วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การกกัณฑ์ ๖ - ฉัฏฐีวิภัตติ

ฉฏฺฐีวิภตฺติราสิ
กลุ่มนามศัพท์ที่มีอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ
กสฺมิํ อตฺเถ ฉฏฺฐี?
ลงฉัฏฐีวิภัตติ ในอรรถอะไรบ้าง?

(๑) ลงในอรรถสัมพันธ์ด้วยสูตรนี้
๓๒๐. ฉฏฺฐี สมฺพนฺเธ [๑]
๓๒๐. ฉฏฺฐี สมฺพนฺเธ
ลงฉัฏฐีวิภัตติ เมื่อจะแสดงความสัมพันธ์.
ทฺวินฺนํ สมฺพนฺธีนํ เกนจิ ปกาเรน อายตฺตภาโว สมฺพนฺโธ นาม, สมฺพนฺเธ โชเตตพฺเพ วิเสสนสมฺพนฺธิมฺหิ ฉฏฺฐี โหติฯ
ความเกี่ยวเนื่องกันของสัมพันธี สองบท โดยประการอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัมพันธ์. เมื่อจะแสดงสัมพันธ์ ให้ลงฉัฏฐีวิภัตติ ท้ายสัมพันธีที่เป็นวิเสสนะ[๒] .


ตตฺถ กฺริยาการกสญฺชาโต อสฺเสทมฺภาวเหตุโก สมฺพนฺโธ นามาติ วุตฺตํฯ ตตฺถ ทฺเว สมฺพนฺธิโน อญฺญมญฺญํ ตํตํกฺริยํ กโรนฺติ, ตํ ทิสฺวา ‘‘อิเม อญฺญมญฺญสมฺพนฺธิโน’’ติ ชานนฺตสฺส ทฺวินฺนํ การกานํ ทฺวินฺนํ กฺริยานญฺจ สํโยคํ นิสฺสาย สมฺพนฺโธปิ วิทิโต โหติ, เอวํ สมฺพนฺโธ กฺริยาการกสญฺชาโต, ‘อิมสฺส อยนฺติ เอวํ ปวตฺตพุทฺธิยา เหตุภูตตฺตา อสฺเสทมฺภาวเหตุโก จฯ

ในข้อความข้างต้นนั้น มีอรรถาธิบายว่า สัมพันธ์ ได้แก่ อรรถที่เกิดจากกริยาและการกะ อันเป็นเหตุให้รู้ว่าสิ่งนี้ของสิ่งนี้. ในอรรถสองอย่างเหล่านั้น สัมพันธีสองบท ต่างก็ทำกิริยานั้นซึ่งกันและกัน, เมื่อเห็นการกระทำนั้นแล้วรู้ว่า “สองคนนี้เป็นผู้มีความสัมพันธ์กันและกัน” แม้ก็เป็นอันทราบความสัมพันธ์กันได้ เพราะอาศัยความประกอบกันแห่งการกะทั้งสองและกริยาทั้งสอง, สัมพันธ์ จึงเกิดจากกิริยาการกะ อันเป็นเหตุให้รู้ว่าสิ่งนี้ของสิ่งนี้ เพราะเป็นเหตุแห่งความเป็นไป ของความรู้ ซึ่งเป็นไปอย่างนี้ว่า สิ่งนี้เป็นของผู้นี้.
ตตฺถ สมฺพนฺโธ ติวิโธ สามิสมฺพนฺโธ, นานาตฺตสมฺพนฺโธ, กฺริยาการกสมฺพนฺโธติฯ
บรรดาสัมพันธ์และสัมพันธี เหล่านั้น สัมพันธ์มี ๓ คือ สามิสัมพันธ์ (ความสัมพันธ์โดยเป็นเจ้าของ), นานาตตสัมพันธ์ (สัมพันธ์ชนิดต่างๆ และ กิริยาการกสัมพันธ์ (ความสัมพันธ์กระหว่างกริยาและการกะ).

ตตฺถ สามีติ ยสฺส กสฺสจิ วิเสสนสมฺพนฺธิโน นามํ, ตสฺมา วิเสสฺยปทตฺถสฺส ตํตํวิเสสนภาเวน สมฺพนฺโธ สามิสมฺพนฺโธ นาม
บรรดาสัมพันธ์สามเหล่านั้น สามี เป็นชื่อของวิเสสนสัมพันธี อย่างใดอย่างหนึ่ง, เพราะฉะนั้น ความเกี่ยวเนื่องกับอรรถของวิเสสยบท โดยความเป็นวิเสสนะของอรรถนั้นๆ ชื่อว่า สามีสัมพันธ์ (ความเกี่ยวเนื่องกับสามี).

โส วิเสสฺยปทตฺถเภเทน อเนกวิโธฯ

สามิสัมพันธ์มีหลายอย่าง ตามประเภทแห่งอรรถของบทอันเป็นวิเสสยะ ดังนี้

ตตฺถ ตสฺส มาตา, ตสฺส ปิตาอิจฺจาทิ ชนกสมฺพนฺโธ นามฯ

ชนกสัมพันธ์ ได้แก่ ความเกี่ยวเนื่องกับชนกะ(ผู้ให้กำเนิด)โดยมีชัญญะเป็นวิเสสนะ[๓] เช่น
ตสฺส ปิตา
บิดาของบุตรนั้น
ตสฺส มาตา
มารดาของบุตรนั้น.

ตสฺสา ปุตฺโต, ตสฺสา ธีตา อิจฺจาทิ ชญฺญสมฺพนฺโธ นามฯ
ชัญญสัมพันธ์ ได้แก่ ความเกี่ยวเนื่องกับชัญญะ(ผู้ถูกให้กำเนิด) โดยมีชนกะเป็นวิเสสนะ เช่น
ตสฺสา ปุตฺโต
บุตรของ มารดา.
ตสฺสา ธีตา
บุตรีของมารดานั้น เป็นต้น

ตสฺส ภาตา, ตสฺส ภคินี อิจฺจาทิ กุลสมฺพนฺโธ นาม.
กุลสัมพันธ์ ได้แก่ ความเกี่ยวเนื่องกับกุล (ผู้อยู่ร่วมตระกูล โดยมี กุลวนฺต เป็นวิเสสนะ เช่น
ตสฺส ภาตา
พี่ชายของ บุคคลนั้น
ตสฺส ภคินี
น้องสาวของบุคคล

สกฺโก เทวานมินฺโท [สํ. นิ. ๑.๒๔๘] อิจฺจาทิ สามิสมฺพนฺโธ นามฯ
สามิสัมพันธ์ ได้แก่ ความเกี่ยวเนื่องกับสามิ(เจ้าของ) โดยมี สํ เป็นวิเสสนะ เช่น
สกฺโก เทวานมินฺโท (สํ.ส.๑๕/๖๒๓)
ท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่แห่งเทวดาทั้งหลาย.

ปหูตํ เม ธนํ สกฺก [ชา. ๑.๑๕.๗๒], ภิกฺขุสฺส ปตฺตจีวรํ อิจฺจาทิ สํสมฺพนฺโธ นาม.
สังสัมพันธ์  ได้แก่ ความเกี่ยวเนื่องสัง (ทรัพย์) โดยมี สามี เป็นวิเสสนะ เช่น
ปหูตํ เม ธนํ สกฺก [ชา.๒๗/๒๐๗๘]
ข้าแต่ท้าวสักกะ ทรัพย์ของเรา มีมาก.

อมฺพวนสฺส อวิทูเร, นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก [ธ. ป. ๓๒] อิจฺจาทิ สมีปสมฺพนฺโธ นามฯ
สมีปสัมพันธ์ ได้แก่ ความเกี่ยวเนื่องกับสมีปะ (ความใกล้) โดยมี สมีปี เป็นวิเสสนะ เช่น
อมฺพวนสฺส อวิทูเร
ในที่ไม่ไกลแห่งอัมพวนาราม,
นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก [ขุ.ธ.๒๕/๑๒].
ในที่ไม่ไกลแห่งพระนิพพานเลย

สุวณฺณสฺส ราสิ, ภิกฺขูนํ สมูโห อิจฺจาทิ สมูหสมฺพนฺโธ นามฯ
สมูหสัมพันธ์ ได้แก่ ความเกี่ยวเนื่องกับสมูหะ(หมู่) โดยมีสมูหี เป็นวิเสสนะ เช่น
สุวณฺณสฺส ราสิ
กองแห่งทอง,
ภิกฺขูนํ สมูโห
หมู่แห่งภิกษุทั้งหลาย

มนุสฺสสฺเสว เต สีสํ [ชา. ๑.๔.๘๑], รุกฺขสฺส สาขา อิจฺจาทิ อวยวสมฺพนฺโธ นามฯ
อวยวสัมพันธ์ ได้แก่ ความเกี่ยวเนื่องกับอวัยวะ(ส่วน) โดยมีอวยวีเป็นวิเสสนะ เช่น
มนุสฺสสฺเสว เต สีสํ [ขุ.ชา.๒๗/๕๘๒]
ศีรษะเหล่านั้น เป็นของมนุษย์แน่นอน.
รุกฺขสฺส สาขา
กิ่งของต้นไม้

สุวณฺณสฺส ภาชนํ, อลาพุสฺส กฏาหํ, ภฏฺฐธญฺญานํ สตฺตุ อิจฺจาทิ วิการสมฺพนฺโธ นามฯ
วิการสัมพันธ์ ได้แก่ ความเกี่ยวเนื่องกับวิการ(สิ่งที่ทำให้พิเศษ หรือ ถูกแปลงมา)โดยวิการวนฺตเป็นวิเสสนะ เช่น
สุวณฺณสฺส ภาชนํ
ภาชนะแห่งทอง
อลาพุสฺส กฏาหํ
กระโหลก(ใส่น้ำ)แห่งน้ำเต้า
ภฏฺฐธญฺญานํ สตฺตุ
ข้าวสัตตุ แห่งธัญญพืชที่ถูกตำแล้ว

ยวสฺส องฺกุโร, เมฆสฺส สทฺโท, ปุปฺผานํ คนฺโธ, ผลานํ รโส, อคฺคิสฺส ธูโม อิจฺจาทิ การิยสมฺพนฺโธ นามฯ
การิยสัมพันธ์ ได้แก่ ความเกี่ยวเนื่องกับการิยะ(ผล) โดยมีการิยีเป็นวิเสสนะ เช่น
ยวสฺส องฺกุโร
หน่อแห่งข้าวบาเลย์
เมฆสฺส สทฺโท
ปุปฺผานํ คนฺโธ
กลิ่นแห่งดอกไม้ทั้งหลาย
ผลานํ รโส
น้ำแห่งผลไม้
อคฺคิสฺส ธูโม
ควันของไฟ.

ขนฺธานํ ชาติ, ขนฺธานํ ชรา, ขนฺธานํ เภโท [สํ. นิ. ๒.๑] อิจฺจาทิ อวตฺถาสมฺพนฺโธ นามฯ

อวัตถาสัมพันธ์ ได้แก่ ความเกี่ยวเนื่องกับอวัตถา (กำหนดกาลเวลา) โดยมีอวัตถาวันตะเป็นวิเสสนะ เช่น
ขนฺธานํ ชาติ
ความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย
ขนฺธานํ ชรา,
ความแก่หง่อมแห่งขันธ์ทั้งหลาย
ขนฺธานํ เภโท [สํ.นิ.๑๖/๖]
ความแตกไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย

สุวณฺณสฺส วณฺโณ, วณฺโณ น ขียฺเยถ ตถาคตสฺส [ที. นิ. อฏฺฐ. ๑.๓๐๔], พุทฺธสฺส กิตฺติสทฺโท, สิปฺปิกานํ สตํ นตฺถิ [ชา. ๑.๑.๑๑๓], ติลานํ มุฏฺฐิ อิจฺจาทิ คุณสมฺพนฺโธ นามฯ
คุณสัมพันธ์ ได้แก่ ความเกี่ยวเนื่องกับคุณ(อัปปธาน, อรรถที่แสดงทัพพะอันเป็นที่ตั้งของตนให้ปรากฏ)  โดยมีคุณีเป็นวิเสสนะ เช่น
สุวณฺณสฺส วณฺโณ
สีแห่งทอง
วณฺโณ น ขียฺเยถ ตถาคตสฺส [ที.อฏฺฐ. ๑/๓๐๔]
คุณธรรมของพระตถาคตเจ้า ไม่พึงหมดสิ้น.
พุทฺธสฺส กิตฺติสทฺโท
เกียรติศัพท์ของพระพุทธเจ้า.
สิปฺปิกานํ สตํ นตฺถิ [ขุ.ชา.๒๗/๑๑๓]
ร้อยแห่งหอยโข่งทั้งหลาย ย่อมไม่มี.
ติลานํ มุฏฺฐิ
กำมือหนึ่งแห่งงาทั้งหลาย.

ปาทสฺส อุกฺขิปนํ, หตฺถสฺส สมิญฺชนํ, ธาตูนํ คมนํ ฐานํ อิจฺจาทิ กฺริยาสมฺพนฺโธ นามฯ
กริยาสัมพันธ์ ได้แก่ ความเกี่ยวเนื่องกับกริยา(การกระทำ) โดยมีบทวิเสสนะเป็นกริยามันตะ เช่น
ปาทสฺส อุกฺขิปนํ
การยกขึ้นแห่งเท้า
หตฺถสฺส สมิญฺชนํ
การเหยียดแห่งมือ
ธาตูนํ คมนํ ฐานํ
การไป (แห่งธาตุทั้งหลาย), การหยุดอยู่ แห่งธาตุทั้งหลาย.

จาตุมหาราชิกานํ ฐานํ อิจฺจาทิ ฐานสมฺพนฺโธ นามฯ

ฐานสัมพันธ์ ความเกี่ยวเนื่องกับฐานะ (ภูมิ, ที่อยู่) โดยมีบทวิเสสนะเป็นฐานี เช่น
จาตุมหาราชิกานํ ฐานํ
ที่อยู่ของท้าวจาตุมหาราชิกา.

เอวมาทินา นเยน สามิสมฺพนฺโธ อเนกสหสฺสปฺปเภโท, โส จ กฺริยาสมฺพนฺธาภาวา การโก นาม น โหติฯ ยทิ เอวํ ‘‘ปาทสฺส อุกฺขิปนํ’’ อิจฺจาทิ กฺริยาสมฺพนฺโธ นามาติ อิทํ น ยุชฺชตีติ? วุจฺจเต กฺริยาสมฺพนฺธาภาวาติ อิทํ สาธกภาเวน สมฺพนฺธาภาวํ สนฺธาย วุตฺตํ, สิทฺธาย ปน กฺริยาย สมฺพนฺธํ สนฺธาย กฺริยาสมฺพนฺโธ นาม วุตฺโตติฯ
สามีสัมพันธ์ มีหลายอย่างมากมายโดยนัยเป็นต้นอย่างนี้.  อนึ่ง สามีสัมพันธ์นั้น หาได้ชื่อว่า การกะไม่ เพราะไม่ความเกี่ยวเนื่องกับกริยา.  เมื่อเป็นดังที่ว่ามานี้ ที่ว่า “ปาทสฺส อุกฺขิปนํ การยกเท้า ชื่อว่า กิริยาสัมพันธ์ ดังนี้เป็นต้น ก็จะไม่น่าถูกต้องละซิ?.
เรื่องนี้ ขอชี้แจงว่า - ที่กล่าวคำว่า เพราะไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับกริยา (กฺริยาสมฺพนฺธภาวา) ดังนี้ไว้ หมายถึงความไม่มีแห่งความเกี่ยวเนื่องกับกริยาโดยเป็นการกระทำกริยาให้สำเร็จ. แต่ที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า ชื่อว่า กริยาสัมพันธ์  (ความเกี่ยวเนื่องกับกริยา)  โดยหมายถึงความเกี่ยวเนื่องกัน ก็ต่อเมื่อกริยาสำเร็จลงแล้ว.

นานาตฺตสมฺพนฺเธ ปน นานาอตฺเถสุ ฉฏฺฐี โหติฯ ตตฺถ ณี, อาวีปจฺจยานํ กมฺเม นิจฺจํ ฉฏฺฐี, ฌานสฺส ลาภี, จีวรสฺส ลาภี, ธนสฺส ลาภี, อาทีนวสฺส ทสฺสาวี, อตฺถิ รูปานํ ทสฺสาวี, อตฺถิ สมวิสมสฺส ทสฺสาวี, อตฺถิ ตารกรูปานํ ทสฺสาวี, อตฺถิ จนฺทิมสูริยานํ ทสฺสาวีฯ
ส่วนฉัฏฐีวิภัตติ ย่อมลงในอรรถนานัตตสัมพันธ์ (สัมพันธ์ชนิดต่างๆ) กล่าวคือ  ลงในอรรถต่างๆ.  
บรรดาอรรถเหล่านั้น ลงฉัฏฐีวิภัตติแน่นอน ท้ายศัพท์อันเป็นอรรถกรรมของ ณีปัจจัย และ อาวีปัจจัย เช่น
ฌานสฺส ลาภี
ผู้ได้ซึ่งฌาน (บรรลุ)
จีวรสฺส ลาภี
ผู้ได้ซึ่งจีวร
ธนสฺส ลาภี
ผู้ได้ซึ่งทรัพย์
อาทีนวสฺส ทสฺสาวี
ผู้เห็นซึ่งโทษ.
อตฺถิ รูปานํ ทสฺสาวี
ผู้เห็นซึ่งรูปทั้งหลาย มีอยู่
อตฺถิ สมวิสมสฺส ทสฺสาวี
ผู้เห็นซึ่งทางเรียบและทางขรุขระ มีอยู่.
อตฺถิ ตารกรูปานํ ทสฺสาวี
ผู้เห็นรูปแห่งดาว มีอยู่
อตฺถิ จนฺทิมสูริยานํ ทสฺสาวี
ผู้เห็นซึ่งจันทร์และดวงอาทิตย์ มีอยู่.

ตุ, อก, อน, ณปจฺจยานํ โยเค กฺวจิ กมฺมตฺเถ ฉฏฺฐีฯ
ในบางแห่ง ลงฉัฏฐีวิภัตติ ในอรรถกรรม ซึ่งสัมพันธ์กับ ตุปัจจัย, อกปัจจัย, อนปัจจัย และ ณ ปัจจัย

ตุปจฺจเย ตาว

จะกล่าวถึงศัพท์ที่สัมพันธ์กับ ตุปัจจัยก่อน.ตัวอย่างเช่น

ตสฺส ภวนฺติ วตฺตาโร [ม. นิ. ๒.๑๗๓], สหสา กมฺมสฺส กตฺตาโร, อมตสฺส ทาตา [ม. นิ. ๑.๒๐๓], ภินฺนานํ สนฺธาตา [ที. นิ. ๑.๙, ๑๖๔], สหิตานํ วา อนุปฺปทาตา [ที. นิ. ๑.๙, ๑๖๔] อิจฺจาทิฯ
ตสฺส ภวนฺติ วตฺตาโร [ม.ม.๑๒/๓๐๔]
จะมีผู้ว่ากล่าวซึ่งภิกษุนั้นได้
สหสา กมฺมสฺส กตฺตาโร
ผู้ผลุนผลันทำกรรม
อมตสฺส ทาตา [ม.มู.๑๒/ ๒๔๗]
(พระผู้มีพระภาคเจ้า) ผู้ทรงประทานอมตะ.
ภินฺนานํ สนฺธาตา [ที.สี. ๙/๔]
สมานผู้ที่แตกร้าวกัน,
สหิตานํ วา อนุปฺปทาตา [ที.สี. ๙/๔]
ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง

กฺวจีติ กิํ? คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา [อ. นิ. ๗.๓๗], คาธํ กตฺตา โนวสิตา [อ. นิ. ๔.๑๐๗], กาเลน ธมฺมีกถํ ภาสิตา, สรสิ ตฺวํ เอวรูปํ วาจํ ภาสิตา, ปเรสํ ปุญฺญํ อนุโมเทตา, พุชฺฌิตา สจฺจานิ [มหานิ. ๑๙๒] อิจฺจาทิฯ
ข้อยกเว้น
บทว่า ในบางแห่ง (กวจิ) กล่าวไว้ทำไม?
ในตัวอย่างเหล่านี้ (ท้ายศัพท์ที่มีอรรถกรรม แม้จะสัมพันธ์กับตุปัจจัย ก็ไม่ลงฉัฏฐีวิภัตติ)
คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา [อํ.สตฺตก.๒๓/๓๔],
ผู้แต่งถ้อยคำที่ลึกซึ้งได้.
คาธํ กตฺตา โนวสิตา [อํ.จตุ.๒๑/๑๐๗]
เป็นผู้ขุดรู แต่ไม่อยู่
กาเลน ธมฺมีกถํ ภาสิตา,
กล่าวธัมมีกถาโดยกาลอันควร.
สรสิ ตฺวํ เอวรูปํ วาจํ ภาสิตา,
ท่าน เป็นผู้กล่าววาจาเช่นนี้ ขอจงระลึกเถิด
ปเรสํ ปุญฺญํ อนุโมเทตา,
อนุโมทนาบุญของผู้อื่น
พุชฺฌิตา สจฺจานิ [ขุ.มหานิ. ๒๙/๑๙๒]
ทรงตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย.

อกปจฺจเย
ท้ายศัพท์ที่มีอรรถกรรม ซึ่งสัมพันธ์กับอก-ปัจจัย  เช่น
กมฺมสฺส การโก นตฺถิ, วิปากสฺส จ เวทโก [วิสุทฺธิ ๒.๖๘๙], อวิสํวาทโก โลกสฺส [ที. นิ. ๑.๙] อิจฺจาทิฯ
กมฺมสฺส การโก นตฺถิ, วิปากสฺส จ เวทโก [วิสุทฺธิ ๒/๖๘๙ (ฉ)],
ผู้ทำกรรม และ ผู้เสวยผลแห่งกรรมไม่มี
อวิสํวาทโก โลกสฺส [ที.สี.๙/๔]
ผู้ไม่หลอกลวงชาวโลก

กฺวจีติ กิํ? มหติํ มหิํ อนุสาสโก, ชนํ อเหฐโก, กฏํ การโก, ปสโว ฆาตโก อิจฺจาทิฯ
คำว่า ในบางแห่ง มีประโยชน์ในการไม่ลงฉัฏฐีวิภัตติ แม้จะสัมพันธ์กับอก-ปัจจัยนี้ ดังตัวอย่างนี้เช่น
มหติํ มหิํ อนุสาสโก,
ผู้อนุศาสก์ชาวแผ่นดินหมู่มาก
ชนํ อเหฐโก,
ผู้เบียดเบียนประชาชน
กฏํ การโก,
ช่างทอเสื่อ
ปสโว ฆาตโก
คนฆ่าสัตว์

อนปจฺจเย
ท้ายศัพท์ที่มีอรรถกรรม ซึ่งสัมพันธ์กับศัพท์ที่ประกอบกับอนปัจจัย ตัวอย่าง
ปาปสฺส อกรณํ สุขํ [ธ. ป. ๖๑], ภารสฺส อุกฺขิปนํ, หตฺถสฺส คหณํ, หตฺถสฺส ปรามสนํ, อญฺญตรสฺส องฺคสฺส ปรามสนํ [ปารา. ๒๗๐] อิจฺจาทิ.
ปาปสฺส อกรณํ สุขํ [ขุ.ธ.๒๕/๓๓],
การไม่ทำบาป นำความสุขมาให้
ภารสฺส อุกฺขิปนํ,
ยกภาระออกไป
หตฺถสฺส คหณํ
จับมือ
หตฺถสฺส ปรามสนํ
ลูบมือ
อญฺญตรสฺส องฺคสฺส ปรามสนํ [วิ.มหาวิ.๑/๓๗๗]
ลูบคลำอวัยวะอันใดอันหนึ่ง.

กฺวจีติ กิํ? ภควนฺตํ ทสฺสนาย [อุทา. ๒๓] อิจฺจาทิฯ
คำว่า ในบางแห่ง (กฺวจิ) มีไว้เพื่ออะไร
แม้จะสัมพันธ์กับศัพท์ที่ประกอบกับ อน ปัจจัย ก็ไม่ลงฉัฏฐีวิภัตติในบางแห่ง เช่น
ภควนฺตํ ทสฺสนาย [ขุ.ธ.๒๕/๔๕]
เพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ณปจฺจเย
ในอรรถกรรม ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่ประกอบกับ ณปัจจัย ตัวอย่าง
อจฺฉริโย อรชเกน วตฺถานํ ราโค, อโคปาลเกน คาวีนํ โทโห, อปฺปปุญฺเญน ลาภานํ ลาโภ, หตฺถสฺส คาโห, ปตฺตสฺส ปฏิคฺคาโห อิจฺจาทิฯ
อจฺฉริโย อรชเกน วตฺถานํ ราโค
การย้อมผ้าโดยผู้ไม่ใช่นักย้อม น่าอัศจรรย์.
อโคปาลเกน คาวีนํ โทโห
การรีดแม่โค (รีดนม) โดยผู้ไม่ใช่คนเลี้ยงโค .
อปฺปปุญฺเญน ลาภานํ ลาโภ
การได้ลาภโดยผู้มีบุญน้อย
หตฺถสฺส คาโห
การจับมือ
ปตฺตสฺส ปฏิคฺคาโห
การรับบาตร

ตฺวาปจฺจเยปิ กฺวจิ กมฺมนิ ฉฏฺฐี, อลชฺชีนํ นิสฺสาย, อายสฺมโต นิสฺสาย วจฺฉามิ, จตุนฺนํ มหาภูตานํ อุปาทาย ปสาโท [ธ. ส. ๕๙๖-๕๙๙ (อุปาทาย)] อิจฺจาทิฯ
ลงฉัฏฐีวิภัตติ ในอรรถกรรม ท้ายศัพท์แม้ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่ประกอบกับตฺวาปัจจัย ในบางแห่ง เช่น
อลชฺชีนํ นิสฺสาย,
อาศัยแล้วซึ่งผู้ไม่มีความละอาย
อายสฺมโต นิสฺสาย วจฺฉามิ,
ข้าพเจ้า อาศัยท่านผู้มีอายุ จึงได้อาศัยอยู่.
จตุนฺนํ มหาภูตานํ อุปาทาย ปสาโท [อภิ.สํ.๓๔/๕๑๖]
ประสาท (รูป) อาศัยมหาภูตรูป ๔.

กตฺตริ ต, ตวนฺตุ, ตาวี, มานนฺตานํ โยเค ปน กมฺมนิ ทุติยา เอว, สุขกาโม วิหารํ กโต, คามํ คโต, โอทนํ ภุตฺตวา ภุตฺตาวี, กมฺมํ กุรุมาโน, กมฺมํ กโรนฺโต อิจฺจาทิฯ
แต่ลงทุติยาวิภัตติเท่านั้นในอรรถกรรม ซึ่งสัมพันธ์กับศัพท์ลงต ตวนฺตุ, ตาวี, มานและอนฺตปัจจัย (ที่เป็นไป) ในอรรถกัตตา เช่น
สุขกาโม วิหารํ กโต
ผู้ปรารถนาความสุข สร้างวิหาร.
คามํ คโต
ผู้ไปสู่บ้าน
โอทนํ ภุตฺตวา
บุคคล กินข้าว
โอทนํ ภุตฺตาวี,
บุคคล กินข้าว
กมฺมํ กุรุมาโน
บุคคลทำการงาน
กมฺมํ กโรนฺโต
บุคคลทำการงาน

กฺวจิ ฉฏฺฐีปิ ทิสฺสติ, ธมฺมสฺส คุตฺโต เมธาวี [ธ. ป. ๒๕๗] อิจฺจาทิฯ
ในบางแห่งพบว่า ลงฉัฏฐีวิภัตติบ้าง เช่น
ธมฺมสฺส คุตฺโต เมธาวี [ขุ.ธ.๒๕/๒๙]
นักปราชญ์ ผู้อันธรรมคุัมครองแล้ว.

สร, อิสุ, จินฺต, อิส, ทยธาตูนํ กมฺมนิ ฉฏฺฐี วา, มาตุสฺส สรติ, มาตรํ สรติ, ปิตุสฺส สรติ, ปิตรํ สรติ, น รชฺชสฺส สริสฺสสิ [ชา. ๒.๒๒.๑๗๒๑], น เตสํ โกจิ สรติ, สตฺตานํ กมฺมปจฺจยา [ขุ. ปา. ๗.๒], อาปตฺติปริยนฺตํ นสฺสรติ, รตฺติปริยนฺตํ นสฺสรติ [จูฬว. ๑๕๗], ปุตฺตสฺส อิจฺฉติ ปุตฺตํ วา, มาตุสฺส จินฺเตติ มาตรํ วา, เถรสฺส อชฺเฌสติ เถรํ วา, เตลสฺส ทยติ เตลํ วา, รกฺขตีติ อตฺโถฯ

ลงฉัฏฐีวิภัตติ ในอรรถกรรม ของ สร (ระลึก) ธาตุ, อิสุ (ปรารถนา) ธาตุ, จินฺต (คิด) ธาตุ, อิส (ริษยา) ธาตุ และ ทย (รัก) ธาตุ ได้บ้าง ตัวอย่าง
มาตุสฺส สรติ
ย่อมระลึกถึงมารดา, เป็น มาตรํ สรติ ก็มีบ้าง.
ปิตุสฺส สรติ, ปิตรํ สรติ,
ย่อมระลึกถึงบิดา, เป็น ปิตรํ สรติ ก็มีบ้าง.
น รชฺชสฺส สริสฺสสิ [ขุ.ชา.๒๘/๑๐๗๗]
จักไม่ระลึกถึงรัชสมบัติ
น เตสํ โกจิ สรติ, สตฺตานํ กมฺมปจฺจยา [ขุ.ขุ.๒๕/๘]
ญาติไรๆของเปรตเหล่านั้นระลึกไม่ได้ เพราะกรรมของสัตว์เหล่านั้นเป็นปัจจัย.
อาปตฺติปริยนฺตํ นสฺสรติ, รตฺติปริยนฺตํ นสฺสรติ [วิ.จู.๖/๔๖๖],
ระลึกที่สุดแห่งอาบัติไม่ได้, ระลึกที่สุดแห่งราตรีไม่ได้
ปุตฺตสฺส อิจฺฉติ
ย่อมปรารถนาบุตร. มีรูปเป็น ปุตฺตํ บ้าง.
มาตุสฺส จินฺเตติ มาตรํ วา,
ย่อมปรารถนามารดา. มีรูปเป็น มาตรํ บ้าง.
เถรสฺส อชฺเฌสติ เถรํ วา
ย่อมนิมนต์พระเถระ, มีรูปเป็น เถรํ บ้าง.
เตลสฺส ทยติ.
ย่อมรักษาน้ำมัน, มีรูปเป็น เตลํ บ้าง.  ทยติ ความหมายคือ รกฺขติ (รักษา).

กรธาตุสฺส อภิสงฺขรณตฺถวาจิโน กมฺเม ฉฏฺฐี, อุทกสฺส ปฏิกุรุเต อุทกํ วา, กณฺฑสฺส ปฏิกุรุเต กณฺฑํ วา อิจฺจาทิฯ
ลงฉัฏฐีวิภัตติ ในอรรถกรรม แห่งกร ธาตุที่มีความหมายว่า อภิสังขรณ (ปรุงแต่ง) เช่น
อุทกสฺส ปฏิกุรุเต.
บุคคลย่อมปรุงแต่ง ซึ่งน้ำ, มีรูปเป็น อุทกํ บ้าง.
กณฺฑสฺส ปฏิกุรุเต.
บุคคลย่อมปรุงแต่งซึ่งลูกศร,มีรูปว่ากณฺฑํ บ้าง.

ตปจฺจเย ปูชนตฺถาทิธาตูนํ กตฺตริ ฉฏฺฐี วา, รญฺโญ สมฺมโต รญฺญา วา, คามสฺส ปูชิโต คาเมน วา, รญฺโญ สกฺกโต รญฺญา วา, รญฺโญ อปจิโต รญฺญา วา, รญฺโญ มานิโต [ที. นิ. ๑.๓๐๓] รญฺญา วา, ตถา สุปฺปฏิวิทฺธา พุทฺธานํ ธมฺมธาตุ, อมตํ เตสํ ปริภุตฺตํ, เยสํ กายคตาสติ ปริภุตฺตา [อ. นิ. ๑.๖๐๓], อมตํ เตสํ วิรทฺธํ, เยสํ กายคตาสติ วิรทฺธา [อ. นิ. ๑.๖๐๓]ฯ
ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับตปัจจัย ลงฉัฏฐีวิภัตติ ในอรรถกัตตาของศัพท์ที่ประกอบกับธาตุที่มีอรรถบูชาเป็นต้น ได้บ้าง เช่น
รญฺโญ สมฺมโต
อันพระราชาสมมุติแล้ว,  เป็นรูปว่า รญฺญา บ้าง
คามสฺส ปูชิโต
อันชาวบ้านบูชาแล้ว,  เป็นรูปว่า คาเมน บ้าง
รญฺโญ สกฺกโต
อันพระราชาทรงสักการะแล้ว, รูปว่า รญฺญา บ้าง
รญฺโญ อปจิโต
อันพระราชาทรงยำเกรงแล้ว, มีรูปว่า รญฺญา บ้าง
รญฺโญ มานิโต [ที.สี.๙/๑๘๑]
อันพระราชาทรงนับถือแล้ว, มีรูปว่า รญฺญา บ้าง
ด้วยอาทิศัพท์ ลงฉัฏฐีวิภัตติในอรรถกัตตาของศัพท์ที่ประกอบกับธาตุเหล่านี้ด้วย เช่น
สุปฺปฏิวิทฺธา พุทฺธานํ ธมฺมธาตุ
ธรรมธาตุอันพระพุทธเจ้าทัั้งหลาย แทงตลอดแล้วด้วยดี.
อมตํ เตสํ ปริภุตฺตํ, เยสํ กายคตาสติ ปริภุตฺตา [อํ.เอก.๒๐/๒๓๕],
กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่ได้บริโภคแล้ว, อมตะ  ชื่อว่า อันชนเหล่านั้น ไม่ได้บริโภคแล้ว.
อมตํ เตสํ วิรทฺธํ, เยสํ กายคตาสติ วิรทฺธา [อํ.เอก.๒๐/๒๓๘]
กายคตาสติอันชนเหล่าใดเบื่อแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเบื่อแล้ว.

ติปจฺจเยปิ กฺวจิ กตฺตริ ฉฏฺฐี วา, โสภณา กจฺจายนสฺส ปกติ กจฺจายเนน วา, โสภณา พุทฺธโฆสสฺส ปกติ พุทฺธโฆเสน วา อิจฺจาทิฯ

ลงฉัฏฐีวิภัตติ ในอรรถกัตตาท้ายศัพท์แม้ที่สัมพันธ์กับติปัจจัยในบางแห่ง ได้บ้าง เช่น
โสภณา กจฺจายนสฺส ปกติ.
ความงามอันพระกัจจายนะกระทำก่อน, เป็นรูปว่า กจฺจายเนน บ้าง
โสภณา พุทฺธโฆสสฺส ปกติ.
ความงามอันพระพุทธโฆษะกระทำก่อน, เป็นรูปว่า พุทฺธโฆเสน บ้าง

ปูชนตฺถานํ ปูรณตฺถานญฺจ กรเณ ฉฏฺฐี, ปุปฺผสฺส พุทฺธํ ปูเชติ ปุปฺเผน วา, ฆตสฺส อคฺคิํ ชุโหติ ฆเตน วา, ปตฺตํ อุทกสฺส ปูเรตฺวา, ปูรํ นานาปฺปการสฺส อสุจิโน [ที. นิ. ๒.๓๗๗], พาโล ปูรติ ปาปสฺส [ธ. ป. ๑๒๑], ธีโร ปูรติ ปุญฺญสฺส [ธ. ป. ๑๒๑] ปูรติ ธญฺญานํ วา มุคฺคานํ วา มาสานํ วา อิจฺจาทิฯ


ลงฉัฏฐีวิภัตติ ในอรรถกรณะ ของธาตุที่มีอรรถบูชา และ ที่มีอรรถทำให้เต็ม ได้บ้างเช่น
ปุปฺผสฺส พุทฺธํ ปูเชติ
ย่อมบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้, มีรูปว่า ปุปฺเผน บ้าง.
ฆตสฺส อคฺคิํ ชุโหติ
ย่อมบุชาไฟด้วยน้ำมันเนย, มีรูปว่า ฆเตน บ้าง
ปตฺตํ อุทกสฺส ปูเรตฺวา
ยังบาตรให้เต็มด้วยน้ำ.
ปูรํ นานาปฺปการสฺส อสุจิโน [ที.ม.๑๐/๒๗๗]
เต็มไปด้วยของสกปรกมีประการต่างๆ
พาโล ปูรติ ปาปสฺส [ธ. ป. ๑๒๑]
คนพาลย่อมเต็มด้วยบาป.,
ธีโร ปูรติ ปุญฺญสฺส [ธ. ป. ๑๒๑]
นักปราชญ์ย่อมเต็มด้วยบุญ.
ปูรติ ธญฺญานํ วา มุคฺคานํ วา มาสานํ วา
เต็มด้วยข้าว บ้าง ถั่วเขียว บ้าง ถั่วราชมาส บ้าง.

ตติยา วา, เขมา นาม โปกฺขรณี, ปุณฺณา หํเสหิ ติฏฺฐติฯ

ในกรณีดังกล่าว ลงตติยาวิภัตติได้บ้าง เช่น
เขมา นาม โปกฺขรณี,  ปุณฺณา หํเสหิ ติฏฺฐติ
สระโบกขรณีชื่อว่ าเขมา เต็มไปด้วยหงษ์มากมายตั้งอยู่.

ตพฺพ, รุชาทิโยเค ปน สมฺปทาเน จตุตฺถี เอว, ยกฺขเสนาปตีนํ อุชฺฌาเปตพฺพํ วิกฺกนฺทิตพฺพํ วิรวิตพฺพํ [ที. นิ. ๓.๒๘๓ (วิสทิสํ)], เทวทตฺตสฺส รุชฺชติ, รชกสฺส วตฺถํ ททาติ อิจฺจาทิฯ


ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับตพฺพ-ปัจจัย และ รุชธาตุเป็นต้น ลงจตุตถีวิภัตติ ในอรรถสัมปทานได้อย่างเดียว เช่น
ยกฺขเสนาปตีนํ อุชฺฌาเปตพฺพํ วิกฺกนฺทิตพฺพํ วิรวิตพฺพํ [ที.ปา.๑๑/๒๑๔ (วิสทิสํ)],
อุบาสิกานั้นพึงยกโทษ พึงคร่ำครวญ พึงร้องแก่ยักษ์เสนาบดี.
เทวทตฺตสฺส รุชฺชติ,
ย่อม ( เบียดเบียน ?) ต่อเทวทัต
รชกสฺส วตฺถํ ททาติ
ย่อมให้ผ้าแก่ช่างย้อม

ภยตฺถาทีนํ อปาทาเน พหุลํ ฉฏฺฐี, กิํ นุ โข อหํ ตสฺส สุขสฺส ภายามิ, สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส, สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน [ธ. ป. ๑๒๙], ภีโต จตุนฺนํ อาสีวิสานํ [สํ. นิ. ๔.๒๓๘], มา ภิกฺขเว ปุญฺญานํ ภายิตฺถ [อุทา. ๒๒], สงฺขาตุํ โนปิ สกฺโกมิ, มุสาวาทสฺส โอตฺตปํ [สํ. นิ. ๑.๑๘๔] อิจฺจาทิฯ ตตฺถ โอตฺตปนฺติ โอตฺตปฺปนฺโตฯ ตถา อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส, เชฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส [ม. นิ. ๓.๒๐๗] อิจฺจาทิ จฯ
ในอรรถอปาทานของธาตุที่มีอรรถกลัวเป็นต้น  โดยมากจะลงฉัฏฐีวิภัตติ เช่น
กิํ นุ โข อหํ ตสฺส สุขสฺส ภายามิ
เพราะเหตุไรหนอ เราจึงกลัวจากความสุขนั้น,
สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส, สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน [ขุ.ธ.๒๕/๐],
สัตว์โลกย่อมสะดุ้งกลัวจากอาชญา, สัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวจากความตาย
ภีโต จตุนฺนํ อาสีวิสานํ [สํ.๑๘/๓๑๐],
บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกนั้น
 มา ภิกฺขเว ปุญฺญานํ ภายิตฺถ [ขุ.สุ.๒๕/๒๐๐],
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ากลัวบุญเลย.
สงฺขาตุํ โนปิ สกฺโกมิ,
มุสาวาทสฺส โอตฺตปํ [สํ.ส.๑๕/๖๑๒]
ก็ข้าพระองค์ไม่อาจกำหนดนับได้เลยว่า ฯลฯ  ดังนี้ เพราะเกรงกลัวการกล่าวเท็จ.
ในตัวอย่างว่า มุสาวาทสฺส โอตฺตปํ นั้น คำว่า โอตฺตปํ ได้แก่ โอตฺตปฺปนฺโต เพราะสะดุ้งกลัว (อนฺต ปัจจัยลงในอรรถเหตุ).
และด้วยอาทิศัพท์ ลงฉัฏฐีวิภัตติ ในอรรถอปาทานของธาตุเหล่านี้เหมือนกัน เช่น
อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส, เชฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส [ม.อุ.๑๔/๓๗๗]
เราเป็นผู้เลิศกว่า(ชนชาว)โลก, เราเป็นผู้เจริญที่สุดกว่า(ชนชาว)โลก

กุสล, โกวิท, ปสาทตฺถานํ อาธาเร ฉฏฺฐี, กุสลา นจฺจคีตสฺส [ชา. ๒.๒๒.๙๔], กุสโล ตฺวํ รถสฺส องฺคปจฺจงฺคานํ [ม. นิ. ๒.๘๗], อมจฺเจ ตาต ชานาหิ, ธีเร อตฺถสฺส โกวิเท [ชา. ๑.๑๗.๑๓], นรา ธมฺมสฺส โกวิทา [ชา. ๑.๑.๓๗], มคฺคามคฺคสฺส โกวิทา, ‘‘เกจิ อิทฺธีสุ โกวิทา’’ติปิ อตฺถิ, สนฺติ ยกฺขา พุทฺธสฺส ปสนฺนา [ที. นิ. ๓.๒๗๖ (วิสทิสํ)], ธมฺมสฺส ปสนฺนา, สงฺฆสฺส ปสนฺนา, พุทฺเธ ปสนฺนา, ธมฺเม ปสนฺนา, สงฺเฆ ปสนฺนา วาฯ ตถา เจโตปริยญาณสฺส, วสี โหมิ มหามุนิฯ ฌานสฺส วสิมฺหิ อิจฺจาทิฯ
ลงฉัฏฐีวิภัตติ ในอรรถอาธาระ ของศัพท์ทั้งหลายที่มีอรรถว่า กุสล (ฉลาด), โกวิท (ฉลาด)และ ปสาท (เลื่อมใส) เป็นต้น เช่น
กุสลา นจฺจคีตสฺส [ขุ.ชา.๒๘/๔๓๖]
หญิงท.ผู้ฉลาดในการฟ้อนรำและขับร้อง.
กุสโล ตฺวํ รถสฺส องฺคปจฺจงฺคานํ [ม.ม.๑๓/๙๕].
ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในส่วนต่างๆของรถ.
อมจฺเจ ตาต ชานาหิ, ธีเร อตฺถสฺส โกวิเท [ขุ.ชา.๒๗/๒๔๔๒],
แน่ะพ่อคุณ เจ้าจงรู้อำมาตย์ ผู้เป็นนักปราชญ์ ฉลาดในประโยชน์ เถิด.
นรา ธมฺมสฺส โกวิทา [ขุ.ชา.๒๗/๓๗]
นรชน ผู้ฉลาดในธรรม,
มคฺคามคฺคสฺส โกวิทา
ผู้ฉลาดในทางและไม่ใช่ทาง,
แม้ที่มีรูปเป็นสัตตมีวิภัตติว่า “เกจิ อิทฺธีสุ โกวิทา บางคนเป็นผู้ฉลาดในอิทธิฤทธิ์” ดังนี้ก็มี
สนฺติ ยกฺขา พุทฺธสฺส ปสนฺนา [ที.ปา.๑๑/๒๐๘(มีปาฐะต่างกันเล็กน้อย) ]
ยักษ์ที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า มีอยู่,
ธมฺมสฺส ปสนฺนา
เลื่อมใสในพระธรรม.
สงฺฆสฺส ปสนฺนา
เลื่อมใสในพระสงฆ์
เป็นรูปว่า พุทฺเธ ปสนฺนา, ธมฺเม ปสนฺนา, สงฺเฆ ปสนฺนา บ้าง.
(ด้วยอาทิศัพท์) ลงฉัฏฐีวิภัตติ ในอรรถอาธาระ ของศัพท์ที่มีอรรถเหล่านี้ เหมือนกัน เช่น
เจโตปริยญาณสฺส, วสี โหมิ มหามุนิฯ
ฌานสฺส วสิมฺหิ

๓๒๑. ฉฏฺฐี เหตฺวตฺเถหิ [๔]
ลงฉัฏฐีวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่มีอรรถเหตุ ด้วยสูตรนี้
๓๒๑. ฉฏฺฐี เหตฺวตฺเถหิ
ลงฉัฏฐีวิภัตติท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับอรรถเหตุ.

เหตฺวตฺเถหิ โยเค เหตุมฺหิ ฉฏฺฐี โหติ.
ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่มีอรรถเหตุ ลงฉัฏฐีวิภัตติ เช่น
ตํ กิสฺส เหตุ [ม. นิ. ๑.๒; จํ. ๒.๑.๙๖; ปา. ๒.๓.๗๒], องฺควรสฺส เหตุ, อุทรสฺส เหตุ, อุทรสฺส การณา [ปารา. ๒๒๘] อิจฺจาทิฯ
ตํ กิสฺส เหตุ [ม.นิ.๑/๒ (ฉ).],
ข้อนั้น ย่อมมีเพราะเหตุอะไร
องฺควรสฺส เหตุ
เพราะเหตุแห่งการร้องขออวัยวะ
อุทรสฺส เหตุ, อุทรสฺส การณา [วิ.มหาวิ.๑/๒๒๙]
เพราะเหตุแห่งท้อง เพราะปัจจัยแห่งท้อง.



๓๒๒. ตุลฺยตฺเถน วา ตติยา[๕]
ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่มีอรรถเสมอกัน ลง ฉัฏฐีวิภัตติหรือตติยาวิภัตติ  ด้วยสูตรนี้
๓๒๒. ตุลฺยตฺเถน วา ตติยา
ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่มีอรรถเสมอกัน ลง ฉัฏฐีวิภัตติหรือตติยาวิภัตติ 

ตุลฺยตฺเถน โยเค ฉฏฺฐี โหติ ตติยา วาฯ
ท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับศัพท์ที่มีอรรถเสมอกัน ลง สามารถลงฉัฏฐีวิภัตติหรือตติยาวิภัตติได้  เช่น
ตุลฺโย ปิตุ ปิตรา วา, สทิโส ปิตุ ปิตรา วาฯ
ตุลฺโย ปิตุ.
ผู้เหมือนกับบิดา, รูปว่า ปิตรา ก็มีบ้าง.
สทิโส ปิตุ.
ผู้เสมอกับบิดา.  รูปว่า ปิตรา ก็มีบ้าง.

อิติ นานาตฺตสมฺพนฺโธฯ

นานาตตสัมพันธ์ เป็นอย่างนี้.

กฺริยาการกสมฺพนฺโธ นาม การกานํ กฺริยาย สห สาธก, สาธฺยภาเวน อญฺญมญฺญาเปกฺขตา อวินาภาวิตา วุจฺจติ, น หิ กฺริยํ วินา การกํ นาม สิชฺฌติ, น จ การกํ วินา กฺริยา นาม สิชฺฌตีติ, สา ปน ฉฏฺฐีวิสโย น โหตีติฯ
ความไม่แยกจากกัน ความมองหากันและกัน โดยความเป็นสาธกและสาธยะ แห่งการกะและกริยา เรียกชื่อว่า กริยาการกสัมพันธ์.  เพราะว่า หากแยกกริยาเสีย การกะ ชื่อว่า จะสำเร็จหามิได้, และกริยา หากแยกจากการกะ ก็จะสำเร็จไม่ได้, ดังนั้น ความแยกจากกันและกันนั้น ไม่เป็นตำแหน่งให้ลงฉัฏฐีวิภัตติ.

ฉฏฺฐีวิภตฺติราสิ นิฏฺฐิโตฯ
ฉัฏฐีวิภัตติ จบ.








[๑] [ก. ๓๐๑; รู. ๓๑๕; นี. ๖๐๙; จํ. ๒.๑.๙๕; ปา. ๒.๓.๕๐]
[๒] บทที่มีความเกี่ยวกันเนื่องกันกับบทอื่น เรียกว่า สัมพันธี. ความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างสองบทเหล่านั้นโดยความเป็นวิเสสยะ (บทที่ถูกขยาย) - วิเสสนะ (บทที่ขยาย)  มีความเป็นสํ (ทรัพย์) - สามี (เจ้าของ) เป็นต้น ดังที่ท่านจะกล่าวต่อไป เรียกว่า สัมพันธะ. เมื่อแสดงสัมพันธ์ ให้ลงฉัฏฐีวิภัตติท้ายศัพท์ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันโดยเป็นวิเสสนะนั้น.
[๓] หมายถึง บทที่ลงท้ายด้วยฉัฏฐีวิภัตติ คือ ตสฺส ปุตฺตสฺส (ของบุตรนั้น) มีชื่อเรียกว่า ชนกสัมพันธ์ ในฐานะที่มีความเกี่ยวเนื่องกับบทที่มีความหมายว่า ผู้ให้กำเนิด (ชนกะ).  อีกนัยหนึ่ง หมายถึง ความสัมพันธ์กันและกัน โดยมีบทวิเสสนะเป็นชัญญะ (ผู้กำเนิด) และมีบทวิเสสยะเป็น ชนกะ.  แม้ข้างหน้าก็มีนัยนี้.
[๔] [รู. ๑๖๓ ปิฏฺเฐ; นี. ๖๕๐; จํ. ๒.๑.๗๑; ปา. ๒.๓.๒๖]
[๕]  [นี. ๖๓๘]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น