วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

อัพยยปทราสิ จบ นามกัณฑ์


อพฺยยปทานิ
บทที่เป็นอัพยยะ
*******
อุปสคฺคปทราสิ
กลุ่มบทที่เป็นอุปสรรค
อถ อพฺยยปทานิ ทีปิยนฺเตฯ
ต่อจากวิภัตติปัจจยันตราสี จะแสดงบทที่เป็นอัพยยะ.

ฉพฺพิธานิ อพฺยยปทานิ อุปสคฺคปทํ, นิปาตปทํ, วิภตฺติปจฺจยนฺตปทํ, อพฺยยีภาวสมาสปทํ, อพฺยยตทฺธิตปทํ, ตฺวาทิปจฺจยนฺตปทนฺติฯ พฺยโย วุจฺจติ วิกาโร, นานาลิงฺควิภตฺติวจเนหิ นตฺถิ รูปพฺยโย เอเตสนฺติ อพฺยยา, อสงฺขฺยาติ จ วุจฺจนฺติฯ
บทที่เป็นอัพยยะ มี ๖ อย่าง คือ อุปสรรคคบท, นิปาตบท, วิภัตติปัจจยันตบท, อัพยยีภาวสมาสบท, อัพยยตัทธิตบท, ตฺวาทิปัจจยันตบท.
อัพยยะ มีรูปวิเคราะห์ว่า
พฺยโย วุจฺจติ วิกาโร, นานาลิงฺควิภตฺติวจเนหิ นตฺถิ รูปพฺยโย เอเตสนฺติ อพฺยยา.
พยยะ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลง. บทที่ไม่มีการเปลี่ยนรูปไปเป็นลิงค์ วิภัตติ และวจนะต่างๆ ชื่อว่า อัพยยะ.
และ อัพยยะนี้ จะเรียกว่า อสงฺขย (ไม่มีพจน์).


ตตฺถ วิภตฺติปจฺจยนฺตปทโต ปุน วิภตฺตุปฺปตฺติ นาม นตฺถิฯ อพฺยยีภาวสมาสมฺหิ วิภตฺตีนํ วิธิ สมาสกณฺเฑ วกฺขติ, ตสฺมา ตานิ ทฺเว ฐเปตฺวา เสสานิ จตฺตาริ อิธ วุจฺจนฺเตฯ
บรรดาบทอัพยยะท้้ง ๖ นั้น. จะไม่มีการลงวิภัตติท้ายวิภัตติปัจจยันตบทอีก. วิธีการประกอบวิภัตติในอัพยยีภาวสมาส จะกล่าวในสมาสกัณฑ์. เพราะฉะนั้น ในที่นี้ จะกล่าวเฉพาะอัพยยบท ๔ ที่เหลือ โดยเว้นวิภัตติปัจจยันตบทและอัพยยีภาวสมาสบททั้งสองนั้นเสีย.

๒๘๘. อสงฺขฺเยหิ สพฺพาสํ [จํ. ๒.๑.๓๘; ปา. ๒.๔.๘๒]
ลบวิภัตติทั้งหมดท้ายบทอัพยยะ (ที่ชื่อว่า อสังขยะ[๑]).

อสงฺขฺเยหิ ปเทหิ ยถารหํ สพฺพาสํ วิภตฺตีนํ โลโป โหติ, เกหิจิ ปเทหิ ปฐมาย โลโป, เกหิจิ ปเทหิ ทุติยาย โลโปเป.เกหิจิ สตฺตมิยา, เกหิจิ ทฺวินฺนํ, เกหิจิ ติสฺสนฺนํเป.เกหิจิ สตฺตนฺนนฺติ วุตฺตํ โหติฯ
ลบวิภัตติทั้งปวงท้ายบทที่เป็นอสังขยะ (อัพยยะ) ตามควร. คือ บางบทลบปฐมาวิภัตติ, บางบทลบทุติยาวิภัตติ ฯลฯ บางบทลบสัตตมีวิภัติ, บางบทลบได้สองวิภัตติ, บางบทลบได้สามวิภัตติ, ฯลฯ บางบทลบได้ทั้ง ๗ วิภัตติ.

ตตฺถ อาวุโส, โภ, ภนฺเตอิจฺจาทีหิ อามนฺตนนิปาเตหิ อตฺถิ, นตฺถิ, สกฺกา, ลพฺภา, สิยา, สิยุํ, สาธุ, ตุณฺหีอิจฺจาทีหิ จ ปฐมาย โลโปฯ
จิรํ, จิรสฺสํ, นิจฺจํ, สตตํ, อภิณฺหํ, อภิกฺขณํ, มุหุตฺตํ อิจฺจาทีหิ อจฺจนฺตสํโยคลกฺขเณ ทุติยายฯ
ยถา, ตถา, สพฺพถา, สพฺพโส, มุสา, มิจฺฉาอิจฺจาทีหิ ตติยายฯ
กาตุํ, กาตเว อิจฺจาทีหิ จตุตฺถิยาฯ
สมนฺตา, สมนฺตโต, ทีฆโส, โอรโสอิจฺจาทีหิ ปญฺจมิยาฯ
ปุเร, ปุรา, ปจฺฉา, อุทฺธํ, อุปริ, อโธ, เหฏฺฐา, อนฺตรา, อนฺโต, รโห, อาวิ, หิยฺโย, สุเวอิจฺจาทีหิ สตฺตมิยา โลโปฯ
นโมสทฺทมฺหา ‘‘นโม เต พุทฺธ วีรตฺถู’’ติ เอตฺถ ปฐมายฯ ‘‘นโม กโรหิ นาคสฺสา’’ติ เอตฺถ ทุติยายฯ
สยํสทฺทมฺหา ‘‘กุสูโล สยเมว ภิชฺชเต’’ติ เอตฺถ ปฐมายฯ ‘‘สยํ กตํ สุขทุกฺข’’นฺติ [ที. นิ. ๓.๑๙๑, ๑๙๓] เอตฺถ ตติยาย, อิจฺจาทินา ยถารหวิภาโค เวทิตพฺโพฯ
อิติ, เอวํสทฺเทหิ ปโยคานุรูปํ สตฺตนฺนํ วิภตฺตีนํ โลปํ อิจฺฉนฺติฯ
เกี่ยวกับการลบวิภัตติท้ายอัพยยบทนี้
ลบปฐมาวิภัตติท้ายบทนิบาตที่เป็นอาลปนะ เช่น
อาวุโส ท่านผู้มีอายุ
โภ ท่านผู้เจริญ
ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ลบปฐมาวิภัตติท้ายบทนิบาตที่มีอรรถปฐมาวิภัตติ เช่น
อตฺถิ มีอยู่                              
นตฺถิ ไม่มี
สกฺกา อาจ         
ลพฺภา พึงได้                           
สิยา โดยส่วนเดียว         
สิยุํ ก็มี[๒]
สาธุ ดีละ, ครับผม เป็นต้น
ตุณฺหี นิ่ง


ลบทุติยาวิภัตติท้ายนิบาตที่มีอรรถทุติยาวิภัตติ ในความหมายคือจันตสังโยคลักขณะ (กำหนดกิริยาอย่างต่อเนื่อง) เช่น
จิรํ ชั่วกาลนาน
จิรสฺสํ ตลอดกาลนาน
นิจฺจํ ตลอดกาลเป็นนิตย์
สตตํ ตลอดกาลอย่างต่อเนื่อง
อภิณฺหํ ตลอดกาลเนืองๆ
อภิกฺขณํ ตลอดกาลบ่อย
มุหุตฺตํ ชั่วครู่หนึ่ง

ลบตติยาวิภัตติ ท้ายนิบาตเหล่านี้ เช่น
ยถา โดยประการใด
ตถา โดยประการนั้น
สพฺพโส โดยประการทั้งปวง
มุสา โดยเท็จ
มิจฺฉา โดยผิด

ลบจตุตถีวิภัตติ ท้ายนิบาตเหล่านี้ เช่น
กาตุํ เพื่อทำ
กาตเว เพื่อทำ

ลบปัญจมีวิภัตติ ท้ายนิบาตเหล่านี้ เช่น
สมนฺตา จากที่รอบ
สมนฺตโต จากบริเวณรอบๆ
ทีฆโส จากส่วนยาว
โอรโส จากอก

ลบสัตตมีวิภัตติ ท้ายนิบาตเหล่านี้ เช่น
ปุเร ในก่อน
ปุรา ในก่อน
ปจฺฉา ภายหลัง
อุทฺธํ ข้างบน
อุปริ ข้างต้น
อโธ ข่างล่าง
เหฏฺฐา เบื้องต่ำ
อนฺตรา ในระหว่าง
อนฺโต ภายใน
รโห ในที่ลับ
อาวิ ในที่แจ้ง
หิยฺโย ในวันวาน
สุเว ในวันพรุ่งนี้

ลบปฐมาวิภัตติท้าย นโม ศัพท์ ในตัวอย่างนี้ว่า 
นโม เต พุทฺธ วีรตฺถุ
ความนอบน้อมขอจงมีแด่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า

ลบทุติยาวิภัตติ ท้าย นโม ศัพท์ ในตัวอย่างนี้ว่า
นโม กโรหิ นาคสฺส
ท่าน จงกระทำ ซึ่งความนอบน้อย แด่พระอรหันต์.

ลบปฐมาวิภัตติ ท้าย สยํ ศัพท์ในตัวอย่างนี้ว่า
กุสูโล สยเมว ภิชฺชเต
ยุ้ง ย่อมพังไป เองนั่นเทียว.

ลบตติยาวิภัตติ ท้าย สยํ ศัพท์ ในตัวอย่างนี้่ว่า
สยํ กตํ สุขทุกฺขํ (ที.ปา.๑๑/๑๒๓)  
สุขและทุกข์ อันสัตว์ทำแล้ว ด้วยตนเอง.

นักศึกษา พึงทราบการแจกแจงตามความเหมาะสม โดยอาศัยวิธีการดังตัวอย่างเช่นนี้. อาจารย์ทั้งหลาย ยังเห็นชอบให้ลบวิภัตติทั้ง ๗ ท้าย อิติ และ เอวํ ศัพท์ ตามควรแก่รูปประโยค.
อุปสคฺเคหิปิ อตฺถานุรูปํ ตํตํวิภตฺติโลโปฯ รูปสิทฺธิยํ ปน ‘‘เตหิ ปฐเมกวจนเมว ภวตี’’ติ [รู. ๑๓๑ (ปิฏฺเฐ)] วุตฺตํฯ
สำหรับการลบวิภัตติท้ายบทอุปสรรค ให้ลบวิภัตตินั้นๆ ตามควรต่อความหมาย. ส่วนในคัมภีร์ปทรูปสิทธิ ท่านได้กล่าวไว้ว่า เตหิ ปฐเมกวจนเมว ภวติ (รู.หน้า ๑๓๑ ฉัฏฐ.) ลงปฐมาวิภัตติ เอกวจนะเท่านั้น ท้ายบทอุปสรรคบททั้งหลาย.

ตตฺถ ‘‘อภิกฺกมติ, อภิธมฺโม’’ อิจฺจาทีสุ ธาตุลิงฺคานิ อุเปจฺจ เตสํ อตฺถํ นานาปฺปการํ กโรนฺตา สชฺชนฺติ สงฺขโรนฺตีติ อุปสคฺคาฯ เต หิ กฺวจิ ตทตฺถํ วิสิฏฺฐํ กโรนฺติ ‘‘ชานาติ, ปชานาติ, สญฺชานาติ, อวชานาติ, อภิชานาติ, ปริชานาติ, สุสีโล, ทุสฺสีโล, สุวณฺโณ, ทุพฺพณฺโณ, สุราชา, ทุราชา’’ อิจฺจาทีสุฯ กฺวจิ ตทตฺถํ นานาปฺปการํ กตฺวา วิภชฺชนฺติ ‘‘คจฺฉติ, อาคจฺฉติ, อุคฺคจฺฉติ, โอคจฺฉติ’’อิจฺจาทีสุฯ กฺวจิ ตทตฺถํ พาเธตฺวา ตปฺปฏิวิรุทฺเธ วา ตทญฺญสฺมิํ วา อตฺเถ ตานิ โยเชนฺติฯ ตตฺถ ตปฺปฏิวิรุทฺเธ เชติ, ปราเชติ, โอมุญฺจติ, ปฏิมุญฺจติ, คิลติ, อุคฺคิลติ, นิมฺมุชฺชติ, อุมฺมุชฺชติ, ธมฺโม, อุทฺธมฺโมอิจฺจาทิฯ ตทญฺญสฺมิํ ททาติ, อาททาติ, ทธาติ, วิเธติ, ปิเธติ, นิเธติ, สนฺธิยติ, สทฺทหติ, อภิธาติอิจฺจาทิฯ กฺวจิ ปน ปทโสภณํ กตฺวา ตทตฺถํ อนุวตฺตนฺติ, ‘‘วิชฺชติ, สํวิชฺชติ, ลภติ, ปฏิลภติ’’ อิจฺจาทิฯ
ในบทอัพยยะ ๔ ประเภทนี้
บท “อุปสรรค” ได้แก่ บทที่อยู่ไว้ใกล้ (ประกอบชิด) ธาตุและลิงค์ (นามศัพท์) แล้วจัดแจง ปรุงแต่ง ความหมายของธาตุและลิงค์เหล่านั้นโดยกระทำให้เป็นอย่างต่างๆ. (คือ ปรับปรุงธาตุและนามศัพท์ให้มีความหมายหลากหลาย). จะเห็นได้ว่า ในบางแห่ง บทอุปสรรคทำให้ความหมายของธาตุและลิงค์พิเศษ (คือ ขยายความ) เช่น
ชานาติ ย่อมรู้
ปชานาติ ย่อมรู้ทั่ว
สญฺชานาติ ย่อมหวลรู้, จำได้
อวชานาติ ย่อมหยั่งรู้
อภิชานาติ รู้ยิ่ง
ปริชานาติ ย่อมรู้รอบ
สุสีโล ผู้มีศีลดี
ทุสฺสีโล ผู้ไม่มีศีล
สุวณฺโณ ผู้มีผิวพรรณดี, ผิวสวย
ทุพฺพณฺโณ มีผิวพรรณไม่ดี, ผิวไม่สวย
สุราชา ที่รู้ง่าย
ทุราชา ที่รู้ยาก

ในบางแห่ง จำแนกความหมายของธาตุและนามศัพท์เพิ่มอีกหลายประการ (คือ มีความหมายเพิ่มจากเดิม) เช่น
คจฺฉติ ย่อมไป
อาคจฺฉติ ย่อมมา
อุคฺคจฺฉติ ย่อมขึ้นไป
โอคจฺฉติ ย่อมลงไป

ในบางแห่ง เบียดเบียน (เปลี่ยน) ความหมายของธาตุและลิงค์นั้นแล้วประกอบไว้ในความหมายตรงกันข้ามกับความหมายเดิมบ้าง, ในความหมายอื่นจากความหมายเดิมบ้าง.
บรรดาธาตุที่มีความหมายอันถูกอุปสรรคเบียดเบียน ๒ อย่างนั้น. ในความหมายที่เป็นตรงกันข้ามจากความหมายของธาตุและลิงค์เดิม เช่น
    เชติ ชนะ                              ปราเชติ แพ้
    โอมุญฺจติ ปล่อย                      ปฏิมุญฺจติ ยึดไว้
    คิลติ กลืน                               อุคฺคลติ คาย, สำรอก
    นิมฺมุชฺชติ ดำลง                    อุมฺมุชฺชติ ผุดขึ้น
    ธมฺโม ธรรม                         อุทฺธมฺโม ไม่เป็นธรรม, นอกธรรม

ในความหมายที่เป็นอย่างอื่น เช่น
ททาติ ย่อมให้
อาททาติ ย่อมถือไว้
ทธาติ ย่อมทรงไว้
วิเธติ ย่อมจัดการ, ย่อมทำ
ปิเธติ ย่อมปิด
นิเธติ ย่อมเก็บ, ย่อมวาง
สนฺธิยติ ย่อมสืบต่อ, ย่อมเชื่อมต่อ
สทฺทาหติ ย่อมเชื่อถือ
อภิธาติ ย่อมกล่าว,ย่อมแสดง

แต่ในบางแห่ง อุปสรรค เป็นไปคล้อยตามความหมายเดิมนั้น โดยทำให้บทดูสวยงามขึ้น เช่น วิชฺชติ, สํวิชฺชติ (มีอยู่), ลภติ, ปฏิลภติ (ย่อมได้) เป็นต้น.

เต วีสติ โหนฺติ-ป, อา, อุ, โอ, ทุ, นิ, วิ, สุ, สํ, อติ, อธิ, อนุ, อป, อปิ, อภิ, อว, อุป, ปติ, ปรา, ปริฯ
กจฺจายเน ปน โอสทฺโท อวการิยมตฺตนฺติ ตํ อคฺคเหตฺวา นีสทฺทํ คณฺหาติ, อิธ ปน นีสทฺโท นิสฺส ทีฆมตฺตนฺติ ตํ อคฺคเหตฺวา โอสทฺทํ คณฺหาติฯ
อุปสรรคมี ๒๐ คือ ป, อา, อุ, โอ, ทุ, นิ, วิ, สุ, สํ, อติ, อธิ, อนุ, อป, อปิ, อภิ, อว, อุป, ปติ, ปรา, ปริ.
ในคัมภีร์กัจจายนไวยากรณ์ ท่านเห็นว่า โอ เป็นเพียงการิยะ (รูปที่เปลี่ยนมา) จาก อว ศัพท์ จึงไม่ถือเอาโอ แต่ถือเอา นี อุปสรรค. ส่วนในคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์ ท่านเห็นว่า นี อุปสรรค เป็นเพียงรูปทีฆะ ของ นิ ศัพท์ดังนั้น ท่านจึงไม่ถือว่า นี เป็น อุปสรรค แต่ถือเอา โอ เป็นอุปสรรค.

ตตฺถ ป
ปการตฺเถ-ปญฺญาฯ อาทิกมฺเม-วิปฺปกตํฯ ปธาเน-ปณีตํฯ อิสฺสริเย-ปภูฯ อนฺโตภาเว-ปกฺขิตฺตํ, ปสฺสาโสฯ วิโยเค-ปวาโสฯ ตปฺปเร-ปาจริโยฯ ตทนุพนฺเธ-ปุตฺโต, ปปุตฺโต, นตฺตา, ปนตฺตาฯ ภุสตฺเถ-ปวฑฺโฒฯ สมฺภเว-ปภวติฯ ติตฺติยํ-ปหุตํ อนฺนํฯ อนาวิเล-ปสนฺโนฯ ปตฺถนายํ-ปณิธานํฯ
บรรดาอุปสรรค ๒๐ ตัวนั้น
ป อุปสรรค เป็นไปในความหมายว่า
ปการ อย่างต่างๆ เช่น ปญฺญา ปัญญา (รู้โดยประการต่างๆ)

อาทิกมฺม ทำในคราวแรก เช่น
วิปฺปกตํ ทำไว้ก่อน. 

ปธาน ประธาน, ประมุข เช่น
ปณีตํ ประณีต (คือ นำไปสู่ความเป็นประธาน),

อิสฺสริย เป็นใหญ่ เช่น ปภู (ผู้เป็นใหญ่),

อนฺโตภาว ภายใน เช่น
ปกฺขิตฺตํ ใส่เข้าไป
ปสฺสาโส หายใจเข้า.

วิโยค พลัดพราก เช่น
ปวาโส จากไป, ไม่อยู่ร่วมกัน.

ตปฺปร อื่นจากผู้นั้น เช่น
ปาจริโย ปาจารย์, อาจารย์ของอาจารย์,

ตทนุพนฺธ สืบต่อจากสิ่งนั้น เช่น
ปุตฺโต บุตร, ปปุตฺโต หลาน (บุตรของบุตร),
นตฺตา น้องสาว, ปนตฺตา บุตรของน้องสาว (หลานสาว)
ภุสตฺถ ยิ่ง, นัก (กล่าวคือ ความหมายที่ิเน้นให้เห็นว่ามากกว่าปกติ) เช่น
ปวฑฺโฒ ใหญ่โตยิ่ง.

สมฺภว เกิด เช่น ปภวติ ย่อมเกิดขึ้น.

ติตฺติ อิ่ม, เพียงพอ, มาก เช่น
ปหุตํ อนฺนํ อาหารมีมาก,เพียงพอ,

อนาวิล ผ่องใส เช่น
ปสนฺโน ผ่องใส

ปตฺถนา ปรารถนา เช่น
ปณิธาน ความปรารถนา.

อา
อภิมุเข-อาคจฺฉติฯ อุทฺธํกมฺเม-อาโรหติฯ มริยาทายํ-อาปพฺพตา เขตฺตํฯ อภิวิธิมฺหิ-อาพฺรหฺมโลกา กิตฺติสทฺโทฯ ปตฺติยํ-อาปนฺโนฯ อิจฺฉายํ-อากงฺขาฯ ปริสฺสชเน-อาลิงฺคติฯ อาทิกมฺเม-อารมฺโภฯ คหเณ-อาทียติฯ นิวาเส-อาวสโถฯ สมีเป-อาสนฺนํฯ อวฺหาเน-อามนฺตนํฯ
อา อุปสรรค เป็นไปในความหมายว่า
อภิมุเข มุ่งหน้า เช่น
อาคจฺฉติ ย่อมมา,

อุทฺธํกมฺม กิริยาบ่งถึงที่สูง เช่น
อาโรหติ ยกขึ้น,

มริยาท ขอบเขต เช่น
อาปพฺพตา เขตฺตํ ที่นาจรดถึงภูเขา,

อภิวิธิ แผ่ไป เช่น
อาพฺรหฺมโลกา กิตฺติสทฺโท กิตติศัพท์แผ่ไปจนถึงพรหมโลก,

อิจฺฉา ความต้องการ เช่น
อากงฺขา ความต้องการ,
ปริสชฺชน กอด เช่น
อาลิงฺคติ สวมกอด,

อาทิกมฺม ทำไว้เป็นคราวแรก เช่น
อารมฺโภ เริ่ม, ปรารภ.

คหณ ถือเอา เช่น
อาทียติ ย่อมถือเอา,

นิวาส การอยู่ เช่น
อาวสโถ อยู่ครอบครอง,

สมีป ใกล้ เช่น
อาสนฺนํ ใกล้แล้ว,

อวฺหาน พูด เช่น
อามนฺตนํ เรียก, กระซิบ.

อุ
อุคฺคเต-อุคฺคจฺฉติฯ อุทฺธํกมฺเม-อุฏฺฐาติฯ ปธาเน-อุตฺตโรฯ วิโยเค-อุปวาโสฯ สมฺภเว-อุพฺภูโตฯ อตฺถลาเภ-รูปสฺส อุปฺปาโทฯ สตฺติยํ-อุสฺสหติ คนฺตุํฯ สรูปขฺยาเน-อุทฺเทโสฯ
อุ อุปสรรค เป็นไปในความหมายว่า
อุคฺคต ขึ้นไป เช่น
อุคฺคจฺฉติ ย่อมขึ้นไป, เหาะ.

อุทฺธํกมฺม ทำไว้ในเบื้องสูง,กิริยาบ่งถึงที่สูง เช่น
อุฏฺฐาติ ย่อมลุกขึ้น,

ปธาน ประธาน เช่น
อุตฺตโร สูงส่ง, เหนือ. 

วิโยค ไม่ประกอบ เช่น
อุปวาโส การไม่อยู่ในที่พำนัก, การจากไป.

สมฺภว เกิด เช่น
อุพฺภูโต เกิดขึ้น,

อตฺถลาภ การได้สภาวธรรมอันเป็นจริง เช่น
รูปสฺส อุปฺปาโท การเกิดขึ้น ของรูป.

สตฺติ ความสามารถ เช่น
อุสฺสหติ คนฺตุํ ย่อมสามารถเพื่อไป.

สรูปขฺยาน กล่าวแจกแจง เช่น
อุทฺเทโส อุทเทส (การชี้แจง)

โอ
อนฺโตภาเว-โอจรโก, โอโรโธฯ อโธกมฺเม-โอกฺขิตฺโตฯ นิคฺคเห-โอวาโทฯ อนฺตเร, เทเส จ-โอกาโสฯ ปาตุภาเว-โอปปาติโกฯ เยสุ อตฺเถสุ อวสทฺโท วตฺตติ, เตสุปิ โอสทฺโท วตฺตติฯ
โอ อุปสรรค เป็นไปในความหมายว่า
อนฺโตภาว อยู่ภายใน (แอบแฝง) เช่น
โอจรโก คนสนิท, จารบุรุษ.
โอโรโธ ตำหนักสำหรับหญิงนางในหรือพวกหม่อมห้าม.

อโธกมฺม กิริยาที่บ่งถึงเบื้องต่ำ เช่น
โอกฺขิตฺโต ทอด (สายตา) ต่ำลง.

นิคฺคห ข่ม เช่น
โอวาโท ให้โอวาท, สั่งสอน.

อนฺตร ภายใน และ เทส สถานที่ เช่น
โอกาโส โอกาส (ที่ว่าง), สถานที่.

ปาตุภาว ปรากฏ เช่น
โอปปาติโก ผู้อุบัติขึ้น. 

อว อุปสรรค เป็นไปในความหมายเหล่าใด, โอ อุปสรรค ย่อมเป็นไปในความหมายแม้เหล่านั้น.

ทุ
อโสภเณ-ทุคฺคนฺโธฯ อภาเว-ทุพฺภิกฺขํ, ทุสฺสีโล, ทุปฺปญฺโญฯ กุจฺฉิเต-ทุกฺกฏํฯ อสมิทฺธิยํ-ทุสสฺสํฯ กิจฺเฉ-ทุกฺกรํฯ วิรูเป-ทุพฺพณฺโณ, ทุมฺมุโขฯ
ทุ อุปสรรค เป็นไปในความหมายว่า
อโสภณ ไม่งาม เช่น
ทุคฺคนฺโธ กลิ่นเหม็น.  

อภาว ไม่มี เช่น
ทุพฺภิกฺขํ หาอาหารได้ยาก, ขาดแคลนอาหาร
ทุสฺสีโล ไม่มีศีล
ทุปฺปญฺโญ ไม่มีปัญญา.

กุจฺฉิต น่ารังเกียจ เช่น
ทุกฺกฏํ กรรมน่ารังเกียจ.

อสมิทฺธิ ไม่บริบูรณ์ เช่น
ทุสสฺสํ ข้าวกล้าไม่บริบูรณ์.

กิจฺฉ ทำยาก เช่น
ทุกฺกรํ การงานที่ทำยาก,

วิรูป น่าเกลียด เช่น
ทุพฺพณฺโณ มีรูปพรรณน่ารังเกียจ
ทุมฺมุโข หน้าตาน่าเกลียด.

นิ
นิสฺเสเส-นิรุตฺติฯ นิคฺคเต-นิยฺยานํฯ นีหรเณ-นิทฺธารณํฯ อนฺโตปเวสเน-นิขาโตฯ อภาเว-นิมฺมกฺขิกํฯ นิเสเธ-นิวาเรติฯ นิกฺขนฺเต-นิพฺพานํฯ ปาตุภาเว-นิมฺมิตํฯ อวธารเณ-วินิจฺฉโยฯ วิภชฺชเน-นิทฺเทโสฯ อุปมายํ-นิทสฺสนํฯ อุปธารเณ-นิสาเมติฯ อวสาเน-นิฏฺฐิตํฯ เฉเก-นิปุโณฯ
นิ อุปสรรค เป็นไปในความหมายว่า
นิสฺเสส ไม่เหลือ เช่น
นิรุตฺติ การอธิบายความหมาย (คือ กล่าวความหมายท้ังหมดไม่มีเหลือ),

นิคฺคต ออก เช่น
นิยฺยานํ นำออก.

นีหรณ นำออก เช่น
นิทฺธารณํ ไขความ.

อนฺโตปเวสน เข้าไปข้างใน เช่น
นิขาโต ฝังลง.

อภาว ไม่มี เช่น
นิมฺมกฺขิกํ ไม่มีแมลงวัน.

นิเสธ ปฏิเสธ เช่น
นิวาเรติ ย่อมห้าม.

นิกฺขนฺต ออก เช่น
นิพฺพานํ พระนิพพาน (ออกจากกิเลส ชื่อ วานะ).
ปาตุภาว ปรากฏ เช่น
นิมฺมิตํ เนรมิตแล้ว.

อวธารณ ตัดสิน เช่น
วินิจฺฉโย การวินิจฉัย, การตัดสิน.

วิภชฺชน จำแนก เช่น
นิทฺเทโส การจำแนก.

อุปมา เปรียบเทียบ เช่น
นิทสฺสนํ ตัวอย่าง.

อุปธารณ ใคร่ครวญ เช่น
นิสาเมติ ย่อมใคร่ครวญ.

อวสาน สิ้นสุด เช่น
นิฏฺฐิตํ สำเร็จแล้ว.

ฉก ฉลาด เช่น
นิปุโณ ผู้ฉลาด.

วิ
วิเสเส-วิปสฺสติฯ วิวิเธ-วิจิตฺตํฯ วิรุทฺเธ-วิวาโทฯ วิคเต-วิมโลฯ วิโยเค-วิปฺปยุตฺโตฯ วิรูเป-วิปฺปฏิสาโรฯ
วิ อุปสรรค เป็นไปในความหมายว่า
วิเสส พิเศษ เช่น
วิปสฺสติ ย่อมเห็นอย่างพิเศษ.

วิวิธ หลายอย่าง เช่น
วิจิตฺตํ วิจิตร, เป็นอย่างต่างๆ.

วิรุทฺธ ผิด เช่น
วิวาโท ทะเลาะ, พูดหักล้างกัน.

วิคต ปราศจาก เช่น
วิมโล ปราศจากความมัวหมอง.

วิโยค ไม่ประกอบ เช่น
วิปฺปยุตฺโต ไม่ประกอบแล้ว.

วิรูป น่าเกลียด เช่น
วิปฺปฏิสาโร ความร้อนใจ.

สุ
โสภเณ-สุคฺคติฯ สุนฺทเร-สุมโนฯ สมฺมาสทฺทตฺเถ-สุคโตฯ สมิทฺธิยํ-สุภิกฺขํฯ สุขตฺเถ-สุกโรฯ
สุ อุปสรรค เป็นไปในความหมายว่า     
โสภณ ดี เช่น
สุคฺคติ คติ (ภูมิ) ที่ดี,

สุนฺทร งาม เช่น
สุมโน ใจที่งาม.

สมฺมาสทฺทตฺถ ความหมายของ สมฺมา ศัพท์ เช่น
สุคโต พระสุคต (ผู้เสด็จไปโดยชอบ).

สมิทฺธิ บริบูรณ์ เช่น
สุภิกฺขํ มีอาหารบริบูรณ์.

สุขตฺถ ความหมายว่า ง่าย เช่น
สุกโร ทำง่าย.

สํ
สโมธาเน-สนฺธิฯ สมฺมา, สมตฺเถสุ-สมาธิ, สมฺปยุตฺโตฯ สมนฺตภาเว-สํกิณฺโณฯ สงฺคเต-สมาคโม, สงฺเขเป-สมาโสฯ ภุสตฺเถ-สารตฺโตฯ สหตฺเถ-สํวาโส, สมฺโภโคฯ อปฺปตฺเถ-สมคฺโฆฯ ปภเว-สมฺภโวฯ อภิมุเข-สมฺมุขํฯ สงฺคเห-สงฺคยฺหติฯ ปิทหเน-สํวุโตฯ ปุนปฺปุนกมฺเม-สนฺธาวติ, สํสรติฯ สมิทฺธิยํ-สมฺปนฺโนฯ
สํ อุปสรรค เป็นไปในความหมายว่า
สโมธาน รวม เช่น
สนฺธิ การเชื่อม.

สมตฺถ ความหมายว่า โดยชอบ และ เสมอกัน เช่น
สมาธิ สมาธิ (ความตั้งอยู่โดยชอบ),
สมฺปยุตฺโต สัมปยุต (การประกอบโดยเสมอกัน).

สมนฺตภาว ความมีโดยรอบ เช่น
สํกิณฺโณ ปะปน (เกลื่อนกล่นโดยรอบ).

สงฺคต ประชุม เช่น
สมาคโม การประชุม.

สงฺเขป ย่อ เช่น
สมาโส การย่อ, บทสมาส.

ภุสตฺถ ในความหมายว่า รุนแรง, มาก เช่น
สารตฺโต กำหนัดมาก.

สหตฺถ ในความหมายแห่ง สห (ร่วมกัน) เช่น
สํวาโส การอยู่ร่วมกัน,
สมฺโภโค บริโภคร่วมกัน.

อปฺปตฺถ ในความหมายแห่ง อปฺป ศัพท์ ( น้อย) เช่น 
สมคฺโฆ มีค่าน้อย.

ปภว แดนเกิด เช่น
สมฺภโว เหตุให้เกิด.

อภิมุข มุ่งหน้า เช่น
สมฺมุขํ ต่อหน้า.

สงฺคห รวม เช่น
สงฺคยฺหติ ย่อมถูกรวม.

ปิทหน ปิด เช่น
สํวุโต สำรวมแล้ว.

ปุนปฺปุนกมฺม กิริยาที่สื่อถึงการทำบ่อยๆ เช่น
สนฺธาวติ ย่อมแล่นไปแล้วๆเล่าๆ,
สํสรติ ย่อมเดินทางไปแล้วไปอีก.

สมิทฺธิ บริบูรณ์ เช่น
สมฺปนฺโน สมบูรณ์.

อติ
อติกฺกเม-อติโรจติ, อจฺจโย, อตีโตฯ อติกฺกนฺเต-อจฺจนฺตํฯ อติสฺสเย-อติกุสโลฯ ภุสตฺเถ-อติโกโธฯ อนฺโตกมฺเม-มญฺจํ วา ปีฐํ วา อติหริตฺวา ฐเปติฯ
อติ อุปสรรค เป็นไปในความหมายว่า
อติกฺกม ก้าวล่วง เช่น
อติโรจติ ย่อมรุ่งโรจน์ล้ำ,

อจฺจโย โทษ.
อตีโต ล่วงไปแล้ว.

อติกฺกนฺต ดำเนินไป เช่น
อจฺจนฺตํ ตลอดส่วน.

อติสฺสย ยิ่ง เช่น
อติกุสโล ฉลาดยิ่ง.

ภุสตฺถ ในความหมายที่ยิ่งขึ้น เช่น
อติโกโธ โกรธยิ่ง.

อนฺโตกมฺม ทำไว้ภายใน เช่น
มญฺจํ วา ปีฐํ วา อติหริตฺวา ฐเปติ นำเตียง หรือ ตั่่งมาตั้งไว้ภายใน.

อธิ
อธิเก-อธิสีลํฯ อิสฺสเร-อธิปติ, อธิพฺรหฺมทตฺเต ปญฺจาลาฯ อุปริภาเว-อธิเสติฯ ปริภวเน-อธิภูโตฯ อชฺฌายเน-อชฺเฌติ, พฺยากรณมธีเตฯ อธิฏฺฐาเน-นวกมฺมํ อธิฏฺฐาติ, จีวรํ อธิฏฺฐาติ, อิทฺธิวิกุพฺพนํ อธิฏฺฐาติฯ นิจฺฉเย-อธิมุจฺจติฯ ปาปุณเน-โภคกฺขนฺธํ อธิคจฺฉติ, อมตํ อธิคจฺฉติฯ
อธิ อุปสรรค ย่อมเป็นไปในความหมายว่า
อธิก ยิ่ง เช่น
อธิสีลํ ศีลอันยิ่ง.

อิสฺสร เป็นใหญ่ เช่น
อธิปติ ผู้เป็นใหญ่,
อธิพฺรหฺมทตฺเต ปญฺจาลา ชาวปัญจาละ มีพระเจ้าพรหมทัตเป็นใหญ่. (อีกนัยหนึ่ง พระราชาแคว้นปัญจาละ เป็นใหญ่เหนือพระเจ้าพรหมทัต)

อุปริภาว มีในเบื้องบน เช่น
อธิเสติ นอนทับ.

ปริภวน ครอบงำ เช่น
อธิภูโต ครอบงำแล้ว,

อชฺฌายน สาธยาย เช่น
อชฺเฌติ ย่อมสาธยาย
พฺยากรณมธีเต ผู้สาธยายคัมภีร์ไวยากรณ์.

อธิฏฺฐาน ตั้งมั่น เช่น
นวกมฺมํ อธิฏฺฐาติ ย่อมตั้งไว้ (ก่อสร้าง) สิ่งปลูกสร้าง,
จีวรํ อธิฏฺฐาติ ย่อมอธิษฐานจีวร,
อิทฺธิวิกุพฺพนํ อธิฏฺฐาติ ย่อมอธิษฐานรูปอันเกิดแต่ฤทธิ์.

นิจฺฉย ตัดสิน เช่น
อธิมุจฺจติ ย่อมน้อมใจเชื่อ.

ปาปุณน ถึง เช่น
โภคกฺขนฺธํ อธิคจฺฉนฺติ ย่อมเข้าถึงซึ่งกองแห่งโภคะ.
อมตํ อธิคจฺฉติ ย่อมเข้าถึง ซึ่งอมตะ (นิพพาน).

อนุ
อนุคเต-อนฺเวติฯ อนุปฺปจฺฉินฺเน-อนุสโยฯ ปจฺฉาสทฺทตฺเถ-อนุรถํฯ ปุนปฺปุนภาเว-อนฺวฑฺฒมาสํ, อนุสํวจฺฉรํฯ โยคฺยภาเว-อนุรูปํฯกนิฏฺฐภาเว-อนุพุทฺโธ, อนุเถโรฯ เสสํ การกกณฺเฑ วกฺขติฯ
อนุ อุปสรรค ย่อมเป็นไปในความหมายว่า
อนุคต ไปตาม เช่น
อนฺเวติ ย่อมตามไป.

อนุปฺปจฺฉินฺน ยังไม่ถูกตัด เช่น
อนุสโย อนุสัยกิเลส (กิเลสที่ยังไม่ถูกตัดด้วยมรรค).

ปจฺฉาสทฺทตฺถ ความหมายของ ปจฺฉา ศัพท์ เช่น
อนุรถํ รถคันหลัง.

ปุนปฺปุนภาว ความบ่อย เช่น
อนฺวฑฺฒมาสํ ทุกกึ่งเดือน,
อนุสํวจฺฉรํ ทุกปี.

โยคฺยภาว ความเหมาะสม เช่น
อนุรูปํ สมควร.

กนิฏฺฐภาว ความเล็กน้อย เช่น
อนุพุทฺโธ พระอนุพุทธะ
อนุเถโร พระอนุเถระ (พระเถระที่มีอายุพรรษา ๑๐ – ๑๙).

บทอุปสรรคที่เหลือ ข้าพเจ้าจักกล่าวในการกกัณฑ์.

อป
อปคเต-อเปติ, อปาโยฯ ครเห-อปคพฺโภ, อปสทฺโทฯ วชฺชเน-อปสาลาย อายนฺติฯ ปูชายํ-วุฑฺฒ-มปจายนฺติฯ ปทุสฺสเน-อปรชฺฌติฯ
อป อุปสรรค เป็นไปในความหมายว่า
อปคต ปราศจาก เช่น
อเปติ ย่อมหลีกไป,
อปาโย อบาย (ปราศจากความเจริญคือกุศล).

ครห ตำหนิ เช่น
อปคพฺโภ ผู้มีปฏิสนธิน่ารังเกียจ [๓],
อปสทฺโท มีเสียงน่ารังเกียจ.

วชฺชน ละเว้น เช่น
อปสาลาย อายนฺติ พ่อค้า เว้นแล้วซึ่งศาลา ย่อมมา.

ปูชา บูชา เช่น
วุฑฺฒมปจายนฺติ ย่อมอ่อนน้อมต่อผู้เจริญ.

ปทุสฺสน ทำร้าย เช่น
อปรชฺฌติ ย่อมประทุษร้าย.

อปิ
สมฺภาวเน-อปิปพฺพตํ ภินฺเทยฺย, เมรุมฺปิ วินิวิชฺเฌยฺยฯ อเปกฺขายํ-อยมฺปิ ธมฺโม อนิยโตฯ สมุจฺจเย-อิติปิ อรหํ, ฉวิมฺปิ ทหติ, จมฺมมฺปิ ทหติ, มํสมฺปิ ทหติฯ ครหายํ-อปิ อมฺหากํ ปณฺฑิตกฯ ปุจฺฉายํ-อปิ ภนฺเต ภิกฺขํ ลภิตฺถ, อปิ นุ ตุมฺเห โสตุกามาตฺถฯ
อปิ อุปสรรค เป็นไปในความหมายว่า
สมฺภาวน ยกย่อง เช่น
อปิปพฺพตํ ภินฺเทยฺย พึงทำลายแม้ซึ่งภูเขาได้,
เมรุมฺปิ วินิวิชฺเฌยฺย พึงเจาะแม้ซึ่งภูเขาสุเมรุได้.

อเปกฺขา เพ่ง เช่น
อยมฺปิ ธมฺโม อนิยโต ธรรม แม้นี้ ก็ไม่เที่ยง.

สมุจฺจย รวบรวม เช่น
อิติปิ อรหํ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นพระอรหันต์ แม้เพราะเหตุนี้เช่นกัน.
จมฺมมฺปิ ทหติ ย่อมไหม้ แม้ซึ่งหนังเหมือนกัน.


ครห ตำหนิ เช่น
อปิ [๔] อมฺหากํ ปณฺฑิตก โธ่เอ๋ย บัณฑิตของพวกเรา.  

ปุจฺฉา คำถาม เช่น
อปิ ภนฺเต ภิกฺขํ ลภิตฺถ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านได้ภิกษาแล้วหรือ.
อปิ นุ ตุมฺเห โสตุกามตฺถ พวกเธอ ใคร่จะฟังหรือไม่.

อภิ
อภิมุเข-อภิกฺกนฺโตฯ วิสิฏฺเฐ-อภิญฺญาฯ อธิเก-อภิธมฺโมฯ อุทฺธํกมฺเม-อภิรูหติฯ กุเล-อภิชาโตฯ สารุปฺเป-อภิรูโปฯ วนฺทเน-อภิวาเทติฯ เสสํ การกกณฺเฑ วกฺขติฯ
อภิ อุปสรรค เป็นไปในความหมายว่า
อภิมุข มุ่งหน้าไป เช่น
อภิกฺกนฺโต ก้าวไปข้างหน้า.

วิสิฏฺฐ พิเศษ เช่น
อภิญฺญา รู้พิเศษ.

อธิก ยิ่ง เช่น
อภิธมฺโม ธรรมอันยิ่ง.

อุทฺธํกมฺเม การกระทำอันบ่งถึงข้างบน เช่น
อภิรูหติ ย่อมงอกขึ้น.

กุล ตระกูล เช่น
อภิชาโต เกิดในตระกูล.

สารุปฺป เหมาะสม เช่น
อภิรูโป มีรูปงาม.

วนฺทน ไหว้ เช่น
อภิวาเทติ ย่อมอภิวาท (กราบไหว้).

บทอุปสรรคที่เหลือ จะกล่าวไว้ในการกกัณฑ์.

อว
อโธภาเค-อวกฺขิตฺโตฯ วิโยเค-อวโกกิลํ วนํฯ ปริภเว-อวชานาติฯ ชานเน-อวคจฺฉติฯ สุทฺธิยํ-โวทายติ, โวทานํฯ นิจฺฉเย-อวธารณํฯ เทเส-อวกาโสฯ เถยฺเย-อวหาโรฯ
อว อุปสรรค ย่อมเป็นไปในความหมายว่า
อโธ ส่วนล่าง เช่น
อวกฺกขิตฺโต ทอดตาลงต่ำ.
วิโยค ไม่ประกอบ, พราก เช่น
อวโกกิลํ วนํ ป่าอันมีนกดุเหว่าหลีกไปแล้ว.

ปริภว ดูหมิ่น เช่น
อวชานาติ ย่อมหมิ่น.

ชานน รู้ เช่น
อวคจฺฉติ ย่อมหยั่งรู้.
สุทฺธิ ความหมดจด เช่น
โวทายติ ย่อมหมดจด.

นิจฺฉย ตัดสิน เช่น
อวธารณํ ตัดสิน.

เทส สถานที่ เช่น
อวกาโส พื้นที่ว่าง.

เถยฺย ขโมย เช่น
อวหาโร การลักขโมย.

อุป
อุปคเม-อุปนิสีทติฯ สมีเป-อุปจาโร, อุปนครํฯ อุปปตฺติยํ-สคฺคํ โลกํ อุปปชฺชติฯ สทิเส-อุปมาณํ, อุปเมยฺยํฯ อธิเก-อุปขาริยํ โทโณฯ อุปริภาเว อุปสมฺปนฺโน, อุปจโยฯ อนสเน-อุปวาโสฯ โทสกฺขาเน-ปรํ อุปวทติฯ สญฺญายํ-อุปธา, อุปสคฺโคฯ ปุพฺพกมฺเม-อุปกฺกโม, อุปหาโรฯ ปูชายํ-พุทฺธํ อุปฏฺฐาติฯ คยฺหากาเร-ปจฺจุปฏฺฐานํฯ ภุสตฺเถ-อุปาทานํ, อุปายาโส, อุปนิสฺสโยฯ
อุป อุปสรรค ย่อมเป็นไปในความหมายว่า
อุปคม เข้าใกล้ เช่น
อุปนิสีทติ ย่อมเข้าไปนั่งใกล้.

สมีป ใกล้ เช่น
อุปจาโร ที่ใกล้,
อุปนครํ ใกล้พระนคร.

อุปปตฺติ เกิด เช่น
สคฺคํ โลกํ อุปปชฺชติ ย่อมเข้าถึงโลกสวรรค์.

สทิส เหมือน เช่น
อุปมาณํ การเปรียบเทียบ,
อุปเมยฺยํ สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ.

อธิก เกิน เช่น
อุปขาริยํ โทโณ ๑ ทะนานที่เพิ่มจาก ๑ สาแหรก[๕],

อุปริภาว ภาวะที่สูงขึ้น เช่น
อุปสมฺปนฺโน ผู้อุปสมบทแล้ว (ถึงภาวะสูงขึ้น คือ สูงกว่าสามเณรและคฤหัสถ์)
อุปจโย ก่อตัวขึ้น.

อนสน การอดอาหาร เช่น
อุปวาโส การอยู่จำ (โดยงดอาหาร).

โทสกฺขาน กล่าวโทษ เช่น
ปรํ อุปวทติ ตำหนิผู้อื่น.

สญฺญา ชื่อ เช่น
อุปธา ชื่ออักษรหน้าตัวสุดท้าย,
อุปสคฺโค อุปสรรค[๖].

ปุพฺพกมฺม การกระทำก่อน เช่น
อุปกฺกโม ความเพียรเริ่มแรก,
อุปหาโร การนำมาคราวแรก.

ปูชา บูชา เช่น
พุทฺธํ อุปฏฺฐาติ ย่อมบำรุงพระพุทธเจ้า.

คยฺหาการ อาการที่ถือเอา เช่น
ปจฺจุปฏฺฐานํ อาการที่บัณฑิตพึงถือเอา (อาการปรากฏ).

ภุสตฺถ ความหมายที่แรงขึ้น เช่น
อุปาทานํ การถือมั่น
อุปายาโส ความทุกข์ใจอย่างแรงกล้า
อุปนิสฺสโย เหตุที่อาศัยอันมีกำลังมาก

ปติ
ปติคเต-ปจฺจกฺขํฯ ปฏิโลเม-ปฏิโสตํฯ ปฏิโยคิมฺหิ-ปฏิปุคฺคโลฯ นิเสเธ-ปฏิเสโธฯ นิวตฺเต-ปฏิกฺกมติฯ สทิเส-ปฏิรูปกํฯ ปฏิกมฺเม-โรคสฺส ปฏิกาโรฯ อาทาเน-ปฏิคฺคณฺหาติฯ ปฏิโพเธ-ปฏิเวโธฯ ปฏิจฺเจ-ปจฺจโยฯ เสสํ การกกณฺเฑ วกฺขติฯ
ปติ อุปสรรค เป็นไปในความหมายว่า
ปติคต อาศัย เช่น
ปจฺจกฺขํ [ญาณ]ที่อาศัยอินทรีย์ [มีจักษุเป็นต้น], ต่อหน้า

ปฏิโลม ทวน เช่น
ปฏิโสตํ ทวนกระแส.

ปฏิโยคี ประกอบไว้ให้เสมอ เช่น
ปฏิปุคฺคโล บุคคลเปรียบ.

นิเสธ ปฏิเสธ เช่น
ปฏิเสโธ การปฏิเสธ.

นิวตฺต กลับมา เช่น
ปฏิกฺกมติ ย่อมกลับมา.

สทิส เหมือน เช่น
ปฏิรูปกํ กรรมที่เหมือนกัน.

ปฏิกมฺเม เยียวยา เช่น
โรคสฺส ปฏิกาโร การรักษาโรค.

อาทาน รับไว้ เช่น
ปฏิคฺคณฺหาติ ย่อมรับไว้.

ปฏิโพธ ตรัสรู้ เช่น
ปฏิเวโธ ปฏิเวธ (การรู้แจ่มแจ้ง).

ปฏิจฺจ อาศัย เช่น
ปจฺจโย ปัจจัย (ธรรมอันทำให้ธรรมซึ่งอาศัยตนเป็นไป).

บทที่เหลือ จักกล่าวในการกกัณฑ์.

ปรา
ปริหานิยํ-ปราภโวฯ ปราชเย-ปราชิโตฯ คติยํ-ปรายนํฯ วิกฺกเม-ปรกฺกโมฯ อามสเน-ปรามสนํฯ
ปรา อุปสรรค ย่อมเป็นไป ในความหมายว่า       
ปริหานิ ความเสื่อม เช่น
ปราภโว ความเสื่อม.

ปราชย ความพ่ายแพ้ เช่น
ปราชิโต ผู้แพ้.

คติ ที่ไป เช่น
ปรายนํ ที่ไปในกาลภายหน้า.

วิกฺกม ความพยายาม เช่น
ปรกฺกโม  ความบากบั่น. 

อมสน การจับต้อง เช่น
ปรามสนํ การลูบคลำ (อวัยวะ).

ปริ
สมนฺตภาเว-ปริวุโต, ปริกฺขิตฺโต, ปริกฺขาโรฯ ปริจฺเฉเท-ปริญฺเญยฺยํ, ปริชานาติฯ วชฺชเน-ปริหรติฯ ปริหาโรฯ อาลิงฺคเน-ปริสฺสชติฯ นิวาสเน-วตฺถํ ปริทหติฯ ปูชายํ-ปาริจริยาฯ โภชเน-ปริวิสติฯ อภิภเว-ปริภวติฯ โทสกฺขาเน-ปริภาสติฯ เสสํ การกกณฺเฑ วกฺขติฯ
ปริ อุปสรรค ย่อมเป็นไปในความหมายว่า
สมนฺตภาว มีโดยรอบ เช่น
ปริวุโต แวดล้อมแล้ว,
ปริกฺขิตฺโต ล้อมรอบแล้ว,
ปริกฺขาโร คูเมือง

ปริจฺเฉท กำหนด เช่น
ปริญฺเญยฺยํ อันพึงกำหนด,
ปริชานาติ ย่อมกำหนดรู้.

วชฺชน เว้น เช่น 
ปริหรติ อ้อมหนี (อธิบาย).

อาลิงฺคน สวมกอด เช่น
ปริสชฺชติ ย่อมสวมกอด.

นิวาสสน นุ่ง เช่น
วตฺถํ ปริทหติ  ย่อมนุ่งผ้า.

ปูชา บูชา เช่น
ปาริจริยา การบำรุงบำเรอ.

โภชน บริโภค เช่น
ปริวิสติ ย่อมอังคาส (เลี้ยงดู, ให้บริโภค).

อภิภว ครอบงำ เช่น
ปริภวติ ย่อมครอบครอง.

โทสกฺขาน กล่าวโทษ เช่น
ปริภาสติ ย่อมด่า.

บทที่เหลือ จักกล่าวในการกกัณฑ์.

นีสทฺโท ปน นีหรณ, นีวรณาทีสุ วตฺตติ, นีหรณํ, นีวรณํอิจฺจาทิฯ
ส่วน นี ศัพท์ ย่อมเป็นไปในความหมาย (เหล่านี้) เช่น
นีหรณ นำออก เช่น
นีหรณํ การกำจัดออก,

นีวรณ การปิดกั้น เช่น
นีวรณํ การปิดกั้น,  (กิเลสชื่อ) นิวรณ์.

อิติ อุปสคฺคปทราสิฯ
กลุ่มบทอุปสรรค เป็นอย่างนี้.

นิปาตปทราสิ
กลุ่มบทนิบาต
นิจฺจํ เอกรูเปน วากฺยปเถ ปตนฺตีติ นิปาตาฯ ปทานํ อาทิ, มชฺฌาวสาเนสุ นิปตนฺตีติ นิปาตาติปิ วทนฺติฯ
นิบาต ได้แก่ บทที่ตกไปในหนทางประโยค โดยมีรูปอย่างเดียวแน่นอน. อาจารย์ทั้งหลายยังกล่าวความหมายของนิบาตไว้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นบทที่ตกไปในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งบททั้งหลาย.

อสตฺววาจกา จาทิสทฺทา นิปาตา นามฯ เต ปน วิภตฺติยุตฺตา, อยุตฺตา จาติ ทุวิธา โหนฺติฯ ตตฺถ วิภตฺติยุตฺตา ปุพฺเพ ทสฺสิตา เอวฯ จาทโย อยุตฺตา นามฯ เต ปน อเนกสตปฺปเภทา โหนฺติฯ นิฆณฺฏุสตฺเถสุ คเหตพฺพาติฯ
ศัพท์ที่ไม่กล่าวถึงทัพพะ (อสัตวะ) มี จ เป็นต้น ชื่อว่า นิบาต. ก็ นิบาตเหล่านั้น มี ๒ คือ ที่ประกอบด้วยวิภัตติ และ ที่ไม่ประกอบด้วยวิภัตติ. บรรดานิบาต ๒ ประการนั้น จะกล่าวถึงนิบาตพวกที่ประกอบด้วยวิภัตติไว้ก่อนเท่านั้น. นิบาต มี จ เป็นต้น ชื่อว่า ไม่ประกอบด้วยวิภัตติ. และนิบาตพวกนี้มีมากมายหลายประเภท. นักศึกษาควรศึกษา (ถือเอา) ในคัมภีร์อภิธานศัพท์เถิด ดังนี้แล.

อพฺยยตทฺธิตปจฺจยปทราสิ
กลุ่มบทที่ลงอัพยยตัทธิตปัจจัย
อพฺยยตทฺธิตปจฺจยนฺตา นาม ยถา, ตถา, เอกธา, เอกชฺฌํ, สพฺพโส, กถํ, อิตฺถํ อิจฺจาทโยฯ เตหิ ตติยาโลโปฯ
บทที่มีอัพยยตัทธิตปัจจัยเป็นที่สุด ได้แก่
ยถา โดยประการใด,
ตถา โดยประการนั้น,
เอกธา โดยประการเดียว,
เอกชฺฌํ โดยอย่างเดียว,
สพฺพโส โดยประการทั้งปวง,
กถํ โดยประการเช่นไร,
อิตฺถํ ด้วยประการอย่างนี้.
ให้ลบตติยาวิภัตติท้ายบทเหล่านี้.

ตฺวาทิปจฺจยนฺตปทราสิ
กลุ่มบทที่มีตฺวาปัจจัยเป็นที่สุด
ตฺวาทิปจฺจยนฺตา นาม กตฺวา, กตฺวาน, กาตุน, กาตุํ, กาตเว, ทกฺขิตาเย, เหตุเย, อาทาย, อุปาทาย, วิเจยฺย, วิเนยฺย, สกฺกจฺจ, อาหจฺจ, อุปสมฺปชฺช, สเมจฺจ, อเวจฺจ, ปฏิจฺจ, อติจฺจ, อาคมฺม, อารพฺภอิจฺจาทโยฯ เตสุ ตฺวา, ตฺวานนฺเตหิ ปฐมาโลโปฯ ตุํ, ตเว, ตาเย, ตุเยปจฺจยนฺเตหิ จตุตฺถีโลโปติฯ
ธาตโว ปจฺจยา เจว,                      อุปสคฺคนิปาตกาฯ
อเนกตฺถาว เต ปฏิ-                      สมฺภิทา ญาณโคจราฯ

บทที่มี ตฺวา ปัจจัยเป็นต้น ได้แก่
กตฺวา กระทำแล้ว,
กตฺวาน กระทำแล้ว,
กาตุน กระทำแล้ว,
กาตุํ เพื่อทำ,
กาตเว เพื่อทำ,
ทกฺขิตาเย เพื่อแสดง,
เหตุเย เพื่อเป็น,
อาทาย ถือเอาแล้ว,
อุปาทาย อาศัยแล้ว,
วิเจยฺย เลือกเฟ้นแล้ว,
วิเนยฺย กำจัดแล้ว,
สกฺกจฺจ เคารพแล้ว,
อาหจฺจ กระทบแล้ว.
อุปสมฺปชฺช เข้าถึงแล้ว,
สเมจฺจ สงบแล้ว,
อเวจฺจ ไม่หวั่นไหวแล้ว,
ปฏิจฺจ อาศัยแล้ว,
อติจฺจ ก้าวล่วงแล้ว,
อาคมฺม อาศัยแล้ว,
อารพฺภ ปรารภแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น ลบปฐมาวิภัตติ ท้าย ตฺวา และ ตฺวาน  และลบจตุตถีวิภัตติท้าย ตุํ ตเว ตาเย ตุเย ปัจจัย.

(คาถาสรุป)

ธาตโว ปจฺจยา เจว,                   อุปสคฺคนิปาตกาฯ
อเนกตฺถาว เต ปฏิ-                    สมฺภิทา ญาณโคจราฯ
ธาตุ ปัจจัย อุปสรรคและนิบาตเหล่านั้น มีความหมายมากทีเดียว เป็นอารมณ์ของปฏิสัมภิทาญาณ.

อิติ นิรุตฺติทีปนิยา นาม โมคฺคลฺลานทีปนิยา
นามกณฺโฑ นิฏฺฐิโตฯ
นามกัณฑ์ ในคัมภีร์ที่อธิบายโมคคัลลานไวยากรณ์ อันมีนามว่า
“นิรุตติทีปนี”
จบแล้ว ด้วยประการฉะนี้.



[๑] อสงฺขย ในที่นี้ ได้แก่ ไม่ปรากกฏพจน์กล่าวคือ เอกวจนะ หรือ พหุวจนะ เพราะอัพยยะ จะเสมอกันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นลิงค์, พจน์ และวิภัตติ. คัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์ สูตรที่ ๔/๑๑๘. (อสงฺขฺเยหิ สพฺพาสํ) อธิบายคำว่า อสงฺขเยหิ ว่า อวิชฺชมานสงฺขฺเยหิ ท้ายอัพยะ อันไม่ปรากฏจำนวนนับ (พจน์). คัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกาขยายความว่า อพฺยยานิ หิ เอกตฺตพหุตฺตสํขฺยาภาวโต อสํขฺยานีติ วุตฺตนฺติ อัพยยะทั้งหลาย ถูกเรียกว่า อสํขฺยานิ เพราะไม่มีพจน์คือความเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์.
[๒] คัมภีร์สัททนีติ แสดงไว้ ใน ตโต เอยฺยุชเมยฺยานํ อิยุมิยา: (นีติ.สุตฺต. ๙๙๓) และ ตอนพรรณนา อส ธาตุ (นีติ.ธาตุ ฉัฏฐ.หน้า ๑๘๖) ว่า มี ๒ อรรถ คือ เอกํส โดยส่วนเดียว และ วิกปฺปน ไม่แน่นอน. และ สิยา เป็นได้ ทั้งเอกวจนะ และ พหุวจนะ. โดยไม่ได้กล่าวถึง สิยุํ นิบาต. ส่วนคัมภีร์นิรุตฺติทีปนี สูตร ๖๓๕ อาทิทฺวินฺนมิยามิยุํ แสดงสิยา นิบาต มีอรรถ เอกจฺจ บางคราว, กินฺนุ ได้หรือหนอ ส่วน สิยุํ นิบาต มีอรรถ ภวนฺติ มีอยู่. 
[๓] ความหมายนี้ดูในอรรถกถาพระวินัย ๑/๑๐๗. คพฺภโต อปคโต อปคพฺโภ. อภพฺโพ เทวโลกูปปตฺติํ ปาณิตุนฺติ อธิปฺปาโย. หีโน วา คพฺโภ อสฺสาติ คพฺโภ, เทวโลกคพฺพปริพาหิรตฺตา อายติํ หีนคพฺภปฏิลาภภาคีติ, หีโน วาสฺส มาตุกุจฺฉิมฺหิ คพฺภวาโส อโหสีติ อธิปฺปาโย. ภควโต ปน ยสฺมา อายติํ คพฺพภเสยฺยา อปคตา, ตสฺมา โส ตํ อปคพฺภตํ.
[๔] ที.สี. ๙/๑๗๓ เป็น อโห วต เร อมฺหากํ ปณฺฑิตก พุทโธ่เอ๋ย พ่อบัณฑิตของเรา.
[๕] ขารี คือ สาแหรก เป็นมาตราตวงมากกว่าทะนาน ในที่นี้หมายถึง ๑ สาแหรกกับอีก ๑ ทะนาน.
[๖] อุป อุปสรรคที่เป็นไปในความหมายว่า ชื่อ ใช้แสดงคำที่ตนประกอบนั้นให้ใช้เป็นชื่อ เช่น อุปธา เป็นชื่อของอักษรหน้าตัวสุดท้าย (รู.๕๖๙). อุปสคฺค เป็นชื่อของบทชนิดหนึ่งใช้ปรุงแต่งธาตุและลิงค์ให้มีความหมายเพิ่มขึ้นจากเดิม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น