วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ปุงลิงค์ - อการันต์ ครั้งที่ ๒ (วิเสสวิธาน)


วิเสสวิธานมุจฺจเตฯ
ข้าพเจ้าจะกล่าววิธีการสำเร็จรูปพิเศษ (เฉพาะศัพท์)

๑๑๓. กฺวเจ วา [นี. ๒๗๗]ฯ
ในบางแห่ง เอ เป็นอาเทสของสิ ท้ายอการันต์ได้บ้าง


อโต สิสฺส กฺวจิ เอ โหติ วา ปุํ, นปุํสเกสุฯ
ท้าย อ ในปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ เอ เป็นอาเทส ของ สิ ได้บ้างเป็นบางอุทาหรณ์

ปุเม ตาว
วนปฺปคุมฺเพ ยถ ผุสฺสิตคฺเค [ขุ. ปา. ๖.๑๓; สุ. นิ. ๒๓๖], ‘‘เก คนฺธพฺเพ รกฺขเส จ นาเค, เก กิมฺปุริเส จาปิ มานุเสฯ เก ปณฺฑิเต สพฺพกามทเทฯ ทีฆรตฺตํ ภตฺตา เม ภวิสฺสติ’’ [ชา. ๒.๒๒.๑๓๕๒]ฯ นตฺถิ อตฺตกาเร นตฺถิ ปรกาเร นตฺถิ ปุริสกาเร [ที. นิ. ๑.๑๖๘], เอเก เอกตฺเถ, สเม สมภาเค, นเหวํ วตฺตพฺเพ [กถา. ๑], เก ฉเว สิงฺคาเล, เก ฉเว ปาถิกปุตฺเต [ที. นิ. ๓.๒๙-๓๑] อิจฺจาทิฯ
จะแสดงอุทาหรณ์ในปุงลิงค์เป็นลำดับแรก
วนปฺปคุมฺเพ ยถ ผุสฺสิตคฺเค. (ขุ.สุ.๒๓๖)
พุ่มไม้งามในป่าซึ่งมียอดออกดอกบานสะพรั่ง ในต้นเดือนห้าแห่งคิมหันตฤดู งามอย่างยิ่ง ฉันใด
            
เก คนฺธพฺเพ รกฺขเส จ นาเค,   เก กิมฺปุริเส จาปิ มานุเส
เก ปณฺฑิเต สพฺพกามทเท        ทีฆรตฺตํ ภตฺตา เม ภวิสฺสติ (ขุ.ชา.๒๘/๑๓๕๒)
   “คนธรรพ์  รากษส  นาค  กินนร  หรือมนุษย์พวกไหนคนไหนเป็นบัณฑิต สามารถจะให้สิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวงได้  เขาจักเป็นสามีของเราตลอดกาล

นตฺถิ อตฺตกาเร นตฺถิ ปรกาเร นตฺถิ ปุริสกาเร (ที.สี.๙/๑๖๘)
การกระทำของตนไม่มี, การกระทำของผู้อื่นไม่มี, การกระทำของมนุษย์ไม่มี.

เอเก เอกตฺเถ,
บางคน บางความหมาย

สเม สมภาเค,
ความเสมอ, ความเสมอภาค.

นเหวํ วตฺตพฺเพ [อภิ.กถา. ๑],
ข้อนั้น ท่านมิพึงกล่าวอย่างนี้

เก ฉเว สิงฺคาเล, [ที. ปา. ๓๑]
สุนัขจิ้งจอกผู้ต่ำทรามเป็นใคร

เก ฉเว ปาถิกปุตฺเต [ที. ปา. ๓๑]
ปาฏิกบุตรผู้ต่ำทรามเป็นใคร

นปุํสเก ปน
โภควตี นาม มนฺทิเร, นคเร นิมฺมิเต กญฺจนมเย [ชา. ๒.๒๒.๑๓๗๐] อิจฺจาทิฯ
ส่วนในนปุงสกลิงค์ มีดังนี้
โภควตี นาม มนฺทิเร, นคเร นิมฺมิเต กญฺจนมเย [ชา. ๒.๒๒.๑๓๗๐]
ภพนาคนั้นเขาเรียกว่า  โภควดีนครบ้าง  ฯลฯ เป็นเมืองนิรมิตล้วนแต่ทองคำ 
วาติ กิํ? วนปฺปคุมฺโพฯ
กฺวจีติ กิํ? ปุริโสฯ
วา ศัพท์ (แสดงว่า การใช้ เอ แทน สิ มีได้ไม่แน่นอน) ข้าพเจ้ากล่าวไว้ เพื่อประโยชน์ในการไม่ใช้ เอ เป็นอาเทสของ สิ ก็มี เช่น วนปฺปคุมฺโพ
กฺวจิ ศัพท์ (แสดงว่า การใช้ เอ แทน สิ มีเล็กน้อยเป็นบางอุทาหรณ์) ข้าพเจ้ากล่าวไว้ เพื่อประโยชน์ในการห้ามใช้ เอ เป็น อาเทส ของ สิ คือ ปุริโส

มหาวุตฺตินา ปฐมาโยนญฺจ กฺวจิ เฏ โหติฯ พาเล จ ปณฺฑิเต จ สนฺธาวิตฺวา สํสริตฺวา ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสนฺติ [ที. นิ. ๑.๑๖๘], กฺวจิ โยนํ ปกติ โหติ, วเน วาฬมิคา เจว, อจฺฉโกกตรจฺฉโย, พหูหิ ปริปนฺถโย [ชา. ๒.๒๒.๒๕๕], กฺยสฺส พฺยปถโย อสฺสุ อิจฺจาทิฯ
ด้วยมหาสูตร บางอุทาหรณ์ สามารถใช้ เอ เป็นอาเทสของ โยปฐมาวิภัตติได้. ตัวอย่างเช่น
พาเล จ ปณฺฑิเต จ สนฺธาวิตฺวา สํสริตฺวา ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสนฺติ [ที. นิ. ๑.๑๖๘],
พวกคนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้วก็จักทำที่สุดทุกข์ได้เอง

แต่บางแห่ง คงโยตามเดิม เช่น
วเน วาฬมิคา เจว,  อจฺฉโกกตรจฺฉโย, (ขุ.ชา. ๒/๑๔๑๑)
หมี  สุนัขป่า  หรือเสือดาว ท.  อันเป็นสัตว์ร้ายในป่า   

พหู หิ ปริปนฺถโย [ชา. ๒./๒๕๕],
ด้วยว่า อันตรายท. มาก ย่อมมี

กฺยสฺส พฺยปถโย อสฺสุ
คำพูดท. พึงมี แก่ใคร (?)

๑๑๔. ทิวาทิโต [ก. ๒๐๖; รู. ๑๖๕]ฯ
ท้าย ทิว เป็นต้น ใช้ อิ แทน สฺมิํ

ทิวาทีหิ สฺมิํโน ฏิ โหติฯ ทิวิ-เทวโลเกตฺยตฺโถฯ
อิ เป็น อาเทส ของสฺมิํ ที่อยู่ท้ายนามศัพท์มี ทิว เป็นต้น ทิวิ ในเทวโลก.  คำว่า ทิวิ หมายถึง เทวโลเก ในเทวโลก.

อาทิสทฺเทน อส ภุวิ, นิจฺจํ วาคโมฯ อยฺยสทฺทมฺหา มหาวุตฺตินา อาลปเน ค, โยนํ โฏ โหติ วาฯ โภ อยฺโย อยฺย วา, โภนฺโต อยฺโย อยฺยา วาฯ เสสํ ปุริสสมํฯ
ด้วย อาทิ ศัพท์ ท้าย อส[1] และภู (สำเร็จรูปเป็น) ภุวิ บนแผ่นดิน[2] แม้ สฺมิํ เป็น อิ, กรณีนี้ลง ว อาคม แน่นอน.  ท้าย อยฺย ศัพท์ แปลง ค (สิ) และ โยอาลปนะเป็น โอ ได้บ้าง เช่น
โภ อยฺโย, หรือเป็น โภ อยฺย
โภนฺโต อยฺโย, หรือเป็น โภนฺโต อยฺยา
รูปในวิภัตติที่เหลือ แจกเหมือน ปุริส ศัพท์เป็นต้น.

ปุริสาทิราสิ นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มนามศัพท์มี ปุริส เป็นต้น จบแล้ว.


[1] อส ไม่แน่ใจ ว่าเป็นอักษรเพื่อสื่อว่ากระไร?. ส่วนคัมภีร์อื่นๆ คือ กัจจายนไวยากรณ์ ปทรูปสิทธิ แสดงแต่รูปว่า ภุวิ เท่านั้น โดยสำเร็จรูปด้วย ตโต ศัพท์ ในสูตรว่า ตโต สฺมิมิ ท้าย อาร ศัพท์นั้น อิ เป็นอาเทส ของ สฺมิํ. แม้โมคคัลลานไวยากรณ์ ก็แสดงไว้ ด้วยสูตร ทิวาทิโต (๑/๕๕) ท้ายนามศัพท์ อิ เป็น อาเทศของ สฺมิํ เช่น ทิวิ ในเทวโลก, ภุวิ บนแผ่นดิน. ลง วเป็นอักษรอาคม.
[2] ภุวิ มาจาก ภู แผ่นดิน + สฺมิํ แปลงสฺมิํเป็น อิ ด้วยสูตรนี้ คัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกา สูตรที่ ๑๗๕ อธิบายว่า ในเพราะ อิ (ที่แปลงจาก สฺมิํ) ของภูศัพท์ รัสสะสระอูที่ ภู เป็น ภุ ด้วยสูตร เอกวจนโยสฺวโฆนํ (๒/๖๔)เพราะเอกวจนะและโยวิภัตติ สระท้ายนามศัพท์ทั้งหลายเว้น ฆ และโอการันต์ เป็นรัสสะ , ลง ว อาคม ด้วยสูตร วนตรคา จาคมา (๑/๕๕) ในบางแห่ง ว น ต ร และ ค เป็นอักษรอาคม ตามอุทาหรณ์ .
อนึ่ง การลง ว อาคมนี้ถือว่า แน่นอน เพราะวาศัพท์ที่ตามมาจากสูตร วีติสฺเสเว วา ในสูตรนี้เป็นววัตถิวิภาสา (อนุโลมตามพระบาฬีที่ใช้รูปว่า ภุวิ เท่านั้น)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น