วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ปุงลิงค์ - อการันต์ ครั้งที่ ๔ (มนาคณาทิคณะ)


มนาทิคณราสิ
กลุ่มนามศัพท์มนาทิคณะ (ศัพท์ที่เหมือนมนศัพท์)
๑๑๖. โกธาทีหิ
ท้าย โกธ ศัพท์เป็นต้น สา เป็น อาเทสของ นา ได้บ้าง

เอเตหิ นาวจนสฺส สา โหติ วาฯ โกธสา, โกเธน, อตฺถสา, อตฺเถนฯ
ท้ายนามศัพท์ท.เหล่านี้ นาวิภัตติ อาเทศเป็น สา ได้บ้าง.

โกธสา, โกเธน,
ด้วยความโกรธ

อตฺถสา, อตฺเถน
โดยความหมาย

๑๑๗. นาสฺส สา [ก. ๑๘๑; รู. ๙๕; นี. ๓๗๓]ฯ
ท้าย ปท เป็นต้น สา เป็น อาเทส ของ นา ได้บ้าง.

ปทาทีหิ นาวจนสฺส สา โหติ วาฯ ปทสา, ปเทน, พิลสา, พิเลนฯ
ท้าย ปทศัพท์เป็นต้น สา เป็น อาเทสของนาวิภัตติ ได้บ้าง.
ปทสา, ปเทน
โดยบท

พิลสา, พิเลน
โดยช่อง

๑๑๘. ปทาทีหิ สิ
ท้าย ปท เป็นต้น สิ เป็น อาเทส ของ สฺมิํ ได้บ้าง

ปทาทีหิ สฺมิํโน สิ โหติ วาฯ ปทสิ, ปเท, พิลสิ, พิเลฯ
ท้ายนามศัพท์มีปท เป็นต้น สิ เป็น อาเทส ของ สฺมิํ ได้บ้าง
ปทสิ, ปเท
ในบท

พิลสิ, พิเล
ในช่อง
ตตฺถ โกธาทิโก ปุลฺลิงฺโค, ปทาทิโก นปุํสโกฯ ตตฺถ เกจิ สทฺทา สมาส, ตทฺธิตมชฺเฌ โอทนฺตา โหนฺติ [ก. ๑๘๓; รู. ๔๘; นี. ๓๗๕], อาโปธาตุ, อาโปมยํ, วาโยธาตุ, วาโยมยํ, ชีว ตฺวํ สรโทสตํ [ชา. ๑.๒.๙],          อนุยนฺติ ทิโสทิสํ [ที. นิ. ๓.๒๘๑] อิจฺจาทิฯ
บรรดาศัพท์ มี โกธ เป็นต้น เหล่านั้น โกธเป็นต้น  เป็น ปุงลิงค์ ส่วน ปทเป็นต้น เป็น นปุงสกลิงค์. ในศัพท์ที่เหมือนมนเป็นต้นเหล่านั้น บางศัพท์จะมีโอเป็นที่สุด ในกรณีที่อยู่กลางสมาสและตัทธิต เช่น
อาโปธาตุ
อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ).

อาโปมยํ
ว้สดุที่สำเร็จแต่อาโปธาตุ. (หรือ น้ำ ในกรณีที่ มย เป็นสกัตถปัจจัย วาโยมยํ ก็มีนัยนี้)

วาโยธาตุ
วาโยธาตุ (ธาตุลม).

วาโยมยํ
วัสดุที่สำเร็จจากวาโยธาตุ.

ชีว ตฺวํ สรโทสตํ
ขอท่านจงอายุยืนเกินร้อยปี.

อนุยนฺติ ทิโสทิสํ
ย่อมติดตามไปทั่วทุกทิศ.

เกจิ นาสฺส สาเทสํ ลภนฺติ, โกธสา อุสุนา วิชฺฌิ [ชา. ๒.๒๒.๓๕๒], ทฬฺหํ คณฺหาหิ ถามสา [ชา. ๑.๗.๓๐], ปทสาว อคมาสิ, มากาสิ มุขสา ปาปํ, สจฺเจน ทนฺโต ทมสา อุเปโต-ทมสาติ อินฺทฺริยทมเนน, สุจิํ ปณีตํ รสสา อุเปตํ [ชา. ๑.๗.๑๘], เวคสา คนฺตฺวาน, อายุสา เอกปุตฺตมนุรกฺเข [ขุ. ปา. ๙.๗] อิจฺจาทิฯ
บางศัพท์ ได้การแปลง นา เป็น สา เช่น
โกธสา อุสุนา วิชฺฌิ [ชา. ๒.๒๒.๓๕๒],
พระองค์ทรงยิงสามกุมารด้วยลูกศร เพราะความโกรธ

ทฬฺหํ คณฺหาหิ ถามสา [ชา. ๑.๗.๓๐],
ท่านจงจับปลาให้มั่นด้วยกำลัง


ปทสาว อคมาสิ,
ไปด้วยเท้านั่นเทียว (เดินได้เอง, เดินเท้า), ,

มากาสิ มุขสา ปาปํ,
อย่าทำบาปทางปาก

สจฺเจน ทนฺโต ทมสา อุเปโต-ทมสาติ อินฺทฺริยทมเนน,
ผู้ฝึกแล้วด้วยสัจจะ ชื่อว่า เข้าถึงแล้วโดยการฝึก - การฝึก คือ การฝึกอินทรีย์,

สุจิํ ปณีตํ รสสา อุเปตํ [ชา. ๑.๗.๑๘],
คนจะนำอาหารที่ สะอาด ประณีต ประกอบ ด้วยรสดี มาให้ท่านบริโภคเป็นนิตย์

เวคสา คนฺตฺวาน
ไปโดยเร็ว

อายุสา เอกปุตฺตมนุรกฺเข [ขุ. ปา. ๙.๗]
พึงรักษาบุตรคนเดียวด้วยอายุ (ชีวิต).

เกจิ สฺมิํโน สฺยาเทสํ ลภนฺติ, ปทสิ, พิลสิ อิจฺจาทิฯ
บางศัพท์ ได้ซึ่งการอาเทศเป็น สิ แห่ง สฺมิํ เช่น
ปทสิ,
ที่เท้า

พิลสิ
ในโพรง

เกหิจิ มหาวุตฺตินา นา, สฺมานํ โส โหติ, อตฺถโส, อกฺขรโส, สุตฺตโส, พฺยญฺชนโส, เหตุโส, โยนิโส,         อุปายโส, ฐานโส, ทีฆโส, โอรโส, พหุโส, ปุถุโส, มตฺตโส, ภาคโส อิจฺจาทิฯ
ด้วยมหาสูตร ท้ายนามศัพท์บางศัพท์ โส เป็น อาเทสของ นา และ สฺมา ได้ เช่น
อตฺถโส โดยอรรถ                         อกฺขรโสโดยอักษร                 สุตฺตโส โดยสูตร
พฺยญฺชนโส โดยพยัญชนะ           เหตุโสโดยเหตุ                          โยนิโสโดยแยบคาย
อุปายโส โดยอุบาย                   ฐานโส โดยเร็ว                     ทีฆโส จากส่วนยาว
โอรโส จากอก                          พหุโส โดยมาก                     ปุถุโส โดยความหนา
มตฺตโส โดยประมาณ                 ภาคโส โดยส่วน
‘‘ปทโส ธมฺมํ วาเจยฺย [ปาจิ. ๔๕], พิลโส วิภชิตฺวา นิสินฺโน อสฺส’’ [ที. นิ. ๒.๓๗๘] อิจฺจาทีสุ ปน        วิจฺฉายํ โสปจฺจโยฯ
แต่ในตัวอย่างเหล่านี้ ลง โส ปัจจัย ในอรรถวิจฉา เช่น
ปทโส ธมฺมํ วาเจยฺย [ปาจิ. ๔๕],
ภิกษุใดสอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมเป็นบทๆ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์

พิลโส วิภชิตฺวา นิสินฺโน อสฺส’’ [ที. นิ. ๒.๓๗๘]
พึงแบ่งอวัยวะออกเป็นส่วนๆ นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง

ยทา ปน สมาสนฺเต มหาวุตฺตินา สฺยาทีสุ วิภตฺตีสุ สาคโม โหติ, ตทา ปุริสาทิคโณปิ โหติ,                  พฺยาสตฺตมนโส, อพฺยคฺคมนโส [อ. นิ. ๓.๒๙], ปุตฺโต ชาโต อเจตโส [ชา. ๒.๒๒.๔], สุเมธโส [อ. นิ. ๔.๖๒], ภูริเมธโส [สุ. นิ. ๑๑๓๗] อิจฺจาทิฯ
เมื่อมีการลง ส อาคมท้ายสมาส ในเพราะวิภัตติท.มีสิเป็นต้น ด้วยมหาสูตร  จะมีรูปเหมือนปุริสาทิคณะ (กลุ่มนามศัพท์มีปุริสเป็นต้น) บ้าง เช่น
พฺยาสตฺตมนโส
มีใจซัดส่ายไป

อพฺยคฺคมนโส [อ. นิ. ๓.๒๙]
(เขาเป็นผู้มีความดำริประเสริฐ) มีใจไม่ลังเล[1]

ปุตฺโต ชาโต อเจตโส [ชา. ๒.๒๒.๔]
พระราชโอรสของพระราชา (เป็นใบ้ เป็นง่อยเปลี้ย) ไม่มีจิตใจ

สุเมธโส [อ. นิ. ๔.๖๒]
ผู้มีปัญญา

ภูริเมธโส [สุ. นิ. ๑๑๓๗]
ผู้มีปัญญาเหมือนแผ่นดิน[2]
อิติ มนาทิคณราสิฯ
กลุ่มนามศัพท์คือมนาทิคณะ เป็นอย่างนี้.


[1] ฉบับสยามรัฐมีรูปว่า อพฺยคฺคมนโส แต่ฉบับฉัฏฐสังคายนามีรูปเป็น อพฺยคฺคมานโส นัยหลังนี้ไม่สำเร็จรูปตามวิธีนี้.
[2] ในกลุ่มนี้ เป็นรูปที่ลงปฐมาวิภัตติ ไม่ใช่เป็นนาหรือสฺมา ที่แปลงเป็น โส.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น