วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สัพพนาม ๓ - อมฺห, ตุมฺห ศัพท์


อมฺห และ ตุมฺห ศัพท์
อมฺห ศัพท์
ปฐมาวิภัตติ  - เอกวจนะ
แปลง อมฺห กับ สิ เป็น อหํ ดัวยสูตรนี้

๒๕๒. สิมฺหาหํ [ก. ๑๔๙; รู. ๒๓๒; นี. ๓๑๙; ‘สิมฺหหํ’ (พหูสุ)]
เพราะ สิ วิภัตติ อหํ เป็นอาเทสของ อมฺห และวิภัตติ.


สิมฺหิ สวิภตฺติสฺส อมฺหสฺส อหํ โหติฯ
อหํ คจฺฉามิฯ
ในเพราะสิวิภัตติ อหํ เป็นอาเทสของ อมฺห พร้อมกับวิภัตติ.
อหํ คจฺฉามิ = เรา ย่อมไป.

ปฐมาวิภัตติ  - พหุวจนะ
แปลง อมฺห กับ โย วิภัตติ เป็น มยํ หรือ อสฺมา ด้วยสูตรนี้
๒๕๓. มยมสฺมามฺหสฺส [ก. ๑๒๑; รู. ๒๓๓; นี. ๒๙๖]
เพราะ โยทั้งหลาย มยํ และ อสฺมา เป็นอาเทสของ โย พร้อมทั้งวิภัตติ ได้บ้าง.

โยสุ สวิภตฺติสฺส อมฺหสฺส กเมน มยํ, อสฺมา โหนฺติ วาฯมยํ คจฺฉาม, อสฺเม ปสฺสามิฯ
ในเพราะโยวิภัตติทั้งหลาย มยํ และ อสฺมา เป็นอาเทสของ อมฺห พร้อมทั้งวิภัตติ ได้บ้าง.
มยํ คจฺฉาม = พวกเรา ย่อมไป
อสฺเม[๑] ปสฺสามิ = พวกเรา ย่อมเห็น

ปกฺเข
โยนเมฏอิติ วิธิ, อมฺเห คจฺฉามฯ
ในส่วนที่ไม่แปลงเป็น มยํ และ อสฺมา สำเร็จรูปเป็น อมฺเห ด้วยสูตร โยนเมฏ (แปลง โย เป็น เอ)
อมฺเห คจฺฉาม พวกเรา ย่อมไป.

ตุมฺห ศัพท์
ปฐมาวิภัตติ - เอกวจนะ
แปลง ตุมฺห กับ สิ วิภัตติ เป็น ตุวํ และ ตฺวํ, ทุติยาวิภัตติ ตุมฺห กับ อํ เป็น ตุวํ และ ตฺวํ ด้วยสูตรนี้
๒๕๔. ตุมฺหสฺส ตุวํตฺวํมฺหิ จ [ก. ๑๔๖; รู. ๒๓๖; นี. ๓๒๔; ‘ตุมฺหสฺส ตุวํตฺวมมฺหิจ’ (พหูสุ)]
เพราะ สิ และ อํ ตุวํ และ ตฺวํ เป็นอาเทสของ ตุมฺห พร้อมกับวิภัตติ

สิมฺหิ จ อํมฺหิ จ สวิภตฺติสฺส ตุมฺหสฺส ตุวํ, ตฺวํ โหนฺติฯ
ตุวํ พุทฺโธ ตุวํ สตฺถา, ตุวํ มาราภิภู มุนิ [เถรคา. ๘๓๙], ตฺวํ โน สตฺถา อนุตฺตโร, ตุมฺเห คจฺฉถ, ตุวํ ปสฺสติ, ตฺวํ ปสฺสติฯ
ในเพราะ สิ และ อํ วิภัตติ ตุวํ และ ตฺวํ เป็นอาเทสของ ตุมฺห พร้อมทั้งวิภัตติ.
มีพระบาฬีเป็นตัวอย่างของ ตุวํ อาเทส ดังนี้

ตุวํ พุทฺโธ ตุวํ สตฺถา,                ตุวํ มาราภิภู มุนิ (ขุ.เถรคาถา ๒๖/๓๙๐)
พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญูพุทธเจ้า เป็นศาสดา    เป็นจอมปราชญ์    ทรงครอบงำมารได้

เม ทสสตยกฺขา                        อิทฺธิมนฺโต ยสสฺสิโน
สพฺเพ ตํ สรณํ ยนฺติ                  ตฺวํ โน สตฺถา อนุตฺตโร, (ขุ.สุตฺต. ๒๕/๓๐๙)
ยักษ์ ๑,๐๐๐ ตนที่อยู่ ณ ที่นั้นทั้งหมด มีฤทธิ์ มียศ ย่อมถึงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นสรณะโดยเปล่งวาจาว่า พระองค์ ทรงเป็นพระศาสดาผู้ยอดเยี่ยม ไม่มีใครยิ่งกว่าของข้าพระองค์ทั้งหลาย

ปฐมาวิภัตติ - พหุวจนะ
ตุมฺเห คจฺฉถ  พวกท่านจงไป

ทุติยาวิภัตติ เอกวจนะ
ตุวํ ปสฺสติ  ย่อมเห็น ซึ่งท่าน
ตฺวํ ปสฺสติ ย่อมเห็น ซึ่งท่าน

นอกจากนี้ ยังแปลง ตุมฺห และ อมฺห กับ อํ วิภัตติเป็น ตํ, มํ, ตวํ และ มมํ ด้วยสูตรนี้
๒๕๕. อํมฺหิ ตํ มํ ตวํ มมํ [ก. ๑๔๓-๔; รู. ๒๓๔-๕; นี. ๓๒๒]
เพราะอํ วิภัตติ ตํ, มํ, ตวํ และ มมํ เป็นอาเทสของ ตุมฺห และ อมฺห พร้อมทั้งวิภัตติ.

อํมฺหิ สวิภตฺตีนํ ตุมฺหามฺหานํ ตํ, มํ, ตวํ, มมํ โหนฺติฯ
มํ ปสฺสติ, มมํ ปสฺสติ, ตํ ปสฺสติ, ตวํ ปสฺสติ, อมฺเห ปสฺสติ, ตุมฺเห ปสฺสติฯ
ในพราะอํวิภัตติ ตํ, มํ, ตวํ, มมํ เป็นอาเทสของ ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์ พร้อมทั้งวิภัตติ.
มํ ปสฺสติ  ย่อมเห็น ซึ่งเรา
มมํ ปสฺสติ   ย่อมเห็น ซึ่งเรา

ตํ ปสฺสติ ย่อมเห็น ซึ่งท่าน
ตวํ ปสฺสติ  ย่อมเห็น ซึ่งท่าน

อมฺเห ปสฺสติ  ย่อมเห็น ซึ่งเราทั้งหลาย.
ตุมฺเห ปสฺสติ  ย่อมเห็น ซึ่งท่านทั้งหลาย

ทุติยาวิภัตติ - พหุวจนะ
แปลงสระที่สุดของ อมฺห และ ตุมฺห กับวิภัตติ เป็น อํ และ อากํ ด้วยสูตรนี้
๒๕๖. ทุติยาโยมฺหิ วา [ก. ๑๖๒; รู. ๒๓๗; นี. ๓๔๕; ‘ทุติเย โยมฺหิ วา’ (พหูสุ)]
อํ และ อากํ เป็นอาเทสของสระที่สุดของ ตุมฺห และ อมฺห พร้อมทั้งวิภัตติ ได้บ้าง.

ทุติยาโยมฺหิ สวิภตฺตีนํ ตุมฺหามฺหานํ งานุพนฺธา อํ, อากํอาเทสา โหนฺติ วาฯ[๒]
อมฺหํ, อมฺหากํ ปสฺสติ, ตุมฺหํ, ตุมฺหากํ ปสฺสติฯ
ในเพราะ โยทุติยาวิภัตติ อักษรอาเทส คือ อํ และ อากํ อันมีงอนุพันธ์ ของตุมฺห และ อมฺห ศัพท์ พร้อมทั้งวิภัตติ ย่อมมี ได้บ้าง.
อมฺหํ, อมฺหากํ ปสฺสติ เขาเห็นซึ่งเราทั้งหลาย
ตุมฺหํ, ตุมฺหากํ ปสฺสติ เขาเห็นซึ่งท่านทั้งหลาย.

ตติยาวิภัตติ เอกวจนะ แปลง อมฺห และ ตุมฺห กับ นา วิภัตติ เป็น ตยา และ มยา ด้วยสูตรนี้
๒๕๗. นาสฺมาสุ ตยามยา [ก. ๑๔๕, ๒๗๐; รู. ๒๓๘, ๑๒๐; นี. ๓๒๓, ๕๔๒]
เพราะนาและสฺมาวิภัตติ ตยา และ มยา เป็นอาเทสของ ตุมฺห และ อมฺห พร้อมทั้งวิภัตติ.

นา, สฺมาสุ สวิภตฺตีนํ ตุมฺหามฺหานํ ตยา, มยา โหนฺติฯ
มยา กตํ, ตยา กตํ, มยา อเปติ, ตยา อเปติฯ
เพราะนาและสฺมาวิภัตติ ตยา และ มยา เป็นอาเทสของ ตุมฺห และ อมฺห พร้อมทั้งวิภัตติ.

ตติยาวิภัตติ
มยา กตํ อันเรา กระทำแล้ว
ตยา กตํ อันท่าน กระทำแล้ว

ปัญจมีวิภัตติ
มยา อเปติ หลีกออกจากเรา
ตยา อเปติ หลีกออกจากท่าน

 แปลง ต ของ ตยา (อาเทสของ ตุมฺห กับ นา และ สฺมา) และ ตยิ (อาเทสของ ตฺุมฺห กับ สฺมิํ) เป็น ตว ด้วยสูตรนี้
๒๕๘. ตยาตยีนํ ตฺว วา ตสฺส [ก. ๒๑๐; รู. ๒๓๙; นี. ๔๓๕]
ตฺว เป็น อาเทส ของ ต แห่ง ตยา และ ตยิ ได้บ้าง

ตยา, ตยีนํ ตสฺส ตฺว โหติ วาฯ
ตฺวยา กตํ, ตฺวยา อเปติ, อมฺเหหิ กตํ, ตุมฺเหหิ กตํฯ
ตฺว เป็น อาเทส ของ ต แห่ง ตยา และ ตยิ ได้บ้าง
ตติยาวิภัตติ - เอกวจนะ
ตฺวยา กตํ อันเรากระทำแล้ว

ปัญจมีวิภัตติ
ตฺวยา อเปติ ย่อมหลีกไปจากท่าน

ตติยาวิภัตติ - พหุวจนะ
อมฺเหหิ กตํ อันเราท.กระทำแล้ว
ตุมฺเหหิ กตํ อันท่านท. กระทำแล้ว.

จตุตถีวิภัตติ แปลง ตุมฺห และ อมฺห กับ ส วิภัตติ เป็น มม, มยฺหํ, ตว, ตุยฺหํ ด้วยสูตรนี้
๒๕๙. ตวมมตุยฺหํมยฺหํ เส [ก. ๑๔๑-๒; รู. ๒๔๑-๒; นี. ๓๒๑]
เพราะ ส ตว มม ตุยฺหํ และมยฺหํ เป็นอาเทสของ ตุมฺห และ อมฺห พร้อมทั้งวิภัตติ.

สมฺหิ สวิภตฺตีนํ ตุมฺหามฺหานํ ตวาทโย โหนฺติฯ
มม ทียเต, มยฺหํ ทียเต, ตว ทียเต, ตุยฺหํ ทียเตฯ
เพราะ ส ตว มม ตุยฺหํ และมยฺหํ เป็นอาเทสของ ตุมฺห และ อมฺห พร้อมทั้งวิภัตติ.

จตุตถีวิภัตติ - เอกวจนะ
มม ทียเต (จีวร) อันเขาย่อมให้ แก่เรา
มยฺหํ ทียเต (จีวร) อันเขาย่อมให้ แก่เรา
ตว ทียเต (จีวร) อันเขา ย่อมให้ แก่ท่าน
ตุยฺหํ ทียเต (จีวร) อันเขา ย่อมให้ แก่ท่าน

จตุตถีวิภัตติ เอกวจนะ แปลง อมฺห กับ ส เป็น มมํ. ส่วนในพหุวจนะ แปลง อมฺห กับ นํวิภัตติ เป็น อสฺมากํ ด้วยสูตรนี้
๒๖๐. นํเสสฺวสฺมากํมมํ [นี. ๔๓๘]
เพราะนํ และ ส วิภัตติ อสฺมากํ และ มมํ เป็นอาเทสของ อมฺห พร้อมทั้งวิภัตติ ตามลำดับ.

นํ, เสสุ สวิภตฺติสฺส อมฺหสฺส กเมน อสฺมากํ, มมํ โหนฺติฯ
มมํ ทียเต, อสฺมากํ ทียเตฯ
เพราะนํ และ ส วิภัตติ อสฺมากํ และ มมํ เป็นอาเทสของ อมฺห พร้อมทั้งวิภัตติ ตามลำดับ.
จตุตถีวิภัตติ - เอกวจนะ
มมํ ทียเต จีวร อันเขา ย่อมให้ แก่เรา

จตุตถีวิภัตติ - พหุวจนะ
อสฺมากํ ทียเต (จีวร) อันเขา ย่อมให้ แก่เราทั้งหลาย.

แปลงสระที่สุดของ ตุมฺห และ อมฺห กับ นํ วิภัตติเป็น อํ และ อากํ ด้วยสูตรนี้
๒๖๑. งํงากํ นํมฺหิ [ก. ๑๖๑; รู. ๒๔๔; นี. ๓๔๔]
เพราะ นํวิภัตติ อาเทส คือ อํ และ อากํ แห่งสระที่สุดของ ตุมฺห และ อมฺห กับวิภัตติ ย่อมมี ได้บ้าง.

นํมฺหิ สวิภตฺตีนํ ตุมฺหามฺหานํ งานุพนฺธา อํ, อากํอาเทสา โหนฺติ วาฯ
อมฺหํ ทียเต, อมฺหากํ ทียเต, ตุมฺหํ ทียเต, ตุมฺหากํ ทียเตฯ ปญฺจมิยํ มยา, ตยา, ตฺวยา, ปุพฺเพ วุตฺตาว.
เพราะ นํวิภัตติ อาเทส คือ อํ และ อากํ ซึ่งมี ง อนุพันธ์ แห่งสระที่สุดของ ตุมฺห และ อมฺห พร้อมกับวิภัตติ ย่อมมี ได้บ้าง.
จตุตถี - พหุวจนะ
อมฺหํ ทียเต, อมฺหากํ ทียเต จีวร อันเขาย่อมให้แก่เราท.
ตุมฺหํ ทียเต, ตุมฺหากํ ทียเต จีวร อันเขาย่อมให้แก่ท่านท.

ปัญจมีวิภัตติ เอกวจนะ ได้อธิบายวิธีการสำเร็จรูปมาแล้วด้วยสูตรในตติยาวิภัตติ[๓]
มยา
ตยา, ตฺวยา

ปัญจมีวิภัตติ เอกวจนะ แปลง ตุมฺห กับ สฺมาวิภัตติ เป็น ตฺวมฺหา ด้วยสูตรนี้
๒๖๒. สฺมามฺหิ ตฺวมฺหา
เพราะ สฺมา วิภัตติ ตฺวมฺหา เป็นอาเทส ของตุมฺห พร้อมทั้งวิภัตติ.

สฺมามฺหิ สวิภตฺติสฺส ตุมฺหสฺส ตฺวมฺหา โหติฯ
ตฺวมฺหา อเปติ, อมฺเหหิ, ตุมฺเหหิ, มม, มมํ, มยฺหํ, ตว, ตุยฺหํ, อมฺหํ, อมฺหากํ, อสฺมากํ, ตุมฺหํ, ตุมฺหากํฯ
เพราะ สฺมา วิภัตติ ตฺวมฺหา เป็นอาเทส ของตุมฺห พร้อมทั้งวิภัตติ.

ปัญจมีวิภัตติ - เอกวจนะ
ตฺวมฺหา อเปติ ย่อมหลีก จากท่าน.

ปัญจมี - พหุวจนะ
อมฺเหหิ,
ตุมฺเหหิ

ฉัฏฐีวิภัตติ - เอกวจนะ
มม, มมํ, มยฺหํ
ตว, ตุยฺหํ

ฉัฏฐีวิภัตติ - พหุวจนะ
อมฺหํ, อมฺหากํ, อสฺมากํ
ตุมฺหํ, ตุมฺหากํ

๒๖๓. สฺมิํมฺหิ ตุมฺหมฺหานํ ตยิมยิ [ก. ๑๓๙; รู. ๒๔๕; นี. ๓๑๘]
เพราะสฺมิํ ตยิ และ มยิ เป็นอาเทสของ ตุมฺห และ อมฺห พร้อมทั้งวิภัตติ.

สฺมิํมฺหิ สวิภตฺตีนํ ตุมฺหามฺหานํ ตยิ, มยิ โหนฺติฯ
ตยิ, มยิ, ตฺวตฺเต ตฺวยิ, อมฺเหสุ, ตุมฺเหสุฯ
เพราะสฺมิํ ตยิ และ มยิ เป็นอาเทสของ ตุมฺห และ อมฺห พร้อมทั้งวิภัตติ.
สัตตมีวิภัตติ - เอกวจนะ
ตยิ
มยิ

ตฺวยิ (แปลง ต ของ ตยิ เป็น ตฺว[๔])

สัตตมีวิภัตติ พหุวจนะ แปลง อมฺห เป็น อสฺมา ด้วยสูตรนี้
๒๖๔. สุมฺหามฺหสฺสาสฺมา [นี. ๔๓๘]
เพราะสุ อสฺมา เป็นอาเทสของ อมฺห.

สุมฺหิ อมฺหสฺส อสฺมา โหติฯ
อสฺมาสุฯ
เพราะสุ อสฺมา เป็นอาเทสของ อมฺห.

สัตตมีวิภัตติ - พหุวจนะ
อสฺมาสุ

มหาวุตฺตินา โย, หิสุ อมฺหสฺส อสฺมาเทโส, โยนํ เอตฺตญฺจ, อสฺมา คจฺฉาม, อสฺเม ปสฺสติ, อสฺมาหิ กตํ, อสฺมากํ ทียเต, อสฺมาหิ อเปติ, อสฺมากํ ธนํ, อสฺมาสุ ฐิตํฯ ‘‘อสฺมาภิชปฺปนฺติ ชนา อเนกา’’ติ [ชา. ๑.๗.๖๘] ปาฬิ-อสฺเม อภิชปฺปนฺติ ปตฺเถนฺตีติ อตฺโถฯ ‘‘อสฺมาภิ ปริจิณฺโณสิ, เมตฺตจิตฺตา หิ นายกา’’ติ [อป. เถรี ๒.๒.๒๓๐] เถรีปาฬิ – ‘ปริจิณฺโณติ ปริจาริโตฯ
ด้วยมหาสูตร ในเพราะ โย และ หิ อสฺมา เป็นอาเทสของ อมฺห, แปลง โย เป็น เอ สำเร็จรูปเป็น
อสฺมา คจฺฉาม เราท.ย่อมไป
อสฺเม ปสฺสติ เขา ย่อมเห็น ซึ่งเราท.
อสฺมาหิ กตํ (กมฺมํ) การงาน อันเราท. กระทำแล้ว
อสฺมากํ ทียเต (จีวรํ) จีวร อันเขา ย่อมให้ แก่เราท..
อสฺมาหิ อเปติ ย่อมหลีกออกจากเราท.
อสฺมากํ ธนํ ทรัพย์ ของเราท.
อสฺมาสุ ฐิตํ วัตถุ อันตั้งอยู่แล้ว ในเราท.

มีพระบาฬีชาดกนี้เป็นหลักฐาน
อสฺมาภิชปฺปนฺติ ชนา อเนกา (ขุ.ชา. ๒๗/๑๐๓๕)
ชนเป็นอันมากมุ่งหวังพวกข้าพระองค์.
บทว่า อสฺมาภิชปฺปนฺติ ตัดบทเป็น อสฺเม อภิชปฺปนฺติ ความเท่ากับ ปตฺเถนฺติ แปลว่า ย่อมปรารถนา ซึ่งพวกข้าพระองค์.[๕]

และมีพระบาฬีเถรีอปาทานเป็นหลักฐานดังนี้
อสฺมาภิ[๖] ปริจิณฺโณสิ,               เมตฺตจิตฺตาหิ นายกา (ขุ.อป.เถรี ๓๓/๑๕๗)
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำ ทรงเป็นมหามุนี พระองค์ทรงเป็นผู้ที่หม่อมฉันทั้งหลายมีจิตเมตตา    ปรนนิบัติ
บทว่า ปริจิณฺโณ (ปรนนิบัติ) แก้เป็น ปริจาริโต แปลว่า บำรุงแล้ว

จตุตฺถิยํ อสฺมากํ อธิปนฺนานํ, ขมสฺสุ ราชกุญฺชร [ชา. ๒.๒๑.๑๘๑] – ‘อธิปนฺนานนฺติ ทุกฺขาภิภูตานํฯ
ฉฏฺฐิยํ เอสสฺมากํ กุเล ธมฺโม [ชา. ๑.๔.๑๔๗], เอสา อสฺมากํ ธมฺมตาฯ
สตฺตมิยํ ยํ กิจฺจํ ปรเม มิตฺเต, กตมสฺมาสุ ตํ ตยาฯ ปตฺตา นิสฺสํสยํ ตฺวมฺหา, ภตฺติรสฺมาสุ ยา ตว [ชา. ๒.๒๑.๘๑]ตตฺถ ยํ กิจฺจนฺติ ยํ กมฺมํ กตฺตพฺพํ, ตว อสฺมาสุ ยา ภตฺติ, ตาย มยํ ตฺวมฺหา นิสฺสํสยตํ ปตฺตาติ อตฺโถฯ
ในจตุตถีวิภัตติ
อสฺมากํ อธิปนฺนานํ, ขมสฺสุ ราชกุญฺชร (ขุ.ชา. ๒๘/๒๔๑)
ข้าแต่พระองค์ ผู้เป็นราชกุญชร ขอพระองค์ได้ทรงโปรดงดโทษแก่ข้าพระองค์ ผู้ถูกความผิดครอบงำเถิด
บทว่า อธิปนฺนานํ แก้เป็น ทุกฺขาภิภูตานํ ถูกทุกข์ครอบงำ

ในฉัฏฐีวิภัตติ
เอสสฺมากํ กุเล ธมฺโม (ขุ.ชา. ๒๗/๖๔๘)
นี้เป็นธรรมในสกุล เนื่องมาจาก ปู่ ย่า ตา ยาย ของข้าพเจ้าทุกเมื่อ.

เอสา อสฺมากํ ธมฺมตา (ขุ.ชา. ๒๗/๑๙๘)ฯ
นี่เป็นธรรมดาของพวกเรา.
ในสัตตมีวิภัตติ
                ยํ กิจฺจํ ปรเม มิตฺเต,                 กตมสฺมาสุ ตํ ตยาฯ
                ปตฺตา นิสฺสํสยํ ตฺวมฺหา,           ภตฺติรสฺมาสุ ยา ตว (ขุ.ชา.๒๘/๑๙๖)
 กิจอันใดที่บุคคลพึงกระทำในมิตรผู้สูงศักดิ์ กิจอันนั้นพระองค์ทรงกระทำแล้วในข้าพระองค์ทั้    ๒เพราะความภักดีต่อพระองค์ที่มีอยู่ในข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระองค์จึงมีความภักดีต่อพระองค์โดยไม่ต้องสงสัย[๗]
ในพระบาฬีนั้น
บทว่า ยํ กิจฺจํ กิจใด แก้เป็น ยํ กมฺมํ กตฺตพฺพํ การงานใด อันเราควรทำ อธิบายความว่า
ตตฺถ ยํ กิจฺจนฺติ ยํ กมฺมํ กตฺตพฺพํ, ตว อสฺมาสุ ยา ภตฺติ, ตาย มยํ ตฺวมฺหา นิสฺสํสยตํ ปตฺตาติ อตฺโถ.
การงานใด อันท่านพึงทำ, ความภักดีต่อท่าน ในพวกเรา อันใด, พวกเรา ถึงแล้วซึ่งความหมดสงสัย จากท่าน ด้วยการงานนั้นและความภักดีนั้น.

การใช้ เต เม โว โน อาเทสของ ตุมฺห และ อมฺห
๒๖๕. อปาทาโท ปทเตกวากฺเย [จํ. ๖.๓.๑๕; ปา. ๘.๑.๑๗, ๑๘]
วิธีการแห่ง ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์ อันเป็นไปในที่ไม่ใช่เบื้องต้นแห่งบาทคาถา, อยู่หลังจากบท และตั้งอยู่ในประโยคเดียวกัน ย่อมมี.

อปาทาทิมฺหิ ปวตฺตานํ ปทโต ปเรสํ เอกวากฺเย ฐิตานํ ตุมฺหามฺหานํ วิธิ โหติฯ อธิการสุตฺตมิทํฯ
วิธีการแห่ง ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์ อันเป็นไปในที่ไม่ใช่เบื้องต้นแห่งบาทคาถา, อยู่หลังจากบท และตั้งอยู่ในประโยคเดียวกัน ย่อมมี
สูตรนี้เป็นอธิการสูตร. [๘]

แปลงตุมฺห และ อมฺห กับ โย หิ และ นํ วิภัตติ เป็น โว และ โน ด้วยสูตรนี้
๒๖๖. โยนํหิสฺวปญฺจมฺยา โวโน [ก. ๑๔๗, ๑๕๑; รู. ๒๔๖, ๒๕๐; นี. ๓๒๕, ๓๒๙, ๓๓๐]
เพราะ โย นํ และหิ วิภัตติ ที่ไม่ใช่ปัญจมีวิภัตติ[๙] โว และ โน เป็นอาเทสของตุมฺห และ อมฺห พร้อมกับวิภัตติ ซึ่งเป็นไปในที่ไม่ใช่ต้นบาทคาถา, หลังจากบท และอยู่ในประโยคเดียวกัน ได้บ้าง.
ปญฺจมีวชฺชิเตสุ โย, นํ, หิสุ ปเรสุ อปาทาโท ปวตฺตานํ ปทโต ปเรสํ เอกวากฺเย ฐิตานํ สวิภตฺตีนํ ตุมฺหามฺหสทฺทานํ โว, โน โหนฺติ วาฯ
เพราะ โย นํ และหิ วิภัตติ เว้นปัญจมีวิภัตติ[๑๐] โว และ โน เป็นอาเทสของตุมฺห และ อมฺห พร้อมกับวิภัตติ ซึ่งเป็นไปในที่ไม่ใช่ต้นบาทคาถา, หลังจากบท และอยู่ในประโยคเดียวกัน ได้บ้าง.

คจฺฉถ โว, คจฺฉถ ตุมฺเห, คจฺฉาม โน, คจฺฉาม อมฺเห, ปสฺเสยฺย โว, ปสฺเสยฺย ตุมฺเห, ปสฺเสยฺย โน, ปสฺเสยฺย อมฺเห, ทียเต โว, ทียเต ตุมฺหากํ, ทียเต โน, ทียเต อมฺหากํ, ธนํ โว, ธนํ ตุมฺหากํ, ธนํ โน, ธนํ อมฺหากํ, กตํ โว ปุญฺญํ, กตํ ตุมฺเหหิ ปุญฺญํ, กตํ โน ปุญฺญํ, กตํ อมฺเหหิ ปุญฺญํฯ
โย ปฐมาวิภัตติ
คจฺฉถ โว, คจฺฉถ ตุมฺเห ท่านท. ย่อมไป.
คจฺฉาม โน, คจฺฉาม อมฺเห เราท. ย่อมไป

โย ทุติยาวิภัตติ
ปสฺเสยฺย โว, ปสฺเสยฺย ตุมฺเห พึงเห็น (หรือพึงมาเยี่ยม) ซึ่งท่านท.
ปสฺเสยฺย โน, ปสฺเสยฺย อมฺเห พึงเห็น (หรือพึงมาเยี่ยม) ซึ่งเราท.

หิ ตติยาวิภัตติ [๑๑]
กตํ โว ปุญฺญํ, กตํ ตุมฺเหหิ ปุญฺญํ บุญอันท. ทำแล้ว.
กตํ โน ปุญฺญํ, กตํ อมฺเหหิ ปุญฺญํ บุญอันเราท. ทำแล้ว

นํ จตุตถีวิภัตติ
ทียเต โว, ทียเต ตุมฺหากํ จีวร อันเขาให้แล้ว แก่ท่านท.
ทียเต โน, ทียเต อมฺหากํ จีวร อันเขาให้แล้ว แก่เราท.

นํ ฉัฏฐีวิภัตติ
ธนํ โว, ธนํ ตุมฺหากํ ทรัพย์ของเธอท.
ธนํ โน, ธนํ อมฺหากํ ทรัพย์ของเราท.
อปญฺจมฺยาติ กิํ? นิสฺสฏํ ตุมฺเหหิ, นิสฺสฏํ อมฺเหหิฯ
อปาทาโทตฺเวว? พลญฺจ ภิกฺขูนมนุปฺปทินฺนํ, ตุมฺเหหิ ปุญฺญํ ปสุตํ อนปฺปกํ [ขุ. ปา. ๗.๑๒]
ปทโตตฺเวว? ตุมฺเห คจฺฉถ, อมฺเห คจฺฉามฯ
เอกวากฺเยตฺเวว? เทวทตฺโต ติฏฺฐติ คาเม, ตุมฺเห ติฏฺฐถ นคเรฯ
สวิภตฺตีนนฺตฺเวว? อรหติ ธมฺโม ตุมฺหาทิสานํฯ
บทว่า อปญฺจมฺยา (ไม่ใช่ปัญจมี) มีประโยชน์อะไร?. มีประโยชน์ในการห้ามมิให้ใช้อาเทสคือเต เป็นต้น ของตุมฺห และ อมฺห กับปัญจมีวิภัตติ เช่น
นิสฺสฏํ ตุมฺเหหิ สลัดออกแล้ว จากท่านท.
นิสฺสฏํ อมฺเหหิ สลัดออกแล้ว จากเราท.

บทว่า อปาทาโท (ไม่ใช่ต้นบาท) ก็เหมือนกัน มีประโยชน์อะไร? มีประโยชน์ในการห้ามมิให้ใช้อาเทสคือเต เป็นต้น ของตุมฺห และ อมฺห กับวิภัตติเหล่านั้น ในที่อันเป็นต้นบาทคาถา. ตัวอย่างเช่น
                พลญฺจ ภิกฺขูนมนุปฺปทินฺนํ,       ตุมฺเหหิ ปุญฺญํ ปสุตํ อนปฺปกํ. (ขุ.ปาฐ ๒๕/๘)
และท่านทั้งหลายได้เพิ่มกำลังให้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว บุญไม่ใช่น้อยท่านทั้งหลายได้ขวนขวายแล้ว
บทว่า ปทโต (ท้ายบท) ก็เหมือนกัน มีประโยชน์อะไร? มีประโยชน์ในการห้ามให้ใช้อาเทสคือเต เป็นต้น ของตุมฺห และ อมฺห กับวิภัตติเหล่านั้น ถ้าไม่อยู่หลังบท เช่น
ตุมฺเห คจฺฉถ ท่านท. ย่อมไป.
อมฺเห คจฺฉาม เราท. ย่อมไป.

บทว่า เอกวากฺเย (ในประโยคเดียวกัน) ก็เหมือนกัน มีประโยชน์อะไร? มีประโยชน์ในการห้ามให้ใช้อาเทสคือเต เป็นต้น ของตุมฺห และ อมฺห กับวิภัตติเหล่านั้น ถ้าอยู่ต่างประโยคกัน [๑๒] เช่น

เทวทตฺโต ติฏฺฐติ คาเม, ตุมฺเห ติฏฺฐถ นคเร
นายเทวทัต ยืนอยู่ ในหมู่บ้าน, ท่านท. ยืนอยู่ ในเมือง.
บทว่า สวิภตฺตีนํ (เป็นไปกับด้วยวิภัตติ) ก็เหมือนกัน มีประโยชน์อะไร? มีประโยชน์ในการห้ามมิให้ใช้อาเทสคือเต เป็นต้น ของตุมฺห และ อมฺห ที่ถูกลบวิภัตติแล้ว ในบทสมาส[๑๓] ตัวอย่างเช่น

อรหติ ธมฺโม ตุมฺหาทิสานํฯ
ธรรม ย่อมควร แก่บุคคลท. อันเป็นเช่นเดียวกับท่าน.[๑๔]
ตติยาวิภัตติ และ จตุตถีวิภัตติ ใช้ เต และ เม แทน ตุมฺห และ อมฺห ด้วยสูตรนี้
๒๖๗. เตเม นาเส [ก. ๑๔๘, ๑๕๐; รู. ๒๔๗, ๒๔๙; นี. ๓๒๖, ๓๒๘; จํ. ๖.๓.๑๗; ปา. ๘.๑.๒๑]
เพราะนา และ ส  เต และ เม เป็นอาเทสของ ตุมฺห และ อมฺห อันเป็นไปกับด้วยวิภัตติ ได้บ้าง.

นา, เสสุ ตาทิสานํ สวิภตฺตีนํ ตุมฺห, อมฺหสทฺทานํ เต, เม โหนฺติ วาฯ
กตํ เต ปุญฺญํ, กตํ ตยา ปุญฺญํ, กตํ เม ปุญฺญํ, กตํ มยา ปุญฺญํ, ทินฺนํ เต วตฺถํ, ทินฺนํ ตุยฺหํ วตฺถํ, ทินฺนํ เม วตฺถํ, ทินฺนํ มยฺหํ วตฺถํ, อิทํ เต รฏฺฐํ, อิทํ ตว รฏฺฐํ, อิทํ เม รฏฺฐํ, อิทํ มม รฏฺฐํฯ
ในเพราะ นา และ สวิภัตติ ทั้งหลาย เต และ เม เป็นอาเทสของ ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์ อันเป็นไปกับด้วยวิภัตติ เช่นนั้น[๑๕]เช่น
กตํ เต ปุญฺญํ, กตํ ตยา ปุญฺญํ บุญ อันท่าน ทำแล้ว
กตํ เม ปุญฺญํ, กตํ มยา ปุญฺญํ, บุญ อันเรา ทำแล้ว

ทินฺนํ เต วตฺถํ, ทินฺนํ ตุยฺหํ วตฺถํ ผ้า อันเขาให้แล้ว แก่ท่าน
ทินฺนํ เม วตฺถํ, ทินฺนํ มยฺหํ วตฺถํ ผ้า อันเขาให้แล้ว แก่เรา

อิทํ เต รฏฺฐํ, อิทํ ตว รฏฺฐํ แคว้นนี้ ของท่าน
อิทํ เม รฏฺฐํ, อิทํ มม รฏฺฐํ แคว้นนี้ ของเรา.

(ถ้ามีการกล่าวเรื่องนั้นซ้ำอีก ให้ใช้ โว โน เต และ เม แทน ตุมฺห และ อมฺห อย่างแน่นนอน.)
๒๖๘. อนฺวาเทเส [จํ. ๖.๓.๒๐; ปา. ๘.๑.๒๓]
ในที่แสดงเนื้อความที่เคยแสดงมาแล้ว โว โน เต และ เม เป็นอาเทสของ ตุมฺห และ อมฺห อันเป็นไปกับด้วยวิภัตติ

อนฺวาเทสฏฺฐาเน ตุมฺหามฺหสทฺทานํ โว, โน, เต, เมอาเทสา นิจฺจํ ภวนฺติ ปุนพฺพิธานาฯ
คาโม ตุมฺหากํ ปริคฺคโห, อโถ นครมฺปิ โว ปริคฺคโหฯ
ในที่แสดงเนื้อความที่เคยได้กล่าวมาแล้ว การแปลงเป็น โว โน เต และ เม แห่งตุมฺห และ อมฺห อันเป็นไปกับด้วยวิภัตติ ซึ่งจะเป็นวิธีการแห่งการใช้คำซ้ำ จะมีอย่างแน่นอน. [๑๖] ตัวอย่างเช่น
คาโม ตุมฺหากํ ปริคฺคโห, อโถ นครมฺปิ โว ปริคฺคโห.
หมู่บ้านนี้เป็นสมบัติของท่าน, อนึ่ง[๑๗] แม้นครก็จะเป็นสมบัติของท่าน.

เอวํ เสเสสุฯ
แม้ในอาเทสที่เหลือ (คือ โน เต และ เม)  ก็มีนัยนี้.

๒๖๙. สปุพฺพา ปฐมนฺตา วา [‘สํปุพฺพา ปฐมนฺถา วา’ (มูลปาเฐ) จํ. ๖.๑.๒๑; ปา. ๘.๑.๒๖]
แม้ในที่จะมีการกล่าวถึงข้อความที่เคยกล่าวแล้ว ให้ใช้ โว โน เม และ ต แทน ตุมฺห และ อมฺห พร้อมทั้งวิภัตติ ที่อยู่เบื้องหลังจากบทปฐมาวิภัตติเป็นที่สุด ซึ่งมีบทอื่นอยู่หน้าบทปฐมาวิภัตตินั้น ได้บ้าง

สํวิชฺชติ ปุพฺพปทํ อสฺสาติ สปุพฺพํ, สปุพฺพา ปฐมนฺตปทมฺหา ปเรสํ สวิภตฺตีนํ ตุมฺหามฺหสทฺทานํ โว, โน, เต, เมอาเทสา วิกปฺเปน โหนฺติ อนฺวาเทสฏฺฐาเนปิฯ
คาเม ปโฏ ตุมฺหากํ, อโถ นคเร กมฺพลํ โว, อโถ นคเร กมฺพลํ ตุมฺหากํ วาฯ

ในตัวสูตร บทว่า สปุพฺพา มีรูปวิเคราะห์ว่า
สํวิชฺชติ ปุพฺพปทํ อสฺสาติ สปุพฺพํ.
บทที่มีบทอยู่หน้า เรียกว่า สปุพฺพ ได้แก่ บทปฐมาวิภัตติที่มีบทอื่นอยู่หน้า
การแปลงเป็นโว โน เต และ เม แห่ง ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์พร้อมทั้งวิภัตติ ที่อยู่ข้างหลังจากบทลงปฐมาวิภัตติ อันมีบทอื่นอยู่หน้า[๑๘] ย่อมมี โดยวิกัปป์ ในที่จะกล่าวถึงเนื้อความที่เคยกล่าวมาแล้ว.ตัวอย่างเช่น
คาเม ปโฏ ตุมฺหากํ, อโถ นคเร กมฺพลํ โว, อโถ นคเร กมฺพลํ ตุมฺหากํ วาฯ
ผ้าเพื่อท่านท. ย่อมมีในบ้าน, และผ้ากัมพล เพื่อท่าน ย่อมมีในเมือง

เอวํ เสเสสุฯ
แม้ในอาเทสที่เหลือก็มีนัยนี้.

ถ้าในประโยคที่มี จ วา ห อห และ เอว จะไม่แปลง ตุมฺห และ อมฺห เป็น โว โน เต เม.
๒๗๐. น จวาหาเหวโยเค [จํ. ๖.๓.๒๒; ปา. ๘.๑.๒๔]
ในที่ประกอบด้วย จ วา ห อห และ เอวศัพท์ ไม่ใช้โว โน เต และเม เป็นตัวเปลี่ยนของ ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์.

, วา, , อห, เอวสทฺเทหิ โยเค ตุมฺหามฺหานํ โว, โน, เต, เมอาเทสา น โหนฺติฯ
คาโม ตว จ มม จ ปริคฺคโห, คาโม ตว วา มม วา ปริคฺคโห อิจฺจาทิฯ
ในที่ประกอบด้วย จ วา ห อห และ เอวศัพท์ ไม่ใช้โว โน เต และเม เป็นตัวเปลี่ยนของ ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์. ตัวอย่างเช่น
คาโม ตว จ มม จ ปริคฺคโห บ้านเป็นสมบัติของท่านด้วย ของเราด้วย
คาโม ตว วา มม วา ปริคฺคโห บ้านเป็นสมบัติของเรา หรือ เป็นของท่าน

จาทิโยเคติ กิํ? คาโม จ เต ปริคฺคโห, นครญฺจ เม ปริคฺคโหฯ
คำว่า จาทิโยเค (ในที่ประกอบด้วย จ ศัพท์เป็นต้น) มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในไม่ห้ามให้ใช้ เต อาเทสเป็นต้น ในกรณีที่กล่าวเพื่อเชื่อมความกับประโยคต้นตัวอย่างเช่น
คาโม จ เต ปริคฺคโห, นครญฺจ เม ปริคฺคโห
บ้านเป็นสมบัติของท่านด้วย,  และพระนคร (เมือง) เป็นสมบัติ ของเรา.[๑๙]

(ถ้าอยู่ในข้อความที่มี อาโลจน ซึ่งมีอรรถว่าการมองเห็น ไม่ใช้ โว โน อาเทส เป็นต้น)
๒๗๑. ทสฺสนตฺเถนาโลจเน [จํ. ๖.๓.๒๓; ปา. ๘.๑.๒๕]
ในที่อันประกอบ อาโลจนศัพท์ ที่มีอรรถการเห็น ไม่ใช้อาเทส คือ โว โน เต เม.

อาโลจนํ โอโลกนํ, อาโลจนโต อญฺญสฺมิํ ทสฺสนตฺเถ ปยุชฺชมาเน ตุมฺหามฺหานํ โว, โน, เต, เมอาเทสา น โหนฺติฯ
คาโม ตุมฺเห อุทฺทิสฺส อาคโต, คาโม อมฺเห อุทฺทิสฺส อาคโต – ‘คาโมติ คามวาสี มหาชโนฯ
ในตัวสูตร อาโลจน ศัพท์ มีความหมายว่า โอโลกนํ การมองดู,
เมื่อใช้อาโลจนศัพท์ ในอรรถ ทสฺสน (การพบเห็น) ซึ่งเป็นอื่นจากอรรถ โอโลกน (การมองดู) จะไม่แปลงตุมฺห และ อมฺหศัพท์ เป็นโว โน เต และ เม. ตัวอย่างเช่น
คาโม ตุมฺเห อุทฺทิสฺส อาคโต. ชาวบ้าน มุ่งมาพบ ซึ่งท่านท.
คาโม อมฺเห อุทฺทิสฺส อาคโต. ชาวบ้าน มุ่งมาพบ ซึ่งเราท.[๒๐]
บทว่า คาโม (ชาวบ้าน) ได้แก่ มหาชน ผู้อยู่ในบ้านโดยปกติ (หมู่ชนชาวบ้านโดยทั่วไป)

อนาโลจเนติ กิํ? คาโม โว ปสฺสติ, คาโม โน ปสฺสติฯ
บทว่า อนาโลจเน (ที่มิได้หมายความว่า การมองดู) มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการใช้ โว เป็นต้น เป็นอาเทสของ ตุมฺห เป็นต้น ในกรณีนี้
คาโม โว ปสฺสติ ชาวบ้านย่อมแลดู ซึ่งท่านท.
คาโม โน ปสฺสติ ชาวบ้าน ย่อมแลดู ซึ่งเราท.

(ถ้ามีอาลปนะเป็นบทแรก จะไม่ใช้ โว โน อาเทส เป็นต้น เพราะไม่ถือว่าเป็นบท)
๒๗๒. อามนฺตนปุพฺพํ อสนฺตํว [‘อามนฺตณํ ปุพฺพมสนฺตํว’ (พหูสุ) จํ. ๖.๓.๒๔; ปา. ๘.๑.๗๒]
บทแรกที่เป็นอาลปนะ จะเป็นเหมือนกับว่าไม่มี.

อามนฺตนภูตํ ปุพฺพปทํ อสนฺตํ วิย โหติ, ปทโตติ สงฺขฺยํ น คจฺฉติฯ
เทวทตฺต! ตว ปริคฺคโหฯ
บทแรกที่เป็นอาลปนะ จะเป็นเหมือนกับว่า ไม่มี,  คือ ไม่ถึงการนับว่า “ท้ายบท”. ตัวอย่างเช่น
เทวทตฺต ตว ปริคฺคโห
นี่แน่ะ คุณเทวทัต นี้เป็นสมบัติของคุณ.

(ยกเว้นกรณีที่บทอาลปนะที่หมายถึงสิ่งเดียวกันเป็นต้นประโยค ก็จะถือว่าเป็นบทหน้า)
๒๗๓. น สามญฺญวจนเมกตฺเถ [จํ. ๖.๓.๒๕; ปา. ๘.๑.๗๓]
เมื่อมีบท (อาลปนะอีกหนึ่งคำ) ที่หมายถึงสิ่งเดียวกัน บทแรกที่เป็นอาลปนะ เป็นสามัญนาม จะเหมือนกับว่าไม่มีไม่ได้.

ตุลฺยาธิกรณภูเต ปเท สติ ปุพฺพํ สามญฺญวจนภูตํ อามนฺตนปทํ อสนฺตํ วิย น โหติ, ปทโตติ สงฺขฺยํ คจฺฉติฯ
มาณวก ชฏิล! เต ปริคฺคโหฯ
เมื่อมีบท (อาลปนะอีกหนึ่งคำ) ที่หมายถึงสิ่งเดียวกัน, บทแรกที่เป็นอาลปนะ เป็นสามัญนาม จะเป็นเหมือนกับว่าไม่มีไม่ได้, คือ ถึงการนับว่าเป็น “ท้ายบท”.ตัวอย่างเช่น
มาณวก ชฏิล! เต ปริคฺคโห
นี่แน่ะ มาณพ ผู้เป็นชฏิล นี้เป็นสมบัติของท่าน.


สามญฺญวจนนฺติ กิํ? มาณวก เทวทตฺต! ตุยฺหํ ปริคฺคโหฯ
บทว่า สามญฺญวจนํ (สามัญนาม) มีประโยชน์อะไร? มีประโยชน์ในการไม่ใช้ เต เป็นอาเทส ถ้าเป็นวิสามัญนาม. ตัวอย่างเช่น
มาณวก เทวทตฺต! ตุยฺหํ ปริคฺคโห
พ่อหนุ่มเทวทัต นี่เป็นสมบัติของท่าน

เอกตฺเถติ กิํ? เทวทตฺต! ยญฺญทตฺต! ตุมฺหากํ ปริคฺคโหฯ
บทว่า เอกตฺเถ (มีเนื้อความหรือเป็นสิ่งเดียวกัน) มีประโยชน์อะไร? มีประโยชน์ในการไม่ใช้ เต เป็นอาเทส ถ้ามีเนื้อความหรือไม่ใช่สิ่งเดียวกัน. ตัวอย่างเช่น
เทวทตฺต! ยญฺญทตฺต! ตุมฺหากํ ปริคฺคโหฯ
นี่แน่ะ คุณเทวทัต นี่แน่ะ คุณยัญญทัต นี้เป็นสมบัติของพวกคุณ.

(กรณีที่เป็นพหุวจนะ ใช้ได้ทั้งโว โน อาเทสเป็นต้น หรือ ตุมฺห อมฺหศัพท์ก็ได้)
๒๗๔. พหูสุ วา [จํ. ๖.๓.๒๖; ปา. ๘.๑.๗๔]
บทอาลปนะ แม้ที่เป็นสามัญญนาม ถ้าใช้หมายถึงชนหลายกลุ่ม ถือว่าเป็นบทที่เหมือนไม่มีไม่ได้เสียบ้าง ก็ได้.[๒๑]

พหูสุ ชเนสุ ปวตฺตมานํ สามญฺญวจนภูตมฺปิ อามนฺตนปทํ เอกตฺเถ ปเท สติ อสนฺตํ วิย น โหติ วาฯ         พฺราหฺมณา คุณวนฺโต โว ปริคฺคโห, พฺราหฺมณา คุณวนฺโต ตุมฺหากํ ปริคฺคโหฯ
บทอาลปนะ แม้จะเป็นสามัญนาม ถ้าใช้หมายถึงชนหลายกลุ่ม  เมื่อมีบท (อาลปนะอีกบทหนึ่ง) ที่มีความหมายเดียวกัน ถือว่าเป็นบทที่เหมือนไม่มีไม่ได้ บ้าง. ตัวอย่างเช่น
พฺราหฺมณา คุณวนฺโต โว ปริคฺคโห. พฺราหฺมณา คุณวนฺโต ตุมฺหากํ ปริคฺคโห.
ข้าแต่พราหมณ์ ท. ผู้มีคุณ นี้เป็นสมบัติของท่านท.

สพฺพาทิราสิ นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มสรรพนามมีสพฺพเป็นต้น จบแล้ว.


[๑] คัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์ เป็น มยํ, อสฺมา,  อมฺเห ตามสูตร ๒๐๙ ว่า มยมสฺมามฺหสฺสฯ  โยสฺวมฺหสฺส สวิภตฺติสฺส มยมสฺมา วา โหนฺติ ยถากฺกมํ, มยํ, อสฺมา, อมฺเหฯ (เมื่อลง โย มยํ และ อสฺมา เป็นอาเทสของ อมฺห พร้อมทั้งวิภัตติ เช่น มยํ อสฺมา อมฺเห). อย่างไรก็ตาม ในที่นี้แปลง โย เป็น เอ ด้วยสูตร โยนเมฏ สำเร็จรูปเป็น อสฺเม ได้เช่นกัน.
[๒] ง อนุพันธ์ แสดงถึงกิจไวยากรณ์ พึงเกิดขึ้นในสระที่สุด ไม่ใช่ทั้งศัพท์.  ดังนั้น ดังนั้น งํ ก็ดี งากํ ก็ดี ที่แท้คือ อํ และ อากํ นั่นเอง โดยเป็นอาเทสของสระที่สุดของ อมฺห และ ตุมฺห กับวิภัตติ ได้รูปเป็น อมฺหํ อมฺหากํ, ตุมฺหํ ตุมฺหากํ.
            อนึ่ง  อํ และ อากํ อาเทส ตามมาจากสูตรในคัมภีร์โมคคัลลานะ มาสู่สูตรนี้ดังนี้
 ๒๓๐. งํงากํ นํมฺหิฯ เมื่อลงนํวิภัตติ อํ และ อากํ เป็นอาเทสของสระที่สุดของตุมฺห และ อมฺห ศัพท์พร้อมวิภัตติ
๒๓๑. ทุติเย โยมฺหิ วาฯ เมื่อลงโย ทุติยาวิภัตติ อํ และ อากํ เป็นอาเทสของสระที่สุดของตุมฺห และ อมฺห ศัพท์พร้อมวิภัตติ ได้บ้าง.
[๓] ด้วยสูตรในตติยาวิภัตติว่า ๒๕๗. นาสฺมาสุ ตยามยา เพราะนาและสฺมาวิภัตติ ตยา และ มยา เป็นอาเทสของ ตุมฺห และ อมฺห พร้อมทั้งวิภัตติ. และสูตรว่า ๒๕๘. ตยาตยีนํ ตฺว วา ตสฺส ตฺว เป็น อาเทสของ ต แห่ง ตยา และ ตยิได้บ้าง.
[๔] ด้วยสูตรในตติยาวิภัตติว่า ๒๕๘. ตยาตยีนํ ตฺว วา ตสฺส ตฺว เป็น อาเทส ของ ต แห่ง ตยา และ ตยิ ได้บ้าง)
[๕] อรรถกถาชาดกนี้อธิบายว่า  อสฺมาภิชปฺปนฺติ ชนา อเนกาติ อมฺเห อญฺเญ พหู ชนา ปญฺชลิกา หุตฺวา – ‘‘อยํ โข ภวํ พฺรหฺมา มหาพฺรหฺมา’’ติอาทีนิ วทนฺตา นมสฺสนฺติ ปตฺเถนฺติ ปิหยนฺติ, ‘‘อโห วต มยมฺปิ เอวรูปา ภเวยฺยามา’’ติ อิจฺฉนฺตีติ อตฺโถฯ (ชา.อ. ๑/๔๐๕ พกชาตกวัณณนา).  โดยนัยนี้ถือเอาความตามอรรถกถาว่า ชนเป็นอันมากมุ่งหวังอยากให้เป็นอย่างพวกข้าพระองค์.
[๖] ฉบับสยามรัฐ เป็น อสมาหิ แต่ฉบับฉัฏฐสังคายนาเป็น อสมาภิ
[๗] ในอุทาหรณ์นี้ บทว่า ตฺวมฺหา ปัจจุบันทั้งฉบับสยามรัฐ และ ฉัฏฐสังคายนาเป็น ตฺยมฺหา และอรรถกถาแก้เป็น ตยา ดังนี้ ตตฺถ กตมสฺมาสูติ กตํ อมฺเหสุฯ ปตฺตา นิสฺสํสยํ ตฺยามฺหาติ มยํ นิสฺสํสเยน ตยา ปตฺตาเยวฯ ภตฺติรสฺมาสุ ยา ตวาติ ยา ตว อมฺเหสุ ภตฺติ, ตาย ภตฺติยา มยํ ตยา อสํสเยน ปตฺตาเยว, น จ วิปฺปยุตฺตา, วิปฺปวุฏฺฐาปิ สหวาสิโนเยว นาม มยนฺติ ทีเปติฯ (ชา.อ. ๒/๘๔).
[๘] คัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกา อธิบายว่า อิทมธิกตํ เวทิตพฺพนฺติ พหูสุ เวติ ๒/๒๔๑ ยาว. [นี้พึงทราบว่า เป็นอธิการสูตร ที่จะตามกำกับความไปจนถึงสูตร (๒/๒๔๑ อันเป็นสูตรสุดท้ายในสฺยาทิกัณฑ์ ของคัมภีร์โมคคัลลานะ) ว่า พหูสุ วา (อาลปนะ ๒ บทที่หมายถึงบุคคลเดียวกัน หากเป็นพหุวจนะ มีบ้าง ไม่มีบ้าง)].
คำว่า ปาท ในทีนี้ ได้แก่ คาถาปาท (บาทแห่งคาถา).
วิธีการในที่นี้ คือ การแปลงเป็น เต และ โว ของตุมฺห กับวิภัตติ. และ เม และ โน ของ อมฺห กับวิภัตติ ซึ่งถูกกำหนดให้วางอาเทสเหล่านี้ หลังจากบท, ไม่อยู่ต้นบาทคาถา และต้องอยู่ในประโยคเดียวกัน. ท่านจะอธิบายไว้ในสูตรต่อไป.
[๙] (แสดงว่า หิ ในที่นี้หมายถึง ตติยา)
[๑๐] (แสดงว่า หิ ในที่นี้หมายถึง ตติยา)
[๑๑] ในที่นี้ผู้แปลเรียงตามลำดับวิภัตติ ส่วนในต้นฉบับท่านเรียงตามลำดับบทที่มาในตัวสูตร.
[๑๒] ถ้าแยกประโยคกัน แม้บทจะตั้งอยู่เหมือนกับว่าเป็นประโยคเดียวกัน ก็ห้ามใช้. ดังคัมภีร์โมคคัลลาน.ปัญจิกาฎีกา (อธิบายความในคัมภีร์โมคคัลานปัญจิกา) อธิบายว่า ตุมฺเห ติฏฺฐถ นคเรติ ปุพฺพวากฺยโต วากฺยนฺตรตฺตา เอกวากฺยตา นตฺถิ. ในตัวอย่างว่า ตุมฺเห ติฏฺฐถ นคเร นี้ ความมีอยู่ในประโยคเดียวกัน ย่อมไม่มี เพราะเป็นคนละวากยะกับวากยะต้น จึงไม่แปลง ตุมฺห กับ วิภัตติ เป็น เต.
[๑๓] คัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกา อธิบายว่า สวิภตฺตีนนฺติ วตฺตมานตฺตา สมาเส กตวิภตฺติโลปานํ ตุมฺหามฺหสทฺทานํ เนเต อาเทสา โหนฺตีติ ทสฺสนตฺถํ ปุตฺตํ สวิภตฺตีนมิจฺจาทิ (โมคฺ.ปญฺ. ๒/๒๓๒). บทว่า สวิภตฺตีนํ (เป็นไปกับด้วยวิภัตติ) หมายความว่า ไม่ใช้อาเทสเหล่านั้นของตุมฺห และ อมฺห ศัพท์ ซึ่งถูกลบวิภัตติแล้ว  เพราะเป็นไปในสมาส.
[๑๔] บทว่า ตุมฺหาทิสานํ เป็นบทสมาสระหว่าง ตุมฺห และ ทิสํ มีวิเคราะห์ว่า ตุมฺเห วิย ทิสฺสตีติ ตุมฺหาทิโส ย่อมเห็นเหมือนกับท่าน ชื่อว่า ตุมฺหาทิโส ตามหลักการเข้าสมาสโดยทั่วไปจะมีการลบวิภัตติเดิมก่อนเข้าสมาสทุกครั้ง ในกรณีนี้ ลบ สิ ท้าย ตุมฺเห เป็น ตุมฺห มีการทีฆสระท้ายบทหน้าที่เป็นคุณบทของ ทิส ธาตุ จึงเป็น ตุมฺหา สำเร็จรูปเป็น ตุมฺหาทิสานํ (ในจตุตถีวิภัตติ) ดังนั้น ตุมฺห ในบทว่า ตุมฺหาทิสานํ ถูกลบวิภัตติไปแล้ว จึงไม่สามารถใช้ เต เป็นอาเทสได้.
[๑๕] คือ ใช้เต และ เม แทนตุมฺห อมฺห กับวิภัตติ ถ้าอยู่ในที่ไม่ใช่ต้นบาทเป็นต้น เหมือนกับที่อธิบายมาแล้วในสูตรก่อน.
[๑๖] หมายความว่า ในเรื่องที่กล่าวติดต่อกัน เมื่อใช้ ตุมฺห และ อมฺห มาแล้ว ประโยคต่อมา จะต้องใช้ โว โน เต เม  แทน ตุมฺห และ อมฺห ซึ่งจะเป็นตัวสื่อความที่ถูกกล่าวซ้ำนั้น อย่างแน่นอน. ก็การใช้ โว เป็นต้นนี้ ก็เพื่อจะหลีกเลี่ยงโทษคือการใช้คำซ้ำๆกัน เพราะได้กล่าวถึงคำนี้มาแล้วข้างหน้า. (โมค.ปญฺ.๒๓๕)
[๑๗] อโถ เป็นนิบาตแสดงอรรถอนฺวาเทสนั้น เพราะเป็นกล่าวถึงข้อความที่เคยกล่าวมาแล้ว. (ปโยคสิทธิ ๒๓๕)
[๑๘] คือ ใช้เป็นบทที่ ๓ ต่อจากบทที่ ๑ และ บทลงปฐมาวิภัตติ
[๑๙] ถ้าเป็น จ เอว วา ในกรณีที่ไม่ได้ใช้ควบศํพท์ แต่ควบประโยคเพื่อการกล่าวเนื้อความที่สืบต่อมาจากประโยคต้น ไม่เข้าเกณฑ์ของสูตรนี้ จึงใช้ เต เป็นต้นแทน ตุมฺห และ อมฺห ได้.
[๒๐] ประโยคตัวอย่างนี้แสดงว่า โอโลจน ศัพท์  ไม่ได้หมายถึงการมองดู แต่หมายถึงการมาเห็นกัน (มาเยี่ยม) จึงไม่แปลง ตุมฺห และ อมฺห เป็น โว และ โน. แต่ในที่หมายถึงการเห็น ที่ไม่ใช่การมองดู.
[๒๑] บทอาลปนะที่เป็นบทแรก เป็นสามัญนาม และหมายถึงสิ่งเดียวกัน ตามกฎของสูตรว่า ๒๗๒ และ ๒๗๓ จะถือว่ามีอยู่ แต่ถ้าเป็นพหุวจนะ ใช้ได้สองกรณีคือ จะถึอว่า มีอยู่ หรือว่า มีอยู่ก็ได้ อันจะเป็นเหตุให้แปลงเป็น โว, โน เป็นต้น หรือ จะไม่แปลง โดยใช้ ตุมฺห อมฺห เหมือนเดิมก็ได้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น