สพฺพาทิราสิ
กลุ่มสัพพนามมี
สพฺพ เป็นต้น
ต่อจากนามศัพท์จะแสดงสัพพนาม.
สพฺพ, กตร, กตม, อุภย, อิตร, อญฺญ, อญฺญตร, อญฺญตม, ปุพฺพ, ปร, อปร, ทกฺขิณ, อุตฺตร, อธร, ย, ต, ตฺย, เอต, อิม, อมุ, กิํ, เอก, อุภ, ทฺวิ,ติ, จตุ, ตุมฺห, อมฺห อิมานิ
อฏฺฐวีสติ สพฺพนามานิ นามฯ สพฺเพสํ ลิงฺคตฺถานํ สาธารณานิ นามานิ สพฺพนามานิฯ
สรรพนาม คือ
คำนามที่สาธารณะแก่ลิงค์และเนื้อความทั้งปวง[๑]
มี ๒๘ ศัพท์ คือ
สพฺพ ทั้งหมด
กตร อันไหน กตม อันไหน อุภย ทั้งสอง อิตร นอกจากนี้ อญฺญ
อื่น อญฺญตร อันใดอันหนึ่ง อญฺญตม อันใดอันหนึ่ง ปุพฺพ ก่อน ปร หลัง อปร
หลัง ทกฺขิณ ข้างขวา อุตฺตร เบื้องบน อธร เบื้องล่าง ย
ใด ต นั้น ตฺย นั้น เอต นี่,นี้ อิม นี้ อมุ โน้น กิํ อะไร
เอก หนึ่ง อุภ ทั้งสอง ทฺวิ
สอง ติ สาม จตุ สี่ ตุมฺห ท่าน อมฺห ข้าพเจ้า.
ตตฺถ สพฺพสทฺโท
สกลตฺโถฯ
กตร, กตมสทฺทา ปุจฺฉนตฺถาฯ
อุภยสทฺโท
ทฺวินฺนํ อวยวานํ สมุทายตฺโถฯ
อิตรสทฺโท
เอกโต วุตฺตสฺส ปฏิโยคีวจโนฯ
อญฺญสทฺโท
ยถาธิคตมฺหา อปรวจโนฯ
อญฺญตร, อญฺญตมสทฺทา อนิยมตฺถาฯ
ปุพฺพาทโย
สทฺทา ทิสา,
กาลาทิววตฺถานวจนาฯ
ยสทฺโท
อนิยมตฺถวจโนฯ
ต, ตฺยสทฺทา ปรมฺมุเข ทูรวจนาฯ
เอตสทฺโท
ปรมฺมุเข สมีปวจโน,
สมฺมุเข ทูรวจโนฯ อฏฺฐกถายํ ปน ‘‘เอเตติ
จกฺขุปถํ อติกฺกมิตฺวา ทูรคเต สนฺธายาหา’’ติ [ชา. อฏฺฐ ๔.๑๕.๑๐๔] วุตฺตํ, ตสฺมา ตสทฺทตฺเถปิ วตฺตติฯ
อิมสทฺโท
สมฺมุเข สมีปวจโนฯ
อมุสทฺโท
ทูรวจโนฯ สมีป,
ทูรตา จ ปริกปฺปพุทฺธิวเสนาปิ โหติฯ
กิํสทฺโท
ปุจฺฉนตฺโถฯ
เอกสทฺโท
สงฺขฺยตฺโถ อญฺญตฺโถ จฯ
ตตฺถ
ตฺยสทฺโทปิ พหุลํ ทิสฺสติฯ ขิฑฺฑา ปณิหิตา ตฺยาสุ, รติ ตฺยาสุ ปติฏฺฐิตา, พีชานิ ตฺยาสุ รุหนฺติ [ชา. ๒.๒๑.๑๒๐], กถํ
นุ วิสฺสเส ตฺยมฺหิ [ชา. ๑.๑๖.๒๘๘],
อถ วิสฺสสเต ตฺยมฺหิอิจฺจาทิ [ชา. ๒.๒๒.๑๔๗๔]ฯ
บรรดาสรรพนาม ๒๘
ศัพท์เหล่านั้น
สพฺพ ศัพท์
มีอรรถว่า ทั้งสิ้น
กตร และ กตม
ศัพท์ มีอรรถว่า ถาม
อุภย ศัพท์
มีอรรถว่า หมู่แห่งส่วนย่อย ๒ อย่าง
อญฺญตร และ อญฺญตม
ศัพท์ มีอรรถว่า แสดงสิ่งที่ยังไม่กำหนดแน่นอน
ปุพฺพ ศัพท์เป็นต้น
กล่าวความกำหนดซึ่ง กาลและทิศ เป็นต้น
ย ศัพท์
แสดงเนื้อความที่ยังไม่กำหนดแน่นอน
ต และ ตฺย
ศัพท์ แสดงสิ่งที่อยู่ไกล ในที่ลับหลัง
เอต ศัพท์
แสดงสิ่งที่อยู่ใกล้ ในที่ลับหลัง และ แสดงสิ่งที่อยู่ไกล ในที่ต่อหน้า. แต่ในคัมภีร์อรรถกถา
ท่านอธิบายว่า “เอเตติ จกฺขุปถํ อติกฺกมิตฺวา ทูรคเต สนฺธายาห”
พระโพธิสัตว์ กล่าวคำว่า เอเต (เหล่านั้น) ไว้โดยหมายถึงสิ่งที่ไปไกลโดยพ้นคลองจักษุ.
ฉะนั้น เอต ศัพท์ ยังเป็นไป แม้ในอรรถของ ต ศัพท์ ก็มี.
อิม ศัพท์
แสดงสิ่งที่อยู่ใกล้ในที่ต่อหน้า.
อมุ ศัพท์
แสดงสิ่งที่อยู่ไกล. ความไกลและใกล้ ย่อมมี แม้ด้วยการรู้โดยการคิด.
กิํ ศัพท์
มีความหมายว่า การถาม.
เอก ศัพท์
มีความหมายว่า จำนวนนับ และ มีความหมายว่า อื่น.
อุภ ศัพท์
เป็นไวพจน์ของ ทฺวิ ศัพท์ แปลว่า สอง.
บรรดาสรรพนามเหล่านั้น
แม้ตฺย ศัพท์ เห็นใช้มากเหมือนกัน ตัวอย่าง เช่น
ขิฑฺฑา
ปณิหิตา ตฺยาสุ, รติ ตฺยาสุ ปติฏฺฐิตา
พีชานิ
ตฺยาสุ รุหนฺติ ยทิทํ สตฺตา ปชายเร;
ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลายมีบุญมาก
เกิดแล้วในโลก ความคะนองอันบุคคลตั้งไว้แล้ว ในหญิงเหล่านั้น
ความยินดีอันบุคคลตั้งเฉพาะไว้แล้ว ในหญิงเหล่านั้น. พืชทั้งหลาย (มีพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวกและพระเจ้าจักรพรรดิ์เป็นต้น) ย่อมงอกขึ้น ในหญิงเหล่านั้น.
สัตว์เหล่านั้นพึงเจริญ
บุรุษไรมาเกี่ยวข้องชีวิตหญิงด้วยชีวิตของตนแล้ว พึงเบื่อหน่ายในหญิงเหล่านั้น.
กถํ นุ
วิสฺสเส ตฺยมฺหิ, เยนาสิ กลโห กโต;
นิจฺจยตฺเตน
ฐาตพฺพํ,
โส ทิสพฺภิ น รชฺชติฯ [ขุ.ชา.๑/๒๘๘],
จะพึงไว้วางใจในบุคคลที่ทำการทะเลาะกันมาแล้วอย่างไรได้เล่า
ผู้ใดดำรงอยู่ด้วยการเตรียมตัวเป็นนิตย์ ผู้นั้นย่อมไม่ยินดีกับศัตรูของตน
ยทาสฺส
สีลํ ปญฺญญฺจ,
โสเจยฺยํ จาธิคจฺฉติ;
อถ
วิสฺสสเต ตฺยมฺหิ, คุยฺหญฺจสฺส น รกฺขติฯ [ขุ.ชา.๒๘/๑๔๗๔
– ฉัฏฐ.]
เมื่อใดพระราชาทรงทราบความประพฤติปกติ
ปัญญา และความบริสุทธิ์ของราชเสวกนั้น เมื่อนั้น ย่อมทรงวางพระทัยในเสวกนั้นและไม่ทรงรักษาความลับต่อเสวกนั้น.
‘อิตฺถิยมตฺวา’ติ อาปจฺจโย, ฆสญฺโญ, สิโลโป,
สพฺพา อิตฺถี, สพฺพา, สพฺพาโย,
เห สพฺเพ, เห สพฺพา, เห
สพฺพาโย, สพฺพํ, สพฺพา, สพฺพาโย, สพฺพาย, สพฺพาหิ,
สพฺพาภิ, สพฺพายฯ
อิตถีลิงค์ – ปฐมาวิภัตติ
ลง อาปัจจัย
ท้าย สพฺพ ศัพท์ในอิตถีลิงค์ ด้วยสูตรว่า อิตฺถิยมตฺวา (ลง อา ในอิตถีลิงค์
ท้ายนามศัพท์อการันต์) ตั้งชื่อ อา ว่า ฆ, ลบ สิ สำเร็จรูปเป็น สพฺพา
สพฺพา อิตฺถี
หญิงทั้งหมด
สพฺพา สพฺพาโย
เห สพฺเพ
เห สพฺพา, เห
สพฺพาโย
ทุติยาวิภัตติ
สพฺพํ, สพฺพา
สพฺพาโย
ตติยาวิภัตติ
สพฺพาย
สพฺพาหิ, สพฺพาภิ, สพฺพาย
จตุตถีวิภัตติ
สฺสา เป็น
อาเทสของ ส ท้ายสรรพนามที่มีชื่อ ฆ และ ป ได้บ้าง
สฺสา
เป็น อาเทสของ ส ท้าย ฆ และ ป ได้บ้าง
ฆ, ปสญฺเญหิ สพฺพนาเมหิ สสฺส สฺสา โหติ วาฯ
สฺสา เป็น
อาเทสของ ส ท้ายสรรพนามที่มีชื่อ ฆ และ ป ได้บ้าง
เพราะสฺสํ,
สฺสา, สฺสายํ และติํ ฆ เป็น รัสสะ.[๖]
สฺสมาทีสุ
โฆ รสฺโส โหติฯ สพฺพสฺสาฯ
เพราะ สฺสํ
เป็นต้น ฆ เป็นรัสสะ.
สพฺพสฺสา.
สํ และ สานํ
เป็นอาเทสของ นํ ท้ายสพฺพาเป็นต้น.
สพฺพาทีหิ
นํวจนสฺส สํ,
สานํ โหนฺติฯ
สํ และ สานํ
เป็นอาเทสของ นํ ท้ายสพฺพาเป็นต้น.
สพฺพาสํ, สพฺพาสานํ, สพฺพาย, สพฺพาหิ,
สพฺพาภิ, สพฺพาย, สพฺพสฺสา,
สพฺพาสํ, สพฺพาสานํ,สพฺพาย,
สพฺพายํฯ
สพฺพสฺสา,
สพฺพสฺสํ
สพฺพาสํ,
สพฺพาสานํ
ปัญจมีวิภัตติ
สพฺพาย
สพฺพาหิ, สพฺพาภิ
ฉัฏฐีวิภัตติ
สพฺพาย, สพฺพสฺสา
สพฺพาสํ, สพฺพาสานํ
๒๐๖. สฺมิํโน สฺสํ [ก. ๑๗๙, ๖๒; รู. ๒๐๔, ๒๐๖; นี. ๓๖๕, ๒๐๙]ฯ
สฺสํ
เป็นอาเทสของสฺมิํ ท้าย สพฺพา เป็นต้น ได้บ้าง
สพฺพาทีหิ
สฺมิํโน สฺสํ โหติ วาฯ
สพฺพสฺสํ, สพฺพาสุฯ
สฺสํ เป็นอาเทสของสฺมิํ
ท้าย สพฺพา เป็นต้น ได้บ้าง. สพฺพสฺสํ สพฺพาสุ.
สัตตมีวิภัตติ
สพฺพาย, สพฺพายํ, สพฺพสฺสํ
สพฺพาสุ
สทฺทนีติยํ
นา, สฺมา, สฺมิํนมฺปิ
สฺสาเทโส วุตฺโต [นี. ๓๖๖]ฯ ‘‘ตสฺสา กุมาริกาย สทฺธิํ [ปารา. ๔๔๓], กสฺสาหํ
เกน หายามี’’ติ [ปารา. ๒๙๐] ปาฬิฯ อิธ ปน สุตฺตวิภตฺเตน
สาธิยติฯ สพฺพสฺสา กตํ, สพฺพสฺสา อเปติ, สพฺพสฺสา ฐิตํฯ
สพฺโพ
ปุริโสฯ
คัมภีร์สัททนีติ[๗]
ได้กล่าวถึง สฺสา เป็นอาเทส ทั้่งของ นา สฺมา และสฺมิํ มีพระบาฬีเป็นหลักฐาน
ดังนี้
ตสฺสา
กุมาริกาย สทฺธิํ [วิ.มหา.๑/๑๓๓]
กับด้วยนางกุมาริกานั้น,
กสฺสาหํ เกน
หายามิ
[วิ.มหา.๑/๔๑๖]
ดิฉัน ด้อยกว่าหญิงคนไหน
ด้วยคุณสมบัติอะไร
แต่ในที่นี้
การแปลงเป็น สฺสา ของนาวิภัตติเป็นต้น สำเร็จได้ด้วยการตัดแบ่งสูตร[๘].
สพฺพสฺสา กตํ
อันหญิงทั้งปวง กระทำแล้ว.
สพฺพสฺสา อเปติ
ย่อมหลีกออก จากหญิงทั้งปวง.
สพฺพสฺสา ฐิตํ
ดำรงอยู่ ในหญิงทั้งปวง
ปุงลิงค์ -
ปฐมาวิภัตติ
สพฺโพ ปุริโส
บุรุษทั้งปวง
สพฺเพ
๒๐๗. โยนเมฏ [ก. ๑๖๔; รู. ๒๐๐; นี. ๓๔๗]ฯ
เอ เป็น อาเทส
ของโยทั้งหลาย ท้ายสรรพนาม.
อการนฺเตหิ
สพฺพาทีหิ โยนํ เอฏ โหติฯ
สพฺเพ
ปุริสาฯ
เอ เป็นอาเทสของ
โยทั้งหลาย ท้ายสรรพนามทั้ังหลายอันเป็น อการันต์ มี สพฺพ เป็นต้น.
สพฺเพ ปุริสา
บุรุษท. ทั้งปวง.
อโตตฺเวว? สพฺพา อิตฺถิโย, อมู ปุริสาฯ
บทว่า อโต
มีไว้ เพื่ออะไร? เพื่อการไม่ใช้ เอ เป็น อาเทสของโย ท้ายสรรพนามที่ไม่ใช่อการันต์
สพฺพา
อิตฺถิโย
หญิงท.ทั้งปวง
อมู
ปุริสา
บุรุษท. เหล่าโน้น.
เห สพฺพ, เห สพฺพา, เห สพฺเพ, สพฺพํ,
สพฺเพ, สพฺเพนฯ
อาลปนะ
เห สพฺพ, เห สพฺพา
เห สพฺเพ
ทุติยาวิภัตติ
สพฺพํ
สพฺเพ
ตติยาวิภัตติ
สพฺเพน
ในเพราะ นํ สุ
และหิวิภัตติ เอ เป็นอาเทสของ อ ที่สุดแห่งสรรพนามทั้งหลายมี สพฺพ เป็นต้น.
นํมฺหิ
จ สุ,
หิสุ จ สพฺพาทีนํ อสฺส เอ โหติฯ
สพฺเพหิ, สพฺเพภิ, สพฺพสฺส, สพฺเพสํ,
สพฺเพสานํ, สพฺพสฺมา, สพฺพมฺหา,
สพฺเพหิ, สพฺเพภิ, สพฺพสฺส,
สพฺเพสํ, สพฺเพสานํ, สพฺพสฺมิํ,
สพฺพมฺหิ, สพฺเพสุฯ
เอ เป็นอาเทสของ
อ อันเป็นที่สุดของสรรพนามมี สพฺพ ศัพท์เป็นต้น ในเพราะนํ สุ และ หิวิภัตติ.
สพฺเพหิ,
สพฺเพภิ
จตุตถีวิภัตติ
สพฺพสฺส
สพฺเพสํ, สพฺเพสานํ
ปัญจมีวิภัตติ
สพฺพสฺมา, สพฺพมฺหา
สพฺเพหิ, สพฺเพภิ
ฉัฏฐีวิภัตติ
สพฺพสฺส
สพฺเพสํ, สพฺเพสานํ
สัตตมีวิภัตติ
สพฺพสฺมิํ, สพฺพมฺหิ
สพฺเพสุ
จูฬนิรุตฺติยํ
ปน สฺมา,
สฺมิํนํ อา, เอตฺตํ วุตฺตํ, สพฺพา อเปติ, สพฺเพ ปติฏฺฐิตนฺติฯ ‘‘สพฺพา จ สวติ, สพฺพถา สวตี’’ติ
จ ‘‘ตฺยาหํ มนฺเต ปรตฺถทฺโธ’’ติ [ชา. ๒.๒๒.๘๓๕] จ
ปาฬีฯ ตตฺถ ‘ตฺยาห’นฺติ เต+อหํ,
ตสฺมิํ มนฺเตติ อตฺโถฯ
สพฺพนาเมหิ
จตุตฺถิยา อายาเทโสปิ ทิสฺสติ, ‘‘ยาย โน อนุกมฺปาย,
อมฺเห ปพฺพาชยี มุนิฯ โส โน อตฺโถ อนุปฺปตฺโต’’ติ [เถรคา. ๑๗๖] จ ‘‘ยาเยว โข ปนตฺถาย อาคจฺเฉยฺยาถ, ตเมว อตฺถํ สาธุกํ มนสิ กเรยฺยาถา’’ติ จ [ที. นิ. ๑.๒๖๓] ‘‘เนว
มยฺหํ อยํ นาโค, อลํ ทุกฺขาย กายจี’’ติ
[ชา. ๒.๒๒.๘๗๐] จ ปาฬีฯ
อนึ่ง
ในคัมภีร์จูฬนิรุตติ[๙]
ท่านกล่าวถึงความเป็น อา และ เอ ของ สฺมา และ สฺมิํ วิภัตติไว้.
สพฺพา อเปติ
ย่อมหลีกไปจากบุรุษทั้งปวง
สพฺเพ
ปติฏฺฐิตํ ดำรงอยู่แล้วในบุรุษทั้งปวง.
กรณีนี้มีพระบาฬีดังนี้เป็นหลักฐาน
‘สพฺพา จ สวติ, สพฺพถา สวติ
ตฺยาหํ มนฺเต
ปรตฺถทฺโธ
[ขุ.ชา. ๒๘/๗๑๗]
เราทรงไว้ซึ่งผลอันวิเศษในมนต์นั้น
ในพระบาฬีอุทาหรณ์นั้น
บทว่า ตฺยาหํ ตัดบทเป็น เต อหํ. ความหมายคือ ตสฺมิํ มนฺเต ในมนต์นั้น.
อนึ่ง ยังพบอาเทสคืออาย
ของจตุตถีวิภัตติ ท้ายสรรพนามทั้งหลาย เช่นพระบาฬีนี้ ยาย โน อนุกมฺปาย อมฺเห ปพฺพาชยี มุนิ
โส โน อตฺโถ อนุปฺปตฺโต สพฺพสํโยชนกฺขโยติฯ [ขุ.เถรคา.
๒๖/๒๘๕]
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นมุนี
มีความเอ็นดูเราทรงให้บรรพชาเพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้นเราก็ได้บรรลุแล้ว
ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวงเราก็ได้บรรลุแล้ว.
ยาเยว โข
ปนตฺถาย อาคจฺเฉยฺยาถ, ตเมว อตฺถํ สาธุกํ มนสิ กเรยฺยาถ. [ที.สี. ๙/๑๔๕]
ก็เธอมีธุระจึงได้มาที่นี้
ก็พวกเธอมาเพื่อประโยชน์อันใด แล พึงใส่ใจถึงประโยชน์นั้นแหละไว้ให้ดี.
เนว มยฺหํ อยํ นาโค อลํ ทุกฺขาย กาย จิ
ยาวตตฺถิ อหิคฺคาโห มยา
ภิยฺโย น วิชฺชติ ฯ [ชา. ๒๘/๗๓๘]
นาคตัวนี้
ไม่สามารถจะทำความทุกข์อะไรๆ แก่เราเลย หมองูมีอยู่เท่าใด
ก็ไม่ดียิ่งไปกว่าเรา.
นปุงสกลิงค์ - ปฐมาวิภัตติ
สพฺพํ
จิตฺตํฯ
สพฺพํ จิตฺตํ
จิตทั้งปวง.
ไม่แปลง อา ของ
นิ ท้ายสพฺพ ศัพท์เป็นต้น
สพฺพาทีหิ
นิสฺส ฏา น โหติฯ
สพฺพานิ, สพฺพํ, สพฺพานิฯ เสสํ ปุลฺลิงฺคสมํฯ
ไม่แปลง อา ของ
นิ ท้ายสรรพนามทั้งหลายมี สพฺพ ศัพท์เป็นต้น.
สพฺพานิ
ทุติยาวิภัตติ
สพฺพํ
สพฺพานิ
ตติยาวิภัตติ
จนถึง สัตตมีวิภัตติที่เหลือ เหมือนในปุงลิงค์
พหุลาธิการา
กฺวจิ นิสฺส ฏา,
เฏปิ โหนฺติฯ ปาฬิยํ ปน นิสฺส ฏา,เฏปิ
ทิสฺสนฺติ ‘‘ยา
ปุพฺเพ โพธิสตฺตานํ, ปลฺลงฺกวรมาภุเชฯ นิมิตฺตานิ ปทิสฺสนฺติ,
ตานิ อชฺช ปทิสฺสเร [พุ. วํ. ๒.๘๒]ฯ กิํ มาณวสฺส รตนานิ อตฺถิ,
เย ตํ ชินนฺโต หเร อกฺขธุตฺโต’’ติ [ชา. ๒.๒๒.๑๓๙๐]ฯ เอวํ
กตร, กตมสทฺทาปิ เญยฺยาฯ
เพราะคำว่า “พหุลํ
วิธิการทางไวยากรณ์มีโดยส่วนมาก” ตามมากำกับความทุกสูตร ยังมีการแปลงอา และ เอ ของ
นิ ในบางแห่ง. ด้วยว่า ในพระบาฬี ต่อไปนี้ มีอา และ เอ ที่เป็นตัวเปลี่ยนแปลงของ
นิ
ยา ปุพฺเพ
โพธิสตฺตานํ,
ปลฺลงฺกวรมาภุเชฯ
นิมิตฺตานิ
ปทิสฺสนฺติ,
ตานิ อชฺช
ปทิสฺสเร [ขุ.พุทฺธ. ๓๓/๒]ฯ
นิมิตทั้งหลายเหล่าใด
ที่เคยปรากฏในขณะที่พระโพธิสัตว์ในปางก่อนนั่งเข้าสมาธิอันประเสริฐนิมิตเหล่านั้นปรากฏในวันนี้
กิํ
มาณวสฺส รตนานิ อตฺถิ, เย
ตํ ชินนฺโต หเร อกฺขธุตฺโต
พหูนิ รญฺโญ
รตนานิ อตฺถิ เต ตฺวํ ทลิทฺโท กถมวฺหเยสิ ฯ
[ขุ.ชา.
๒๘/๙๑๘]
พระราชาผู้ทรงชำนาญการเล่นสะกา เมื่อชนะท่าน
จะพึงนำเอาแก้วทั้งหลายเหล่าใดไป แก้วเหล่านั้นของมาณพมีอยู่หรือ
แก้วของพระราชามีอยู่เป็นจำนวนมาก
ท่านเป็นคนเข็ญใจจะมาพนันกะพระราชาเหล่านั้นได้อย่างไร.
แม้ กตร และ
กตม ศัพท์ ควรทราบว่า ก็มีวิธีการอย่างนี้เช่นกัน.
อุภย ศัพท์
อุภยสทฺเท
อิตฺถิ,
ปุเมสุ อุภยา, อุภโยติ ปฐเมกวจนรูปํ อปฺปสิทฺธํฯ
ในอุภยศัพท์
ทั้งในอิตถีลิงค์ และ ปุงลิงค์ ไม่มีรูปปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ ดังนี้ว่า อุภยา และ
อุภโย.
มหาวุตฺตินา
โยนํ โฏ วา โหติ,
อุภโย อิตฺถิโย, อุภยํ อิตฺถิํ, อุภโย อิตฺถิโย, อุภยาย, อุภยาหิ,
อุภยาภิฯ เสสํ สพฺพสมํฯ
อิตถีลิงค์ ปฐมาวิภัตติ
ด้วยมหาสูตร โอ
เป็น อาเทสของโย ได้บ้าง
อุภโย อิตฺถิโย
หญิงท.ทั้งสอง
ทุติยาวิภัตติ
อุภยํ อิตฺถิํ ซึ่งหญิงทั้งสอง
อุภโย อิตฺถิโย ซึ่งหญิงท.ทั้งสอง
ตติยาวิภัตติ
อุภยาย
อุภาหิ, อุภาภิ
วิภัตติอื่นที่เหลือเหมือน
สพฺพ ศัพท์.
ปุงลิงค์
อุภโย
ปุริสา,
อุภเย ปุริสา, อุภยํ, อุภโย,
อุภเย, อุภเยน, อุภเยหิ,
อุภเยภิ, อุภยสฺส, อุภเยสํ,
อุภเยสานํฯ สพฺพสมํฯ
ปฐมาวิภัตติ
อุภโย ปุริสา, อุภเย ปุริสา
ทุติยาวิภัตติ
อุภยํ
อุภโย, อุภเย
ตติยาวิภัตติ
อุภเยน
อุภเยหิ, อุภเยภิ
จตุตถีวิภัตติ
อุภยสฺส
อุภเยสํ อุภเยสานํ
วิภัตติที่เหลือเหมือน
สพฺพ ศัพท์
นปุงสกลิงค์
อุภยํ
กุลํ ติฏฺฐติ,
อุภยานิ, อุภยํ, อุภยานิฯ
สพฺพสมํฯ
ปฐมาวิภัตติ
อุภยํ กุลํ
ติฏฺฐติ ตระกูลทั้งสอง ย่อมดำรงอยู่
อุภยานิ
ทุติยาวิภัตติ
อุภยํ
อุภยานิ
วิภัตติที่เหลือเหมือน
สพฺพ ศัพท์
‘‘เอกรตฺเตน อุภโย, ตุวญฺจ ธนุเสข จ [ชา. ๑.๑๖.๒๓๙], โตเทยฺย,
กปฺปา อุภโย, อิเธกรตฺติํ อุภโย วเสม, อุภเย เทวมนุสฺสา, อุภเย วสามเส’’ติ ปาฬิฯ
มีพระบาฬีที่แสดงว่า
โอ และ เอ เป็นอาเทสของ โย ท้าย อุภย ในปุงลิงค์ ได้ เช่น
เอกรตฺเตน
อุภโย,
ตุวญฺจ ธนุเสข จ [ขุ.ชา. ๒๗/๒๓๘๐]
มหาบพิตรและธนุเสขกุมาร
ทั้ง ๒ กำเนิดราตรีเดียวกัน
พราหมณ์ทั้งสองคน
คือ โตเทยยะ และ กัปปะ.
อิเธกรตฺติํ
อุภโย วเสม,
[ขุ.ชา. ๒๗/๓๗]
ขอให้เราทั้งสองคนได้อยู่ร่วมกันสักคืนหนึ่งนี้
เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก
ถ้าเธอพึงให้โอกาส
เราทั้งสองก็จะได้อยู่ร่วมกัน.
อิตร ศัพท์
สระที่สุดของสรรพนามเหล่านี้
คือ อิตรา เอกา อญฺญา เอตา และ อิมา เป็น อิ ในเพราะ สฺสํ สฺสา และ สฺสาย
(อันเป็นวิภัตติอาเทส) [๑๕]
อิตริสฺสา
กตํ,
อิตริสฺสา เทติ, อิตริสฺสา อเปติ, อิตริสฺสา ธนํ, อิตริสฺสา, อิตริสฺสํ
ฐิตํฯ เสสํ สพฺพสมํฯ
ในเพราะวิภัตติอาเทสทั้งหลายมี
สฺสํ เป็นต้น สระที่สุดของ อิตรา เอกา เอตา และอิมา ศัพท์เป็น อิ.
ตติยาวิภัตติ
อิตริสฺสา กตํ[๑๖]
วัตถุ
อันหญิงนอกนี้กระทำแล้ว
จตุตถีวิภัตติ
อิตริสฺสา เทติ
ย่อมให้
แก่หญิงนอกนี้
ปัญจมีวิภัตติ
อิตริสฺสา อเปติ
ย่อมหลีกไป
จากหญิงนอกนี้
ฉัฏฐีวิภัตติ
อิตริสฺสา ธนํ
ทรัพย์ของหญิงนอกนี้.
สัตตมีวิภัตติ
อิตริสฺสา๑๖, อิตริสฺสํ ฐิตํฯ
ดำรงอยู่แล้วในหญิงนอกนี้.
วิภัตติที่เหลือ
ซึ่งไม่ได้แสดงไว้ เหมือน สพฺพ ศัพท์.
อญฺญา ศัพท์
อญฺญา, อญฺญา, อญฺญาโย, อญฺญํ,
อญฺญา, อญฺญาโย, อญฺญาย,
อญฺญิสฺสา, อญฺญาหิ, อญฺญาภิ,
อญฺญาย, อญฺญิสฺสา, อญฺญาสํ,
อญฺญาสานํ, อญฺญิสฺสา, อญฺญาหิ,
อญฺญาภิ, อญฺญาย, อญฺญิสฺสา,
อญฺญาสํ, อญฺญาสานํ, อญฺญาย,
อญฺญิสฺสา, อญฺญายํ, อญฺญิสฺสํ,
อญฺญาสุฯ เสสลิงฺเคสุ สพฺพสมํฯ
อิตถีลิงค์ ปฐมาวิภัตติ
อญฺญา, อญฺญา, อญฺญาโย,
ทุติยาวิภัตติ
อญฺญํ
อญฺญา, อญฺญาโย
ตติยาวิภัตติ
อญฺญาย, อญฺญิสฺสา
อญฺญาหิ, อญฺญาภิ
จตุตถีวิภัตติ
อญฺญาย, อญฺญิสฺสา
อญฺญาสํ, อญฺญาสานํ
ปัญจมีวิภัตติ
อญฺญิสฺสา
อญฺญาหิ, อญฺญาภิ
ฉัฏฐีวิภัตติ
อญฺญาย, อญฺญิสฺสา
อญฺญาสํ, อญฺญาสานํ
สัตตมีวิภัตติ
อญฺญาย, อญฺญิสฺสา, อญฺญายํ, อญฺญิสฺสํ
อญฺญาสุ
ในลิงค์ที่เหลือ
(คือ ปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์) เหมือน สพฺพ ศัพท์.
อญฺญตร - อญฺญตม
ศัพท์
‘‘อญฺญตริสฺสา อิตฺถิยา ปฏิพทฺธจิตฺโต โหตี’’ติ [ปารา. ๗๓] ปาฬิ,
อิธ สุตฺตวิภตฺเตน สิชฺฌติฯ เสสํ อญฺญตร, อญฺญตเมสุ
สพฺพสมํฯ
มีพระบาฬีแห่งหนึ่ง
คือ
อญฺญตริสฺสา
อิตฺถิยา ปฏิพทฺธจิตฺโต โหติ [วิ.มหา.๑/๖๓]
ก็โดยสมัยนั้นแล
ภิกษุรูปหนึ่งมีจิตปฏิพัทธ์ในสตรีผู้หนึ่ง
ในตัวอย่างนี้ แสดงว่า
การแปลงสระที่สุดของ อญฺญตรา ศัพท์ เป็น อิ สำเร็จได้ด้วยการตัดแบ่งสูตร[๑๗].
ส่วนวิภัตติที่เหลือใน อญฺญตร และ อญฺญตม ศัพท์เหมือน สพฺพ ศัพท์.
อิติ
สพฺพาทิอฏฺฐกราสิฯ
กลุ่มสรรพนาม ๘
ตัวมี สพฺพ เป็นต้น เป็นอย่างนี้.[๑๘]
ปุพฺพ ศัพท์
ปุพฺพา
อิตฺถี,
ปุพฺพา, ปุพฺพาโย, ปุพฺพํ,
ปุพฺพา, ปุพฺพาโย, ปุพฺพาย,
ปุพฺพสฺสา, ปุพฺพาหิ, ปุพฺพาภิ,
ปุพฺพาย, ปุพฺพสฺสา, ปุพฺพาสํ,
ปุพฺพาสานํ, สตฺตมิยํ ปุพฺพาย, ปุพฺพสฺสา, ปุพฺพายํ, ปุพฺพสฺสํ,
ปุพฺพาสุฯ
อิตถีลิงค์ ปฐมาวิภัตติ
ปุพฺพา อิตฺถี
ปุพฺพา, ปุพฺพาโย
ทุติยาวิภัตติ
ปุพฺพํ, ปุพฺพา, ปุพฺพาโย
ตติยาวิภัตติ
ปุพฺพาย, ปุพฺพสฺสา
ปุพฺพาหิ, ปุพฺพาภิ
จตุตถีวิภัตติ
ปุพฺพาย, ปุพฺพสฺสา
ปุพฺพาสํ, ปุพฺพาสานํ
(ปัญจมีวิภัตติเหมือนตติยาวิภัตติและ
ฉัฏฐีวิภัตติเหมือนจตุตถีวิภัตติ)
สัตตมีวิภัตติ
ปุพฺพาย, ปุพฺพสฺสา, ปุพฺพายํ, ปุพฺพสฺสํ
ปุพฺพาสุ.
ปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ
(ปุพฺโพ)
๒๑๑. ปุพฺพาทีหิ ฉหิ [ก. ๑๖๔; รู. ๒๐๐; นี. ๓๔๗;
จํ. ๒.๑.๑๕; ปา. ๑.๑.๓๔]ฯ
หลังจากสรรพนาม
๖ ตัวมี ปุพฺพ ศัพท์เป็นต้น เอ เป็นอาเทสของ โย ได้บ้าง.
เตหิ
ฉหิ โยนํ เอฏ โหติ วาฯ
ปุพฺเพ, ปุพฺพา, ปเร, ปรา, อปเร, อปรา, ทกฺขิเณ, ทกฺขิณา, อุตฺตเร, อุตฺตรา,
อธเร, อธราฯ
เอ เป็น
อาเทสของโยที่อยู่หลังจากสรรพนาม ๖ ตัวเหล่านั้น (คือ ปุพฺพ, ปร, อปร, ทกฺขิณ,
อุตฺตร และ อธร) ได้บ้าง.
ปุพฺเพ, ปุพฺพา
ปเร, ปรา
อปเร, อปรา
ทกฺขิเณ, ทกฺขิณา
อุตฺตเร, อุตฺตรา
อธเร, อธรา.
ตตฺถ ‘ปุพฺเพ
ปุพฺพา’ติ ปุรตฺถิมทิสาภาคา, ตตฺรฏฺฐกา
วา อตฺถา, ปุราตนา วา สตฺตา สงฺขารา จฯ ‘‘ปุพฺพพุทฺธา, ปุพฺพเทวา, ปุพฺพาจริยา’’ติอาทีสุ ‘‘ปุพฺเพ พุทฺธา ปุพฺพพุทฺธา,
ปุพฺพา พุทฺธา วา ปุพฺพพุทฺธา’’ติอาทินา อตฺโถ
เวทิตพฺโพฯ เอวํ เสเสสุฯ
ในสรรพนาม ๖
ศัพท์นั้น
ปุพฺเพ, ปุพฺพา[๑๙]
หมายถึง (๑) ทิศตะวันออก (๒) เนื้อความอันบ่งถึงสิ่งที่ตั้งอยู่ในที่นั้น (เป็นตำแหน่งที่อยู่),
หรือ (๓) สัตว์ และสังขารอันมีอยู่ในกาลก่อน.
ในตัวอย่างเป็นต้นว่า
ปุพฺพพุทฺธา, ปุพฺพเทวา ปุพฺพาจริยา ควรทราบความหมายดังนี้
ปุพฺเพ
พุทฺธา ปุพฺพพุทฺธา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อน
ชื่อว่า ปุพฺพพุทฺธา.
อีกนัยหนึ่ง
ปุพฺพา
พุทฺธา ปุพฺพพุทฺธา
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ผู้ทรงดำรงอยู่ในกาลก่อน ชื่อว่า ปุพฺพพุทฺธา ดังนี้เป็นต้น.
ศัพท์ที่เหลือ
(ปุพฺพเทวา และ ปุพฺพาจริยา เป็นต้น) มีนัยนี้.
ปุพฺเพสํ, ปุพฺเพสานํ, ปเรสํ, ปเรสานํ,
อปเรสํ, อปเรสานํ, ทกฺขิเณสํ,
ทกฺขิเณสานํ, อุตฺตเรสํ, อุตฺตเรสานํ, อธเรสํ, อธเรสานํฯ
เสสํ เญยฺยํฯ
จตุตถีวิภัตติ
ปุพฺเพสํ, ปุพฺเพสานํ,
ปเรสํ, ปเรสานํ,
อปเรสํ, อปเรสานํ,
ทกฺขิเณสํ, ทกฺขิเณสานํ,
อุตฺตเรสํ, อุตฺตเรสานํ,
อธเรสํ, อธเรสานํฯ
รูปวิภัตติที่เหลือ
พึงทราบ (โดยนัยนี้)
ปุพฺพาทีหีติ
กิํ?
สพฺเพฯ
ฉหีติ
กิํ?
เย, เตฯ
บทว่า
ปุพฺพาทีหิ มีประโยชน์อะไร ?
มีประโยชน์ในการห้าม
สพฺพ ศัพท์ มิให้เป็นศัพท์แรก ดังนั้น สพฺเพ จึงไม่เข้าเกณฑ์ของสูตรนี้[๒๐]
บทว่า ฉหิ
มีประโยชน์อะไร ?
มีประโยชน์ในการห้ามมิให้สรรพนามอื่นมาอยู่ในกลุ่ม
ดังนั้น เย, เต
จึงไม่เข้าเกณฑ์ของสูตรนี้.
๒๑๒. นาญฺญญฺจ นามปฺปธานา [จํ. ๒.๑.๑๐; ปา. ๑.๑.๒๗-๒๙]ฯ
สพฺพาทิการิยะ[๒๑] ท้าย สพฺพ ศัพท์ เป็นต้น ที่เป็นนามศัพท์และที่เป็นวิเสสนะ
ที่เคยกล่าวไว้และอื่นๆ ที่จะกล่าวต่อไป ย่อมไม่มี.[๒๒]
สุทฺธนามภูตา
จ สมาเส อปฺปธานภูตา จ สพฺพาทิโต ปุพฺเพ วุตฺตํ สพฺพาทิการิยํ อญฺญญฺจ อุปริ วุจฺจมานํ สพฺพาทิการิยํ น โหติฯ
สพฺพาทิการิยะ
ซึ่งเคยกล่าวไว้ในตอนต้น และที่จะกล่าวต่อไป ย่อมไม่มี หากอยู่ท้ายสพฺพ
ศัพท์เป็นต้น ทั้งที่เป็นสุทธนาม และที่เป็นวิเสสนะอันเป็นไป ในสมาส.
ตตฺถ
สุทฺธนามภูตํ สพฺพาทิ นาม น ชานาตีติ อตฺเถน พาลวาจโก อญฺญสทฺโท, อาชานาตีติ อตฺเถน มชฺเฌมคฺคผลญาณวาจโก
อญฺญสทฺโท, อรหตฺตผลญาณวาจโก อญฺญสทฺโท, ‘ปุพฺโพ โลหิต’นฺติอาทีสุ ปุพฺพสทฺโท, อติเรกปรมาทิวาจโก ปรสทฺโท, ทิสากาลาทิโต อญฺเญสุ อตฺเถสุ
ปวตฺตา ทกฺขิณุ’ตฺตรสทฺทา จ สงฺขฺยตฺถวาจิโต อญฺโญ เอกสทฺโท
จาติ สพฺพเมตํ สุทฺธนามํ นาม, ตโต สพฺพาทิการิยํ นตฺถิฯ
บรรดาสุทธนามและวิเสสนะเหล่านั้น
อญฺญ ปุพฺพ ปร
ทกฺขิณ อุตฺตร เอก เป็นสุทธนาม ชื่อว่า สพฺพาทิ เป็นต้น ต้วอย่าง
อญฺญ
ที่แสดงความหมายว่า ผู้โง่เขลา เพราะความหมายว่า น ชานาตีติ อญฺโญ. อญฺโญ คือ ผู้ไม่รู้
อญฺญ
ที่แสดงความหมายว่า ญาณในมรรคแลผลอันมีในท่ามกลาง (หมายถึง
ในโสตาปัตติมรรคจนถึงอรหัตตมรรค) และ ญาณในอรหัตตผล เพราะความหมายว่า อาชานาตีติ อญฺโญ. อญฺโญ คือ
สภาพที่รู้ทั่วถึง
ปุพฺพ ที่แสดงอรรถว่า
น้ำหนอง เช่นในตัวอย่างว่า ปุพฺโพ โลหิตํ น้ำหนอง เลือด เป็นต้น.
ปร ศัพท์
ที่แสดงอรรถว่า เกิน และ ยิ่ง เป็นต้น
ทกฺขิณ และ
อุตฺตร ศํพท์ที่เป็นไปในความหมายอื่นๆ จาก ทิศ และ กาล เป็นต้น.
เอก ศัพท์
อื่นจากเอกศัพท์ที่กล่าวอรรถจำนวนนับ
สพฺพศัพท์เป็นต้น
ที่กล่าวมาดังนี้ทั้งหมด จัดเป็นสุทธนาม, สัพพาทิการิยะ จะไม่มี
หากอยู่หลังจากศัพท์เหล่านั้น.
อปฺปธาเน
ทิฏฺฐปุพฺพ,
คตปุพฺพ, ปิยปุพฺพ อิจฺจาทิฯ ตตฺถ ปุพฺเพ ทิฏฺโฐ
ทิฏฺฐปุพฺโพ พุทฺโธ ปุริเสนฯ ปุพฺเพ ทิฏฺโฐ เยนาติ วา ทิฏฺฐปุพฺโพ ปุริโส พุทฺธํฯ
เอวํ คตปุพฺโพ มคฺโค ปุริเสน, คตปุพฺโพ วา ปุริโส มคฺคํฯ
ปิยา วุจฺจติ ภริยา, ปิยา ปุพฺพา ปุราณา เอตสฺสาติ ปิยปุพฺโพ,
ปิโย วุจฺจติ ปติ, ปิโย ปุพฺโพ ยสฺสาติ
ปิยปุพฺพาฯ เอเตหิ จ สพฺพาทิการิยํ นตฺถิฯ
สำหรับในวิเสสนะ
มีศัพท์ดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง เช่น ทิฏฺฐปุพฺโพ ผู้เคยเห็นหรือผู้เคยถูกเห็น,
คตปุพฺโพ ผู้เคยไปสู่หนทาง หรือ หนทางที่เคยไป. ปิยปุพฺโพ ผู้เคยเป็นที่รัก.
ในศัพท์อันเป็นวิเสสนะเหล่านั้น
ทิฏฺฐปุพฺโพ
มีความหมาย ๒ ประการ คือ
๑.
ผู้เคยถูกเห็น วิเคราะห์ว่า
ปุพฺเพ ปุริเสน
ทิฏฺโฐ พุทฺโธ ทิฏฺฐปุพฺโพ (พุทฺโธ)
พระพุทธเจ้า
ผู้อ้นบุรุษเห็นแล้ว ในกาลก่อน
๒. ผู้เคยเห็น
วิเคราะห์ว่า
ปุพฺเพ
ทิฏฺโฐ พุทฺโธ เยนาติ (พุทฺธํ) ทิฏฺฐปุพฺโพ
(ปุริโส)
พระพุทธเจ้า
อันบุรุษใด เห็นแล้ว ในกาลก่อน เหตุนั้น บุรุษนั้น ชื่อว่า ทิฏฺฐปุพฺโพ
ผู้เคยเห็นซึ่งพระพุทธเจ้า.
คตปุพฺโพ
มีความหมาย ๒ ประการ คือ
๑)
หนทางอันบุรุษเคยไป วิเคราะห์ว่า
ปุพฺเพ
ปุริเสน คโต มคฺโค คตปุพฺโพ
หนทางอันบุรุษ
ไปแล้ว ในกาลก่อน ชื่อว่า คตปุพฺโพ
๒)
บุรุษผู้เคยไปสู่หนทาง
ปุพฺเพ
มคฺโค คโต เยนาติ (มคฺคํ) คตปุพฺโพ
หนทาง
อ้นบุรุษใด ไปแล้ว ในกาลก่อน เหตุนั้น บุรุษนั้น ชื่อว่า คตปุพฺโพ บุรุุษ
ผู้เคยไปแล้ว สู่หนทาง
ปิยปุพฺโพ
มีความหมาย ๒ ประการ คือ
๑) ผู้เคยมีภรรยาเป็นที่รัก
วิเคราะห์ว่า
ปิยา
วุจฺจติ ภริยา, ปิยา ปุพฺพา ปุราณา เอตสฺสาติ ปิยปุพฺโพ
ภรรยา เรียกว่า
ผู้เป็นที่รัก (ปิยา), ภรรยาผู้เป็นที่รัก คนเก่า ของบุรุษนั้น มีอยู่ เหตุนั้น
บุรุษนั้น ชื่อว่า ปิยปุพฺโพ ผู้มีภรรยาเป็นที่รัก คนเก่า (เคยมีภรรยา)
๒) ภริยาผู้เคยมีสามีเป็นที่รัก
วิเคราะห์ว่า
ปิโย
วุจฺจติ ปติ,
ปิโย ปุพฺโพ ยสฺสาติ ปิยปุพฺพา.
สามี เรียกว่า ผู้เป็นที่รัก
(ปิโย), สามีผู้เป็นที่รัก คนเก่า ของหญิงใด
มีอยู่ เหตุนั้น หญิงนั้น ชื่อว่า ปิยปุพฺพา ผู้มีสามีเป็นที่รัก คนเก่า
(เคยมีสามี)
และสพฺพาทิการิยะ
ก็จะไม่มี ถ้าอยู่ท้ายวิเสสนะในสมาสเหล่านี้.
ในที่ประกอบกับบทที่มีอรรถของตติยาวิภัตติ
ก็จะไม่มีสพฺพาทิการิยะ.
มาเสน
ปุพฺพานํ มาสปุพฺพานํฯ
สพฺพาทิการิยะ
จะไม่มี หากอยู่ในที่ประกอบกับบทอันมีอรรถแห่งตติยาวิภัตติ เช่น
แก่ (หรือ แห่ง)
บุรุษท. ผู้มีก่อน โดยเดือน ชื่อว่า มาสปุพฺพานํ.[๒๓]
ในจัตถสมาส
สพฺพาทิการิยะ ก็ไม่มี.
จตฺถสมาโส
วุจฺจติ ทฺวนฺทสมาโส, ตสฺมิํ สพฺพาทิการิยํ นตฺถิฯ
ทกฺขิณา
จ อุตฺตรา จ ปุพฺพา จ ทกฺขิณุตฺตรปุพฺพา, ทกฺขิณุตฺตรปุพฺพานํฯ
ทวันทสมาส
เรียกว่า จัตถสมาส, ในจัตถสมาสนั้น ไม่มีวิธีการของสัพพนาม.
เช่น
ทกฺขิณุตฺตรปุพฺพา วิเคราะห์ว่า
ทกฺขิณา
จ อุตฺตรา จ ปุพฺพา จ ทกฺขิณุตฺตรปุพฺพา, ทกฺขิณุตฺตรปุพฺพานํ
ทิศใต้ ด้วย
ทิศเหนือด้วย ทิศตะวันออกด้วย ชื่อว่า ทักขณุตตรปุพพา.
แห่งทิศเหนือทิศใต้และทิศตะวันออกนั้น.
จตฺเถติ
กิํ?
ทกฺขิณสฺสา จ ปุพฺพสฺสา จ ยา อนฺตรทิสาติ ทกฺขิณปุพฺพา, ทกฺขิณา จ สา ปุพฺพา จาติ ทกฺขิณปุพฺพา, ทกฺขิณปุพฺพสฺสา,
ทกฺขิณปุพฺพสฺสํฯ
บทว่า จตฺเถ
มีประโยชน์อะไร
มีประโยชน์ที่ยังคงใช้วิธีการของสัพพนาม
ในบทที่ไม่ใช่จัตถสมาส เช่น
ทกฺขิณสฺสา
จ ปุพฺพสฺสา จ ยา อนฺตรทิสาติ ทกฺขิณปุพฺพา
ทิศในระหว่าง
(ทิศเฉียง) ของทิศใต้ ด้วย ของทิศตะวันออกด้วย เพราะเหตุนั้น ทิศนั้น ชื่อว่า
ทักขิณปุพพา ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (ตัปปุริสสมาส)
ทกฺขิณา
จ สา ปุพฺพา จาติ ทกฺขิณปุพฺพา, ทกฺขิณปุพฺพสฺสา,
ทกฺขิณปุพฺพสฺสํ
ทิศใต้ด้วย
ทิศใต้นั้น เป็นทิศตะวันออกด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทักขิณปุพพา
ทิศตะวันออกเฉียงใต้. (กัมมธารยสมาส)
ในจัตถสมาส เอ
เป็นอาเทสของ โย ได้บ้าง.
จตฺถสมาเส
โยนํ เอฏ โหติ วาฯ
กตรกตเม, กตรกตมา, อิตริตเร, อิตริตรา,
อญฺญมญฺเญ, อญฺญมญฺญา, ปุพฺพปเร,
ปุพฺพปรา, ปุพฺพาปเร, ปุพฺพาปรา
อิจฺจาทิฯ
ในจัตถสมาส
(ทวันทสมาส) เอ เป็นอาเทส ของ โยวิภัตติทั้งหลาย ได้บ้าง.
ตัวอย่าง
กตรกตเม, กตรกตมา พวกไหนๆ
อิตริตเร, อิตริตรา นอกนี้ๆ
อญฺญมญฺเญ, อญฺญมญฺญา กันและกัน
ปุพฺพปเร, ปุพฺพปรา ก่อนและหลัง
ปุพฺพาปเร, ปุพฺพาปรา ก่อนและหลัง
อิเมสุ
ปุพฺพาทีสุ สฺมา,
สฺมิํนํ อา, เอตฺตํ โหติ, ปุพฺพา, ปุพฺเพ, ปรา, ปเร, อปรา, อปเร, ทกฺขิณา, ทกฺขิเณ, อุตฺตรา,
อุตฺตเร, อธรา, อธเรฯ
สรรพนามทั้ง ๖
มีปุพฺพ ศัพท์เป็นต้นเหล่านี้ สฺมา และ สฺมิํ จะเป็น อา และ เอ ตามลำดับ ดังนี้
ปัญจมีวิภัตติ - ปุพฺพา, สัตตมีวิภัตติ - ปุพฺเพ
ปัญจมีวิภัตติ - ปรา, สัตตมีวิภัตติ - ปเร,
ปัญจมีวิภัตติ - อปรา, สัตตมีวิภัตติ - อปเร
ปัญจมีวิภัตติ - ทกฺขิณา, สัตตมีวิภัตติ - ทกฺขิเณ
ปัญจมีวิภัตติ - อุตฺตรา, สัตตมีวิภัตติ - อุตฺตเร
ปัญจมีวิภัตติ - อธรา, สัตตมีวิภัตติ – อธเร
อิติ
ปุพฺพาทิฉกฺกราสิฯ
กลุ่มสรรพนาม ๖
มี ปุพฺพ เป็นลำดับแรก เป็นอย่างนี้
ย ศัพท์
ยา
อิตฺถี,
ยา, ยาโย, ยํ, ยา, ยาโย, ยาย, ยสฺสา, ยาหิ, ยาภิ, ยาย, ยสฺสา, ยาสํ, ยาสานํ, ยาย, ยสฺสา, ยาหิ, ยาภิ, ยาย, ยสฺสา, ยาสํ, ยาสานํ, ยาย, ยสฺสา, ยายํ, ยสฺสํ, ยาสุฯ
โย
ปุริโส,
เย, ยํ, เย, เยน, เยหิ, เยภิ, ยสฺส, เยสํ, เยสานํ, ยสฺมา, ยมฺหา, เยหิ, เยภิ, ยสฺส, เยสํ,เยสานํ, ยสฺมิํ, ยมฺหิ,
เยสุฯ
ยํ
จิตฺตํ,
ยานิ จิตฺตานิ, ยํ, ยานิฯ
เสสํ ปุลฺลิงฺคสมํฯ
อิตถีลิงค์ - ปฐมาวิภัตติ
ยา อิตฺถี
หญิงเหล่าใด
ยา, ยาโย
ทุติยาวิภัตติ
ยํ
ยา, ยาโย
ตติยาวิภัตติ
ยาย, ยสฺสา
ยาหิ, ยาภิ
จตุตถีวิภัตติ
ยาย, ยสฺสา
ยาสํ, ยาสานํ
ปัญจมีวิภัตติ
ยาย, ยสฺสา
ยาหิ, ยาภิ
ฉัฏฐีวิภัตติ
ยาย, ยสฺสา
ยาสํ, ยาสานํ
สัตตมีวิภัตติ
ยาย, ยสฺสา, ยายํ, ยสฺสํ
ยาสุ
ปุงลิงค์ - ปฐมาวิภัตติ
โย ปุริโส บุรุษ
ใด
เย ปุริสา
บุรุษท. เหล่าใด
ทุติยาวิภัตติ
ยํ
เย
ตติยาวิภัตติ
เยน
เยหิ, เยภิ
จตุตถีวิภัตติ
ยสฺส
เยสํ, เยสานํ
ปัญจมีวิภัตติ
ยสฺมา, ยมฺหา
เยหิ, เยภิ
ฉัฏฐีวิภัตติ
ยสฺส
เยสํ, เยสานํ
สัตตมีวิภัตติ
ยสฺมิํ, ยมฺหิ
เยสุ
นปุงสกลิงค์ - ปฐมาวิภัตติ
ยํ จิตฺตํ จิต
ใด
ยานิ จิตฺตานิ จิตท.เหล่าใด
ทุติยาวิภัตติ
ยํ
ยานิ
วิภัตติที่เหลือ
(คือตติยาวิภัตติ ถึง สัตตมีวิภัตติ) เหมือนปุงลิงค์
ตฺย ต เอต ศัพท์
ต ของ ตฺย ต และ
เอต เป็น ส เพราะสิวิภัตติ
อนปุํสกานํตฺย, ต, เอตสทฺทานํ ตพฺยญฺชนสฺส โส โหติ สิมฺหิฯ สิโลโปฯ
สา
อิตฺถี,
ตา, ตาโย, อิตฺถิโย,
เพราะสิวิภัตติ
ต ของ ตฺย ต และ เอต ศัพท์ เป็น ส. ลบ สิวิภัตติ.
ปฐมาวิภัตติ
สา อิตฺถี, หญิงนั้น
ตา, ตาโย อิตฺถิโย หญิงทั้งหลายเหล่านั้น
ทุติยาวิภัตติ
ตํ
ตา, ตาโย, ตาย.
สฺสา
เป็นอาเทสของวิภัตติ ๕ ตัวฝ่ายเอกวจนะ ท้าย ต เอต อิม และ อมุ ชื่อว่า ฆ และ ป
ได้บ้าง.
ฆ, ปสญฺเญหิ ตา, เอตา, อิมา,
อมุสทฺเทหิ นาทีนํ ปญฺจนฺนํ เอกวจนานํ สฺสา โหติ วาฯ รสฺโสฯ
ตสฺสา
กตํ,
ตาหิ, ตาภิ, ตาย,
ตสฺสาฯ
สฺสา
เป็นอาเทสของวิภัตติ ๕ ตัวฝ่ายเอกวจนะ ท้าย ตา เอตา อิมา และ อมุ ศัพท์ ชื่อว่า ฆ
และ ป ได้บ้าง. สระที่สุดเป็นรัสสะ.
ตติยาวิภัตติ
ตสฺสา กตํ
ตาหิ, ตาภิ
จตุตถีวิภัตติ
๒๑๘. ตาสฺสิ วา [ก. ๖๔; รู. ๒๑๖; นี. ๒๑๑]ฯ
อา ของ ตา ศัพท์
เป็น อิ ในเพราะ สฺสํ สฺสํ และสฺสาย ได้บ้าง.
สฺสํ, สฺสา, สฺสาเยสุ ฆสญฺญสฺส ตาสทฺทสฺส อิ โหติ วาฯ
ติสฺสาฯ
อา ของ ตา ศัพท์
ชื่อว่า ฆ เป็น อิ ในเพราะ สฺสํ สฺสํ และสฺสาย ได้บ้าง.
ติสฺสา
อาเทสคือสฺสาย
แห่งส หลังจาก ตา เอตา และ อิมา ย่อมมี ได้บ้าง.
ตา, เอตา, อิมาหิ สสฺส สฺสายาเทโส โหติ วาฯ
ตสฺสาย, ติสฺสาย,
อาเทสคือสฺสาย
แห่งส หลังจาก ตา เอตา และ อิมา ย่อมมี ได้บ้าง.
ตสฺสาย, ติสฺสาย
ตาสํ, ตาสานํ, ตาสํ, ตาสานํ
(ปัญจมีวิภัตติ เหมือนตติยาวิภัตติ)
ตาย, ตสฺสา, ตสฺสาย, ติสฺสาย,
ตาสํ, ตาสานํ, ตาย,
ตายํ, ตสฺสา, ตสฺสํ,
ติสฺสา, ติสฺสํ, ตาสุฯ
ฉัฏฐีวิภัตติ
ตาย, ตสฺสา, ตสฺสาย, ติสฺสาย
ตาสํ, ตาสานํ
สัตตมีวิภัตติ
ตาย, ตายํ, ตสฺสา, ตสฺสํ, ติสฺสา, ติสฺสํ
ตาสุ.
โส
ปุริโส,
เต ปุริสา, ตํ, เต,
เตน, เตหิ, เตภิ,
ตสฺส, เตสํ, เตสานํ,
ตสฺมิํ, ตมฺหิ, เตสุฯ
ปุงลิงค์ - ปฐมาวิภัตติ
โส ปุริโส บุรุษนั้น
เต ปุริสา, บุรุษทั้งหลายเหล่านั้น
ทุติยาวิภัตติ
ตํ
เต
ตติยาวิภัตติ
เตน
เตหิ, เตภิ
จตุตถีวิภัตติ
ตสฺส
เตสํ, เตสานํ
(ปัญจมีวิภัตติ
เหมือนตติยาวิภัตติ และ ฉัฏฐีวิภัตติ เหมือนจตุตถีวิภัตติ)
สัตตมีวิภัตติ
ตสฺมิํ, ตมฺหิ, เตสุฯ
ตํ
จิตฺตํ,
ตานิ จิตฺตานิ, ตํ, ตานิฯ
เสสํ ปุลฺลิงฺคสมํฯ
นปุงสกลิงค์ - ปฐมาวิภัตติ
ตํ จิตฺตํ, ตานิ จิตฺตานิ,
ทุติยาวิภัตติ
ตํ, ตานิฯ
วิภัตติที่เหลือ
(คือ ตติยาวิภัตติ ถึงสัตตมีวิภัตติ) เหมือนในปุงลิงค์.
๒๒๐. ตสฺส โน สพฺพาสุ [ก. ๑๗๕; รู. ๒๑๒; นี. ๓๖๑]ฯ
น เป็น อาเทสของ
ต ในวิภัตติทั้งปวง.
ยฺวาทีสุ
สพฺพาสุ วิภตฺตีสุ ตสฺส โน โหติฯ เน ปุริสา, นํ, เน, เนหิ, เนภิ, เนสํ, เนสานํ, เนหิ, เนภิ,เนสํ, เนสานํ, นมฺหิ, เนสุฯ
น เป็น อาเทสของ
ต ในวิภัตติทั้งปวง มีโยเป็นต้น.
ปฐมาวิภัตติ
เน ปุริสา
ทุติยาวิภัตติ
นํ
เน
ตติยาวิภัตติ
เนหิ, เนภิ
จตุตถีวิภัตติ
เนสํ, เนสานํ
ปัญจมีวิภัตติ
เนหิ, เนภิ
ฉัฏฐีวิภัตติ
เนสํ, เนสานํ
สัตตมีวิภัตติ
นมฺหิ, เนสุ.
เอตฺถ จ
‘สพฺพาสู’ติ วุตฺเตปิ ยา ยา วิภตฺติ ลพฺภติ, ตํ ตํ ญตฺวา โยเชตพฺพาฯ
อนึ่ง ในสูตรนี้
ถึงท่านจะกล่าวว่า “สพฺพาสุ ในวิภัตติทั้งปวง” ก็จริง,
แต่นักศึกษาครั้นได้ทราบวิภัตติที่จะมีได้แล้วพึงประกอบใช้เถิด.
นปุงสกลิงค์
-
ปฐมาวิภัตติ
นํ
จิตฺตํ,
เนหิ, เนภิฯ ปุลฺลิงฺคสมํฯ
นํ จิตฺตํ,
ตติยาวิภัตติ
เนหิ, เนภิฯ
(วิภัตติที่เหลือ)
เหมือนในปุงลิงค์.
อ เป็นอาเทส ของ
ต และ อิม เพราะ ส, สฺมา, สฺมิํ, สฺสาย, สฺสํ, สฺสา, สํ, มฺหา และมฺหิ ได้บ้าง[๒๔].
สาทีสุ
ตสฺส จ อิมสฺส จ ฏ โหติ วาฯ
อสฺสา
อิตฺถิยา กตํ,
อสฺสา, อสฺสาย เทติฯ สํมฺหิ ทีโฆ [นี. ๓๖๘] – อาสํ
อิตฺถีนํ, นาสํ กุชฺฌนฺติ ปณฺฑิตา [ชา. ๑.๑.๖๕], อสฺสา
อเปติ, อสฺสา, อสฺสาย ธนํ, อาสํ ธนํ, ‘‘อภิกฺกโม สานํ ปญฺญายติ, โน ปฏิกฺกโม’’ติ [สํ. นิ. ๕.๑๙๖] เอตฺถ ‘สาน’นฺติ เวทนานํ, มหาวุตฺตินา ตสฺส สตฺตํฯ อสฺสา,
อสฺสํ ฐิตํฯ
อ เป็นอาเทส ของ
ต และ อิม เพราะ สวิภัตติเป็นต้น ได้บ้าง.
อสฺสา อิตฺถิยา
กตํ อันหญิงนั้นกระทำแล้ว
อสฺสา, อสฺสาย เทติ ย่อมให้แก่หญิงนั้น.
เพราะสํวิภัตติอาเทส
(ของ ส) สระที่สุดของ ออาเทสนั้น เป็นทีฆะ.[๒๕]
อาสํ อิตฺถีนํ
หญิงทั้งหลายเหล่านั้น มีอุทาหรณ์พระบาฬีว่า
น’าสํ กุชฺฌนฺติ ปณฺฑิตา [ชา. ๑.๑.๖๕]
บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมไม่โกรธ หญิงเหล่านั้น.
ปัญจมีวิภัตติ
อสฺสา อเปติ
ย่อมหลีกจากหญิงนั้น
ฉัฏฐีวิภัตติ
อสฺสา, อสฺสาย ธนํ, ทรัพย์ของหญิงนั้น
อาสํ ธนํ
ทรัพย์ของหญิงพวกนั้น.
ในพระบาฬีนี้ว่า
อภิกฺกโม
สานํ ปญฺญายติ, โน ปฏิกฺกโม [สํ.
ขนฺธ. ๑๗/๒๑๕]
ทุกขเวทนา เหล่านั้น
ปรากฏว่า กำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย.
สัตตมีวิภัตติ
อสฺสา, อสฺสํ
ฐิตํ ดำรงอยู่ในหญิงนั้น.
ปุงลิงค์ - จตุตถีวิภัตติ
อสฺส ปุริสสฺส, อาสํ ปุริสานํฯ เนวาสํ
เกสา ทิสฺสนฺติ, หตฺถปาทา จ ชาลิโน [ชา. ๒.๒๒.๒๒๒๑].
อสฺมา, อมฺหา, อสฺส, อาสํ, อสฺมิํ, อมฺหิฯ
อสฺส ปุริสสฺส
อาสํ ปุริสานํ
ตัวอย่าง
เนว’าสํ เกสา ทิสฺสนฺติ, หตฺถปาทา จ
ชาลิโน
[ขุ.ชา.๒๘/๑๑๘๗]
ปัญจมีวิภัตติ
อสฺมา, อมฺหา
ฉัฏฐีวิภัตติ
อสฺส, อาสํ
สัตตมีวิภัตติ
อสฺมิํ, อมฺหิ
นปุงสกลิงค์ - จตุตถีวิภัตติ
อสฺส
จิตฺตสฺสฯ ปุลฺลิงฺคสมํฯ
อสฺส จิตฺตสฺส
วิภัตติที่เหลือเหมือนปุงลิงค์
เอต ศัพท์
เอสา
อิตฺถี,
เอตา, เอตาโย, เอตํ,
เอตา, เอตาโย, เอตาย,
เอตสฺสา, เอติสฺสา กตํฯ
อิตถีลิงค์ - ปฐมาวิภัตติ
เอสา อิตฺถี
หญิงนี้
เอตา, เอตาโย
ทุติยาวิภัตติ
เอตํ, เอตา,
เอตาโย,
ตติยาวิภัตติ
เอตาย, เอตสฺสา, เอติสฺสา กตํ. อันหญิงนี้กระทำแล้ว
ปุงลิงค์
- ปฐมาวิภัตติ
เอโส
ปุริโส,
เอเต, เอตํ, เอเต,
เอเตนฯ
เอโส ปุริโส บุรุษนี้
เอเต
ทุติยาวิภัตติ
เอตํ
เอเต
ตติยาวิภัตติ
เอเตน
นปุงสกลิงค์ - ปฐมาวิภัตติ
เอตํ
จิตฺตํ,
เอตานิ, เอตํ, เอตานิ,
เอเตนฯ สพฺพํ ตสทฺทสมํ ฐเปตฺวา นตฺตํ, ฏตฺตญฺจฯ
เอตํ จิตฺตํ จิตนี้
เอตานิ
ทุติยาวิภัตติ
เอตํ, เอตานิ,
ตติยาวิภัตติ
เอเตนฯ
วิภัตติที่เหลือ
เหมือน ตศัพท์ เว้น ความเป็น น และ อ เท่านั้น.
อิตถีลิงค์
๒๒๒. สิมฺหานปุํสกสฺสายํ [ก. ๑๗๒; รู. ๒๑๘; นี. ๓๐๖-๗; ‘สิมฺห…’ (พหูสุ)]ฯ
อยํ
เป็นอาเทสของ อิม ที่ไม่ใช่นปุงสกลิงค์ เพราะ สิ วิภัตติ.
สิมฺหิ
นปุํสกโต อญฺญสฺส อิมสฺส อยํ โหติฯ สิโลโปฯ
อยํ
อิตฺถี,
อิมา, อิมาโย, อิมํ,
อิมา, อิมาโย, อิมาย,
อิมสฺสา, อิมิสฺสา, อิมาหิ,
อิมาภิ, อิมาย, อิมสฺสา,
อิมสฺสาย, อิมิสฺสา, อิมิสฺสาย,
อิมิสฺสํ, อสฺสา, อสฺสาย,
อิมาสํ, อิมาสานํ, อาสํฯ
ปญฺจมีรูปํ ตติยาสมํ, ฉฏฺฐีรูปํ จตุตฺถีสมํฯ อิมาย, อิมายํ, อิมสฺสา, อิมสฺสาย,
อิมสฺสํ, อิมิสฺสา, อิมิสฺสาย,
อิมิสฺสํ, อสฺสา, อสฺสํ,
อิมาสุฯ
อยํ
เป็นอาเทสของ อิม ศัพท์ อันเป็นลิงค์อื่นจากนปุงสกลิงค์ เพราะสิวิภัตติ. ลบสิ
ปฐมาวิภัตติ
อยํ อิตฺถี หญิงนี้
อิมา, อิมาโย
ทุติยาวิภัตติ
อิมํ
อิมา, อิมาโย,
ตติยาวิภัตติ
อิมาย, อิมสฺสา, อิมิสฺสา
อิมาหิ, อิมาภิ
จตุตถีวิภัตติ
อิมาย, อิมสฺสา, อิมสฺสาย, อิมิสฺสา,
อิมิสฺสาย, อิมิสฺสํ, อสฺสา,
อสฺสาย
อิมาสํ, อิมาสานํ, อาสํ.
รูปในปัญจมีวิภัติ
เหมือนรูปในตติยาวิภัตติ และ รูปในฉัฏฐีวิภัตติ เหมือนรูปในจตุตถีวิภัตติ.
สัตตมีวิภัตติ
อิมาย, อิมายํ, อิมสฺสา, อิมสฺสาย,
อิมสฺสํ, อิมิสฺสา, อิมิสฺสาย,
อิมิสฺสํ, อสฺสา, อสฺสํ,
อิมาสุ.
ปุงลิงค์
อยํ
ปุริโส,
อิเม, อิมํ, อิเมฯ
ปฐมาวิภัตติ
อยํ ปุริโส
บุรุษนี้
อิเม
ทุติยาวิภัตติ
อิมํ
อิเม
การแปลงเป็น อน
และ อิมิ ของ อิมศัพท์ ในปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ ย่อมมี เพราะนาวิภัตติ
นามฺหิ
อนิตฺถิลิงฺเค อิมสฺส อน, อิมิอาเทสา โหนฺติฯ
อิมินา, อเนน, อิเมหิ, อิเมภิฯ
การแปลงเป็น อน
และ อิมิ ของ อิม
ในลิงค์ที่ไม่ใช่อิตถีลิงค์ ย่อมมี เพราะ นา วิภัตติ.
ตติยาวิภัตติ
อิมินา, อเนน
อิเมหิ, อิเมภิ.
เอ เป็นอาเทสของ
อิม ในปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ เพราะ สุ นํ และหิ ได้บ้าง.
เอ เป็นอาเทสของ
อิม ศัพท์ ในลิงค์ที่ไม่ใช่อิตถีลิงค์ เพราะ สุ นํ และหิ วิภัตติ ได้บ้าง.
เอหิ, เอภิ, อิมสฺส, อสฺส, อิเมสํ, อิเมสานํ, เอสํ,
เอสานํ, อิมสฺมา, อิมมฺหา,
อสฺมา, อมฺหา, อิเมหิ,
อิเมภิ, เอหิ, เอภิ,
อิมสฺส, อสฺส, อิเมสํ,
อิเมสานํ, เอสํ, เอสานํ,
อิมสฺมิํ, อิมมฺหิ, อสฺมิํ,
อมฺหิ, อิเมสุ, เอสุฯ
เอหิ, เอภิ
จตุตถีวิภัตติ
อิมสฺส, อสฺส
อิเมสํ, อิเมสานํ, เอสํ, เอสานํ
ปัญจมีวิภัตติ
อิมสฺมา, อิมมฺหา, อสฺมา, อมฺหา
อิเมหิ, อิเมภิ, เอหิ, เอภิ
ฉัฏฐีวิภัตติ
อิมสฺส, อสฺส
อิเมสํ, อิเมสานํ, เอสํ, เอสานํ
สัตตมีวิภัตติ
อิมสฺมิํ, อิมมฺหิ, อสฺมิํ, อมฺหิ
อิเมสุ, เอสุ.
‘‘อนมฺหิ ภทฺเท สุโสเณ, กินฺนุ ชคฺฆสิ โสภเน’’ติ [ชา. ๑.๕.๑๓๐ (อนมฺหิ
กาเล สุโสณิ)] ปาฬิ- ‘อนมฺหี’ติ อิมสฺมิํ ฐาเน, มหาวุตฺตินา สฺมิํมฺหิ อนาเทโสฯ
ในสัตตมีวิภัตติ
ยังมีการแปลง อิม ศัพท์ เป็น อน เพราะสฺมิํ วิภัตติ ด้วยมหาสุตร ดังพระบาฬีนี้
แน่ะนางงามผู้มีตะโพกอันผึ่งผาย
ทำไมเจ้าจึงมาหัวเราะอยู่ในที่นี้[๒๙]?
บทว่า อนมฺหิ
ได้แก่ อิมสฺมิํ ฐาเน ในที่นี้.
นปุงสกลิงค์ - ปฐมาวิภัตติ
อิมํ
จิตฺตํฯ
๒๒๕. อิมสฺสิทํ วา [ก. ๑๒๙; รู. ๒๒๒; นี. ๓๐๕]ฯ
เพราะ อํ และ
สิวิภัตติ อิทํ เป็นอาเทสของ อิม ในนปุงสกลิงค์ พร้อมทั้งวิภัตติ.
นปุํสเก
อํ,
สิสุ อิมสฺส เตหิ อํ, สีหิ สห อิทํ โหติ วาฯ
เพราะ อํ และ
สิวิภัตติ อิทํ เป็นอาเทสของ อิม ในนปุงสกลิงค์ พร้อมทั้งวิภัตติ คือ อํ และสิ.
อิทํ
จิตฺตํ,
อิมานิ จิตฺตานิ, อิมํ, อิทํ,
อิมานิ, อิมินา, อเนนฯ
สพฺพํ ปุลฺลิงฺคสมํฯ
อิทํ จิตฺตํ
จิตนี้
อิมานิ จิตฺตานิ
จิตเหล่านี้
ทุติยาวิภัตติ
อิทํ
อิมานิ
ตติยาวิภัตติ
อิมินา, อเนน
วิภัตติที่เหลือ
เหมือนในปุงลิงค์.
อิธ
มิสฺสกรูปํ วุจฺจติ –
ยา, สา อิตฺถี, ยา, ตา อิตฺถิโย,
ยํ, ตํ อิตฺถิํ, ยา,
เอสา อิตฺถี, ยา, เอตา
อิตฺถิโย, ยํ, เอตํ อิตฺถิํ, ยา, อยํ
อิตฺถี, ยา, อิมา อิตฺถิโย, ยํ, อิมํ อิตฺถิํ, โย, โส ปุริโส, เย, เต
ปุริสาอิจฺจาทโยฯ
ต่อไปนี้
ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงรูปของสัพพนามสองบทรวมกัน ซึ่งมีดังต่อไปนี้ เช่น
ยา, สา อิตฺถี หญิงเหล่าใด
ยา, ตา อิตฺถิโย หญิงท. เหล่าใด
ยํ, ตํ อิตฺถิํ,
ยา, เอสา อิตฺถี,
ยา, เอตา อิตฺถิโย,
ยํ, เอตํ อิตฺถิํ,
ยา, อยํ อิตฺถี,
ยา, อิมา อิตฺถิโย,
ยํ, อิมํ อิตฺถิํ,
โย, โส ปุริโส,
เย, เต ปุริสา
‘‘ส โข โส กุมาโร วุทฺธิมนฺวายา’’ติ เอตฺถ โส โส
กุมาโรติ, ‘เอเส เส เอเก เอกตฺเถ’ติ
เอตฺถ เอโส โส เอโก เอกตฺโถติ
วตฺตพฺพํฯ ตตฺถ ปุพฺพํ ปุพฺพํ อตฺถปทํ, ปรํ ปรํ
พฺยญฺชนมตฺตํฯ ‘‘อยํ โส สารถิ เอตี’’ติ
[ชา. ๒.๒๒.๕๑] เอตฺถ ปน ทฺเวปิ วิสุํ วิสุํ อตฺถปทานิ เอวาติฯ ยํ, ตํ, อิทนฺติ อิเม สทฺทา นิปาตรูปาปิ หุตฺวา
ปาฬิวากฺเยสุ สญฺจรนฺติ สพฺพลิงฺควิภตฺตีสุ อภินฺนรูปาติฯ
ในพระบาฬีพบการใช้สรรพนามร่วมกันสองบทในลักษณะนี้
เช่น
ส โข โส กุมาโร
วุทฺธิมนฺวาย (อํ.ทสก.๒๔/๙๙)
เด็กนั้นแล
อาศัยความเจริญ อาศัยความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ ย่อมเล่นเครื่องเล่นทั้งหลาย
ในตัวอย่างนี้
(ส โข โส) มีความหมายว่า โส โส กุมาโร กุมารนั้น.
อีกตัวอย่างหนึ่ง
เอเส เส
เอเก
เอกตฺเถ (อภิ.กถา.๓๗/๗๔)
บัญญัติทั้งสองนี้
ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน ฯลฯ หรือ?[๓๐]
ในตัวอย่างนี้
ควรจะพูดว่า เอโส โส เอโก เอกตฺโถ
ในสองตัวอย่างนี้
บทแรกเท่านั้น มีความหมาย ส่วนบทหลังไม่มีความหมายเป็นเพียงพยัญชนะ
ส่วนในพระบาฬีนี้ว่า
อยํ โส
สารถิ
เอติ นิหนฺตฺวา มม
อตฺรชํ (ขุ.ชา.๒๘/๔๑๔)
นายสารถีนี้
นั้น ฝังลูกของเราเสร็จแล้วกลับมา
แม้ท้งสองบท
แต่ละบท ต่างก็เป็นบทที่ความหมายนั่นเทียว.
บทเหล่านี้ คือ ยํ, ตํ และ อิทํ แม้ที่มีลักษณะเป็นนิบาต
เพราะมีรูปไม่ต่างกันในลิงค์และวิภัตติทั้งปวง เป็นไปในประโยคพระบาฬีอยู่.
ในที่มีการแสดงซ้ำอีก
เอน เป็นอาเทสของ อิม และ เอต ในเพราะทุติยาวิภัตติ.
อนฺวาเทโส
วุจฺจติ อนุกถนํ,
ปุนกถนํ, อนฺวาเทสฐาเน อิม, เอตานํ เอนาเทโส โหติ ทุติยาวิภตฺตีสุฯ
การกล่าวซ้ำ
การพูดอีก เรียกว่า อนฺวาเทส (การแสดงซ้ำ), ในที่มีการแสดงซ้ำอีก เอน
เป็นอาเทสของ อิม และ เอต ศัพท์ ในเพราะทุติยาวิภัตติ.[๓๑]
อิมํ
ภิกฺขุํ วินยํ อชฺฌาเปหิ, อโถ เอนํ ภิกฺขุํ ธมฺมํ อชฺฌาเปหิ,
อิเม ภิกฺขู วินยํ อชฺฌาเปหิ, อโถ เอเน ภิกฺขู
ธมฺมํ อชฺฌาเปหิ, เอตํ ภิกฺขุํ วินยํ อชฺฌาเปหิอิจฺจาทินา
วตฺตพฺพํฯ ตเมนํ ภิกฺขเว นิรยปาลา [อ. นิ. ๓.๓๖], ยตฺวาธิกรณเมนํ ภิกฺขุํ
อิจฺจาทีสุปิ [ที. นิ. ๑.๒๑๓] อนุกถนเมวฯ
เอน อาเทส
ควรใช้โดยลักษณะนี้ เช่น
อิมํ ภิกฺขุํ
วินยํ อชฺฌาเปหิ,
อโถ[๓๒]
เอนํ ภิกฺขุํ ธมฺมํ อชฺฌาเปหิ
ท่านจงให้ภิกษุนี้สวดสาธยายพระวินัย,
อนึ่ง จงให้ภิกษุนี้สวดสาธยายพระธรรม
อิเม ภิกฺขู
วินยํ อชฺฌาเปหิ,
อโถ เอเน[๓๓]
ภิกฺขู ธมฺมํ อชฺฌาเปหิ
ท่านจงให้ภิกษุเหล่านี้สวดสาธยายพระวินัย,
อนึ่ง จงให้ภิกษุเหล่านี้สวดสาธยายพระธรรม
เอตํ ภิกฺขุํ
วินยํ อชฺฌาเปหิ, อโถ เอนํ ภิกฺขุํ ธมฺมํ อชฺฌาเปหิ
ท่านจงให้ภิกษุนั้นสวดสาธยายพระวินัย,
อนึ่ง จงให้ภิกษุั้นสวดสาธยายพระธรรม
เอเต ภิกฺขู วินยํ
อชฺฌาเปหิ, อโถ เอเน ภิกฺขู ธมฺมํ อชฺฌาเปหิ
ท่านจงให้ภิกษุเหล่านั้นสวดสาธยายพระวินัย,
อนึ่ง จงให้ภิกษุเหล่านั้นสวดสาธยายพระธรรม
แม้ในพระบาฬี[๓๔]ดังต่อไปนี้
จัดเป็นตัวอย่างการกล่าวซ้ำเช่นกัน
อิธ, ภิกฺขเว, เอกจฺโจ กาเยน ทุจฺจริตํ จรติ, วาจาย ทุจฺจริตํ จรติ, มนสา ทุจฺจริตํ จรติฯ โส
กาเยน ทุจฺจริตํ จริตฺวา, วาจาย ทุจฺจริตํ จริตฺวา, มนสา ทุจฺจริตํ จริตฺวา กายสฺส เภทา ปรํ มรณา อปายํ ทุคฺคติํ วินิปาตํ นิรยํ อุปปชฺชติฯ ตเมนํ,
ภิกฺขเว, นิรยปาลา นานาพาหาสุ คเหตฺวา ยมสฺส
รญฺโญ ทสฺเสนฺติ. [อํ.ติก.๒๐/๔๗๕]
บุคคลบางคน ในโลกนี้
ประพฤติทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ เมื่อแตกกาย ตายไป
ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เขาย่อมถูกนายนิรยบาลฉุดแขนไปแสดงต่อพระยายม.
อิธ, มหาราช, ภิกฺขุ จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา น นิมิตฺตคฺคาหี
โหติ นานุพฺยญฺชนคฺคาหีฯ ยตฺวาธิกรณ’เมนํ จกฺขุนฺทฺริยํ อสํวุตํ วิหรนฺตํ อภิชฺฌา โทมนสฺสา ปาปกา อกุสลา ธมฺมา
อนฺวาสฺสเวยฺยุํ, [ที.สี. ๙/๑๒๒]
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ด้วยเหตุว่า
ธรรมทั้งหลายอันเป็นอกุศล ที่เลวทราม ที่เป็นฝ่ายอภิชฌาและโทมนัส
พึงติดตามรั่วรดอยู่เนืองๆ ซึ่งภิกษุนั้น
ผู้อยู่โดยไม่สำรวมซึ่งจักขุนทรีย์.
อมุ ศัพท์
อิตถีลิงค์
๒๒๗. มสฺสามุสฺส [ก. ๑๗๓; รู. ๒๒๓; นี. ๓๕๙]ฯ
เพราะสิวิภัตติ
ส เป็นอาเทสของ ม ของอมุ ที่ไม่ใช่นปุงสกลิงค์.
สิมฺหิ
อนปุํสกสฺส อมุสฺส มสฺส โส โหติฯ
แปลง ม ของ อมุ ที่ไม่ใช่นปุงสกลิงค์
(คือ ปุงลิงค์และอิตถีลิงค์) เป็น ส ในเพราะ สิ วิภัตติ.
อสุ
อิตฺถี,
อมุ วา, อมู, อมุโย,
อมุํ, อมู, อมุโย,
อมุยา, อมุสฺสา, อมูหิ,
อมูภิ, อมุยา, อมุสฺสา,
อมูสํ, อมูสานํ, อมุยา,
อมุสฺสา, อมูหิ, อมูภิ,
อมุยา, อมุสฺสา, อมูสํ,
อมูสานํ, อมุยา, อมุยํ,
อมุสฺสา, อมุสฺสํ, อมูสุฯ
ปฐมาวิภัตติ
อสุ อิตฺถี, อมุ วา หญิงคนโน้น
อมู, อมุโย,
ทุติยาวิภัตติ
อมุํ
อมู, อมุโย
ตติยาวิภัตติ
อมุยา, อมุสฺสา
อมูหิ, อมูภิ
จตุตถีวิภัตติ
อมุยา, อมุสฺสา
อมูสํ, อมูสานํ
ปัญจมีวิภัตติ
อมุยา, อมุสฺสา
อมูหิ, อมูภิ
ฉัฏฐีวิภัตติ
อมุยา, อมุสฺสา
อมูสํ, อมูสานํ
สัตตมีวิภัตติ
อมุยา, อมุยํ, อมุสฺสา, อมุสฺสํ
อมูสุ
ปุงลิงค์
๒๒๘. โลโปมุสฺมา [ก. ๑๑๘; รู. ๑๔๖; นี. ๒๙๓]ฯ
ลบ โย ท้าย อมุ.
อมุโต
โยนํ โลโป โหติฯ โว,
โนปวาโทยํ [ก. ๑๑๙;
รู. ๑๕๕; นี. ๒๙๔]ฯ
มีการลบ โย
อันเป็นเบื้องหลังจาก อมุ ศัพท์. วิธีนี้ ปฏิเสธการแปลงเป็น โว และ โน[๓๕].
ปฐมาวิภัตติ
อสุ, อมุ. ปุริโส
บุรุษโน้น.
อมู
ทุติยาวิภัตติ
อมุํ
อมู
ตติยาวิภัตติ
อมุนา, อมูหิ, อมูภิ.
๒๒๙. น โน สสฺสฯ
ส หลังจาก อมุ
ไม่เป็น โน.
อมุโต
สสฺส โน น โหติฯ
อมุสฺสฯ
ส
อันเป็นเบื้องหลังจาก อมุ ศัพท์ ไม่แปลงเป็น โน.
มหาวุตฺตินา
สมฺหิ มุสฺส ทุตฺตํ,
อทุสฺสฯ ปาฬิยํ ‘‘ทุสฺส เม เขตฺตปาลสฺส,
รตฺติํ ภตฺตํ อปาภต’’นฺติ [ชา. ๑.๔.๖๒] เอตฺถ
คาถาวเสน อ-การโลโปฯ อมูสํ, อมูสานํ, อมุสฺมา,
อมุมฺหา, อมูหิ, อมูภิ,
อมุสฺส, อทุสฺส, อมูสํ,
อมูสานํ, อมุสฺมิํ, อมุมฺหิ,
อมูสุฯ
เพราะ ส แปลง มุ
เป็น ทุ ด้วยมหาสูตร
จตุตถีวิภัตติ
อมุสฺส, อทุสฺส
ส่วนในพระบาฬีนี้
ทุสฺส
เม เขตฺตปาลสฺส,
รตฺติํ ภตฺตํ อปาภตํ (ขุ.ชา.
๒๗/๕๖๓)
อาหารของคนรักษานาคนโน้น
ข้าพเจ้านำเอามาไว้ในกลางคืน
ถึงจะแปลง มุ เป็น ทุ แล้วควรจะมีรูปเป็น
อทุสฺส แต่เนื่องจากอยู่ในคาถา จึงลบ อ เป็น ทุสฺส
อมูสํ, อมูสานํ,
ปัญจมีวิภัตติ
อมุสฺมา, อมุมฺหา
อมูหิ, อมูภิ
ฉัฏฐีวิภัตติ
อมุสฺส, อทุสฺส
อมูสํ, อมูสานํ
สัตตมีวิภัตติ
อมุสฺมิํ, อมุมฺหิ
อมูสุ
นปุงสกลิงค์
๒๓๐. อมุสฺสาทุํ [ก. ๑๓๐; รู. ๒๒๕; นี. ๓๐๘]ฯ
ในนปุงสกลิงค์
เพราะ อํ และ สิวิภัตติ อมุ พร้อมทั้งวิภัตติ เป็น อทุํ ได้บ้าง.
นปุํสเก
อํ,
สิสุ อมุสฺส เตหิ สห อทุํ โหติ วาฯ
ในนปุงสกลิงค์
เพราะ อํ และ สิวิภัตติ อมุ พร้อมทั้งวิภัตติ เป็น อทุํ ได้บ้าง.
อมุํ
จิตฺตํ,
อทุํ จิตฺตํ, อมูนิ, อมุํ,
อทุํ, อมูนิฯ เสสํ ปุลฺลิงฺคสมํฯ
ปฐมาวิภัตติ
อมุํ จิตฺตํ, อทุํ จิตฺตํ จิตดวงโน้น
อมูนิ
ทุติยาวิภัตติ
อมุํ, อทุํ
อมูนิ.
วิภัตติที่เหลือเหมือนปุงลิงค์.
‘สกตฺเถ’ติ สุตฺเตน กปจฺจเย กเต สพฺพาทิรูปํ นตฺถิฯ อมุกา กญฺญา, อมุกา, อมุกาโยฯ อมุโก ปุริโส, อมุกา ปุริสาฯ อมุกํ จิตฺตํ,
อมุกานิ จิตฺตานิ อิจฺจาทิฯ
เมื่อลง ก
ปัจจัยท้าย อมุ ศัพท์ ในอรรถสกัตถะ[๓๖]
ด้วยสูตร สกตฺเถ (ปัจจัยที่ใช้อรรถสกัตถะมีอยู่) จะไม่มีรูปตามระบบสรรพนาม.
ตัวอย่าง
อิตถีลิงค์ อมุกา
กญฺญา,
อมุกา, อมุกาโย. หญิงสาวคนโน้น
ปุงลิงค์ อมุโก
ปุริโส,
อมุกา ปุริสา. บุรุษคนโน้น
นปุงสกลิงค์ อมุกํ
จิตฺตํ,
อมุกานิ จิตฺตานิ. จิตดวงโน้น
๒๓๑. เก วาฯ
เพราะ ก แปลง ม
ของ อมุ เป็น ส ได้บ้าง.
เก ปเร
อมุสฺส มสฺส โส โหติ วาฯ
อสุกา
อิตฺถี,
อสุกา, อสุกาโยฯ อสุโก
ปุริโส, อสุกา ปุริสาฯ อสุกํ กุลํ, อสุกานิ
กุลานิฯ สพฺพํ กญฺญา, ปุริส, จิตฺตสมํฯ
เพราะ ก
ปัจจัยอันเป็นเบื้องหลัง แปลง ม ของ อมุ ศัพท์เป็น ส ได้บ้าง.
อิตถีลิงค์ อสุกา
อิตฺถี,
อสุกา, อสุกาโยฯ หญิงโน้น
ปุงลิงค์ อสุโก
ปุริโส,
อสุกา ปุริสาฯ บุรุษโน้น
นปุงสกลิงค์ อสุกํ
กุลํ,
อสุกานิ กุลานิฯ ตระกูลโน้น
รูปวิภัตติทั้งหมดเหมือน
กญฺญา, ปุริส และจิตฺต ศัพท์.
กิํ ศัพท์
อิตถีลิงค์
‘อิตฺถิยมตฺวา’ติ เอตฺถ ‘อิตฺถิยํ อา’ติ
วิภตฺตสุตฺเตน กิํสทฺทโต อิตฺถิยํ อาปจฺจโยฯ
ลง อาปัจจัย
ในอิตถีลิงค์ ท้าย กิํ ศัพท์ ด้วยการแบ่งสูตรว่า “อิตฺถิยํ อา” ลง อา ปัจจัย
ในอิตถีลิงค์ ในสูตรนี้ว่า อิตฺถิยมตฺวา[๓๗]
๒๓๒. กิํสฺส โก [ก. ๒๒๗-๙; รู. ๒๗๐, ๒๒๖;
นี. ๔๕๖-๗-๘? ‘กิสฺส โก สพฺพาสุ’ (พหูสุ)]ฯ
เพราะวิภัตติและปัจจัยปวง
แปลง กิํ เป็น ก. [๓๘]
กา
อิตฺถี,
กา, กาโย, กํ, กา, กาโย, กาย, กสฺสา อิจฺจาทิ สพฺพสมํฯ โก ปุริโส, เก ปุริสา,
กํ, เก, เกน, เกหิ, เกภิ, กสฺสฯ
เพราะวิภัตติและปัจจัยทั้งปวง
ก เป็น อาเทสของ กิํ ศัพท์.
ปฐมาวิภัตติ
กา อิตฺถี หญิงอะไร
กา, กาโย
ทุติยาวิภัตติ
กํ
กา, กาโย
ตติยาวิภัตติ
กาย, กสฺสา
วิภัตติที่เหลือเหมือน
สพฺพ ศํพท์
ปุงลิงค์ - ปฐมาวิภัตติ
โก ปุริโส บุรุษคนไหน
เก ปุริสา บุรุษท.คนไหน
ทุติยาวิภัตติ
กํ
เก,
ตติยาวิภัตติ
เกน,
เกหิ, เกภิ
จตุตถีวิภ้ตติ
กสฺส
ในลิงค์ที่ไม่ใช่อิตถีลิงค์
กิ เป็น อาเทสของ กิํ เพราะ ส และสมิํ วิภัตติได้บ้าง.
อนิตฺถิลิงฺเค
ส,
สฺมิํสุ กิํสทฺทสฺส กิ โหติ วาฯ
กิสฺส, เกสํ, เกสานํ, กสฺมา, กมฺหา, เกหิ, เกภิ, กสฺส, กิสฺส, เกสํ, เกสานํ, กสฺมิํ, กมฺหิ,
กิสฺมิํ, กิมฺหิ, เกสุ.
ในลิงค์ที่ไม่ใช่อิตถีลิงค์
กิ เป็น อาเทสของ กิํ เพราะ ส และสมิํ วิภัตติได้บ้าง.
กิสฺส
เกสํ, เกสานํ
ปัญจมีวิภัตติ
กสฺมา, กมฺหา
เกหิ, เกภิ
ฉัฏฐีวิภัตติ
กสฺส, กิสฺส
เกสํ, เกสานํ
สัตตมีวิภัตติ
กสฺมิํ, กมฺหิ, กิสฺมิํ, กิมฺหิ
เกสุ
นปุงสกลิงค์
๒๓๔. กิมํสิสุ นปุํสเก[๓๙]
[‘กิมํสิสุ สห นปุํสเก’ (พหูสุ)]ฯ
ในเพราะ อํ และ
สิ กิํ เป็นอาเทสของ กิํ ในนปุงสกลิงค์ พร้อมทั้งวิภัตติ
นปุํสเก
อํ,
สิสุ กิํสทฺทสฺส เตหิ อํสีหิ สห กิํ โหติฯ
ในเพราะ อํ และ
สิ วิภัตติ กิํ เป็นอาเทสของ กิํ ในนปุงสกลิงค์ พร้อมทั้ง อํ และ สิ วิภัตติ
กิํ
จิตฺตํ,
กานิ, กิํ, กํ วา,
กานิฯ เสสํ ปุลฺลิงฺคสมํฯ อิทํ ปุจฺฉนตฺถสฺส สุทฺธกิํสทฺทสฺส รูปํฯ
ปฐมาวิภัตติ
กิํ จิตฺตํ จิต
อะไร?
กานิ
ทุติยาวิภัตติ
กิํ, กํ
กานิ
รูปวิภัตติที่เหลือเหมือนรูปในปุงลิงค์.
ที่กล่าวมานี้เป็นของกิํศัพท์ ล้วน (ไม่มี ย หรือ จิ ประกอบ)
ซึ่งมีความหมายในการถาม.
‘จิ’อิตินิปาเตน
ยุตฺเต ปน เอกจฺจตฺถํ วา อปฺปตฺถํ วา วทติฯ กาจิ อิตฺถี, กาจิ
อิตฺถิโย, กิญฺจิ อิตฺถิํ, กาจิ,
กายจิ, กาหิจิ, กายจิ,
กสฺสาจิ, กาสญฺจิ, กุโตจิ,
กาหิจิฯ สตฺตมิยํ - กายจิ, กตฺถจิ, กาสุจิฯ
โกจิ
ปุริโส,
เกจิ, กิญฺจิ, เกจิ,
เกนจิ, เกหิจิ, กสฺสจิ,
เกสญฺจิ, กิสฺมิญฺจิ, กิมฺหิจิ,
กตฺถจิ, เกสุจิฯ
กิญฺจิ
กุลํ,
กานิจิ กุลานิ, กิญฺจิ, กานิจิฯ
เสสํ ปุลฺลิงฺคสมํฯ
แต่ในที่ประกอบด้วย
จิ นิบาต จะแสดงอรรถว่า “เอกจฺจ บางครั้ง” แปลว่า บ้าง หรืออรรถว่า “อปฺป
น้อย” แปลว่า ไม่มาก, เล็กน้อย.
อิตถีลิงค์
ปฐมาวิภัตติ
กาจิ อิตฺถี หญิงบางคน,
หญิงน้อยคน
กาจิ อิตฺถิโย
ทุติยาวิภัตติ
กิญฺจิ อิตฺถิํ ซึ่งหญิงบางคน,
ซึ่งหญิงน้อยคน
กาจิ
ตติยาวิภัตติ
กายจิ
กาหิจิ
จตุตถีวิภัตติ
กายจิ, กสฺสาจิ
กาสญฺจิ
ปัญจมีวิภัตติ
กุโตจิ, กาหิจิ
ฉัฏฐีวิภัตติ
(เหมือนจตุตถีวิภัตติ)
สัตตมีวิภัตติ
กายจิ, กตฺถจิ
กาสุจิ
ปุงลิงค์ - ปฐมาวิภัตติ
โกจิ ปุริโส
เกจิ
ทุติยาวิภัตติ
กิญฺจิ
เกจิ
ตติยาวิภัตติ
เกนจิ
เกหิจิ
จตุตถีวิภัตติ
กสฺสจิ
เกสญฺจิ
(ปัญจมีวิภัตติ
เหมือนตติยาวิภัตติ และ ฉัฏฐีวิภัตติ เหมือนจตุตถีวิภัตติ)
สัตตมีวิภัตติ
กิสฺมิญฺจิ, กิมฺหิจิ, กตฺถจิ
เกสุจิ
นปุงสกลิงค์ - ปฐมาวิภัตติ
กิญฺจิ กุลํ, กานิจิ กุลานิ,
ทุติยาวิภัตติ
กิญฺจิ, กานิจิ
วิภัตติที่เหลือเหมือนปุงลิงค์.
โย โกจิ
ปุริโส,
เย เกจิ, ยํ กิญฺจิ, เย
เกจิ เยน เกนจิ, เยหิ เกหิจิ, ยสฺส
กสฺสจิ, เยสํ เกสญฺจิ ยโต กุโตจิ, เยหิ
เกหิจิ, ยสฺส กสฺสจิ, เยสํเกสญฺจิ,
ยสฺมิํ กิสฺมิญฺจิ, ยมฺหิ กิมฺหิจิ, ยตฺถ กตฺถจิ, เยสุ เกสุจิฯ
ยํ
กิญฺจิจิตฺตํ,
ยานิ กานิจิ, ยํ กิญฺจิ, ยานิ กานิจิฯ เสสํ ปุลฺลิงฺคสมํฯ
ในที่ประกอบด้วย
ย ศัพท์ อีก ๑ ศัพท์ จะแสดงอรรถ “สกล ทั้งสิ้น” แปลว่า ทั้งสิ้น.
อิตถีลิงค์ - ปฐมาวิภัตติ
ยา กาจิ อิตฺถี หญิงทั้งหมด[๔๐]
ยากาจิ อิตฺถิโย
ปุงลิงค์
-
ปฐมาวิภัตติ
โย โกจิ ปุริโส, เย เกจิ
ทุติยาวิภัตติ
ยํ กิญฺจิ
เย เกจิ
ตติยาวิภัตติ
เยน เกนจิ
เยหิ เกหิจิ
จตุตถีวิภัตติ
ยสฺส กสฺสจิ
เยสํ เกสญฺจิ
ปัญจมีวิภัตติ
ยโต กุโตจิ
เยหิ เกหิจิ
ฉัฏฐีวิภัตติ
ยสฺส กสฺสจิ
เยสํ เกสญฺจิ
สัตตมีวิภัตติ
ยสฺมิํ
กิสฺมิญฺจิ,
ยมฺหิ กิมฺหิจิ, ยตฺถ กตฺถจิ
เยสุ เกสุจิ
นปุงสกลิงค์ - ปฐมาวิภัตติ
ยํ กิญฺจิจิตฺตํ
ยานิ กานิจิ
ทุติยาวิภัตติ
ยํ กิญฺจิ
ยานิ กานิจิ
วิภัตติที่เหลือเหมือนปุงลิงค์.
อิติ ยาทิฉกฺกราสิ
กลุ่มสรรพนาม ๖
ศัพท์มี ย เป็นต้น เป็นอย่างนี้[๔๑]
[๑] สรรพนาม
ชื่อว่า คำนามที่สาธารณะแก่ลิงค์ทั้งปวงหมายความว่า ไม่ว่าจะลิงค์ไหน ๆ คือ
ปุงลิงค์ อิตถีลิงค์ หรือนปุงสกลิงค์ก็ตาม สามารถใช้สรรพนามแทนได้ทั้งหมด เช่น
ปุริโส คามํ คจฺฉติ บุรุษไปบ้าน, โส ภิกฺขุํ ปสฺสิตฺวา วนฺทติ บุรุษนั้น (เขา)
เห็นพระภิกษุแล้วจึงไหว้. , กญฺญา คามํ คจฺฉติ, สา ภิกฺขุํ ปสฺสิตฺวา วนฺทติ, กุลํ
คามํ คจฺฉติ, ตํ ภิกฺขุํ ปสฺสิตฺวา วนฺทติ
จะเห็นว่า โส (ต + สิ), สา (ต + สิ), ตํ (ต + สิ) แทน ปุริโส กญฺญา และ ตํ ในประโยคหน้า.
แม้เนื้อความทั้งปวงก็เช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นเนื้อความจำนวนเดียว (เอกพจน์)
หรือหลายจำนวน (พหูพจน์) ก็สามารถใช้สรรพนามเหล่านี้แทนได้เหมือนกัน. โดยทั่วไป
สรรพนาม จะพบในประโยคที่ ๒ เป็นต้นไป
เพื่อกล่าวถึงบุคคลสิ่งของที่กล่าวมาแล้วในประโยคก่อน เพื่อย่อคำพูดให้สั้น.
[๒] เมื่อเคยกล่าวความหมายไว้รวมกันมาก่อน
ต่อมามีกล่าวแยกประเภทอีก คำที่ถูกกล่าวภายหลังจากลำดับแรก จะใช้ อิตร แทน เช่น
ปาตราสภตฺตํ สายมาสภตฺตนฺติ ทฺเว ภตฺตานิ, เตสุ ปาตราสภตฺตํ
อนฺโต มชฺฌนฺหิเกน ปริจฺฉินฺนํ, อิตรํ มชฺฌนฺหิกโต อุทฺธํ
อนฺโต อรุเณนฯ (ที.สี.อ.๑๐) ภัตตาหารมี ๒ คือ มื้อเช้า และมื้อเย็น. บรรดา ๒
มื้อนั้น ภัตตาหารเช้า กำหนดไว้ภายในเที่ยงวัน, อื่น (คือ ภัตตาหารเย็น)
กำหนดไว้หลังจากเที่ยงวันจนถึงอรุณขึ้น. จะเห็นว่า ประโยคแรกกล่าวถึงภัตตาหาร ๒
มื้อ ครั้นขยายความภัตตาหารเช้าก่อน โดยระบุชื่อ ต่อมาจะขยายความภัตตาหารเย็นอีก
จึงใช้คำว่า อิตรํ แทน สายมาสภตฺตํ เพื่อกล่าวถึงการประกอบกัน หรือ
เป็นของคู่กันแห่งภัตตาหาร ๒ มื้อที่เคยกล่าวไว้รวมกัน.
[๓] อญฺญ
มีความหมายว่า อื่น เช่นเดียวกับ อิตร แต่มีขอบเขตต่างกัน คือ
ใช้ในกรณีที่มิได้กล่าวถึงสิ่งที่ประกอบร่วมกัน เช่น พฺราหฺมโณว เสฏฺโฐ วณฺโณ,
อญฺเญ ตโย วณฺณา หีนา (พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะสูง ส่วนวรรณะอื่น ๓ ต่ำ)
[๔] ตัวอย่างของ
ตฺย สรรพนามนี้ ในฉบับสยามรัฐเป็น ตาสุ และ ตมฺหิ ส่วน ฉบับฉัฏฐสังคายนาเป็น
ตฺยาสุ และ ตมฺหิ.
พระอรรถกถาจารย์อธิบายศัพท์ว่า ตยาสุ = ตาสุ อิตฺถีสุ
ดังนี้ว่า ตฺยาสูติ สุมุข ตาสุ อิตฺถีสุ กายวจีขิฑฺฑา จ ปณิหิตา โอหิตา
ฐปิตา, กามคุณรติ จ ปติฏฺฐิตาฯ ดูก่อนสุมุข
ความคะนองทั้งกายและวาจา อันบุรุษให้ ตั้งลงแล้ว ให้หยั่งลงแล้ว คือ ให้ตั้งอยู่
ในหญิงทั้งหลายเหล่านั้น. และ ความยินดีในกามคุณ อันบุรุษใดให้ตั้งอยู่เฉพาะแล้วในหญิงทั้งหลายเหล่านั้น.
(ชา.อ. ๒/๑๒๕ – ฉัฏฐ.) แม้ในบทว่า ตฺยมฺหิ ของอุทาหรณ์ต่อไปก็เช่นเดียวกัน
คัมภีร์อรรถกถาท่านแก้เป็น ตมฺหิ ทั้งสิ้น. ด้วยเหตุนี้ ต และ ตฺย สัพพนาม
ต่างก็มีเนื้อความเดียวกัน.
[๖] แปลตามวุตติของสูตรโมคคัลลานไวยากรณ์
(๒/๖๓) โฆ สฺสํ, สฺสา, สฺสายํ ติํสุฯ สฺสมาทีสุ โฆ รสฺโส โหติฯ ตสฺสํ,
ตสฺสา, ตสฺสาย, ตํ,
สภติํ, เอสฺวิติ กิํ? ตาย,
สภายฯ
[๗] สัททนีติ
สุตตมาลา สูตร ๓๖๖ นาสฺมาสฺมึอิจฺเจตานิ เสว.
การเปลี่ยนแปลงรูปของ นา สฺมา และ สฺมึ วิภัตติ หลังสรรพนามที่มีชื่อว่า ฆ และ ป
พึงทราบว่าเหมือนการเปลี่ยนแปลงรูปของ ส วิภัตติ
[๘] คัมภีร์สัททนีติ
เขียนสูตรขึ้นใหม่ แต่คัมภีร์นี้เห็นว่า ควรใช้วิธีการตัดแบ่งสูตร
เพราะในโมคคัลลานไวยากรณ์ไม่ได้ระบุสูตรสำเร็จรูปเช่นนี้. การตัดแบ่งสูตรชนิดนี้
เรียกว่า ทวิธากรณโยควิภาค ตัดแบ่งสูตรเป็นสองส่วน คือ
ส่วนที่สามารถใช้สำเร็จรูปได้ และส่วนที่ไม่ใช้ในการสำเร็จรูปได้ ดังนั้น
ในสูตรว่า ๒๐๔. โฆสฺสํสฺสาสฺสายํติํสุ นี้ มี สสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติแสดงให้เห็นว่า เป็นการแปลงเป็น สฺสา ของ ส
วิภัตติ เท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้ครอบคลุมถึงการแปลง นา, สฺมา และสฺมิํ วิภัตติ
เป็น สฺสา ได้ จึงต้องตัดบทว่า สสฺส ออกไป เพื่อเปิดโอกาสแก่วิภัตติอื่น
ตามอุทาหรณ์ที่พบในพระบาฬี.
[๙]ข้อความนี้พระคันถรจนาจารย์ยกมติของคัมภีร์จูฬนิรุตติ
ตามที่พระอัคควงศาจารย์นำมาสาธกในคัมภีร์สัททนีติ ปทมาลา (๑๒.สพฺพนามตํสทิสนามนามิกปทมาลา)
ว่า
ยานิ ปน ยมกมหาเถเรน
ปุนฺนปุํสกวิสเย สพฺพ กตร กตมาทีนํ อญฺญานิปิ รูปานิ วุตฺตานิฯ ตํ ยถา?
‘‘สพฺพา’’ อิจฺจาทิกํ รูปํ, นิสฺสกฺเก ภุมฺมเก ปน;
‘‘สพฺเพ’’ อิจฺจาทิกํ รูปํ, ยมเกน ปกาสิตํฯ
ตญฺเจ
อุปปริกฺขิตฺวา,
ยุตฺตํ คณฺหนฺตุ
โยคิโน;
สพฺพนามิกรูปญฺหิ, วิวิธํ ทุพฺพุธํ ยโตฯ
อนึ่ง รูปวิภัตติแม้อย่างอื่น ของ สพฺพ กตร กตม เป็นต้น
อันพระยมกมหาเถระกล่าวไว้ เหล่าใด, รูปวิภัตติเหล่านั้น ได้แก่
ท่านพระยมกมหาเถระได้แสดงรูปเป็นต้นว่า สพฺพา ไว้ในปัญจมีวิภัตติ,
ได้แสดงรูปเป็นต้นว่า สพฺเพ ไว้ในสัตตมีวิภัตติ. หากนักศึกษาสังเกตแล้วเห็นว่า
รูปนั้นถูกต้อง ก็ควรนำไปใช้, ด้วยว่า รูปของบทสรรพนามมีมากมายและเข้าใจได้ยาก.
โดยนัยนี้
แสดงว่า พระยมกเถระเป็นอาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์จูฬนิรุตติ.
[๑๐] ไม่พบที่มาของอุทาหรณ์นี้
[๑๑] ปัจจุบันเป็น
โตเทยฺยกปฺปา ทุภโย
[๑๒] ในที่นี้ใช้ปาฐะฉบับสฺยามฯ
ส่วน เทวมนุสฺสา ปัจจุบันเป็น เทวมานุสา ทั้งฉบับสฺยาม.และฉัฏฐ.
มีความหมายเดียวกัน.
[๑๓] ฉบับฉัฏฐสังคายนาเป็น
สเจ กเรยฺยโอกาสํ, อุภโยว วสามเส ในที่นี้ยึดตามปาฐะของฉบับสฺยาม
เพราะตรงกับปาฐะของพระคันถรจนาจารย์
[๑๔] แต่ปาฐะในโมคคัลลานไวยากรณ์
สูตรที่ ๒/๕๒. มีดังนี้ คือ สฺสํสฺสาสฺสาเยสฺวิตเรกญฺเญภิมานมิฯ สระที่สุดของ อิตร
เอก อญฺญ เอต อิม เป็น อิ ถ้ามีสฺสํ สฺสา สฺสาย วิภัตติอาเทสชิดอยู่หลัง.
[๑๕] ด้วยการแสดงเป็นฉัฏฐีวิภัตตินี้
หมายถึง สระที่สุดของศัพท์นั้นๆ คัมภีร์ปทรูปสิทธิเรียกบทลงฉัฏฐีวิภัตติชนิดนี้ว่า
อันตาเปกขฉัฏฐี (ฉัฏฐีวิภัตติที่เล็งถึงสระที่สุด). ส่วน สฺสํ เป็นต้น
แม้จะเป็นอาเทส แต่ก็เพราะเปลี่ยนมาจากวิภัตติ จึงมีฐานะเท่ากับวิภัตตินั้นๆ
เรียกว่า วิภัตติอาเทส (อาเทสของวิภัตติ)
[๑๖] ดูการแปลง
นา และ สฺมิํ เป็น สฺสา ในตอนท้ายของปทมาลาของสพฺพ ศัพท์ ในอิตถีลิงค์.
[๑๗] ในสูตรว่า
สฺสํสฺสาสฺสาเยสิตเรกญฺเญติมานมิ มีสรรพนามที่เป็นการีอยู่ ๕ ศัพท์ คือ
อิตรา เอก อญฺญา เอตา และ อิมา ดังนั้น เพื่อให้ครอบคลุมอุทาหรณ์ในพระบาฬีดังกล่าว
สามารถใช้วิธีการตัดแบ่งสูตรที่ไม่ระบุถึงสัพพนามดังกล่าว โดยให้เหลือเพียง
สฺสํสฺสาสฺสาเยสุ อิ. อีกนัยหนึ่ง ตัดสูตรโดยวิธีการที่เรียกว่า
“วิสุงกรณโยควิภาค” (ตามนัยปทรูปสิทธิ) กล่าวคือ
ตัดแบ่งวิธีการเพิ่มเติมจากสูตรนี้ ที่ระบุเพียงสรรพนาม ๕ ตัวนี้
โดยแยกเป็นอีกสูตรหนึ่งคือ สฺสํสฺสาสฺสาเยสุ อญฺญตรสฺส อิ.
นี้เป็นมติของนิรุตติทีปนี้ เพื่อขยายขอบเขตของสูตรในคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์.
คัมภีร์กัจจายนไวยากรณ์
แสดงการแปลง อา ของสรรพนามสองตัวเท่านั้น คือ เอต และ อิม (ในอิตถีลิงค์) เป็นอิ
ด้วยสูตรที่ ๖๓ ว่า เอติมาสมิ (สระท้ายของเอต และ อิม เป็นอิ).
คัมภีร์ปทรูปสิทธิอธิบายว่า ด้วย จ ศัพท์ที่ตามมาจากสูตรที่ ๖๒ ว่า สํสาสฺเวกวจเนสุ
จ (เพราะสํ และ สา อันเป็นอาเทสของวิภัตติ ลง สอาคม) หมายเอา
สรรพนามอีกหลายตัว เช่น อญฺญ เอก อิตร เป็นต้น. นอกจากนี้ยังแสดงการแปลงสระที่สุดของ
ต ศัพท์ เป็น อิ ด้วยสูตรที่ ๖๔ ว่า (ตสฺสา วา) สระที่สุดของ ต เป็น
อิ ได้บ้าง. แม้ไม่ได้กล่าวถึง อญฺญตร ศัพท์ แต่สามารถถือเอาได้ด้วย จ
ศัพท์นั้นนั่นเอง.
ส่วนในสัททนีติ
ท่านแสดงรูป อญฺญตริสฺสา ไว้ด้วย อาทิ ศัพท์ ในสูตรที่ ๒๑๐ ว่า เอติมาทีนมิ (ในอิตถีลิงค์
เพราะ สํ และ สา ที่แปลงมาจาก สฺมึ และ ส วิภัตติ ฝ่ายเอกวจนะ แปลงสระท้ายของ เอตา
และ อิมา เป็นต้นเป็น อิ). และมีอุทาหรณ์ว่า อญฺญตริสฺสํ, อญฺญตริสฺสา
ในหญิงคนใดคนหนึ่ง, แก่หญิงคนใดคนหนึ่ง. นอกจากนี้
ยังตั้งสูตรด้วยวิธีการนี้อีก คือ ๒๑๑.ตาย วา.ในอิตถีลิงค์ เพราะ สํ และ สา ที่แปลงมาจาก สฺมึ และ ส วิภัตติ
ฝ่ายเอกวจนะ แปลงสระท้ายของ ตา เป็น อิ บ้าง. ตัวอย่างเช่น ติสฺสํ, ตสฺสํ ในหญิงนั้น ติสฺสา, ตสฺสา ของหญิงนั้น
[๑๘] กลุ่มนี้ท่านแสดงไว้
๘ ตัว คือ สพฺพ กตร กตม อุภย อิตร อญฺญ อญฺญตร และ อญฺญตม โดยแสดงรายละเอียดของ
สพฺพ เป็นแบบเสียก่อน ต่อมาจึงแสดงสัพพนามที่เหลืออีก ๗ เฉพาะที่ต่างกันเท่านั้น.
ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงตั้งชื่อว่า สพฺพาทิอฏฺฐก กลุ่มสัพพนามที่มี สพฺพ เป็นลำดับแรก
หรือ ที่ เหมือนกับ สพฺพ.
[๑๙] ปุพฺพ
ศัพท์ที่ประกอบด้วยลิงค์ทั้งสาม ท่านแสดงไว้ด้วยคำว่า ปุพฺเพ ปุพฺพา เพราะปุพฺพ
ที่เป็นนามศัพท์ลิงค์อื่นอันหมายถึง น้ำหนอง เป็นต้น ไม่มีอรรถนี้
[๒๐] แม้สูตรนี้จะแสดงการแปลง
โย เป็น เอ เช่นเดียวกันกับสูตร โยนมาเฏ ก็จริง แต่กระนั้น สูตรว่า ปุพฺพาทีหิ ฉ
นี้ก็มีความแตกต่าง คือ สรรพนาม ๖ ตัวนี้ ไม่แปลง โย เป็น เอ โดยแน่นอน
แต่แปลงเป็น อา ตามหลักการของนามศัพท์ อการันต์ เนื่องจากท่านอนุญาตให้ วาศัพท์
ที่มีอรรถวิกัปป์ ตามมาจากสูตรว่า เก วา
(เพราะ ก ข้างหลัง แปลง ม ของ อมุ เป็น ส ได้บ้าง) เพื่อบ่งความไม่แน่นอน
ในการแปลง โย เป็น เอ ของ สรรพนาม ๖ ตัวนี้. จึงมีรูป ปุพฺพา เป็นต้น
ซึ่งต่างจากสูตร โยนมาเฏ ที่บอกให้แปลงโย ท้ายสัพพนาม อการันต์ทั้งปวงเป็น เอ.
(สมภพ)
[๒๑] การสำเร็จรูปตามระบบของสัพพนามมีสพฺพศัพท์เป็นต้น
เช่น สพฺเพ, สพฺพสฺสํ, สพฺพสฺสา.
ในที่นี้แปลทับศัพท์.
[๒๒] สรุปสั้นว่า
สพฺพ เป็นต้น ถ้าอยู่ท้ายนามศัพท์และเป็นวิเสสนะ จะไม่เป็นสัพพนาม
แต่เป็นนามศัพท์ทั่วไป
[๒๓] ในที่นี้ประกอบด้วยบทลงนํวิภัตติในจตุตถีวิภัตติ
หรือ ฉัฏฐีวิภัตติ เพื่อแสดงให้เห็นว่า
ในกรณีที่ประกอบกับบทที่มีอรรถของตติยาวิภัตติ เช่น มาเสน ปุพฺพานํ จะเป็น มาสปุพฺพานํ
ไม่ใช้วิธีการของสัพพนามเพื่อสำเร็จรูปเป็น มาสปุพฺพาสํ หรือ มาสปุพฺพาสานํ.
[๒๔] แม้สูตรนี้
คือ (โมค.๒/๑๓๒) ฏ สสฺมาสฺมิํสฺสายสฺสํสฺสาสํมฺหามฺหิสฺวิมสฺส
จฯ จะครอบคลุมรูปของ อิม ศัพท์และวิภัตติ,วิภัตติอาเทสอื่นๆอีก
แต่คัมภีร์นิรุตติทีปนี ยกสูตรนี้แสดงไว้เพียงเพื่อต้องการรูปใน ต ศัพท์
ที่ตามมาจากสูตรข้างหน้า คือ (โมค.๒/๑๓๑) ตตสฺส โน ตพฺพาสุ (เพราะ ตพฺพ
ศัพท์ น เป็น อาเทสของ ต แห่ง ต ศัพท์) เท่านั้น.
[๒๕] ดูหลักการนี้ในสัททนีติสุตตมาลาที่
๓๖๘
[๒๖] พระบาฬีฉบับฉัฏฐสังคายนา
และคัมภีร์อรรถกถาสังยุตนิกาย มีปาฐะว่า อภิกฺกโมสานํ ปญฺญายติ, โน ปฏิกฺกโม’’ติฯ ปฏิกฺกโมสานนฺติ ปฏิกฺกโม
เอตาสํฯ (สํ.อ.๓/๘๗) แต่ฉบับสยามรัฐเป็น ปฏิกฺกโม สานํ.
[๒๗] พระบาฬีนี้
น่าจะเป็นตัวอย่างของฉัฏฐีวิภัตติ แต่ท่านจัดไว้ในตัวอย่างของจตุตถีวิภัตติ
[๒๘] ปัจจุบันเป็น
อนมฺหิกาเล สุสฺโสณิ ทั้งฉบับสยามรัฐและฉัฏฐสังคายนา
[๒๙] คัมภีร์ชาตกัฏฐกถา
(ชา.อ.๑/๑๓๐) อธิบายว่า อนมฺหิกาเลติ โรทนกาเล. บทว่า อนมฺหิกาเล ได้แก่
ในกาลเป็นที่ร้องไห้. ในที่นี้แปลว่า ในที่นี้ ตามมติของพระคันถรจนาจารย์.
[๓๐] ปาฐะปัจจุบันเป็น
กาโยติ วา สรีรนฺติ วา, สรีรนฺติ วา กาโยติ วา, กายํ อปฺปิยํ กริตฺวา เอเสเส เอกฏฺเฐ สเม สมภาเค ตชฺชาเตติ?
บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี
รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติ ทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน
เท่ากัน เหมือนกัน หรือ?
คัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า
เอเสเสติ เอโส โสเยวฯ เอเส เอเสติปิ ปาโฐฯ เอโส เอโสเยวาติ อตฺโถฯ เอกฏฺเฐติ
เอกฏฺโฐฯ (คำว่า เอเส เส ได้แก่ เอโส โสเยว แปลว่า บัญญัติทั้ง ๒ นี้
ก็เป็นอย่างเดียวกันนั่นแหละ พระบาลีว่า เอเส เอเส ดังนี้บ้าง แปลว่า
บัญญัติศัพท์เหล่านั้นๆ. อธิบายว่า บัญญัติศัพท์เหล่านั้นนั่นแหละ. คำว่า
มีอรรถอันเดียวกัน ได้แก่ อรรถอย่างเดียวกัน.
การใช้สัตตมีวิภัตติเช่นนี้
เรียกว่า สัตตมีปัจจัตตะ สัตตมีวิภัตติลงในอรรถปฐมาวิภัตติ.
[๓๑] โมคคัลลานวุตติ
ขยายความสูตรนี้ (๒/๑๙๗. อิเมตานเมนานฺวาเทเส ทุติยายํ) ว่า อิมเอตสทฺทานํ
กถิตานุกถนวิสเย ทุติยายเมนาเทโส โหติ (การเปลี่ยน อิม และ เอต เป็น เอน
ย่อมมีได้ในที่จะมีการกล่าวตามข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพราะทุติยาวิภัตติ).
สำหรับหลักการแปลง อิม และ เอต เป็น เอน ในอรรถการกล่าวประโยคหลังซ้ำอีกนี้มี ๒
ประการคือ จะต้องมีผู้ที่ถูกกล่าว
(อภิเธยยะ) ไม่ต่างกัน และประโยคหลังต้องมีเนื้อความไม่ซ้ำกับประโยคต้น มิเช่นนั้น
การกล่าวซ้ำจากประโยคต้นจะไม่สืบต่อกัน เพราะไม่มีประโยชน์อะไรในการกล่าวซ้ำอีก.
ตัวอย่างที่ไม่เข้าหลักการข้อนี้ เช่น เทวทตฺตํ โภชย, อิมญฺจ
ยญฺญทตฺตํ จงให้นายเทวทัตรับประทาน, และให้นายยัญญทัต นี้ด้วย. กรณีนี้
ผู้ที่ถูกกล่าวถึงไม่ใช่บุคคลเดียวกัน จึงไม่แปลง อิมํ เป็น เอนํ. (เรียบเรียงจากโมคคัลลานปัญจิกาและโมคคัลลานปัญจิกาฎีกา
๒/๑๙๗)
[๓๒] ในประโยคตัวอย่าง
ท่านเพิ่ม อโถ นิบาต ที่มีอรรถ อนฺวาเทสตฺถ เพื่อส่องความว่า
ประโยคหลังนี้เป็นการกล่าวซ้ำ. อโถ นิบาตที่มีอรรถนี้ ดูคัมภีร์สัททนีติ สุตตมาลา
อธิบายว่า อโถ อิติ อนฺวาเทเสปิ อโถ นิบาต
ใช้ในอรรถแสดงความคล้อยตาม ตัวอย่างเช่น สฺวาคตนฺเต มหาราช อโถ เต อทุราคตํ
ข้าแต่มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาดีแล้วและพระองค์เสด็จมาโดยปลอดภัย
(นีติ.สุตฺต.จตุปทวิภาค)
[๓๓] เอเน
เป็นรูปพหุวจนะ โดยแปลง อิม และ เอต ศัพท์ เป็น เอน ด้วยสูตรนี้ แล้วแปลง โย เป็น
เอ ด้วยสูตรโยนเมฏ (แปลงโย เป็น เอ)
[๓๔] เพิ่มข้อความตอนต้นจากพระบาฬีมา
เพื่อให้เห็นหลักเกณฑ์การใช้ เอนํ
อย่างชัดเจน.
[๓๕] ท้าย
ล (อุ อู ในปุงลิงค์) สามารถแปลง โย วิภัตติ เป็น โว และ โน ตามหลักการของสูตร
(๑๗๗). ลา โยนํ โว ปุเม (ในปุงลิงค์ แปลง โย ท้าย ล เป็น โว) และสูตร (๑๘๑).
ชนฺตาทิโต โน (แปลง โย ท้าย ชนฺตุ ศัพท์เป็นต้น เป็น โน) เช่น ภิกฺขโว สยมฺภุโว
ชนฺตุโน เป็นต้น. แต่สูตรนี้ห้ามการแปลง โย ท้าย อมุ ศัพท์ เป็น โว และ โน
โดยให้ลบไป.
[๓๖] โมค.ณาทิ.๔/๑๒๒,นิรุตฺติ.
๕๕๐. พระคันถรจนาจารย์อธิบายศัพท์ว่า สกัตถะ ไว้ในสูตรที่ ๕๕๐ว่า สกตฺโถติ
สกปทตฺโถ, ปกติลิงฺคปทตฺโถติ วุตฺตํ โหติฯ (สกตฺถ คือ
ความหมายแห่งบทของตน ได้แก่ เป็นอรรถของบทแห่งลิงค์ตามปกติ).
[๓๗] สูตร
(๗๐. อิตฺถิยมตฺวา =ลง อาปัจจัยในอิตถีลิงค์ ท้ายนามศัพท์
อการันต์.) นี้ ตัดบทเป็น อิตฺถิยํ+อโต+อา.
เมื่อแบ่งสูตรโดยตัด อโต ออก เหลือ อิตฺถิยํ จึงสามารถลงอาปัจจัยท้ายนามศัพท์ที่ไม่ใช่
อการันต์ได้ ดังนั้น เมื่อลงสิเป็นต้นท้าย กิํ แล้วลง อา ปัจจัย ได้รูปเป็น
กิํ+อา+สิ. ต่อมาแปลง กิํ เป็น ก เพราะสิวิภัตติ ด้วยสูตร กิํสสฺส โก
ที่จะกล่าวต่อจากนี้.
[๓๘] คัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์
(สฺยาทิ๒/๑๙๘) เป็น กิสฺส โก สพฺพาสุ เพราะวิภัตติและปัจจัยทั้งปวง แปลง โก
เป็นก. อนึ่ง การลง อา ปัจจัยระหว่างนามศัพท์ที่มีสิวิภัตติเป็นที่สุดนี้
ถือว่าไม่ขัดต่อวิธีการสามัญในสูตรว่า อิตฺถิยมตฺวา (๓/๒๖)
แต่อย่างใด เพราะ กิํ ที่เมื่ออาเทสเป็น ก แล้ว ถือเป็นนามศัพท์อการันต์.
(เรียบเรียงจากคัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกาและฎีกา สูตรที่ ๒๙๘).
ส่วนคัมภีร์ปทรูปสิทธิให้แปลง กิํ เป็น ก ด้วยสูตร เสเสสุ จ (แปลง กิํ เป็น ก
เพราะวิภัตติ และ ปัจจัยที่เหลือ)
จากนั้นลง อา ปัจจัย ระหว่าง กญฺญ และ สิ ด้วยสูตร อิตฺถิยมโต อาปฺปจฺจโย,
ลบสิ.
[๓๙] โมคคัลลานไวยากรณ์
สูตรที่ ๒/๒๐๐. เป็น กิมํสิสุ สห นปุํสเก ในนปุงสกลิงค์ เพราะ อํ และ สิ แปลง กิํ
พร้อมวิภัตติ เป็น กิํ. คัมภีร์ปโยคสิทธิ สูตรที่ ๒๐๐ อธิบายว่า กาเทสสฺส สามญฺญตฺตา
‘‘วิเสสวิหิตา วิธโย สามญฺญวิธโย นิเสเธนฺตี’’ติ ญายา กิํอาเทเสน กาเทสนิวุตฺติฯ การปฏิเสธการแปลงเป็น ก ย่อมมีโดยการแปลง
กิํ เป็น กิํ เพราะการอาเทสเป็น ก เป็นวิธิทั่วไป ตามหลักการว่า วิเสสวิหิตา วิธโย
สามญฺญวิธโย นิเสเธนฺติ วิธีที่พิเศษ ย่อมปฏิเสธวิธีโดยทั่วไป”
[๔๐] นอกจากนี้
ยังมีอรรถ “อนิยม ไม่เจาะจง” (ธาน.สูจิ.) แปลว่า
ใดๆ.
[๔๑] พระคันถรจนาจารย์มิได้ตั้งหัวข้อไว้
ในที่นี้ตั้งหัวข้อขึ้นเอง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น