วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สมาสกัณฑ์ ๔ - ทิคุ, พหุพพีหิสมาส

ทิคุสมาส
ทิคุสมาส
อถ ทิคุสงฺขาโต ปฐมาตปฺปุริโส วุจฺจเตฯ

จะแสดงปฐมาตัปปุริสสมาสที่นับว่า ทิคุ สืบต่อจากกัมมธารยสมาส.

ทฺเว คาโว ทิคุ, สงฺขฺยาปุพฺพตฺเตน นปุํสเกกตฺเตน จ ทิคุสทฺทสทิสตฺตา สพฺโพ จายํ สมาโส ทิคูติ วุจฺจติฯ

โคสองตัว เรียกว่า ทิคุ, สมาสนี้ทุกประเภท เรียกว่า ทิคุ เพราะเสมือนกับทิคุนั้น โดยมีจำนวนนับ (สังขยาศัพท์) เป็นบทหน้า และมีความเป็นนปุํสกลิงค์เอกพจน์(เท่านั้น).

๓๕๒. สงฺขฺยาทิ [1]
สมาหาเรกตฺเถ สงฺขฺยาปุพฺพกํ เอกตฺถํ นปุํสกํ โหติ, สมาหารวจเนเนว เอกตฺตญฺจ สิทฺธํฯ

๓๕๒. สงฺขฺยาทิ.
(ทิคุสมาสมีสังขยาศัพท์เป็นบทหน้า)
ในสมาสชนิดสมาหาร (ประมวลมาเป็นกลุ่มเดียว) สมาสชนิดที่มีจำนวนนับเป็นบทหน้า เป็นนปุงสกลิงค์ และด้วยคำว่า สมาหาร นั่นเอง จึงสำเร็จเป็นเอกพจน์.


ทฺเว คาโว ทิคุ, ‘โคสฺสูติ สุตฺเตน โอสฺส อุตฺตํ, ตโย โลกา ติโลกํ, ตโย โลกา ญาณสฺมิํ สมาหฏา สมฺปิณฺฑิตาติ ติโลกํ, ติณฺณํ โลกานํ สมาหาโรติ ติโลกํ, ตโย จ เต โลกา จาติ ติโลกํฯ เอวํ ติภวํ, ติปุริสํ, ตีณิ มลานิ ติมลํ, ติรตนํ, ติสฺโส สญฺญาโยติสญฺญํ, ‘สฺยาทีสุ รสฺโสติ รสฺสตฺตํฯ จตฺตาโร ปถา จตุปฺปถํ, จตฺตาริ สจฺจานิ จตุสจฺจํ, จตสฺโส ทิสา จตุทฺทิสํฯ เอวํ ปญฺจสิกฺขาปทํ, สฬายตนํ, สตฺตาหํ, อฏฺฐปทํ, นวโลกุตฺตรํ, ทสสิกฺขาปทํ, สตโยชนํ, สหสฺสโยชนํ อิจฺจาทิฯ

โคสองตัว ชื่อว่า ทิคุ, แปลง โอ เป็น อุ ด้วยสูตรว่า “โคสฺสุ” (แปลง โอ ของ โคศัพท์ เป็นอุ). ตัวอย่างเช่น ตโย โลกา ติโลกํ โลกท.สาม ชื่อว่า ติโลกํ. คำว่า ติโลกํ คือ โลกท.สาม อันบุคคล ประมวล คือ รวบรวมมา ในญาณ, หรือ คือ การรวบรวมมาซึ่งโลกท.สาม. สามด้วย สามเหล่านั้น เป็นโลก ด้วย ชื่อว่า ติโลกํ. (ตัวอย่างอื่น คือ) ติภวํ ภพสาม, ติปุริสํ บุรุษสามคน, มลทินท.สาม ชื่อว่า ติมลํ, ติรตนํ รัตนะสาม, สัญญาท. สาม ชื่อว่า ติสญฺญํ. เป็นรัสสะ ด้วยสูตรว่า “สฺยาทีสุ รสฺโส” (ในเพราะวิภัตติมีสิเป็นต้น สระหน้าเป็นรัสสะ). ทางท.สี่ ชื่อว่า จตุปฺปถํ, สัจจะท. สี่ ชื่อว่า จตุสจฺจํ, ทิศท.สี่ ชื่อว่า จตุทฺทิสํ. ปญฺจสิกฺขาปทํ สิกขาบทห้า, สฬายตนํ อายตนะหก, สตฺตาหํ วันเจ็ด, อฏฺฐปทํ บทแปด, นวโลกุตฺตรํ โลกุตตระธรรมเก้า, ทสสิกฺขาปทํ  สิกขาบทสิบ, สตโยชนํ ร้อยโยชน์, สหสฺสโยชนํ พันโยชน์ ก็เช่นเดียวกันนี้.

อิมสฺมิํ สมาหารทิคุมฺหิ สพฺพํ นปุํสกเมว รสฺสนฺตเมว เอกวจนนฺตเมว จาติฯ

ในสมาหารทิคุ มีลักษณะดังนี้ คือ ทั้งหมดจะเป็นนปุงสกลิงค์ มีสระที่สุดเป็นรัสสะและมีวิภัตติฝ่ายเอกพจน์เท่านั้น.

อสมาหารทิคุ[2] ยถา? เอโก ปุคฺคโล เอกปุคฺคโล, ตโย ภวา ติภวา, จตสฺโส ทิสา จตุทฺทิสา อิจฺจาทิฯ

อสมาหารทิคุ  มีตัวอย่างดังนี้. เอโก ปุคฺคโล เอกปุคฺคโล บุคคลหนึ่ง ชื่อว่า เอกปุคฺคโล. ตโย ภวา ติภวา ภพท.สาม ชื่อว่า ติภวา, ภพท.สี่ ชื่อว่า จตุทฺทิสา.

สงฺขฺยาฐาเน ปน[3]  ทฺเว สตานิ ทฺวิสตํฯ เอวํ ติสตํ, จตุสตํ, ปญฺจสตํ, ฉสตํ, สตฺตสตํ, อฏฺฐสตํ, นวสตํ, ทสสตํ, ทฺวิสหสฺสํ, ติสหสฺสํ, จตุสหสฺสํ, ปญฺจสหสฺสํ, ทสสหสฺสํฯ

แต่ในที่อันเป็นจำนวนนับ  มีดังนี้ คือ เทฺว สตานิ ทฺวิสตํ. ร้อยท. สอง ชื่อว่า ทฺวิสตํ (สองร้อย). ติสตํ สามร้อย, จตุสตํ สี่ร้อย, ปญฺจสตํ ห้าร้อย, ฉสตํหกร้อย, สตฺตสตํ เจ็ดร้อย, อฏฺฐสตํ แปดร้อย, นวสตํ เก้าร้อย, ทสสตํ สิบร้อย (หนึ่งพัน), ทฺวิสหสฺสํ สองพัน, ติสหสฺสํ  สามพัน, จตุสหสฺสํ สี่พัน, ปญฺจสหสฺสํ ห้าพัน, ทสสหสฺสํ สิบพัน (หนึ่งหมื่น) ก็เช่นเดียวกันนี้.

ทฺเว สตสหสฺสานิ ทฺวิสตสหสฺสํฯ เอวํ ‘‘ติสตสหสฺสํ, จตุสตสหสฺสํ, ปญฺจสตสหสฺส’’นฺติ วา ‘‘ทฺวิสตานิ, ทฺเว สตานิ, ติสตานิ, ตีณิ สตานิ, จตุสตานิ, จตฺตาริ สตานิ, ทฺวิสหสฺสานิ, ทฺเว สหสฺสานิ, ติสหสฺสานิ, ตีณิ สหสฺสานิ, ทฺวิสตสหสฺสานิ, ทฺเว สตสหสฺสานี’’ติ วา เอวํ วจนทฺวยญฺจ วากฺยญฺจ เวทิตพฺพํฯ เอวํ สตสหสฺเสปีติฯ




แสนท.สอง ชื่อว่า ทฺวิสหสฺสํ สองแสน. ติสตสหสฺสํ สามแสน, จตุสตสหสฺสํ สี่แสน, ปญฺจสตสหสฺสํ ห้าแสน ก็เช่นเดียวกันนี้. หรือเป็นรูปดังนี้ว่า ทฺวิสตานิ หรือ ทฺเว สตานิ สองร้อย, ติสตานิ หรือ ตีณิ สตานิ สามร้อย, จตุสตานิ หรือ จตฺตาริ สตานิ สี่ร้อย, ทฺวิสหสฺสานิ หรือ ทฺเว สหสฺสานิ สองพัน, ติสหสฺสานิ หรือ ตีณิ สหสฺสานิ สามพัน, ทฺวิสตสหสฺสานิ หรือ ทฺเว สตสหสฺสานิ สองแสน. พึงทราบรูปสำเร็จสองแบบ และวากยวิเคราะห์ ดังกล่าวมานี้. แม้ในคำว่า สตสหสฺส หนึ่งแสน ก็เช่นเดียวกันนี้.
เอตฺถ สิยา ทิคุ นาม สงฺขฺยาปุพฺพเมว สิยา, อิเมสุ จ สพฺพํ สงฺขฺยาปทเมว โหตีติ? ทิคุมฺหิ ปุพฺพํ สงฺขฺยาปทเมว สิยา, ปรปทํ ปน สงฺขฺยาปทมฺปิ อญฺญมฺปิ ยุชฺชตีติฯ

ในกรณีนี้ หากมีข้อสงสัยว่า ธรรมดาว่า ทิคุสมาส ควรมีสังขยาเป็นบทหน้าเท่านั้น มิใช่หรือ, แต่ในตัวอย่างดังกล่าวมานี้ ทั้งหมดมีแต่บทสังขยาเท่านั้น? ขอชี้แจงว่า ในทิคุสมาส บทหน้าควรมีสังขยาเป็นบทหน้าเท่านั้น แต่บทหลัง จะเป็นสังขยาหรือเป็นบทนามชนิดอื่น ก็ใช้ได้.
ทิคุสมาโส นิฏฺฐิโตฯ

ทิคุสมาส จบ
พหุพฺพีหิสมาส
พหุพพีหิสมาส
อถ พหุพฺพีหิสมาโส วุจฺจเตฯ

จะกล่าวถึงพหุพพีหิสมาส สืบต่อไป.

พหโว วีหโย ยสฺมิํ เทเส โสยํ พหุพฺพีหิ, ตาทิโส คาโม วา เทโส วา ชนปโท วา, พหุพฺพีหิสทฺทสทิสตฺตา สพฺโพ จายํ สมาโส พหุพฺพีหีติ วุจฺจติฯ ยถา หิ พหุพฺพีหิสทฺโท สมาสปทตฺเถ อติกฺกมฺม คาม, เทส, ชนปทอิจฺจาทีนํ อญฺเญสํ ปทานํ อตฺเถสุ ติฏฺฐติ, ตถา อยํ สมาโสปิฯ อญฺญปทตฺถปธาโน หิ พหุพฺพีหิสมาโสฯ

ข้าวเปลือกมีมาก ในที่ใด ที่นั้น ชื่อว่า พหุพพีหิ, ได้แก่ หมู่บ้าน, ประเทศ, แว่นแคว้น เช่นนั้น. สมาสนี้ ทุกประเภท เรียกว่า พหุพพีหิ เพราะเหมือนกับคำว่า พหุพพีหิ. เปรียบเหมือนว่า คำว่า พหุพพีหิ ย่อมตั้งอยู่ในอรรถทั้งหลายของบทเหล่าอื่น มีหมู่บ้าน ประเทศและแว่นแคว้นเป็นต้น โดยก้าวล่วงอรรถของสมาสบท ฉันใด, แม้สมาสนี้ก็เป็นเหมือนฉันนั้น. พหุพพีหิสมานี้ มีอรรถของบทอื่นเป็นประธาน.

โส สงฺเขเปน ทุวิโธ ตคฺคุณสํวิญฺญาโณ, อตคฺคุณสํวิญฺญาโณ จาติฯ

พหุพพีหิสมาสมีสองอย่างโดยสังเขป คือ ตัคคุณสังวิญญาณ และ อตัคคุณสังวิญญาณ.

ตตฺถ คุโณติ อปฺปธานภูโต สมาสปทานํ อตฺโถ, โส อญฺญปทตฺถสฺส วิเสสนภูตตฺตา ตสฺส อญฺญปทตฺถสฺส คุโณติ อตฺเถน ตคฺคุโณติ วุจฺจติ, วิญฺญาตพฺโพติ วิญฺญาโณ, อญฺญปทตฺโถ, ตคฺคุณํ อมุญฺจิตฺวา ตคฺคุเณน สเหว วิญฺญาโณ อญฺญปทตฺโถ ยสฺมินฺติ ตคฺคุณสํวิญฺญาโณ, น ตคฺคุณสํวิญฺญาโณ อตคฺคุณสํวิญฺญาโณ, ยตฺถ สมาสปทตฺโถ อวยวภาเวน วา สหวิเธยฺยภาเวน วา อญฺญปทตฺเถ อนฺโตคโธ โหติ, โส ตคฺคุณสํวิญฺญาโณฯ ยถา? ฉินฺนหตฺโถ ปุริโส, พุทฺธปฺปมุขสฺส ภิกฺขุสงฺฆสฺส ภตฺตํ เทติ, สปุตฺตทาโร อาคโต, ปาทโย อุปสคฺคา นามาติฯ

ในคำว่า ตัคคุณสังวิญญาณนั้น มีวิเคราะห์ดังนี้. คำว่า คุณ ได้แก่ เนื้อความของบทสมาส ซึ่งมิใช่เนื้อความประธาน (เนื้อความหลัก, วิเสสยะ). เนื้อความดังกล่าวนั้น เรียกว่า ตัคคุณะ เพราะความหมายว่า เป็นคุณ (วิเสสนะ) ของอัญญบทนั้น เหตุที่เป็นวิเสสนะของเนื้อความของอัญญบท. คำว่า วิญญาณ ได้แก่ เนื้อความของอัญญบทที่ผู้ฟังทราบได้. เนื้อความของอัญญบทที่ผู้ฟังสามารถทราบได้พร้อมกับ(เนื้อความของบทสมาสที่ชื่อว่า) ตัคคุณะ  เนื่องจากไม่ละทิ้งตัคคุณะ มีอยู่ในพหุพพีหิสมาสใด พหุพพีหิสมาสนั้น เรียกว่า ตัคคุณสังวิญญาณ (พหุพพีหิสมาสที่มีเนื้อความอัญญบท ที่ผู้ฟังสามารถรู้ได้พร้อมกับตัคคุณะ กล่าวคือวิเสสนะของอัญญบท), ไม่ใช่ตัคคุณสังวิญญาณ เรียกว่า อตัคคุณสังวิญญาณ (พหุพพีหิสมาสที่มีเนื้อความอัญญบท ที่ผู้ฟังไม่สามารถรู้ได้พร้อมกับตัคคุณะ).  เนื้อความของบทสมาส อันนับเนื่องอยู่ในเนื้อความของอัญญบท โดยความเป็นอวัยวะ (ของร่างกายมนุษย์เป็นต้น) หรือ โดยความเป็นสิ่งที่สามารถประกอบร่วมกัน มีอยู่ในพหุพพีหิสมาสใด, พหุพพีหิสมาสนั้น ชื่อว่า ตัคคุณสังวิญาณ. ตัวอย่างเช่น ฉินฺนหตฺโถ ปุริโส บุรุษ มีมืออันขาดแล้ว, พุทฺธปฺปมุขสฺส ภิกฺขุสงฺฆสฺส ภตฺตํ เทติ ย่อมถวายภัตตาหาร แด่ภิกษุสงฆ์ อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข, สปุตฺตทาโร อาคโต บุรุษ พร้อมทั้งบุตรและภรรยา มาแล้ว, ปาทโย อุปสคฺคา นาม ศัพท์ท.มีป เป็นต้น ชื่อว่า อุปสัค.

เอตฺถ จ พุทฺธปฺปมุขสฺส ภิกฺขุสงฺฆสฺส ภตฺตํ เทตีติ ภิกฺขุสงฺฆสฺส จ ภตฺตํ เทติ, ปมุขภูตสฺส พุทฺธสฺส จ ภตฺตํ เทตีติ อตฺโถฯสปุตฺตทาโร อาคโตติ ปุตฺตทารา จ อาคตา, ปุริโส จ อาคโตติ อตฺโถฯ ปาทโย อุปสคฺคา นามาติ ป-กาโร จ อุปสคฺโค นาม, ปราทโย จ อุปสคฺคา นามาติ อตฺโถ. เอวํ โยชนารหตา อญฺญปทตฺเถน สห สมาสปทตฺถสฺส วิเธยฺยตา นามา-ติ.

ในตัวอย่างเหล่านั้น ที่ว่า ถวายภัตตาหารแด่ภิกษุสงฆ์ อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข หมายความว่า ย่อมถวายภัตตาหารแด่ภิกษุสงฆ์ด้วย, ถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระประมุขด้วย. ที่ว่า บุรุษ พร้อมทั้งบุตรและภรรยา มาแล้ว หมายความว่า บุตรและภรรยา มาแล้ว ด้วย, บุรุษ มาแล้วด้วย. ที่ว่า อักษรมีป เป็นต้น ชื่อว่า อุปสัค หมายความว่า ป อักษร ชื่อว่า อุปสัค ด้วย, อักษรท.มี ปรา เป็นต้น ชื่อว่า อุปสัค ด้วย. ความเหมาะสมเพื่อการประกอบ (ความ) อย่างนี้ ชื่อว่า ความสามารถเพื่อจัดแจง (ทำการ) แห่งเนื้อความของบทสมาส ร่วมกับเนื้อความของอัญญบท [4]ฉะนี้แล.

อตคฺคุณสํวิญฺญาโณ ยถา? ทินฺนสุงฺโก ราชา ทานํ เทติ, ปพฺพตาทีนิ เขตฺตานิ กสฺสติ อิจฺจาทิฯ อิเมสุ ปน สมาสปทตฺโถ อวิเธยฺโย, อญฺญปทตฺโถ เอว วิเธยฺโยฯ

อตัคคุณสังวิญฺญาณพหุพพีหิสมาส มีตัวอย่างว่า ทินฺนสุงฺโก ราชา ทานํ เทติ พระราชา ผู้ทรงมีภาษีอันประชาชนถวายแล้ว ถวายทาน, ปพฺพตาทีนิ เขตฺตานิ กสฺสติ ชาวนา ย่อมไถพื้นที่อันมีภูเขาเป็นต้น. ก็ในตัวอย่างสองนี้ เนื้อความของบทสมาส ไม่สามารถเพื่อจัดแจง (ทำการ), เนื้อความของอัญญบทเท่านั้น ที่สามารถเพื่อจัดแจง (ทำการ) [5]

ปฐมาพหุพฺพีหิ
ปฐมาพหุพพีหิสมาส
ปฐมาพหุพฺพีหิ, ทุติยาพหุพฺพีหิ, ตติยาพหุพฺพีหิ, จตุตฺถีพหุพฺพีหิ, ปญฺจมีพหุพฺพีหิ, ฉฏฺฐีพหุพฺพีหิ, สตฺตมีพหุพฺพีหิ จาติ สตฺตวิโธฯ

พหุพพีหิสมาส มี ๗ อย่าง คือ ปฐมาพหุพพีหิสมาส ทุติยาพหุพพีหิสมาส, ตติยาพหุพพีหิสมาส, จตุตถีพหุพฺพีหิสมาส, ปัญจมีพหุพพีหิสมาส, ฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส, สัตตมีพหุพพีหิสมาส[6].

ตตฺถ ปฐมาพหุพฺพีหิ สหปุพฺพปท, อุปมานปุพฺพปท, สงฺขฺโยภยปท, ทิสนฺตราฬตฺถ, พฺยติหารลกฺขณวเสน ปญฺจวิโธฯ

บรรดาพหุพพีหิสมาส ๗ เหล่านั้น ปฐมาพหุพพีหิสมาสมี ๕ อย่าง คือ สหบุพพบทพหุพพีหิสมาส, อุปมานบุพพบทพหุพพีหิสมาส, สังโขยภยบทพหุพพีหิสมาส, ทิสันตรฬัตถสมาสพหุพพีหิสมาส, พยติเรกลักขณพหุพพีหิสมาส[7].
ตตฺถ

บรรดาพหุพพีหิสมาสเหล่านั้น (มีข้อกำหนด ด้วยสูตรนี้คือ)

๓๕๓. วาเนกมญฺญตฺเถ [8]

๓๕๓. วาเนกมญฺญตฺเถ.
(บทนามหลายบท เข้าสมาสกันในเนื้อความของอัญญบท ได้บ้าง)

อเนกํ สฺยาทฺยนฺตปทํ อญฺญปทสฺส อตฺเถ วิกปฺเปน เอกตฺถํ โหติฯ

บทนามมากกว่าหนึ่ง มีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน  ในเนื้อความของอัญญบทบทอื่น ได้บ้าง.

สห วิตกฺเกนาติ สวิตกฺโก, วิตกฺเกน สห โย วตฺตตีติ วา สวิตกฺโก, สมาธิฯ

(ตัวอย่าง) สวิตกฺโก (สมาธิพร้อมด้วยวิตก) มีวิเคราะห์ว่า สห วิตกฺเกนาติ สวิตกฺโก สมาธิ พร้อมด้วยวิตก ชื่อว่า สวิตกฺโก. อีกนัยหนึ่ง สมาธิใด ย่อมเป็นไปพร้อมกับวิตก สมาธินั้น ชื่อว่า สวิตกฺโก.

เอตฺถ จ สห วิตกฺเกนาติ เอตฺถ ปฐมาวิภตฺติยา อตฺถภูโต อญฺญปทตฺโถ วากฺยสามตฺถิเยน สิชฺฌติฯ น หิ กฺริยาการกรหิตํ วากฺยํ นาม สมฺภวติ, อิมินา สุตฺเตน สหปท, วิตกฺกปทานํ สมาธิสงฺขาเตน อญฺญปทตฺเถน เอกตฺถีภาโว โหติ, เอกตฺถีภาเว จ โหนฺเต วากฺเย ฐิตานํ อญฺญปทานํ วิภตฺตีนญฺจ สพฺเพ อตฺถา เอกตฺถภูเตน สมาเสน วุตฺตา นาม โหนฺติ, อญฺญปทานิ จ วิภตฺติโย จ วุตฺตตฺถา นาม, วุตฺตตฺถานญฺจ อตฺถรหิตตฺตา ปโยคกิจฺจํ นตฺถิ, ตสฺมา เอกตฺถตายนฺติ สุตฺเตน วิภตฺตีนํ โลโป, เอวํ สพฺพสมาเสสุ วากฺเยทิสฺสมานานํ ย, , เอต, อิม, อิติ, เอว, อิว, วิย, , วาอิจฺจาทีนํ อญฺญปทานํ มหาวุตฺติสุตฺเตน โลโป, วิภตฺตีนญฺจ โลเป สติ สรนฺตานํ พฺยญฺชนนฺตานญฺจ สมาสปทานํ สยเมว ปกติภาโว, อิธ ปน สหสฺส โสญฺญตฺเถติ สุตฺเตน สหสทฺทสฺส สตฺตํ, ตโต สฺยาทฺยุปฺปตฺติ, อิจฺจาทินา สพฺพลิงฺค, วิภตฺติ, วจเนหิ โยเชตฺวา ปโยคสิทฺธิ เวทิตพฺพาฯ

ในตัวอย่างนี้ ในคำว่า สห วิตกฺเกน (พร้อมด้วยวิตก) เนื้อความของอัญญบท อันเป็นเนื้อความของปฐมาวิภัตติ ย่อมสำเร็จโดยความสามารถของวากยะ (คือ มีโดยอัตตโนมัติ เพราะประโยคต้องมีการกะ มีปฐมาวิภัตติเป็นต้นและกริยา). ด้วยเหตุว่า วากยะที่ปราศจากกริยาการกะ เกิดขึ้นไม่ได้, เป็นอันว่า บทว่า วิตกฺก เข้าสมาสกับเนื้อความของอัญญบทกล่าวคือ สมาธิ ด้วยสูตรนี้, เและเมื่อความเป็นสมาสมีอยู่ เนื้อความทั้งหมด แห่งอัญญบท และ วิภัตติที่ดำรงอยู่ในวากยวิเคราะห์ ชื่อว่า เป็นอันถูกบทสมาสซึ่งมีเนื้อความเป็นอันเดียวกันกล่าวแล้ว. อัญญบทและวิภัตติ ชื่อว่า มีเนื้อความซึ่งถูกบทสมาสกล่าวแล้ว, กิจด้วยการประกอบ ย่อมไม่มี เพราะเนื้อความอันบทสมาสกล่าวแล้วเช่นกัน (คือ ไม่ใช้อัญญบทและวิภัตติในบทสมาสนั้นอีก), เพราะเหตุนั้น จึงลบวิภัตติทั้งหลายด้วยสูตรว่า “เอกตฺถตายํ”, ลบอัญญบททั้งหลายอาทิ ย, , เอต, อิม, อิติ, เอว, อิว, วิย, , วา  ซึ่งปรากฏในรูปวิเคราะห์ ในสมาสทั้งปวง ด้วยมหาสูตร, เมื่อเกิดการลบวิภัตติ ความเป็นปกติของบทสมาส ทั้งที่มีสระเป็นที่สุดและที่มีพยัญชนะเป็นที่สุด ก็มีโดยตนเองนั่นแหละ, แต่ในที่นี้ สห ศัพท์ เป็น ส ด้วยสูตรว่า “สหสฺส โสญฺญตฺเถ”, ลำดับต่อมา ลงวิภัตติมีสิเป็นต้น, พึงทราบรูปสำเร็จ หลังจากประกอบลิงค์ วิภัตติ และพจน์ทั้งปวง โดยนัยเป็นต้นดังนี้ว่า สวิตกฺโก สมาธิ สมาธิ อันเป็นไปพร้อมวิตก, สวิตกฺกา สมาธโย สมาธิท. อันเป็นไปพร้อมวิตก, สวิตกฺกา ปญฺญา ปัญญา อันเป็นไปพร้อมวิตก, สวิตกฺกา ปญฺญาโย ปัญญาท. อันเป็นไปพร้อมวิตก, สวิตกฺกํ ฌานํ ฌานอันเป็นไปพร้อมวิตก, สวิตกฺกานิ ฌานานิ ฌานท. อันเป็นไปพร้อมวิตก.

อุปมานปุพฺพปโท ยถา? กายพฺยามานํ สมปมาณตฺตา นิคฺโรโธ อิว ปริมณฺฑโล นิคฺโรธปริมณฺฑโล, นิคฺโรโธ อิว วา ปริมณฺฑโล โย โหตีติ โส นิคฺโรธปริมณฺฑโล, ราชกุมาโร, สงฺโข อิว ปณฺฑโร สงฺขปณฺฑโร, กาโก อิว สูโร กากสูโร, สตฺตานํ ปญฺญาจกฺขุปฏิลาภกรเณน เตสํ จกฺขุ วิย ภูโตติ จกฺขุภูโต, โลกุตฺตรธมฺมปฏิลาภกรเณน เตสํ ธมฺโม วิย ภูโตติ ธมฺมภูโต, นิจฺจโสมฺมหทยตาย พฺรหฺมา วิย ภูโตติ พฺรหฺมภูโต, อนฺโธ วิย ภูโต อยนฺติ อนฺธภูโต อิจฺจาทิฯ

อุปมานบุพพบท มีตัวอย่างเช่น  นิโครธปริมณฺฑโล มีวิเคราะห์ว่า พระราชกุมารนี้ มีปริมณฑล เพียงดัง ต้นไทร เพราะความที่กายและและวามีขนาดเท่ากัน จึงชื่อว่า นิโครธปริมณฺฑโล มีปริมณฑล (มีร่างกลม) เหมือนต้นไทร. อีกนัยหนึ่ง ผู้ใด เป็นผู้กลมเพียงดังต้นไทร เพราะเหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า  นิคฺโรธปริมณฺฑโล ได้แก่ พระราชกุมาร.  บุคคลนี้ ขาวเพียงดังสังข์ จึงชื่อว่า สงฺขปณฺฑโร ขาวเพียงดังสังข์, บุรุษนี้ กล้า เพียงดังกา จึงชื่อว่า กากสูโร, พระผู้มีพระภาค พระองค์นี้ ทรงเป็นเพียงดังจักษุของเหล่าสัตว์ เพราะทรงกระทำซึ่งการได้ปัญญาจักษุแห่งพวกเขา เหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า จกฺขุภูโต ผู้ทรงเป็นเพียงดังจักษุ. พระผู้มีพระภาค พระองค์นี้ ทรงเป็นเพียงดังธรรม ของเหล่าสัตว์ เพราะทรงกระทำซึ่งการได้โลกุตตรธรรมแห่งพวกเขา เหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ธมฺมภูโต ผู้ทรงเป็นเพียงดังธรรม. พระผู้มีพระภาค พระองค์นี้ ทรงเป็นเพียงดังพรหม เพราะมีหทัยเยือกเย็นเสมอ เหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า พฺรหฺมภูโต ผู้ทรงเป็นเพียงดังพรหม. บุคคลนี้ เป็นเพียงดังคนบอด เหตุนั้น จึงชื่อว่า อนฺธภูโต ผู้เป็นเพียงดังคนบอด.

สงฺขฺโยภยปโท ยถา? ทฺเว วา ตโย วา ปตฺตา ทฺวิตฺติปฺปตฺตา, อิธ วาสทฺทาเยว อญฺญปทานิ นาม, อนิยมภูโต เตสํ อตฺโถ อญฺญปทตฺโถ นามฯ ทฺวีหํ วา ตีหํ วา ทฺวีหตีหํ, ฉ วา ปญฺจ วา วาจา ฉปฺปญฺจวาจาฯ เอวํ สตฺตฏฺฐมาสา, เอกโยชนทฺวิโยชนานิ อิจฺจาทิฯ

สังขโยภยบท มีตัวอย่างเช่น บาตร สอง หรือ สามใบ ชื่อว่า ทฺวิติปฺปตฺตา บาตร สองหรือสามใบ. วาศัพท์เท่านั้น ในที่นี้ ชื่อว่า อัญญบท, เนื้อความที่แน่นอน ของอัญญบทเหล่านั้น ชื่อว่า อัญญปทัตถะ.  สองหรือสามวัน   ชื่อว่าทฺวีหตีหํ สองหรือสามวัน, คำพูด ๖ คำ หรือ คำพูด ๕ คำ ชื่อว่า ฉปฺปญฺจวาจา คำพูดหกหรือห้าคำ. สตฺตฏฺฐมาสา เจ็ดหรือแปดเดือน, เอกโยชนทฺวิโยชนานิ หนึ่งโยชน์ หรือ สองโยชน์ ก็เช่นเดียวกันนี้.

ทิสนฺตราฬตฺโถ ยถา? ทกฺขิณสฺสา จ ปุพฺพสฺสา จ ยทนฺตราฬํ โหติ สา ทกฺขิณปุพฺพาฯ เอวํ ปุพฺพุตฺตรา, ปจฺฉิมุตฺตรา, อปรทกฺขิณา, มหาวุตฺตินา ปุพฺพปเท รสฺสตฺตํฯ ทกฺขิณา จ สา ปุพฺพา จาติ ทกฺขิณปุพฺพา อิจฺจาทินา กมฺมธารโยปิ ยุชฺชติฯ

ทิสันตราฬัตถพหุพพีหิสมาส ตัวอย่างเช่น ทิศใด อยู่ระหว่างทิศใต้ และ ทิศตะวันออก ทิศนั้น ชื่อว่า ทกฺขิณปุพฺพา ทิศตะวันออกเฉียงใต้. ปุพฺพุตฺตรา ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ, ปจฺฉิมุตฺตรา ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ, อปรทกฺขิณา ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ก็มีนัยเช่นนี้. ที่บทหน้าเป็นรัสสะ ด้วยมหาสูตร.  แม้เป็นกัมมธารยสมาส อย่างนี้ ก็ใช้ได้ เช่น ทิศใต้ ด้วย ทิศใต้นั้น เป็นทิศตะวันออก ด้วย ชื่อว่า ทกฺขิณปุพฺพา ทิศตะวันออกที่เป็นทิศใต้.

พฺยติหารลกฺขเณ[9]

ในพยติหารลักขณพหุพพีหิสมาส มีการสำเร็จรูปตามหลักการของสูตรเหล่านี้

๓๕๔. ตตฺถ คเหตฺวา เตน ปหริตฺวา ยุทฺเธ สรูปํ.

๓๕๔. ตตฺถ คเหตฺวา เตน ปหริตฺวา ยุทฺเธ สรูปํ.
(บทที่มีรูปเสมอกัน ย่อมเป็นสมาส ในอัญญปทัตถะ  อันเป็นการต่อสู้โดยดึงที่สิ่งนั้นและตีด้วยสิ่งนั้น)

สตฺตมฺยนฺตํ ตติยนฺตญฺจ สมานรูปํ สฺยาทฺยนฺตปทํ ตตฺถ คเหตฺวา เตน ปหริตฺวา ยุทฺเธ อญฺญปทตฺเถ เอกตฺถํ โหติ วาฯ

นามศัพท์ อันมีรูปเสมอกัน ซึ่งลงสัตตมีวิภัตติ และ ตติยาวิภัตติ เป็นสมาสกัน ในอรรถของบทอื่น ซึ่งเป็นการต่อสู้โดยจับทึ้งที่สิ่งนั้น ตีกันด้วยสิ่งนั้น ได้บ้าง.

๓๕๕. งิ วีติหาเร[10]
อญฺญปทตฺถวิสเย กฺริยาพฺยติหาเร คมฺยมาเน ปทนฺเต งานุพนฺโธ อิปจฺจโย โหติ, เอตฺถ อิกาโร รสฺโส เอวฯ

๓๕๕. งิ วีติหาเร
(เมื่อการไม่นำไปล่วงเลย  อันเป็นที่ตั้งแห่งเนื้อความของอัญญบท ถูกรู้อยู่ ลง อิปัจจัย ท้ายบท )
เมื่อการไม่นำไปล่วงเลยแห่งกริยา [การกระทำกิริยาชนิดเดียวกันต่อกันและกัน] อันเป็นที่ตั้งแห่งเนื้อความของบทอื่น [อัญญปทัตถะ] ถูกรู้อยู่ ลง อิปัจจัย ซึ่งมี ง เป็นอนุพันธ์ ท้ายบท, ในที่นี้ ลง อิอักษร ซึ่งเป็นรัสสะเท่านั้น.

๓๕๖. งิ สฺมิํจ [11]

๓๕๖. งิ สฺมิํจ.
(ในเพราะบทหลัง อันมีอิปัจจัยเป็นที่สุด แปลงสระที่สุดของบทหน้าเป็น อา)

งิปจฺจยนฺเต อุตฺตรปเท ปเร ปุพฺพปทนฺตสฺส อาตฺตํ โหติฯ

ความเป็น อา แห่งสระที่สุดของบทหน้า ย่อมมี เพราะบทหลังอันลง อิปัจจัย.
เกเสสุ จ เกเสสุ จ คเหตฺวา อิทํ ยุทฺธํ ปวตฺตตีติ เกสาเกสิ, ทณฺเฑหิ จ ทณฺเฑหิ จ ปหริตฺวา อิทํ ยุทฺธํ ปวตฺตตีติ ทณฺฑาทณฺฑิฯ เอวํ มุฏฺฐามุฏฺฐิ, มุสลามุสลิฯ

การต่อสู้ นี้ ย่อมเป็นไป โดยจับที่ผมและที่ผม เหตุนั้น จึงชื่อว่า เกสาเกสิ (ดึงผมกันและกัน). การต่อสู้นี้ เป็นไปโดยตีกันด้วยท่อนไม้และท่อนไม้ เหตุนั้น จึงชื่อว่า ทณฺฑาทณฺฑิ (ใช้ท่อนไม้ตีกันและกัน). มุฏฺฐามุฏฺฐิ ดึงศีรษะกันและกัน. มุสลามุสลิ (ใช้สากตีกันและกัน) ก็เช่นเดียวกันนี้.
อิติ ปฐมาพหุพฺพีหิฯ

ปฐมาพหุพพีหิสมาสเป็นอย่างนี้

ทุติยาพหุพฺพีหิ

ทุติยาพหุพพีหิสมาส

อาคตา สมณา อิมํ สงฺฆารามํ โสยํ อาคตสมโณ, สงฺฆาราโมฯ เอตฺถ จ สมาสปทสฺส อตฺโถ ทุวิโธ วาจฺจตฺโถ, อภิเธยฺยตฺโถ จาติฯ

ตัวอย่างเช่น สมณะมาแล้วสู่อารามสงฆ์นี้ อารามสงฆ์นี้นั้น ชื่อว่า อาคตสมโณ มีสมณะมาแล้วได้แก่ สงฺฆาราโม. ในตัวอย่างนี้ บทสมาสมีเนื้อความสองอย่างคือ วาจจัตถะ (อรรถของวิภัตติมีกรรมเป็นต้นที่บทสมาสกล่าวถึง)  และ อภิเธยยัตถะ (อรรถอื่นอันเป็นทัพพะที่บทสมาสกล่าวถึง โดยมีกรรมสัตติอยู่ร่วมด้วย) .

ตตฺถ สงฺฆารามสฺส สมเณหิ ปตฺตพฺพภาวสงฺขาตา กมฺมสตฺติ วาจฺจตฺโถ นาม, สตฺติมนฺตภูโต สงฺฆาราโม อภิเธยฺยตฺโถ นามฯ

บรรดาเนื้อความสองประการนั้น กัมมสัตติ กล่าวคือ ความเป็นสถานที่ถูกพระสมณะทั้งหลายมาถึง แห่งอารามสงฆ์ชื่อว่า วาจจัตถะ, ศัพท์ว่า “สงฺฆาราม” (อารามสงฆ์) อันมีสัตติ ชื่อว่า อภิเธยยัตถะ.

ตตฺถ อาคตสมณสทฺโท วาจฺจตฺถเมว อุชุํ วทติ, น อภิเธยฺยตฺถํ, อาคตสมโณติ สุตฺวา สมเณหิ ปตฺตพฺพภาวมตฺตํ ชานาติ, สงฺฆารามทพฺพํ น ชานาตีติ วุตฺตํ โหติ, ตสฺมา ตสฺส อภิเธยฺยตฺโถ อญฺเญน สงฺฆารามสทฺเทน อาจิกฺขิยติ, วาจฺจตฺถสฺส ปน เตน อุชุํ วุตฺตตฺตา ปุน วตฺตพฺพาภาวโต ทุติยาวิภตฺติยา อาจิกฺขนกิจฺจํ นตฺถิ, ตสฺมา สงฺฆารามปเท ทุติยาวิภตฺติสมฺภโว นตฺถิ, ลิงฺคตฺถมตฺตวิสยา ปฐมาวิภตฺติ เอว ปวตฺตติ, ปุน ปทนฺตรสมฺพนฺเธ สติ ‘‘สงฺฆารามํ ปสฺสติ อาคตสมณํ, สงฺฆาราเมน คาโม โสภติ อาคตสมเณน, สงฺฆารามสฺส ปูเชติ อาคตสมณสฺสา’’ติอาทินา ตโต สพฺพา วิภตฺติโย ปวตฺตนฺติฯ เอส นโย สพฺเพสุ วาจกปเทสุ เนตพฺโพติฯ

บรรดาวาจจัตถะและอภิเธยยัตถะนั้น ศัพท์ว่า “อาคตสมณ” กล่าววาจจัตถะ โดยตรง, มิใช่กล่าวอภิเธยยัตถะ หมายความว่า ครั้นผู้ฟังได้ยินคำว่า อาคตสมโณ ก็จะทราบเพียงความเป็นสถานที่อันสมณะมาถึง, แต่ไม่ทราบทัพพะคืออารามสงฆ์ (คือ   ไม่รู้ว่า มาถึงสถานที่ใด). เพราะเหตุนั้น อภิเธยยัตถะ  ของบทสมาสนั้น ถูกศัพท์ว่า “สงฺฆาราม” อันเป็นบทอื่น กล่าวถึง. ส่วนทุติยาวิภัตติ จะไม่มี กิจคือการกล่าว เพราะไม่มีอรรถกรรมที่ตนพึงกล่าวอีก เหตุที่วาจจัตถะ (คืออรรถกรรมของทุติยาวิภัตติ) ถูกอาคตสมณศัพท์ อันเป็นบทสมาสกล่าวถึงโดยตรงไปแล้ว, เพราะฉะนั้น จึงไม่ลงทุติยาวิภัตติที่บทว่า สงฺฆาราม, จะลงได้ก็แต่ปฐมาวิภัตติเท่านั้น อันมีฐานะเพียงลิงคัตถะ, เมื่อจะต้องมีความสัมพันธ์กับบทอื่นอีก จึงลงวิภัตติทั้งปวง ท้ายบทว่า “สงฺฆาราม” นั้น โดยนัยว่า สงฺฆารามํ ปสฺสติ อาคตสมณํ ย่อมเห็นซึ่งอารามสงฆ์อันมีสมณะมาถึงแล้ว, สงฺฆาราเมน คาโม โสภติ อาคตสมเณน หมู่บ้าน ย่อมงามด้วยอารามสงฆ์ อันมีสมณะมาถึงแล้ว, สงฺฆารามสฺส ปูเชติ อาคตสมณสฺส ย่อมบูชา ต่ออารามสงฆ์อันมีสมณะมาถึงแล้ว เป็นต้น. บัณฑิตพึงนำนัยยะเช่นนี้มาใช้ ในวาจกบท (คือบทพหุพพีหิสมาส) ทั้งหมด.

อาคตสมณา สาวตฺถิ, อาคตสมณํ เชตวนํ, อาคจฺฉนฺติ สมณา อิมนฺติ วา อาคตสมโณ, วิหาโรฯ อารูฬฺหา วานรา อิมํ รุกฺขนฺติ อารูฬฺหวานโร, รุกฺโขฯ สมฺปตฺตา คามิกา ยํ คามนฺติ สมฺปตฺตคามิโกฯ เอวํ ปวิฏฺฐคามิโก อิจฺจาทิฯ
อาคตสมณา สาวตฺถิ (เมืองสาวัตถี ชื่อว่า มีสมณมาแล้ว), อาคตสมณํ เชตวนํ (เชตวันมหาวิหาร ชื่อว่า มีสมณะมาแล้ว), อีกนัยหนึ่ง สมณะท. ย่อมมาสู่วิหารนี้ เหตุนั้น จึงชื่อว่า อาคตสมโณ ได้แก่ วิหาโร (วิหาร). วานร ขึ้นแล้ว สู่ต้นไม้นี้ เหตุนั้น จึงชื่อว่า อารูฬฺหวานโร, ได้แก่ รุกฺโข (ต้นไม้). ชาวบ้าน มาถึงพร้อมกันแล้ว สู่หมู่บ้านใด เหตุนั้น หมู่บ้านนั้น ชื่อว่า สมฺปตฺตคามิโก มีชาวบ้านมาถึงพร้อมกันแล้ว. ปวิฏฺฐคามิโก (หมู่บ้านมีชาวบ้านเข้าไปแล้ว) ก็เช่นเดียวกันนี้.
อิติ ทุติยาพหุพฺพีหิฯ


ทุติยาพหุพพีหิสมาส เป็นอย่างนี้
ตติยาพหุพฺพีหิ

ตติยาพหุพพีหิสมาส

ชิตานิ อินฺทฺริยานิ เยนาติ ชิตินฺทฺริโย, สมโณฯ ทิฏฺโฐ จตุสจฺจธมฺโม เยนาติ ทิฏฺฐธมฺโมฯ เอวํ ปตฺตธมฺโม, วิทิตธมฺโม, ปริโยคาฬฺหธมฺโม, กตานิ จตุมคฺคกิจฺจานิ เยนาติ กตกิจฺโจ, พหุวจเน สติ กตานิ กิจฺจานิ เยหิ เต กตกิจฺจา, อรหนฺโตฯ ธมฺเมน อธิคตา โภคา เยนาติ ธมฺมาธิคตโภโค, ปุริโสฯ เอวํ อธมฺมาธิคตโภโคฯ เอวํ กตฺตริฯ กรเณ ปน ฉินฺโน รุกฺโข เยนาติ ฉินฺนรุกฺโข, ผรสุ อิจฺจาทิฯ

มีตัวอย่างว่า อินทรีย์ท.อันสมณะใด ชนะแล้ว เหตุนั้น สมณะนั้น ชื่อว่า ชิตินฺทฺริโย ผู้มีอินทรีย์อันตนชนะแล้ว, ได้แก่ สมณะ. ธรรมคือสัจจะ๔ อันบุคคลใดเห็นแล้ว เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า ทิฏฺฐธมฺโม ผู้มีธรรมอันตนเห็นแล้ว. ปตฺตธมฺโม (มีธรรมอันบรรลุแล้ว), วิทิตธมฺโม (มีธรรมอันตนรู้แล้ว), ปริโยคาฬฺหธมฺโม (มีธรรมอันตนหยั่งลงรอบแล้ว) ก็เช่นเดียวกันนี้.  กิจในมรรค๔ อันผู้ใดกระทำแล้ว เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า กตกิจฺโจ มีกิจอันตนทำแล้ว. ได้แก่ พระอรหันต์. โภคทรัพท์อันบุรุษใดบรรลุแล้วโดยธรรม เหตุนั้น บุรุษนั้น ชื่อว่า ธมฺมาธิคตโภโค มีโภคะอันตนบรรลุแล้วโดยธรรม ได้แก่ บุรุษ. อธมฺมาธิคตโภโค ผู้มีโภคะอันตนบรรลุแล้วโดยอธรรม ก็เช่นเดียวกันนี้. ในอรรถกัตตาเป็นอย่างนี้. ส่วนในอรรถกรณะ เช่น ต้นไม้อันบุคคลตัดแล้วด้วยขวานใด เหตุนั้น ขวานนั้น ชื่อว่า ฉินฺนรุกฺโข มีต้นไม้อันตัดแล้ว ได้แก่ ผรสุ (ขวาน) ดังนี้เป็นต้น. (หมายความว่า อัญญบทกับสมาสบทสัมพันธ์กันโดยเป็น กัตตา – กริยา และ กรณะ เครื่องกระทำ และ กริยา การกระทำ. แม้ในสหาทิโยค – สหาทิโยควันตะ  ก็มี เช่น สุโข สํวาโส เยน โส สุขสํวาโส การอยู่ร่วมกันกับด้วยบัณฑิตใดเป็นสุข เหตุนั้น บัณฑิตนั้น ชื่อว่า มีการอยู่ร่วมกันเป็นสุข. กรณีนี้ท่านจะแสดงไว้ในลำดับถัดจากสัตตมีพหุพพีหิสมาส)

อิติ ตติยาพหุพฺพีหิฯ
ตติยาพหุพพีหิสมาสเป็นเช่นนี้.
จตุตฺถีพหุพฺพีหิ

จตุตถีพหุพพีหิสมาส

ทินฺโน สุงฺโก ยสฺส รญฺโญ โสยํ ทินฺนสุงฺโก, อุปนีตํ โภชนํ ยสฺสาติ อุปนีตโภชโน, นตฺถิ ตุโล เอตสฺสาติ อตุโล, ‘ฏ นญฺสฺสาติ น-การสฺส ฏตฺตํ, นตฺถิ ปฏิปุคฺคโล ยสฺสาติ อปฺปฏิปุคฺคโล, นตฺถิ สีลํ อสฺสาติ ทุสฺสีโล, นตฺถิ ปฏิสนฺธิปญฺญา อสฺสาติ ทุปฺปญฺโญ, ‘ฆปสฺสนฺตสฺสาปฺปธานสฺสาติ สุตฺเตน ฆสญฺญสฺส อาสฺส รสฺสตฺตํฯ นตฺถิ สีลํ อสฺสาติ นิสฺสีโล, นิปฺปญฺโญ, อปญฺโญ, วิรูปํ มุขํ อสฺสาติ ทุมฺมุโขฯ เอวํ ทุมฺมโน, ทุพฺพณฺโณ, นตฺถิ อตฺตโน อุตฺตโร อธิโก ยสฺสาติ อนุตฺตโร, ‘อน สเรติ สุตฺเตน นสฺส อนฯ

ภาษีอันประชาชนถวายแล้ว แก่พระราชาพระองค์ใด พระราชาพระองค์นั้น ชื่อว่า ทินฺนสุงฺโกมีภาษีอันประชาชนถวายแล้ว. โภชนะอันบุคคลน้อมไปแล้ว แก่สมณะองค์ใด เหตุนั้น สมณะนั้น ชื่อว่า อุปนีตโภชโน. ผู้เสมอกัน ย่อมไม่มี แก่พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ เหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า อตุโล. แปลง น เป็น อ ด้วยสูตรว่า “ฏ นญฺญสฺส (?). บุคคลผู้เปรียบได้ ย่อมไม่มีแก่ พระผู้มีพระภาพระองค์นี้ เหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า อปฺปฏิปุคฺคโล, ศีล ย่อมไม่มีแก่บุรุษนี้ เหตุนั้น จึงชื่อว่า ทุสฺสีล ไม่มีศีล, ปฏิสนธิปัญญา ย่อมไม่มีแก่บุรุษนี้ เหตุนั้น จึงชื่อว่า ทุปฺปญฺโญ ไม่มีปัญญา, อา อันมีชื่อว่า ฆ เป็นรัสสะ ด้วยสูตร “ฆปสฺสนฺตสฺสาปฺปธานสฺส” (?). ศีล ย่อมไม่มีแก่บุคคลนี้ เหตุนั้น จึงชื่อว่า นิสฺสีโล. นิปฺปญฺโญ ผู้ไม่มีปัญญา, อปญฺโญ ผู้ไม่มีปัญญา. ใบหน้า ที่น่าเกลียด มีอยู่แก่บุรุษนี้ เหตุนั้น จึงชื่อว่า ทุมฺมุโข ผู้มีใบหน้าที่น่าเกลียด, ทุมฺมโน มีใจเสีย, ทุพฺพณฺโณ บุรุษผู้มีผิวพรรณทราม ก็เช่นเดียวกันนี้. ผู้สูง คือ เหนือกว่า แห่งตน ย่อมไม่มีแก่พระผู้ภาคพระองค์นี้ เหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า อนุตฺตโร, แปลง น เป็น อน ด้วยสูตรว่า “อน สเร”

อิธ พาหิรตฺถพหุพฺพีหิ นาม วุจฺจติ, สตฺตาหํ ปรินิพฺพุตสฺส อสฺสาติ สตฺตาหปรินิพฺพุโต, อจิรํ ปรินิพฺพุตสฺส อสฺสาติ อจิรปรินิพฺพุโต, มาโส ชาตสฺส อสฺสาติ มาสชาโต, ทฺเวมาสชาโต, เอโก มาโส อภิสิตฺตสฺส อสฺส รญฺโญติ เอกมาสาภิสิตฺโต, เอกาหํ มตสฺส อสฺสาติ เอกาหมตํฯ เอวํ ทฺวีหมตํ, ตีหมตํ, เอกาหํ ปฏิจฺฉนฺนาย อสฺสาติ เอกาหปฺปฏิจฺฉนฺนาฯ เอวํ ทฺวีหปฺปฏิจฺฉนฺนา, อาปตฺติฯ โยชนํ คตสฺส อสฺสาติ โยชนคโต, ทฺวิโยชนคโต อิจฺจาทิฯ

จตุตถีพหุพพีหิสมาส ในตัวอย่างเหล่านี้เรียกว่า พาหิรัตถพหุพพีหิสมาส[12], เจ็ดวัน ย่อมมี แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ผู้ปรินิพพานแล้ว เหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า สตฺตาหปรินิพฺพุโต ผู้ปรินิพพานแล้วเจ็ดวัน.กาลไม่นาน ย่อมมี แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ผู้ปรินิพพานแล้ว เหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า อจิรปรินิพฺพุโต ผู้ทรงปรินิพพานแล้วไม่นาน. หนึ่งเดือน ย่อมมีแก่ กุมารนั้นผู้เกิดแล้ว เหตุนั้น จึงชื่อว่า มาสชาโต ผู้เกิดแล้วหนึ่งเดือน, เทฺวมาสชาโต (เกิดแล้วสองเดือน). หนึ่งเดือน ย่อมมี แก่พระราชานั้น ผู้ทรงอภิเษกแล้ว เหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า เอกมาสาภิสิตฺโต พระราชาผู้อภิเษกแล้วหนึ่งเดือน. หนึ่งวัน ย่อมมี แก่บุรุษนั้น ผู้ตายแล้ว เหตุนั้น จึงชื่อว่า เอกาหมตํ ผู้ตายแล้วหนึ่งวัน, ทฺวีหมตํ ผู้ตายแล้วสองวันมี, ตีหมตํ ผู้ตายแล้วสามวัน ก็เช่นเดียวกันนี้, หนึ่งวันแห่งการปกปิด ย่อมมีแก่ อาบัตินั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า เอกาหปฺปฏิจฺฉนฺนา อาบัติที่ปกปิดไว้หนึ่งวัน ได้แก่ อาบัติ,   ทฺวีหปฺปฏิจฺฉนฺนา อาบัติที่ปกปิดไว้สองวัน ก็เช่นเดียวกันนี้, หนึ่งโยชน์ ย่อมมี แก่บุรุษนั้น ผู้เดินทางไปแล้ว เหตุนั้น จึงชื่อว่า โยชนคโต ผู้ไปเดินทางไปแล้วหนึ่งโยชน์, ทฺวิโยชนคโต ผู้ไปเดินทางไปแล้วสองโยชน์[13].
อิติ จตุตฺถีพหุพฺพีหิฯ

 จตุตถีพหุพพีหิสมาส เป็นอย่างนี้

ปญฺจมีพหุพฺพีหิ

ปัญจมีพหุพพีหิสมาส
นิคฺคตา ชนา อสฺมา คามาติ นิคฺคตชโน, อปคตํ กาฬกํ อิโตติ อปคตกาฬโก, ปโฏฯ อปคตกาฬกํ, วตฺถํฯ อเปตํ วิญฺญาณํ ยมฺหาติ อเปตวิญฺญาณํ, มตสรีรํ อิจฺจาทิฯ

ปัญจมีพหุพพีหิสมาส มีตัวอย่างเช่น ชนท. ออกไปแล้ว จากหมู่บ้านนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า นิคฺคตชโน (คาโม) หมู่บ้านมีชนออกแล้ว[14]. จุดดำ หลุดไปแล้ว จากผ้านี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อปคตกาฬโก (ปโฏ) ผ้ามีจุดดำหลุดออกไปแล้ว, อปคตกาฬกํ (วตฺถํ) ผ้ามีจุดดำหลุดออกไปแล้ว. วิญญาณ ออกแล้ว จากสรีระแห่งบุคคลผู้ตายแล้ว ใด เพราะเหตุนั้น   จึงชื่อว่า   อเปตวิญฺญาณํ  (มตสรีรํ) สรีระแห่งบุคคลผู้ตายแล้วอันมีวิญญาณออกแล้ว ได้แก่ มตสรีรํ สรีระแห่งบุคคลผู้ตายแล้ว ดังนี้เป็นต้น.
อิติ ปญฺจมีพหุพฺพีหิฯ

ปัญจมีพหุพพีหิสมาสเป็นอย่างนี้

ฉฏฺฐีพหุพฺพีหิ

ฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส

ฉินฺโน หตฺโถ ยสฺส โสติ ฉินฺนหตฺโถ, หตฺถจฺฉินฺโน, ชาโต ฉนฺโท ยสฺสาติ ชาตฉนฺโท, ฉนฺทชาโต, สญฺชาตํ ปีติโสมนสฺสํ ยสฺสาติ สญฺชาตปีติโสมนสฺโส, ปีติโสมนสฺสสญฺชาโต, วิสุทฺธํ สีลํ ยสฺสาติ วิสุทฺธสีโล, สีลวิสุทฺโธ, มหนฺโต กาโย ยสฺสาติ มหากาโยฯ
ฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส มีตัวอย่างว่า มืออันขาดแล้ว ของบุรุษนั้น มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุรุษนั้น ชื่อว่า ฉินฺนหตฺโถ (ปุริโส) บุรุษมีมือขาดแล้ว, มีรูปว่า หตฺถจฺฉินฺโน บ้าง, ฉันทะของบุคคลใด เกิดขึ้นแล้ว บุคคลนั้น ชื่อว่า ชาตฉนฺโท (ปุคฺคโล) บุคคลมีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว มีรูปว่า ฉนฺทชาโต บ้าง. ปีติและโสมนัส ของสัตว์ใด เกิดขึ้นพร้อมแล้ว เหตุนั้น สัตว์นั้น ชื่อว่า ปีติโสมนสฺสสญฺชาโต (สตฺโต) มีปิติและโสมนัสเกิดขึ้นแล้ว, ศีล อันหมดจด ของบุคคลใด เกิดขึ้นแล้ว เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า วิสุทฺธสีโล (ปุคฺคโล) มีศีลอันหมดจดแล้ว. ร่างกาย ใหญ่ ของบุคคลใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลลนั้น ชื่อว่า มหากาโย มีร่างกายใหญ่.

อิธ อุปมานปุพฺพปโท นาม วุจฺจติ, สุวณฺณสฺส วิย วณฺโณ ยสฺสาติ สุวณฺณวณฺโณ, พฺรหฺมุโน วิย สโร ยสฺสาติ พฺรหฺมสฺสโร, นาคสฺส วิย คติ อสฺสาติ นาคคติฯ เอวํ สีหคติ, นาควิกฺกโม, สีหวิกฺกโม, สีหสฺส วิย หนุ อสฺสาติ สีหหนุ, เอณิสฺส วิย ชงฺฆา ยสฺสาติ เอณิชงฺโฆ, อุสภสฺส วิย อสฺส ขนฺโธติ อุสภกฺขนฺโธ อิจฺจาทิฯ

ฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส ในตัวอย่างเหล่านี้ เรียกว่า อุปมานบุพพบท. ผิวพรรณของพระผู้มีพระภาคใด เป็นเพียงดังผิวพรรณแห่งทอง มีอยู่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ชื่อว่า สุวณฺณวณฺโณ มีผิวพรรณเพียงดังผิวพรรณแห่งทอง, เสียงของพระผู้มีพระภาคพระองค์ใด เป็นเพียงดังเสียงของพรหม มีอยู่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ชื่อว่า พฺรหฺมสฺสโร มีเสียงเพียงดังเสียงแห่งพรหม, การดำเนินไป เพียงดังการดำเนินไปแห่งช้าง ของบุคคลใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า บุคคลนั้น ชื่อว่า นาคคติ มีการดำเนินไปเพียงดังการดำเนินไปแห่งช้าง. สีหคติ มีการดำเนินไปเพียงการดำเนินไปแห่งราชสีห์, นาควิกฺกโม (มีการเยื้องกรายเพียงดังการเยื้องกรายแห่งช้าง), สีหวิกฺกโม (มีการเยื้องกรายเพียงดังการเยื้องกรายแห่งราชสีห์), ก็เช่นเดียวกันนี้. คาง ของบุคคลใด เพียงดังคางของราชสีห์ มีอยู่เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า สีหหนุ มีคางเพียงดังคางแห่งราชสีห์. แข้ง ของบุคคลใด เพียงดัง แข้งของเนื้อทราบ มีอยู่ เพราะเหตุนั้น  บุคคลนั้นชื่อว่า เอณิชงฺโฆ มีแข้งเพียงดังแข้งแห่งเนื้อทราย. ลำตัวของบุคคลนั้น เพียงดังลำตัวของโคประเสริฐ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า อุสภกฺขนฺโธ มีลำตัวเพียงดังลำตัวของโคประเสริฐ ดังนี้เป็นต้น

รูปํ วุจฺจติ สภาโว, ยาทิสํ รูปํ อสฺสาติ ยถารูปํฯ เอวํ ตถารูปํ, เอวํ รูปํ อสฺสาติ เอวรูปํ, พินฺทุโลโปฯ เอวํ อาทิ อสฺสาติ เอวมาทิฯ ตถา อิจฺจาทิ, อิจฺเจวมาทิ, อีทิสํ นามํ ยสฺสาติ อิตฺถนฺนาโม, เอวํนาโม, กีทิสํ นามํ ยสฺสาติ กินฺนาโม, ‘โกนาโมติ เอตฺถ มหาวุตฺตินา กิํสทฺทสฺส โกตฺตํฯ
สภาวะ เรียกว่า รูป, สภาวะ อันเช่นใด ของวัตถุนั้น มีอยู่ เหตุนั้น วัตถุนั้น ชื่อว่า ยถารูปํ มีสภาวะเช่นใด, ตถารูปํ (วัตถุอันมีสภาวะเช่นนั้น) ก็เช่นเดียวกันนี้, สภาวะอย่างนี้ ของวัตถุใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น วัตถุนั้น ชื่อว่า เอวรูปํ มีสภาวะอย่างนี้, ลบนิคคหิต. อย่างนี้ เป็นต้น ของธรรมนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอวมาทิ ธรรม มีอย่างนี้เป็นต้น.  อิจฺจาทิ มีอย่างนี้เป็นต้น, อิจฺเจวมาทิ มีอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้เป็นต้น ก็เช่นเดียวกันนี้. ชื่อ เช่นนี้ ของภิกษุใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีชื่อเช่นนี้. เอวํนาโม มีชื่ออย่างนี้ ก็เช่นเดียวกันนี้. ชื่อเช่นไร ของภิกษุนั้น มีอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า กินฺนาโม มีชื่อเช่นไร, ส่วนในรูปว่า “โกนาโม” นี้ แปลง กิํ เป็น โก ด้วยมหาสูตร.

โก สมุทโย ยสฺส ธมฺมสฺสาติ กิํสมุทโย, กา ชาติ ยสฺสาติ กิํชาติโก, กิํนิทานํ ยสฺสาติ กิํนิทาโน, กติ วสฺสานิ ยสฺสาติ กติวสฺโส, โก อตฺโถ อสฺสาติ กิมตฺถํ, วจนํฯ กฺวตฺโถติ มหาวุตฺตินา กิํสทฺทสฺส โกตฺตํ, ยาทิโส อตฺโถ อสฺสาติ ยทตฺโถ, ตาทิโส อตฺโถ อสฺสาติ ตทตฺโถ, เอทิโส อตฺโถ ยสฺส วินยสฺสาติ เอตทตฺโถ, วินโยฯ เอตทตฺถา, วินยกถาฯ เอตทตฺถํ, โสตาวธานํ อิจฺจาทิฯ

อะไร เป็นเหตุ ของธรรมใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น ชื่อว่า กิํสมุทโย มีอะไรเป็นเหตุ, อะไรเป็นความเกิดขึ้น ของธรรมใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น ชื่อว่า กิํชาติโก มีอะไรเป็นความเกิดขึ้น, อะไรเป็นนิทาน (เหตุ) ของธรรมใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น ชื่อว่า มีอะไรเป็นนิทาน, พรรษา เท่าไร ของภิกษุใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า กติวสฺโส มีพรรษาเท่าไร, อะไรเป็นความหมาย ของคำพูดนั้น เพราะเหตุนั้น คำนั้น ชื่อว่า กิมตฺถํ มีอะไรเป็นความหมาย, ประโยชน์เช่นนี้ ของพระวินัยใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอตทตฺโถ (วินโย) มีประโยชน์เช่นนี้ ได้แก่ พระวินัย. เอตทตฺถา (วินยกถา) การตรัสพระวินัย (หรือ คำสอนเกี่ยวกับพระวินัย) มีประโยชน์เช่นนี้, เอตทตฺถํ (โสตาวธานํ) การเงี่ยโสตลงฟัง มีประโยชน์เช่นนี้ ดังนี้เป็นต้น.
อิติ ฉฏฺฐีพหุพฺพีหิฯ
ฉัฏฐีพหุพพีหิสมาสเป็นอย่างนี้
สตฺตมีพหุพฺพีหิ
สัตตมีพหุพพีหิ
สมฺปนฺนานิ สสฺสานิ ยสฺมิํ ชนปเท โสยํ สมฺปนฺนสสฺโส, สุลภา ภิกฺขา ยสฺมิํ ชนปเท โสยํ สุภิกฺโข, ทุลฺลภา ภิกฺขา ยสฺมินฺติ ทุพฺภิกฺโข, พหโว คามา อสฺมิํ ชนปเทติ พหุคาโมฯ เอวํ พหุชโน, คาโมฯ นตฺถิ คามเขตฺตํ ยสฺมิํ อรญฺเญ ตยิทํ อคามกํ, สมาสนฺเต โกฯ สํวิชฺชนฺติ มนุสฺสา ยสฺมิํ คาเม สมนุสฺโส, น วิชฺชนฺติ มนุสฺสา ยสฺมิํ คาเม อมนุสฺโส อิจฺจาทิฯ
สัตตมีพหุพพีหิสมาสมีตัวอย่างว่า ข้าวกล้า อันสมบูรณ์แล้ว ในแคว้นใด มีอยู่ แคว้นนั้น ชื่อว่า สมฺปนฺนสสฺโส มีข้าวกล้าสมบูรณ์ (แคว้นเป็นที่ตั้งแห่งข้าวกล้าอันสมบูรณ์), ภิกษา หาได้ง่าย ในแคว้นใด แคว้นนั้น มีอยู่ ชื่อว่า สุภิกฺโข, ภิกษา หาได้ยาก ในแคว้นใด มีอยู่ แคว้นนี้นั้น ชื่อว่า ทุพฺภิกฺโข, หมู่บ้าน มาก ในแคว้นใด มีอยู่ แคว้นนี้นั้น ชื่อว่า พหุคาโม, พหุชโน หมู่บ้านมีชนมาก ได้แก่ คาโม หมู่บ้าน, บ้านและที่นา ในป่าใด ย่อมไม่มี ป่านี้นั้น ชื่อว่า อคามกํ ป่าอันไม่มีบ้านและนา, ลง ก อาคมในที่สุดแห่งบทสมาส. มนุษย์ท. มีอยู่ ในบ้านใด หมู่บ้านนี้นั้น ชื่อว่า สมนุสฺโส มีมนุษย์, มนุษย์ท. ไม่มี ในบ้านใด หมู่บ้านนั้น ชื่อว่า อมนุสฺโส ไม่มีมนุษย์ ดังนี้เป็นต้น.
อิติ สตฺตมีพหุพฺพีหิฯ

สัตตมีพหุพพีหิสมาส เป็นอย่างนี้

ภินฺนาธิกรณพหุพฺพีหิ

ภินนาธิกรณพหุพพีหิสมาส

ภินฺนาธิกรณพหุพฺพีหิ นาม วุจฺจติ, เอกรตฺติํ วาโส อสฺสาติ เอกรตฺติวาโส, สมาเนน ชเนน สทฺธิํ วาโส อสฺสาติ สมานวาโส, อุภโต กมฺมโต อุปฺปนฺนํ พฺยญฺชนทฺวยํ อสฺสาติ อุภโตพฺยญฺชโน, อลุตฺตสมาโสฯ เอวํ กณฺฐสฺมิํ กาโฬ อสฺสาติ กณฺเฐกาโฬ, อุรสฺมิํ โลมานิ อสฺสาติ อุรสิโลโม, ยสฺส หตฺเถ ปตฺโต อตฺถีติ ปตฺตหตฺโถฯ เอวํ อสิหตฺโถ, ทณฺฑหตฺโถ, ฉตฺตํ ปาณิมฺหิ อสฺสาติ ฉตฺตปาณิฯ เอวํ สตฺถปาณิ, ทณฺฑปาณิ, วชิรปาณิ, ทาเน อชฺฌาสโย อสฺสาติ ทานชฺฌาสโย, ทานาธิมุตฺติโก, พุทฺเธสุ ภตฺติ อสฺสาติ พุทฺธภตฺติโก, พุทฺเธ คารโว อสฺสาติ พุทฺธคารโว, ธมฺมคารโว อิจฺจาทิฯ

พหุพพีหิสมาส ที่เรียกว่า ภินนาธิกรณพหุพพีหิสมาส (พหุพพีหิสมาสที่มีบททั้งสองต่างเนื้อความกล่าวคือต่างวิภัตติกัน) มีตัวอย่างว่า การอยู่สิ้นหนึ่งราตรี ของบุรุษนั้น มีอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอกรตฺติวาโส มีการอยู่สิ้นราตรีหนึ่ง. การอยู่ กับด้วยชนผู้เสมอกัน ของบุคคลนั้น มีอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สมาสวาโส, อวัยะเพศสองอย่าง อันเกิดขึ้นแล้ว เพราะกรรมสองอย่าง ของบุคคลนั้น มีอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อุภโตพฺยญฺชโน, รูปนี้เป็นอลุตตสมาส. ตัวอย่างต่อไปนี้ ก็เป็นอลุตตสมาสเช่นเดียวกัน. ใฝดำ ที่คอ ของบุคคลนั้น มีอยู่ เหตุนั้น จึงชื่อว่า กณฺเฐกาโฬ. ขน ที่อก ของพราหมณ์ใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อุรสิโลโม. บาตร ในมือ ของภิกษุใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า ปตฺตหตฺโถ.  อสิหตฺโถ มีดาบในมือ, ทณฺฑหตฺโถ มีท่อนไม้ในมือ, ก็เช่นเดียวกันนี้. ร่ม มีอยู่ ในมือของ อุบาสกนั้น เหตุนั้น อุบาสกนั้น ชื่อว่า ฉตฺตปาณิ สตฺถปาณิ มีศาสตราในมือ, ทณฺฑปาณิ มีท่อนไม้ในมือ, วชิรปาณิ มีคทาเพชร ในมือ ก็เช่นเดียวกันนี้. ความน้อมใจในไป ในการให้ ของบุรุษนั้น มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุรุษนั้น ชื่อว่า ทานชฺฌาสย (มีความน้อมใจไปในการให้) ทานาธิมุตฺติโก ผู้มีความน้อมไปในทาน, ความภักดี ในพระพุทธเจ้าท. ของพระสาวกนั้น มีอยู่ เพราะเหตุนั้น พระสาวกนั้น ชื่อว่า พุทฺธภตฺติโก (มีความภักดีในพระพุทธเจ้า), ความเคาระ ในพระพุทธเจ้า ของพระสาวกนั้น มีอยู่ เพราะเหตุนั้น พระสาวกนั้น ชื่อว่า พุทธคารโว มีความเคารพในพระพุทธเจ้า, ธมฺมคารโว มีความเคารพในพระธรรม ดังนี้เป็นต้น.
ติปทพหุพฺพีหิ

ติปทพหุพพีหิสมาส

ติปทพหุพฺพีหิ นาม วุจฺจติ, ปรกฺกเมน อธิคตา สมฺปทา เยหิ เต ปรกฺกมาธิคตสมฺปทา, ธมฺเมน อธิคตา โภคา เยหิ เต ธมฺมาธิคตโภคา, โอณีโต ปตฺตมฺหา ปาณิ เยน โส โอณีตปตฺตปาณิ, สีหสฺส ปุพฺพทฺธํ วิย กาโย อสฺสาติ สีหปุพฺพทฺธกาโย, มตฺตา พหโว มาตงฺคา ยสฺมิํ วเนติ มตฺตพหุมาตงฺคํ อิจฺจาทิฯ

พหุพพีหิสมาส ที่เรียกว่า ติปทพหุพพีหิสมาส (พหุพพีหิสมาส ที่มี ๓ บท) มีตัวอย่างว่า สมบัติ อันพระมหาบุรุษใด ได้รับแล้ว ด้วยความเพียร เพราะเหตุนั้น พระมหาบุรุษนั้น ชื่อว่า ปรกฺกมาธิคตสมฺปทา มีสมบัติอันตนได้รับแล้ว ด้วยความเพียร). โภคะ ท. อันบุคคลใดได้รับแล้ว โดยชอบธรรม บุรุษนั้น ชื่อว่า ธมฺมาธิคตโภคา, มือ อันภิกษุใด นำออกแล้ว จากบาตร ภิกษุนั้น ชื่อว่า โอณีตปตฺตปาณิ, พระกาย ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ดุจดังกายท่อนหน้า ของราชสีห์ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ชื่อว่า สีหปุพฺพทฺธกาโย, ช้างท. ตกมันแล้ว ในป่าใด มาก เหตุนั้น ป่านั้น ชื่อว่า มตฺตพหุมาตงฺคํ (มีช้างอันตกมันแล้วมาก) ดังนี้เป็นต้น.
พหุพฺพีหิสมาโส นิฏฺฐิโตฯ
พหุพพีหิสมาส จบแล้ว



[1] [ก. ๓๒๑; รู. ๓๔๙; นี. ๖๙๙]
[2] [รู. ๓๕๐ นี. ๗๐๓]
[3] [ก. ๓๙๒; รู. ๔๑๘; นี. ๘๓๑]
[4] หมายความว่า เป็นส่วนประกอบร่วมกับเนื้อความของอัญญบท
[5] หมายความว่า ในตัคคุณสังวิญญาณพหุพพีหิสมาสนั้น อรรถของอัญญบทและอรรถของบทสมาส สามารถทำกิจนั้น ๆ ได้ทั้งสองร่วมกัน เช่น พุทฺธปฺปมุขสฺส สงฺฆสฺส ทานํ เทติ ถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข หมายความว่า ทั้งพระพุทธเจ้า อันเป็นอรรถของบทสมาส และ ทั้งพระภิกษุสงฆ์ อันเป็นอรรถของอัญญบท ต่างก็ได้รับการถวายทานร่วมกันในขณะนั้น ซึ่งต่างจากในอตัคคุณสังวิญญาณ ฯ ที่อรรถของอัญญบทเท่านั้นสามารถทำกิจนั้น ๆ ได้ ส่วนอรรถของบทสมาสไม่ได้ทำกิจในขณะที่กล่าวถึงนั้น เช่น ทินฺนสุงฺโก ราชา ทานํ เทติ พระราชา ผู้ได้รับภาษีจากประชาชน ถวายทาน หมายความว่า พระราชาที่เป็นอรรถของอัญญบทเท่านั้น ทำหน้าที่ถวายทาน ส่วนภาษีที่ได้รับจากประชาชน ไม่ได้มาร่วมถวายทานด้วย ในขณะที่มีผู้พูดถึงพระราชานั้น. อนึ่ง วิเธยฺย ศัพท์ ในที่นี้ มีความหมาย ความสามารถเพื่ออันจัดแจง ตามวิเคราะห์ว่า วิธาตุํ อรหตีติ วิเธยฺยํ  (นิรุตฺติ.๗๗๘) ควรเพื่ออันจัดแจง หรือ ออกคำสั่ง ชื่อว่า วิเธยฺย ถือเอาความว่า การประกอบ.
[6] พหุพพีหิสมาส ที่มีการลงปฐมาวิภัตติท้ายอัญญบท. แม้ในทุติยาพหุพพีหิสมาส ก็มีนัยนี้.
[7] สหบุพพบทพหุพพีหิสมาส คือ พหุพพีหิสมาส ที่มีบทหน้าเป็นสหนิบาต, อุปมานบุพพบทพหุพพีหิสมาส คือพหุพพีหิสมาสที่มีบทหน้าเป็นอุปมา, สังโขยภยบทพหุพพีหิสมาส คือ พหุพพีหิสมาสที่มีมีการย่อบทสังขยา ๒ บทเข้าเป็นบทเดียวกัน โดยมีวาศัพท์ทำหน้าที่เป็นอัญญบท, ทิสันตรฬัตถสมาสพหุพพีหิสมาส คือ พหุพพีหิสมาสที่มีการนำเอาคำที่แสดงความว่าทิศใหญ ๔ ทิศ ๆ ทิศใดทิศหนึ่งมาย่อเข้าด้วยกัน เมื่อสำเร็จเป็นบทสมาสแล้ว จะได้ความหมายเป็นทิศเฉียง, พยติเรกลักขณพหุพพีหิสมาส คือ พหุพพีหิสมาสที่มีการนำเอาบท ๒ บท ซึ่งพ้องกันโดยศัพท์และความหมาย มาย่อเข้าด้วยกัน เพื่อแสดงถึงภาพลักษณ์ หรือ อาการแห่งการต่อสู้ของบุคคล ๒ ฝ่ายว่า ต่อสู้กันโดยวิธีใด. (เชิงอรรถของนิรุตติทีปนี ฉบับอักษรไทย หน้า ๒๔๒)
[8] [ก. ๓๒๘; รู. ๓๕๒; นี. ๗๐๘]
[9] [ก. ๓๒๘; รู. ๓๕๒; นี. ๗๐๘]
[10] [ก. ๔๐๔; รู. ๓๗๐] โมคฺ. เป็น จิ วีติหาเร.
[11] [ก. ๔๐๓; รู. ๓๕๔]โมคฺ. เป็น จิสฺมิํ.
[12] พาหิรัตถพหุพพีหิสมาส หมายถึง พหุพพีหิสมาสที่มีบทส่วนหนึ่งเป็นวิเสสนะของอัญญบท เช่น มาโส ชาตสฺส อสฺสาติ มาสชาโต เดือนหนึ่ง มีอยู่แก่กุมารนั้น ผู้เกิดแล้ว เพราะเหตุนั้น กุมารนั้น ชื่อว่า มาสชาโต ผู้เกิดมาแล้วได้เดือนหนึ่ง. ตัวอย่างนี้ บทว่า ชาตสฺส (ในขั้นตอนของรูปวิเคราะห์) เป็นวิเสสนะของอัญญบทกล่าวคือ บทว่า อสฺส ซึ่งเป็นบทที่เป็นภายนอกจากบทสมาส ดังนั้น ในฐานะที่เป็นสมาสที่มีบทส่วนหนึ่งเป็นวิเสสนของบทภายนอก จึงเรียกว่า พาหิรัตพหุพพีหิสมาส. (บทหลัง คือ ชาตสฺส มีอรรถที่ตั้ง (วิภัตติและความหมาย) เป็นอันเดียวกันหรือเสมอกับบทอื่นจากบทสมาส (อัญญบท) และ อัญญบท ก็แสดงความเป็นประธานของบทหลังนั้นและสัมพันธ์เข้ากับบทหลังโดยความเป็นวิเสสยะ ดังนั้น สมาสนี้ จึงถูกเรียกว่า พาหิรัตถะ.
คำว่า พาหิรัตถสมาส มีวิเคราะห์ว่า พาหิโย อตฺโถ ยสฺสาติ พาหิรตฺถ. เนื้อความอันเป็นภายนอก(จากสมาส) มีอยู่แก่สมาสนี้ เหตุนั้น จึงชื่อว่ พาหิรตฺถ.  อนึ่งรูปวิเคราะห์นี้ เป็นรูปวิเคราะห์ที่พิเศษกว่าปกติ เพราะมีบทส่วนหนึ่งเป็นวิเสสนะของอัญญบท ตัวอย่างนี้ บทว่า ชาตสฺส เป็นวิเสสนะของอัญญบทกล่าวคือบทว่า อสฺส ซึ่งเป็นบทที่นอกจากบทสมาส. อีกตัวอย่างหนึ่งว่า สตฺตาหํ ปรินิพฺพุตสฺส อสฺสาติ สตฺตาหปรินิพฺพุโต อ.วัน๗ มีอยู่ แก่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ปรินิพฺพานแล้ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ชื่อว่า สตฺตาหปรินิพฺพุต ผู้ปรินิพพานได้แล้ว ๗ วัน. ตัวอย่งนี้ บทหลัง คือ ปรินิพฺพุต มีอรรถที่ตั้งเสมอกันกับบทอื่นจากบทที่จะถูกย่อ (อัญญบท) และอัญญบทก็แสดงความเป็นประธานของบทหลังนั้น และสัมพันธ์เข้ากับบทหลังนั้น โดยความเป็นวิเสสยะ. (เรียบเรียงจากคัมภีร์ปทวิจารทีปนี แปล)
[13] ในตัวอย่างเหล่านี้ คัมภีร์ปทรูปสิทธิจัดเป็นฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส. และคัมภีร์ปทรูปสิทธิแปลและอธิบาย เล่ม ๒ ได้อ้างถึงมติคัมภีร์จินตาทีปนีว่า ชาตสฺส อสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถอนาทร แปลว่า อสฺส เมื่อทารกนั้น ชาตสฺส = ชายมานสฺสเกิดขึ้น มาโส หนึ่งเดือน อติกฺกนฺโต ล่วงผ่านแล้ว. ความหมายคือ เด็กนั้น มีอายุครบหนึ่งเดือน.
[14] คัมภีร์ปทรูปสิทธิแปลและอธิบายเล่ม ๒ แนะให้แปลอีกนัยหนึ่ง โดยระบุอรรถกรรม, กรณะ, สัมปทาน, อปาทานและอธิกรณะ อันเป็นวาจจัตถะพร้อมทั้งอภิเธยยัตถะ ดังนี้ “ทุติยาพหุพพีหิสมาส ว่า อาคตสมโณ สงฺฆาราโม สังฆารามอันถูกสมณะมาถึง, ตติยาพหุพพีหิว่า ฉินฺนรุกฺโข ผรสุ ขวานเป็นเครื่องตัดต้นไม้, จตุตถีพหุพพีหิว่า ทินฺนสุงฺโก ราชา พระราชาผู้เป็นที่ถวายภาษีแห่งประชาชน, ปัญจมีพหุพพีหิว่า นิคฺคตชโน คาโม หมู่บ้านเป็นที่หลีกออกไปของชนท.สัตตมีพหุพพีหิว่า พหุนทิโก ชนปโท ชนบทเป็นที่ตั้งแห่งแม่น้ำมาก”.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น