วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สมาสกัณฑ์ ๑ - อัพยยีภาวสมาส



๔. สมาสกณฺฑ
๔. สมาสกัณฑ์
อถ ยุตฺตตฺถานํ สฺยาทฺยนฺตปทานํ เอกตฺถีภาโว วุจฺจเตฯ เอกตฺถีภาโวติ จ อิธ สมาโส วุจฺจติฯ โส จ สมาโส ฉพฺพิโธ อพฺยยีภาโว, ตปฺปุริโส, กมฺมธารโย, ทิคุ, พหุพฺพีหิ, ทฺวนฺโทติฯ

ต่อจากการกกัณฑ์ ข้าพเจ้าจะแสดงความมีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน (เอกัตถีภาวะ) ของบทลงสิวิภัตติเป็นต้นทั้งหลาย (คือ ของคำนาม) ที่มีเนื้อความประกอบกัน. อนึ่ง ในคัมภีร์(โมคคัลลานไวยากรณ์)นี้ เรียกสมาสว่า เอกัตถีภาวะ. และสมาสนั้น มีอยู่ ๖ ประเภท คือ อัพยยีภาวะ, ตัปปุริสะ, กัมมธารยะ, ทิคุ, พหุพฺพีหิ และทวันทะ.


อพฺยยีภาวสมาส
อัพยยีภาวสมาส
ตตฺถ อพฺยยีภาโว ปฐมํ วุจฺจเตฯ

บรรดาสมาส ๖ ประเภทนั้น จะแสดงอัพยยีภาวะเป็นลำดับแรก.
พฺยโย วุจฺจติ วิกาโร, นตฺถิ พฺยโย เอตสฺสาติ อพฺยโย, อพฺยโย หุตฺวา ภวตีติ อพฺยยีภาโว, นานาลิงฺค, วิภตฺติ, วจเนสุ รูปวิการรหิโต หุตฺวา ภวตีติ อตฺโถ, สพฺพลิงฺค,-วิภตฺติ, วจเนสุปิ เยภุยฺเยน เอกรูเปน ปวตฺตตีติ วุตฺตํ โหติฯ

พยยะ ได้แก่ ความเปลี่ยนแปลง, ความเปลี่ยนแปลงของบทเหล่านี้ ไม่มี จึงชื่อว่า อัพยยะ, บทสมาสที่มีอยู่ โดยเป็นอัพยยะ ชื่อว่า อัพยยีภาวสมาส. หมายความว่า เป็นบทที่มีโดยปราศจากการเปลี่ยนรูป ในลิงค์, วิภัตติและวจนะต่างๆ กล่าวคือ เป็นไปโดยรูปเดียวกันโดยมาก แม้ในลิงค์ วิภัตติและวจนะทั้งปวง.
อพฺยยนฺติ วา อุปสคฺคนิปาตานํ เอว นามํ, อยํ ปน ปกติ อพฺยยํ น โหติ, อสงฺขฺเยหิ สห เอกตฺถตาวเสน อพฺยยํ โหติ, อิติ อนพฺยยมฺปิ อพฺยยํ ภวตีติ อพฺยยีภาโวฯ

อีกนัยหนึ่ง อัพยยะ เป็นชื่อของบทอุปสัคและบทนิบาตเท่านั้น,  อนึ่ง บทปกตินี้ ยังไม่ใช่อัพยยะ, จะเป็นอัพยยะ ก็โดยเกี่ยวกับความมีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน กับบทอัพยยะ (คืออุปสัคและนิบาต) ที่ไม่กล่าวพจน์. ด้วยประการดังนี้ บทที่ไม่ใช่อัพยยะ ก็กลายเป็นอัพพยะ ดังนั้น จึงชื่อว่า อัพยยีภาวสมาส. (สมาสที่กลายเป็นอัพยยะ)

[คำว่า เอกัตถีภาวะ (สมาส) มีความหมายว่า บทนามมีความเป็นอันเดียวกับกับบทนามอื่น ด้วยสูตรนี้]

๓๓๑. สฺยาทิสฺยาทิเนกตฺถํ[1]

๓๓๑. สฺยาทิสฺยาทิเนกตฺถํ
เอกัตถีภาวะ (สมาส) คือ ความมีเนื้อความเป็นอันเดียวกันระหว่างบทลงสิวิภัตติเป็นต้น กับบทลงสิวิภัตติเป็นต้นอีกบทหนึ่ง.
อธิการสุตฺตมิทํ. สฺยาทิ วุจฺจติ สฺยาทฺยนฺตปทํ,         สฺยาทินาติ สฺยาทฺยนฺตปเทน, เอโก อตฺโถ ยสฺส                   ตํ เอกตฺถํ, สฺยาทิปทํ สฺยาทิปเทน สห เอกตฺถํ โหตีติ            อตฺโถ.

สูตรนี้เป็นอธิการสูตร. บทว่า สฺยาทิ คือ บทลงสิวิภัตติเป็นต้น, บทว่า สฺยาทินา คือ สฺยาทฺยนฺตปเทน (กับ) ด้วยบทลงสิวิภัตติเป็นต้น. เนื้อความอย่างเดียวกัน ของบทใด มีอยู่, บทนั้น ชื่อว่า เอกตฺถํ  มีเนื้อความอย่างเดียวกัน (ได้แก่ บทลงสิวิภัตติเป็นต้น). หมายความว่า บทมีสิวิภัตติเป็นต้นเป็นที่สุด เป็นบทที่มีเนื้อความเป็นอย่างเดียวกัน กับด้วยบทมีสิวิภัตติเป็นต้นเป็นที่สุดอีกบทหนึ่ง.
เอตฺถ จ สฺยาทีติ วจเนน อุปสคฺค, นิปาเตหิ สทฺธิํ สพฺพานิ นามิกปทานิ นามปฏิรูปกานิ จ สงฺคณฺหาติ, ตฺยาทฺยนฺตปทานิ นิวตฺเตติฯ

ในที่นี้ ด้วยคำว่า บทลงสิวิภัตติเป็นต้น (สฺยาทิ) รวมถึงบทลงวิภัตตินาม และนามปฏิรูปกะ (บทที่เหมือนบทนาม)ทั้งหมด พร้อมทั้งอุปสัคและนิบาต, ในขณะเดียวกัน ก็ปฏิเสธบทลงติวิภัตติเป็นต้น (กริยาอาขยาตบท).
ตตฺถ นามปฏิรูปกานิ นาม เยวาปนกธมฺมาอิจฺจาทีนิฯ ตถา สญฺญาสทฺทภาวํ ปตฺตานิ ‘‘อตฺถิปจฺจโย, นตฺถิปจฺจโย, อตฺถิขีรา พฺราหฺมณี, อญฺญาสิโกณฺฑญฺโญ, มกฺขลิโคสาโล’’ อิจฺจาทีสุ อตฺถิอิจฺจาทีนิฯ

ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น นามปฏิรูปกะ ได้แก่ บทเหล่านี้ เช่น เยวาปนกธมฺม ธรรมที่มีอยู่โดยดำรัสว่า เยวาปนก เป็นต้น และบทมี อตฺถิ เป็นต้น ที่ถึงความเป็นชื่อ เช่น อตฺถิปจฺจโย ปัจจัยที่มีอยู่, นตฺถิปจฺจโย ปัจจัยที่ไม่มี, อตฺถิขีรา พฺราหฺมณี นางพราหมณีที่มีน้ำน้ำ, อญฺญาสิโกณฺฑญฺโญ พระอัญญาโกณทัญญะ, มกฺขลิโคสาโล มักขลิโคสาลเดียรถีย์เป็นต้น.
เอกตฺถนฺติ เอเตน ทฺวนฺทสมาเสปิ ปทานํ เอกกตฺตุ, เอกกมฺมาทิภาเวน เอกตฺถีภาโว วุตฺโต โหตีติฯ

ด้วยคำว่า มีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน (เอกตฺถํ)  เป็นอันกล่าวถึงเอกัตถีภาวะ (ความมีเนื้อความอันเดียวกัน) ของบททั้งหลายในทวันทสมาสด้วย โดยความมีกัตตาเดียวกัน และมีกรรมเดียวกันเป็นต้น.

อัพยยีภาวสมาส เป็นไปในความหมายของวิภัตติเป็นต้น ตามสูตรนี้

๓๓๒. อสงฺขฺยํ วิภตฺติสมฺปตฺติสมีปสากลฺยาภาวยถาปจฺฉายุคปทตฺเถ[2]

๓๓๒. อสงฺขฺยํ วิภตฺติสมฺปตฺติสมีปสากลฺยาภาวยถาปจฺฉายุคปทตฺเถ.
สมาสที่ไม่ระบุพจน์ (อัพยยีภาวสมาส) เป็นไปในความหมายว่า วิภตฺติ (จำแนก), สัมปัตติ (ถึงพร้อม,สมบูรณ์), สมีปะ (ใกล้) , สากลยะ (ทั้งหมด), อภาวะ (ไม่มีสาระเป็นต้น), ของยถาศัพท์ (สมควรเป็นต้น), ของบทหลัง, ยุคปท (คู่กัน)
อสงฺขฺยนฺติ อุปสคฺคปทํ นิปาตปทญฺจ วุจฺจติฯ ตํ ทฺวยมฺปิ หิ เอกตฺต, พหุตฺตสงฺขฺยํ ปฏิจฺจ รูปวิการรหิตตฺตา อสงฺขฺยนฺติ วุจฺจติฯ


วิภตฺยตฺเถ, สมฺปตฺยตฺเถ, สมีปตฺเถ, สากลฺยตฺเถ, อภาวตฺเถ, ยถาตฺเถ, ปจฺฉาตฺเถ, ยุคปทตฺเถ ปวตฺตํ อสงฺขฺยํ นาม สฺยาทิปทํ อญฺเญน สฺยาทิปเทน สห เอกตฺถํ โหติฯ อยญฺจ สมาโส อนฺวตฺถวเสน อสงฺขฺโยติ จ อพฺยยีภาโวติ จ วุจฺจติฯ

คำว่า บทที่ไม่ระบุพจน์ (อสงฺขยํ) ใช้เรียกอุปสัคและนิปาตบท. ถึงบททั้งสองนั้นก็เรียกว่า บทที่ไม่ระบุพจน์  (อสงฺขฺยํ) เพราะปราศจากการเปลี่ยนรูปโดยอิงอาศัยจำนวนนับที่มีหน่วยเดียว (เอกพจน์) และหลายหน่วย (พหูพจน์). 
สมาสที่มีชื่อว่า อสังขยะ ได้แก่ บทนามที่ลงสิวิภัตติเป็นต้น จะมีเนื้อความเป็นอันเดียวกันกับด้วยบทนามที่ลงสิวิภัตติเป็นต้นอีกบทหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในความหมายของวิภัตติ (วิภตฺยตฺถ), ความหมายว่า สมบูรณ์ (สมฺปตฺยตฺถ), ความหมายว่า ใกล้ (สมีปตฺถ), ความหมายว่า ทั้งหมด (สากลฺยตฺถ),  ความหมายว่า ไม่มี (อภาว), ความหมายของยถาศัพท์ (ยถาตฺถ), ความหมายของบทหลัง (ปจฺฉาตฺถ) และความหมายของสองบทคู่กัน (ยุคปทตฺถ).  และสมาสชนิดนี้ เรียกว่า อสังขยะ บ้าง อัพยยีภาวะ บ้าง เนื่องด้วยชื่อที่สอดคล้องกับความหมาย.
วิภตฺยตฺเถ ตาว
อธิตฺถิฯ เอตฺถ จ อธิโต สิ, ตสฺส อสงฺขฺเยหิ สพฺพาสนฺติ สุตฺเตน โลโป, อิตฺถิโต สุ, ‘อธิ อิตฺถีสูติ วากฺยํ, ตสฺส จ อตฺถํ กเถนฺเตน นิจฺจสมาสตฺตา อญฺญปเทน วิคฺคโห กาตพฺโพ ‘‘อิตฺถีสุ ปวตฺตา กถา’’ติ วา ‘‘อิตฺถีสุ ปวตฺโต วจนปโถ’’ติ วา ‘‘อิตฺถีสุ ปวตฺตํ วจน’’นฺติ วา, ตโต ปุริมสุตฺเตน เอกตฺถสญฺญา, อิมินา สุตฺเตน อสงฺขฺเยกตฺถสญฺญา จ กริยเต, เอกตฺถสญฺญาย ปน กตาย วากฺยตฺถาย ปยุตฺตานํ วิภตฺตีนํ อตฺโถ เอกตฺถปเทน วุตฺโต โหติ, ตทา วิภตฺติโย วุตฺตตฺถา นามฯ

(จะอธิบายรายละเอียดของอัพยยีภาวสมาส ที่เรียกว่า อสังขยสมาสตามสูตรนี้) ในความหมายของวิภัตติ เป็นลำดับแรก.
ตัวอย่าง
อธิตฺถิ (คำพูดที่เป็นไปในหญิง).
ในคำนี้ ลงสิวิภัตติ ท้าย อธิ ศัพท์, ลบสิ ด้วยสูตรว่า อสงฺขฺเยหิ สพฺพาสํ (โมค.๒/๒๑๑๘, นิรุตฺติ.๒๘๘) = ลบวิภัตติทั้งหมดท้ายศัพท์ที่ไม่ปรากฏพจน์ (คือ อัพยยะ) ลง สุ ท้ายอิตฺถีศัพท์, ตั้งวากยะว่า อธิ อิตฺถีสุ (ในหญิงทั้งหลาย),  เพราะเป็นนิจจสมาส จึงต้องทำวิเคราะห์ด้วยบทอื่น ซึ่งกล่าวถึงเนื้อความนั้น[3]  ดังนี้ว่า อิตฺถีสุ ปวตฺตา กถา (คำพูดที่เป็นไปในผู้หญิง) หรือ อิตฺถีสุ ปวตฺโต วจนปโถ (คำพูดที่เป็นไปในผู้หญิง), อิตฺถีสุ ปวตฺตํ วจนํ(คำพูดที่เป็นไปในผู้หญิง), ต่อมา ตั้งชื่อว่า สมาส (เอกัตถะ) ด้วยสูตรแรก, ตั้งชื่อว่า อัพยยีภาวสมาส (อสงฺขเยกตฺถ) ด้วยสูตรนี้,  ครั้นได้ตั้งชื่อว่า สมาส (เอกตฺถ) แล้ว, ความหมายของวิภัตติทั้งหลายที่ประกอบไว้ เพื่อประโยชน์แก่วากยะ เป็นอันได้กล่าวแล้ว ด้วยบทสมาส (ที่เรียกว่า เอกัตถะ) นั้น, ในกาลนั้น วิภัตติทั้งหลาย ชื่อว่า มีอรรถอันกล่าวแล้ว.
อิทานิ วุตฺตตฺถานํ อปฺปโยคารหตฺตา โลปวิธานมาหฯ
บัดนี้ จะกล่าวถึงการลบอรรถที่ถูกบทสมาสกล่าวแล้ว เพราะไม่นำมาใช้อีก.

๓๓๓. เอกตฺถตายํ [4]

๓๓๓. เอกตฺถตายํ
โดยมาก จะลบวิภัตติทั้งปวง ในบทที่มีเนื้อความเป็นอย่างเดียวกัน (เอกัตถตา).
เอโก อตฺโถ เยสํ ตานิ เอกตฺถานิ, ‘อตฺโถติ เจตฺถ ปทนฺตเร กตฺตุ, กมฺมาทิภาเวน วิเธยฺโย ปธานตฺโถ เอว เวทิตพฺโพฯ ตถา หิ ราชปุตฺโตติ เอตฺถ ปุตฺตสทฺทตฺโถ เอว ตถาวิเธยฺโย โหติ, น ราชสทฺทตฺโถ, สพฺพญฺจ วจนวากฺยํ นาม วิเธยฺยตฺเถหิ เอว สิชฺฌติ, โน อญฺญถา, ยสฺมา จ ราชปุตฺโตติ เอตํ ปุตฺตสทฺทตฺถสฺเสว นามํ โหติ, น ราชสทฺทตฺถสฺส, ตสฺมา เอโก ปธานภูโต ปุตฺตสทฺทตฺโถ เอว เตสํ ทฺวินฺนํ สทฺทานํ อตฺโถ นาม โหติ, น ราชสทฺทตฺโถติ, เอกตฺถานํ ภาโว เอกตฺถตา, เอกตฺถีภาโวติ วุตฺตํ โหติฯ







โส ติวิโธ สมาโส, ตทฺธิโต, ธาตุปจฺจยนฺโต จาติฯ ติสฺสํ ติวิธายํ เอกตฺถตายํ สพฺพาสํ วุตฺตตฺถานํ สฺยาทิวิภตฺตีนํ โลโป โหตีติ อิมินา สุสฺส โลโปฯ พหุลาธิการตฺตา ปน อลุตฺตสมาโสปิ ทิสฺสติฯ

เนื้อความอย่างเดียวกัน ของบทเหล่าใด มีอยู่, บทเหล่านั้น ชื่อว่า เอกตฺถานิ (มีเนื้อความเดียวกัน), อนึ่ง ในคำว่า เนื้อความ (อตฺโถ) นี้ พึงทราบว่า ได้แก่ เนื้อความที่เป็นประธาน ซึ่งถูกประกอบ โดยความเป็นกัตตาและกรรมเป็นต้นไว้ที่บทอื่นเท่านั้น. จะเห็นได้ว่า ในคำว่า ราชปุตฺโต (บุตรของพระราชา) นี้ใช้เนื้อความของของคำว่า ปุตฺต (บุตร) เท่านั้นเป็นประธาน, ไม่ใช้เนื้อความของคำว่า ราช (พระราชา),  และชื่อว่า วจนวากยะ (รูปวิเคราะห์) ทั้งปวง ย่อมปรากฏตามเนื้อความที่ถูกใช้เท่านั้น,  จะมีโดยเป็นอย่างอื่นไปมิได้,  อนึ่ง ก็เพราะถือว่า บทว่า ราชปุตฺโต นี้เป็นของเนื้อความของคำว่า ปุตฺต เท่านั้น, มิใช่ของเนื้อความของคำว่า ราช, ดังนั้น เนื้อความของคำว่า ปุตฺต ซึ่งเป็นประธานเท่านั้น ย่อมเป็นอรรถของศัพท์ทั้งสอง, มิใช่เนื้อความของคำว่า ราช. ความเป็นแห่งเนื้อความอย่างเดียวกัน ชื่อว่า เอกัตถตา, หมายความว่า ความมีเนื้อความอย่างเดียวกัน (เอกตฺถีภาว).
เอกัตถภาวะนั้น มี ๓ ชนิดคือ สมาส ตัทธิตและบทที่ลงธาตุปัจจัย (มีอียเป็นต้น)[5]. ในเอกัตถตา ๓ อย่างนั้น  ลบสิวิภัตติเป็นต้นทั้งหมด ซึ่งมีอรรถอันได้กล่าวแล้ว ดังนั้น จึงลบ สุ (วิภัตติ)ไปด้วยสูตรนี็. อนึ่ง เพราะสูตรนี้เป็นการตามไปโดยมาก จึงมีสมาสที่ไม่ลบวิภัตติได้บ้าง.

อัพยยีภาวสมาสเป็นนปุงสกลิงค์ ด้วยสูตรนี้

๓๓๔. ตํ นปุํสกํ [6]
๓๓๔. ตํ นปุํสกํ.
อสังขยสมาสนั้น  เป็นนปุงสกลิงค์.
ตํ อสงฺขฺยํ นาม เอกตฺถํ นปุํสกํ โหตีติ อิมินา อธิตฺถีสทฺทสฺส นปุํสกภาวํ กตฺวา ตโต สฺยาทฺยุปฺปตฺติฯ

เอกัตถะ (สมาส) อันชื่อว่า อสังขยะ (อัพยยีภาวสมาส) นั้น เป็นนปุงสกลิงค์ ดังนั้น ครั้นได้กำหนดให้ อธิตฺถี ศัพท์เป็นนปุงสกลิงค์ด้วยสูตรนี้แล้ว ต่อมาจึงลง สิวิภัตติเป็นต้น ท้าย อธิตฺถี ศัพท์นั้น.

สระท้ายของอสังขยสมาสเป็นรัสสะด้วยสูตรนี้

๓๓๕. สฺยาทีสุ รสฺโส[7]

๓๓๕. สฺยาทีสุ รสฺโส.
ในเพราะสิวิภัตติเป็นต้น ให้รัสสะ เอกัตถะ(สมาส) อันเป็นนปุงสกลิงค์
นปุํสกสฺส เอกตฺถสฺส รสฺโส โหติ สฺยาทีสุ วิภตฺตีสูติ อิมินา อีการสฺส รสฺโสฯ

ในเพราะวิภัตติทั้งหลายมีสิเป็นต้น สมาสอันเป็นนปุงสกลิงค์ เป็นรัสสะ ดังนั้น รัสสะ อี เป็น อิ ด้วยสูตรนี้.

ลบวิภัตติท้ายอมาทิสมาส ด้วยสูตรนี้

๓๓๖. ปุพฺพสฺมามาทิโต[8]

๓๓๖. ปุพฺพสฺมามาทิโต.
ลบวิภัตติทั้งหมด ที่อยู่ท้ายสมาสอันมีบทลงอํวิภัตติเป็นต้นเป็นบทหน้า
ปุพฺพอมาทิ นาม ปุพฺพปทตฺถปธานภูโต อสงฺขฺยสมาโส วุจฺจติ, ตโต ปราสํ สพฺพาสํ วิภตฺตีนํ โลโป โหติ, อาทิสทฺเทน เจตฺถ ปฐมาวิภตฺติปิ คยฺหติฯ อถ วา อมาทิ วุจฺจติ ตปฺปุริโส, ตโต ปุพฺพํ นาม อสงฺขฺยสมาโส, อิติ อมาทิโต ปุพฺพภูตา อสงฺขฺเยกตฺถา ปราสํ สพฺพาสํ วิภตฺตีนํ โลโป โหตีติ อิมินา อธิตฺถิสทฺทโต สพฺพวิภตฺตีนํ โลโปฯ

อสังขยสมาส ซึ่งมีอรรถของบทหน้าเป็นประธาน ชื่อว่า ปุพพอมาทิ (สมาสที่มีบทลงอํวิภัตติเป็นต้นอยู่หน้า), ลบวิภัตติทั้งหมดซึ่งอยู่หลังจากอมาทิสมาส,  ด้วย อาทิศัพท์ แม้ปฐมาวิภัตติ ก็ถูกรวมไว้ในที่นี้. อีกนัยหนึ่ง ตัปปุริสสมาส เรียกว่า อมาทิ (สมาสที่มีบทลงอํเป็นต้นเป็นบทหน้า), อสังขยสมาส ชื่อว่า เบื้องหน้าแต่ตัปปุริสสมาสนั้น, ด้วยประการดังนี้ จึงลบวิภัตติทั้งหมด ที่อยู่หลังจากอสังขยัตถสมาส (อัพยยีภาวสมาส) ซึ่งเป็นเบื้องหน้าแต่ตัปปุริสสมาสนั้น ดังนั้น จึงลบวิภัตติทั้งหมด ท้ายอธิตฺถิศัพท์.
อธิตฺถิ ติฏฺฐติ, อิตฺถีสุ ปวตฺตา กถา ติฏฺฐตีติ อตฺโถฯ อธิตฺถิ ติฏฺฐนฺติ, อิตฺถีสุ ปวตฺตา กถาโย ติฏฺฐนฺตีติ อตฺโถฯ เอส นโย เสสวิภตฺตีสุ เสสวจเนสุ เสสลิงฺเคสุ จฯ







เอวํ สพฺพลิงฺเคสุ สพฺพวิภตฺตีสุ สพฺพวจเนสุ จ เอเกเนว รูเปน ติฏฺฐติ, ตสฺมา อยํ สมาโส รูปวิการรหิตตฺตา อพฺยยีภาโวติ วุจฺจติฯ

ตัวอย่าง
อธิตฺถิ ติฏฺฐติ = อิตฺถีสุ ปวตฺตา กถา ติฏฺฐติ.
คำพูด ย่อมตั้งอยู่ในหญิงท., คือ คำพูดอันเป็นไปตั้งอยู่ในหญิงทั้งหลายตั้งอยู่.
อธิตฺถิ ติฏฺฐนฺติ = อิตฺถีสุ ปวตฺตา กถาโย ติฏฺฐนฺติ.
คำพูดท. ย่อมตั้งอยู่ในหญิงท. คือ คำพูดท. อันเป็นไปตั้งอยู่ในหญิงทั้งหลาย.
ในวิภัตติที่เหลือ วจนะที่เหลือ และลิงค์ที่เหลือ ก็มีนัยนี้.

เป็นอันว่าสมาสนี้ ตั้งอยู่โดยรูปเดียวกันนั่นเองในลิงค์,วิภัตติและวจนะทั้งหมด เหตุนั้น จึงเรียกว่า อัพยยีภาวะ เพราะปราศจากเปลี่ยนรูป.

เอตฺถ จ วิภตฺยตฺโถ นาม ‘‘อธิตฺถิ, พหิคามํ, อุปริคงฺค’’ มิจฺจาทีสุ สมฺปตฺยาทีหิ วิเสสตฺเถหิ รหิโต เกวโล วิภตฺตีนํ อตฺโถ วุจฺจติฯ วิคฺคเห ปน ‘‘กถา, ปวตฺตา’’ อิจฺจาทีนิ สมาสสามตฺถิเยน วิทิตานิ อตฺถปทานิ นาม, อธิสทฺทสฺส อตฺถปทานีติปิ วทนฺติฯ เอวํ อธิกุมาริ, อธิวธุ, อธิชมฺพุอิจฺจาทิฯ

ก็ในที่นี้ อรรถของวิภัตติล้วนๆ ที่ปราศจากอรรถพิเศษมีสมฺปตฺติ (ความสมบูรณ์) เป็นต้น เรียกว่า วิภตฺยตฺถ ความหมายของวิภัตติ  ดังในตัวอย่างเป็นต้นว่า อธิตฺถิ ในคำพูดที่เป็นไปในหญิง, พหิคามํ ภายนอกหมู่บ้าน, อุปริคงฺค เหนือแม่น้ำคงคา. แต่ในรูปวิเคราะห์ บททั้งหลายเป็นต้นว่า กถา, ปวตฺตา ที่ได้กระทำไว้โดยสามารถแห่งสมาส ชื่อว่า อรรถบท, มีบางท่านกล่าวว่า เป็นอรรถของบท ของอธิศัพท์.  คำว่า อธิกุมาริ ในเด็กหญิง, อธิวธุ ในหญิงสาว, อธิชมฺพุ ในชมพูทวีป ก็มีนัยนี้.
อตฺตนิ ปวตฺโต ธมฺโม, ปวตฺตา วา ธมฺมาติ อตฺเถ วิภตฺตีนํ โลเป กเต อธิอตฺตสทฺทสฺส นปุํสกภาวํ กตฺวา ตโต สฺยาทฺยุปฺปตฺติ, ‘ปุพฺพสฺมามาทิโตติ สฺยาทีนํ โลเป สมฺปตฺเต

เมื่อตั้งรูปวิเคราะห์ว่า อตฺตนิ ปวตฺโต ธมฺโม (ธรรมอันเป็นไปแล้วในตน) หรือ  อตฺตนิ ปวตฺตา ธมฺมา (ธรรมท.อันเป็นไปแล้ว ในตน) อิติ อตฺเถ ในอรรถนี้, ลบวิภัตติแล้ว, กำหนดความเป็นนปุงสกลิงค์, จากนั้นให้ลงวิภัตติมีสิเป็นต้น, เมื่อการลบวิภัตติ ด้วยสูตรว่า ปุพฺพสฺมามาทิโต (ลบวิภัตติหลังจากสมาสอันมีบทลงอํเป็นต้นเป็นบทหน้า) มาปรากฏแล้ว,  (แต่ยังไม่ต้องลบ) ตามวิธีของสูตรนี้ว่า

๓๓๗. นาโตมปญฺจมิยา[9]

๓๓๗. นาโตมปญฺจมิยา
ท้ายอัพยยีภาวสมาสที่เป็นอการันต์ ไม่ลบวิภัตติทั้งหมด, และแปลงวิภัตติทั้งหมด เว้นปัญจมีวิภัตติ เป็นอํ.
อการนฺตมฺหา อสงฺขฺเยกตฺถา ปรํ สพฺพาสํ วิภตฺตีนํ โลโป น โหติ, ปญฺจมีวชฺชิตานํ วิภตฺตีนํ อํ โหติฯ

ไม่ลบวิภัตติทั้งปวง อันเป็นเบื้องหลังจากอสังขเยกัตถสมาส ซึ่งมี อ เป็นเสียงท้าย, ความเป็น อํ แห่งวิภัตติทั้งหลาย เว้นปัญจมีวิภัตติ ย่อมมี.
อชฺฌตฺตํ ธมฺโม ชายติ, อชฺฌตฺตํ ธมฺมา ชายนฺติ, อชฺฌตฺตํ ธมฺมํ ปสฺสติ, อชฺฌตฺตํ ธมฺเม ปสฺสนฺติฯ



ตัวอย่างเช่น
อชฺฌตฺตํ ธมฺโม ชายติ
ธรรม อันเป็นไปในตน ย่อมเกิด [10]
อชฺฌตฺตํ ธมฺมา ชายนฺติ
ธรรมท. อันเป็นไปในตน ย่อมเกิด
อชฺฌตฺตํ ธมฺมํ ปสฺสติ
บุรุษย่อมเห็นซึ่งธรรม อันเป็นไปในตน
อชฺฌตฺตํ ธมฺเม ปสฺสนฺติฯ
บุรุษย่อมเห็นซึ่งธรรมท. อันเป็นไปในตน.

อปญฺจมิยาติ กิํ? อชฺฌตฺตา อเปติ, อชฺฌตฺเตหิ อเปติฯ

ข้อยกเว้น
คำว่า อปญฺจมิยา (เว้นปัญจมีวิภัตติ) ท่านอาจารย์กล่าวไว้ทำไม ?
ข้าพเจ้า กล่าวไว้ เพราะไม่มีการแปลงเป็นอํ ในกรณีที่สมาสนั้นเป็นบทลงปัญจมีวิภัตติ ดังในตัวอย่างเหล่านี้
อชฺฌตฺตา อเปติ
บุรุษย่อมออกไปจากธรรมอันเป็นไปในตน
อชฺฌตฺเตหิ อเปติ
บุรุษย่อมออกไปจากธรรมท. อันเป็นไปในตน

กรณีที่อัพยยีภาวสมาสนั้นเป็น อ การันต์ แปลง ตติยาวิภัตติและสัตตมีวิภัตติเป็นอํ ด้วยสูตรนี้

๓๓๘. วา ตติยาสตฺตมีนํ [11]

๓๓๘. วา ตติยาสตฺตมีนํ
แปลงตติยาและสัตตมีวิภัตติ ท้ายอัพยยีภาวสมาส  อการันต์ เป็น อํ ได้บ้าง.
อการนฺตมฺหา อสงฺขฺเยกตฺถา ปรํ ตติยา, สตฺตมีนํ วิกปฺเปน อํ โหติฯ
อชฺฌตฺตํ ธมฺเมน วตฺตติ อชฺฌตฺเตน วา, อชฺฌตฺตํ ธมฺเมหิ วตฺตติ อชฺฌตฺเตหิ วา, อชฺฌตฺตํ ธมฺมสฺส เทติ, อชฺฌตฺตํ ธมฺมานํ เทติ, อชฺฌตฺตา ธมฺมา อเปติ, อชฺฌตฺเตหิ ธมฺเมหิ อเปติ, อชฺฌตฺตํ ธมฺมสฺส สนฺตกํ, อชฺฌตฺตํ ธมฺมานํ สนฺตกํ, อชฺฌตฺตํ ธมฺเม ติฏฺฐติ อชฺฌตฺเต วา, อชฺฌตฺตํ ธมฺเมสุ ติฏฺฐติ อชฺฌตฺเตสุ วาฯ

ท้ายอัพยยีภาวสมาส อันเป็นอการันต์ ตติยาวิภัตติและสัตตมีวิภัตติเป็น อํ ก็มีได้บ้าง ตัวอย่างเช่น
อชฺฌตฺตํ ธมฺเมน วตฺตติ
บุรุษ ย่อมเป็นไป โดยธรรมอันเป็นอัชฌัตตะ[12], มีรูปเป็น อชฺฌตฺเตน บ้าง.
อชฺฌตฺตํ ธมฺเมหิ วตฺตติ.
บุรุษย่อมเป็นไป โดยธรรมท.อันเป็นอัชฌัตตะ, มีรูปเป็น อชฺฌตฺเตหิ บ้าง.
อชฺฌตฺตํ ธมฺมสฺส เทติ
บุรุษย่อมให้ แก่ธรรมอันเป็นอัชฌัตตะ
อชฺฌตฺตํ ธมฺมานํ เทติ,
บุรุษย่อมให้ แก่ธรรมท. ธรรมอันเป็นอัชฌัตตะ
อชฺฌตฺตา ธมฺมา อเปติ,
บุรุษย่อมหลีกออก จากธรรมอันเป็นอัชฌัตตะ
อชฺฌตฺเตหิ ธมฺเมหิ อเปติ,
บุรุษย่อมหลีกออก จากธรรมท.อันเป็นอัชฌัตตะ
อชฺฌตฺตํ ธมฺมสฺส สนฺตกํ,
วัตถุอันมีอยู่ ของธรรมอันเป็นอัชฌัตตะ
อชฺฌตฺตํ ธมฺมานํ สนฺตกํ,
วัตถุอันมีอยู่ ของธรรมท.อันเป็นอัชฌัตตะ
อชฺฌตฺตํ ธมฺเม ติฏฺฐติ.
ย่อมตั้งอยู่ ในธรรมอันเป็นอัชฌัตตะ มีรูปเป็น อชฺฌตฺเต บ้าง
อชฺฌตฺตํ ธมฺเมสุ ติฏฺฐติ.
ย่อมตั้งอยู่ ในธรรมท.อันเป็นอัชฌัตตะ มีรูปเป็น อชฺฌตฺเตสุ บ้าง
เอตฺถ จ อชฺฌตฺตํ ธมฺโมติ อชฺฌตฺตภูโต ธมฺโม, ‘อชฺฌตฺตํ ธมฺมาติ อชฺฌตฺตภูตา ธมฺมา อิจฺจาทินา อตฺโถ เวทิตพฺโพฯ อตฺตานํ อธิกิจฺจ ปวตฺโต ปวตฺตาติ วา วุตฺเตปิ อตฺตสฺส อาธารภาโว สิชฺฌติเยวฯ
เอวํ อธิจิตฺตํ, อตฺตนิ วิสุํ วิสุํ ปวตฺตํ ปวตฺตานิ วา ปจฺจตฺตํฯ

ในตัวอย่างเกี่ยวกับคำว่า อชฺฌตฺตํ นี้, ควรทราบความหมายดังนี้ว่า อชฺฌตฺตํ ธมฺโม คือ อชฺฌตฺตภูโต ธมฺโม ธรรมอันเป็นภายใน, อชฺฌตฺตํ ธมฺมา คือ อชฺฌตฺตภูตา ธมฺมา ธรรมท.อันเป็นภายใน.
อีกนัยหนึ่ง แม้เมื่ออธิบาย(ตามรูปวิเคราะห์)ว่า “อตฺตานํ อธิกิจฺจ ปวตฺโต, ปวตฺตา = ธรรม , ธรรม ท. เป็นไป อาศัยซึ่งตน” อตฺต ศัพท์ ก็ยังปรากฏโดยความเป็นอาธารอยู่นั่นเอง.
ตัวอย่างต่อไปนี้ ก็เหมือนกัน
อธิจิตฺตํ ธรรมอันอาศัยซึ่งจิตเป็นไป
ธรรม หรือ ธรรมท. เป็นไปในตน แต่ละบุคคล ชื่อว่า ปจฺจตฺตํ.


เอตฺถ จ ‘‘อชฺฌตฺตํ อภินิวิสิตฺวา อชฺฌตฺตํ วุฏฺฐาติ, พหิทฺธา อภินิวิสิตฺวา อชฺฌตฺตํ วุฏฺฐาตี’’ติ[13] ปาโฐ อตฺถิ, ตสฺมา ปญฺจมิยา อํภาววชฺชนํ อปฺปกตฺตาติ ทฏฺฐพฺพํฯ

อนึ่ง ในสูตรนี้ มีบาฬีแสดงความเป็นอํแห่งปัญจมีวิภัตติว่า
อชฺฌตฺตํ อภินิวิสิตฺวา อชฺฌตฺตํ วุฏฺฐาติ, พหิทฺธา อภินิวิสิตฺวา อชฺฌตฺตํ วุฏฺฐาติ  เข้าธรรมอันเป็นภายในแล้วออกจากธรรมภายใน, เข้าธรรมภายนอกแล้วออกจากธรรมภายนอก  เพราะฉะนั้น ควรทราบว่า “การเว้นความเป็นอํ ของปัญจมีวิภัตติ จึงมีได้ โดยเป็นตัวอย่างเล็กน้อย”.
 ‘‘อชฺฌตฺตา ธมฺมา, พหิทฺธา ธมฺมา’’ติ[14] ปาโฐ อตฺถิ, ตสฺมา ปฐมาทีนมฺปิ วิกปฺโป ลพฺภตีติฯ

มีบาฬี (แสดงความไม่เป็นอํแห่งปฐมาวิภัตติเป็นต้น) ดังนี้ว่า อชฺฌตฺตา ธมฺมา, พหิทฺธา ธมฺมา  ธรรมอันเป็นภายใน, ธรรมอันเป็นภายนอก.  ดังนั้น ความไม่เป็นอํแห่งปฐมาวิภัตติเป็นต้น จึงมีได้โดยวิกัป.

สมฺปตฺติอตฺเถ
สมฺปนฺนํ พฺรหฺมํ สพฺรหฺมํ, ‘พฺรหฺมนฺติ เวโท วุจฺจติฯ เอตฺถ จอกาเล สกตฺถสฺสาติ สุตฺเตน สหสทฺทสฺส สาเทโส, ภิกฺขานํ สมิทฺธิ สุภิกฺขํ, ‘สฺยาทีสุ รสฺโสติ สุตฺเตน กตนปุํสกสฺส รสฺสตฺตํฯ

ในความหมายว่าสมฺปตฺติ (สมบูรณ์)
สมฺปนฺนํ พฺรหฺมํ สพฺรหฺมํ
พรหมอันสมบูรณ์ ชื่อว่า สพฺรหฺมํ[15]. ในที่นี้ ตรัสเรียก เวท ว่า พฺรหฺม. ในอรรถนี้ แปลง สห[16] ศัพท์ เป็น สด้วยสูตร “อกาเล สกตฺถสฺส [เมื่อบทหลัง ที่ไม่กล่าวอรรถกาล แปลงสหศัพท์ ที่มีอรรถของตน (คือ สหศัพท์) เป็นประธาน เป็น ส][17]
ภิกฺขานํ สมิทฺธิ สุภิกฺขํ
ความสมูบรณ์แห่งภิกษา ชื่อว่า สุภิกฺขํ,  (สำหรับในตัวอย่างนี้) ความเป็นรัสสะแห่งสมาสที่ทำเป็นนปุงสกลิงค์แล้ว ย่อมมีด้วยสูตรว่า สฺยาทีสุ รสฺโส.

สมีเป
นครสฺส สมีปํ อุปนครํ, กุมฺภสฺส สมีปํ อุปกุมฺภํ, มณิกาย สมีปํ อุปมณิกํ, วธุยา สมีปํ อุปวธุ, คุนฺนํ สมีปํ อุปคุ, ‘โคสฺสูติ สุตฺเตน โอสฺส อุตฺตํฯ

ในความหมายว่า สมีป (ใกล้)
นครสฺส สมีปํ อุปนครํ
ที่ใกล้แห่งเมือง ชื่อว่า อุปนครํ.
กุมฺภสฺส สมีปํ อุปกุมฺภํ
ที่ใกล้แห่งหม้อ ชื่อว่า อุปกุมฺภํ.
มณิกาย สมีปํ อุปมณิกํ.
ที่ใกล้แห่งโอ่งน้ำ ชื่อว่า อุปมณิกํ.
วธุยา สมีปํ อุปวธุ
ที่ใกล้แห่งหญิงสาว ชื่อว่า อุปวธุ
คุนฺนํ สมีปํ อุปคุ
ที่ใกล้แห่งโคท. ชื่อว่า อุปคุ
ในตัวอย่างนี้ แปลง โอ (ของ โค) เป็น อุ ด้วยสูตรว่า โคสฺสุ.

สากลฺเย
ติเณน สห สกลํ สติณํ, ติเณน สทฺธิํ สกลํ วตฺถุํ อชฺโฌหรตีติ อตฺโถฯ สหสทฺทสฺส สาเทโสฯ

ในความหมายว่า สกลฺย (ทั้งหมด)
ติเณน สห สกลํ สติณํ
ทั้งหมดพร้อมกับหญ้า ชื่อว่า สติณํ.
คำว่า สติณํ นี้ ความหมายคือ ติเณน สทฺธิํ สกลํ วตฺถุํ อชฺโฌหรติ กลืนกินสิ่งของทั้งหมดพร้อมกับหญ้า (กินกระทั่งหญ้า กล่าวคือ กินไม่เหลือแม้แต่หญ้า) .
ในตัวอย่างนี้ แปลง สห เป็น ส.

อภาเว
มกฺขิกานํ อภาโว นิมฺมกฺขิกํ, ทรถานํ อภาโว นิทฺทรถํ, ภิกฺขานํ อภาโว ทุพฺภิกฺขํ, อภาวตฺโถปิ ทุสทฺโท อตฺถิฯ ยถา? ทุสฺสีโล ทุปฺปญฺโญติฯ

ในความหมายว่า อภาว (ไม่มี)
มกฺขิกานํ อภาโว นิมฺมกฺขิกํ.
ความไม่มีแห่งแมลงวันท. ชื่อว่า นิมฺมกฺขิกํ.
ทรถานํ อภาโว นิทฺทรถํ
ความไม่มีแห่งความกระวนกระวาย ชื่อว่า นิทฺทรถํ.
ภิกฺขานํ อภาโว ทุพฺภิกฺขํ
ความไม่มี แห่งภิกษา ชื่อว่า ทุพฺภิกฺขํ
ทุศัพท์ ที่มีอรรถ อภาว ก็มีใช้ ตัวอย่างเช่น
ทุสฺสีโล ไม่มีศีล, ทุปฺปญฺโญ ไม่มีปัญญา.
เอตฺถ จสมฺปนฺนํ พฺรหฺมนฺติอาทินา สทฺทพฺยากรเณสุ อตฺถวจนํ สทฺทตฺถวิภาวนมตฺตํฯ สุตฺตนฺเตสุ ปน อิเมสํ ปทานํ ยุตฺตํ อภิเธยฺยตฺถํ ญตฺวา ตทนุรูปํ อตฺถวจนมฺปิ เวทิตพฺพํฯ

เกี่ยวกับเรื่องนี้ การอธิบายความหมายในคัมภีร์ไวยากรณ์ ด้วยข้อความเป็นต้นว่า “สมฺปนฺนํ พฺรหฺมํ (พรหมอันสมบูรณ์) ก็เป็นเพียงการอธิบายตามความหมายของศัพท์.  แต่ครั้นรู้อรรถแห่งศัพท์ที่ถูกต้องของบทเหล่านี้แล้ว ก็ควรรู้แม้คำอธิบายความหมายที่เหมาะสมต่อบทนั้นๆ ในพระบาฬีทั้งหลายด้วย

ยถาสทฺทตฺเถ
รูปสฺส สภาวสฺส โยคฺยํ อนุรูปํ, อตฺตานํ อตฺตานํ ปฏิจฺจ ปวตฺตํ ปจฺจตฺตํ, อฑฺฒมาสํ อฑฺฒมาสํ อนุคตํ อนฺวฑฺฒมาสํ, ฆรํ ฆรํ อนุคตํ อนุฆรํ, วสฺสํ วสฺสํ อนุคตํ อนุวสฺสํ, เชฏฺฐานํ อนุปุพฺพํ อนุเชฏฺฐํ, สตฺติยา อนุรูปํ ยถาสตฺติ, พลสฺส อนุรูปํ ยถาพลํ, กมสฺส อนุรูปํ ยถากฺกมํฯ เอวํ ยถาสงฺขฺยํ, ยถาลาภํฯ โสตสฺส ปฏิโลมํ ปฏิโสตํ, ปฏิวาตํ, ปฏิสทฺทํฯ

ในความหมายของ ยถา ศัพท์.
รูปสฺส สภาวสฺส โยคฺยํ อนุรูปํ,
ควรแก่รูปคือสภาว ชื่อว่า อนุรูปํ.
อตฺตานํ อตฺตานํ ปฏิจฺจ ปวตฺตํ ปจฺจตฺตํ,
เป็นไปอาศัยซึ่งตนๆ ชื่อว่า ปจฺจตฺตํ.[18]
อฑฺฒมาสํ อฑฺฒมาสํ อนุคตํ อนฺวฑฺฒมาสํ,
ตามไปซึ่งกึ่งแห่งเดือน ๆ ชื่อว่า อนฺวฑฺฒมาสํ[19]
ฆรํ ฆรํ อนุคตํ อนุฆรํ,
ตามไปซึ่งเรือนๆ ชื่อว่า อนุฆรํ.
วสฺสํ วสฺสํ อนุคตํ อนุวสฺสํ,
ตามไปซึ่งเดือน ๆ ชื่อว่า อนุวสฺสํ.
เชฏฺฐานํ อนุปุพฺพํ อนุเชฏฺฐํ,
ตามลำดับแห่งผู้เจริญ ชื่อว่า อนุเชฏฺฐํ.
สตฺติยา อนุรูปํ ยถาสตฺติ
สมควรแก่ความสามารถ ชื่อว่า ยถาสตฺติ.
พลสฺส อนุรูปํ ยถาพลํ
สมควรแก่กำลัง ชื่อว่า ยถาพลํ.
กมสฺส อนุรูปํ ยถากฺกมํ
สมควรแก่ลำดับ ชื่อว่า ยถากฺกมํ
ตัวอย่างว่า
ยถาสงฺขยํ ตามลำดับแห่งการนับ,
ยถาลาภํ สมควรแก่การได้ มีวิเคราะห์โดยนัยนี้เช่นกัน.
โสตสฺส ปฏิโลมํ ปฏิโสตํ
ทวนแห่งกระแส ชื่อว่า ปฏิโสตํ,
ปฏิวาตํ ทวนลม,
ปฏิสทฺทํ ทวนเสียง (รับคำ)ฯ

ปจฺฉาปทตฺเถ
รถสฺส ปจฺฉา อนุรถํฯ

ในความหมายแห่ง ปจฺฉา ศัพท์
ข้างหลัง แห่งรถ ชื่อว่า อนุรถํ.
ยุคภูโต ปทตฺโถ ยุคปทตฺโถ, สหภาวีอตฺถทฺวยสฺเสตํ นามํฯ ตตฺถ อสนิผเลน สห ปวตฺตํ จกฺกํ สจกฺกํ, คทาวุเธน ยุคฬปวตฺตํ วาสุเทวสฺส จกฺกาวุธนฺติปิ วทนฺติ[20] สหสฺส สตฺตํฯ

(ในความหมายแห่งบทที่คู่กัน [ยุคปทตฺถ] )
ความหมายแห่งบท ที่เป็นคู่ ชื่อว่า ยุคปทตฺถ. คำนี้เป็นชื่อ ของสองความหมายที่ต้องมีคู่กัน.
ในความหมายแห่งบทที่เป็นคู่ มีตัวอย่างดังนี้
อสนิผเลน สห ปวตฺตํ จกฺกํ สจกฺกํ,
จักร อันเป็นไปพร้อมกับผลคือสายฟ้า ชื่อว่า สจกฺกํ. อาจารย์บางท่านกล่าวว่า เป็นจักกาวุธ ของท้าววาสุเทพ ซึ่งเป็นไปคู่กับคทาวุธ.  แปลง สห เป็น ส.


[นามศัพท์ที่เข้าสมาสกับยถาศัพท์ที่มีความหมายอื่นนอกจากความหมายว่า เหมือนกัน (ตุลฺย)[21] จึงเป็นอัพยยีภาวสมาส ด้วยสูตรนี้]

๓๓๙. ยถา นตุลฺเย [22]

๓๓๙. ยถา นตุลฺเย
ยถาศัพท์ ซึ่งมิได้มีเนื้อความว่าเสมอกัน (ตุลฺย) เข้าสมาสกับนามศัพท์ได้.
ตุลฺยโต อญฺญสฺมิํ อตฺเถ ปวตฺโต ยถาสทฺโท สฺยาทินา สห เอกตฺโถ โหติ[23].
ยถาสตฺติ, ยถาพลํ, ยถากฺกมํ, เย เย วุฑฺฒา ยถาวุฑฺฒํ, วุฑฺฒานํ ปฏิปาฏิ วา ยถาวุฑฺฒํฯ
นตุลฺเยติ กิํ? ยถา เทวทตฺโต, ตถา ยญฺญทตฺโตฯ

ยถาศัพท์ อันเป็นไปในความหมายอื่นจากความเหมือนกัน ย่อมเข้าสมาส (มีเนื้อความอันเดียวกัน) กับบทนามที่ลงสิวิภัตติเป็นต้น.
ตัวอย่าง
ยถาสตฺติ = สมควรแก่ความสามารถ.
ยถาพลํ = สมควรแก่กำลัง.
ยถากฺกมํ = ตามลำดับ
เย เย วุฑฺฒา ยถาวุฑฺฒํ
คนแก่เหล่าใดๆ ชื่อว่า ยถาวุฑฺฒํ.
วุฑฺฒานํ ปฏิปาฏิ วา ยถาวุฑฺฒํฯ
อีกนัยหนึ่ง ลำดับแห่งคนแก่ ชื่อว่า ยถาวุฑฺฒํ[24]
ข้อยกเว้น
มีบทว่า น ตุลฺเย ไม่ใช่มีอรรถตุลยะไว้ทำไม?
เพื่อห้ามการเข้าสมาสในกรณีที่ ยถาศัพท์มีอรรถตุลยะ ดังตัวอย่างนี้
ยถา เทวทตฺโต, ตถา ยญฺญทตฺโต.
นายยัญญทัต ก็เหมือนกับนายเทวทัต.
ไม่เข้าสมาสเป็น ยถาเทวทตฺตํ.


นามศัพท์เข้าสมาสกับยาวศัพท์ ในอรรถกล่าวกำหนด ด้วยสูตรนี้.
๓๔๐. ยาวาวธารเณ[25]

๓๔๐. ยาวาวธารเณ
ยาวศัพท์ ที่เป็นไปในความหมายว่า กำหนด ย่อมเข้าสมาสกับนามศัพท์.
อวธารณํ วุจฺจติ ปริจฺฉินฺทนํ, อวธารเณ ปวตฺโต ยาวสทฺโท สฺยาทินา สห เอกตฺโถ ภวติฯ
ยตฺตกํ อตฺโถ วตฺตตีติ ยาวทตฺถํ, ทาคโมฯ ยตฺตกํ ชีโว วตฺตตีติ ยาวชีวํ, ยตฺตกํ อายุ วตฺตตีติ ยาวตายุกํ, ตการ, กการา อาคมาฯ

การกำหนดขอบเขต เรียกว่า อวธารณะ, ยาวศัพท์ อันเป็นไปในการกำหนดขอบเขต ย่อมมีอรรถเป็นอย่างเดียวกับบทลงสิวิภัตติเป็นต้น.
ตัวอย่างเช่น
ยตฺตกํ อตฺโถ วตฺตตีติ ยาวทตฺถํ.
ความต้องการย่อมเป็นไป เพียงใด ชื่อว่า ยาวทตฺถํ (เท่าที่ต้องการ). ลง ท อาคม.
ยตฺตกํ ชีโว วตฺตตีติ ยาวชีวํ.
ชีวิตย่อมเป็นไปเพียงใด ชื่อว่า ยาวชีวํ (กำหนดชั่วชีวิต)
ยตฺตกํ อายุ วตฺตตีติ ยาวตายุกํ
อายุย่อมเป็นไปเพียงใด ชื่อว่า ยาวตายุกํ. (กำหนดชั่วอายุ). ลง ต และ ก อาคม.


ปริ อป อา เป็นต้น สมาสกับบทนามที่ลงปัญจมีวิภัตติ ด้วยสูตรนี้.
๓๔๑. ปราปาพหิติโรปุเรปจฺฉา วา ปญฺจมฺยา[26]

๓๔๑. ปราปาพหิติโรปุเรปจฺฉา วา ปญฺจมฺยา
ปริ, อป, อา, พหิ, ติโร, ปุเร, ปจฺฉา เข้าสมาสกับนามศัพท์ที่ลงสิเป็นต้น[27] คือบทลงปัญจมีวิภัตติ ได้บ้าง.
ปริ, อป, อาอิจฺจาทโย สทฺทา ปญฺจมฺยนฺเตน สฺยาทินา สห เอกตฺถา ภวนฺติ วาฯ
ปพฺพตโต ปริ สมนฺตา วสฺสีติ เทโว ปริปพฺพตํ ปริปพฺพตา วา, ปพฺพตํ วชฺเชตฺวา วสฺสีติ อตฺโถฯ ปพฺพตโต พหิทฺธา อปปพฺพตํ อปปพฺพตา วา, ปาฏลิปุตฺตโต พหิทฺธา วสฺสีติ เทโว อาปาฏลิปุตฺตํ อาปาฏลิปุตฺตา วา, อากุมาเรหิ กจฺจายนสฺส ยโส วตฺตตีติ อากุมารํ อากุมารา วา, อาภวคฺคา ภควโต ยโส วตฺตตีติ อาภวคฺคํ อาภวคฺคา วา, อาปาณโกฏิยา สรณคมนํ วตฺตตีติ อาปาณโกฏิกํ, กาคโมฯ คามโต พหิ พหิคามํ พหิคามา วา, เอวํ พหินครํ, พหิเลณํ, ปพฺพตโต ติโร ติโรปพฺพตํ ติโรปพฺพตา วา, เอวํ ติโรปาการํ, ติโรกุฏฺฏํฯ เอตฺถ จ ติโรติ ปรภาโค วุจฺจติฯ ภตฺตมฺหา ปุเร ปุเรภตฺตํ ปุเรภตฺตา วา, อรุณมฺหา ปุเร ปุรารุณํ ปุรารุณา วา, ภตฺตสฺส ปจฺฉา ปจฺฉาภตฺตํ ปจฺฉาภตฺตา วาฯ

ศัพท์ท.มี ปริ อป อา เป็นต้น ย่อมมีเนื้อความเป็นเป็นอันเดียวกัน กับนามศัพท์ที่มีปัญจมีวิภัตติเป็นที่สุด ได้บ้าง.
ตัวอย่าง
ฝนตกโดยรอบแต่ภูเขา ชื่อว่า ปริปพฺพตํ, มีรูปเป็น ปริปพฺพตา บ้าง. ความหมาย คือ ตกโดยเว้นซึ่งภูเขา.
ฝนตกภายนอกจากภูเขา ชื่อว่า อปปพฺพตํ, มีรูปเป็น อปปพฺพตา บ้าง.
ฝนตก นอกเมือง ปาฏลิบุตร ชื่อว่า อาปาฏลิปุตฺตํ, มีรูปเป็น อาปาฏลิปุตฺตา บ้าง.
ชื่อเสียงของพระกัจจายนเถระ แผ่ถึงสามเณรทั้งหลาย ชื่อว่า อากุมารํ, มีรูปเป็น อากุมารา บ้าง.[28],
ชื่อเสียงของพระผู้มีพระภาค แผ่เข้าไปในภวัคคภูมิ ชื่อว่า อาภวคฺคํ, มีรูปเป็น อาภควคฺคา บ้าง
สรณคมน์ ย่อมเป็นไปจนถึงที่สุดแห่งชีวิต ชื่อว่า อาปาณโกฏิกํ, ลง ก อาคม.
ภายนอกจากหมู่บ้าน ชื่อว่า พหิคามํ, มีรูปเป็น พหิคามา บ้าง.
พหินครํ ภายนอกจากเมือง , พหิเลณํ ภายนอกจากถ้ำ มีวิเคราะห์เหมือน พหิคามํ.
ส่วนอื่นจากภูเขา ชื่อว่า ติโรปพฺพตํ, มีรูปเป็นติโรปพฺพตา บ้าง.
ติโรปาการํ ส่วนอื่นจากกำแพง, ติโรกุฏฺฏํ ส่วนอื่นจากฝา มีวิเคราะห์เหมือน ติโรปพฺพตํ.
ในตัวอย่างมีติโรปพฺพตํ เป็นต้น ติโร คือ ปรภาค ส่วนอื่น.
ในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร ชื่อว่า ปุเรภตฺตํ, มีรูปเป็น ปุเรภตฺตา บ้าง.
ในเวลาก่อนจากอรุณขึ้น ชื่อว่า ปุรารุณํ, มีรูปเป็น ปุรารุณา บ้าง
ภายหลังแห่งการฉันภัตต ชื่อว่า ปจฺฉาภตฺตํ มีรูปเป็น ปจฺฉาภตฺตา บ้าง.


อนุศัพท์ ที่เป็นไปในความหมายว่า ใกล้ และ ยาว เข้าสมาสกับนามศัพท์ลงสิเป็นต้น ด้วยสูตรนี้
๓๔๒. สมีปายาเมสฺวนุ [29]

๓๔๒. สมีปายาเมสฺวนุ.
อนุศัพท์ ที่เป็นไปในความหมายว่า ใกล้ และ ยาว เข้าสมาสกับนามศัพท์ลงสิเป็นต้น
สมีเป อายาเม จ ปวตฺโต อนุสทฺโท สฺยาทินา สห เอกตฺโถ ภวติ วาฯ
วนสฺส สมีปํ อนุวนํ, อสนิ อนุวนํ คตา, คงฺคํ อนุยาตา อนุคงฺคํ, พาราณสีฯ

อนุศัพท์ ที่เป็นไปในความหมายว่า ที่ใกล้ และ แนวยาว บ้าง
ตัวอย่าง
ที่ใกล้แห่งป่า ชื่อว่า อนุวนํ (เช่น) อสนิ อนุวนํ คตา สายฟ้า เป็นไปใกล้ป่า ชื่อว่า อนุวนํ
เมืองพาราณสีไปตามแนวยาวริมแม่น้ำคงคาชื่อว่า อนุคงฺคํ[30]  (เลียบแม่น้ำคงคา).


โอเร อุปริ เป็นต้น เข้าสมาสกับนามศัพท์ลงฉัฏฐีวิภัตติเป็นต้น ด้วยสูตรนี้
๓๔๓. โอโร ปริ ปฏิ ปาเร มชฺเฌ เหฏฺฐุทฺธาโธนฺโต วา ฉฏฺฐิยา[31]

๓๔๓. โอโร ปริ ปฏิ ปาเร มชฺเฌ เหฏฺฐุทฺธาโธนฺโต วา ฉฏฺฐิยา.
โอเร อุปริ ปฏิ ปาเร มชฺเฌ เหฏฺฐา อุทฺธ อโธ อนฺโต ศัพท์ เข้าสมาสกับนามศัพท์ลงฉัฏฐีวิภัตติ ได้บ้าง.

โอราทโย สทฺทา ฉฏฺฐียนฺเตน สฺยาทินา สห เอกตฺถา ภวนฺติ วาฯ
เอตฺถ จ โอเร, ปาเร, มชฺเฌสทฺเทสุ ตทมินาทีนีติ สุตฺเตน เอกาโร, คงฺคาย โอรํ โอเรคงฺคํ, สิขรสฺส อุปริ อุปริสิขรํฯ เอวํ อุปริปาสาทํ, อุปริมญฺจํ, อุปริปพฺพตํ, โสตสฺส ปฏิโลมํ ปฏิโสตํฯ เอวํ ปฏิวาตํ, ยมุนาย ปารํ ปาเรยมุนํ, คงฺคาย มชฺฌํ มชฺเฌคงฺคํ, ปาสาทสฺส เหฏฺฐา เหฏฺฐาปาสาทํ, เหฏฺฐามญฺจํ, คงฺคาย อุทฺธํ อุทฺธํคงฺคํ, คงฺคาย อโธ อโธคงฺคํ, ปาสาทสฺส อนฺโต อนฺโตปาสาทํฯ เอวํ อนฺโตคามํ, อนฺโตนครํ, อนฺโตวสฺสํฯ













ศัพท์ท.มี โอเร เป็นต้น มีเนื้อความเป็นอันเดียวกันกับบทนามที่ลงฉัฏฐีวิภัตติบ้าง
ในสูตรนี้ สระเอ ที่ โอเร ปาเร, มชฺเฌ ศัพท์ ย่อมมี ด้วยสูตรว่า ตทมินาทีนิ
ตัวอย่าง
ฝั่งในแห่งแม่น้ำคงคา ชื่อว่า โอเรคงฺคํ
เบื้องบนแห่งยอดเขา ชื่อว่า อุปริสิขรํ
ชั้นบนแห่งปราสาท ชื่อว่า อุปริปาสาทํ
เบื้องบนของเตียง ชื่อว่า อุปริมญฺจํ
ข้างบนของภูเขา ชื่อว่า อุปริปพฺพตํ
ทวนแห่งกระแส ชื่อว่า ปฏิโสตํ
ทวนแห่งลม ชื่อว่า ปฏิวาตํ
ฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำยมุนา ชื่อว่า ปาเรยมุนํ.
ท่ามกลางแห่งแม่น้ำคงคา ชื่อว่า มชฺเฌคงฺคํ.
ภายใต้แห่งปราสาท ชื่อว่า เหฏฺฐาปาสาทํ.
ภายใต้แห่งเตียง ชื่อว่า เหฏฺฐามญฺจํ.
ด้านบนแห่งแม่น้ำคงคา ชื่อว่า อุทฺธํคงฺคํ.
เบื้องล่างแห่งแม่น้ำคงคา ชื่อว่า อโธคงคํ.
ภายในแห่งปราสาท ชื่อว่า อนฺโตปาสาทํ.
ภายในหมู่บ้าน ชื่อว่า อนฺโตคามํ.
ภายในแห่งเมือง ชื่อว่า อนฺโตนครํ.
ภายในแห่งปี ชื่อว่า อนฺโตวสฺสํ.
วาติ กิํ?
คงฺคาโอรํ, มชฺเฌสมุทฺทสฺมิํ อิจฺจาทิฯ

ข้อยกเว้น
วา ศัพท์ มีไว้ทำไม
มีไว้ เพื่อความไม่เป็นอัพยยะในตัวอย่งนี้  ว่า
คงฺคาโอรํ สู่ฝั่งในแห่งแม่น้ำคงคา
มชฺเฌสมุทฺทสฺมิํ ในท่ามกลางแห่งมหาสมุทร.[32]


ศัพท์สมาสชนิดอื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกับอัพยยีภาวสมาส ก็ถือว่าเป็นอัพยยีภาวสมาส ด้วยสูตรนี้
๓๔๔. ติฏฺฐคฺวาทีนิ[33]
๓๔๔. ติฏฺฐคฺวาทีนิ.
(ติฏฺฐคุศัพท์เป็นต้น เป็นศัพท์สำเร็จในอัพยยีภาวสมาส.)
ติฏฺฐคุอิจฺจาทีนิ อสงฺขฺเยกตฺเถ สิชฺฌนฺติฯ
ติฏฺฐนฺติ คาโว ยสฺมิํ กาเล ติฏฺฐคุ, วหนฺติ คาโวยสฺมิํ กาเล วหคุ, ‘โคสฺสูติ สุตฺเตน โอสฺส อุตฺตํฯ อายติํ ยโว ยสฺมิํ กาเลติ อายติยโว, ขเล ยโว ยสฺมิํ กาเลติ ขเลยวํฯ ปุพฺพปเท วิภตฺติอโลโปฯ ลุนา ยวา ยสฺมิํ กาเลติ ลุนยวํ, เอตฺถ ลุนาติ ลาวิตา, ลุยมานา ยวา ยสฺมินฺติ ลุยมานยวํ อิจฺจาทิฯ

ศัพท์ท.มีติฏฺฐคุ เป็นต้น ย่อมสำเร็จได้ ในอสังขยัตถสมาส.
โคท.ย่อมยืนอยู่ในกาลใด, กาลนั้น ชื่อว่า ติฏฺฐคุ. มีโคยืนอยู่.
โค ย่อมนำไป ในกาลใด, กาลนั้น ชื่อว่า วหคุ. รูปนี้ แปลง โอ เป็น อุ ด้วยสูตรว่า โคสฺสุ.
ข้าวบาร์เลย์ ย่อมมี ต่อไป ในกาลใด, กาลนั้น ชื่อว่า อายติยโว มีข้าวบาร์เลย์อันต่อไป[34]
ข้าวบาร์เลย์ อันเขาพึงเกี่ยว ในกาลใด, กาลนั้น ชื่อว่า ขเลยวํ มีข้าวบาร์เลย์อันเขาพึงเกี่ยว. ในรูปนี้ ไม่ลบวิภัตติที่บทหน้า.
ข้าวบาร์เลย์ อันเขาเกี่ยวแล้ว ในกาลใด เพราะเหตุนั้น กาลนั้น ชื่อว่า ลุนยวํ มีข้าวบาร์เลย์อันเกี่ยวแล้ว. ในตัวอย่างนี้ บทว่า ลุนา คือ ลาวิตา อันเขาเกี่ยวแล้ว.
ข้าวบาร์เลย์ อันชาวนาเกี่ยวอยู่ ในที่ใด, ที่นั้น ชื่อว่า มีข้าวบาร์เลย์อันชาวนาเกี่ยวอยู่

ตถา ปาโต นหานํ ยสฺมิํ กาเลติ ปาตนหานํฯ เอวํ สายนหานํ, ปาโต กมฺมกรณกาโล ยสฺมินฺติ ปาตกาลํฯ เอวํ สายกาลํ, ปาโต วสฺสติ เมโฆ ยสฺมินฺติ ปาตเมฆํฯ เอวํ สายเมฆํ, ปาโต คนฺตพฺโพ มคฺโค ยสฺมินฺติ ปาตมคฺคํ. เอวํ สายมคฺคํ อิจฺจาทิฯ มหาวุตฺตินา ปาโตสทฺทสฺส ปาตตฺตํฯ เอตฺถ จ ติฏฺฐคุอิจฺจาทีนิ วิคฺคหตฺถวเสน อญฺญปทตฺเถ สิทฺธานิ วิย ทิสฺสนฺติ, อญฺญปทสฺส ปน ลิงฺคาทีนํ วเสน เตสํ รูปวิกาโร นาม นตฺถิ, ตสฺมา อพฺยยรูปตฺตา อิธ คหิตานิ, สพฺพญฺเจตํ อสงฺขฺยสมาสปทํ นาม นปุํสกํ เอว โหติ, รสฺสนฺตเมว โหติฯ สพฺพวิภตฺตีนญฺจ อการนฺตมฺหา พหุลํ อํ โหติ, อิการุการนฺเตหิ โลโป โหติฯ
อพฺยยีภาวสมาโส นิฏฺฐิโตฯ

ตัวอย่างอื่นก็เช่นกัน คือ การอาบน้ำ ในเวลาเช้า ย่อมมี ในกาลใด, กาลนั้น ชื่อว่า ปาตนหานํ มีการอาบน้ำในเวลาเช้า
สายนหานํ มีการอาบน้ำในเวลาเย็น.
กาลเป็นกระทำการงานในเวลาเช้า มีอยู่ในสถานที่ใด, ที่นั้น ชื่อว่า ปาตกาลํ มีกาลที่กระทำการงานในเวลาเช้า.
สายกาลํ สถานที่มีกาลที่กระทำการงานในเวลาเย็น.
เมฆ (ฝน) ย่อมตกในเวลาเช้า มีอยู่ ในประเทศใด, ประเทศนั้น ชื่อว่า ปาตเมฆํ. มีเมฆ (ฝน) ตกในเวลาเช้า.
สายเมฆํ มีเมฆ (ฝน) ตกในเวลาเย็น.
หนทางอันบุคคลพึงไปในเวลาเช้า มีอยู่ในชนบทใด, ชนบทนั้น ชื่อว่า ปาตมคฺคํ มีหนทางอันบุคคลพึงไปในเวลาเช้า.
สายมคฺคํ ชนบทมีหนทางอันบุคคลพึงไปในเวลาเย็น. แปลงปาโต เป็น ปาต ด้วยมหาสูตร.
ในสูตรนี้ บทว่า ติฏฺฐคุ เป็นต้น สำเร็จรูปคล้ายรูปในอัญญปทัตถสมาส เนื่องด้วยอรรถของรูปวิเคราะห์. แต่ศัพท์เหล่านี้ไม่มีการเปลี่ยนรูป โดยเนื่องด้วยลิงค์เป็นต้นของอัญญบท (ตสัพพนามในบทปลง) เพราะฉะนั้น ศัพท์เหล่านั้น จึงสงเคราะห์อยู่ในอัพยยีภาวสมาสนี้ เพราะมีรูปเป็นอัพยยะ, อนึ่ง บทเหล่านั้น  จัดเป็นบทอสังขยสมาส (อัพยยีภาวสมาส) จะเป็นนปุงสกลิงค์ และมีสระที่สุดบทเป็นรัสสะเท่านั้น.   วิภัตติทั้งหมดท้ายอัพยยีภาวสมาสที่อการันต์ จะแปลงเป็น อํ โดยมาก, ที่อยู่ท้ายอิการันต์และอุการันต์[35]จะถูกลบไป.
อัพยยีภาวสมาส จบแล้ว



[1] [ก. ๓๑๖; รู. ๓๓๑; นี. ๖๗๕; จํ. ๒.๒.๑; ปา. ๒.๑.๔]
[2] [ก. ๓๑๙; รู. ๓๓๐; นี. ๖๙๖; จํ. ๒.๒.๒; ปา. ๒.๑.๖]
[3] (คือ อธิศัพท์ ซึ่งมีอรรถอาธาระ แปลว่า ใน ถูกแทนด้วยบทอื่น คือ อิตฺถีสุ ที่ลงสัตตมีวิภัตติในอรรถอาธาระ ซึ่งมีความหมายเดียวกัน)
[4] [ก. ๓๑๖; รู. ๓๓๑; นี. ๖๗๕; จํ. ๒.๑.๓๙; ปา. ๒.๔.๗๑; ๑.๒.๔๕, ๔๖]
[5] โมคคัลลานไวยากรณ์สูตรที่ ๒ (สฺยาทิ) /๑๑๙ เอกตฺถตายํ. ยกอุทาหรณ์ของเอกัตถตาว่า  ปุตฺตียติ (ธาตปจฺจยนฺโต), ราชปุริโส (สมาโส), วาสิฏฺโฐ (ตทฺธิโต),
[6] [ก. ๓๒๐; รู. ๓๓๕; นี. ๖๙๘; จํ. ๒.๒.๑๕; ปา. ๒.๔.๑๘]
[7] [ก. ๓๔๒; รู. ๓๓๗; นี. ๗๓๔; จํ. ๒.๒.๘๔; ปา. ๑.๒.๔๗]
[8] [ก. ๓๔๓; รู. ๓๓๘; นี. ๓๗๕; จํ. ๒.๑.๔๐; ปา. ๑.๑.๔๑]
[9] [ก. ๓๔๑; รู. ๓๓๖; นี. ๗๓๓; จํ. ๒.๑.๔๑; ปา. ๒.๔.๘๓; มุ. ๔.๓.๓๗๔]
[10] (หรือ อาศัยซึ่งตน เพราะวิเคราะห์ว่า อตฺตานํ อธิกิจฺจ อชฺฌตฺตํ ดูที่ท่านอธิบายในลำดับถัดไปและวิเคราะห์ตามคัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกา สูตรที่ )
[11] [ก. ๓๔๑; รู. ๓๓๖; นี. ๗๓๓; จํ. ๒.๑.๔๒; ปา. ๒.๔.๘๔; มุ. ๔.๓.๓๗๕]
[12] อัชฌัตตะในที่นี้ คือธรรมอันเป็นธรรมที่เป็นไปในตน ตามที่ท่านอธิบายไว้ในลำดับถัดไป.  แม้ข้างหน้าก็มีนัยนี้.
[13] [ธ. ส. อฏฺฐ. ๓๕๐; สํ. นิ. อฏฺฐ. ๒.๒.๓๒]
[14] [ธ. ส. ติกมาติกา ๒๐]
[15] อนึ่ง คัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์อธิบายว่า อรรถสัมปตฺติ (ความสมบูรณ์) มี ๒ คือ อัตภาวสัมปัตติ (ความสมบูรณ์แห่งสรีระ) และ ความบริบูรณ์เพียบพร้อม (สมฺปตฺติ ทฺวิธา อตฺตสมฺปตฺติ สมิทฺธิ จ). ในสูตรนี้ สพฺรหฺมํ เป็นตัวอย่างของ อัตตภาวสัมปัตติ ส่วนสุภิกฺขํ เป็นตัวอย่างของความบริบูรณ์เพียบพร้อม. สำหรับตัวอย่างว่า สพฺรหฺมํ มีวิเคราะห์ของโมคคัลลานไวยากรณ์และโมคคัลลานปัญจิกาว่า, สมฺปนฺนํ พฺรหฺมํ (สรีรํ) สพฺรหฺมํ ลิจฺฉวีนํ สรีระอันสมบูรณ์ ของเจ้าลิจฉวี ชื่อว่า สพฺรหฺมํ.  และฏีกาของปัญจิกาอธิบายว่า พฺรหฺม ศัพท์ในที่นี้ หมายถึง สรีระ.  สำหรับในที่นี้ ท่านวิเคราะห์ว่า สมฺปนฺนํ พฺรหฺมํ สรีระอันสมบูรณ์ เพราะในบางแห่ง อัพยยีภาวสมาสมีบทหลังเป็นประธานได้เหมือนกัน. (คิดว่า กรณีนี้ การที่เข้าสมาสกับสหศัพท์ ดูคล้ายจะเป็นสหนิปาตบุพพพหุพพีหิสมาส แต่ถ้าอัญญปทัตถะไม่แปลงไปตามลิงค์เป็นต้นของอัญญปทัตถะ ก็จัดเป็นอัพยยีภาวสมาส ที่ท่านจักกล่าวในตอนท้ายของสมาสนี้ ฉันใด. สมาสนี้ดูเหมือนกับเป็นกัมมธารยสมาส แต่รูปไม่เปลี่ยนตามวิเสสยะ จึงสงเคราะห์เป็นอัพยยีภาวสมาสได้ด้วย เหมือนฉันนั้น (สมภพ))
[16] สหศัพท์ มีอรรถว่า สมบูรณ์ (นีติ.สุตฺต.). ในที่นี้ควรตั้งวิเคราะห์ว่า พฺรหฺมสฺส สมฺปนฺนํ สพฺรหฺมํ ความสมบูรณ์แห่งพรหม กล่าวคือ เวท ชื่อว่า สพฺรหฺมํ.
[17] โมคคัลลานไวยากรณ์เป็น อกาเล สกตฺเถ (โมคฺ.๓/๘๑).
[18] อธิกิจฺจ มีความหมาย ๒ คือ อาศัย, ปรารภ, ทำให้เป็นเบื้องหน้า และ มุ่งหมาย, เจาะจง, เฉพาะ (ปทานุกรมติปิฏกปาฬิ). ยถา ที่มีอรรถวิจฉา ในที่นี้หมายถึง อธิกิจฺจ = มุ่งหมาย, เจาะจง, เฉพาะ  จึงมีความหมายว่า ธรรมเหล่านี้จะเป็นไปเฉพาะตน.  ถ้ายถาศัพท์มีอรรถอาศัย ก็จะมีความหมายว่า อตฺตานํ ปฏิจฺจ ปฏิจฺจ ปวตฺโต ปจฺจตฺตํ อาศัยซึ่งตนเป็นไป ชื่อว่า ปจฺจตฺตํ. นัยนี้ หมายถึง อชฺฌตฺต ภายใน(ดู วิสุทธิมรรค ๑/๓๔๔)
[19] คือ ทุกกึ่งเดือน ปี บ้าน จึงจะมีวัตถุต่างๆอาทิ ธรรมเทสนา อาหาร ข้าว หมุนเวียนมาตามวาระ.
[20] [ยุคปทตฺเถ สจกฺกํ นิเธหิ, (โมคฺคลฺลานวุตฺติยํ)ฯ จกฺเกน ยุคปต เธหิ สจกฺกํ, (มุคฺธโพธวุตฺติยํ)ฯ เห พิสณุ! จกฺเกน สห ยุคปเทกกาเล คทํ ธารยฯ (มุคฺธโพธฏีกายํ ๒๒๖ ปิฏฺเฐ)], อปุพฺพาจริมํ เอกกฺขเณ สห จกฺเกน ธารยํ สจกฺกํ (นีติ.สุตฺต.๗๓๕)
[21] ข้อความนี้ปฏิเสธเนื้อความของสูตร “ยถา น ตุลฺเย ยถา นิบาตจะไม่ประกอบกับนามในเนื้อความเปรียบเทียบ” (โมคฺ.๓/๓). ดังนั้น จึงถือเป็นข้ออนุญาตให้ทำสมาสกับยถาศัพท์ที่มีอรรถอื่นจากอรรถตุลฺย นั้น.
[22] [ก. ๓๑๙; รู. ๓๓๐; นี. ๖๙๖; จํ. ๒.๒.๓; ปา. ๒.๑.๗]
[23] [โมคฺคลฺลาเน อญฺญถาวุตฺติ ทสฺสิตา]ฯ
[24] ยถา ในที่นี้มีอรรถแห่งยสัพพนามและปฏิปาฏิ ไม่ใช่มีอรรถอสทิสภาวะ เหมือนในอรรถข้างต้น ตามที่คัมภีร์สัททนีติ อธิบายว่า ในที่นี้มีอรรถของยํสัพพนามโดยทั่วไป และ ปฏิปาฏิ ลำดับ โดยปฏิเสธมติเกจิอาจารย์ว่า “ส่วนอาจารย์บางท่านกล่าวว่า ยถา ศัพท์เป็นอัพยยีภาวสมาส ในอรรถอสทิสภาวะ (ความไม่เหมือน,หลากหลาย) ตัวอย่างเช่น เย เย วุฑฺฒา ยถาวุฑฺฒํ คนแก่แต่ละคน ชื่อว่า ยถาวุฑฺฒ” (นีติ.สุตฺต.๖๙๖แปล).และ “อนึ่ง อาจารย์บางท่าน กล่าวว่า “ลำดับแห่งคนสูงอายุทั้งหลายเช่นใด, ลำดับ เช่นนั้น เรียกว่า ยถาวุฑฺฒ, ก็ ยถา นิบาตนี้ย่อมเป็นไปในอรรถสทิสะ ดังนั้น คำว่า ยถาวุฑฺฒํ จึงมีความหมายว่า "วุฑฺฒปฏิปาฏิ" เหมือนกับลำดับของคนสูงอายุ”. ส่วนข้าพเจ้า (พระอัคควังสาจารย์) มีความเห็นว่า ยถา ศัพท์ ใช้ในอรรถลำดับ และเป็นศัพท์ที่ใช้ใน อรรถวิจฉาซึ่งมีความหมายเท่ากับ ยํ สัพพนาม.” (นีติ.สุตฺต.๖๙๖แปล).
[25]  [ก. ๓๑๙; รู. ๓๓๐; นี. ๖๙๖; จํ. ๒.๒.๔; ปา. ๒.๑.๘]
[26]  [ก. ๓๑๙; รู. ๓๓๐; นี. ๖๙๖; จํ. ๒.๒.๗; ปา. ๒.๑.๑๒, ๑๓; ‘ปยฺยปา…’ (พหูสุ)]
[27] คำว่า บทลงสิเป็นต้น ได้แก่ บทนามทั้งหลาย (ดูคำจำกัดความเรื่องนี้ในสูตรที่ ๓๓๑). คำว่า บทลงปัญจมีวิภัตติ เป็นคำกำกับความว่า ได้แก่ บทลงปัญจมีวิภัตติเท่านั้น. ต่อไปนี้จะแปลบทว่า สฺยาทิ ว่า บทนาม.
[28] อา โกมารา ยโส กจฺจายนสฺส อาโกมารํ ชื่อเสียงของพระกัจจายนเถระ แผ่ถึงสามเณรทั้งหลาย ชื่อว่า อาโกมาร (นีติ.สุตฺต. แปล)
[29] [ก. ๓๑๙; รู. ๓๓๐; นี. ๖๙๖; จํ. ๒.๒.๙; ปา. ๒.๑.๑๕, ๑๖]
[30] ในที่นี้ คงฺคํ เป็นบทลงทุติยาวิภัตติ ในอรรถกำหนด ไม่ใช่อรรถกรรม. อธิบายว่า  เมืองพาราราณสี ตั้งอยู่ตามแนวยาวแม่น้ำคงคา. กล่าวคือ แม่น้ำคงคาเป็นเครื่องกำหนด ซึ่งปรากฏโดยความเป็นคุณ (วิเสสนะ) ของเมืองพาราณสีนั่นเอง. อีกนัยหนึ่ง แปลตามนัยของคัมภีร์โมคคัลลานปัญฺจิกาว่า อนุคงฺคํ พาราณสีติ คงฺคายาเมน (คงคาย อายาเมน) ยุตฺตา พาราณสี สายํ เมืองพาราณสีนี้ ประกอบแล้วตามความยาวแห่งแม่น้ำคงคา. (เก็บความจาก โมคฺ.ปญฺจิกา.และโมคฺ.ปญฺ.ฏี.๓/๖)
[31] [ก. ๓๑๙; รู. ๓๓๐; นี. ๖๙๖; จํ. ๒.๒.๑๑; ปา. ๒.๑.๑๘; ‘โอเรปริ…’ (พหูสุ)]
[32] ในโมคคัลลานปัญจิกาท่านกล่าวว่า วา ศัพท์ มีการวิกัปปแห่งวุตติ  (รูปสำเร็จจากสมาส, ส่วนรูปวิเคราะห์ชื่อว่า วากยะ) เป็นอรรถ ไว้ดังนี้ว่า
เวติ อนุวตฺตนโต วิกปฺเปน สมาเส สิทฺเธ ปุน วา วจนํ กิมตฺถมิจฺจาห  “ปุนิจฺจาทิ, อสติ หิ ปุน วา วจเน ฉฏฺฐีสมาเส สมฺปตฺเต สมาสนฺตรวิธานโต ตสฺส พาธา สิยา, ปุน วา วจนโต ปน วุตฺติวิกปฺปตฺถโต โสปิ โหติ.
เพราะจะกล่าวแก้ปัญหาว่า เมื่อความเป็นสมาสย่อมสำเร็จได้โดยไม่แน่นอน เพราะการตามมาของ วา ศัพท์อยู่แล้วมิใช่หรือ, ท่านจะกล่าววาศัพท์อีกในสูตรนี้ เพื่ออะไร ดังนี้ ท่านอาจารย์จึงกล่าวบทว่า ปุน วาวิธานา (เพราะการใช้วาศัพท์ซ้ำอีก) ดังนี้เป็นต้นไว้. จริงอย่างนั้น เมื่อไม่กล่าววา ศัพท์ซ้ำอีก เมื่อการเข้าสมาสกับบทลงฉัฏฐีวิภัตติ (ฉัฏฐีตัป.) มาถึงแล้ว ก็จะพึงมีการห้ามซึ่งการเข้าสมาสนั้นจากวิธีการของสมาสอื่น, แต่เพราะได้กล่าววาศัพท์ซ้ำอีก แม้ความเป็นอัพยยีภาวสมาส ก็มีได้ แม้เพราะ (วาศัพท์) มีการวิกัปแห่งวุตติเป็นอรรถ (คือ ทำให้มีรูปไม่ต้องเป็นอัพยยะเสมอไป).
เกี่ยวกับศัพท์ว่า มชฺเฌสมุทฺทสฺมิํ นี้ คัมภีร์สัททนีติอธิบายว่า
เอตฺถ จ เอกเทสคฺคหณํ โกยํ มชฺเฌสมุทฺทสฺมินฺติ อิมํ ปาฬึ สมตฺเถติ; สมุทฺทสฺส มชฺเฌ มชฺเฌสมุทฺทํ; ตสฺมึ มชฺเฌสมุทฺทสฺมินฺติ หิ วิคฺคโห; อตฺโถ ปน สมุทฺทสฺส มชฺเฌอิจฺเจว โยเชตพฺโพ.
ก็คำว่า เอกเทเสน (ได้บ้าง) ในรูปวิเคราะห์นี้ ช่วยอธิบายข้อความพระบาลีนี้ว่า โกยํ มชฺเฌสมุทฺทสฺมึ “บุคคลผู้อยู่ในท่ามกลางแห่งมหาสมุทรนี้ เป็นใคร”. คำว่า มชฺเฌสมุทฺทสฺมึ มีรูปวิเคราะห์ว่า สมุทฺทสฺส มชฺเฌ มชฺเฌสมุทฺทํ,  ท่ามกลางแห่งมหาสมุทร ชื่อว่า  มชฺเฌสมุทฺท, ตสฺมึ มชฺเฌสมุทฺทสฺมึ ในท่ามกลางแห่งมหาสมุทรนั้น”, ความหมายก็คือในท่ามกลางแห่งมหาสมุทรนั่นเทียว. (นีติ.สุตฺต. แปล)
มติของคัมภีร์สัททนีตินี้ มีคำอธิบายของผู้แปลว่า ด้วยอำนาจของ วา ศัพท์ในสูตรนี้ ทำให้บทที่เข้าสมาสกับ โอเร มชฺเฌ เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องเป็นอัพยยะเสมอไป เช่น พระบาฬีว่า มชฺเฌสมุทฺทสฺมิํ.
[33] [ก. ๓๑๙; รู. ๓๓๐; นี. ๖๙๗; จํ. ๒.๒.๑๐; ปา. ๒.๑.๑๗]
[34] โมคคัลลานสูตรที่ ๒/๗  เป็น อายตีคโว มีวิ.ว่า อายติ ควนฺติ อายนฺติ คาโว ยสฺมึ กาเล อายติคโว. โคย่อมมา หรือ โคท.ย่อมมาในกาลใด,กาลนั้น ชื่อว่า อายตีคโว กาลที่มีโคมา.
[35] ตัวอย่างที่เป็น อุการันต์ คือ ติฏฺฐคุ ตามที่ท่านแสดงไว้โดยตรง. ตัวอย่างที่เป็น อิการันต์ คือ เกสาเกสิ  มีวิเคราะห์ว่า  ว่า  เกเสสุ จ เกเสสุ จ คเหตฺวา ยุทฺธํ ปวตฺตํ เกสาเกสิ.  การต่อสู้อันเป็นไปโดยจับที่ผมของแต่ละฝ่าย.  ทณฺฑาทณฺฑิ มีวิเคราะห์ ทณฺฑาทณฺฑิ ทณฺเฑหิ จ ทณฺเฑหิ จ ปหริตฺวา ยุทฺธํ ปวตฺตํ การต่อสู้ที่ใช้ไม้ตีกัน. (โมค.และ ปญฺจิกา. ๒/๗)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น