วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ปุงลิงค์ - อการันต์ ครั้งที่ ๑๐ (ราชาทิยุวาทิคณราสิ- ราชาทิคณราสิ.)


ราชาทิยุวาทิคณราสิ
กลุ่มนามศัพท์มี ราชศัพท์เป็นต้น และ ยุว ศัพท์เป็นต้น
ราชาทิคณศัพท์
ราชศัพท์ (พระราชา)
ปฐมาวิภัตติ
๑๓๒. ราชาทิยุวาทีหา [ก. ๑๘๙; รู. ๑๑๓; นี. ๓๙๐-๑]ฯ
อาเป็นอาเทสของ สิ ที่อยู่ข้างหลังจาก ราช เป็นต้น และยุวเป็นต้น


ราชาทีหิ ยุวาทีหิ จ สิสฺส อา โหติฯ
ราชา คจฺฉติฯ
อา เป็นอาเทสของ สิวิภัตติ อันเป็นเบืัองหลังจากศัพท์มีราชเป็นต้น และ ยุวเป็นต้น เช่น
ราชา คจฺฉติ  พระราชา ย่อมเสด็จไป.

๑๓๓. โยนมาโน [ก. ๑๙๐; รู. ๑๑๔; นี. ๓๙๒]ฯ
อาโน เป็นอาเทสของ โยทั้งหลาย ได้บ้าง.

ราชาทีหิ ยุวาทีหิ จ โยนํ อาโน โหติ วาฯ ราชาโนฯ
อาโนเป็นอาเทสของโยวิภัตติทั้งหลาย (ปฐมาและทุติยาวิภัตติ) อันเป็นเบื้องหลังจาก ศัพท์ท.มีราชเป็นต้น และ ยุวเป็นต้น ได้บ้าง.
ราชาโน พระราชาท.

วาติ กิํ? จตุโร จ มหาราชาฯ
ข้าพเจ้ากล่าววาศัพท์ไว้เพื่ออะไร.
เพื่อการไม่ใช้ อาโน เป็นอาเทสของ ราช ในกรณีที่เป็นบทสมาส ก็มี เช่น
จตุโร จ มหาราชา ท้าวมหาราช ท. ๔

อาลปนวิภัตติ
โภ ราช, โภ ราชา, โภนฺโต ราชาโนฯ
โภ ราช, โภราชา ข้าแต่พระราชา
โภนฺโต ราชาโน ข้าแต่พระราชาท.

ทุติยาวิภัตติ
๑๓๔. วํมฺหานง [ก. ๑๘๘; รู. ๑๑๕; นี. ๓๙๓]ฯ
เพราะ อํวิภัตติ อาน เป็นอาเทสของ ศัพท์ท.มีราช เป็นต้น และ ยุว เป็นต้น ได้บ้าง.
ราชาทีนํ ยุวาทีนญฺจ อานง โหติ วา อํมฺหิฯ
ราชานํ, ราชํ, ราชาโน, จตุโร จ มหาราเช [เป. ว. ๑๑]ฯ
เพราะ อํวิภัตติ อาน เป็นอาเทสของศัพท์ท.มีราชเป็นต้น และ ยุว เป็นต้น ได้บ้าง[1] เช่น
ราชานํ, ราชํ ซึ่งพระราชา
ราชาโน ซึ่งพระราชาท.
จตุโร จ มหาราเช ซึ่งท้าวมหาราชท. ๔[2]

ตติยาวิภัตติ
๑๓๕. นาสฺมาสุ รญฺญา [ก. ๑๓๗, ๒๗๐; รู. ๑๑๖, ๑๒๐; นี. ๓๑๖, ๕๔๒]ฯ
เพราะ นา และ สฺมาวิภัตติ รญฺญา เป็นอาเทสของ ราช ได้บ้าง

นา, สฺมาสุ ราชสฺส รญฺญา โหติ วาฯ รญฺญา, ราเชนฯ
เพราะนาและสฺมาวิภัตติท. อันเป็นเบื้องหลัง รญฺญา เป็นอาเทสของ ราชศัพท์ ได้บ้าง.
รญฺญา, ราเชน ด้วยพระราชา

๑๓๖. ราชสฺสิ นามฺหิ [นี. ๓๑๖]ฯ
เพราะนาวิภัตติ อิ เป็น อาเทส ของ อ ท้าย ราช

นามฺหิ ราชสฺส อิ โหติฯ ราชินาฯ
เพราะนาวิภัตติ อันเป็นเบื้องหลัง อิ เป็น อาเทส ของ อ ของราชได้บ้าง.[3]
ราชินา ด้วยพระราชา.

๑๓๗. สุนํหิสฺวุ [ก. ๑๖๙; รู. ๑๑๗; นี. ๓๕๗]ฯ
เพราะสุ นํ และหิวิภัตติ อุ เป็นอาเทสของ อ ที่ ราช ได้บ้าง

สุ, นํ, หิสุ ราชสฺส อุโหติ วาฯ
ราชูหิ, ราชูภิ, ราเชหิ, ราเชภิฯ
เพราะวิภัตติท.คือ สุ นํ และหิ อันเป็นเบื้องหลัง อุ เป็นอาเทสของ อ ที่สุด ของ ราช ได้บ้าง
ราชูหิ, ราชูภิ, ราเชหิ, ราเชภิ ด้วยพระราชาท.

จตุตถีวิภัตติ
๑๓๘. รญฺโญรญฺญสฺสราชิโน เส [ก. ๑๓๙; รู. ๑๑๘; นี. ๓๑๔]ฯ
เพราะสวิภัตติ รญฺโญ, รญฺญสฺส และ ราชิโน เป็นอาเทสของ ราชพร้อมทั้งวิภัตติได้บ้าง.

เส ปเร สวิภตฺติสฺส ราชสฺส รญฺโญ, รญฺญสฺส, ราชิโน โหนฺติ วาฯ
รญฺโญ, รญฺญสฺส, ราชิโนฯ
เพราะ สวิภัตติ อันเป็นเบื้องหลัง รญฺโญ, รญฺญสฺส และราชิโน เป็นอาเทสของ ราชศัพท์พร้อมทั้งวิภตติ ได้บ้าง.
รญฺโญ, รญฺญสฺส, ราชิโน แก่พระราชา.

วาติ กิํ? ราชสฺสฯ
ราชูนํ, ราชานํฯ
ข้าพเจ้ากล่าววาศัพท์เพื่ออะไร?
เพื่อการไม่ใช้ รญฺโญเป็นต้น เป็นอาเทสของ ราชศัพท์พร้อมทั้งวิภัตติ ในรูปว่า ราชฺส แก่พระราชา

ราชูนํ, ราชานํ แก่พระราชาท.

๑๓๙. ราชสฺส รญฺญํ [ก. ๑๓๖; รู. ๑๑๙; นี. ๓๑๕]ฯ
เพราะนํวิภัตติ รญฺญํ เป็นอาเทสของราชศัพท์ได้บ้าง.

นํมฺหิ ราชสฺส รญฺญํ โหติ วาฯ
รญฺญํ, ราชสฺมา, ราชมฺหา, รญฺญา, ราชูหิ, ราชูภิ, ราเชหิ, ราเชภิ, รญฺโญ, รญฺญสฺส, ราชิโน, ราชสฺส วา, ราชูนํ, ราชานํ, รญฺญํฯ
เพราะนํวิภัตติอันเป็นเบื้องหลัง รญฺญํ เป็นอาเทสของ ราชศัพท์ได้บ้าง.
รญฺญํ แก่พระราชาท.

ปัญจมีวิภัตติ
ราชสฺมา, ราชมฺหา, รญฺญา จากพระราชา
ราชูหิ, ราชูภิ, ราเชหิ, ราเชภิ จากพระราชาท.


ฉัฏฐีวิภัตติ
รญฺโญ, รญฺญสฺส, ราชิโน,  ด้วยวาศัพท์มีรูปว่า ราชสฺส แห่งพระราชา
ราชูนํ, ราชานํ, รญฺญํ แห่งพระราชาท.

สัตตมีวิภัตติ
๑๔๐. สฺมิํมฺหิ รญฺเญราชินิ [ก. ๑๓๘; รู. ๑๒๑; นี. ๓๑๗]ฯ
เพราะ สฺมิํ วิภัตติ รญฺเญ และราชินิ เป็นอาเทสของ ราชศัพท์ พร้อมทั้งวิภัตติ ได้บ้าง.

สฺมิํมฺหิ สวิภตฺติสฺส ราชสฺส รญฺเญ, ราชินิ โหนฺติ วาฯ
รญฺเญ, ราชินิ, ราชสฺมิํ, ราชมฺหิ, ราชูสุ, ราเชสุฯ
เพราะสฺมิํวิภัตติ อันเป็นเบื้องหลัง รญฺเญ และราชินิ เป็นอาเทสของราชศัพท์ พร้อมวิภัตติ ได้บ้าง.
รญฺเญ, ราชินิ, ราชสฺมิํ, ราชมฺหิ ในพระราชา
ราชูสุ, ราเชสุ ในพระราชาท.

(กฏพิเศษ)
๑๔๑. สมาเส วา
ในสมาส อาเทสทั้งหมดที่กล่าวมา ใช้ได้โดยไม่แน่นอน.

สมาสฏฺฐาเน สพฺเพ เต อาเทสา วิกปฺเปน โหนฺติฯ
จตฺตาโร มหาราชา [ที. นิ. ๒.๓๓๖], จตฺตาโร มหาราชาโน [อ. นิ. ๓.๓๗], เทวราชานํ, เทวราชํ, เทวราชาโน, เทวราเช, จตฺตาโร จ มหาราเช, มณิมฺหิ ปสฺส นิมฺมิตํ [ชา. ๒.๒๒.๑๓๙๔], กาสิรญฺญา,               กาสิราเชน, เทวราชูหิ, เทวราเชหิ, กาสิรญฺโญ, กาสิราชสฺส, เทวราชูนํ, เทวราชานํเป.กาสิรญฺเญ,  กาสิราเช, เทวราชูสุ, เทวราเชสุฯ
 ในที่เป็นบทสมาส อาเทสเหล่านั้นทั้งหมด มีไม่แน่นอน[4] เช่น
ปฐมาวิภัตติ
จตฺตาโร มหาราชา [ที.ม. ๑๐/๒๔๒ (สยาม)] ท้าวมหาราชท. ๔
จตฺตาโร มหาราชาโน [อ.ติก. ๒๐/๔๗๖ (สยาม] ท้าวมหาราชท. ๔

ทุติยาวิภัตติ
เทวราชานํ, เทวราชํ, เทวราชาโน, เทวราเช ซึ่งเทวราช
จตฺตาโร จ มหาราเช, มณิมฺหิ ปสฺส นิมฺมิตํ [ขุ.ชา.๒๘/๙๓๒ (สยาม)],
ขอเชิญทอดพระเนตรท้าวมหาราชทั้ง ๔ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
ตติยาวิภัตติ
กาสิรญฺญา, กาสิราเชน ด้วยพระเจ้ากาสี
เทวราชูหิ, เทวราเชหิ ด้วยเทวราชท.

จตุตถีวิภัตติ
กาสิรญฺโญ, กาสิราชสฺส แก่พระเจ้ากาสี
เทวราชูนํ, เทวราชานํ แก่เทวราชท.

(ปัญจมีวิภัตติ เหมือนตติยาวิภัตติ และ ฉัฏฐีวิภัตติ เหมือนจตุตถีวิภัตติ)

สัตตมีวิภัตติ
กาสิรญฺเญ, กาสิราเช ในพระเจ้ากาสี
เทวราชูสุ, เทวราชสุ ในพระเจ้ากาสีท.

มหาวุตฺตินา ราชโต โยนํ อิโน โหติ.
‘‘สมนฺตปาสาทิกา นาม, โสฬสาสิํสุ ราชิโน, เอกูนติํเส กปฺปมฺหิ, อิโต โสฬส ราชิโน [อป. เถร ๑.๑๒.๕๔-๕๕ (เอกูนติํสกปฺปมฺหิ, อิโต โสฬสราชาโน)], กุสราชํ มหพฺพลํ [ชา. ๒.๒๐.๖๗], สาลราชํว ปุปฺผิตํ [อป. เถร ๑.๔๒.๘๖], อุฬุราชํว โสภิตํ, จตุโร จ มหาราเช [เป. ว. ๑๑], ยุธญฺจโย อนุญฺญาโต, สพฺพทตฺเตน ราชินา [ชา. ๑.๑๑.๘๑], ตทา อทาสิ มํ ตาโต, พิมฺพิสารสฺส ราชิโน [อป. เถรี. ๒.๒.๓๒๖], นิกฺขมนฺเต มหาราเช, ปถวี สมฺปกมฺปถ’’ อิจฺจาทีนิ ปาฬิปทานิฯ
ด้วยมหาสูตร อิโน เป็นอาเทสของ โย หลังจากราชศัพท์ ดังมีพระบาฬีเหล่านี้เป็นหลักฐาน เช่น
สมนฺตปาสาทิกา นาม, โสฬสาสิํสุ ราชิโน [ขุ.อป.๓๒/๙๘]
ในกัลปที่ ๓๐ แต่กัปป์นี้ ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๓ พระองค์ ทรงพระนามว่าสมันตปาสาทิกะ

เอกูนติํเส กปฺปมฺหิ, อิโต โสฬสราชิโน [ขุ.อป.๓๒/๑๑๘]
ในกัลปที่ ๒๙ แต่กัปป์นี้ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑๖ พระองค์.

ทุติยาวิภัตติ
คจฺฉ พาเล ขมาเปหิ             กุสราชํ มหพฺพลํ        
ขมาปิโต กุสราชา                โส เต ทสฺสติ ชีวิตํ. [ขุ.ชา. ๒๘/๑๒๔]
เจ้าคนพาล เจ้าจงไปขอขมาโทษพระเจ้ากุสราชผู้มีกำลังมากเสีย พระเจ้ากุสราชที่เจ้าขอขมาแล้ว จักประทานชีวิตให้เจ้า.


สุวณฺณวณฺณํ สมฺพุทฺธํ                          สตรํสีว ภาณุมํ 
วนนฺตรคตํ ทิสฺวา                                 สาลราชํว ปุปฺผิตํ.[ขุ.อป.๓๒/๘๗ สฺยาม)]
เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้ามีพระฉวีวรรณดังทองคำ ดุจพระอาทิตย์แผดแสง เสด็จเข้าป่า งามเหมือนพระยารังมีดอกบาน

สุวณฺณวณฺณํ สมฺพุทฺธํ                      สตรํสีว ภาณุมํ 
โอภาเสนฺตํ ทิสา สพฺพา                    อุฬุราชํว[5] ปูริตํ. [ขุ.อป.๓๒/๑๑๒]
เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้ามีพระฉวีวรรณดังทองคำ มีพระรัศมีเปล่งปลั่ง ดุจพระอาทิตย์ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว ดังพระจันทร์วันเพ็ญ

ยงฺกิญฺจารมฺมณํ กตฺวา                     ทชฺชา ทานมมจฺฉรี 
ปุพฺเพ เปเตว  อารพฺภ                      อถ วา วตฺถุเทวตา  
จตฺตาโร ว  มหาราเช                       โลกปาเล ยสสฺสิโน [ขุ.เปต.๒๖/๘๙],
บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ ควรทำเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ปรารภถึงบุรพเปตชน เทวดาผู้สิงอยู่ในเรือน หรือท้าวมหาราชทั้ง ๔

ตติยาวิภัตติ
อภิธาวถ ภทฺทนฺเต                   สุญญํ เหสฺสติ รมฺมกํ 
ยุธญฺชโย อนุญฺญาโต               สพฺพทตฺเตน ราชินา. [ขุ.ชา.๒๗/๑๕๖๑]
ท่านทั้งหลายจงช่วยวิ่งเต้นด้วยเถิด ขอความเจริญจงมีแก่ท่านเถิด รัมมนครจักเปล่าเปลี่ยวเสียแล้ว พ่อยุธัญชัยพระเจ้าสัพพทัตทรงอนุญาตแล้วละ.

จตุตถีวิภัตติ
ยทาหํ โยพฺพนํ ปตฺตา               รูปวณฺณวิภูสิตา 
ตทา อทาสิ มํ ตาโต                 พิมฺพิสารสฺส ราชิโน. [ขุ.เถรี.อป. ๓๓/๑๕๘]
เมื่อใด ดิฉันเจริญวัยโตเป็นสาว มีรูปและผิวพรรณงาม เมื่อนั้น พระราชบิดาก็โปรดปรานประทาน ดิฉันแก่พระเจ้าพิมพิสาร





สัตตมีวิภัตติ
นิกฺขมนฺเต มหาราเช, ปถวี สมฺปกมฺปถ[6]
เมื่อพระมหาราชา จะเสด็จออก ปฐพีสั่นสะเทือนแล้ว.

****************


[1] งอนุพันธ์ แสดงว่า แปลงเฉพาะที่สุดของศัพท์ คือ อ ที่ราชและ ยุวเท่านั้น ไม่ได้แปลงทั้งศัพท์ เหมือนที่มี ฎ อนุพันธ์.
[2] อุ.นี้แสดงว่า ในกรณีที่เป็นบทสมาส ไม่แปลงโย เป็น อาน ได้บ้าง แต่แปลง โย เป็น เอ ด้วยสูตร ๑๐๘. อโต โยนํ ฏาเฏ [ท้ายอการันต์ อา และ เอ เป็นอาเทสของ โยท้้งหลาย]
[3] สัททนีติ สูตร ๓๑๖.นามฺหิ รญฺญา ราชินา เพราะ นา อันเป็นเบื้องหลัง แปลง ราช พร้อมทั้งวิภัตติเป็น รญฺญา, ราชินา. ส่วนโมคคัลลานะแสดงปริภาสาว่า ๑๗. ฉฏฺฐิยนฺตสฺสฯ ฉฏฺฐีนิทฺทิฏฺฐสฺส ยํ การิยํ, ตทนฺตสฺส วณฺณสฺส วิญฺเญยฺยํ บทที่ลงฉัฏฐีวิภตติในตัวสูตร ควรทราบว่า จะมีผลเกิดขึ้นกับอักษรที่สุดของศัพท์ เช่นสูตรว่า ‘‘ราชสฺสิ นามฺหิ’’ ราชินาฯ. แสดงว่า แปลง อ ของราช เป็น อิ ด้วยปริภาสานี้.
[4] คือ ถ้านามศัพท์นั้นเป็นสมาส ไม่ต้องอาเทส สิ เป็น อา,  โย เป็น อาโน ในปฐมาวิภัตติ กระทั่ง อาเทส ราชศัพท์กับวิภัตติ เป็นรญฺเญ, ราชินี ในสัตตมีวิภัตติ. ดังนั้น จึงอาจพบราชศัพท์ที่เป็นสมาส ซึ่งมีรูปเป็นปุริสาทิคณะ.
[5] อุฬุ = ดาว.  อุฬุราช ราชาแห่งดาว คือ ดวงจันทร์.
[6] ตัวอย่างนี้หาพระบาฬีเป็นที่มาตามที่พระคันถรจนาจารย์อ้างไว้ไม่ได้ แต่มีปาฐะที่เป็นสัตตมีวิภัตติท้ายราชศัพท์ในสมาส โดยเป็นศัพท์ที่อยู่ในปุริสาทิคณะ คือ
เตสุ มตฺตา กิลนฺตาว           สมฺปตนฺติ วนิพฺพกา   
นิกฺขมนฺเต มหาราเช           สิวีนํ รฏฺฐวฑฺฒเน.  [ขุ.ชา.๒๘/๑๐๘๓]
เมื่อพระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญจะเสด็จออก วณิพกเหล่านั้นเป็นดังคนเมา คนเหน็ดเหนื่อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น