อุการนฺตปุลฺลิงฺคราสิ
กลุ่มนามศัพท์อุการันต์ปุงลิงค์
ภิกฺขาทิคณราสิ
กลุ่มศัพท์มีภิกฺขุ
เป็นต้น (ภิกฺขาทิคณ)
******
ปฐมาวิภัตติ
‘คสีน’นฺติ สิโลโป, ภิกฺขุฯ
โยนํ โลเป ทีโฆ, ภิกฺขูฯ
ลบ สิ วิภัตติ
ด้วยสูตร (๘๒) คสีนํ (ลบ คและสิ
ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้วยสูตรอื่น),
ภิกฺขุ ภิกษุ
เมื่อลบ โย
แล้วรัสสสระท้ายอุการันต์เป็นทีฆะ[1],
ภิกฺขู
ภิกษุท.
ปกฺเข
–
ในส่วน (ของรูปว่า
ภิกฺขโว),
โว เป็น
อาเทสของ โย ด้วยสูตรนี้
ในปุงลิงค์ โว
เป็นอาเทสของโยทั้งหลาย หลังจาก อุวัณณะชื่อล ได้บ้าง.
ปุเม
ลสญฺเญหิ อุวณฺเณหิ โยนํ โว โหติ วาติ โยนํ โวฯ
ในปุงลิงค์ โว
เป็นอาเทสของโยทั้งหลาย หลังจาก อุวัณณะ (อุ อู) ชื่อ ล ได้บ้าง.
ในปุงลิงค์
เพราะ เว และ โว อ เป็นอาเทสของ อุ ชื่อ ล.
ปุเม
เว,
โวสุ ปเรสุ ลสญฺญสฺส อุ-การสฺส ฏ โหติฯ
ภิกฺขโวฯ
ในปุงลิงค์
เพราะเวและโว อันเป็นเบื้องหลัง อ เป็น อาเทสของ อุ ชื่อ ล.
ภิกฺขุโว
ภิกษุทั้งหลาย.
ลุสฺสาติ
กิํ?
สยมฺภุโวฯ
บทว่า ลุสฺส
(ของ อุ ชื่อ ล) มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการใช้
อ เป็น อาเทสของอู (ชื่อ ล) เช่น สยมฺภุโว
พระสยัมภูพระพุทธเจ้า(ผู้เป็นเอง)
อาลปนวิภัตติ
โภ
ภิกฺขุ,
โภ ภิกฺขู, โภนฺโต ภิกฺขูฯ
โภ
ภิกฺขุ,
โภ ภิกฺขู ดูก่อนภิกษุ
โภนฺโต ภิกฺขู
ดูก่อนภิกษุท.
เว และ โว
เป็นอาเทสของ โย หลัง อุชื่อล ในอาลปนะอันเป็นปุงลิงค์ ได้บ้าง.
ปุเม
อาลปเน ลสญฺญมฺหา อุ-การโต โยสฺส เว, โว โหนฺติ วาฯ
โภนฺโต
ภิกฺขเว,
อถ โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ‘‘ภิกฺขโว’’ติ [ม. นิ. ๑.๑], เทวกายา
อภิกฺกนฺตา, เต วิชานาถ ภิกฺขโว
[ที. นิ. ๒.๓๓๔],
เว และ โว
เป็นอาเทสของ โย ที่อยู่หลังจาก อุชื่อล ในอาลปนะอันเป็นปุงลิงค์ ได้บ้าง.
โภนฺโต
ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุท. เช่น
อถ โข
ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ‘‘ภิกฺขโว’’ติ
[ม.มู. ๑๒/๑],
ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วกะภิกษุท.เหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย.
ตโต
อามนฺตยิ สตฺถา สาวเก สาสเน รเต
เทวกายา
อภิกฺกนฺตา เต วิชานาถ ภิกฺขโว [ที.ม.๑๐/๑๔๑],
แต่นั้นจึงตรัสเรียกสาวกผู้ยินดีในพระศาสนา
ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่เทวดามุ่งมากันแล้ว
พวกเธอจงรู้จักหมู่เทวดานั้น.
ภิกฺขุํ, ภิกฺขู, ภิกฺขโว, ภิกฺขุนาฯ
‘สุนํหิสู’ติ ทีโฆ, ภิกฺขูหิ,
ภิกฺขูภิ, ภิกฺขุสฺส, ภิกฺขุโน,
ภิกฺขูนํ, ภิกฺขุสฺมา, ภิกฺขุมฺหา,
ภิกฺขุนา, ภิกฺขูหิ, ภิกฺขูภิ,
ภิกฺขุสฺส, ภิกฺขุโน, ภิกฺขูนํ,
ภิกฺขุสฺมิํ, ภิกฺขุมฺหิ, ภิกฺขูสุฯ
ทุติยาวิภัตติ
ภิกฺขุํ ซึ่งภิกษุ
ภิกฺขู, ภิกฺขโว ซึ่งภิกษุท.
ตติยาวิภัตติ
ภิกฺขุนา ด้วยภิกษุ
เพราะ หิ
อุการันต์ เป็นทีฆะ ด้วยสูตร (๙๔) สุนํหิสุ
(เพราะสุ นํ และหิ รัสสสระเป็นทีฆะ).
ภิกฺขูหิ, ภิกฺขูภิ ด้วยภิกษุท.
จตุตถีวิภัตติ
ภิกฺขุสฺส, ภิกฺขุโน แก่ภิกษุ
ภิกฺขูนํ แก่ภิกษุท.
ปัญจมีวิภัตติ
ภิกฺขุสฺมา, ภิกฺขุมฺหา, ภิกฺขุนา จากภิกษุ
ภิกฺขูหิ, ภิกฺขูภิ จากภิกษุท.
ฉัฏฐีวิภัตติ
ภิกฺขุสฺส, ภิกฺขุโน แห่งภิกษุ
ภิกฺขูนํ แห่งภิกษุท.
สัตตมีวิภัตติ
ภิกฺขุสฺมิํ, ภิกฺขุมฺหิ ในภิกษุ
ภิกฺขูสุ ในภิกษุท.
เอวํ
มงฺกุ,
มจฺจุ, อุจฺฉุ, ปฏุ,
ภาณุ, เสตุ, เกตุ,
สตฺตุ, สินฺธุ, พนฺธุ,
การุ, เนรุ, เมรุ,
รุรุ, เวฬุ อิจฺจาทโยฯ
ศัพท์ดังต่อไปนี้เหมือน
ภิกขุ เช่น
มงฺกุ
ผู้เก้อ
มจฺจุ ความตาย อุจฺฉุ
อ้อย
ปฏุ ผ้า
ภาณุ พระอาทิตย์ เสตุ สะพาน
เกตุ ธง
สตฺตุ
ข้าวผง สินฺธุ
แม่น้ำสินธุ
พนฺธุ
พวกพ้อง
การุ นายช่าง
เนรุ เนรุ
เมรุ เขาพระสุเมร
รุรุ กวาง เวฬุ ไม้ไผ่
วิเสสวิธานมุจฺจเตฯ
จะกล่าวรูปแบบพิเศษ
เหตุ, ชนฺตุ, กุรุสทฺเทสุ ‘ชนฺตุเหตุ’
อิจฺจาทิสุตฺเตน วิกปฺเปน โยนํ โลโป, เหตุ
ธมฺโม, เหตู ธมฺมา, อตีเต เหตโว ปญฺจฯ
ในสามศัพท์
คือ เหตุ เหตุ, ชนฺตุ สัตว์ผู้เกิด และกุรุ แคว้นกุรุ ลบ โย วิภัตติได้บ้าง
ด้วยสูตร (๘๓) ชนฺตุเหตฺวีฆเปหิ วา (ลบ โย ท้ายชนฺตุ และเหตุศัพท์, อีการันต์ในปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์, ท้าย
อา ชื่อ ฆ, และ อิวัณณะ อุวัณณะ ชื่อว่า ป ได้บ้าง).
เหตุศัพท์
ปฐมาวิภัตติ
เหตุ ธมฺโม ธรรมที่เป็นเหตุ
เหตู ธมฺมา ธรรมท.
ที่เป็นเหตุ
อตีเต เหตโว
ปญฺจ เหตุท. อันเป็นอดีต ๕ ประการ
ในเพราะโย
อันเป็นเบื้องหลัง บางแห่ง อ เป็นอาเทส ของ อุ ชื่อว่า ล ได้บ้าง.
โยสุ
ลสญฺญิโน อุ-การสฺส กฺวจิ ฏ โหติ วาฯ
อตีเต
เหตโย ปญฺจฯ
ในเพราะโย
อันเป็นเบื้องหลัง บางแห่ง อ เป็นอาเทส ของ อุ ชื่อว่า ล ได้บ้าง.
อตีเต เหตโย
ปญฺจ เหตุท. อันเป็นอดีต ๕ ประการ
บทว่า วา
(ได้บ้าง) มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการไม่ใช้
อ เป็น อาเทส ของ อุ ชื่อ ล ก็มี เช่น เหตุโย
กฺวจีติ
กิํ?
ภิกฺขโวฯ
บทว่า กฺวจิ
(บางแห่ง) มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการใช้
อ เป็น อาเทส ของ อุ ชื่อ ล ในบางแห่ง เช่น ภิกฺขโว ภิกษุทั้งหลาย.
โภ
เหตุ,
โภ เหตู, โภนฺโต เหตู, เหตโว,
เหตโย, เหตุโย วา, เหตุํ,
เหตู, เหตโว, เหตโย,
เหตุโย วาฯ เสสํ ภิกฺขุสมํฯ
อาลปนวิภัตติ
โภ
เหตุ,
โภ เหตู แน่ะเหตุ
โภนฺโต
เหตู, เหตโว,
เหตโย, เหตุโย แน่ะเหตุท.
ทุติยาวิภัตติ
เหตุํ ซึ่งเหตุ
เหตู, เหตโว, เหตโย, เหตุโย
ซึ่งเหตุท.
ในวิภัตติที่เหลือเหมือน
ภิกฺขุ ศัพท์
ชนฺตุศัพท์
ชนฺตุ
คจฺฉติ,
ชนฺตู, ชนฺตโย, ชนฺตุโย
วาฯ
ปฐมาวิภัตติ
ชนฺตุ
คจฺฉติ
สัตว์ ย่อมไป
ชนฺตู, ชนฺตโย, ชนฺตุ โยสัตว์ ท.
ในปุงลิงค์ โน
และ โว เป็น อาเทสของ โย หลัง ชนฺตุศัพท์เป็นต้น.
ปุเม
ชนฺตาทิโต โยนํ โน จ โหติ โว จฯ
ชนฺตุโน, ชนฺตโว.
ในปุงลิงค์ โน
และ โว เป็น อาเทสของ โย หลัง ชนฺตุศัพท์เป็นต้น.
ชนฺตุโน,
ชนฺตโว
สัตว์ท.
โภ ชนฺตุ, โภ ชนฺตู, โภนฺโต ชนฺตู, ชนฺตโย,
ชนฺตุโย, ชนฺตุโน, ชนฺตโว,
ชนฺตุํ, ชนฺตู, ชนฺตโย,
ชนฺตุโย, ชนฺตุโน, ชนฺตโวฯ
เสสํ ภิกฺขุสมํฯ
อาลปนวิภัตติ
โภ ชนฺตุ, โภ ชนฺตู ดูก่อนสัตว์
โภนฺโต
ชนฺตู,
ชนฺตโย, ชนฺตุโย, ชนฺตุโน,
ชนฺตโว ดูก่อนสัตว์ท.
ทุติยาวิภัตติ
ชนฺตุํ ซึ่งสัตว์
ชนฺตู, ชนฺตโย, ชนฺตุโย, ชนฺตุโน,
ชนฺตโว ซึ่งสัตว์ท.
ในวิภัตติที่เหลือเหมือน
ภิกฺขุ ศัพท์.
กุรุ
ศัพท์
กุรุ, กุรู, กุรโย, กุรุโย, กุรุโน, กุรโวติ สพฺพํ ชนฺตุสมํฯ
รูปวิภัตติทั้งหมด
เหมือนชนฺตุศัพท์ เช่น
กุรุ แคว้นกุรุ
กุรู, กุรโย, กุรุโย, กุรุโน,
กุรโว แคว้นกุรุ ท.
‘‘อชฺเชว ตํ กุรโย ปาปยาตุ [ชา. ๒.๒๒.๑๖๓๒], นนฺทนฺติ ตํ กุรโย ทสฺสเนน [ชา. ๒.๒๒.๑๖๔๑], อชฺเชว ตํ กุรโย ปาปยามี’’ติ [ชา.
๒.๒๒.๑๖๓๔] ทิสฺสนฺติฯ
รูปว่า กุรโย
เป็นต้น พบหลักฐานการใช้ ดังนี้
ปญฺญา
หเว หทยํ ปณฺฑิตานํ เต ตฺยมฺห ปญฺญาย มยํ สุตุฏฺฐา
ปัญญานั่นเอง
เป็นหทัยของบัณฑิตทั้งหลาย เราทั้งสองนั้นยินดีด้วยปัญญาของท่านยิ่งนัก
ปุณณกยักษ์จงไปส่งท่านให้ถึงแคว้นกุรุรัฐในวันนี้ทีเดียว.
ตฺวํ
โน วิเนตาสิ รถํว นฏฺฐํ นนฺทนฺติ
ตํ กุรโย ทสฺสเนน
อกฺขาหิ
เม ปุจฺฉิโต เอตมตฺถํ กถํ
ปโมกฺโข อหุ มาณวสฺส. [ขุ.ชา. ๒๘/๑๐๔๑]
ท่านเป็นผู้แนะนำเราทั้งหลาย
เหมือนนายสารถีนำเอารถที่หายแล้วกลับมาได้ ฉะนั้น ชาวกุรุรัฐทั้งหลายย่อมยินดี
เพราะได้เห็นท่าน ฉันถามแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ฉัน
ท่านหลุดพ้นจากมาณพมาได้อย่างไร.
ภริยาย
มํ ตฺวํ อกรี สมงฺคึ อหญฺจ
เต วิธุร กโรมิ กิจฺจํ
อิทญฺจ
เต มณิรตนํ ททามิ อชฺเชว
ตํ กุรโย ปาปยามิ. [ขุ.ชา. ๒๘/๑๐๓๖]
ข้าแต่ท่านวิธูรบัณฑิต
ท่านได้ทำให้ข้าพเจ้ามีความพร้อมเพรียงกันกับภรรยา
ข้าพเจ้าจะทำกิจตอบแทนท่าน ข้าพเจ้าจะให้แก้วมณีดวงนี้แก่ท่าน
และจะนำท่านไปส่งให้ถึงแคว้นกุรุรัฐในวันนี้ทีเดียว.
มหาวุตฺตินา
ลโตปิ อํวจนสฺส กฺวจิ นํ โหติ, ‘‘กิมตฺถินํ ภิกฺขุนํ อาหุ,
ภิกฺขุนมาหุ มคฺคเทสิํ, ภิกฺขุนมาหุ มคฺคชีวิํ,
พุทฺธํ อาทิจฺจพนฺธุน’’นฺติ ทิสฺสนฺติ,
ตถา ‘‘โรคนิฑฺฑํ ปภงฺคุนํ, โภคานญฺจ ปภงฺคุนํ [ธ. ป. ๑๓๙], วิญฺญาณญฺจ วิราคุน’’นฺติ จฯ ตตฺถ ‘กิมตฺถิน’นฺติ กิํสภาวํ, ‘มคฺคเทสิ’นฺติ มคฺคํ เทเสนฺตํ, ‘มคฺคชีวิ’นฺติ มคฺเค ชีวนฺตํ, ‘โรคนิฑฺฑ’นฺติ โรคานํ กุลาวกภูตํ, ‘ปภงฺคุน’นฺติ ปภิชฺชนสีลํ, ‘วิราคุน’นฺติ
วิรชฺชนสีลํฯ กตฺถจิ ปฐมนฺตมฺปิ ทิสฺสติ, ตตฺถ นาคโมฯ
ด้วยมหาสูตร
นํ เป็นอาเทศของอํวิภัตติ แม้หลังจาก อุ ชื่อ ล ในบางแห่ง. พบหลักฐานการใช้ดังนี้
กิมตฺถินํ
ภิกฺขุนํ อาหุ โสรตํ เกน กถญฺจ ทนฺตมาหุ
บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้มีสภาพอย่างไรว่าเป็นภิกษุ
กล่าวบุคคลว่าผู้สงบเสงี่ยมด้วยอาการอย่างไร
กล่าวบุคคลว่าผู้ฝึกตนแล้วอย่างไรและอย่างไรบัณฑิตจึงกล่าวบุคคลว่า ผู้รู้
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
ขอจงตรัสพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิด ฯ
ปรมํ
ปรมนฺติ โยธ ตฺวา อกฺขาติ วิภชติ อิเธว ธมฺมํ
ตํ
กงฺขจฺฉิทํ มุนิํ อเนชํ ทุติยํ ภิกฺขุนมาหุ มคฺคเทสิํ
ฯ [ขุ. สุ.๒๕/๓๐๒]
ภิกษุใดในศาสนานี้รู้ว่านิพพานเป็นธรรมยิ่ง
ย่อมบอก ย่อมจำแนกธรรมในธรรมวินัยนี้แล พระพุทธเจ้าท.ตรัสเรียก ซึ่งภิกษุที่
๒ ผู้ตัดความสงสัย ผู้เป็นมุนี ผู้ไม่หวั่นไหวนั้นว่า สมณะผู้แสดงมรรค.
โย
ธมฺมปเท สุเทสิเต มคฺเค
ชีวติ สญฺญโต สติมา
อนวชฺชปทานิ
เสวมาโน ตติยํ ภิกฺขุนมาหุ มคฺคชีวิํ. [ขุ. สุ.๒๕/๓๐๒]
ภิกษุใด
เมื่อบทธรรมอันพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแสดงไว้ดีแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้ว มีสติ
เสพบทอันไม่มีโทษอยู่ชื่อว่าเป็นอยู่ในมรรค พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสเรียก ซึ่งภิกษุ
ที่ ๓ นั้นว่า เป็นอยู่ในมรรค.
เต
จาปิ พุทฺธํ ทิสฺวาน พุทฺธํ อาทิจฺจพนฺธุนํ
ทูรโต
ว นมสฺสนฺติ มหนฺตํ วีตสารทํ ฯ [ที.ปา.๑๑/๒๑๑]
ทั้งท้าววิรุฬหะและโอรสเหล่านั้น
ได้เห็นซึ่งพระพุทธเจ้าผู้เบิกบานแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ปราศจากความครั่นคร้ามแต่ที่ไกล
ปริชิณฺณมิทํ
รูปํ โรคนิทฺธํ ปภงฺคุนํ[4]
ภิชฺชติ
ปูติ สนฺเทโห มรณนฺตํ หิ ชีวิตํ
ฯ (ขุ.ธ.๒๕/๒๑)
รูปนี้คร่ำคร่าแล้ว
เป็นรังโรค ผุพัง กายของตนอันเปื่อยเน่า จะแตก เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด
เวทนํ
ผรุสํ ชานึ สรีรสฺส จ เภทนํ
ครุกํ
วาปิ อาพาธํ จิตฺตกฺเขปํ ว ปาปุเณ
ราชโต
วา อุปสคฺคํ อพฺภกฺขานํ ว ทารุณํ
ผู้นั้นย่อมเข้าถึงเหตุแห่งทุกข์
๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งพลันทีเดียว คือเวทนาหยาบช้า ความเสื่อมทรัพย์
ความแตกแห่งสรีระ อาพาธหนัก ความฟุ้งซ่านแห่งจิต
ความขัดข้องแต่พระราชาการกล่าวตู่อันร้ายแรง ความสิ้นญาติ ความย่อยยับ แห่งโภคะทั้งหลาย.
ในอุทาหรณ์เหล่านั้น
บทว่า กิมตฺถินํ
ได้แก่ กิํสภาวํ มีสภาพเช่นไร
บทว่า มคฺคเทสิํ
ได้แก่ มคฺคํ เทเสนฺตํ ผู้แสดงหนทาง
บทว่ มคฺคชีวิํ
ได้แก่ มคฺเค ชีวนฺตํ ผู้เป็นอยู่ในหนทาง
บทว่า โรคนิทฺธํ
ได้แก่ โรคานํ กุลาวกภูตํ เป็นรังของโรคท.
บทว่า ปภงฺคุนํ
ได้แก่ ปภิชฺชนสีลํ มีอันแตกไปเป็นปกติ
บทว่า วิราคุํ
ได้แก่ วิรชฺชนสีลํ มีอันคลายไปเป็นปกติ.
อย่างไรก็ตาม
ในบางแห่งแม้บทลงปฐมาวิภัตติ พบวิธีการนี้ได้เช่นกัน, ในกรณีนี้ให้ลง น อาคม.
อิติ
ภิกฺขาทิคณราสิฯ
กลุ่มภิกฺขาทิคณะ
เป็นอย่างนี้
สตฺถาทิคณราสิ
กลุ่มสตฺถาทิคณะ
สตฺถาทิราสิ
กลุ่มนามศัพท์มีสตฺถุเป็นต้น
ปฐมาวิภัตติ
๑๘๒. ลฺตุปิตาทีนมา สิมฺหิ [ก. ๒๙๙; รู. ๑๕๘; นี. ๔๑๑]ฯ
เพราะสิวิภัตติ
อุ ของศัพท์ที่มีตุปัจจัยเป็นต้นที่สุด[6]
ปิตุศัพท์เป็นต้น เป็น อา.
สตฺถาฯ
ในเพราะสิวิภัตติอันเป็นเบื้องหลัง
อุ, ของศัพท์ที่มีตุปัจจัยเป็นที่สุด มีกตฺตุ
เป็นต้น และของศัพท์มีสตฺถุ และปิตุเป็นต้น เป็น อา.
สตฺถา
พระศาสดา
๑๘๓. ลฺตุปิตาทีนมเส [ก. ๒๐๐; รู.
๑๕๙; นี. ๔๑๒]ฯ
เพราะวิภัตติอื่นจาก
ส อุ ของ นามศัพท์ที่มีตุปัจจัยเป็นที่สุด และ ปิตุเป็นต้น เป็นต้น อาร.
สมฺหา
อญฺญสฺมิํ วิภตฺติคเณ ปเร ลฺตุ, ปิตาทีนํ อุ-กาโร อารง
โหติฯ
ในเพราะหมู่วิภัตตินอกจาก
ส อันเป็นเบื้องหลัง อุ ของ ศัพท์ที่มีตุปัจจัยเป็นที่สุด และ ปิตุ เป็นต้น เป็น
อาร.
โอ
เป็นอาเทสของโยวิภัตติท้าย อาร.
อารงฺโต
โยนํ โฏ โหติฯ
สตฺถาโรฯ
โอ เป็นอาเทสของโยวิภัตติหลังจาก
อาร.
สตฺถาโร
ศาสดาท.
อาลปนวิภัตติ
๑๘๕. เค อ จ [ก. ๒๔๖; รู. ๗๓;
นี. ๔๗๖, ๔๗๘-๙]ฯ
เพราะ สิ ชื่อ
ค อุ ของ นามศัพท์มีตุเป็นที่สุดและปิตุศัพท์เป็นต้น อุ เป็น อ และ อา.
เค
ปเร ลฺตุ,
ปิตาทีนํ อุ-กาโร โหติ อ จ อา จฯ โภสตฺถ, โภ
สตฺถา, โภนฺโต สตฺถาโร, สตฺถารํฯ
ในเพราะ
สิชื่อค อันเป็นเบื้องหลัง อุ ของ ศัพท์ที่มีลฺตุปัจจัยเป็นที่สุด
และปิตุศัพท์เป็นต้น เป็น อ และ เป็น อา.
โภสตฺถ, โภ สตฺถา ข้าแต่พระศาสดา
โภนฺโต
สตฺถาโร,
สตฺถารํ ข้าแต่พระศาสดาท.
ทุติยาวิภัตติ
สตฺถารํ
ซึ่งพระศาสดา
๑๘๖. โฏเฏ วา [ก. ๒๐๕; รู. ๒๖๐;
นี. ๔๒๑]ฯ
โย ท้าย อาร
เป็น โอ และ เอ ได้บ้าง.
อารงฺโต
โยนํ กเมน โฏ,
เฏ โหนฺติ วาฯ เอตฺถ จ วาสทฺโท สขสทฺเท วิกปฺปนตฺโถ ตตฺถ
วิธฺยนฺตรสพฺภาวาฯ ปุน โฏคฺคหณํ ลหุภาวตฺถํฯ
สตฺถาโร, สตฺถาเรฯ
โอ และ เอ
เป็นอาเทสของ โย หลังจาก อาร ได้บ้าง. วา ศัพท์ ในสูตรนี้ มีอรรถวิกัปป ในสขศัพท์
เพราะในสขศัพท์นั้นยังมีวิธีอื่น[8]. การใช้
โอ ศัพท์ ซ้ำอีก เพื่อความกระชับ(ในการกล่าว)[9]
สตฺถาโร, สตฺถาเร ซึ่งพระศาสดาท.
ตติยาวิภัตติ
อา เป็นอาเทส นา
และ สฺมา ที่อยู่หลังจาก อาร อาเทส.
อารงฺโต
นา,
สฺมานํ ฏา โหติฯ
สตฺถารา, สตฺถาเรหิ, สตฺถาเรภิฯ
อา เป็นอาเทส
นา และ สฺมา ที่อยู่หลังจาก อาร อาเทส.
สตฺถารา จากพระศาสดา
สตฺถาเรหิ, สตฺถาเรภิ จากพระศาสดาท.
จตุตถีวิภัตติ
๑๘๘. โลโป [ก. ๒๐๓; รู. ๑๖๒;
นี. ๔๑๘]ฯ
มีการลบ ส
ที่อยู่หลังจาก ศัพท์ที่มีตุปัจจัยเป็นที่สุดและปิตุเป็นต้นได้บ้าง.
ลฺตุ, ปิตาทีหิ สโลโป โหติ วาฯ
สตฺถุ, สตฺถุสฺส, สตฺถุโนฯ
มีการลบ ส
ที่อยู่หลังจาก ลฺตุและปิตุเป็นต้นได้บ้าง.
สตฺถุ, สตฺถุสฺส, สตฺถุโน แห่งพระศาสดา
เพราะนํ อุ
ของ ลฺตุ และ ปิตุ เป็นต้น เป็น อาร ได้บ้าง.
นํมฺหิ
ปเร ลฺตุ,
ปิตาทีนํ อุ-กาโร อารง โหติ วาฯ อิเมสํ มหานาม ติณฺณํ สตฺถารานํ
เอกา นิฏฺฐา อุทาหุ ปุถุ นิฏฺฐาติ [อ. นิ. ๓.๑๒๗]ฯ
ในเพราะนํ
อันเป็นเบื้องหลัง อุอักษรของ ลฺตุ และ ปิตุเป็นต้น เป็นอาร ได้บ้าง.
(สตฺถารานํ
แห่งพระศาสดาท.) เช่นในพระบาฬีนี้ว่า
อิเมสํ
มหานาม ติณฺณํ สตฺถารานํ เอกา นิฏฺฐา อุทาหุ ปุถุ นิฏฺฐา [อํ.เอก.๒๐/๕๖๖]
ดูกรมหานามะ
คติ ของศาสดา ๓ จำพวกนี้เป็น อย่างเดียวกัน หรือว่าเป็นต่างๆ กัน
สตฺถูนํฯ
สตฺถูนํ
แห่งพระศาสดาท.
เพราะนํ อุ
ของ ลฺตุ และ ปิตุ เป็นต้น เป็น อา ได้บ้าง.
นํมฺหิ
ปเร ลฺตุ,
ปิตาทีนํ อุ-กาโร อา โหติ วาฯ
สตฺถานํ, สตฺถารา, สตฺถาเรหิ, สตฺถาเรภิ,
สตฺถุ, สตฺถุสฺส, สตฺถุโน,
สตฺถูนํ, สตฺถารานํ, สตฺถานํฯ
ในเพราะนํ
อันเป็นเบื้องหลัง อุอักษร ของลฺตุ และ ปิตุศัพท์เป็นต้น เป็น อา ได้บ้าง.
สตฺถานํ แก่พระศาสดาท.
ปัญจมีวิภัตติ
สตฺถารา
จากพระศาสดา
สตฺถาเรหิ, สตฺถาเรภิ จากพระศาสดา ท.
ฉัฏฐีวิภัตติ
สตฺถุ, สตฺถุสฺส, สตฺถุโน แห่งพระศาสดา
สตฺถูนํ, สตฺถารานํ, สตฺถานํ แห่งพระศาสดา
ท.
สัตตมีวิภัตติ
๑๙๑. ฏิ สฺมิํโน [ก. ๒๐๖; รู.
๑๖๕; นี. ๔๒๒]ฯ
สฺมิํ หลังจาก
อาร อาเทส เป็น อิ.
อารงฺโต
สฺมิํโน ฏิ โหติฯ
อิ เป็น อาเทส
ของ สฺมิํ หลังจาก อาร อาเทส.
ในเพราะสฺมิํ
อาร เป็นรัสสะ
สฺมิํมฺหิ
ปเร อารงฺกโต รสฺโส โหติฯ
สตฺถริ, สตฺถาเรสุฯ
ในเพราะสฺมิํ
อันเป็นเบื้องหลัง อุอักษรที่เป็นอารอาเทสอันทำแล้ว เป็นรัสสะ.
สตฺถริ
ในพระศาสดา
สตฺถาเรสุ
ในพระศาสดาท.
พหุลาธิการา
นา, สฺมาสุ สตฺถุนาติ จ สุมฺหิ สตฺถูสูติ
จ สิทฺธํฯ ‘‘ธมฺมราเชน สตฺถุนา, ปูชํ
ลพฺภติ ภตฺตุสู’’ติ [ชา. ๒.๒๒.๑๕๑๗] ปาฬิฯ
‘ภตฺตุสู’ติ สามีสุ, ‘ภตฺตาสู’ติปิ ปาโฐฯ
เพราะการตามมาแห่ง
พหุล ศัพท์ (โดยมาก)[10] ในนา
และ สฺมา วิภัตติ สำเร็จรูปเป็น สตฺถุนา
และ ใน สุวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น สตฺถูสุ ดังมีพระบาฬีเป็นหลักฐานว่า
ธมฺมราเชน
สตฺถุนา,
ด้วยพระศาสดา
ผู้ทรงเป็นธรรมราชา
เอเสยฺยา
ราชวสตี วตฺตมาโน ยถา
นโร
อาราธยติ
ราชานํ ปูชํ ลพฺภติ (ลภติ)
ภตฺตุสุฯ [ขุ.ชา. ๒๘/๙๗๒]
ดูกรเจ้าทั้งหลาย
นี้ชื่อว่าราชวัสดีเป็นอนุศาสน์สำหรับราชเสวก นรชนประพฤติตาม
ย่อมยังพระราชาให้โปรดปราน และย่อมได้การบูชา ในเจ้านายทั้งหลาย.
ในพระบาฬีนี้
บทว่า ภตฺตุสุ ได้แก่ สามีสุ ในสามีทั้งหลาย, แต่ปาฐะว่า ภตฺตาสุ
ดังนี้ก็มีอยู่.
‘ลฺตุปิตาทีนมเส’ติ อเสคฺคหเณน โตมฺหิ อารง โหติ
[นี. ๔๑๔], ‘‘สตฺถารโต สตฺถารํ คจฺฉนฺติ,
สตฺถารโต สตฺถารํ ฆเฏนฺตี’’ติ [มหานิ. ๒๗] ปาฬิฯ
ด้วยศัพท์ว่า
อเส (อื่นจาก ส) ในสูตรว่า (๑๘๓) ลฺตุปิตาทีนมเส (เพราะวิภัตติอื่นจาก ส อุ
ของ นามศัพท์ที่มีลฺตุปัจจัยเป็นที่สุด และ ปิตุเป็นต้น เป็นต้น อาร). ในเพราะ โต
ปัจจัย อาเทสคือ อาร ย่อมมี.
สตฺถารโต
จากพระศาสดา ดังพระบาฬีในมหานิทเทสว่า
สตฺถารโต
สตฺถารํ คจฺฉนฺติ [ขุ.มหา.๓๓/๑๗๐]
จากศาสดาต้นถึงศาสดาหลัง
สตฺถารโต
สตฺถารํ ฆเฏนฺติ [ขุ.มหา.๓๓/๓๗๓]
ย่อมกระทบกระทั่งศาสดาแต่ศาสดา
เอวํ
กตฺตา,
ภตฺตา, คนฺตา, เชตา,
ชเนตา, เฉตฺตา, เฉทิตา,
วิญฺญาตา, วิญฺญาเปตา, อุฏฺฐาตา,
อุฏฺฐาเปตา,
ตริตา, ตาเรตา, ทาตา,
ทาเปตา, สนฺธาตา, สนฺธาเปตา,
เนตา, เนตฺตา, โปเสตา,
เภตฺตา, ยาตา, วตฺตา,
เสตา, หนฺตา, สกมนฺธาตา,
มหามนฺธาตา อิจฺจาทโยฯ
ศัพท์เหล่านี้ก็เหมือนกับสตฺถุศัพท์
เช่น
กตฺตา ผู้ทำ ภตฺตา
ผู้เลี้ยงดู, สามี คนฺตา
ผู้ไป
เชตา
ผู้ชนะ ชเนตา
ผู้ทำให้เกิด เฉตฺตา ผู้ตัด
เฉทิตา
ผู้ถูกตัด วิญฺญาตา
ผู้รู้ วิญฺญาเปตา ผู้บอกให้รู้
อุฏฺฐาตา
ผู้ลุกขึ้น อุฏฺฐาเปตา
ผู้ทำให้ลุกขึ้น ตริตา
ผู้ข้าม
ตาเรตา
ผู้ถูกทำให้ข้าม ทาตา
ผู้ให้ ทาเปตา
ผู้ให้ให้
สนฺธาตา
ผู้ทรงไว้ สนฺธาเปตา ผู้บอกให้ทรงไว้ เนตา ผู้นำไป
เนตฺตา
ผูถูกนำ โปเสตา
ผู้เลี้ยง เภตฺตา ผู้ทำลาย
ยาตา
ผู้ไป วตฺตา
ผู้กล่าว เสตา
ผู้อยู่
หนฺตา
ผู้ฆ่า สกมนฺธาตา
พระเจ้าสกมันธาตุ,
มหามนฺธาตา พระเจ้ามหามันธาตุ.
วิเสสวิธานมุจฺจเตฯ
จะกล่าวถึงรูปแบบพิเศษ
มหาวุตฺตินา
โยนํ อา โหติ,
อวิตกฺกิตา คพฺภมุปวชนฺติ [ชา. ๑.๑๓.๑๓๘
(วิสทิสํ)], เต ภิกฺขู พฺรูเหตา สุญฺญาคารานํฯ
ด้วยมหาสูตร
๑)
อาเป็นอาเทสของโยทั้งหลาย (หลังจากอุการันต์) เช่น
บุคคลผู้ไม่ตรึกนึกคิด
ย่อมเข้าถึงครรภ์.
เต
ภิกฺขู พฺรูเหตา สุญฺญาคารานํ
อมจฺจวาจีหิ
กตฺตุ,
ขตฺตุสทฺเทหิ คสฺส เอตฺตํ, อุฏฺเฐหิ กตฺเต ตรมาโน
[ชา. ๒.๒๒.๑๖๙๐], นตฺถิ โภ ขตฺเต ปโรโลโก
[ที. นิ. ๒.๔๐๘]ฯ
๒) สิ ชื่อ ค
หลังจาก กตฺตุและขตฺตุศัพท์ที่กล่าวความหมายว่า อำมาตย์[13] เป็น
เอ เช่น
อุฏฺเฐหิ
กตฺเต ตรมาโน พฺราหฺมณสฺส อวากร
ทาสีสตํ ทาสสตํ ควํ
หตฺถูสภํ สตํ
ชาตรูปสหสฺสญฺจ โปตานํ เทหิ
นิกฺกยํ ฯ
[ขุ.ชา. ๒๘/๑๒๓๐],
เหวยพนักงาน เอ็งจงลุกขึ้น
รีบไปนำทาส ทาสี ช้าง โค และโคอุสภราช อย่างละร้อยๆ กับทองคำพันแท่ง
เอามาให้แก่พราหมณ์เป็นค่าถ่ายพระหลานรักทั้งสอง.
นตฺถิ
โภ ขตฺเต ปโรโลโก [ที.ม.๑๒/๓๐๒]ฯ
พ่อนักการ ความจริงโลกหน้าไม่มี
เค
ปเร อารง จ โหติ,
ปุจฺฉาม กตฺตาร อโนมปญฺญ, ‘‘กตฺตารํ อโนมปญฺญ’’นฺติปิ [ชา.๑.๑๐.๒๘] ยุชฺชติ.
๓) เพราะ ค
อันเป็นเบื้องหลัง แปลง อุ เป็น อาร เช่น
ข้าแต่ท่านผู้มีปัญญาไม่ทราม
รู้สิ่งที่ควรทำ พวกข้าพเจ้าขอถาม
เป็นรูปว่า กตฺตารํ
อโนมปญฺญ ดังนี้ก็ใช้ได้.
อํมฺหิ
ปเร ปุพฺพสฺสรโลโป จ โหติ, อนุกมฺปกํ ปาณสมมฺปิ ภตฺตุํ ชหนฺติ
อิตฺถิโยฯ
๔) ที่ อํ
อันป็นเบื้องหลัง มีการลบสระหนัา เช่น
(เมื่อมีอันตรายและกิจเกิดขึ้น)
หญิงท. ย่อมละทิ้ง ซึ่งสามี เป็นผู้อนุเคราะห์ แม้เสมอด้วยชีวิต.
‘‘โส ปตีโต ปมุตฺเตน, ภตฺตุนา ภตฺตุคารโว’’ติ [ชา. ๒.๒๑.๔๘] ทิฏฺฐตฺตา กตฺตุนา, คนฺตุนา อิจฺจาทีนิปิ ยุชฺชนฺติฯ
๕) แม้รูปว่า
กตฺตุนา, คนฺตุนา เป็นต้น ก็ใช้ได้[17] เพราะข้าพเจ้าได้พบพระบาฬีนี้
(เป็นที่เทียบเคียง)
โส ปตีโต
ปมุตฺเตน ภตฺตุนา
ภตฺตุคารโว
[ขุ.ชา.๒๘/๑๗๗]
สุมุขหงส์ผู้มีความเคารพนาย
มีความปลื้มใจ เพราะพระยาหงส์ ผู้เป็นนาย หลุดพ้นจากบ่วง
๖) สฺมิํ
หลังจาก เนตฺตุ ศัพท์ เป็น เอ เช่น
ควญฺเจ
ตรมานานํ อุชุํ คจฺฉติ ปุงฺคโว
สพฺพา
คาวี อุชุํ ยนฺติ เนตฺเต อุชุํ คเต สติ ฯ [ขุ.ชา.๒๗/๖๓๖],
ถ้าเมื่อโคทั้งหลาย
ว่ายข้ามแม่น้ำไป โคหัวหน้าฝูงว่ายข้ามตรง เมื่อมี โคผู้นำฝูง ว่ายข้ามตรงอย่างนั้น
โคทั้งหมดก็ย่อมว่ายข้ามตรงไปตามกัน.
เอเต
สทฺทา ตีสุ ลิงฺเคสุ สมานรูปา โหนฺติ, กตฺตา อิตฺถี, กตฺตา ปุริโส, กตฺตา กุลํ อิจฺจาทิฯ
ศัพท์ที่มีตุปัจจัยเป็นที่สุดเหล่านี้
(มี กตฺตุ เป็นต้น)
มีรูปเสมอกันในลิงค์ทั้งสาม เช่น
กตฺตา
อิตฺถี
สตรีผู้ทำงาน
กตฺตา
ปุริโส
บุรุษ ผู้ทำงาน
กตฺตา
กุลํ
ตระกูล ผู้ทำงาน
อิติ
สตฺถาทิราสิฯ
กลุ่มศัพท์มีสตฺถุเป็นต้น
เป็นอย่างนี้
ปิตาทิราสิ
กลุ่มศัพท์มีปิตุเป็นต้น
ปิตา
คจฺฉติฯ
ปฐมาวิภัตติ
ปิตา
คจฺฉติ บิดา ย่อมไป.
๑๙๓. ปิตาทีนมนตฺตาทีนํ [ก. ๒๐๙; รู. ๑๖๘; นี. ๔๒๕; ‘ปิตาทีนมนตฺวาทีนํ’
(พหูสุ)]ฯ
อารอาเทส
ของสระที่สุดของศัพท์มีปิตุเป็นต้น เว้นนตฺตุเป็นต้น เป็นรัสสะ.
นตฺตาทิวชฺชิตานํ
ปิตาทีนํ อารงกโต รสฺโส โหติฯ
สระที่สุดของศัพท์ท.มีปิตุเป็นต้น
เว้นนตฺตุเป็นต้น ซึ่งถูกแปลงเป็นอารแล้ว เป็นรัสสะ.
ปิตโร, โภ ปิต, โภ ปิตา, โภนฺโต
ปิตโรฯ ปิตรํ, ปิตุํ วาฯ ‘‘มาตุํ ปิตุญฺจ
วนฺทิตฺวา’’ติ [ชา. ๒.๒๒.๑๘๕๙] ทิสฺสติฯ
ปิตโร, ปิตเร, ปิตรา, ปิตุนา, ปิตเรหิ, ปิตเรภิ,
ปิตูหิ, ปิตูภิ, ปิตุ,
ปิตุสฺส, ปิตุโน, ปิตูนํ,
ปิตรานํ, ปิตรา, ปิตุนา,
ปิตเรหิ, ปิตเรภิ, ปิตูหิ,
ปิตูภิ, ปิตุ, ปิตุสฺส,
ปิตุโน, ปิตูนํ, ปิตรานํ,
ปิตานํ, ปิตุสฺมิํ, ปิตุมฺหิ,
ปิตริ, ปิตเรสุ, ปิตูสุฯ
ปิตโร
บิดาท.
อาลปนวิภัตติ
โภ
ปิต,
โภ ปิตา ข้าแต่บิดา
โภนฺโต
ปิตโร ข้าแต่บิดาท.
ทุติยาวิภัตติ
ปิตรํ ซึ่งบิดา
หรือเป็น ปิตุํ
ก็ได้ มีตัวอย่างที่พบคือ
มาตุํ
ปิตุญฺจ วนฺทิตฺวา
[ชา. ๒.๒๒.๑๘๕๙]
ปิตโร, ปิตเร ซึ่งบิดา ท.
ตติยาวิภัตติ
ปิตรา, ปิตุนา ด้วยบิดา
ปิตเรหิ, ปิตเรภิ, ปิตูหิ, ปิตูภิ ด้วยบิดาท.
จตุตถีวิภัตติ
ปิตุ, ปิตุสฺส, ปิตุโน แก่บิดา
ปิตูนํ, ปิตรานํ แก่บิดาท.
ปัญจมีวิภัตติ
ปิตรา, ปิตุนา,
จากบิดา
ปิตเรหิ, ปิตเรภิ, ปิตูหิ, ปิตูภิ จากบิดาท.
ฉัฏฐีวิภัตติ
ปิตุ, ปิตุสฺส, ปิตุโน แห่งบิดา
ปิตูนํ, ปิตรานํ, ปิตานํ แห่งบิดาท.
สัตตมีวิภัตติ
ปิตุสฺมิํ, ปิตุมฺหิ, ปิตริ ในบิดา
ปิตเรสุ, ปิตูสุ ในบิดาท.
อนโณ
ญาตินํ โหติ,
เทวานํ ปิตุนญฺจ โส [ชา. ๒.๒๒.๑๒๖], มาตาปิตูนํ อจฺจเยน, ธมฺมํ จร มหาราช, มาตาปิตูสุ ขตฺติย [ชา. ๒.๑๗.๓๙]ฯ
รูปเหล่านั้น
(ที่ไม่อาเทสเป็นอาร) พบตัวอย่างเหล่านี้ในพระบาฬี
อนโณ
ญาตินํ โหติ,
เทวานํ ปิตุนญฺจ โส [ขุ.ชา. ๒๘/๔๔๕],
บุคคลผู้กระทำความเพียรอยู่
แม้จะตาย ก็ชื่อว่าไม่เป็นหนี้ คือ ไม่ถูกติเตียนในระหว่างหมู่ญาติ
เทวดาและพรหมทั้งหลาย
มาตาปิตูนํ
อจฺจเยน,
โดยการล่วงไปแห่งบิดาและมารดา.
ธมฺมํ
จร มหาราช,
มาตาปิตูสุ ขตฺติย [ขุ.ชา. ๒๘/๕๑]ฯ
ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในพระชนนีและพระชนก
เอวํ
ภาตา,
ภาตโร, ชามาตา, ชามาตโรอิจฺจาทิฯ
ศัพท์เหล่านี้เหมือนปิตุศัพท์
เช่น
ภาตา,
พี่ชาย ภาตโร พี่ชายท., ชามาตา ลูกเขย, ชามาตโร ลูกเขยท.
อนตฺตาทีนนฺติ
กิํ?
นตฺตา, นตฺตาโร, นตฺตารํ,
นตฺตาโร, นตฺตาเร อิจฺจาทิฯ ตถา
ปนตฺตุสทฺโทปิฯ
บทว่า อนตฺตุ
ไม่ใช่นตฺตุศัพท์ มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการไม่รัสสะอารอาเทสของ
นตฺตุ ศัพท์ เช่น
นตฺตา หลาน,
นตฺตาโร หลานท., นตฺตารํ ซึ่งหลาน นตฺตาโร, นตฺตาเร
ซึ่งหลานท.
แม้ ปนตฺตุ
(เหลน) ศัพท์ ก็เหมือน นตฺตุ ศัพท์.
มาตุ,
ธีตุ, ทุหิตุสทฺทา ปน อิตฺถิลิงฺคา เอว,
มาตา, มาตโร, โภติ มาต,
โภติ มาตา, โภติ มาเต วา, ‘‘อจฺฉริยํ นนฺทมาเต, อพฺภุตํ นนฺทมาเต’’ติ [อ. นิ. ๗.๕๓] ทิสฺสติฯ ‘ฆพฺรหฺมาทิตฺเว’ติ คสฺส เอตฺตํฯ โภติโย มาตโร, มาตรํ, มาตุํ, มาตโร, มาตเร, มาตุยา, มาตรา, มาตเรหิ,
มาตเรภิ, มาตูหิ, มาตูภิ,
มาตุ, มาตุสฺส, มาตุยาฯ
‘‘มาตุสฺส สรติ, ปิตุสฺส สรตี’’ติ [รู. ๑๖๙; นี. ๑๖๐ ปิฏฺเฐ] สตฺเถ
ทิสฺสติฯ ‘‘พุทฺธมาตุสฺส สกฺการํ, กโรตุ
สุคโตรโส’’ติ [อป. เถรี. ๒.๒.๒๕๙] จ
ทิสฺสติฯ มาตูนํ, มาตานํ, มาตรานํฯ ปญฺจมีรูปํ
ตติยาสมํฯ ฉฏฺฐีรูปํ จตุตฺถีสมํฯ มาตุสฺมิํ, มาตุมฺหิ,
มาตริ, มาตุยา, มาตุยํ,
มาตเรสุ, มาตูสุฯ เอวํ ธีตุ, ทุหิตุสทฺทาฯ
อนึ่ง มาตุ
ธีตุ และทุหิตุศัพท์ เป็นอิตถีลิงค์อย่างเดียว มีรูปวิภัตติดังนี้
ปฐมาวิภัตติ
มาตา มารดา
มาตโร
มารดาท.
อาลปนวิภัตติ
โภติ
มาต, โภติ มาตา, โภติ มาเต ข้าแต่มารดา
สำหรับ มาเต
มีพระบาฬีดังนี้เป็นหลักฐาน
อจฺฉริยํ
นนฺทมาเต, อพฺภุตํ นนฺทมาเต (อํ.สตฺตก.๒๓/๕๐)
ดูก่อนนันทมาตา
น่าอัศจรรย์, ดูก่อนนันทมาตา น่าประหลาดใจ
ใน มาเต นี้
ให้แปลง สิ อาลปนะ เป็น เอ.
โภติโย
มาตโร ข้าแต่มารดาท.
ทุติยาวิภัตติ
มาตรํ, มาตุํ,
ซึ่งมารดา
มาตโร, มาตเร,
ซึ่งมารดาท.
ตติยาวิภัตติ
มาตุยา ด้วยมารดา
มาตรา, มาตเรหิ, มาตเรภิ, มาตูหิ,
มาตูภิ ด้วยมารดาท.
จตุตถีวิภัตติ
มาตุ, มาตุสฺส, มาตุยา แก่มารดา
สำหรับรูปว่า
มาตุสฺส พบหลักฐานในคัมภีร์ไวยากรณ์อื่น เช่น
มาตุสฺส
สรติ, ปิตุสฺส สรติ ([รู. อุการันตอิตถีลิงค์
๑๖๙; และสัททนีติ ปทมาลา. ๑๖๐ ปิฏฺเฐ]
และในพระบาฬี
เช่น
ยสฺสตฺถิ
สุคเต สทฺธา,
โย จ ปิโย มหามุเน;
ขอพระโอรสของพระสุคต ผู้มีศรัทธาในพระสุคต หรือเป็นศิษย์ของพระมหามุนี จงทำสักการะพุทธมารดาเถิด
มาตูนํ, มาตานํ, มาตรานํ แก่มารดาท.
ปญฺจมีรูปํ
ตติยาสมํฯ ฉฏฺฐีรูปํ จตุตฺถีสมํฯ
รูปในปัญจมีวิภัตติ
เหมือนรูปในตติยาวิภัตติ, รูปในฉัฏฐีวิภัตติ เหมือนรูปในจตุตถีวิภัตติ
สัตตมีวิภัตติ
มาตุสฺมิํ, มาตุมฺหิ, มาตริ, มาตุยา,
มาตุยํ, ในมารดา
มาตเรสุ, มาตูสุ ในมารดาท.
ทุหิตุ และ
ธีตุ ศัพท์ เหมือน มาตุศัพท์.
วิเสสวิธิมฺหิ
คาถาสุ มหาวุตฺตินา มาตุ, ปิตุสทฺเทหิ นาทีนํ ปญฺจนฺนํ
เอกวจนานํ ยา โหติ, สฺมิํโน ปน ยญฺจ โหติ, อนฺตโลโป จฯ มตฺยา กตํ, มตฺยา เทติ, มตฺยา อเปติ, มตฺยา ธนํ, มตฺยา
ฐิตํฯ มตฺยํ ฐิตํฯ เอวํ เปตฺยา กตํอิจฺจาทิ, อิธ วุทฺธิฯ
อนุญฺญาโต
อหํ มตฺยา,
สญฺจตฺโต ปิตรา อหํ [ชา. ๒.๒๒.๒๙]ฯ มตฺยา จ
เปตฺยา จ กตํ สุสาธุ [ชา. ๒.๑๘.๖๑], อหญฺหิ
ชานามิ ชนินฺท เอตํ, มตฺยา จ เปตฺยา จ [ชา. ๒.๑๘.๕๙], สพฺพํ ปุพฺเพปิ วุตฺตเมวฯ
ในแบบพิเศษ ซึ่งสำเร็จรูปด้วยมหาสูตร
โดยจะพบในคาถา
ยา เป็น
อาเทสของวิภัตติฝ่ายเอกวจนะ ๕ ตัว คือ นา, ส, สฺมา, ส และ สฺมิํ ที่อยู่หลังจาก
มาตุ และ ปิตุศัพท์. สำหรับใน สฺมิํ จะมี ยํ อาเทส ด้วย และ ลบสระท้าย คือ อุ
ด้วย. ตัวอย่าง
มตฺตยา
กตํ การงานอันมารดาทำแล้ว
มตฺยา
เทติ เขาย่อมให้แก่มารดา
มตฺยา
อเปติ เขาย่อมหลีกไปจากมารดา
มตฺยา
ธนํ
ทรัพย์ของมารดา
มตฺยา
ฐิตํ ทรัพย์ตั้งอยู่ในมารดา
มตฺยํ
ฐิตํ
ทรัพย์ตั้งอยู่ในมารดา
แม้ปิตุศัพท์
ก็มีวิธีการนี้เช่นเดียวกัน เช่น
เปตฺยา
กตํ
เป็นต้น แต่ในปิตุศัพท์นี้ มีการอาเทส เป็น เปตฺยา
พบพระบาฬีเหล่านี้เป็นตัวอย่าง
เช่น
อนุญฺญาโต
อหํ มตฺยา สญฺจตฺโต ปิตรา อหํ
เอโก
อรญฺเญ ปพฺพชิโต น กาเม อภิปตฺถเย ฯ [ขุ.ชา.๒๘/๔๐๕]ฯ
เราอันพระชนนีทรงอนุญาตแล้ว
และพระชนกก็ทรงยินดีสละ อยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ไม่พึงปรารถนากามทั้งหลาย เราจะบวช.
อมฺโภ
อมฺโภ นามมิทํ อิมิสฺสา มตฺยา จ เปตฺยา จ
กตํ สุสาธุ [ขุ.ชา. ๒๘/๒๒]
ดูกรท่านผู้เจริญๆ
ชื่อที่มารดาและบิดาตั้งให้หญิงนี้ เป็นชื่อเหมาะสมดี
อหํ
หิ ชานามิ ชนินฺท เอตํ มตฺยา จ เปตฺยา
จ อโถปิ อสฺส[ขุ.ชา. ๒๘/๒๑]
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชานิกร
ก็ข้าพระองค์รู้จักหญิงนั้นพร้อมทั้งมารดาบิดาและสามีของนาง
วิธีการสำเร็จรูปทั้งหมด
ได้กล่าวไปแล้วในอิการันต์อิตถีลิงค์ ตอนต้นนั่นเทียว.
สตฺถุ, ปิตาทีนํ สมาเส วิธานํ สมาสกณฺเฑ อาคมิสฺสติฯ
วิธีการสำเร็จรูปในสมาสของ
สตฺถุ และ ปิตุเป็นต้น จะมาในสมาสกัณฑ์
อิติ
ปิตาทิราสิฯ
อิติ
สตฺถาทิคณราสิฯ
อุการนฺตปุลฺลิงฺคราสิ
นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มศัพท์มีปิตุ
เป็นต้น เป็นอย่างนี้
กลุ่มสตฺถาทิคณะ
เป็นอย่างนี้
กลุ่มนามศัพท์
อุการันต์ ปุงลิงค์ จบแล้ว.
[1] ด้วยสูตร ๙๑. โยโลปนีสุ ทีโฆ (ในลิงค์ทั้งสาม เมื่อลบโยแล้ว ก็ดี เมื่ออาเทสนิ ได้ทำแล้วก็ดี
สระรัสสะเป็นทีฆะ).
[2] ปัจจุบันเป็น กุรุโย ทั้งสามตัวอย่างนี้
แต่ในที่นี้คงปาฐะเดิมของพระคันถรจนาจารย์ไว้.
[3] กิมตฺถินํ ปัจจุบันเป็น กึ ปตฺตินมาหุ บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้บรรลุอะไร ฯลฯ
ในที่นี้ยึดตามปาฐะของพระคันถรจนาจารย์
[4] ปภงฺคุนํ ปัจจุบันเป็น ปภงฺคุณํ (สฺยาม) บ้าง, ปภงฺคุรํ
(ฉัฏฐ) บ้าง รูปปภงฺคุนํ พบในบางฉบับ (ก)
แต่ในที่นี้คงปาฐะเดิมของพระคันถรจนาจารย์
[5] เหมือนเชิงอรรถข้อ ๔.
[6] ลฺตุ ปัจจัย ได้แก่ ตุปัจจัยนั่นเอง ลฺ เป็นอักษรอนุพันธ์ บอกความหมายว่า
นิพนฺธน คือ ตุปัจจัยใช้ในกัตตุการก (ดูสูตร ๗๑๘ กตฺตริ ลฺตุณฺกา ตุ และ ณก ปัจจัย
ลงท้ายธาตุในอรรถกัตตา) และ มีอรรถวิเสสนะในสูตร ลฺตุปิตาทีนมเส นี้ คือ
เป็นวิเสสนะของบทว่า นามศัพท์ที่ลงตุปัจจัย)
[7] เหตุไรจึงวางสตฺถุศัพท์ไว้ตรงนี้ ชวนให้คิดว่า สตฺถุ ศัพท์ เป็นศัพท์ที่ลง
ตุปัจจัย?. คิดว่า ไม่ควรมีศัพท์นี้ เพราะ ในโมคคัลลานไวยากรณ์
ไม่ได้กล่าวถึงศัพท์นี้ไว้ดังนี้. ลฺตุปิตาทินมา สิมฺหิฯ ลฺตุปฺปจฺจยนฺตานํ
ปิตาทีนํ จ อา โหติ สิมฺหิฯ กตฺตา, ปิตาฯ ปิตุ, มาตุ, ภาวุ, มีตุ, ทุหิตุ, ชามาตุ, นตฺตุ,
โหตุ, โปตุ (โมค.๒/๕๗)ฯ
หรือไม่ก็ควรวางไว้คู่กับ ปิตาทีนํ เป็น สตฺถุปิตาทีนํ
เพราะเทียบกับสูตรในปทรูปสิทธิ (๑๕๘) ว่า สตฺถุปิตาทีนมา สิสฺมิํ สิโลโป จฯ
สตฺถาฯ (ในเพราะสิ สระที่สุดของศัพท์มีสตฺถุ ปิตุ มาตุ ภาตุ ธีตุ กตฺตุ
เป็นต้น เป็นอา และลบสิ สำเร็จรูปเป็น สตฺถา).
ในที่นี้ข้าพเจ้าขอแปลโดยนำมารวมไว้กับ ปิตุศัพท์. (สมภพ)
[8] คือ สามารถแปลง โย ท้าย สข ศัพท์ เป็น อาโย และโน. ดังนั้น วิธีนี้ใน สข
ศัพท์ จึงไม่แน่นอน.
[9] นนุ จ นิรตฺถกํ โฏคฺคหณํ ปฐมาโยสฺส อนนฺตรสุตฺเตน โฏอาเทสสฺส สิทฺธตฺตาติ ?
อาสงฺกิยาห “โฏ”อิจฺจาทิ.
อสติ หิ โฏคฺคหเณ “เฏ วา ทุติยสฺสา”ติ คุรุนิทฺเทโส กาตพฺโพ สิยา, สติ อวจนา
ลหุนิทฺเทโส, น จ โฏคฺคหเณ กิญฺจิ อนิฏฺฐมาปชฺชตีติ
อธิปฺปาโย. [โมคฺ.ปญฺ.๑๗๒](เพื่อห้ามความสงสัยว่า โฏ ศัพท์ น่าจะไร้ประโยชน์ เพราะโอ อาเทส
ของโยปฐมาปรากฏแล้วด้วยสูตรก่อนหน้ามิใช่หรือ? ท่านจึงกล่าวว่า โฏเฏ วา ดังนี้ไว้.
จริงอย่างนั้น เมื่อไม่มี โฏ ศัพท์ ก็จะต้องแสดงตัวสูตรอย่างยาวๆว่า เฏ วา
ทุติยสฺส, เมื่อมี โฏ จึงสามารถแสดงอย่างสั้นว่า โฏเฏ วา ได้ เพราะไม่มีคำว่า
(ทุติยสฺส อีก) อีก ทั้งในการใช้คำว่า โฏ อีก ไม่ถึงความไร้ประโยชน์อันใด.) สรุป
แม้ได้เคยกล่าวไว้ในสูตร ๑๘๔. อารงฺสฺมา (โอ เป็นอาเทสของโยวิภัตติท้าย
อาร.)
เพื่อไม่ต้องระบุในตัวสูตรให้ยาวอีกว่า “เฏ วา ทุติยสฺส” ทุติยา โย เป็น เอ
บ้าง เพราะเมื่อกล่าวเพียง “โฏเฏ วา” โยทั้งสองเป็น โอ และ เอ ได้บ้าง
เป็นอันรู้ได้ว่า โย ปฐมา เป็น อา ทุติยาเป็น เอ.
[10] ในสูตรที่ ๖๐ ว่า พหุลํ ในสนธิกัณฑ์ สูตรนี้เป็นอธิการสูตร
ตามไปกำกับความของทุกสูตรว่า
หลักการของคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์นี้เป็นไปโดยส่วนมาก และด้วยสูตรนี้
สามารถปฏิเสธรูปที่ไม่ต้องการ และถือเอารูปที่ต้องการ ในสูตรสำเร็จรูปทุกสูตร.
[11] ปัจจุบันพบข้อความที่คล้ายคลึง แต่รูปประโยคต่างกัน คือ อวิตกฺกิตา มจฺจมุปพฺพชฺชนฺติ (ฉัฏฐ) บ้าง
อวิตกฺกิตาโร มจฺจุมุปฺปชฺชนฺติ (สยามรัฐ) แต่ในที่นี้ถือเอาปาฐะของพระคันถรจนาจารย์
สำหรับความเต็มของคาถานี้ตามที่ปรากฏ คือ
ทุกฺขูปนีโตปิ นโร สปญฺโญ, อาสํ น ฉินฺเทยฺย
สุขาคมาย;
พหู หิ ผสฺสา อหิตา หิตา จ, อวิตกฺกิตา มจฺจมุปพฺพชนฺติ [ขุ.ชา. ๒๗/๑๘๕๘]
นรชนผู้มีปัญญา แม้ตกอยู่ในกองทุกข์
ก็ไม่ควรตัดความหวังในอันจะมาสู่ความสุข
เพราะว่าผัสสะอันไม่เกื้อกูลและเกื้อกูลมีมาก คนที่ไม่ใฝ่ฝันถึงเลย ก็ต้องเข้าถึงความตาย.
[12] พบเพียงข้อความว่า พฺรูเหตา สุญฺญาคารานํ พอกพูนสุญญาคาร (ม.มู.๑๒/๗๔)
[13] กตฺเต หรือ ขตฺเต เป็นศัพท์เดียวกัน โดยแปลง ก เป็น ข ได้
(ดูสูตรในสนธิกัณฑ์) โดยมิได้หมายถึง อมจฺจ อำมาตย์ หรือ ข้าราชการเพียงอย่างเดียว
ในที่นี้เป็นอุปลักขณนัย จึงหมายถึง บุคคลผู้เป็นพนักงานทุกระดับ.
[14] ฉบับสยามรัฐเป็น
ปุจฺฉาม กตฺตารมโนมปญฺญ กถาสุ
โน วิคฺคโห อตฺถิ ชาโต
ฉินฺทชฺช
กงฺขํ วิจิกิจฺฉิตานิ ตทชฺช
กงฺขํ วิตเรมุ สพฺเพ ฯ [ชา. ๒๗/๑๓๔๖]
พวกข้าพเจ้าขอถามท่านผู้มีปัญญาไม่ทราม
รู้สิ่งที่ควรทำ พวกข้าพเจ้าเกิดมีการโต้แย้งกันในถ้อยคำทั้งหลาย ในวันนี้
ขอท่านจงตัดความสงสัยลังเลใจให้ด้วย
[15] ตัวอย่างนี้คิดว่า การที่ถูกแสดงไว้ด้วยมหาสูตร เพราะไม่แปลง อุ เป็น อาร
สำเร็จรูปเป็น ภตฺตารํ ตามสูตร ลฺตุปิตาทีนมเส. แต่เพราะ อํ วิภัตติ กลับลบ อ ที่
นิคคหิตอาศัย (ของอํ) จึงเป็นรูปว่า ภตฺตุํ (สมภพ)
[16] พบข้อความในพระบาฬีชาดกที่คล้ายคลึงกันดังนี้
จิรานุวุฏฺฐมฺปิ
ปิยํ มนาปํ,
อนุกมฺปกํ
ปาณสมมฺปิ ภตฺตุํ
อาวาสุ
กิจฺเจสุ จ นํ ชหนฺติ,
ตสฺมาหมิตฺถีนํ
น วิสฺสสามิฯ (ชา.๑/๓)
ส่วนสยามรัฐ
บทว่า ภตฺตุํ เป็น สนฺตํ (ขุ.ชา.๒๗/๑๖๐๓)
เมื่อมีอันตราย และเมื่อกิจเกิดขึ้น
หญิงย่อมละทิ้งสามีนั้นแม้อยู่ร่วมกันมานาน เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ
เป็นผู้อนุเคราะห์แม้เสมอด้วยชีวิตเพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ไว้วางใจหญิงทั้งหลาย.
[17] คือ ไม่จำเป็นต้นแปลง อุ เป็น อาร ตามสูตรว่า ลฺตุปิตาทีนมเส เสมอไป
คงนาวิภัตติไว้อย่างเดิมก็ได้ โดยเทียบกับบทว่า ภตฺตุนา ในพระบาฬีที่อ้างไว้.
[18]
พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เป็น พุทฺธสฺส มาตุ (สฺยา.)]
ขุ.อป.๓๓/๑๕๗) ในที่นี้ถือเอาตามฉบับฉัฏฐสังคายนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น