วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การกกัณฑ์ ๑ ปฐมาวิภัตติ


๓. การกกณฺฑ
ปฐมาวิภตฺติราสิ
๓. การกกัณฑ์
กลุ่มเนื้อความของปฐมาวิภัตติ
อถ นามวิภตฺตีนํ อตฺถเภทา วุจฺจนฺเตฯ
ต่อจากนามกัณฑ์ จะกล่าวถึงประเภทแห่งความหมายของวิภัตตินาม.

กสฺมิํ อตฺเถ ปฐมา?
ปฐมาวิภัตติใช้ในความหมายอะไรบ้าง?

๒๘๙. ปฐมตฺถมตฺเต [๑]
ลงปฐมาวิภัตติในศัพท์ที่เป็นเพียงเนื้อความของคำนาม.


นามสฺส อภิเธยฺยมตฺเต ปฐมาวิภตฺติ โหติฯ
รุกฺโข, มาลา, ธนํฯ
ปฐมาวิภัตติ ย่อมลง ในศัพท์ที่เป็นเพียงเนื้อความของคำนาม เช่น
รุกฺโข ต้นไม้, มาลา ดอกไม้, ธนํ ทรัพย์

เอตฺถ จ มตฺตสทฺเทน กตฺตุ, กมฺมาทิเก วิภตฺยตฺเถ นิวตฺเตติฯ ตสฺมา อตฺถมตฺตนฺติ ลิงฺคตฺโถเยว วุจฺจติ.
ในเรื่องนี้ ย่อมปฏิเสธเนื้อความมีกัตตาและกรรมเป็นต้นของวิภัตติทั้งหลาย ด้วย มตฺต ศัพท์ (ที่แปลว่า เป็นเพียงเนื้อความ). เพราะฉะนั้น จึงอธิบายลิงคัตถะนั่นเองได้ว่า เป็นเพียงเนื้อความ.

ตตฺถ อนุจฺจาริเต สติ สุณนฺตสฺส อวิทิโต อตฺโถ ลีนตฺโถ นามฯ ตํ ลีนมตฺถํ คเมติ โพเธตีติ ลิงฺคํ,            อุจฺจาริตปทํฯ
ในคำว่า ลิงฺคตฺถ (เนื้อความของลิงค์) นั้น เมื่อยังไม่มีการกล่าวขึ้น เนื้อความที่ยังไม่รู้ แห่งบุคคลผู้ได้ยิน ชื่อว่า เนื้อความที่แอบแฝง ดังนั้น บทที่กล่าวขึ้น ชื่อว่า ลิงค์ เพราะทำให้รู้เนื้อความที่แอบแฝงนั้น.

ตํ ปน ปกติลิงฺคํ, นิปฺผนฺนลิงฺคนฺติ ทุวิธํฯ ตตฺถ วิภตฺติรหิตํ ปกติลิงฺคํ อิธาธิปฺเปตํ ลิงฺค, วิภตฺตีนํ วิสุํ วิสุํ วิภาคฏฺฐานตฺตาฯ
ลิงค์ มี ๒ อย่าง คือ ปกติลิงค์ (ลิงค์หรือนามศัพท์ที่ยังไม่ประกอบวิภัตติ) และ นิปผันนลิงค์ (ลิงค์ที่สำเร็จจากกรรมกล่าวคือเพศชายและเพศหญิง). บรรดาลิงค์ ๒ อย่างนั้น ในที่นี้หมายถึง ปกติลิงค์ ที่ปราศจากวิภัตติ เพราะเป็นพื้นฐานของการจำแนกวิภัตติออกเป็นแต่ละประเภทๆ.

ลีนํ องฺคนฺติ ลิงฺคํฯ ตตฺถ ลีนนฺติ อปากฏํฯ องฺคนฺติ อวยโวฯ ลิงฺคํ, นามํ, ปาฏิปทิกนฺติ อตฺถโต เอกํ.
คำว่า ลิงฺค (ลิงค์) มีรูปวิเคราะห์ว่า
ลีนํ องฺคนฺติ ลิงฺคํ ส่วนอันแอบแฝง ชื่อว่า ลิงค์.
ในรูปวิเคราะห์นั้น บทว่า ลีนํ ความเท่ากับ อปากฏํ คือ ไม่ปรากฏ.  บทว่า องฺคํ ความเท่ากับ  อวยโว คือ ส่วน.  ๓ ศัพท์นี้  คือ ลิงฺค, นาม, ปาฏิปทิก มีความหมายเหมือนกัน.

ลิงฺคสฺส อตฺโถ ปรมตฺโถ, ปญฺญตฺติอตฺโถติ ทุวิโธฯ ตถา วิเสสนตฺโถ, วิเสสฺยตฺโถติฯ
เนื้อความของลิงค์ มี ๒ อย่าง คือ เนื้อความที่เป็นปรมัตถ์ และ เนื้อความที่เป็นบัญญัติ. และมี ๒ อย่างอีกเช่นกันคือ เนื้อความที่เป็นวิเสสนะ และ เนื้อความที่เป็นวิเสสยะ.

ตตฺถ วิเสสนตฺโถ นาม สกตฺโถ, ตสฺส ตสฺส สทฺทสฺส ปฏินิยโต ปาฏิปุคฺคลิกตฺโถติ วุตฺตํ โหติ. โสเยว ตสฺมิํ ตสฺมิํ อตฺเถ อาทิมฺหิ สทฺทุปฺปตฺติยา จิรกาลญฺจ สทฺทปวตฺติยา นิพทฺธการณตฺตา นิมิตฺตตฺโถติ จ วุจฺจติ. โส สุติ, ชาติ, คุณ, ทพฺพ, กฺริยา, นาม, สมฺพนฺธวเสน สตฺตวิโธ โหติ.
บรรดาเนื้อความที่เป็นวิเสสนะและที่เป็นวิเสสยะนั้น เนื้อความของตนเอง ชื่อว่า วิเสสนะ ได้แก่ เนื้อความที่มีอยู่เฉพาะตน อันถูกกำหนดแล้วสำหรับเสียงนั้น.  อนึ่ง วิเสสนะนั้นนั่นเอง ถูกเรียกว่า นิมิตตัตถะ (เนื้อความอันเป็นเหตุ) เพราะเป็นความเกิดขึ้นของเสียงในคราวแรก และเพราะเป็นเหตุเกิดขึ้นแน่นอน แห่งความเป็นไปของคำศัพท์ (ที่เป็นไป) ตลอดกาลเนิ่นนาน ในเนื้อความนั้นๆ. เนื้อความที่เป็นวิเสสนะนั้นมีอยู่ ๗ ประการคือ สุติ, ชาติ, คุณ, ทัพพะ, กิริยา, นาม และ สัมพันธ์. (ดูอธิบายในย่อหน้าถัดไปด้วยคำอธิบายของท่านเอง)

วิเสสฺยตฺโถ นาม สามญฺญตฺโถ, พหุนิมิตฺตานํ สาธารณตฺโถติ วุตฺตํ โหติ, โสเยว ตํตํนิมิตฺตโยคา   เนมิตฺตกตฺโถติ จ วุจฺจติ, โส ชาติ, คุณ, ทพฺพ, กฺริยา, นามวเสน ปญฺจวิโธฯ โค, สุกฺโก, ทณฺฑี, ปาจโก,         ติสฺโสติฯ
เนื้อความสามัญ ชื่อว่า วิเสสยะ. หมายความว่า เป็นเนื้อความที่สาธารณะต่อเหตุทั้งปวง. วิเสสยะ ท่านเรียกว่า เนมิตตกัตถะ (เนื้อความอันประกอบด้วยเหตุ) เพราะประกอบด้วยเหตุนั้นๆ. วิเสสยัตถะนั้นมีอยู่ ๕ อย่าง คือ ชาติ, คุณ, ทัพพะ, กิริยา, นาม. เช่น โค วัว (ชาติ) สุกฺโก ขาว (คุณ), ทณฺฑี ผู้มีไม้เท้า (ทัพพะ), ปาจโก พ่อครัว (กิริยา), ติสฺโส นายติสสะ (นาม)

ตตฺถ โคสทฺโท ยทา ชาติมตฺตํ วทติ โค ชาตีติ, ตทา สุติ วิเสสนํฯ ยทา ทพฺพํ วทติ โค คจฺฉตีติ, ตทา สุติ จ ชาติ จ วิเสสนํฯ
บรรดาวิเสสยัตถะทั้ง ๕ นั้น โคศัพท์,  เมื่อกล่าวเพียงชาติ คำว่า โค ชาติ (พวกโค) ดังนี้ เสียงเป็นวิเสสนะ, เมื่อกล่าวถึงทัพพะว่า โค คจฺฉติ วัวย่อมไป,  ทั้งเสียงและชาติ ก็เป็นวิเสสนะ.
สุกฺกสทฺโท ยทา คุณมตฺตํ วทติ สุกฺโก คุโณติ, ตทา สุติ วิเสสนํฯ ยทา คุณวิเสสํ วทติ โคสฺส สุกฺโกติ, ตทา สุติ จ คุณชาติ จ วิเสสนํฯ ยทา คุณวนฺตํ ทพฺพํ วทติ สุกฺโก โคติ, ตทา สุติ จ คุณชาติ จ คุณวิเสโส จ สมฺพนฺโธ จ วิเสสนํฯ
สุกฺก ศัพท์, เมื่อกล่าวเพียงคุณว่า สุกฺโก คุโณ (สีขาว) สีขาวเป็นตุณลักษณะ เสียงก็เป็นวิเสสนะ. เมื่อกล่าวเจาะจงคุณเป็นพิเศษว่า โคสฺส สุกฺโก (สีขาวของวัว) ทั้งเสียงและคุณชาติ เป็นวิเสสนะ. เมื่อกล่าวถึงสิ่งของที่มีคุณลักษณะว่า สุกฺโก โค (วัว สีขาว), ทั้งเสียง, คุณชาติ, คุณพิเศษ และสัมพันธ์ ก็เป็นวิเสนะ.

ทณฺฑีสทฺโท ยทา ชาติมตฺตํ วทติ ทณฺฑี ชาตีติ, ตทา สุติ จ ทพฺพญฺจ วิเสสนํฯ ยทา ทพฺพวนฺตํ ทพฺพํ วทติ ทณฺฑี ปุริโสติ, ตทา สุติ จ ทพฺพญฺจ ชาติ จ สมฺพนฺโธ จ วิเสสนํฯ
ทณฺฑีศัพท์, เมื่อกล่าวเพียงชาติว่า ทณฺฑี ชาติ (พวกคนมีไม้เท้า) เสียงและทัพพะ ก็เป็นวิเสสนะ, เมื่อกล่าวถึงทัพพะอันมีทัพพะ ว่า ทณฺฑี ปุริโส (บุรุษมีไม้เท้า).  เสียง, ทัพพะ, ชาติ และ สัมพันธะ ก็เป็นวิเสสนะ.

ปาจกสทฺโท ยทา ชาติมตฺตํ วทติ ปาจโก ชาตีติ, ตทา สุติ จ กฺริยา จ วิเสสนํฯ ยทา กฺริยานิปฺผาทกํ ทพฺพํ วทติ ปาจโก ปุริโสติ, ตทา สุติ จ กฺริยา จ ชาติ จ กฺริยาการกสมฺพนฺโธ จ วิเสสนํฯ
ปาจกศัพท์, เมื่อกล่าวเพียงชาติว่า ปาจโก ชาติ (พวกพ่อครัว). เสียง, กิริยา ก็เป็นวิเสสนะ. เมื่อกล่าวถึงทัพพะที่สำเร็จแต่กิริยาว่า ปาจโก ปุริโส (บุรุษผู้เป็นพ่อครัว), ทั้งเสียง, กิริยา, และความสัมพันธ์ระหว่างกิริยาและการกะ ก็เป็นวิเสสนะ.

ติสฺสสทฺโท ยทา นามมตฺตํ วทติ ติสฺโส นามนฺติ, ตทา สุติ วิเสสนํฯ ยทา นามวนฺตํ ทพฺพํ วทติ, ติสฺโส ภิกฺขูติ, ตทา สุติ จ นามชาติ จ สมฺพนฺโธ จ วิเสสนํฯ
ติสฺส ศัพท์, เมื่อกล่าวเพียงชื่อว่า ติสฺโส นามํ (ชื่อว่า ติสสะ), เสียงก็เป็นวิเสสนะ. เมื่อกล่าวถึงทัพพะอันมีชื่อว่า ติสฺโส ภิกฺขู (ภิกษุชื่อว่า ติสสะ). เสียง, นามชาติ และความสัมพันธ์ ก็เป็นวิเสสนะ.

สพฺพตฺถ ยํ ยํ วทตีติ วุตฺตํ, ตํ ตํ วิเสสฺยนฺติ จ ทพฺพนฺติ จ เวทิตพฺพํฯ
ในตัวอย่างทั้งหมด ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่า (บุคคล) ย่อมกล่าวถึงสิ่งใดๆ,  สิ่งนั้นๆ พึงทราบว่า เป็นวิเสสยะและทัพพะ.

เอตฺถ จ สุติ นาม สทฺทสภาวา เอว โหติ, สทฺทปกฺขิกา เอวฯ สพฺโพ สทฺโท ปฐมํ สตฺตาภิธายโกติ[๒] จ ญาเส วุตฺตํฯ ตสฺมา สพฺพตฺถ สุติฏฺฐาเน สตฺตา เอว ยุตฺตา วตฺตุนฺติฯ สตฺตาติ จ ตสฺส ตสฺส อตฺถสฺส โวหารมตฺเตนปิ โลเก วิชฺชมานตา วุจฺจติ, ตํ ตํ สทฺทํ สุณนฺตสฺส จ ญาณํ ตํตทตฺถสฺส อตฺถิตามตฺตํ สพฺพปฐมํ ชานาติ, ตโต ปรํ ชาติสทฺเท ชาติํ ชานาติฯ คุณสทฺเท คุณนฺติ เอวมาทิ สพฺพํ วตฺตพฺพํฯ ลิงฺค, สงฺขฺยา,             ปริมาณานิปิ วิเสสนตฺเถ สงฺคยฺหนฺติฯ
ในข้อความเหล่านี้, ชื่อว่า สุติ ได้แก่ สิ่งที่มีเสียงเป็นสภาพ, คือ เป็นสิ่งที่ตกไปในฝ่ายเสียงเท่านั้น. ในคัมภีร์นยาสะ ท่านกล่าวว่า “เสียงทั้งหมด เป็นชื่อเรียกของสัตว์ในคราวแรก” เพราะเหตุนั้น ควรจะกล่าวสัตว์นั่นเองไว้ในฐานะแห่งสุติทั้งปวง. เพราะท่านเรียกความที่เนื้อความนั้นๆ มีอยู่ในโลก แม้โดยเป็นเพียงโวหารว่า สัตว์, เมื่อบุคคลได้ยินเสียงนั้นๆ ญาณ ย่อมรู้ซึ่งเพียงความมีอยู่แห่งเนื้อความนั้นๆ ก่อนกว่าบัญญัติทั้งปวง, ต่อมา จึงรูัชาติ (พวก) ในชาติศัพท์[๓]. ต่อมา จึงรู้คุณ (คุณลักษณะ) ในคุณศัพท์[๔]  นักศึกษาพึงกล่าวอย่างนี้เป็นต้น.
แม้ลิงค์ สังขยาน และปริมาณ สงเคราะห์เข้าในวิเสสนัตถะ.

ตตฺถ ลิงฺคํ นาม เย อิตฺถิ, ปุริสานํ ลิงฺค, นิมิตฺต, กุตฺตากปฺปา นาม อภิธมฺเม วุตฺตา, เย จ นปุํสกานํ ลิงฺค, นิมิตฺต, กุตฺตากปฺปา นาม อวุตฺตสิทฺธา, เย จ สทฺเทสุ เจว อตฺเถสุ จ วิสทาวิสทาการ, มชฺฌิมาการา สนฺทิสฺสนฺติ, สพฺพเมตํ ลิงฺคํ นามฯ
บรรดาเนื้อความมีลิงค์เป็นต้นเหล่านั้น
ลิงค์ ได้แก่ ลิงค์ เหล่านี้ทั้งหมด คือ  ลิงคะ (รูปร่างสัณฐานมีแขน ขา หน้าตา เพศ เป็นต้น) ของบุรษ และหญิง, นิมิตตะ (เครื่องหมาย เช่น หนวด เครา เป็นต้น),  กุตตะ (นิสัย เช่น การเล่น การกระทำต่างๆ),  อากัปปะ (กิริยาอาการ เช่น การเดิน ยืน นั่ง นอน กิน พูด เป็นต้น)  ซึ่งกล่าวไว้ในพระอภิธรรม, ลิงคะ, นิมิตตะ กุตตะ และอากัปปะของพวกนปุงสกลิงค์ ที่สำเร็จได้โดยไม่ได้กล่าวไว้[๕]. และ วิสทการะ อาการที่สะอาด (รู้ง่าย) อวิสทการะ ไม่สะอาด (รู้ยาก) และ มัชฌิมาการะ เป็นกลางๆ ในศัพท์และอรรถ ที่ถูกแสดงโดยเปรียบเทียบกัน,

เอวํ วิเสสน, วิเสสฺยวเสน ทุวิโธ อตฺโถ ปุพฺเพ วุตฺตสฺส สทฺทลิงฺคสฺส อตฺโถ นาม, โส สลิงฺโค, สสงฺขฺโย, สปริมาโณ จาติ ติวิโธ โหติฯ
อัตถะ (เนื้อความ) มี ๒ อย่าง คือ วิเสสนัตถะและวิเสสยัตถะ เช่นกัน คือ เนื้อความแห่งสัททลิงค์ ที่กล่าวไว้ในตอนต้น. เนื้อความแห่งสัททลิงค์มี ๓ อย่าง[๖] คือ
๑) สลิงคะ (มีเพศ คือ แสดงเพศทางไวยากรณ์ คือ ปุงลิงค์ อิตถีลิงค์ และนปุงสกลิงค์)
๒) สสังขยะ (มีจำนวนนับ คือ แสดงจำนวนนับ)
๓) สปริมาณะ (มีปริมาณ หมายถึง เป็นนามศัพท์ที่แสดงปริมาณ).

ตตฺถ สลิงฺโค ยถา? สญฺญา, ผสฺโส, จิตฺตํฯ กญฺญา, ปุริโส, กุลํฯ มาลา, รุกฺโข, ธนนฺติฯ
สสงฺขฺโย ยถา? เอโก, ทฺเว, ตโย, พหู อิจฺจาทิฯ
สปริมาโณ ยถา? วิทตฺถิ, หตฺโถ, โทโณ, อาฬฺหกํ อิจฺจาทิฯ
บรรดาเนื้อความเหล่านั้น
สลิงคะ (เนื้อความที่แสดงลิงค์คือเพศทางไวยากรณ์) เช่น
สญฺญา ความจำ, ผสฺโส การกระทบ, จิตฺตํ จิต.
กญฺญา หญิงสาว, ปุริโส บุรุษ, กุลํ ตระกูล
มาลา ดอกไม้, รุกฺโข ต้นไม้, ธนํ ทรัพย์ [๗]

สสังขยะ (เนื้อความที่แสดงจำนวนนับ) เช่น
เอโก หนึ่ง, เทฺว สอง, ตโย สาม, พหู จำนวนมาก

สปริมาณะ (เนื้อความที่แสดงปริมาณ) เช่น
วิทตฺถิ คืบ, หตฺโถ ศอก, โทโณ ทะนาน, อาฬฺหก อาฬหกะ (๔ นาฬิ กล่าวคือ ทะนาน)

อปิ จ สุทฺโธ, สํสฏฺโฐติ ทุวิโธ ลิงฺคตฺโถฯ ตตฺถ กมฺมาทิสํสคฺครหิโต สุทฺโธ นามฯ โส สลิงฺโค, สสงฺขฺโย, สปริมาโณ, อุปสคฺคตฺโถ, นิปาตตฺโถ, ปาฏิ-ปทิกตฺโถติ ฉพฺพิโธฯ อตฺถิ, สกฺกา, ลพฺภาอิจฺจาทิ อิธ ปาฏิปทิกํ นามฯ ตุน, ตฺวาน, ตฺวา, ตเว, ตุํ, ขตฺตุํปจฺจยนฺตาปิ นิปาเตสุ คยฺหนฺติฯ
อนึ่ง ลิงคัตถะ (ลิงคมัตตะ หรือ เพียงเนื้อความของนามศัพท์ ที่เรียกว่า ลิงค์ ในที่นี้) มี ๒ อย่าง คือ สุทธลิงคัตถะ และ สังสัฏฐลิงคัตถะ.
บรรดาลิงคัตถะ ๒ อย่างนั้น
สุทธลิงคัตถะ ได้แก่ ลิงคัตถะที่ไม่ปะปนจากเนื้อความมีกรรมเป็นต้น. ลิงคัตถะนี้แบ่งออกเป็น ๖ อย่าง คือ สลิงคะ, สสังขยะ, สปริมาณะ, อุปสัคคัตถะ, นิปาตัตถะ และปาฏิปทิกัตถะ. ปาฏิปทิกะ ได้แก่ อตฺถิ สกฺกา ลพฺภา เป็นต้น[๘]. แม้นามศัพท์ที่มีปัจจัยเหล่านี้เป็นที่สุด คือ ตุน ตวาน ตเว ตุํ ขตฺตุํ เป็นต้น ถูกสงเคราะห์ไว้ในนิบาต.

สํสฏฺโฐ วุตฺตสํสฏฺโฐ, อวุตฺตสํสฏฺโฐติ ทุวิโธฯ ตตฺถ วุตฺตสํสฏฺโฐ จตุพฺพิโธ สมาเสน วุตฺตสํสฏฺโฐ,            ตทฺธิเตน, อาขฺยาเตน, กิเตนาติฯ ตตฺถ สมาเสน วุตฺโต ฉการกสมฺพนฺธวเสน สตฺตวิโธ, ภาเวน สทฺธิํ           อฏฺฐวิโธ วา, ตถา ตทฺธิเตน วุตฺโตฯ อาขฺยาเตน วุตฺโต กตฺตุ, กมฺม, ภาววเสน ติวิโธฯ กิเตน วุตฺโต ฉการก, ภาววเสน สตฺตวิโธฯ สพฺโพ สุทฺโธ เจว วุตฺตสํสฏฺโฐ จ ปฐมาย วิสโยฯ
สังสัฏฐลิงคัตถะ มี ๒ อย่าง คือ วุตตสังสัฏฐะ (สังสัฏฐลิงคัตถะที่ถูกวาจกใหญ่มีสมาสเป็นต้นกล่าว) และ อวุตตสังสัฏฐะ (สังสัฏฐลิงคัตถะที่ไม่ถูกวาจกใหญ่มีสมาสเป็นต้นกล่าว).
บรรดาสังสัฏฐลิงคัตถะ ๒ อย่างนั้น วุตตสังสัฏฐลิงคัตถะมี ๔ อย่าง คือ ลิงคัตถะที่ถูกสมาสกล่าว, ... ที่ถูกตัทธิต, ... อาขยาต ... , และ สังสัฏฐที่ถูกกิตกล่าว. บรรดาวุตตสังสัฏฐลิงคัตถะ ๔ นั้น ที่ถูกสมาสกล่าว มี ๗ คือ การกะ ๖ และสัมพันธะ ๑, หรืออีกอย่างหนึ่ง มี ๘ อย่าง คือ ๗ อย่างดังกล่าวข้างต้นนั้นพร้อมกับภาวะ ๑. ที่ถูกอาขยาตกล่าว มี ๓ คือ กัตตา, กรรม และภาวะ. ที่ถูกกิตกล่าว มี ๗ คือ การกะ ๖, และภาวะ ๑. ทั้งสุทธลิงคัตถะทั้งหมด และวุตตสังสัฏฐะ เป็นที่ลงแห่งปฐมาวิภัตติ.

อวุตฺตสํสฏฺโฐปิ กตฺตุสํสฏฺโฐ, กมฺมสํสฏฺโฐติอาทินา อเนกวิโธฯ โส ทุติยาทีนํ เอว วิสโยติฯ เอตฺถ จ วิภตฺติยา วินา เกวโล สทฺโท ปโยคํ นารหตีติ กตฺวา ปโยคารหตฺถเมว ฉพฺพิเธ สุทฺเธ จตุพฺพิเธ จ วุตฺตสํสฏฺเฐ ปฐมา ปยุชฺชติ, น อตฺถโชตนตฺถํฯ
แม้อวุตตสังสัฏฐลิงคัตถะ ชนิดที่ไม่ถูกสมาสเป็นต้นกล่าวมีหลายประการ เช่น กัตตุสังสัฏฐะ, กัมมสังสัฏฐะเป็นต้น. อวุตตสังสัฏฐลิงคัตถะนั้นเป็นที่ตั้งแห่งทุติยาวิภัตติเป็นต้นนั่นเทียว. อนึ่ง ในสูตรว่า ปฐมมตฺถมตฺเต (ลงปฐมาวิภัตติในที่เป็นเพียงเนื้อความของลิงค์)” นี้ ศัพท์ล้วนๆ ที่เว้นจากวิภัตติ ไม่เหมาะสมจะเป็นบท เพราะเหตุนี้ จึงประกอบปฐมาวิภัตติเท่านั้นไว้ในสุทธลิงคัตถะ ๖ และวุตตสังสัฏฐ-ลิงคัตถะ ๔ เพื่อความเหมาะสมต่อความเป็นบทเท่านั้น,  มิใช่เพื่อแสดงความหมาย.

เกนจิ วาจเกน อวุตฺตานิ ปน กมฺมาทีนิ วิภตฺตีหิ วินา วิทิตานิ น โหนฺตีติ กตฺวา อตฺถโชตนตฺถมฺปิ กมฺมาทีสุ ทุติยาทโย ปยุชฺชนฺติฯ ตสฺมา อตฺถมตฺเตติ อิธ เทสนฺตราวจฺเฉทเก วิสยมตฺเต ภุมฺมํฯ กมฺเม ทุติยาอิจฺจาทีสุ ปน นิปฺผาเทตพฺเพ ปโยชเน ภุมฺมนฺติ เอวํ ทฺวินฺนํ ภุมฺมานํ นานตฺตํ เวทิตพฺพนฺติฯ
ทว่า สังสัฏฐะมีกรรมเป็นต้น ที่ไม่ถูกวาจกใดๆ กล่าว หากเว้นจากวิภัตติ จะไม่เป็นอันถูกรู้ได้เลย เพราะเหตุนี้ จึงประกอบทุติยาวิภัตติเป็นต้นไว้ในสังสัฏฐะมีกรรมเป็นต้น แม้เพื่อแสดงความหมายด้วย เพราะเหตุนั้น ในคำว่า อตฺถมตฺเต (เป็นเพียงเนื้อความ) นี้ จึงลงสัตตมีวิภัตติในที่่เป็นเพียงที่ตั้ง อันกำหนดสถานที่อย่างใดอย่างหนึ่ง. ส่วนในสูตรเป็นต้นว่า กมฺเม ทุติยา (ลงทุติยาวิภัตติ ในอรรถกรรม) ดังนี้ ลงสัตตมีวิภัตติ ในบทอันเป็นการกะ[๙] ดังนั้น ควรทราบความต่างกันแห่งสัตตมีวิภัตติทั้งสองอย่างนี้.

๒๙๐. อามนฺตเน[๑๐]
ลงปฐมาวิภัตติ ในความเรียกให้รู้ตัว.

ปเคว สิทฺธสฺส วตฺถุโน นาเมน วา นิปาเตน วา อตฺตโน อภิมุขีกรณํ อามนฺตนํ นามฯ อธิกามนฺตเน  อตฺถมตฺเต ปฐมา โหติฯ เอตฺถ จ อามนฺตนปทํ นาม กฺริยาเปกฺขํ น โหติ, ตสฺมา การกสญฺญํ น ลภติฯ
อามันตนะ (อาลปนะ คือ การเรียก) ได้แก่ การใช้คำนามหรือนิบาต ทำซึ่งสิ่งอันสำเร็จอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น ให้มุ่งมาที่ตน[๑๑]. ลงปฐมาวิภัตติ ในความเป็นเพียงเนื้อความ ซึ่งผนวกการเรียกนั้นไว้ (ด้วยสูตรนี้).  อนึ่ง ในสูตรนี้ ธรรมดาว่า บทอามันตนะ จะไม่มองหากิริยา, ฉะนั้น จึงไม่ได้ชื่อว่า การกะ.

ตํ ปน ทุวิธํ สาทรานาทรวเสนฯ เอหิ สมฺม, เอหิ เชติฯ
อามันตนะ มี ๒ อย่าง คือ สาทรอามันตนะ (เรียกอย่างไม่เคารพ) และ อนาทรอามันตนะ (เรียกอย่างไม่เคารพ) เช่น
เอหิ สมฺม
เชิญเถิด สหาย,

เอหิ เช
เฮ้ย เจ้าจงไป.

ตถา สชีว, นิชฺชีววเสน, โภ ปุริส, วเทหิ โภ สงฺข, วเทหิ โภ สงฺขฯ อุมฺมุชฺช โภ ปุถุสิเล, อุมฺมุชฺช โภ ปุถุสิเลติ ฯ
มีอีก ๒ อย่าง คือ สชีวอามันตนะ (เรียกสิ่งมีชีวิต) และ อชีวมันตนะ (เรียกสิ่งไม่มีชีวิต) เช่น
โภ ปุริส
บุรุษผู้เจริญ, 

วเทหิ โภ สงฺข, วเทหิ โภ สงฺข. [ที.ม.๑๐/๓๑๕]
พูดซิพ่อสังข์, พูดซิพ่อสังข์.  

อุมฺมุชฺช โภ ปุถุสิเล, อุมฺมุชฺช โภ ปุถุสิเล. [สํ.สฬา.๑๘/๕๙๙]
ท่านก้อนหิน ขอจงลอยขึ้นเถิด, ท่านก้อนหิน ขอจงลอยขึ้นเถิด.

ตถา ปจฺจกฺขาปจฺจกฺขวเสน, โภ ปุริส, กหํ เอกปุตฺตก, กหํ เอกปุตฺตกาติ [สํ. นิ. ๒.๖๓; ธ. ป. อฏฺฐ. ๑.๒]
มีอีก ๒ อย่าง คือ ปัจจักขอามันตนะ (เรียกสิ่งที่ประจักษ์) และ อปัจจักขอามันตนะ (เรียกสิ่งที่ไม่ประจักษ์)
โภ ปุริส
ข้าแต่ท่านบุรุษ ผู้เจริญ

กหํ เอกปุตฺตก, กหํ เอกปุตฺตก (สํ.นิ.๑๖/๒๔๑,)
ลูกน้อยๆ คนเดียว (ของฉัน) เจ้าไปไหนเสีย,  ลูกน้อยๆ คนเดียว (ของฉัน) เจ้าไปไหนเสีย

ตถา นิยมานิยมวเสน, โภ ปุริส, อจฺฉริยํ วต โภ อพฺภุตํ วต โภ [ที. นิ. ๒.๑๙๒]ฯ ยตฺร หิ นาม สญฺญี สมาโนติอาทิ [ที. นิ. ๒.๑๙๒]
มี ๒ อย่างอีกเช่นกัน คือ นิยมอามันตนะ (เรียกระบุผู้ฟัง) และ อนิยมอามันตนะ (เรียกไม่ระบุผู้ฟัง) เช่น
โภ ปุริส
ข้าแต่บุรุษผู้เจริญ

อจฺฉริยํ วต โภ อพฺภุตํ วต โภ [๑๒]
ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์หนอ เหตุไม่เคยมีมามีแล้ว

สนฺเตน วต โภ ปพฺพชิตา วิหาเรน วิหรนฺติฯ ยตฺร หิ นาม สญฺญี สมาโนติอาทิ [๑๓]
ท่านผู้เจริญ พวกบรรพชิตย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันสงบหนอดังที่ท่านผู้ยังมีสัญญาตื่นอยู่ฯ

อิทํ อามนฺตนํ นาม ปเคว สิทฺเธ เอว โหติ, น วิธาตพฺเพ, น หิ ปเคว ราชภาวํ วา ภิกฺขุภาวํ วา อปฺปตฺตํ ชนํ ‘‘โภ ราชา’’ติ วา ‘‘โภ ภิกฺขู’’ติ วา อามนฺเตนฺตีติฯ
ธรรมดาว่า อามันตนะนี้จะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อบุคคลมีอยู่ก่อนเท่านั้น, มิใช่ตนไปแต่งตั้งขึ้น. เพราะว่าชนทั้งหลาย จะไม่เรียกผู้ยังไม่เป็นพระราชา หรือภิกษุ แต่แรกว่า “ขอเดชะ พระราชาผู้เจริญ”, “ข้าแต่พระภิกษุท. ผู้เจริญ” ด้วยประการฉะนี้.

ปฐมาวิภตฺติราสิ นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มอรรถแห่งปฐมาวิภัตติ จบแล้ว.





[๑] [จํ. ๒.๑.๙๓; ปา. ๒.๓.๔๖]
[๒] นฺยาสปกรณ์ สูตร ๒๘๔ (ลิงฺคตฺเถ ปฐมา). กล่าวไว้ว่า สทฺโทติ  ปฐมํ   สตฺตาภิธายโก.
[๓] ศัพท์ที่แสดงถึงความเหมือนกัน ที่เรียกว่า ชาติ ของเนื้อความนั้นๆ เช่น โค นครํ เป็นต้น
[๔] (ศัพท์ที่แสดงถึงคุณลักษณะกล่าวคือความแปลกกันเช่น สุกฺโก ขาว เป็นต้น)
[๕] อวุตตสิทธินัย วิธีการนี้ใช้หมายถึงสิ่งที่หมายเอาได้ แม้จะไม่ต้องกล่าวถึง คือ  เมื่อกล่าวถึงเพศชาย และเพศหญิง เป็นอันหมายถึงลิงคะ ของพวกนปุงสกะด้วย
[๖] ๑) สลิงคะ (มีเพศ คือ แสดงเพศทางไวยากรณ์ คือ ปุงลิงค์ อิตถีลิงค์ และนปุงสกลิงค์ เช่น ปุงลิงค์ เอกวจนะ เช่น เอโส ปุริโส บุรุษนี้, พหุวจนะ เอเต ปุริสา - บุรุษเหล่านี้, อิตถีลิงค์ เอกวจนะ เช่น เอสา กญฺญา - หญิงนี้, พหุวจนะ เอเตา กญฺญาโย - หญิงเหล่านี้, นปุงสกลิงค์ เอกวจนะ เช่น เอตํ จิตฺตํ จิตนั่น, พหุวจนะ - เอตานิ จิตฺตานิ - จิตเหล่านั่น),
๒) สสังขยะ (มีจำนวนนับ คือ แสดงจำนวนนับเช่น เอโก - หนึ่ง, เทฺว - สอง, ตโย - สาม เป็นต้น) และ
๓) สปริมาณะ (มีปริมาณ หมายถึง เป็นนามศัพท์ที่แสดงปริมาณ) เช่น โทโณ - ทะนาน, ขารี - สาแหรก เป็นต้น)
[๗] สญฺญา เป็นเนื้อความที่แสดงอิตถีลิงค์, ปุริโส .. แสดงปุงลิงค์, จิตฺตํ ... แสดงนปุงสกลิงค์. อุทาหรณ์ชุดอื่นก็มีนัยนี้.
[๘] ปาฏิปทิกะ โดยทั่วไปได้แก่ นามศัพท์ทุกชนิด แต่ในที่นี้ดูเหมือนจะหมายเอานิบาตที่มีอรรถของกิริยา เพราะ นามศัพท์นั้นถูกกล่าวไว้ด้วยคำว่า สลิงคะ ข้างต้นแล้ว
[๙] แปลโดยถิอเอาความให้เข้าใจง่าย ถ้าแปลตามบทพยัญชนะ ได้ว่า ลงสัตตมีวิภัตติในที่เป็นบทอันทำกิริยาให้สำเร็จ.
[๑๐] [ก. ๒๘๕; รู. ๗๐; นี. ๕๗๘; จํ. ๒.๑.๙๔; ปา. ๒.๓.๔๗; อามนฺตเณ (พหูสุ)]
[๑๑] หมายความว่า เรียกผู้ที่ปรากฏเป็นสภาพอย่างนั้นอยู่แล้ว (เช่นเป็นภิกษุแล้ว เป็นพระราชาแล้ว เป็นต้นเรียบร้อยแล้วไม่ใช่ยังไม่ปรากฏแล้วตนไปแต่งตั้งขึ้น) หันหน้ามาที่ตน ด้วยคำศัพท์ที่เป็นคำนาม เช่น ปุริส ดูก่อนบุรุษ หรือ ด้วยคำศัพท์ที่เป็นนิบาต เช่น ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ, อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ.
[๑๒] (ที.ม.๑๐/๑๒๐)
[๑๓] (ที.ม.๑๐/๑๒๐)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น