วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สมาสกัณฑ์ ๗ - วิเสสวิธาน ข- สมาสนฺตกปจฺจย - อปจฺจย

สมาสนฺตกปจฺจยราสิ

กลุ่มนามศัพท์ที่ลง ก ปัจจัยท้ายสมาส

๓๖๕. ลฺติตฺถิยูหิ โก[1]

๓๖๕. ลฺติตฺถิยูหิ โก
(ในพหุพพีหิสมาส ลงกปัจจัย ท้ายบทที่ลง ตุปัจจัย, อีการันต์ และอูการันต์อิตถีลิงค์โดยมาก)

อญฺญปทตฺถวิสเย กตฺตุอิจฺจาทีหิ ลฺตุปจฺจยนฺเตหิ อิตฺถิยํ อี, อูการนฺเตหิ จ พหุลํ กปจฺจโย โหติฯ
พหโว กตฺตาโร ยสฺมิํ เทเส โส พหุกตฺตุโกฯ เอวํ พหุวตฺตุโก, พหุกา นทิโย ยสฺมิํ เทเส โส พหุนทิโกฯ เอวํ พหุอิตฺถิโก, คาโม, พหุอิตฺถิกา, สภา, พหุอิตฺถิกํ, กุลํฯ เอวํ พหุกุมาริกํ, พหุพฺรหฺมพนฺธุโกฯ
เอตฺถ จ พฺรหฺมพนฺธูติ รสฺสปทํ พฺราหฺมณํ วทติ, ทีฆปทํ พฺราหฺมณิํ วทติ, กปจฺจเย ปเร ทีฆานํ มหาวุตฺตินา รสฺสตฺตํ อิจฺฉนฺติฯ
พหุลนฺติ กิํ? พหุกตฺตา, คาโมฯ

ในวิสัยแห่งอัญญปทัตถสมาส (พหุพพีหิสมาส)  กปัจจัย โดยมากจะลงท้ายบทลงตุปัจจัย เช่น กตฺตุ เป็นต้น, อี การันต์ และอูการันต์ในอิตถีลิงค์.

คนงานมาก มีอยู่ในสถานที่ใด สถานที่นั้น ชื่อว่า พหุกตฺตุโก สถานที่มีคนงานมาก. พหุวตฺตุโก มีคนพูดมาก ก็เช่นเดียวกันนี้. แม่น้ำมาก มีอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้น ชื่อว่า พหุนทิโก ประเทศมีแม่น้ำมาก. พหุอิตฺถิโก คาโม หมู่บ้านมีผู้หญิงมาก, พหุอิตฺถิกา สภา ที่ประชุมมีผู้หญิงมาก, พหุอิตฺถิกํ กุลํ ตระกูลมีผู้หญิงมาก. พหุกุมาริกํ ตระกูลมีเด็กหญิงมาก, พหุพรหฺมพนฺธุโก หมู่บ้านมีนางพราหมณีผู้เป็นเผ่าพันธ์แห่งพรหม ก็เช่นกัน.
สำหรับในตัวอย่างว่า พรหฺมพนฺธุ นี้ หากเป็นบทมีเสียงท้ายเป็นสระเสียงสั้น หมายถึง พรหม, ที่เป็นสระเสียงยาว หมายถึง นางพราหมณี. อาจารย์ทั้งหลาย ประสงค์การทำทีฆะให้เป็นรัสสะ ในเพราะกปัจจัยอันเบื้องหลัง ด้วยมหาสูตร.
คำว่า พหุลํ โดยมาก มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการไม่ลง กปัจจัย ท้ายบทสมาส ในตัวอย่างว่า พหุกตฺตา คาโม หมู่บ้านมีคนทำงานมาก.

๓๖๖. วาญฺญโต[2]
อญฺญปทตฺถวิสเย ลฺติตฺถิยูหิ อญฺญโต อวณฺณิวณฺณุวณฺณนฺเตหิ พหุลํ กปจฺจโย โหติ วาฯ
อวณฺณนฺตมฺหา ตาว
อคามกํ, อรญฺญํ, พหุคามโก, ชนปโท, สโสตโก, อโสตโก, สโลมโก, สปกฺขโก, พหุมาลโก, พหุมาโล, พหุมายโก, พหุมาโยฯ
อิวณฺณนฺตมฺหา
สุนฺทรา ทิฏฺฐิ ยสฺส โส สมฺมาทิฏฺฐิโก, สมฺมาทิฏฺฐิ, มิจฺฉาทิฏฺฐิโก, มิจฺฉาทิฏฺฐิ, มตปติกา, อิตฺถี, สทฺธาปกติโก, ปญฺญาปกติโก, พหุหตฺถิโก, พหุทณฺฑิโกฯ
อุวณฺณนฺตมฺหา
สเหตุโก, อเหตุโก, สจกฺขุโก, อจกฺขุโก, สภิกฺขุโก, อภิกฺขุโก, ทีฆายุโก, อปฺปายุโก, พหุเธนุโก, วโช, พหุรตฺตญฺญุโก, ภิกฺขุสงฺโฆฯ















อิตฺถิลิงฺเค กมฺหิ ปเร อการสฺส มหาวุตฺตินา วา อธาตุสฺส เก…’ติ สุตฺเตน วา พหุลํ อิการตฺตํ โหติ, พหุปุตฺติกา, อิตฺถี, พหุปุตฺตกา วา, เอกปุตฺติกา, เอกปุตฺตกา อิจฺจาทิฯ

๓๖๖. วาญฺญโต
(ในพหุพพีหิสมาส ลงกปัจจัย ท้ายบทอื่น [คือที่เป็น อการันต์ อิการันต์ และอุการันต์อิตถีลิงค์ ที่] นอกจากบทที่ลง ตุปัจจัย, อีการันต์ และอูการันต์อิตถีลิงค์นั้น โดยมาก ได้บ้างโดยวิกัปป์)
ในวิสัยแห่งพหุพพีหิสมาส ลงกปัจจัย ท้ายบทอื่น คือที่เป็น อการันต์ อิการันต์ และอุการันต์อิตถีลิงค์ ที่นอกจากบทที่ลง ตุปัจจัย, อีการันต์ และอูการันต์อิตถีลิงค์นั้น โดยมาก โดยวิกัปป์.
จะกล่าวถึงการลงท้ายพหุพพีหิสมาสที่เป็นอการันต์ เป็นลำดับแรก.
อคามกํ อรญฺญํ ป่าไม่มีบ้าน, พหุคามโก, ชนปโท แคว้นมีหมู่บ้านมาก, สโสตโก บุรุษมีโสตะ (?), อโสตโก บุรุษไม่มีโสตะ (?), สโลมโก นกมีขน, สปกฺขโก นกมีปีก, พหุมาลโก บุคคลมีพวงดอกไม้มาก.  รูปว่า พหุมาโล ก็มีบ้าง, พหุมายโก บุรุษ มีการหลอกลวงมาก.  รูปว่า พหุมาโย ก็มีบ้าง.
ลงท้ายพหุพพีหิสมาสที่เป็นอิการันต์
ความเห็น ที่ดีงาม ของบุคคลใด มีอยู่ บุคคลนั้น ชื่อว่า สมฺมาทิฏฺฐิโก ผู้มีความเห็นดีงาม. รูปว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ก็มีบ้าง, มิจฺฉาทิฏฺฐิโก ผู้มีความเห็นผิด, รูปว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิก็มีบ้าง, มตปติกา อิตฺถี หญิง ผู้มีสามีตายแล้ว, สทฺธาปกติโก ผู้มีศรัทธาเป็นปกติ, ปญฺญาปกติโก ผู้มีปัญญาเป็นปกติ, พหุหตฺถิโก ผู้มีความปรารถนามาก, พหุทณฺฑิโก มีท่อนไม้มาก.
ลงท้ายพหุพพีหิสมาสที่เป็นอุการันต์
สเหตุโก มีเหตุ, อเหตุโก ไม่มีเหตุ, สจกฺขุโก มีจักษุ, อจกฺขุโก ไม่มีจักษุ, สภิกฺขุโก อารามมีภิกษุ, อภิกฺขุโก อารามไม่มีภิกษุ, ทีฆายุโก บุคคลมีอายุยืนยาว, อปฺปายุโก มีอายุสั้น, พหุเธนุโก วโช คอกมีแม่โคมาก, พหุรตฺตญฺญุโก, ภิกฺขุสงฺโฆ หมู่แห่งภิกษุซึ่งมีพระเถระผู้รู้ราตรีอยู่มาก.
ส่วนในอิตถีลิงค์ เพราะ กปัจจัยอันเป็นเบื้องหลัง แปลง อ เป็น อิ ได้ด้วยมหาสูตร หรือ ด้วยสูตรว่า อธาตุสฺส เก (?) เช่น พหุปุตฺติกา อิตฺถี สตรีมีบุตรมาก เป็นรูปว่า พหุปุตฺตกา ก็มีบ้าง, เอกปุตฺติกา สตรีมีบุตรคนเดียว เป็นรูปว่า เอกปุตฺตกา ก็มีบ้าง
อิติ สมาสนฺตกปจฺจยราสิฯ

กลุ่มนามศัพท์ที่ลง กปัจจัยท้ายสมาส
เป็นอย่างนี้

สมาสนฺตอปจฺจยราสิ

กลุ่มนามศัพท์ที่ลง อปัจจัยท้ายสมาส

๓๖๗. สมาสนฺต[3]
สมาสนฺโต+ออิติ ทฺวิปทมิทํ, สมาสนฺโต หุตฺวา อปจฺจโย โหตีติ อตฺโถฯ อธิการสุตฺตมิทํฯ

๓๖๗. สมาสนฺต.
(ลง อ-ปัจจัย เป็นหน่วยเสียงสุดท้ายของสมาส)
สูตรนี้มี ๒ บท คือ สมาสนฺโต + อ. ความหมายคือ อปัจจัย ย่อมลง โดยเป็นส่วนอันมีที่สุดแห่งสมาส. สูตรนี้ เป็นอธิการสูตร.

๓๖๘. ปาปาทีหิ ภูมิยา [4]

๓๖๘. ปาปาทีหิ ภูมิยา.
(ลง อปัจจัย เป็นหน่วยเสียงสุดท้ายของการเข้าสมาสระหว่างภูมิศัพท์กับปาปศัพท์เป็นต้น)
ปาปาทีหิ ปราย ภูมิยา สมาสนฺโต อโหติ, ‘ภูมิสทฺทสฺสาติ วตฺตพฺเพ นิยติตฺถิลิงฺคทสฺสนตฺถํ ภูมิยาติ วุตฺตํฯ เอวํ อญฺญตฺถปิฯ
ปาปานํ ภูมิ ปาปภูมํ, ปาปานํ อุปฺปตฺติภูมิตฺยตฺโถ, ชาติยา ภูมิ ชาติภูมํ, สตฺถุชาตรฏฺฐํฯ เอวํ ปจฺฉาภูมํ, มชฺฌิมเทเส ปจฺฉาภาครฏฺฐํฯ

อปัจจัย ย่อมลง เป็นหน่วยเสียงที่สุด แห่งการเข้าสมาสของภูมิ-ศัพท์ อันเป็นเบื้องหลังจากบทหน้ามีปาปเป็นต้น,  เมื่อควรใช้คำว่า “ภูมิสทฺทสฺส ภูมิศัพท์” แต่ใช้คำว่า ภูมิยา แทน เพื่อแสดงให้ทราบว่าศัพท์นี้เป็นอิตถีลิงค์แน่นอน. แม้ในตัวอย่างอื่นก็เช่นเดียวกันนี้.
ภูมิแห่งบาปทั้งหลาย ชื่อว่า ปาปภูมํ, คำว่า ภูมิ มีความหมายว่า การเกิดขึ้นแห่งบาป, ชาติภูมํ แปลว่า ภูมิแห่งการเกิด หมายความว่า แคว้นเป็นที่ประสูติแห่งพระศาสดา. ปจฺฉาภูมํ แคว้นหลัง, หมายความว่า แคว้นที่อยู่หลังจากแคว้นตรงกลาง.[5]

๓๖๙. สงฺขฺยาหิ [6]

๓๖๙. สงฺขฺยาหิ
(ลงอปัจจัย เป็นหน่วยเสียงสุดท้ายของการเข้าสมาสระหว่างภูมิ-ศัพท์กับศัพท์สังขยา [ศัพท์บอกจำนวนนับ])
สงฺขฺยาหิ ปราย ภูมิยา สมาสนฺโต อ โหติฯ
ทฺเว ภูมิโย เอตฺถาติ ทฺวิภูโม, ทฺวิภูมโก, ปาสาโท, ทฺวิภูมิโก วา, ติสฺโส ภูมิโย เอเตสนฺติ วา ตีสุ ภูมิสุ ปริยาปนฺนาติ วา เตภูมกา, ธมฺมา, จตุภูมกา, ธมฺมา, เตภูมิกา, จตุภูมิกา วาฯ ทิคุมฺหิ-ทฺเว ภูมิโย ทฺวิภูมํ, ติสฺโส ภูมิโย ติภูมํ, จตสฺโส ภูมิโย จตุภูมํ อิจฺจาทิฯ

ลง อ ปัจจัยเป็นสระที่สุดแห่งสมาส ของภูมิ-ศัพท์ อันเป็นเบื้องหลัง จากศัพท์อันบอกจำนวนนับเช่น
ชั้น ๒ ชั้น มีอยู่ในปราสาทนี้ เหตุนั้น จึงชื่อว่า ทฺวิภูโม, ทฺวิภูมโก. ได้แก่ ปราสาท. มีรูปว่า ทฺวิภูมิโก บ้าง. ภูมิสาม ของธรรมนั้นมีอยู่ ธรรมมีภูมิสามหรือว่า ธรรมอันนับเนื่องในภูมิสาม ชื่อว่า เตภูมกา ได้แก่ ธมฺมา. จตุภูมกา ธมฺมา ธรรมอันนับเนื่องอยู่ในภูมิ ๔ หรือ ธรรมมีภูมิ ๔. เป็นรูปว่า เตภูมิกา, จตุภูมิกา บ้าง.
ในทิคุสมาส เช่น ภูมิท.สอง ชื่อว่า ทฺวิภูมํ, ภูมิท.สาม ชื่อว่า ติภูมํ, ภูมิท.สี่ ชื่อว่า จตุภูมํ.

๓๗๐. นทีโคธาวรีนํ [7]

๓๗๐. นทีโคธาวรีนํ.
(ลงอปัจจัย เป็นหน่วยเสียงท้ายสุดของการเข้าสมาสระหว่างนที-ศัพท์ และโคธาวรี-ศัพท์ กับสังขยาศัพท์)

สงฺขฺยาหิ ปราสํ นที, โคธาวรีนํ สมาสนฺโต อ โหติฯ
ปญฺจ นทิโย ปญฺจนทํ, ปญฺจ วา นทิโย ยสฺมิํ ปเทเส โส ปญฺจนโท, สตฺต โคธาวริโย สตฺตโคธาวรํฯ

ลง อปัจจัยเป็นสระที่สุดแห่งสมาสของนที-ศัพท์และโคธาวรี-ศัพท์ อันเป็นเบื้องหลังจากศัพท์  สังขยา  เช่น
แม่น้ำทั้ง ๕ ชื่อว่า ปญฺจนทํ, หรือว่า แม่น้ำ ๕ สาย ในประเทศนี้มีอยู่ เหตุนั้น จึงชื่อว่า ปญฺจนโท. แม่น้ำโคธาวรี ๗ สาย ชื่อว่า สตฺตโคธาวรํ.

๓๗๑. อสงฺขฺเยหิ จงฺคุลฺยานญฺญาสงฺขฺยตฺเถสุ[8]

๓๗๑. อสงฺขฺเยหิ จงฺคุลฺยานญฺญาสงฺขฺยตฺเถสุ
(ในพหุพพีหิสมาส และอัพยยีภาวสมาส ไม่ลงอปัจจัย เป็นหน่วยเสียงที่สุดของบทสมาสระหว่าง องฺคุลิศัพท์ อันอยู่หลังจากศัพท์สังขยา)

อญฺญตฺโถ จ อสงฺขฺยตฺโถ จ อญฺญาสงฺขฺยตฺถาฯ ตตฺถ อญฺญตฺโถติ อญฺญปทตฺโถ พหุพฺพีหิสมาโส, ‘อสงฺขฺยตฺโถติ อสงฺขฺยตฺถสมาโส อพฺยยีภาวสมาโสติ วุตฺตํ โหติ, น อญฺญาสงฺขฺยตฺถา อนญฺญาสงฺขฺยตฺถา, อญฺญาสงฺขฺยตฺถวชฺชิเตสุ สมาเสสุ อสงฺขฺเยหิ อุปสคฺเคหิ จ สงฺขฺยาหิ จ ปราย องฺคุลิยา สมาสนฺโต อ โหติฯ จสทฺเทน ‘‘สุคตงฺคุเลน, ปมาณงฺคุเลน’’ อิจฺจาทีนิ สิชฺฌนฺติฯ

[ในคำว่า อนญฺญาสงฺขฺยตฺถ ของตัวสูตรว่า จงฺคุลฺยานญฺญาสงฺขฺยตฺเถสุ (=จ + องฺคุลิ + อนญฺญาสงฺขฺยตฺถ + สุ นั้น) ] บทว่า อญฺญาสงฺขยตฺถา (ทั้งอัญญัตถสมาสและอสังขยัตถสมาส) วิเคราะห์ว่า อญฺญตฺโถ จ อสงฺขฺยตฺโถ จ อญฺญาสงฺขฺยตฺถา อัญญัตถสมาส ด้วย อสังขยัตถสมาส ด้วย ชื่อว่า อญฺญาสงฺขยตฺถา. คำว่า อญฺญตฺโถ คือ สมาสซึ่งมีอรรถของอัญญบทเป็นประธาน ได้แก่ พหุพพีหิสมาส. อสงฺขฺยตฺโถ คือ อสังขยัตถสมาส ได้แก่ อัพยยีภาวสมาส, ไม่ใช่อัญญัตถสมาสและอสังขยสมาส ชื่อว่า อนญฺญาสงฺขฺยตฺถา.  ลง อปัจจัย เป็นที่สุดแห่งบทสมาสระหว่าง องฺคุลิ อันเป็นเบื้องหลังจากอุปสัคบท อันเป็นอัพยยะ ด้วย จากศัพท์สังขยาย ด้วย ในสมาสทั้่งหลาย เว้น พหุพพีหิสมาสและอัพยยีภาวสมาส. บทว่า สุคตงฺคุล ด้วยนิ้วพระสุคต, ปมาณงฺคุล  มีขนาด ๑ นิ้ว ย่อมมีได้ ด้วยจศัพท์.

องฺคุลีหิ นิคฺคตํ นิรงฺคุลํ, องฺคุลิโย อติกฺกนฺตํ อจฺจงฺคุลํ, อิเม ทฺเว อมาทิสมาสา, ทฺเว องฺคุลิโย สมาหฏาติ ทฺวงฺคุลํฯ

ไปปราศแล้ว จากนิ้วทั้งหลาย ชื่อว่า นิรงฺคุลํ. ปราศจากนิ้ว, ก้าวล่วงแล้ว ซึ่งนิ้วท. ชื่อว่า อจฺจงฺคุลํ เกินนิ้วไป, สองตัวอย่างนี้เป็นอมาทิสมาส, นิ้วทั้งหลายสอง อันรวบรวมมาแล้ว (ในใจ) ชื่อว่า ทวงฺคุลํ สองนิ้ว. 

อนญฺญาสงฺขฺยตฺเถสูติ กิํ? ปญฺจ องฺคุลิโย อสฺมินฺติ ปญฺจงฺคุลิ, หตฺโถฯ องฺคุลิยา สมีปํ อุปงฺคุลิฯ ‘‘จตุรงฺคุลํ กณฺณํ โอสาเรตฺวา[9], อฏฺฐงฺคุลํ ทนฺตกฏฺฐํ, ทฺวงฺคุลปรมํ, จตุรงฺคุลปรมํ, อฏฺฐงฺคุลปรม’’นฺติอาทีสุ องฺคุลนฺติ อการนฺตํ ปมาณวาจีสทฺทนฺตรํฯ

บทว่า อนญฺญาสงฺขฺยตฺเถสุ ในสมาสอันมิใช่อัญญสมาสและอสังขยัตสมาส มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการห้ามมิให้ลงอปัจจัย ในตัวอย่างที่เป็นพหุพพีหิสมาสนี้ คือ ปญฺจงฺคุลิ มือมี ๕นิ้ว ซึ่งมีวิเคราะห์ว่า นิ้วท. ๕ มีอยู่ ในมือนี้ เหตุนั้น มือนี้ จึงชื่อว่า ปญฺจงฺคุลิ. และในตัวอย่างที่อัพยยีภาวสมาส นี้คือ อุปงฺคุลิ ใกล้นิ้ว ซึ่งมีวิเคราะห์ว่า ที่ใกล้แห่งนิ้ว ชื่อว่า อุปงฺคุลิ.
ยังมี องฺคุล ศัพท์ อการันต์ ซึ่งเป็นอีกศัพท์หนึ่งที่กล่าวถึงหน่วยวัด เช่นในตัวอย่างเป็นต้นว่า จตุรงฺคุลํ กณฺณํ โอสาเรตฺวา ห้อยชายยาว ๔ นิ้ว, อฏฺฐงฺคุลํ ทนฺตกฏฺฐํ ไม้ชำระฟันยาว ๘ นิ้ว, ทฺวงฺคุลปรมํ อย่างมาก ๕ นิ้ว, จตุรงฺคุลปรมํ อย่างมาก ๔ นิ้ว, อฏฺฐงฺคุลปรม อย่างมาก ๘. นิ้ว

๓๗๒. ทารุมฺหงฺคุลฺยา[10]

๓๗๒. ทารุมฺหงฺคุลฺยา
(ลง อ ปัจจัยเป็นหน่วยเสียงสุดท้ายในพหุพีหิสมาส ของ องฺคุลิ ซึ่งมี ทารุ ศัพท์ เป็นประธาน)

ทารุสงฺขาเต อญฺญปทตฺเถ ปวตฺตาย องฺคุลิยา สมาสนฺโต อโหติฯ
ปญฺจ องฺคุลิโย อสฺสาติ ปญฺจงฺคุลํ, ทารุฯ เอตฺถ จ องฺคุลิปมาณาวยโว ธญฺญาทีนํ มานวิเสโส ทารูติ วุจฺจติฯ

ลง อปัจจัย เป็นหน่วยเสียงสุดท้าย ของ องฺคุลิ ศัพท์ อันเป็นไปในอัญญปทัตถะ กล่าวคือ ทารุ (ตราชั่ง) เช่น
นิ้วท. ๕ ของไม้วัดนี้ มีอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ปญฺจงฺคุลํ ไม้วัด ๕ นิ้ว ได้แก่ ทารุ ไม้วัด. ในตัวอย่างนี้ หน่วย ๑ นิ้ว อันเป็นมาตราวัดสิ่งของมีข้าวเปลือกเป็นต้น เรียกว่า ทารุ.

๓๗๓. ทีฆาโหวสฺเสกเทเสหิ จ รตฺยา [11]

๓๗๓. ทีฆาโหวสฺเสกเทเสหิ จ รตฺยา.
(ลง อปัจจัย เป็นหน่วยเสียงสุดท้ายแห่งการย่อ ระหว่าง รตฺติ ซึ่งเป็นศัพท์หลัง กับศัพท์หน้า คือ ศัพท์ทั้งหลายมีทีฆ อห วสฺส, ศัพท์ที่มีความหมายว่าระยะเวลาหนึ่ง และศัพท์สังขยา ในพหุพพีหิสมาสและอัพยยีภาวสมาส)

ทีโฆ จ อโห จ วสฺโส จ เอกเทโส จาติ ทฺวนฺโท, เอกเทโส นาม ปุพฺพ, ปราทิ, อนญฺญาสงฺขฺยตฺเถสุ ทีฆาทีหิ จ อสงฺขฺเยหิ จ สงฺขฺยาหิ จ ปราย รตฺติยา สมาสนฺโต อ โหติฯ จสทฺเทน ‘‘จิรรตฺต’’นฺติ สิชฺฌติฯ
ทีฆา รตฺติโย ทีฆรตฺตํ, ทีฆา รตฺติทิวปรํปราตฺยตฺโถฯ อโห จ รตฺติ จ อโหรตฺตํ, วสฺเสน เตมิตา รตฺติ วสฺสรตฺตํ, รตฺติยา ปุพฺพํ ปุพฺพรตฺตํ, รตฺติยา ปรํ ปรรตฺตํ, รตฺติยา อฑฺฒํ อฑฺฒรตฺตํ, รตฺติํ อติกฺกนฺโต อติรตฺโต, ทฺเว รตฺติโย ทฺวิรตฺตํฯ เอวํ ติรตฺตํ, จตุรตฺตํ, ปญฺจรตฺตํ, ฉารตฺตํ, วาธิการตฺตา ‘‘เอกรตฺตํ, เอกรตฺตี’’ติ สิชฺฌติฯ
อนญฺญาสงฺขฺยตฺเถสูติ กิํ? ทีฆา รตฺติ เอตฺถาติ ทีฆรตฺติ, เหมนฺโตฯ รตฺติยา สมีปํ อุปรตฺติฯ

ทีฆาโหวสฺเสกเทส เป็นทวันทสมาส มีวิเคราะห์ว่า ทีโฆ จ อโห จ วสฺโส จ เอกเทโส จ = ทีฆศัพท์ ด้วย อหศัพท์ ด้วย วสฺส ศัพท์ ด้วย เอกเทส ศัพท์ ด้วย, ศัพท์กล่าวถึงระยะเวลา มี ปุพฺพ ก่อน ปร หลัง เป็นต้น ชื่อว่า เอกเทส.
(คำขยายตัวสูตรมีว่า) ลง อปัจจัย เป็นหน่วยเสียงสุดท้าย ของ รตฺติ เป็นบทหลังจากศัพท์ที่ไม่ใช่ศัพท์สังขยา มีทีฆ เป็นต้น และศัพท์สังขยา ในพหุพพีหิสมาสและอัพยยีภาวสมาส เช่น
ทีฆา รตฺติโย ทีฆรตฺตํ ราตรี ยาวนาน ชื่อว่า ทีฆรตฺตํ. หมายความว่า การสืบต่อกันแห่งคืนและวันอย่างยาวนาน. กลางวันด้วย กลางคืนด้วย ชื่อว่า อโหรตฺตํ วันคืน, ราตรี อันฝนให้ชุ่มฉ่ำแล้ว ชื่อว่า วสฺสรตฺตํ (คืนฝนพรำ), ก่อนแห่งราตรี ชื่อว่า ปุพฺพรตฺตํ, ภายหลังแห่งราตรี ชื่อว่า ปรรตฺตํ, กึ่งแห่ง ราตรี ชื่อว่า อฑฺฒรตฺตํ, ก้าวล่วงแล้ว ซึ่งราตรี ชื่อว่า อติรตฺโต ล่วงราตรี. สองราตรี ชื่อว่า ทฺวิรตฺตํ. ติรตฺตํ สามราตรี, สี่ราตรี, ห้าราตรี, หกราตรี ก็เช่นเดียวกันนี้. เพราะการตามมาแห่ง วา ศัพท์ รูปว่า เอกรตฺตํ, เอกรตฺติ จึงมีใช้ด้วย.
บทว่า อนญฺญาสงฺขฺยตฺเถสุ ในพหุพพีหิสมาสและอัพยยีภาวสมาส มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการห้ามมิให้ลง อปัจจัย ท้าย สมาส ในกรณีที่เป็นพหุพพีหิสมาส นี้ว่า ทีฆรตฺติ ฤดูหนาวมีกลางคืนยาวนาน โดยวิเคราะห์ว่า  ทีฆา รตฺติ เอตฺถาติ ทีฆรตฺติ, เหมนฺโต ราตรี ยาวนาม ในฤดูนี้ มีอยู่ เหตุนั้น ฤดูนี้ ชื่อว่า ทีฆรตฺติ มีราตรียาวนาน ได้แก่ เหมนฺโต ฤดูหนาวฯ และในกรณีที่เป็นอัพยยีภาวสมาส นี้ว่า อุปรตฺติ ใกล้ราตรี โดยวิเคราะห์ว่า รตฺติยา สมีปํ อุปรตฺติ ใกล้แห่งราตรี ชื่อว่า อุปรตฺติ.

๓๗๔. โค ตฺวจตฺเถ จาโลเป [12]

๓๗๔. โค ตฺวจตฺเถ จาโลเป.
(ลง อ เป็นหน่วยเสียงที่สุดแห่งการเข้าสมาส ในตำแหน่งที่มีการลบ ท้ายโคศัพท์ ในสมาสที่ไม่ใช่ทวันทสมาส, พหุพพีหิสมาสและอัพยยีภาวสมาส)

อจตฺเถ จ อนญฺญาสงฺขฺยตฺเถสุ จ ปวตฺตา โคสทฺทมฺหา อโลปฏฺฐาเน สมาสนฺโต อ โหติฯ
รญฺโญ โค ราชคโว, อตฺตโน โค สคโว, ปเรสํ โค ปรคโว, ปญฺจคโว, ปญฺจควํฯ เอวํ ทสควํฯ

ลง อ เป็นหน่วยเสียงที่สุดแห่งการเข้าสมาส ในตำแหน่งที่ไม่มีการลบ ท้ายโคศัพท์ ซึ่งเป็นไปในสมาสที่ไม่ใช่ทวันทสมาส, พหุพพีหิสมาสและอัพยยีภาวสมาส  เช่น
โค ของพระราชา ชื่อว่า ราชคโว, โค ของตน ชื่อว่า สคโว, โค ของผู้อื่น ชื่อว่า ปรคโว, ปญฺจคโว โค ๕ ตัว, ปญฺจควํ โค ๕ ตัว, ทสควํ โค ๑๐ ตัว ก็เช่นเดียวกันนี้.

อโลเปติ กิํ? ปญฺจหิ โคหิ กีโต ปญฺจคุฯ เอตฺถ จ เตน กีโตติ เอตสฺมิํ อตฺเถ ตทฺธิตปจฺจยสฺส โลโป, เตน อยํ อปจฺจโย น โหติ, ‘โคสฺสูติ โอสฺสุตฺตํฯ
อจตฺเถติ กิํ? ควชา จ คาโว จ ควชคโว, โยมฺหิ โคสฺส ควตฺตํฯ
อนญฺญาสงฺขฺยตฺเถสูติ กิํ? จิตฺตคุ, อุปคุฯ

บทว่า อโลเป ไม่มีการลบ มีประโยชน์อะไร? มีประโยชน์ในการไม่ลง อปัจจัย ในกรณีที่มีการลบในตำแหน่งดังกล่าว ในตัวอย่างว่า ปญฺจคุ สิ่งของอันเขาซื้อแล้วด้วยโค ๕ ตัว. ในตัวอย่างนี้ ลบ ตัทธิตปัจจัยในอรรถว่า ซื้อแล้วด้วยสิ่งนั้น, เพราะเหตุนั้น จึงไม่ลง อปัจจัย. ในกรณีนี้ แปลง โอ เป็น อุ ด้วยสูตรว่า โคสฺสุ.
คำว่า อจตฺเถ ในสมาสที่ไม่ใช่ทวันทสมาส มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการไม่ลง อปัจจัย ในกรณีที่ โคศัพท์เป็นไปในทวันทสมาส เช่น ควชคโว ที่เกิดจากโคและโค ในกรณีนี้ เมื่อลง โย วิภัตติ. แปลง โค เป็น คว.
 บทว่า อนญฺญาสงฺขฺยตฺเถสุ ในสมาสที่ไม่ใช่พหุพพีหิสมาสและอัพยยีภาวสมาส มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการไม่ลง อปัจจัย ในกรณีที่ โคศัพท์เป็นไปในพหุพพีหิสมาส และอัพยยีภาวสมาส เช่น จิตฺตคุ มีโคด่าง, อุปคุ ใกล้โค.

๓๗๕. รตฺติทิว ทารคว จตุรสฺสา [13]

๓๗๕. รตฺติทิว ทารคว จตุรสฺสา
(สามศัพท์เหล่านี้  คือ รตฺติทิวา ทารควและจตุรสฺสา ย่อมสำเร็จรูป โดย มี อเป็นที่สุด)
เอเต ตโย สทฺทา ออนฺตา นิปจฺจนฺเตฯ
รตฺติ จ ทิวา จ รตฺติทิวํ, ทารา จ คาโว จ ทารควํ, จตสฺโส อสฺสิโย ยสฺส โส จตุรสฺโส, อปจฺจโย, อสฺสิสฺส อิสฺส อตฺตํฯ
สามศัพท์เหล่านี้  คือ รตฺติทิวา ทารควและจตุรสฺสา ย่อมสำเร็จรูป โดย มี อเป็นที่สุด เช่น
 คืน และ วัน ชื่อว่า รตฺติวํ, ภรรรยา และ โค ชื่อว่า ทารควํ, จตุรสฺโส มี ๔ มุม, ลง อ ปัจจัย และ แปลง อิ ของ อสฺสิ เป็น อ.

๓๗๖. อายาเมนุควํ[14]

๓๗๖. อายาเมนุควํ
เมื่อศัพท์ที่สื่อความหมายว่า ความยาว ถูกรู้อยู่ ศัพท์ อนุควํ ย่อมสำเร็จ โดยมี อปัจจัยเป็นที่สุด.

อายาเม คมฺยมาเน อนุควนฺติ นิปจฺจเตฯ
โคหิ อนุฏฺฐิตํ สกฏํ อนุควํฯ
อายาเมติ กิํ? คุนฺนํ ปจฺฉา อนุคุ
เมื่อศัพท์ที่สื่อความหมายว่า ความยาว ถูกรู้อยู่ ศัพท์ อนุควํ ย่อมสำเร็จ (ถือความหมายว่า อนุควํ ศัพท์ มีความหมายว่า ความยาว ก็มีใช้ได้ตามรูปนี้)
เกวียน อันตั้งขึ้นแล้ว ตั้งแต่โค ชื่อว่า อนุควํ เกวียนยาวจรดถึงโค.[15]
บทว่า อายาเม เมื่อศัพท์สื่อถึงความยาว มีประโยชน์อะไร?
ไม่ลง อปัจจัย ถ้าศัพท์สมาสนั้น ไม่สื่อถึงความหมายว่า ยาว ในตัวอย่างนี้ว่า อนุคุ เกวียนตัั้งขึ้นภายหลังแห่งโค.

๓๗๗. อกฺขิสฺมาญฺญตฺเถ [16]

๓๗๗. อกฺขิสฺมาญฺญตฺเถ
(ลง อปัจจัย เป็นเสียงท้าย จากอกฺขิศัพท์ ในอัญญปทัตถสมาส)
อญฺญปทตฺเถ ปวตฺตา อกฺขิมฺหา สมาสนฺโต อ โหติฯ
วิสาลานิ อกฺขีนิ ยสฺส โส วิสาลกฺโข, วิรูปานิ อกฺขีนิ ยสฺส โส วิรูปกฺโข, อเนกสหสฺสานิ อกฺขีนิ ยสฺส โส สหสฺสกฺโข, โลหิตานิ อกฺขีนิ ยสฺส โส โลหิตกฺโขฯ เอวํ นีลกฺโข, นีลกฺขิ วาฯ

ลง อปัจจัย เป็นหน่วยเสียงสุดท้าย จาก อกฺขิ ศัพท์ อันเป็นไปในพหุพพีหิสมาส เช่น
ตา กว้าง ของบุคคลใดมีอยู่ เหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า วิสาลกฺโข มีตากว้าง. ตา อันน่าเกลียด ของเทพองค์ใด มีอยู่ เหตุนั้น เทพนั้น ชื่อว่า วิรูปกฺข ตาน่ากลัว, ตา หลายพัน ของเทพองค์ใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น เทพนั้น ชื่อว่า สหสฺสกฺข, ตา สีแดง ของเทพใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น เทพนั้น ชื่อว่า โลหิตกฺข. นีลกฺโข มีตาสีเขียว ก็เช่นเดียวกันนี้ , มีรูปว่า นีลกฺขิ บ้าง.
พหุลาธิการา อนญฺญตฺเถปิ, อกฺขีนํ ปฏิมุขํ ปจฺจกฺขํ, อกฺขีนํ ปรภาโค ปโรกฺขํ, อกฺขีนํ ติโรภาโค ติโรกฺขํฯ อกฺขิสทฺเทน เจตฺถ ปญฺจินฺทฺริยานิ คยฺหนฺติฯ

เพราะการตามมาแห่ง พหุล ศัพท์ แม้ในสมาสที่ไม่ใช่อัญญัตถสมาส ก็ลงอปัจจัยท้าย อกฺขิ ศัพท์บ้าง เช่น เฉพาะหน้าแห่งตา (ต่อตา) ชื่อว่า ปจฺจกฺขํ, ที่อื่นแห่งตา ชื่อว่า ปโรกฺขํ, ภายใน แห่งตา ชื่อว่า ติโรกฺขํ. ในที่นี้ สงเคราะห์อินทรีย์ ๕ ด้วยคำว่า อกฺขิ.
มหาวุตฺตินา กฺวจิ สมาสนฺโต อ, อา, อิปจฺจยา โหนฺติฯ

ในบางแห่ง มีการลง อปัจจัย,  อาปัจจัย และอิปัจจัย เป็นหน่วยเสียงสุดท้ายของสมาส ด้วยมหาสูตร.
ตตฺถ อปจฺจเย

บรรดาปัจจัย ๓ ตัวนั้น ในอปัจจัย มีตัวอย่างเป็นต้นว่า
วายุโน สขา วายุสโข, วายุสงฺขาโต สขา อสฺสาติ วา วายุสโข, อคฺคิ, สพฺเพสํ ปิยาปิยมชฺฌตฺตานํ สขาติ สพฺพสโข, สพฺเพ วา สขาโย อสฺสาติ สพฺพสโข, เมตฺตาวิหารีฯ ‘‘สพฺพมิตฺโต สพฺพสโข’’ติ[17] ปาฬิฯ ปาปานํ สขาติ ปาปสโข, ปาปา สขาโร ยสฺสาติ วา ปาปสโขฯ ‘‘ปาปมิตฺโต ปาปสโข’’ติ [18] ปาฬิฯ ปหิโต เปสิโต อตฺตา เยนาติ ปหิตตฺโต, มชฺฌิโม อตฺตา สภาโว ยสฺสาติ มชฺฌตฺโต, ฉาตํ อชฺฌตฺตสนฺตานํ[19] ยสฺสาติ ฉาตชฺฌตฺโต, สุหิโต อตฺตา ยสฺสาติ สุหิตตฺโต, ยโต สํยโต อตฺตา ยสฺสาติ ยตตฺโต, ฐิโต อตฺตา อสฺสาติ ฐิตตฺโตอิจฺจาทิฯ

เพื่อนแห่งลม ชื่อว่า วายุสโข, อีกนัยหนึ่ง เพื่อนกล่าวคือลม ของธรรมชาตินี้มีอยู่ เหตุนั้น ธรรมชาติ นี้ ชื่อว่า วายุสโข ได้แก่ อคฺคิ (ไฟ). เมตตาวิหารีบุคคล (ผู้มีเมตตาเป็นเครื่องเป็นปกติ) ชื่อว่า สพฺพสโข เพราะความหมายว่า เป็นเพื่อนแห่งบุคคลทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นทีรัก ไม่เป็นที่รัก หรือเป็นผู้ดำรงอยู่ตรงกลาง, อีกนัยหนึ่ง เพราะมีบุคคลเป็นเพื่อนทั้งหมด. มีพระบาฬีเป็นหลักฐานว่า  สพฺพมิตฺโต สพฺพสโข เราได้เป็นมิตรเป็นสหายของสัตว์ทั้งปวง. ตน อันบุคคลบุคคลใดส่งไปแล้ว เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า  ปหิตตฺโต มีตนอันส่งไปแล้ว, ตน คือ สภาวะ อันมีในท่ามกลาง ของธรรมใด มีอยู่ ธรรมนั้น ชื่อว่า มชฺฌตฺโต มีสภาวะอันมีในท่ามกลาง, สันดานภาย อันอดหยาก  ของธรรมใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น ชื่อว่า มีสันดานภายในอันอดอยาก, ตน อันอิ่มหนำแล้ว ของบุคคลใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า มีตนอันอิ่มแล้ว.  ตนอัน สงวนดีแล้ว ของบุคคลใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า มีตนอันสงวนดีแล้ว, ตน อันตั้งได้แล้ว ของบุคคลใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า มีตนอันตั้งได้แล้ว
อาปจฺจเย
ปจฺจกฺโข ธมฺโม ยสฺสาติ ปจฺจกฺขธมฺมา, ฉาเทตีติ ฉโท, โมโห, วิวโฏ ฉโท ยสฺมินฺติ วิวฏจฺฉทา, สมฺมาสมฺพุทฺโธฯ

ในอาปัจจัย มีตัวอย่างเป็นต้นว่า
ธรรม อันเห็นโดยประจักษ์ ของบุคคลใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคล นั้น ชื่อว่า มีธรรมอันเห็นโดยประจักษ์แล้ว, สภาวะที่ปกปิด ชื่อว่า ฉท, สภาวะที่ปกปิด ในบุคคลใด เปิดแล้ว เพราะเหตุนั้น บุคคล ชื่อว่า วิวฏจฺฉทา มีที่ปกปิดอันเปิดแล้ว, ได้แก่ สมฺมาสมฺพุทฺโธ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

อิปจฺจเย
สุนฺทโร คนฺโธ ยสฺสาติ สุคนฺธิ, กุจฺฉิโต คนฺโธ ยสฺสาติ ทุคฺคนฺธิ, ปูติโน คนฺโธ ยสฺสาติ ปูติคนฺธิ, สุรภิโน คนฺโธ สุรภิคนฺธิฯ ‘‘สรีรสฺส สุคนฺธิโน, คุณคนฺธิยุตฺโต อห’’นฺติ ปาฬิฯ

ในอิปัจจัย มีตัวอย่างเป็นต้นว่า
กลิ่น หอม ของธรรมชาติใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า สุคนฺธิ มีกลิ่นหอม, กลิ่น เหม็น ของธรรมชาติใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า ปูติคนฺธิ, กลิ่นหอม ชื่อว่า สุรภิคนฺธิ. มีพระบาฬีเป็นหลักฐานว่า สรีรสฺส สุคนฺธิโน ร่างกาย มีกลิ่นหอมกรุ่น, คุณคนฺธิยุตฺโต อหํ ข้าพเจ้า มีตนประกอบด้วยกลิ่นหอมคือคุณ

อิติ สมาสนฺตอปจฺจยราสิฯ

กลุ่มศัพท์ที่ลงอปัจจัยเป็นที่สุดแห่งสมาส
เป็นอย่างนี้.



[1] [ก. ๓๓๘; รู. ๓๕๖; นี. ๗๒๕; จํ. ๔.๔.๑๔๐; ปา. ๕.๔.๑๕๒]
[2] [ก. ๓๓๘; รู. ๓๕๖; นี. ๗๒๕; จํ. ๖.๒.๗๒; ปา. ๕.๔.๑๕๒]
[3] [ก. ๓๓๗; รู. ๓๕๐; นี. ๗๒๒; จํ. ๔.๔.๕๒; ปา. ๕.๔.๖๘; ‘ตฺว’ (พหูสุ)]
[4] [ก. ๓๓๗; รู. ๓๕๐; นี. ๗๒๒; จํ. ๔.๔.๗๒; …เป.๕.๔.๗๕; ‘โคทาวรีนํ’ (พหูสุ)]
[5] บทว่า ปาปภูมิ มีวิเคราะห์อีกนัยหนึ่งว่า ปาปา ภูมิ ยสฺมิํ ฐาเน ตํ ปาปภูมํ. การเกิดขึ้น ที่เลว มีอยู่ในที่ใด ที่นั้น ชื่อว่า ปาปภูมํ มีการเกิดขึ้นที่เลว. ชาติยา อุปลกฺขิตา ภูมิ ยสฺมึ ฐาเน ตํ ชาติภูมํ ภูมิอันกำหนดแล้วด้วยการเกิด มีในที่ใด ที่นั้น ชื่อว่า ชาติภูมํ สถานที่มีภูมิอันกำหนดแล้วด้วยการเกิด  (ปญฺจิกา. ๓/๔๑).  เมื่อลง อปัจจัย ด้วยสูตรนี้แล้ว ลบ อิ ที่ปาปภูมิเป็นต้น ด้วยสูตรว่า “สโร โลโป สเร ลบสระหน้า ในเพราะสระหลัง” (โมค.๑/๒๖).
[6] [ก. ๓๓๗; รู. ๓๕๐; นี. ๗๒๒; จํ. ๔.๔.๗๓; ปา. ๕.๔.๗๕]
[7] [ก. ๓๓๗; รู. ๓๕๐; นี. ๗๒๒; จํ. ๔.๔.๗๓; ปา. ๕.๔.๗๕]
[8] [ก. ๓๓๗; รู. ๓๕๐; นี. ๗๒๒; จํ. ๔.๔.๗๔; ปา. ๕.๔.๘๖]
[9] [มหาว. ๖๖]
[10]  [ก. ๓๓๗; รู. ๓๕๐; นี. ๗๒๒; จํ. ๔.๔.๙๗; ปา. ๕.๔.๑๑๔; ‘ทารุมฺยงฺคุลฺยา’ (พหูสุ)]
[11] [ก. ๓๓๗; รู. ๓๕๐; นี. ๗๒๒; จํ. ๔.๔.๗๕; ปา. ๕.๔.๘๗]
[12] [ก. ๓๓๗; รู. ๓๕๐; นี. ๗๒๒; จํ. ๔.๔.๗๗; ปา. ๕.๔.๙๒]
[13] [ก. ๓๓๗; รู. ๓๕๐; นี. ๗๒๒; จํ. ๔.๔.๖๒; ปา. ๕.๔.๗๗]
[14] [ก. ๓๓๗; รู. ๓๕๐; นี. ๗๒๒; จํ. ๔.๔.๖๙; ปา. ๕.๔.๘๓]
[15] หมายความว่า เมื่อพูดเกวียน จะหมายรวมถึงทั้งโคและเกวียน (หนังสือไวยากรณ์บาลี โดย รศ. ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง).
[16] [ก. ๓๓๗; รู. ๓๕๐; นี. ๗๒๒; จํ. ๔.๔.๙๖; ปา. ๕.๔.๑๑๓]
[17] [เถรคา. ๖๔๘]
[18] [ที. นิ. ๓.๒๕๓]
[19]  [สณฺฐานํ (มูลปาเฐ)]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น