺญายติ, ยถา อสฺเสน ยุตฺโต รโถ อสฺสรโถอิติ รูเป สญฺญาติ รูเป อุปฺปนฺนา สญฺญาติ อตฺโถฯ

ในสัตตมีตัปปุริสสมาส มีตัวอย่างว่า รูเป สญฺญา  รูปสญฺญา สัญญาอันเป็นไปในรูป ชื่อว่า รูปสญฺญา.  อนึ่ง ในสัตตมีตัปปุริสสมาสนี้ ก็เพราะการกะมีลักษณะที่ทำให้กริยาสำเร็จ จึงสัมพันธ์กับบทกริยาแน่นอน, เพราะฉะนั้น เมื่อการเข้าสมาสกับบทหลัง ซึ่งมิได้กล่าวกิริยาเกิดขึ้นแล้ว,  แม้กริยาบทที่เหมาะสม ในท่ามกลาง ก็เป็นที่รู้กันเช่นเดียวกับตัวอย่างว่า อสฺเสน ยุตฺโต รโถ อสฺสรโถ. รถเทียมแล้วด้วยม้า ชื่อว่า อสฺสรถ รถม้า, ดังนั้น วากยะว่า รูเป สญฺญา จึงมีความหมายว่า รูเป อุปฺปนฺนา สญฺญา สัญญาอันเกิดขึ้นแล้วในรูป.

จกฺขุสฺมิํ วิญฺญาณํ จกฺขุวิญฺญาณํ, ธมฺเม รโต ธมฺมรโตฯ เอวํ ธมฺมรุจิ, ธมฺมคารโว, ทาเน อชฺฌาสโย ทานชฺฌาสโยฯ เอวํ ทานาธิมุตฺติ, วฏฺเฏ ภยํ วฏฺฏภยํ, วฏฺฏทุกฺขํ, คาเม สูกโร คามสูกโร, วนมหิํโส, สมุทฺทมจฺโฉ, อิตฺถีสุ ธุตฺโต อิตฺถิธุตฺโต, อิตฺถิโสณฺโฑฯ

วิญญาณอันเกิดขึ้นแล้วในรูป ชือว่า จกฺขุวิญฺญาณ. ผู้ยินดีแล้วในธรรม ชื่อว่า ธมฺมรต. ตัวอย่างว่า ธมฺมรุจิ (ความยินดีอันเกิดขึ้นแล้วในธรรม), ธมฺมคารว (ความเคารพอันเกิดขึ้นแล้วในธรรม) ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. ความน้อมไป อันเกิดขึ้นแล้ว ในทาน ชื่อว่า ทานชฺฌาสย. (ทานาธิมุตฺติ ความน้อมไปอันเกิดขึ้นแล้วในทาน) ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. ภัย อันเกิดขึ้นแล้วในวัฏฏะ ชื่อว่า วฏฺฏภยํ, วฏฺฏทุกฺขํ (ทุกข์อันเกิดขึ้นแล้วในวัฏฏะ) ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้, สุกร ที่มีอยู่ ในหมู่บ้าน ชื่อว่า คามสูกร, วนมหิํส (กระบือ ที่เที่ยวไปแล้วในป่า), สมุทฺทมจฺฉ (ปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำ) ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. บุคคลผู้กำหนัดมากในหญิงทั้งหลาย ชื่อว่า อิตฺถิธุตฺต. อิตฺถิโสณฺฑ (บุคคลผู้ติดใจในหญิง) ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้

อุปปทกิตนฺเตสุ นิจฺจสมาโส[๖], วเน จรตีติ วนจโร, กามาวจโร, กุจฺฉิมฺหิ สยตีติ กุจฺฉิสฺสโย, คพฺเภ เสตีติ คพฺภเสยฺโย, ถเล ติฏฺฐตีติ ถลฏฺโฐ, ชลฏฺโฐ, ปพฺพตฏฺโฐ, ปงฺเก ชาตํ ปงฺกชํฯ เอวํ อตฺรโช, เขตฺรโช อิจฺจาทิฯ

ในอุปบทกิตันตะ (สมาสที่ลงกิตปัจจัยซึ่งมีบทนำหน้าธาตุ) ย่อมเป็นสมาสอย่างแน่นอน เช่น บุคคลผู้เที่ยวไปในป่า ชื่อว่า วจนจโร, กามาวจโร (จิตที่เที่ยวไปในกาม) ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. สิ่งที่อยู่ในท้อง ชื่อว่า กุจฺฉิสฺสโย (ลม, อาหาร), สัตว์ที่นอนแล้วในครรภ์ ชื่อว่า คพฺภเสยฺโย, ต้นไม้ตั้งอยู่บนบก ชื่อว่า ถลฏฺโฐ, ชลฏฺโฐ (สัตว์ผู้ดำรงอยู่ในน้ำ), ปพฺพตฏฺโฐ (ต้นไม้ที่มีอยู่บนภูเขา) ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. ดอกไม้ที่เกิดแล้วในโคลน ชื่อว่า ปงฺกชํ,  อตฺรโช (ธรรมที่เกิดแล้วในตน), เขตฺรโช (ต้นข้าวที่มีอยู่ในนา)  ก็มีนัยเดียวกันนี้.

อิธ น โหติ[๗], โภชเน มตฺตญฺญุตา, อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวาโร, อาสเน นิสินฺโน, อาสเน นิสีทิตพฺพํฯ
อิติ สตฺตมีตปฺปุริโสฯ

ในตัวอย่างนี้ ไม่ต้องเข้าสมาส - โภชเน มตฺตญฺญุตา ความรู้จักประมาณ ในโภชนะ, อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวาโร ผู้มีทวารอันตนคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย, อาสเน นิสินฺโน นั่งแล้ว บนอาสนะ, อาสเน นิสีทิตพฺพํ พึงนั่ง บนอาสนะ.
นี้เป็นสัตตมีตัปปุริสสมาส

ลุตฺตตปฺปุริส
ตปฺปุริสปทานํ มหาวุตฺติสุตฺเตน กฺวจิ วิปลฺลาโสฯ
อุปริคงฺคา, เหฏฺฐานที, อนฺโตวิหาโร, อนฺโตสมาปตฺติ, หํสานํ ราชา ราชหํโส หํสราชา วา, มาสสฺส อฑฺฒํ อฑฺฒมาสํ, กหาปณสฺส อฑฺฒํ อฑฺฒกหาปณํ, อฑฺฒมาสํ, รตฺติยา อฑฺฒํ อฑฺฒรตฺตํฯ เอวํ ปุพฺพรตฺตํ, ปรรตฺตํ, อิสฺส อตฺตํฯ










ลุตตตัปปุริสสมาส
(ตัปปุริสสมาสที่มีการลบวิภัตติ)
บางอุทาหรณ์ มีการวางบทตัปปุริสสมาสไม่ตรงตำแหน่ง (คือสลับบทหน้าและบทหลัง) ได้บ้าง โดยใช้มหาวุตติสูตร (สูตรไวยากรณ์ซึ่งใช้สำเร็จรูปอุทาหรณ์ได้อย่างกว้างขวาง)[๘] เช่น
อุปริคงฺคา เหนือแห่งแม่น้ำคงคา, เหฏฺฐานที ใต้แม่น้ำ, อนฺโตวิหาโร ภายในแห่งวิหาร, อนฺโตสมาปตฺติ ภายในแห่งสมาบัติ, หํสานํ ราชา ราชหํโส หํสราชา วา ราชาแห่งหงษ์ทั้งหลาย ชื่อว่า ราชหํโส เป็น หํสราชา ก็มี, มาสสฺส อฑฺฒํ อฑฺฒมาสํ กึ่งแห่งเดือน ชื่อว่า อฑฺฒมาสํ, กหาปณสฺส อฑฺฒํ อฑฺฒกหาปณํ กึ่งแห่งกหาปณะ ชื่อว่ อฑฺฒกหาปนํ, อฑฺฒมาสํ (กึ่งแห่งเดือน), รตฺติยา อฑฺฒํ อฑฺฒรตฺตํ กึ่งแห่งราตรี ชื่อว่า อฑฺฒรตฺตํ. สองตัวอย่างต่อไปนี้ก็มีนัยเช่นเดียวกัน คือ ปุพฺพรตฺตํ (ส่วนแรกแห่งราตรี), ปรรตฺตํ (ส่วนหลังแห่งราตรี), แปลง อิ ที่รตฺติ เป็น อ.
กายสฺส ปุพฺพภาโค ปุพฺพกาโย, ปรกาโย, อหสฺส ปุพฺโพ ปุพฺพณฺโห, มชฺฌณฺโห, สายนฺโห, ปุพฺเพทิฏฺโฐ ทิฏฺฐปุพฺโพ, ตถาคตํ ทิฏฺฐปุพฺโพ เถโร, ตถาคโต ทิฏฺฐปุพฺโพ เถเรน อิจฺจาทิฯ
อิติ ลุตฺตตปฺปุริโสฯ
กายสฺส ปุพฺพภาโค ปุพฺพกาโย ส่วนแรกแห่งกาย ชื่อว่า ปุพฺพกาย, ปรกาโย (ส่วนหลังแห่งกาย), อหสฺส ปุพฺโพ ปุพฺพณฺโห ส่วนแรกแห่งวัน ชื่อว่าปุพฺพณฺห, มชฺฌณฺโห (ส่วนกลางแห่งวัน,กลางวัน), สายนฺโห (ส่วนหลังแห่งวัน) , ปุพฺเพ ทิฏฺโฐ ทิฏฺฐปุพฺโพ ได้เห็นแล้วในกาลก่อน ชื่อว่า ทิฏฺฐปุพฺโพ เห็นแล้วในกาลก่อน (ผู้เคยเห็น)[๙], ตถาคตํ ทิฏฺฐปุพฺโพ เถโร พระเถระผู้เคยเห็นพระตถาคตในกาลก่อน (ทิฏฺฐ ศัพท์ใช้ในอรรถกัตตา), ตถาคโต ทิฏฺฐปุพฺโพ เถเรน พระตถาคต อันพระเถระเคยเห็นในกาลก่อน (ทิฏฺฐ ศัพท์ใช้ในอรรถกรรม).
นี้เป็นลุตตตัปปุริสสมาส.

อลุตฺตตปฺปุริส
อลุตฺตตปฺปุริส
(ตัปปุริสสมาสที่ไม่ลบวิภัตติ)
อิทานิ อลุตฺตตปฺปุริสา วุจฺจนฺเตฯ
ทีปงฺกโร, ปภงฺกโร, อมตนฺทโท, ปุรินฺทโท, เวสฺสนฺตโร, อตฺตนฺตโป, ปรนฺตโป, รณญฺชโห, ชุตินฺธโร, วิชฺชนฺธโร, ทสฺสเนนปหาตพฺพธมฺโม, กุโตโช, ตโตโช, อิโตโช, ภยโต อุปฏฺฐานํ ภยตุปฏฺฐานํ, กฏตฺตากมฺมํ, กฏตฺตารูปํ, ปรสฺสปทํ, อตฺตโนปทํ, เทวานมินฺโท, เทวานํปิยติสฺโส, ควมฺปติตฺเถโร, ปุพฺเพนิวาโส, มชฺเฌกลฺยาณํ, ทูเรรูปํ, สนฺติเกรูปํ, ทูเรนิทานํ, สนฺติเกนิทานํ, อนฺเตวาสิโก, ชเนสุโต, กาเมสุมิจฺฉาจาโรอิจฺจาทิ[๑๐]


ต่อไปนี้จะกล่าวถึงอลุตตตัปปุริสสมาส.
ตัวอย่างของอลุตตตัปปุริสสมาส เช่นทีปงฺกโร (ผู้กระทำซึ่งที่พึ่ง, พระพุทธเจ้าทรงพระนามทีปังกร), ปภงฺกโร (ผู้กระทำซึ่งแสงสว่าง, พระอาติย์), อมตนฺทโท (ผู้ให้แล้วซึ่งอมตะ), ปุรินฺทโท (ผู้ให้ทานแล้วในกาลก่อน, พระอินทร์), เวสฺสนฺตโร (ผู้ประสูติแล้วภายในแห่งร้านตลาด), อตฺตนฺตโป (ผู้แผดเผาซึ่งตน), ปรนฺตโป (ผู้แผดเผาซึ่งผู้อื่น), รณญฺชโห (ผู้ละทิ้งซึ่งกิเลส), ชุตินฺธโร (ผู้ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง), วิชฺชนฺธโร (ผู้ทรงไว้ซึ่งวิชา), ทสฺสเนนปหาตพฺพธมฺโม (ธรรมอันทัสสนะพึงละ), กุโตโช (เกิดแล้วจากที่ไหน), ตโตโช (เกิดแล้วจากที่นั้น), อิโตโช (เกิดแล้วจากที่นี้), ภยโต อุปฏฺฐานํ ภยตุปฏฺฐานํ การเกิดชึ้นอย่างน่ากลัว ชื่อว่า ภยตุปฏฺฐานํ, กฏตฺตากมฺมํ  (กรรมเล็กน้อยอันบุคคลทำแล้ว, กฏัตตากรรม), กฏตฺตารูปํ (รูปอันกรรมกระทำแล้ว), ปรสฺสปทํ (บทเพื่อผู้อื่น), อตฺตโนปทํ (บทเพื่อตน), เทวานมินฺโท (ท้าวสักกะ ผู้ทรงเป็นจอมแห่งเทวดา), เทวานํปิยติสฺโส (พระเจ้าติสสะผู้เป็นที่รักแห่งเทวดา), ควมฺปติตฺเถโร (พระเถระผู้เป็นเจ้าของแห่งโค), ปุพฺเพนิวาโส (ความเป็นอยู่ในกาลก่อน), มชฺเฌกลฺยาณํ (งามในท่ามกลาง), ทูเรรูปํ (รูปในที่ไกล), สนฺติเกรูปํ (รูปในที่ใกล้), ทูเรนิทานํ (นิทานเหตุเป็นแดนเกิดในที่ไกล), สนฺติเกนิทานํ (เหตุเป็นแดนเกิดในที่ใกล้), อนฺเตวาสิโก (ศิษย์ผู้อยู่ภายในสำนัก), ชเนสุโต (ผู้เกิดในหมู่ชน), กาเมสุมิจฺฉาจาโร (การประพฤติในกามคือเมถุน).
อิติ อลุตฺตตปฺปุริโสฯ
นี้เป็นอลุตตตัปปุริสสมาส
สพฺโพ จายํ อมาทิตปฺปุริโส อภิเธยฺยวจโน ปรปทลิงฺโค จฯ

อมาทิตัปปุริสสมาสนี้ มีวจนะตามอภิเธยยะ (คือวิเสสยะ) และมีลิงค์เหมือนบทหลัง ทุกประเภท. [๑๑]
อมาทิตปฺปุริโส นิฏฺฐิโตฯ
อมาทิตัปปุริสสมาส จบแล้ว





[๑]  [ก. ๓๒๗; รู. ๓๕๑; นี. ๗๐๔; จํ. ๒.๒.๑๖]ฯ
[๒] [จีวรมูลฺยํ (รู. นี.)]
[๓] รญฺโญ เป็น ฉัฏฐีวิภัตติที่สัมพันธ์กับ “ภโฏ” ไม่ใช่สัมพันธ์กับ “ปุตฺโต” ที่อยุ่ข้างหลังตน เพราะ ภโฏ เรียกหา สัมพันธบท เพราะฉะนั้น รญฺโญ กับ ปุตฺโต แม้จะอยู่ใกล้กัน ก็ไม่ได้มองหาซึ่งกันและกัน จึงไม่สามารถเข้าสมาสเป็น ราชปุตฺโต ได้.
[๔] ในกรณีนี้ คือ หากเข้าสมาสเป็น เทวทตฺตกณฺหทนฺตา อาจสื่อความหมายได้ว่า ฟันของเทวทัตตัวดำ, ฟันดำของเทวทัต เพราะไม่ทราบความหมายว่า จะเอาความหมายใดแน่ เพราะทั้งสามบทยังมองหากันและกันโดยความเป็นวิเสสนะและวิเสสยะ.  ซึ่งมีข้อความอธิบายไว้ในคัมภีร์สัททนีติ สูตรที่ ๖๙๐ อนฺตริกสาเปกฺขสฺส อคมกตฺตา นานนฺตเรน สมาโส ไม่มีการเข้าสมาสกับบทที่อยู่ติดกัน เพราะยังมีความสัมพันธ์กับบทอื่นอยู่  หากนำเข้าสมาสกับบทอีกบทหนึ่ง ก็ทำให้ไม่สามารถรู้ความหมายได้. หมายความว่า ในกรณีที่มีบทวิเสสยะ ๑ บท บทวิเสสนะ ๒ บท รวมเป็น ๓ บทอยู่ในที่ดียวกัน ห้ามมิให้เข้าสมาสระหว่างบทที่ ๑ กับบทที่ ๒, บทที่ ๑ กับบทที่ ๓ และบทที่ ๒ กับบทที่ ๓ เพราะบทใดบทหนึ่งยังมีความสัมพันธ์กับบทอื่นอยู่ หากนำมาเข้าสมาส ก็จะไม่สามารถสื่อความหมายที่ตนประสงค์ให้ทราบอย่างชัดเจนได้. (คือ ไม่ทำเป็นสมาสว่า เทวทตฺตกณฺหา เทวทัตตัวดำ, เทวทตฺตทนฺตา ฟันของเทวทัต, กณฺทนฺตา ฟันดำ). คัมภีร์ปทรูปสิทธิ ยกตัวอย่างของการห้ามเข้าสมาสในลักษณะนี้ว่า โกสลสฺส รญฺโญ ปุตฺโต พระโอรสของพระราชาพระนามว่าโกศล. แม้ รญฺโญ และ ปุตฺโต มีการมองหากันและกันโดยเป็นวิเสสนะและวิเสสยะว่า โอรสของพระราชา. แต่ รญฺโญ นอกจากจะมองหาปุตฺโต แล้ว ยังมองหาบทหน้า คือ โกสลสฺส ด้วย ดังนั้น จึงไม่เข้าสมาสเป็น ราชปุตฺโต เพราะอาจเข้าใจความหมายผิดว่า โกสลสฺส ราชปุตฺโต พระโอรสของพระราชาแห่งโกศลรัฐได้.
[๕] [ก. ๓๒๘; รู. ๓๕๒; นี. ๖๙๑]
[๖] [นี. ๖๘๒]
[๗] [นี. ๖๘๑]
[๘] สมาสชนิดนี้ คัมภีร์ปทรูปสิทธิใช้ชื่อว่า อมาทิตัปปุริสสมาส ตัปปุริสสมาสที่มีการสลับบทหน้าซึ่งลงอํวิภัตติเป็นต้นมาเป็นบทหลัง. ส่วนคัมภีร์สัททนีติใชัชื่อว่า ทุราชานมัคคตัปปุริสสมาส ตัปปุริสสมาสมีวิธีการอันรู้ได้ยาก เพราะเป็นสมาสที่มีการสลับบทหน้ากับบทหลังในเวลาสำเร็จรูป จึงรู้ได้ยากต่อการที่จะทำให้รู้ได้ว่าเป็นตัปปุริสสมาส
[๙] ทิฏฺฐ ในตัวอย่างว่า ทิฏฺฐปุพฺพ นี้มีอรรถสองอย่าง คือ กัตตา และ กรรม ซึ่งท่านจะแสดงตัวอย่างในลำดับต่อไป. และดูอธิบายในสัททนีติสุตตมาลา (ทุราชานมัคคตัปปุริสสมาส)
[๑๐] [ก. ๓๒๗; รู. ๓๕๑; นี. ๖๘๖]
[๑๑] คำว่า อภิเธยฺยคือเนื้อความที่ศัพท์สื่อถึงโดยความเป็นตัวหลัก ซึ่งหมายถึง วิเสสยะ กล่าวคือคำนามตั้ง ดังนั้น ตัปปุริสสมาสนี้มีพจน์เหมือนพจน์ของอภิเธยยะ  (อภิเธยฺยวจโน) และมีลิงค์เหมือนกับศัพท์หลัง (ปรปทลิงฺโค)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น