วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การกกัณฑ์ ๒ - ทุติยาวิภัตติ


ทุติยาวิภตฺติราสิ
กลุ่มอรรถของทุติยาวิภัตติ
กสฺมิํ อตฺเถ ทุติยา?
ทุติยาวิภัตติลงในอรรถอะไร?

๒๙๑. กมฺเม ทุติยา [ก. ๒๙๗; รู. ๒๘๔; นี. ๕๘๐; จํ. ๒.๑.๔๓; ปา. ๑.๔.๔๙-๕๑]
ลงทุติยาวิภัตติในอรรถกรรม.


กมฺมตฺเถ ทุติยา โหติฯ กริยเตติ กมฺมํ, ตํ นิพฺพตฺติกมฺมํ, วิกติกมฺมํ, ปตฺติกมฺมนฺติ ติวิธํ โหติฯ
ทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งกรรม.  กรรม ได้แก่ สิ่งที่ถูกกระทำ, กรรม มี ๓ อย่าง คือ นิพพัตติกรรม, วิกติแรรม และปัตติกรรม.

ตตฺถ นิพฺพตฺติกมฺมํ ยถา? อิทฺธิมา หตฺถิวณฺณํ มาเปติ, ราชา นครํ มาเปติ, มาตา ปุตฺตํ วิชายติ, พีชํ รุกฺขํ ชเนติ, กมฺมํ วิปากํ ชเนติ, อาหาโร พลํ ชเนติ, ชโน ปุญฺญํ กโรติ, ปาปํ กโรติ, พุทฺโธ ธมฺมํ เทเสสิ, วินยํ ปญฺญเปสิ, ภิกฺขุ ฌานํ อุปฺปาเทติ, มคฺคํ อุปฺปาเทติ อิจฺจาทิฯ
บรรดากรรม ๓ อย่างนั้น นิพพัตติกรรม
อิทฺธิมา หตฺถิวณฺณํ มาเปติ
ผู้มีฤทธิ์ เนรมิตรูปช้าง.

ราชา นครํ มาเปติ,
พระราชาทรงรับสั่งให้สร้างพระนคร.

มาตา ปุตฺตํ วิชายติ
มารดาคลอดบุตร.

พีชํ รุกฺขํ ชเนติ:
พืช ย่อมให้ต้นไม้เกิด.

กมฺมํ วิปากํ ชเนติ.
กรรม ก่อให้เกิดวิบาก.

อาหาโร พลํ ชเนติ.
อาหารให้เกิดพลัง.

ชโน ปุญฺญํ กโรติ:
ชน ย่อมทำบุญ.

ปาปํ กโรติ.
ย่อมทำบาป

พุทฺโธ ธมฺมํ เทเสสิ.
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม.

วินยํ ปญฺญเปสิ.
ทรงบัญญัติพระวินัย.

ภิกฺขุ ฌานํ อุปฺปาเทติ.
ภิกษุ ทำฌานให้เกิดขึ้น.

มคฺคํ อุปฺปาเทติ.
ทำมรรคให้เกิดขึ้น.

วิกติกมฺมํ ยถา? เคหํ กโรติ, รถํ กโรติ, ฆฏํ กโรติ, ปฏํ วายติ, โอทนํ ปจติ, ภตฺตํ ปจติ, กฏฺฐํ องฺคารํ กโรติ, สุวณฺณํ กฏกํ กโรติ, เคหํ ฌาเปติ, รุกฺขํ ฉินฺทติ, ปาการํ ภินฺทติ, วิหโย ลุนาติ, ปาณํ หนติ, ภตฺตํ ภุญฺชติ อิจฺจาทิฯ
วิกติกรรม ได้แก่อะไรบ้าง ?  ตัวอย่างเช่น
เคหํ กโรติ.
สร้างเรือน.

รถํ กโรติ.
ผลิตรถ.

ฆฏํ กโรติ.
ปั้นหม้อ

ปฏํ วายติ.
กรอด้าย.

โอทนํ ปจติ.
หุงข้าว.

ภตฺตํ ปจติ
หุงข้าว.

กฏฺฐํ องฺคารํ กโรติ
ทำฟืนให้เป็นถ่าน.

สุวณฺณํ กฏกํ กโรติ.
ทำทองให้เป็นกำไล.

เคหํ ฌาเปติ
ย่อมทำบ้านให้ไหม้.

รุกฺขํ ฉินฺทติ.
ตัดต้นไม้.

ปาการํ ภินฺทติ.
ทำลายกำแพง.

วิหโย ลุนาติ.
เกี่ยวข้าวเปลือก.

ปาณํ หนติ.
ฆ่าสัตว์.

ภตฺตํ ภุญฺชติ
กินข้าว.

ปตฺติกมฺมํ ยถา? คามํ คจฺฉติ, เคหํ ปวิสติ, รุกฺขํ อาโรหติ, นทิํ ตรติ, อาทิจฺจํ ปสฺสติ, ธมฺมํ สุณาติ, พุทฺธํ วนฺทติ ปยิรุปาสติ อิจฺจาทิฯ
ปัตติกรรม ได้แก่ อะไรบ้าง? ตัวอย่างเช่น
คามํ คจฺฉติ
ไปบ้าน.

เคหํ ปวิสติ.
เข้าเรือน

รุกฺขํ อาโรหติ
ขึ้นต้นไม้

นทิํ ตรติ.
ข้ามแม่น้ำ

อาทิจฺจํ ปสฺสติ
เห็นพระอาทิตย์

ธมฺมํ สุณาติ
ฟังธรรม.

พุทฺธํ วนฺทติ ปยิรุปาสติ
ย่อมไหว้, ย่อมเข้าใกล้พระพุทธเจ้า.

ปกติกมฺมํ, วิกติกมฺมนฺติ ทุวิธํฯ สุวณฺณํ กฏกํ กโรติ, กฏฺฐํ องฺคารํ กโรติ, ปุริสํ ฐิตํ ปสฺสติ, ปุริสํ คจฺฉนฺตํ ปสฺสติ, ภิกฺขุํ ปสฺสติ สตํ, สมฺปชานํ, อภิกฺกมนฺตํ, ปฏิกฺกมนฺตํ, อาโลเกนฺตํ, วิโลเกนฺตํ, สมิญฺเชนฺตํ, ปสาเรนฺตํ
มี ๒ อย่าง คือ ปกติกรรม และ วิกติกรรม.
สุวณฺณํ กฏกํ กโรติ
ทำทองให้เป็นกำไล.

กฏฺฐํ องฺคารํ กโรติ
ทำฟืนให้เป็นถ่าน.

ปุริสํ ฐิตํ ปสฺสติ
เห็นบุรุษผู้ยืนอยู่

ปุริสํ คจฺฉนฺตํ ปสฺสติ
เห็นบุรุษผู้เดินไปอยู่.
ภิกฺขุํ ปสฺสติ สตํ, สมฺปชานํ, อภิกฺกมนฺตํ, ปฏิกฺกมนฺตํ, อาโลเกนฺตํ, วิโลเกนฺตํ, สมิญฺเชนฺตํ, ปสาเรนฺตํ.
เห็นภิกษุ ผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ ก้าวไป ถอยกลับ, มองไปข้างหน้า, เหลียวดู, คู้เข้า, เหยียดออก.

เอตฺถ ปุริสํ, ภิกฺขุนฺติ ปกติกมฺมํ,ฐิตํ, สตํอิจฺจาทีนิ วิกติกมฺมานิ
ในตัวอย่างเหล่านี้ บทว่า ปุริสํ ซึ่งบุรุษ, ภิกฺขุํ ซึ่งภิกษุ เป็นปกติกรรม ส่วนบทว่า ฐิตํ ผู้ยืนอยู่, สตํ ผู้มีสติ เป็นต้น เป็นวิกติกรรม.

ธาตุกมฺมํ, การิตกมฺมนฺติ ทุวิธํฯ คามํ คจฺฉติ, ปุริสํ คามํ คเมติฯ
มี ๒ อย่างอีก คือ ธาตุกรรม และ การิตกรรม. เช่น
คามํ คจฺฉติ
ไปบ้าน

ปุริสํ คามํ คเมติ
ยังบุรุษ ให้ไปบ้าน.

ธาตุกมฺมญฺจ ทฺวิกมฺมิกธาตูนํ ทุวิธํ ปธานกมฺมํ, อปฺปธานกมฺมนฺติฯ อชปาโล อชํ คามํ เนติ, ปุริโส ภารํ คามํ วหติ, หรติ, คามํ สาขํ กฑฺฒติ, คาวิํ ขีรํ โทหติ, พฺราหฺมณํ กมฺพลํ ยาจติ, พฺราหฺมณํ ภตฺตํ ภิกฺขติ,             คาวิโย วชํ อวรุนฺธติ, ภควนฺตํ ปญฺหํ ปุจฺฉติ, รุกฺขํ ผลานิ โอจินาติ, สิสฺสํ ธมฺมํ พฺรวีติ, ภควา ภิกฺขู           เอตทโวจ[1], สิสฺสํ ธมฺมํ อนุสาสติ อิจฺจาทิฯ
อนึ่ง ธาตุกรรม แบ่งออกเป็น ปธานกรรม และ อัปปธานกรรม สำหรับทวิกัมมิกธาตุ. เช่น
อชปาโล อชํ คามํ เนติ,
นำแพะไปบ้าน

ปุริโส ภารํ คามํ วหติ, หรติ,
บุรุษหาบสิ่งของ ไปบ้าน, นำสิ่งของไปบ้าน

คามํ สาขํ กฑฺฒติ,
ลากกิ่งไม้สู่บ้าน

คาวิํ ขีรํ โทหติ
รีดนมกะแม่วัว.

พฺราหฺมณํ กมฺพลํ ยาจติ
ขอผ้ากัมพลกะพราหมณ์

พฺราหฺมณํ ภตฺตํ ภิกฺขติ,
ขอข้าวกะพราหมณ์

คาวิโย วชํ อวรุนฺธติ
ดึงแม่วัวเข้าคอก.

ภควนฺตํ ปญฺหํ ปุจฺฉติ
ทูลถามปัญหากะผู้มีพระภาค

รุกฺขํ ผลานิ โอจินาติ
เลือกผลทั้งหลายกะต้นไม้

สิสฺสํ ธมฺมํ พฺรวีติ
กล่าวธรรมกะศิษย์

ภควา ภิกฺขู เอตทโวจ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแล้วซึ่งพระดำรัสนั้นกะภิกษุทั้งหลาย

สิสฺสํ ธมฺมํ อนุสาสติ
พร่ำสอนธรรมกะศิษย์

เอตฺถ จ อชํ, ขีรํอิจฺจาทิ ปธานกมฺมํ นาม กตฺตารา ปริคฺคเหตุํ อิฏฺฐตรตฺตาฯ คามํ, คาวิํอิจฺจาทิ อปฺปธานกมฺมํ นาม ตถา อนิฏฺฐตรตฺตาฯ
ในเรื่องนี้ บทว่า อชํ ซึ่งแพะ, ขีรํ ซึ่งนม เป็นต้น เป็นปธานกรรม เพราะเป็นสิ่งที่กัตตาปรารถนามากเพื่อจะถือเอา. ส่วนบทว่า คามํ สู่บ้าน, คาวิํ กะแม่วัว เป็นต้น ชื่อว่า อัปปธานกรรม เพราะเป็นสิ่งที่กัตตาไม่ประสงค์มากนัก.

ตตฺถ ปธานกมฺมํ กถินกมฺมํ นาม, กมฺมภาเว ถิรกมฺมนฺติ วุตฺตํ โหติฯ อปฺปธานกมฺมํ อกถินกมฺมํ นาม, อถิรกมฺมนฺติ วุตฺตํ โหติฯ ตญฺหิ กทาจิ สมฺปทานํ โหติ, กทาจิ อปาทานํ, กทาจิ สามิ, กทาจิ โอกาโสฯ ยถา โส มํ ทกาย เนติ, คาวิโต ขีรํ โทหติ, คาวิยา ขีรํ โทหหิ, คาวิยํ ขีรํ โทหติ อิจฺจาทิฯ
บรรดาปธานกรรมและอัปปธานกรรมนั้น, ปธานกรรม ชื่อว่า กถินกรรม (กรรมที่แข็ง) คือ เป็นกรรมที่มั่นคงในความเป็นกรรม. ส่วนอัปปธานกรรม ชื่อว่า อกถินกรรม คือ เป็นกรรมที่ไม่แข็ง[2]. จริงอย่างนั้น อัปปธานกรรมนั้น ในบางครั้งเป็นสัมปทานะ, บางครั้งเป็นอปาทานะ, บางครั้งเป็นสามี, บางครั้งก็เป็นโอกาสะ. เช่น
โส มํ ทกาย เนติ
เขานำฉันไปเพื่อผีเสื้อน้ำ

คาวิโต ขีรํ โทหติ
รีดนมจากแม่โค

คาวิยา ขีรํ โทหหิ
จงรีดนมของแม่โค

คาวิยํ ขีรํ โทหติ
ย่อมรีดนมในแม่โค.

กมฺเม ทุติยาติ วตฺตเตฯ
สูตรว่า กมฺเม ทุติยา ตามมาในสูตรนี้

๒๙๒. คติโพธาหารสทฺทตฺถา กมฺมก ภชฺชาทีนํ ปโยชฺเช [3]
ลงทุติยาวิภัตติในปโยชชะ[4] ในที่เกี่ยวกับธาตุเหล่านี้ คือ ที่มีอรรถคือ คติ (ไป) โพธ (รู้) อาหาร (นำมา) และ สทฺท (ออกเสียง), อกัมมกธาตุ และ ภชฺช (คั่ว) เป็นต้น

นิจฺจวิธิสุตฺตมิทํฯ คมนตฺถานํ โพธนตฺถานํ อาหารตฺถานํ สทฺทตฺถานํ อกมฺมกานํ ภชฺชาทีนญฺจ ธาตูนํ ปโยชฺเช กมฺมนิ ทุติยา โหติฯ เอตฺถ จ ปโยชฺชกมฺมํ นาม การิตกมฺมํ วุจฺจติฯ
สูตรนี้เป็นนิจจวิธี.[5]  หมายความว่า ลงทุติยาวิภัตติ ในกรรม อันเป็นปโยชชะ (กัตตาที่ถูกใช้ให้ทำ) ในที่เกี่ยวกับธาตุท.เหล่านี้ คือ

(๑) ที่มีความหมายว่า คมน (ไป), โพธน (รู้), อาหาร (นำไป) และ สทฺท (ออกเสียง),
(๒)  อกัมมกธาตุ. และ
(๓) ภชฺช (คั่ว) ธาตุ เป็นต้น ในที่นี้ ปโยชชกรรม (กรรมอันเป็นปโยชชกัตตา) ได้แก่ การิตกรรม (กรรมของการิตปัจจัย คือ เณ, ณย, ณาเป และณาปย).

ปุริโส ปุริสํ คามํ คมยติ, สามิโก อชปาลํ อชํ คามํ นยาเปติ, อาจริโย สิสฺสํ ธมฺมํ โพเธติ, ปุริโส ปุริสํ ภตฺตํ โภเชติ, อาจริโย สิสฺสํ ธมฺมํ ปาเฐติ, ปุริโส ปุริสํ สยาเปติ, อจฺฉาเปติ, อุฏฺฐาเปติ, ปุริโส ปุริสํ ธญฺญํ ภชฺชาเปติ, โกฏฺฏาเปติ, อุทฺธราเปติฯ
ตัวอย่างเช่น
ปุริโส ปุริสํ คามํ คมยติ,
บุรุษ ยังบุรุษ ให้ไปสู่บ้าน.

สามิโก อชปาลํ อชํ คามํ นยาเปติ.
เจ้านาย ยังคนเลี้ยงแพะ ให้ต้อนแพะไปสู่บ้าน.
อาจริโย สิสฺสํ ธมฺมํ โพเธติ.
อาจารย์ ยังศิษย์ ให้รู้ ซึ่งธรรม.

ปุริโส ปุริสํ ภตฺตํ โภเชติ.
บุรุษ ยังบุรุษให้กินข้าว.

อาจริโย สิสฺสํ ธมฺมํ ปาเฐติ.
อาจารย์ ยังศิษย์ให้แสดงธรรม.

ปุริโส ปุริสํ สยาเปติ, อจฺฉาเปติ, อุฏฺฐาเปติ
บุรุษ ยังบุรุษ ให้นอน, ให้นั่ง, ให้ลุกขึ้น.

ปุริโส ปุริสํ ธญฺญํ ภชฺชาเปติ, โกฏฺฏาเปติ, อุทฺธราเปติ.
บุรุษ ยังบุรุษ ให้คั่ว, ให้ทุบ, ให้ฝัด ซึ่งข้าวเปลือก.

เอเตสมีติ กิํ? ฯปุริโส ปุริเสน โอทนํ ปาเจติ
บทว่า เอเตสํ มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการห้ามใช้ทุติยาวิภัตติในที่ไม่ได้เกี่ยวกับธาตุอื่นจากธาตุเหล่านี้ เช่น
ปุริโส ปุริเสน โอทนํ ปาเจติ
บุรุษ ย่อมยังบุรุษให้หุงซึ่งข้าว.
เอตฺถ จ คมนตฺถาทีนํ ปโยชฺเช ตติยาปิ รูปสิทฺธิยํ [๑๔๑ ปิฏฺเฐ] สทฺทนีติยญฺจ [สุตฺต-๑๔๘ ปิฏฺเฐ] วุตฺตาฯ สทฺทนีติยํ ตติยาปโยเคปิ กมฺมตฺถเมว อิจฺฉติฯ ญาสาทีสุ กตฺวตฺถํ อิจฺฉนฺติฯ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในคัมภีร์ปทรูปสิทธิและสัททนีติ กล่าวถึงตติยาวิภัตติ ที่ลงในปโยชชกรรม ในที่เกี่ยวกับธาตุที่มีอรรถคมน (ไป) เป็นต้นไว้ด้วย. ในคัมภีร์สัททนีติ แม้ในที่ประกอบด้วยตติยาวิภัตติ ท่านประสงค์อรรถกรรมเท่านั้น. ในนยาสะเป็นต้น ท่านประสงค์อรรถกัตตา.

ยทา ปน ปฐมํ ปโยชกํ อญฺโญ ทุติโย ปโยเชติ, ตทา ปฐโม ปโยชฺโช นามฯ ตสฺมิํ ตติยาเอวาติ วุตฺติยํ วุตฺตํฯ อตฺตนา วิปฺปกตํ กุฏิํ ปเรหิ ปริโยสาเปติ [ปารา. ๓๖๓]
อนึ่ง ในกาลใด ปโยชกะ (ผู้ใช้) ที่ ๒ อีกคนหนึ่ง  ใช้ปโยชกะ คนที่ ๑ ให้ทำ, ในกาลนั้น ปโยชกะ คนที่ ๑ ชื่อว่า ปโยชชะ (ผู้ถูกใช้). ท่านกล่าวไว้ในวุตติ[6] ว่า “ตสฺมิํ ตติยาเอว ลงตติยาวิภัตตินั่นเทียว ในกัตตาอันเป็นปโยชชะนั้น”. ตัวอย่าง
อตฺตนา วิปฺปกตํ กุฏิํ ปเรหิ ปริโยสาเปติ (วิ.มหา. ๑/๕๓๘)
ภิกษุใช้ผู้อื่นสร้างกุฎีอันตนสร้างค้างไว้ จนสำเร็จ (ต้องอาบัติสังฆาทิเสส).

๒๙๓. หราทีนํ วา [ก. ๓๐๐; รู. ๒๘๖; นี. ๕๘๗; จํ. ๒.๑.๔๕; ปา. ๑.๔.๕๓]
ลงทุติยาวิภัตติ ในกัตตา อันเป็นผู้ถูกใช้ ในที่เกี่ยวกับ หร ธาตุเป็นต้น ได้บ้าง.

หราทีนํ ปโยชฺเช กมฺมนิ วิกปฺเปน ทุติยา โหติฯ
ลงทุติยาวัภตติ ในกรรมที่เป็นปโยชชกัตตา ในที่เกี่ยวข้องกับหรธาตุ (นำไป) เป็นต้น โดยวิกัปป์.

สามิโก ปุริสํ ภารํ หาเรติ ปุริเสน วา, ปุริสํ อาหารํ อชฺโฌหาเรติ ปุริเสน วา, ปุริสํ กมฺมํ กาเรติ ปุริเสน วา, ราชา ปุริสํ อตฺตานํ ทสฺเสติ ปุริเสน วา, ปุริสํ พุทฺธํ วนฺทาเปติ ปุริเสน วาฯ
สามิโก ปุริสํ ภารํ หาเรติ, ปุริเสน วา,
เจ้านาย ยังบุรุษ ให้นำไป ซึ่งสิ่งของ, ใช้รูปว่า ปุริเสน ได้บ้าง.

ปุริสํ อาหารํ อชฺโฌหาเรติ, ปุริเสน วา,
บุรุษคนหนึ่ง ยังบุรุษให้กินอาหาร, ใช้รูปว่า ปุริเสน ได้บ้าง.
ปุริสํ กมฺมํ กาเรติ, ปุริเสน วา,
บุรุษคนหนึ่ง ยังบุรุษให้ทำซึ่งการงาน, ใช้รูปว่า ปุริเสน ได้บ้าง.

ราชา ปุริสํ อตฺตานํ ทสฺเสติ, ปุริเสน วา,
พระราชา ยังบุรุษให้แสดง ซึ่งตน, ใช้รูปว่า ปุริเสน ได้บ้าง.

ปุริสํ พุทฺธํ วนฺทาเปติ, ปุริเสน วา
บุรุษคนหนึ่ง ยังบุรุษให้ไหว้ ซึ่งพระพุทธเจ้า, ใช้รูปว่า ปุริเสน ได้บ้าง.

๑๙๔. น ขาทาทีนํ [ก. ๓๐๐; รู. ๒๘๖; นี. ๕๘๗; จํ. ๒.๑.๔๗; ปา. ๑.๔.๕๗]
ไม่ลงทุติยาวิภัตติในกรรม ที่เป็นปโยชชกัตตา ในที่เกี่ยวข้องกับขาท (เคี้ยว) เป็นต้น.

ขาทาทีนํ ปโยชฺเช กมฺมนิ น ทุติยา โหติฯ
ในที่เกี่ยวข้องกับ ขาท ธาตุเป็นต้น ไม่ลงทุติยาวิภัตติ ในกรรม อันเป็นปโยชชกัตตา.

สามิโก ปุริเสน ขชฺชํ ขาทาเปติ, อท-ภกฺขเน, ภตฺตํ อาเทติ, สามิโก ทาเสน ปุริสํ อวฺหาเปติ, สทฺทายาเปติ, กนฺทยติ, นาทยติฯ เอตฺถ จ สทฺทายาเปตีติ สทฺทํ การาเปติ, นามธาตุ เจสาฯ กนฺท, นทาปิ สทฺทตฺถาเยวฯ

สามิโก ปุริเสน ขชฺชํ ขาทาเปติ,
นายยังบุรุษให้กิน ของขบเคี้ยว.

อท ธาตุ ในการกิน เช่น
ภตฺตํ อาเทติ,
ให้กิน ซึ่งข้าวสวย.

สามิโก ทาเสน ปุริสํ อวฺหาเปติ, สทฺทายาเปติ, กนฺทยติ, นาทยติ
นายยังทาสให้นำไปซึ่งบุรุษ, ย่อมให้ออกเสียง, ให้ส่งเสียง, ให้เปล่งเสียง.
ในตัวอย่างนี้ บทว่า สทฺทายาเปติ ให้ออกเสียง ได้แก่ สทฺทํ การาเปติ ให้กระทำซึ่งเสียง, เพราะ สทฺทาย นี้เป็นนามธาตุ (ลงอาย ปัจจัยท้ายคำนามเพื่อใช้เป็นกิริยา เหมือนธาตุ). กนฺท ธาตุและ นท ธาตุ มีอรรถว่า สทฺท (ออกเสียง) เหมือนกัน

๒๙๕. วหิสฺสานิยนฺตุเก [ก. ๓๐๐; รู. ๒๘๖; นี. ๕๘๗; จํ. ๒.๑.๔๘; ปา. ๑.๔.๕๒]
ในที่เกี่ยวกับวหธาตุ ไม่ลงทุติยาวิภัตติในกรรมที่เป็นปโยชชกัตตา ซึ่งไม่มีการใช้ให้ทำ.

วหิสฺสาติ ธาตุนิทฺเทโส อิ-กาโร, นิยาเมติ ปโยเชตีติ นิยนฺตา, นตฺถิ นิยนฺตา เอตสฺสาติ อนิยนฺตุโกฯ ยสฺส อญฺเญน ปโยชเกน กิจฺจํ นตฺถิ, สยเมว ญตฺวา วหติ, โส อนิยนฺตุโก นาม, วหธาตุสฺส ตาทิเส อนิยนฺตุเก ปโยชฺเช กมฺมนิ ทุติยา น โหติฯ สามิโก ทาเสน ภารํ วาเหติฯ
บทว่า วหิสฺส นี้ อิ อักษร เป็นธาตุนิทเทส (อิ ในบทว่า วหิสฺส มีไว้เพื่อแสดงว่า วห เป็นธาตุ),
บทว่า อนิยนฺตุเก มีรูปวิเคราะห์ว่า
นิยาเมติ ปโยเชตีติ นิยนฺตา
บุคคล ผู้ใช้ ชื่อว่า นิยนฺต
นตฺถิ นิยนฺตา เอตสฺสาติ อนิยนฺตุโก
บุคคลผู้ไม่ต้องมีใครมาใช้ เรียกว่า อนิยนฺตุก
อธิบายได้ว่า กิจด้วยการชักชวน อย่างอื่นย่อมไม่มี แก่บุคคลใด, คือ ย่อมรู้ด้วยตนเองนั่นเทียวแล้วจึงนำไป, บุคคลนั้น ชื่อว่า อนิยนฺตุก ไม่ต้องถูกใช้ให้ทำ, ในที่เกี่ยวข้องกับวหธาตุ ไม่ลงทุติยาวิภัตติ ในกรรม ที่เป็นปโยชชะ ซึ่งไม่ต้องมีผู้ใช้ให้ทำ อย่างนี้. ตัวอย่างเช่น
สามิโก ทาเสน ภารํ วาเหติฯ
นายยังทาสให้นำไปซึ่งสิ่งของ.

อนิยนฺตุเกติ กิํ? พลีพทฺเท ภารํ วาเหติฯ
บทว่า อนิยนฺตุเก มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ ในการใช้ทุติยาวิภัตติในปโยชชะ ที่มีการใช้ให้ทำ เช่น
พลีพทฺเท ภารํ วาเหติ.
ยังโคพลิพัทธ์ท. ให้นำสิ่งของไป.

๒๙๖. ภกฺขิสฺสาหิํสายํ [ก. ๓๐๐; รู. ๒๘๖; นี. ๕๘๗; จํ. ๒.๑.๔๙; ปา. ๑.๔.๕]
ในที่เกี่ยวข้องกับ ภกฺข ธาตุ ไม่ลงทุติยาวิภัตติ ในกรรม อันเป็นปโยชชะ ที่ไม่ใช่ที่ตั้งแห่งการเบียดเบียน

ภกฺขิตุํ อิจฺฉนฺตสฺส ภกฺขาปนํ หิํสา นาม น โหติ, อนิจฺฉนฺตสฺส ภกฺขาปนํ หิํสา นาม, ภกฺขธาตุสฺส   ปโยชฺเช กมฺมนิ อหิํสาวิสเย ทุติยา น โหติฯ สามิโก ปุริเสน โมทเก ภกฺขาเปติฯ
การให้บุคคลที่ประสงค์จะกินได้กิน ไม่ได้ชื่อว่า เบียดเบียน, การให้บุคคลที่ไม่ประสงค์จะกินได้กิน ชื่อว่า เบียดเบียน. ไม่ลงทุติยาวิภัตติ ในกรรมอันเป็นปโยชชะ ในที่เกี่ยวข้องกับ ภกฺขธาตุ ที่เป็นที่ตั้งแห่งการไม่เบียดเบียน. ตัวอย่างเช่น

สามิโก ปุริเสน โมทเก ภกฺขาเปติฯ
เจ้านาย ยังบุรุษให้เคี้ยวกินซึ่งขนมท.

อหิํสายนฺติ กิํ? พลีพทฺเท สสฺสํ ภกฺขาเปติฯ เอตฺถ สสฺสนฺติ ถูลตรํ สสฺสนฺติ วทนฺติฯ
บทว่า อหิํสายํ มีประโยชน์อะไร. มีประโยชน์ในการลงทุติยาวิภัตติในที่มีอรรถเบียดเบียน เช่น
พลีพทฺเท สสฺสํ ภกฺขาเปติ
คนเลี้ยงโค ยังโคพลิพัทธ์ท. ให้เคี้ยวกิน ซึ่งข้าวกล้า.
ในตัวอย่างนี้ อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า บทว่า สสฺสํ ในที่นี้ได้แก่ ข้าวกล้าที่อวบอ้วนกว่าปกติ.

ปาฬิยํ ‘‘สพฺเพสํ วิญฺญาเปตฺวาน [อป. เถร ๑.๑.๔๓๘], โตเสนฺติ สพฺพปาณินํ [อป. เถร ๑.๑.๓๐๐]ฯ เถรสฺส ปตฺโต ทุติยสฺส คาเหตพฺโพ’’ อิจฺจาทินา [ปารา. ๖๑๕] ปโยชฺเช ฉฏฺฐีปิ ทิสฺสติฯ
ในพระบาฬีพบตัวอย่างการใช้ฉัฏฐีวิภัตติ ในกรรมอันเป็นปโยชชะ ได้บ้าง เช่น
สพฺเพสํ วิญฺญาเปตฺวาน (ขุ.เถร.อป.๓๒/๗ ปุณฺณมนฺตานิปุตฺต)
ยังปวงชน ให้ได้รู้แจ่มแจ้งแล้ว.

โตเสนฺติ สพฺพปาณินํ (ขุ.เถร.อป.๓๒/๑ สาริปุตฺต)ฯ
ยังสรรพสัตว์ ย่อมให้ยินดี

เถรสฺส ปตฺโต ทุติยสฺส คาเหตพฺโพ (วิ.มหา.๒/๑๓๒)
ยังพระเถระรูปที่ ๒ ให้รับเอาบาตรของพระเถระ.

๒๙๗. ฌาทีหิ ยุตฺตา [ก. ๒๙๙; รู. ๒๘๘; นี. ๕๘๒, ๕๘๖; จํ. ๒.๑.๕๐; ปา. ๒.๓.๒]
ลงทุติยาวิภัตติ ท้ายนามศัพท์อันประกอบด้วยนิบาตและอุปสัคมี ธี เป็นต้น.

ธีอิจฺจาทีหิ นิปาโตปสคฺเคหิ ยุตฺตา ลิงฺคมฺหา ทุติยา โหติฯ
ธี พฺราหฺมณสฺส หนฺตารํ [ธ. ป. ๓๘๙], ธีรตฺถุมํ ปูติกายํ [ชา. ๑.๓.๑๒๙], ธีรตฺถุ ตํ ธนลาภํ [ชา. ๑.๔.๓๖], ธีรตฺถุ พหุเก กาเมฯ

ลงทุติยาวิภัตติ ท้ายนามศัพท์อันประกอบด้วยนิบาตและอุปสัคมี ธี เป็นต้น. ตัวอย่างเช่น
ธี พฺราหฺมณสฺส หนฺตารํ [ขุ.ธ. ๒๖/๓๘๙],
ขอติเตียนผู้ฆ่าพราหมณ์

ธีรตฺถุมํ [7] (อตุรํ) ปูติกายํ [ชา. ๒๗/๔๘๐],
น่าติเตียนกายอันเปื่อยเน่า กระสับกระส่าย

ธีรตฺถุ ตํ ธนลาภํ [ขุ.ชา. ๒๗/๔๖๑],
น่าติเตียนการได้ทรัพย์[8].

ธีรตฺถุ พหุเก กาเม[9]ฯ (ขุ.ชา.๒๗/๑๕๔๗)
น่าติเตียนแท้ ซึ่งกามเป็นอันมาก

ตติยาปิ ทิสฺสติ, ธีรตฺถุ ชีวิเตน เม [ชา. ๒.๑๗.๑๓๕]ฯ อนฺตรา จ ราชคหํ อนฺตรา จ นาฬนฺทํ [ที. นิ. ๑.๑], อภิโต คามํ วสติ, ปริโตคามํ วสติ, นทิํ เนรญฺชรํ ปติ [สุ. นิ. ๔๒๗], เอเตสุ ฉฏฺฐฺยตฺเถ ทุติยาฯ
แม้ที่ลงตติยาวิภัตติ ก็พบบ้าง เช่น
ธีรตฺถุ ชีวิเตน เม [ขุ.ชา. ๒๗/๒๔๙๐]ฯ
น่าติเตียนด้วยชีวิตของเรา[10]

แต่ในตัวอย่างเหล่านี้ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ.
อนฺตรา จ ราชคหํ อนฺตรา จ นาฬนฺทํ [ที.สี. ๙/๑],
ในระหว่างแห่งเมืองราชคฤห์ และ ในระหว่างแห่งเมืองนาฬันทา.

อภิโต คามํ วสติ,
ย่อมอยู่ใกล้แห่งบ้าน.

ปริโตคามํ วสติ,
ย่อมอยู่โดยรอบแห่งบ้าน
นทิํ เนรญฺชรํ ปติ [ขุ.สุ. ๒๕/๓๕๕]
ในที่ใกล้แห่งแม่น้ำเนรัญชรา.

ตถา ปฏิภาติ มํ ภควา [อุทา. ๔๕; สํ. นิ. ๑.๒๑๗], อปิสฺสุ มํ ติสฺโส อุปมาโย ปฏิภํสุ [ม. นิ. ๑.๓๗๔], ปฏิภาตุ ตํ ภิกฺขุ ธมฺโม ภาสิตุํ [มหาว. ๒๕๘]ฯ ปฏิภนฺตุ ตํ จุนฺท โพชฺฌงฺคา [สํ. นิ. ๓.๗๙] – ‘นฺติ มม, ‘นฺติ ตว, สมฺปทานตฺเถ ทุติยาฯ นฺติ มมญาเณ, ‘นฺติ ตวญาเณติปิ วณฺเณสุํฯ น อุปายมนฺตเรน อตฺถสฺส สิทฺธิ, นตฺถิ สมาทานมนฺตเรน สิกฺขาปฏิลาโภ, เนวิธ น หุรํ น อุภยมนฺตเรน, เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส [ม. นิ. ๓.๓๙๓; อุทา. ๗๔]ฯ ตตฺถ อนฺตเรนาติ นิปาตปทเมตํ, วชฺเชตฺวาตฺยตฺโถฯ ปุพฺเพน คามํ, ทกฺขิเณน คามํ, อุตฺตเรน คามํ, คามสฺส ปุพฺเพติ อตฺโถฯ น อุปายมนฺตเรน อตฺถสฺส สิทฺธิ, นตฺถิ สมาทานมนฺตเรน สิกฺขาปฏิลาโภ, เนวิธ น หุรํ น อุภยมนฺตเรน, เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส [ม. นิ. ๓.๓๙๓; อุทา. ๗๔]ฯ ตตฺถ อนฺตเรนาติ นิปาตปทเมตํ, วชฺเชตฺวาตฺยตฺโถฯ
(ที่ประกอบกับภา ธาตุ มีปติเป็นบทหน้า) ก็เช่นกัน
ปฏิภาติ มํ ภควา [สํ.ส.๑๕/๓๖๒],
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหตุอย่างหนึ่ง ย่อมแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์

อปิสฺสุ มํ ติสฺโส อุปมาโย ปฏิภํสุ [ม.มู. ๑๒/๔๑๔],
อุปมา ๓ ข้อ (อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนักเราไม่เคยได้ยินมาในกาลก่อน) มาปรากฏแจ่มแจ้งแก่เรา.

ปฏิภาตุ ตํ ภิกฺขุ ธมฺโม ภาสิตุํ [วิ.มหา. ๕/๒๑]
ดูกรภิกษุ ธรรมจงแจ่มแจ้งแก่เธอเพื่ออันกล่าวเถิด

ปฏิภนฺตุ ตํ จุนฺท โพชฺฌงฺคา. (สํ.มหา. ๑๙/๔๒๖)
ดูกรจุนทะ โพชฌงค์จงแจ่มแจ้งแก่เธอ.

ในกรณีนี้ มํ ได้แก่ มมํ, ตํ ได้แก่ ตฺวํ เป็นบทลงทุติยาวิภัตติในอรรถสัมปทาน. อาจารย์ทั้งหลายอธิบายว่า มมํ ได้แก่ มม ญาเณ ในญาณของข้าพระองค์, ตํ ได้แก่ ตว ญาเณ ในญาณ ของท่าน ดังนี้บ้าง.

น อุปายมนฺตเรน อตฺถสฺส สิทฺธิ,
ความสำเร็จประโยชน์ ย่อมไม่มีโดยเว้นซึ่งอุบาย (วิธีอันชาญฉลาด)

นตฺถิ สมาทานมนฺตเรน สิกฺขาปฏิลาโภ,
การได้ข้อปฏิบัติ ย่อมไม่มี โดยเว้นซึ่งการสมาทาน.

เนวิธ น หุรํ น อุภยมนฺตเรน, เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส (ม.อุ.๑๔/๗๕๑)
ไม่มีผู้ดำรงอยู่ในโลกนี้ ไม่มีผู้ดำรงอยู่ในโลกหน้า ไม่มีผู้ดำรงอยู่ในโลก อันเว้นซึ่งโลกทั้งสอง (คือ โลกที่เที่ยวไป ที่พ้นจากโลกนี้และโลกหน้าไม่มี ม.อุ.ฎี. ๓๘๓) นี่แหละที่สุดแห่งทุกข์
ในตัวอย่างเหล่านี้ บทว่า อนฺตเรน เป็นบทนิบาต ความหมายคือ วชฺเชตฺวา เว้น.

ปุพฺเพน คามํ, ทกฺขิเณน คามํ, อุตฺตเรน คามํ, คามสฺส ปุพฺเพติ อตฺโถ
(ในที่ประกอบกับ ปุพฺพ ศัพท์) ตัวอย่างเช่น
ปุพฺเพน คามํ
โดยทิศตะวันออกของหมู่บ้าน

ทกฺขิเณน คามํ
โดยทิศใต้ของหมู่บ้าน,

อุตฺตเรน คามํ
โดยทิศเหนือของหมู่บ้าน,
ในตัวอย่างเหล่านี้ บทว่า ปุพฺเพน คามํ เป็นต้น ความหมายคือ คามสฺส ปุพฺเพ ด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน เป็นต้น.

อุปสคฺคปุพฺพานํ อกมฺมกธาตูนํ ปโยเค อาธาเร ทุติยา, ปถวิํ อธิเสสฺสติ, คามํ อธิติฏฺฐติ, รุกฺขํ อชฺฌาวสติ, มญฺจํ วา ปีฐํ วา อภินิสีเทยฺย วา อภินิปชฺเชยฺย วา [ปาจิ. ๑๓๐], คามํ อุปวสติ, คามํ อนุวสติ, ปพฺพตํ อธิวสติ, ฆรํ อาวสติ, อคารํ อชฺฌาวสติ [ที. นิ. ๑.๒๕๘; ปารา. ๕๑๙], อุโปสถํ อุปวสติ, กามาวจรํ อุปปชฺชติ, รูปาวจรํ อุปปชฺชติ, อรูปาวจรํ อุปปชฺชติ, สกฺกสฺส สหพฺยตํ อุปปชฺชติ, นิปนฺนํ วา อุปนิปชฺเชยฺย [ที. นิ. ๓.๒๘๒], นิสินฺนํ วา อุปนิสีเทยฺย [ที. นิ. ๓.๒๘๒], ฐิตํ วา อุปติฏฺเฐยฺย [ที. นิ. ๓.๒๘๒] อิจฺจาทิฯ
ลงทุติยาวิภัตติ ในที่ประกอบด้วยอกัมมกธาตุ ที่มีอุปสัคเป็นบทหน้า เช่น
ปถวิํ อธิเสสฺสติ,
นอนบนแผ่นดิน

คามํ อธิติฏฺฐติ,
ยืนอยู่ในบ้าน

รุกฺขํ อชฺฌาวสติ,
สิงอยู่ในต้นไม้

มญฺจํ วา ปีฐํ วา อภินิสีเทยฺย วา อภินิปชฺเชยฺย วา [วิ.มหา. ๒/๓๙๒],
พึงนั่ง หรือ พึงนอนบนเตียง หรือ บนตั่ง.

คามํ อุปวสติ,
เข้าไปอยู่ ในบ้าน.

คามํ อนุวสติ,
ย่อมอยู่สมควร ในบ้าน.

ปพฺพตํ อธิวสติ,
อยู่บนภูเขา

ฆรํ อาวสติ,
อยู่ครองเรือน

อคารํ อชฺฌาวสติ [ที.สี.๙/๑๔๓],
อยู่ครองเรือน

อุโปสถํ อุปวสติ,
อยู่จำอุโบสถ

กามาวจรํ อุปปชฺชติ,
ย่อมเกิดในกามาวจรภพ.

รูปาวจรํ อุปปชฺชติ,
ย่อมเกิดในรูปาวจรภพ.

อรูปาวจรํ อุปปชฺชติ,
ย่อมเกิดในอรูปาวจรภพ.

สกฺกสฺส สหพฺยตํ อุปปชฺชติ,
ย่อมเกิดในหมู่สหายของท้าวสักกะ

นิปนฺนํ วา อุปนิปชฺเชยฺย [ที.ปา.๑๑/๒๑๔],
พึงนอน ใกล้ภิกษุก็ดี (ภิกษุณีก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี) ซึ่งกำลัง นอนอยู่
นิสินฺนํ วา อุปนิสีเทยฺย [ที.ปา.๑๑/๒๑๔],
พึงนั่งใกล้ (ภิกษุณีก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี) ซึ่งกำลังนั่งอยู่

ฐิตํ วา อุปติฏฺเฐยฺย [ที.ปา.๑๑/๒๑๔],
พึงยืน ใกล้ภิกษุก็ดี (ภิกษุณีก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี) ซึ่งกำลังยืนอยู่

ตปฺปาน, จาเรปิ ทุติยา, นทิํ ปิวติ, สมุทฺทํ ปิวติ, คามํ จรติ, อรญฺญํ จรติ, นทิยํ, คาเมติ อตฺโถฯ
ลงทุตยาวิภัตติในอรรถการดื่มในที่นั้นและการเที่ยวไปในที่นั้น เช่น
นทิํ ปิวติ,
 ย่อมดื่ม ในแม่น้ำ

สมุทฺทํ ปิวติ,
ย่อมดื่มในมหาสมุทร

คามํ จรติ,
ย่อมเที่ยวไป ในบ้าน

อรญฺญํ จรติ,
ย่อมเที่ยวไป ในป่า.
บทว่า นทิํ คือ นทิยํ ในแม่น้ำ และ บทว่า คามํ คือ คาเม ในบ้าน.

กาล, ทิสาสุปิ อาธาเร เอว ทุติยา, ตํ ขณํ, ตํ มุหุตฺตํ, ตํ กาลํ, เอกมนฺตํ [ขุ. ปา. ๕.๑], เอกํ สมยํ [ขุ. ปา. ๕.๑; ที. นิ. ๑.๑], ปุพฺพณฺหสมยํ [ปารา. ๑๖], สายนฺหสมยํ, ตํ ทิวสํ, อิมํ รตฺติํ [ที. นิ. ๓.๒๘๕], ทุติยมฺปิ, ตติยมฺปิ, จตุตฺถํ วา ปญฺจมํ วา อปฺเปติ, ตโต ปุพฺพํ, ตโต ปรํ, ปุริมํ ทิสํ [ที. นิ. ๒.๓๓๖], ทกฺขิณํ ทิสํ [ที. นิ. ๒.๓๓๖], ปจฺฉิมํ ทิสํ [ที. นิ. ๒.๓๓๖], อุตฺตรํ ทิสํ [ที. นิ. ๒.๓๓๖], อิมา ทส ทิสาโย, กตมํ ทิสํ ติฏฺฐติ นาคราชา [ชา. ๑.๑๖.๑๐๔], อิมาสุ ทิสาสุ กตมาย ทิสาย ติฏฺฐติ ฉทฺทนฺตนาคราชาติ อตฺโถอิจฺจาทิฯ
ลงทุติยาวิภัตติ ในอรรถการและทิศท.แม้ด้วย เช่น
ตํ ขณํ
ในขณะนั้น

ตํ มุหุตฺตํ
ในครู่หนึ่ง

ตํ กาลํ,
ในกาลหนึ่ง

เอกมนฺตํ [ขุ. ปา. ๕.๑],
ในที่สมควรข้างหนึ่ง

เอกํ สมยํ [ขุ. ปา. ๕.๑; ที. นิ. ๑.๑],
ในสมัยหนึ่ง

ปุพฺพณฺหสมยํ [ปารา. ๑๖],
ในเวลาเช้า

สายนฺหสมยํ,
ในเวลาเย็น

ตํ ทิวสํ,
ในวันนั้น

อิมํ รตฺติํ [ที. นิ. ๓.๒๘๕],
ในคืนนี้

ทุติยมฺปิ,
แม้ในครั้งที่ ๒

ตติยมฺปิ,
แม้ในครั้งที่ ๓

จตุตฺถํ วา ปญฺจมํ วา อปฺเปติ,
ย่อมจบลง ในภพที่ ๔ หรือ ภพที่ ๕

ตโต ปุพฺพํ,
ในกาลก่อนแต่กาลนั้น

ตโต ปรํ,
ในภายหลังจากกาลนั้น

ปุริมํ ทิสํ [ที. นิ. ๒.๓๓๖],
ในทิศเบื้องบน

ทกฺขิณํ ทิสํ [ที. นิ. ๒.๓๓๖],
ในทิศใต้
ปจฺฉิมํ ทิสํ [ที. นิ. ๒.๓๓๖],
ในทิศตะวันตก

อุตฺตรํ ทิสํ [ที. นิ. ๒.๓๓๖],
ในทิศเหนือ

อิมา ทส ทิสาโย
ทิศท. ๑๐ เหล่านี้

กตมํ ทิสํ ติฏฺฐติ นาคราชา [ชา. ๑.๑๖.๑๐๔],
พระยาช้าง ยืนอยู่ในทิศไหน.
ในตัวอย่างนี้ ความว่า พระยาช้างฉัททันตะ ยืนอยู่ในทิสไหน ในบรรดาทิศเหล่านั้น.

๒๙๘. ลกฺขณิตฺถมฺภูตวิจฺฉาสฺวภินา [11]
ลงทุติยาวิภัตติ ท้ายนามศัพท์ อันประกอบด้วย อภิ ศัพท์ ซึ่งมีความหมายว่า ลักขณะ อิตถัมภูตะ และวิจฉา.

ลกฺขณาทีสุ อตฺเถสุ ปวตฺเตน อภินา ยุตฺตา ลิงฺคมฺหา ทุติยา โหติฯ
ลงทุติยาวิภัตติ ท้ายนามศัพท์ที่ประกอบด้วย อภิ ศัพท์ ที่เป็นไปในความหมายว่า ลักขณะ เป็นต้น.

ลกฺขียติ ลกฺขิตพฺพํ อเนนาติ ลกฺขณํฯ อยํ ปกาโร อิตฺถํ, อีทิโส วิเสโสติ อตฺโถฯ อิตฺถํ ภูโต ปตฺโตติ อิตฺถมฺภูโตฯ ภินฺเน อตฺเถ พฺยาปิตุํ อิจฺฉา วิจฺฉา
ลักขณะ คือ สิ่งอันเป็นเหตุให้บุคคลพึงกำหนดได้.
ประการ คือ คุณพิเศษอย่างนี้ ชื่อว่า อิตถัง, บุคคลผู้ถึงคุณพิเศษอย่างนี้ ชื่อว่า อิตถัมภูตะ
วิจฉา คือ ความปรารถนาเพื่อแผ่ไปในเนื้อความที่ต่างกัน.

ตตฺถ ลกฺขเณ
บรรดาลักขณะเป็นต้นเหล่านั้น ลงทุติยาวิภัตติ ในอรรถลักขณะ เช่น
รุกฺขมภิ วิชฺโชตเต วิชฺชุ, รุกฺขํ อภิ พฺยาเปตฺวา วิชฺโชตเตติ อตฺโถ, วิชฺโชภาเสน พฺยาปิโต รุกฺโข วิชฺชุปฺปาทสฺส ลกฺขณํ สญฺญาณํ โหติ.
สายฟ้า ย่อมส่องสว่าง แผ่ถึงต้นไม้. หมายความว่า สายฟ้า ส่องแสงแผ่ถึงต้นไม้ กล่าวคือ ต้นไม้ อันแสงฟ้า แผ่ถึงแล้ว เป็นเครื่องกำหนด เป็นเครื่องหมายของการเกิดขึ้นแห่งสายฟ้า.

อิตฺถมฺภูเต
สาธุ เทวทตฺโต มาตรมภิ, มาตรํ อภิ วิสิฏฺฐํ กตฺวา สาธูติ อตฺโถ, เทวทตฺโต สกฺกจฺจํ มาตุปฏฺฐาเน อคฺคปุริโสติ วุตฺตํ โหติฯ ตํ โข ปน ภวนฺตํ โคตมํ เอวํ กลฺยาโณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคโต [ปารา. ๑]ฯ เอตฺถ จอพฺภุคฺคโตติ อภิ วิสิฏฺฐํ กตฺวา อุคฺคโตติ อตฺโถ, อยํ กิตฺติสทฺโท โภโต โคตมสฺส สกลโลกคฺคภาวํ ปกาเสตฺวา อุคฺคโตติ วุตฺตํ โหติ, กิตฺติสทฺทสมฺพนฺเธ ปน ตสฺส โข ปน โภโต โคตมสฺสาติ อตฺโถฯ
ในอิตถัมภูตะ เช่น
สาธุ เทวทตฺโต มาตรมภิ.
เทวทัต เป็นผู้ประพฤติดี ซึ่งมารดา, หมายความว่า เทวทัตเป็นคนดี กระทำซึ่งมารดาให้พิเศษ กล่าวคือ เป็นบุรุษผู้เลิศ ในการบำรุงมารดาโดยเคารพ.

ตํ โข ปน ภวนฺตํ โคตมํ เอวํ กลฺยาโณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคโต [วิ.มหาวิ. ๑/๑]
กิตติศัพท์อันงามอย่างนี้ ฟุ้งไปแล้วกระทำซึ่งพระโคดมให้พิเศษ.
ในตัวอย่างนี้ บทว่า อพฺภุคฺคโต มีความหมายว่า ฟุ้งไป โดยทำให้พิเศษ. กล่าวคือ กิตติศัพท์นี้ ขจรไป โดยประกาศความเป็นผู้เลิศในโลกทั้งสิ้น ของท่านพระโคดม. อนึ่ง ในกรณีที่สัมพันธ์ กับ กิตฺติสทฺท ศัพท์ มีความหมายว่า ของพระโคดมนั้น[12].

วิจฺฉายํ
รุกฺขํ รุกฺขํ อภิ วิชฺโชตเต จนฺโท, พฺยาเปตฺวา วิชฺโชตเตตฺยตฺโถฯ
ในอรรถวิจฉา
พระจันทร์ ส่องสว่าง ซึ่งต้นไม้ทุกต้น, ความหมายคือ พระจันทร์ ส่องแสงแผ่ไปถึงต้นไม้ทุกต้น.

เอตฺถ จ ลกฺขณาทิอตฺถา อภิสทฺเทน โชตนียา ปิณฺฑตฺถา เอว, น วจนียตฺถา, พฺยาปนาทิอตฺถา เอว วจนียตฺถาติฯ
ในตัวอย่างเหล่านี้ อรรถมีลักขณะเป็นต้น อันอภิศัพท์ ส่อง (เปิดเผย) เป็นปิณฑัตถะ (อรรถที่รวมเป็นกลุ่ม ซึ่งยังแฝงไว้ไม่ถูกแยกด้วยคำอธิบาย), ไม่ใช่วจนียัตถะ (อรรถที่ถูกอภิเป็นต้นนั้นกล่าวอธิบาย), อรรถมีพฺยาปน (แผ่มาถึง) เป็นต้น เท่านั้น เป็นวจนียัตถะ.

๒๙๙. ปติปรีหิ ภาเค จ[13]
ลงทุติยาวิภัตติ ท้ายนามศัพท์ อันประกอบด้วย ปติ และ ปริ ศัพท์ ในอรรถลักขณะ อิตถัมภูตะ วิจฉา และในอรรถภาคะ ด้วย

ลกฺขณิตฺถมฺภูต, วิจฺฉาสุ จ ภาเค จ ปวตฺเตหิ ปติ, ปรีหิ ยุตฺตา ลิงฺคมฺหา ทุติยา โหติฯ
ลงทุติยาวิภัตติ ท้ายนามศัพท์ อันประกอบด้วย ปติ และ ปริ ศัพท์ ในอรรถลักขณะ อิตถัมภูตะ วิจฉา และในอรรถภาคะ ด้วย

ลกฺขเณ
ในอรรถลักขณะ เช่น

รุกฺขํ ปติ วิชฺโชตเต วิชฺชุ, รุกฺขํ ปริ วิชฺโชตเต วิชฺชุฯ ตตฺถปตีติ ปฏิจฺจ, ‘ปรีติ ผริตฺวาฯ

รุกฺขํ ปติ วิชฺโชตเต วิชฺชุ
เมื่ออาศัยต้นไม้ที่ถูกแสงฟ้าส่องถูก สายฟ้าย่อมส่องสว่าง.

รุกฺขํ ปริ วิชฺโชตเต วิชฺชุ
เมื่อต้นไม้ถูกแสงฟ้าแผ่มาถึง สายฟ้า ย่อมส่องสว่าง.
ในตัวอย่างนี้ บทว่า ปติ ได้แก่ ปฏิจฺจ อาศัย, บทว่า ปริ ได้แก่ ผริตฺวา แผ่ไป.

อิตฺถมฺภูเต
สาธุ เทวทตฺโต มาตรํ ปติ,
ในอรรถอิตถัมภูตะ เช่น
สาธุ เทวทตฺโต มาตรํ ปติ,
 เทวทัต เป็นคนดี อาศัยซึ่งมารดา,
สาธุ เทวทตฺโต มาตรํ ปริฯ
เทวทัต เป็นคนดี อาศัยซึ่งมารดา

วิจฺฉายํ
รุกฺขํ รุกฺขํ ปติ วิชฺโชตเต จนฺโท, รุกฺขํ รุกฺขํ ปริ วิชฺโชตเต จนฺโทฯ
ในอรรถวิจฉา
รุกฺขํ รุกฺขํ ปติ วิชฺโชตเต จนฺโท
พระจันทร์ ส่องสว่าง ซึ่งต้นไม้ทุกต้น

รุกฺขํ รุกฺขํ ปริ วิชฺโชตเต จนฺโท
พระจันทร์ ส่องสว่าง ซึ่งต้นไม้ทุกต้น

ภาเค
ตํ ทียตุ, ยเทตฺถ มํ ปติ สิยา, ตํ ทียตุ, ยเทตฺถ มํ ปริ สิยาฯ ตตฺถ ปตีติ ปฏิจฺจ, ‘ปรีติ ปริจฺจ, อุทฺทิสฺสาติ อตฺโถ, ‘ฐปิตนฺติ ปาฐเสโสฯ เอตฺถ มํ อุทฺทิสฺส ยํ วตฺถุ ฐปิตํ สิยา, ตํ เม ทียตูตฺยตฺโถ, เอเตสุ พหูสุ ภาเคสุ โย มม ภาโค, โส มยฺหํ ทียตูติ วุตฺตํ โหตีติฯ
ในอรรถภาคะ เช่น
ตํ ทียตุ, ยเทตฺถ มํ ปติ สิยา,
ส่วนอันตั้งอยู่ เจาะจง ซึ่งเรา ในที่นี้ อันใด พึงมี, ท่านจงให้ ซึ่งส่วนนั้นแก่เรา

ตํ ทียตุ, ยเทตฺถ มํ ปริ สิยาฯ
ส่วน อันตั้งอยู่ เจาะจง ซึ่งเรา ในที่นี้ อันใด พึงมี, ท่านจงให้ ซึ่งส่วนนั้นของเรา
ในตัวอย่างนั้น บทว่า ปติ ได้แก่ ปฏิจฺจ, บทว่า ปริ ได้แก่ ปริจฺจ ความหมายคือ อุทฺทิสฺส เจาะจง. เพิ่มปาฐเสสะว่า ฐปิตํ อันตั้งอยู่. ตัวอย่างนี้ จึงมีความหมายว่า วัตถุใดอันตั้งอยู่ โดยเจาะจง ซึ่งเรา พึงมี, ท่านจงให้ซึ่งส่วนนั้นแก่เรา กล่าวคือ บรรดาส่วนมากมายเหล่านี้ ส่วนของเราอันใด (พึงมี), ท่านจงให้ส่วนนั้น แก่เรา.

ลงทุติยาวิภัตติ ท้ายนามศัพท์ ที่ประกอบกับอนุ ศัพท์ ที่เป็นไปในอรรถลักขณะ, อิตถัมภูตะ, วิจฉา และส่วน.

ลกฺขณิตฺถมฺภูต, วิจฺฉาสุ จ ภาเค จ ปวตฺเตน อนุนา ยุตฺตา ลิงฺคมฺหา ทุติยา โหติฯ
ลงทุติยาวิภัตติ ท้ายนามศัพท์ ที่ประกอบกับอนุ ศัพท์ ที่เป็นไปในอรรถลักขณะ, อิตถัมภูตะ, วิจฉา และส่วน.

ลกฺขเณ

รุกฺขํ อนุ วิชฺโชตเต วิชฺชุ, รุกฺขํ อนุ ผริตฺวาติ อตฺโถฯ จตุราสีติสหสฺสานิ, สมฺพุทฺธมนุปพฺพชุํ [พุ. วํ. ๒๑.๕], ‘สมฺพุทฺธนฺติ โพธิสตฺตํ, อนุ คนฺตฺวา ปพฺพชิํสูติ อตฺโถ, วิปสฺสิโพธิสตฺเต ปพฺพชิเต สติ ตานิปิ จตุราสีติกุลปุตฺตสหสฺสานิ ปพฺพชิํสูติ วุตฺตํ โหติฯ สจฺจกฺริยมนุ วุฏฺฐิ ปาวสฺสิ, ‘อนูติ อนฺวาย, ปฏิจฺจาติ อตฺโถ, สจฺจกฺริยาย สติ สจฺจกฺริยเหตุ เทโว ปาวสฺสีติ วุตฺตํ โหติฯ ‘‘เหตุ จ ลกฺขณํ ภวตี’’ติ วุตฺติยํ[15] วุตฺตํฯ สจฺจกฺริยาย สเหวาติปิ ยุชฺชติฯ ‘‘สห สจฺเจ กเต มยฺห’’นฺติ [จริยา. ๓.๘๒] หิ วุตฺตํฯ
ในอรรถลักขณะ
รุกฺขํ อนุ วิชฺโชตเต วิชฺชุ, เมื่อแสงฟ้าส่องถึงต้นไม้แล้ว สายฟ้า ย่อมส่องสว่าง.
บทว่า รุกฺขํ อนุ เท่ากับ ผริตฺวา แผ่ไปถึงต้นไม้

จตุราสีติสหสฺสานิ, สมฺพุทฺธมนุปพฺพชุํ [พุ. วํ. ๒๑.๕],
เมื่อพระสัมพุทธเจ้า เสด็จออกบวชแล้ว ชนทั้งหลายแปดหมื่นสี่พัน ออกบวชแล้ว.
บทว่า สมฺพุทฺธํ พระสัมพุทธเจ้า ได้แก่ โพธิสตฺตํ พระโพธิสัตว์. มีความหมายว่า  ตามพระโพธิสัตว์. กล่าวคือ เมื่อพระวิปัสสีโพธิสัตว์ เป็นผู้เสด็จออกบวชแล้ว, กุลบุตรแปดหมื่นสี่พันแม้เหล่านั้น บวชแล้ว.

สจฺจกฺริยมนุ วุฏฺฐิ ปาวสฺสิ.
เพราะอาศัยการทำสัจจกิริยา ฝนตกแล้ว.
ในตัวอย่างนี้ บทว่า อนุ ได้แก่ อนฺวาย เท่ากับ ปฏิจฺจ อาศัย, กล่าวคือ เมื่อการทำสัจจกิริยามีอยู่, ฝนตกแล้ว เพราะเหตุแห่งการทำสัจจกิริยา. อนึ่ง ในโมคคัลลานวุตติท่านกล่าวว่า “เหตุ จ ลกฺขณํ ภวติ” (มีทั้งอรรถเหตุ และ ลักขณะ). (อนึ่ง) แม้ความหมายว่า พร้อมกับการทำสัจจกิริยาทีเดียว ดังนี้ก็ควร. เพราะมีพระบาฬีว่า สห สจฺเจ กเต มยฺหํ (ขุ.จริยา.๓๓/๓๑) (เมื่อการทำสัจจะ ของเรา มีอยู่ (ไฟป่าย่อมถอยไป) พร้อมด้วยการทำสัจจกิริยานั้น).

อิตฺถมฺภูเต
สาธุ เทวทตฺโต มาตรมนุฯ ตตฺถ อนูติ อนฺวาย ปฏิจฺจฯ
ในอรรถอิตถัมภูตะ เช่น
สาธุ เทวทตฺโต มาตรมนุฯ
เทวทัต เป็นคนดี อาศัยซึ่งมารดา.
ในตัวอย่างนี้ บทว่า อนุ ได้แก่ อนฺวาย คือ ปฏิจฺจ อาศัยแล้ว.

วิจฺฉายํ
รุกฺขํ รุกฺขํ อนุ วิชฺโชตเต จนฺโทฯ ตตฺถ อนูติ อนุ ผริตฺวาฯ
ในอรรถวิจฉา เช่น
รุกฺขํ รุกฺขํ อนุ วิชฺโชตเต จนฺโท.
พระจันทร์ ส่องแสงถึงต้นไม้ทุกต้น.
ในตัวอย่างนี้ บทว่า อนุ ความเท่าก้บ อนุ ผริตฺวา แผ่ไปถึงแล้ว.

ภาเค
ยเทตฺถ มํ อนุ สิยา, ตํ ทียตุฯ ตตฺถ อนูติ อนฺวายฯ เสสํ วุตฺตนยเมวฯ
ในอรรถภาคะ เช่น
ยเทตฺถ มํ อนุ สิยา, ตํ ทียตุฯ
ส่วนอันตั้งอยู่ อาศัย ซึ่งเรา ในที่นี้ อันใด พึงมี, ท่านจงให้ ซึ่งส่วนนั้นแก่เรา.
ในตัวอย่างนี้ บทว่า อนุ ได้แก่ อนฺวาย อาศัยแล้ว. บทที่เหลือ เหมือนที่ได้กล่าวไปแล้วนั่นแหละ.

๓๐๑. สหตฺเถ[16]
ลงทุติยาวิภัตติท้ายนามศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับ อนุ ในอรรถแห่งสหศัพท์.

สหตฺเถ อนุนา ยุตฺตา ลิงฺคมฺหา ทุติยา โหติฯ
ลงทุติยาวิภัตติท้ายนามศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับ อนุ ในอรรถแห่งสหศัพท์.

ปพฺพตํ อนุ ติฏฺฐติ[17] ฯ นทิํ อนฺวาวสิตา พาราณสีฯ อนูติ อนุคนฺตฺวา, นทิยา สห อาพทฺธา ติฏฺฐตีติ วุตฺตํ โหติฯ
ตัวอย่างเช่น
ปพฺพตํ อนุ ติฏฺฐติ
กองทัพตั้งอยู่ติดภูเขา

นทิํ อนฺวาวสิตา พาราณสี
เมืองพาราณสี ตั้งอยู่ติดแม่น้ำ.
ในตัวอย่างนี้ บทว่า อนุ ได้แก่ อนุคนฺตฺวา ไปตาม กล่าวคือ ตั้งเป็นแนวเดียวไปพร้อมกับแม่น้ำ.

๓๐๒. หีเน[18]
ลงทุติยาวิภัตติ ท้ายนามศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับอนุ ศัพท์ ที่เป็นไปในอรรถหีนะ (ต่ำกว่า)

หีเน ปวตฺเตน อนุนา ยุตฺตา ลิงฺคมฺหา ทุติยา โหติฯ
ลงทุติยาวิภัตติ ท้ายนามศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับอนุ ศัพท์ ที่เป็นไปในอรรถหีนะ (ต่ำกว่า)

อนุ สาริปุตฺตํ ปญฺญวนฺโต, อนุคตา ปจฺฉโต คตาติ อตฺโถ, สพฺเพ ปญฺญวนฺโต สาริปุตฺตโต หีนาติ วุตฺตํ โหติฯ
อนุ สาริปุตฺตํ ปญฺญวนฺโต
เป็นผู้มีปัญญาน้อยกว่าพระสารีบุตร,
บทว่า อนุ ความหมายคือ อนุคตา คือ ปจฺฉโต คตา ไปตามหลัง. กล่าวคือ ผู้มีปัญญาทั้งหลายทั้งปวง เป็นผู้ด้อยกว่าพระสารีบุตร.

๓๐๓. อุเปน[19]
ลงทุติยาวิภัตติท้ายนามศัพท์ อันเกี่ยวข้องกับอุปศัพท์ ที่มีความหมายว่า หีนะ.

หีเน อุเปน ยุตฺตา ลิงฺคมฺหา ทุติยา โหติฯ
ลงทุติยาวิภัตติท้ายนามศัพท์ อันเกี่ยวข้องกับอุปศัพท์ ที่มีความหมายว่า หีนะ.

อุป สาริปุตฺตํ ปญฺญวนฺโต, อุเปจฺจ คตา สมีเป คตาติ อตฺโถ, หีนาตฺเวว วุตฺตํ โหติฯ
อุป สาริปุตฺตํ ปญฺญวนฺโต
ชนผู้มีปัญญาทั้งหลายใกล้เคียงพระสารีบุตร,
บทว่า อุป ความหมายคือ อุเปจฺจ คตา คือ สมีเป คตา เข้าใกล้. กล่าวคือ ต่ำกว่า นั่นเอง.

เอตฺถ จ อภิอิจฺจาทโย กมฺมปฺปวจนียาติ สทฺทสตฺเถสุ วุตฺตาฯ ตตฺถ ปกาเรน วุจฺจตีติ ปวจนียํ, ปกาโร จ ลกฺขณิตฺถมฺภูต, วิจฺฉาทิโก ปิณฺฑตฺโถ วุจฺจติ, กมฺมนฺติ พฺยาปนาทิกฺริยา, กมฺมํ ปวจนียํ เยหิ เต กมฺมปฺปวจนียา
อนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในคัมภีร์ไวยากรณ์ทั้งหลาย ท่านเรียก อภิ เป็นต้นว่า กัมมัปปวจนียะ. ในบทว่า กมฺมปฺปวจนีย นั้น มีรูปวิเคราะห์ว่า
ปกาเรน วุจฺจตีติ ปวจนียํ
ย่อมถูกกล่าวโดยอย่างต่างๆ ชื่อว่า ปวจนีย. อนึ่ง คำว่า ปการ (อย่างต่างๆ) ได้แก่ ปิณฑัตถะ (เนื้อความที่ยังรวมอยู่) มีอรรถลกฺขณ (เครื่องกำหนด), อิตฺถมฺภูต (ผู้ถึงอาการพิเศษ) และวิจฺฉา (แผ่ไปทุกส่วน) เป็นต้น. บทว่า กมฺมํ ได้แก่ พฺยาปนาทิกฺริยา กิริยาที่แผ่ไปเป็นต้น.
กมฺมํ ปวจนียํ เยหิ เต กมฺมปฺปวจนียา
กิริยาที่แผ่ไปเป็นต้น อันศัพท์ท.เหล่าใด พึงกล่าว ศัพท์ท.เหล่านั้น ชื่อว่า กมฺมปฺปวจนียา ศัพท์ที่กล่าวถึงกิริยาที่แผ่ไปเป็นต้น.

ตตฺถ พฺยาปนาทิกฺริยาวิเสสวาจีหิ อุปสคฺเคหิ สมฺพนฺเธ สติ กมฺมตฺเถ ทุติยา โหติ, อสมฺพนฺเธ ปน อาธาร, สามฺยาทิอตฺเถสุ โหติ, ลกฺขณาทโย ปน สามตฺถิยสิทฺธา ปิณฺฑตฺถา เอวาติฯ
บรรดาบทเหล่านั้น ทุติยาวิภัตติ ย่อมลงในอรรถกรรม เมื่อมีการเกี่ยวข้องด้วยอุปสรรคอันป็นศัพท์ที่กล่าวถึงกิริยาที่พิเศษมีการแผ่ไปเป็นต้น, แต่ในที่ไม่มีความเกี่ยวข้องเช่นนั้น ย่อมลงในอรรถอาธาระ และสามีเป็นต้น, ส่วนอรรถลักขณะเป็นต้น ที่เป็นปิณฑัตถะเหมือนกัน ก็มีได้โดยอ้อม.

๓๐๔. กาลทฺธานมจฺจนฺตสํโยเค[20]
ลงทุติยาวิภัตติท้ายนามศัพท์ ในที่มีการประกอบ (กระทำ) อย่างต่อเนื่องแห่งกาลหรือระยะทาง.

กาลสฺส วา อทฺธุโน วา ทพฺพ, คุณ, กฺริยาหิ อจฺจนฺตํ นิรนฺตรํ สํโยเค กาลทฺธานวาจีหิ ลิงฺเคหิ ปรํ ทุติยา โหติฯ
ลงทุติยาวิภัตติท้ายนามศัพท์อันกล่าวอรรถกาลหรือระยะทาง ในที่มีการประกอบ (กระทำ) อย่างต่อเนื่องแห่งกาลหรือระยะทาง ด้วยทัพพะ, คุณ และกิริยา.

กาเล
สตฺตาหํ ควปานํ, มาสํ มํโสทนํ, สรทํ รมณียา นที, สพฺพกาลํ รมณียํ นนฺทนํ, มาสํ สชฺฌายติ, วสฺสสตํ ชีวติ, ตโย มาเส อภิธมฺมํ เทเสติฯ
ในกาล เช่น
สตฺตาหํ ควปานํ
เครื่องดื่มจากโค มีตลอดเจ็ดวัน

มาสํ มํโสทนํ
ข้าวคลุกเนื้อตลอดหนึ่งเดือน

สรทํ รมณียา นที
แม่น้ำน่ารื่นรมย์ตลอดฤดูสารทะ

สพฺพกาลํ รมณียํ นนฺทนํ
สวนนันทนวัน น่ารื่นรมย์ ตลอดกาลทั้งปวง

มาสํ สชฺฌายติ,
ย่อมสาธยายตลอดหนึ่งเดือน

วสฺสสตํ ชีวติ,
ย่อมเป็นอยู่ตลอดร้อยปี

ตโย มาเส อภิธมฺมํ เทเสติฯ
ทรงแสดงพระอภิธรรมตลอดสามเดือน.

อทฺธาเน
โยชนํ วนราชิ, โยชนํ ทีโฆ ปพฺพโต, โกสํ สชฺฌายติฯ
ในระยะทาง เช่น
โยชนํ วนราชิ
ราวป่ามีตลอดทางหนึ่งโยชน์

โยชนํ ทีโฆ ปพฺพโต,
ภูเขายาวตลอดหนึ่งโยชน์

โกสํ สชฺฌายติฯ
ย่อมสาธยายตลอดหนึ่งโกสะ.

อจฺจนฺตสํโยเคติ กิํ? มาเส มาเส ภุญฺชติ, โยชเน โยชเน วิหาโรฯ
บทว่า อจฺจนฺตสํโยเค มีประโยชน์อะไร? มีประโยชน์ในการไม่ลงทุติยาวิภัตติในที่ไม่มีการประกอบอย่างต่อเนื่อง เช่น
มาเส มาเส ภุญฺชติ,
รับประทานทุกเดือน

โยชเน โยชเน วิหาโรฯ
วิหารมีในทุกโยชน์

เอตฺถ จ กฺริยาวิเสสนมฺปิ กตฺตารา สาเธตพฺพตฺตา กมฺมคติกํ โหติ, ตสฺมา ตมฺปิ กมฺเม ทุติยาติ เอตฺถ กมฺมสทฺเทน คยฺหติฯ สุขํ เสติ, ทุกฺขํ เสติ, สีฆํ คจฺฉติ, ขิปฺปํ คจฺฉติ, ทนฺธํ คจฺฉติ, มุทุํ ปจติ, ครุํ เอสฺสติ, ลหุํ เอสฺสติ, สนฺนิธิการกํ ภุญฺชติ, สมฺปริวตฺตกํ โอตาเปติ, กายปฺปจาลกํ คจฺฉติ [ปาจิ. ๕๙๐], หตฺถปฺปจาลกํ คจฺฉติ, สีสปฺปจาลกํ คจฺฉติ [ปาจิ. ๕๙๔-๕๙๕], สุรุสุรุการกํ ภุญฺชติ [ปาจิ. ๖๒๗], อวคณฺฑการกํ ภุญฺชติ [ปาจิ. ๖๒๒], ปิณฺฑุกฺเขปกํ ภุญฺชติ [ปาจิ. ๖๒๐], หตฺถนิทฺธุนกํ ภุญฺชติ [ปาจิ. ๖๒๓], หตฺถนิลฺเลหกํ ภุญฺชติ [ปาจิ. ๖๒๘], จนฺทิมสูริยา สมํ ปริยายนฺติ, วิสมํ ปริยายนฺติ อิจฺจาทิฯ

เกี่ยวกับเรื่องนี้ แม้อรรถกิริยาวิเสสนะมีความเป็นไปดุจอรรถกรรม เพราะอันกัตตาพึงให้สำเร็จ. เพราะฉะนั้น แม้อรรถกิริยาวิเสสนะ ย่อมถูกถือเอาด้วย กมฺม ศัพท์ ในสูตรนี้ว่า “กมฺเม ทุติยา (ลงทุติยาวิภัตติในอรรถกรรม)” เช่น
สุขํ เสติ,
ย่อมอยู่สบาย.

ทุกฺขํ เสติ,
อยู่เป็นทุกข์

สีฆํ คจฺฉติ,
ไปอย่างเร็ว

ขิปฺปํ คจฺฉติ,
ไปอย่างเร็ว

ทนฺธํ คจฺฉติ,
ไปช้า

มุทุํ ปจติ,
หุงจนนุ่ม.

ครุํ เอสฺสติ,
จักถึงช้า

ลหุํ เอสฺสติ,
จักถึงเร็ว

สนฺนิธิการกํ ภุญฺชติ  (วิ.มหาวิ.๒/๕๑๒)
บริโภค โดยทำการสะสม

สมฺปริวตฺตกํ โอตาเปติ,
ผึ่ง ไว้ (ทำให้แห้ง) โดยพลิกไปรอบๆ

กายปฺปจาลกํ คจฺฉติ (๒/๘๑๔)
เดินโคลงกาย

หตฺถปฺปจาลกํ คจฺฉติ,
เดินส่ายมือ

สีสปฺปจาลกํ คจฺฉติ (๒/๘๑๘)
เดินโคลงศีรษะ

สุรุสุรุการกํ ภุญฺชติ (๒/๘๕๑)
ฉันเสียงดังซู๊ดๆ

อวคณฺฑการกํ ภุญฺชติ (๒/๘๔๖)
ฉันแก้มตุ่ย

ปิณฺฑุกฺเขปกํ ภุญฺชติ (๒/๘๔๔)
ฉันโยนคำข้าว

หตฺถนิทฺธุนกํ ภุญฺชติ (๒/๘๔๗)
ฉันสลัดมือ

หตฺถนิลฺเลหกํ ภุญฺชติ (๒/๘๕๒)
ฉันเลียมือ

จนฺทิมสูริยา สมํ ปริยายนฺติ
พระจันทร์และพระอาทิตย์ โคจรสม่ำเสมอ

วิสมํ ปริยายนฺติ
(พระจันทร์และพระอาทิตย์) โคจรไม่สม่ำเสมอ


ทุติยาวิภตฺติราสิ นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มอรรถของทุติยาวิภัตติ จบแล้ว



[1] [อุทา. ๒๓ (โถกํ วิสทิสํ)]
[2] หมายถึง ปธานกรรมเป็นกรรมแน่นอนอย่างตายตัว ไม่เปลี่ยนไปใช้อรรถของวิภัตติอื่นแทนได้. ส่วนอัปปธานกรรมเป็นกรรมอย่างหลวม ไม่แน่นอนตายตัว อาจเปลี่ยนไปใช้อรรถของวิภัตติอื่นแทนได้ ท่านจะอธิบายต่อไป
[3] [ก. ๓๐๐; รู. ๒๘๖; นี. ๕๘๗; จํ. ๒.๑.๔๔; ปา. ๑.๔.๕๒]
[4]  ในโมคคัลลานวุตติ อธิบายว่า ปโยเชฺช กตฺตริ ทุติยา โหติ (โมคฺ.สฺยาทิ ๒/๔) (ลงทุติยาวิภัตติ ในกัตตาอันเป็นปโยชชะ กล่าวคือ กัตตาที่ถูกใช้ให้ทำ). ซึงตรงกับการิตกรรมในคัมภีร์กัจจายนไวยากรณ์.
[5]  หมายความว่า ในที่ประกอบด้วยธาตุเหล่านี้เท่านั้น ต้องลงทุติยาวิภัตติท้ายนามศัพท์ในกรรม อันเป็นปโยชชกัตตา.
[6] วุตติของสูตร หราทีนํ ในโมคคัลลานะ (โมค.สฺยาทิ ๒/๕) ยกตัวอย่างรูปที่เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถนี้ได้บ้างว่า หาเรติ ภารํ เทวทตฺตํ เทวทตฺเตเนติ วา (บุรุษย้งเทวทัตให้นำไปซึ่งภาระ ใช้รูปว่า “เทวทตฺเตน” ดังนี้บ้าง). วุตติของสูตรที่ ๒๘๖ ในปทรูปสิทธิ กล่าวถึงด้วยข้อความว่า “นิจฺจสมฺปตฺเต วิกปฺปตฺโถยํ. เตน ตสฺส ปกฺเข ตติยา โหติ (เมื่อความแน่นอนมาถึงแล้ว วา ศัพท์บ่งความไม่แน่นอน. เพราะฉะนั้น ลงตติยาวิภัตติในส่วน ของ วาศัพท์)”. ส่วนคัมภีร์สัททนีติ สุตตมาลา สูตรที่ ๕๘๗ คติพุทฺธภุชปฐหรกรสยาทีนํ การิเต วา (เมื่อมีการิตปัจจัย ลงทุติยาวิภัตติในที่ประกอบกับธาตุที่มีอรรถการไป, การรู้, ภุชธาตุ, ปฐธาตุ หรธาตุ กรธาตุ และสิธาตุ ได้บ้าง). ยกตัวอย่างว่า ปุริโส ปุริสํ คามํ คมยติ, ปุริโส ปุริเสน วา. บุรุษยังบุรุษย่อมให้ไปสู่บ้าน, ใช้เป็นรูปว่า “ปุริเสน” บ้างก็ได้.
[7] ปัจจุบันเป็น ธิรตฺถุ ทุกฉบับ.
[8] ผิดกันเล็กน้อย ความเต็มมีดังนี้
ธิรตฺถุ ตํ ยสลาภํ, ธนลาภญฺจ พฺราหฺมณ;
ยา วุตฺติ วินิปาเตน, อธมฺมจรเณน วาติฯ
น่าติเตียนความประพฤติอัตตวินิบาตกรรม การประพฤติอธรรม การได้ยศ และได้ทรัพย์.
[9] ผิดกันเล็กน้อย  ความเต็มมีดังนี้ คือ .
ธิรตฺถุ สุพหู กาเม, ทุคฺคนฺเธ พหุกณฺฏเก;
เย อหํ ปฏิเสวนฺโต, นาลภิํ ตาทิสํ สุขํฯ
น่าติเตียนแท้ ซึ่งกามเป็นอันมาก มีกลิ่นเหม็น มีเสี้ยนหนามมาก เราส้องเสพอยู่ ไม่ได้รับความสุขเช่นนั้น.
[10] ความหมายคือ ธิรตฺถุ ครหิตํ มม ชีวิตํ, ชีวิเตน เม โก อตฺโถฯ ชีวิตของเราน่าติเตียนแท้  ประโยชน์อะไรด้วยชีวิตเรา. (ชา.อ.๒/๓๑๕)
[11] [ก. ๒๙๙; รู. ๒๘๘; นี. ๕๘๒, ๕๘๖; จํ. ๒.๑.๕๔; ปา. ๑.๔.๙๐, ๙๑; ๒.๓.๘]
[12] โคตมํ เป็นสัมพันธะ แปลว่า ของพระโคดม ส่วน กิตฺติสทฺโท เป็นสัมพันธี เกี่ยวกับสัมพันธะ แปลว่า กิตติศัพท์. ประโยคนี้ แปลว่า กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดม.
[13] ก. ๒๙๙; รู. ๒๘๘; นี. ๕๘๒, ๕๘๖; จํ. ๒.๑.๕๕; ปา. ๑.๔.๙๐
[14] ก. ๒๙๙; รู. ๒๘๘; นี. ๕๘๒, ๕๘๖; จํ. ๒.๑.๕๖; ปา. ๑.๔.๘๔, ๙๐
[15] โมค.วุตฺติวิวรณํ ๒ (สฺยาทิ)/๑๐.
[16] ก. ๒๙๙; รู. ๒๘๘; นี. ๕๘๒, ๕๘๖; จํ. ๒.๑.๕๗; ปา. ๑.๔.๘๕
[17] [ปพฺพตมนุเสนา ติฏฺฐติ (โมคฺคลฺลานวุตฺติยํ)]
[18] ก. ๒๙๙; รู. ๒๘๘; นี. ๕๘๒, ๕๘๖; จํ. ๒.๑.๕๘; ปา. ๑.๔.๘๖
[19] ก. ๒๙๙; รู. ๒๘๘; นี. ๕๘๒, ๕๘๖; จํ. ๒.๑.๕๙; ปา. ๑.๔.๘๗
[20] ก. ๒๙๘; รู. ๒๘๗; นี. ๕๘๑; ปา. ๒.๓.๕

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น