วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ปุงลิงค์ - อีการันต์ ครั้งที่ ๑๔


อีการนฺตปุลฺลิงฺคราสิ
อีการนฺเต สิมฺหิ นานปุํสกสฺสาติ สุตฺเตน สิมฺหิ รสฺสตฺตํ นตฺถิ, ‘เค วาติ เค ปเร วิกปฺเปน รสฺโส, โยสุ จ อํ, นา, , สฺมา, สฺมิํ สุ จเอกวจนโยสฺวโฆนนฺติ นิจฺจํ รสฺโส, ทณฺฑี คจฺฉติฯ ชนฺตุ เหตุอิจฺจาทิสุตฺเตน         วิกปฺเปน โยนํ โลโป, ทณฺฑี คจฺฉนฺติฯ
ในอีการันต์
๑) ไม่มีการรัสสะ ในเพราะสิ ด้วยสูตร (๙๖)  สิมฺหิ นานปุํสกสฺส (เพราะสิข้างหลังทีฆสระของลิงค์ที่ไม่ใช่นปุงสกลิงค์ ไม่เป็นรัสสะ)
๒) มีการรัสสะ อี เป็น อิ ในเพราะ สิ ชื่อ ค อันเป็นเบื้องหลัง ก็มีได้บ้าง ด้วยสูตร (๙๘) เค วา เพราะ สิ ชื่อ ค อ้นเป็นเบื้องหลัง ทีฆสระเว้น อา ชื่อ ฆ และ โอ เป็นรัสสะได้บ้าง).
๓) ในเพราะวิภัตติทั้งหลาย คือ โย (ปฐมาและทุติยา), อํ, นา, ส, สฺมา, สฺมิํ รัสสะอีเป็น อิ แน่นอน


ปฐมาวิภัตติ
ทณฺฑี คจฺฉติ คนมีไม้เท้าย่อมเดินไป.
ลบ โย ได้บ้าง ด้วยสูตร (๘๓) ชนฺตุเหตฺวีฆเปหิ วา (ลบโย ท้าย ชนฺตุ เหตุ, อีการันต์ที่เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์, ฆ และ อิวัณณะอุวัณณะชื่อว่า ป ได้บ้าง)
ทณฺฑี คจฺฉนฺติ คนมีไม้เท้าท. ย่อมเดินไป.

ปกฺเข
ในส่วนหนึ่ง (แห่งรูป)
๑๗๓. โยนํ โนเน ปุเม [ก. ๒๒๕; รู. ๑๕๑; นี. ๔๕๒, ๔๕๓]ฯ
โนและเน เป็นอาเทสของ โยทั้งหลายที่อยู่ข้างหลังจาก อีการันต์ในปุงลิงค์.

ปุเม ฌสญฺญมฺหา อี-การโต ปฐมา, ทุติยาโยนํ กเมน โน, เน โหนฺติ วาฯ
ทณฺฑิโน คจฺฉนฺติ, โภทณฺฑิ, โภ ทณฺฑี, โภนฺโต ทณฺฑิโน, ทณฺฑิํฯ
โนและเน เป็นอาเทสของโยปฐมาและทุติยาวิภัตติ อันเป็นเบื้องหลังจากอี ชื่อ ฌ ในปุงลิงค์ ได้บ้าง.
ปฐมาวิภัตติ
ทณฺฑิโน คจฺฉนฺติ คนมีไม้เท้าท. ย่อมเดินไป.

อาลปนวิภัตติ
โภ ทณฺฑิ, โภ ทณฺฑี  ดูก่อนคนมีไม้เท้า
โภนฺโต ทณฺฑิโน ดูก่อนคนมีไม้เท้า ท.

ทุติยาวิภัตติ
ทณฺฑิํ ซึ่งคนมีไม้เท้า
๑๗๔. นํ ฌีโต [ก. ๒๒๔; รู. ๑๕๓; นี. ๔๕๑]ฯ
นํ เป็น อาเทสของ อํ ที่อยู่ท้าย อี ชื่อ ฌ ได้บ้าง.

ปุเม ฌสญฺญมฺหา อี-การโต อํวจนสฺส นํ โหติ วาฯ ทณฺฑินํฯ
นํ เป็นอาเทสของ อํวิภัตติ อันเป็นเบื้องหลังจาก อี ชื่อ ฌ ในปุงลิงค์ ได้บ้าง.
ทณฺฑินํ ซึ่งคนมีไม้เท้า.

๑๗๕. โน วา [’โน’ (พหูสุ)]ฯ
โน เป็นอาเทสของ โยทุติยา ที่อยู่ท้าย อี ในปุงลิงค์ ได้บ้าง.

ปุเม ฌีโต ทุติยาโยสฺส โน โหติ วาฯ ทณฺฑี, ทณฺฑิโน, ทณฺฑิเน, ทณฺฑินา, ทณฺฑีหิ, ทณฺฑีภิ,                ทณฺฑิสฺส, ทณฺฑิโน, ทณฺฑีนํ, ทณฺฑิสฺมา, ทณฺฑิมฺหา, ทณฺฑินา, ทณฺฑีหิ, ทณฺฑีภิ, ทณฺฑิสฺส, ทณฺฑิโน,           ทณฺฑีนํ, ทณฺฑิสฺมิํ, ทณฺฑิมฺหิฯ
โน เป็นอาเทสของ โยทุติยาวิัภตติ อันเป็นเบื้องหลังจาก อี ชื่อ ฌ ในปุงลิงค์ ได้บ้าง.
ทณฺฑี, ทณฺฑิโน, ซึ่งคนมีไม้เท้า.
ทณฺฑิเน, ซึ่งคนมีไม้เท้าท.

ตติยาวิภัตติ
ทณฺฑินา, ด้วยคนมีไม้เท้า.
ทณฺฑีหิ, ทณฺฑีภิ, ด้วยคนมีไม้เท้า ท.

จตุตถีวิภัตติ
ทณฺฑิสฺส, ทณฺฑิโ, แก่คนมีไม้เท้า.
ทณฺฑีนํ, แก่คนมีไม้เท้า ท.

ปัญจมีวิภัตติ
ทณฺฑิสฺมา, ทณฺฑิมฺหา, ทณฺฑินา, จากคนมีไม้เท้า.
ทณฺฑีหิ, ทณฺฑีภิ, จากคนมีไม้เท้าท.

ฉัฏฐีวิภัตติ
ทณฺฑิสฺส, ทณฺฑิโน, แห่งคนมีไม้เท้า.
ทณฺฑีนํ, แห่งคนมีไม้เท้า ท.

สัตตมีวิภัตติ
ทณฺฑิสฺมิํ, ทณฺฑิมฺหิ ในคนมีไม้เท้า.

๑๗๖. สฺมิํโน นิํ [ก. ๒๒๖; รู. ๑๕๔; นี. ๔๑๖]ฯ
นิ เป็น อาเทสของ สฺมิํ ท้าย อี ชื่อ ฌ ได้บ้าง.

ฌีโต สฺมิํโน นิ โหติ วาฯ ทณฺฑินิฯ
นิ เป็น อาเทสของสฺมิํ วิภัตติ อันเป็นเบื้องหลังจาก อี ชื่อ ฌ ได้บ้าง.
ทณฺฑินิ ในคนมีไม้เท้า.

เน สฺมิํโน กฺวจีติ วิภตฺตสุตฺเตน สฺมิํโน เน จ โหติ, ทณฺฑิเน, ทณฺฑีสุฯ
ด้วยการแบ่งสูตรว่า เน สฺมิํโน กฺวจิ (ในอัญญัตถสมาส อันเป็นปุงลิงค์ บางแห่ง สฺมิํ เป็น เน) โดยเว้น อิโต ที่จะตามมา[1] ดังนั้น ในบางอุทาหรณ์ จะพบว่า เน เป็น อาเทสของ สฺมิํ ที่อยู่ท้าย อีการันต์ได้ สำเร็จรูปเป็น
ทณฺฑิเน ในคนมีไม้เท้า
ทณฺฑีสุ ในคนมีไม้เท้าท.

เอวํ จกฺกี, ปกฺขี, สุขี, สิขี, จาคี, ภาคี, โภคี, โยคี, สงฺฆี, วาจี, ธชี, ภชี, กุฏฺฐี, รฏฺฐี, ทาฐี, ญาณี, ปาณี, คณี, คุณี, จมฺมี, ธมฺมี, สีฆยายี, ปาปการี, พฺรหฺมจารี, มายาวี, เมธาวี, ภุตฺตาวี, ภยทสฺสาวี, ยสสฺสี, เตชสฺสี, ฉตฺตี, ปตฺตี, ทนฺตี, มนฺตี, สตฺตุฆาตี, สีหนาที, สามี, ปิยปฺปสํสีฯ อตฺถทสฺสี, ธมฺมทสฺสี อิจฺจาทโยฯ
ศัพท์อีการันต์ ดังต่อไปนี้เป็นเหมือนกับ ทณฺฑี ศัพท์ เช่น
จกฺกี ผู้มีจักร (พระนารายณ์)          ปกฺขี สัตว์มีปีก (นก)                  สุขี ผู้มีความสุข
สิขี นกยูง                                      จาคี ผู้เสียสละ                          ภาคี  ผู้มีส่วนแบ่ง
โภคี ผู้มีโภคะ                          โยคี ผู้ประกอบความเพียร         สงฺฆี  ผู้มีหมู่คณะ           
วาจี ผู้มีคำพูด                          ธชี ผู้มีธง                                  ภชี ผู้มีส่วนแบ่ง
กุฏฺฐี ผู้ป่วยโรคเรื้อน                      รฏฺฐี ผู้มีแว่นแคว้น (พระราชา)   ทาฐี ผู้มีเขี้ยว
ญาณี ผู้มีปัญญา                           ปาณี    ผู้มีชีวิต                         คณี ผู้มีหมู่คณะ
คุณี ผู้มีคุณ                             จมฺมี     ผู้มีโล่                            ธมฺมีผู้มีธรรม
สีฆยายี ผู้มีปกติไปเร็ว               ปาปการี ผู้ทำบาป                    ภยทสฺสาวี ผู้เห็นภัย
มายาวี     ผู้มีมายา                       เมธาวี ผู้มีปัญญา                  ภุตฺตาวี ผู้บริโภค
ยสสฺสี      ผู้มียศ                      เตชสฺสี ผู้มีเดช                     ฉตฺตี ผู้มีร่ม
ปตฺตี,       ผู้มีพลทหาร               ทนฺตี ช้าง                            มนฺตี ผู้มีปัญญา
สตฺตุฆาตี ผู้กำจัดศัตรู                   สีหนาที ผู้บรรลือสีหนาท         สามี  เจ้านาย, สามี
พฺรหฺมจารี ผู้ประพฤติพรหมจรรย์                          ธมฺมทสฺสี ผู้แสดงธรรม
ปิยปฺปสํสี ผู้สรรเสริญผู้เป็นที่รักเป็นปกติ             อตฺถทสฺสี ผู้แสดงอรรถ                                        
คามณี, เสนานี, สุธี อิจฺจาทีสุ ปน สฺมิํโน นิตฺตํ นตฺถิ
แต่ในศัพท์ต่อไปนี้ สฺมิํ ไม่เป็น นิ เช่น
คามณี ผู้ใหญ่บ้าน                     เสนานี แม่ทัพ                      สุธี ผู้มีปัญญาดี[2]

*********
วิเสสวิธานมุจฺจเตฯ
จะกล่าวถึงรูปแบบพิเศษ.

มหาวุตฺตินา โยสุ ฌี-การสฺสปิ กฺวจิ ฏตฺตํ โหติ,
 ‘‘หํสา โกญฺจา มยูรา จ, หตฺถโย ปสทา มิคา;
สพฺเพ สีหสฺส ภายนฺติ, นตฺถิ กายสฺมิํ ตุลฺยตา [ชา. ๑.๒.๑๐๓]ฯ
ปุริสาลู จ หตฺถโย, สญฺญตา พฺรหฺมจารโย [อ. นิ. ๖.๓๗], อปเจ พฺรหฺมจารโย’’ติ ทิสฺสนฺติฯ ตตฺถ หตฺถโยติ หตฺถิโน,‘ปุริสาลูติ ปุริสโลลา พลวามุขยกฺขินิโย, ‘พฺรหฺมจารโยติ พฺรหฺมจาริโน,‘อปเจติ ปูเชยฺย.
สุสฺสปิ กฺวจิ เนสุ โหติ, สุสุขํ วต ชีวาม, เวริเนสุ อเวริโน [ธ. ป. ๑๙๗], เวริเนสุ มนุสฺเสสุ, วิหราม อเวริโนฯ ตตฺถ เวริเนสูติ เวรีจิตฺตวนฺเตสุฯ
ด้วยมหาสูตร
๑) เพราะโยวิภัตติท. แม้อี ชื่อว่า ฌ จะเป็น อ ในบางอุทาหรณ์. มีพระบาฬีเหล่านี้เป็นหลักฐาน
หํสา โกญฺจา มยูรา จ,                   หตฺถโย ปสทา มิคา;
สพฺเพ สีหสฺส ภายนฺติ,                  นตฺถิ กายสฺมิํ ตุลฺยตา [ขุ.ชา.๒๗/๒๕๓]ฯ
หงส์ก็ดี นกกระเรียนก็ดี นกยูงก็ดี ช้างก็ดี เก้งก็ดี ย่อมกลัวราชสีห์ ทั้งนั้น จะถือเอาร่างกายเป็นประมาณไม่ได้ ฉันใด.

อเถตฺถ สีหา พฺยคฺฆา จ               ปุริสาลู จ หตฺถโย [3],
เอเณยฺยา ปสทา เจว                   โรหิตา  สรภา มิคาฯ [ขุ.ชา. ๒๘/๑๑๕๕]
อนึ่ง ในป่านั้นมีสัตว์หลายจำพวก คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง ยักษิณีหน้าฬา ช้างทั้งหลาย เนื้อทราย เก้ง ละมั่ง นางเห็น ยักษิณีหน้าฬา ช้างทั้งหลาย

ททมาโน ปิโย โหติ,                      สตํ ธมฺมํ อนุกฺกมํ;
สนฺโต นํ สทา ภชนฺติ                    สญฺญตา พฺรหฺมจารโย[อํ.ฉ. ๒๒/๓๕],
ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัปบุรุษ สัปบุรุษผู้สงบผู้สำรวมอินทรีย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ

ปูเชติ สหธมฺเมน,                        ปุพฺเพกตมนุสฺสรํ;
อนาคาเร ปพฺพชิเต,                    อปเจ พฺรหฺมจารโย[4] (อํ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๒๘)
สัปบุรุษ ระลึกถึงอุปการะที่มารดาและบิดาทำไว้ก่อน ย่อมบูชาท่านโดยชอบธรรม,  พึงบูชาบรรพชิตผู้ไม่ครองเรือน  ประพฤติพรหมจรรย์

ในบทพระบาฬีเหล่านั้น
บทว่า หตฺถโย ได้แก่ หตฺถิโน ช้างทั้งหลาย
บทว่า ปุริสาลู ได้แก่ ปุริสโลลา พลวามุขยกฺขินิโย นางยักษินีมีหน้าเป็นฬา ซึ่งบ้าผู้ชาย[5].
บทว่า พฺรหฺมจารโย ได้แก่ พฺรหฺมจาริโน ผู้ประพฤติพรหมจรรย์
บทว่า อปเจ ได้แก่ ปูเชยฺย พึงบูชา[6]

สุสฺสปิ กฺวจิ เนสุ โหติ, สุสุขํ วต ชีวาม, เวริเนสุ อเวริโน [ธ. ป. ๑๙๗], เวริเนสุ มนุสฺเสสุ, วิหราม อเวริโนฯ ตตฺถ เวริเนสูติ เวรีจิตฺตวนฺเตสุฯ
๒) ในบางแห่งพบ เนสุ  เป็นอาเทส แม้ของสุ เช่น
สุสุขํ วต ชีวาม,                เวริเนสุ อเวริโน
เวริเนสุ มนุสฺเสสุ,            วิหราม อเวริโนฯ [ขุ.ธ. ๒๕/๒๕ สุขวคฺค],
เมื่อพวกมนุษย์มีเวรกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีเวรเป็นอยู่สบายดีหนอ, เมื่อพวกมนุษย์มีเวรกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่
ในพระบาฬีนี้ บทว่า เวริเนสุ ได้แก่ เวรีจิตฺตวนฺเตสุ มนุษย์ท. ผู้มีจิตประกอบด้วยเวร.

สมาเสปิ ปฐมาโยสฺส โนตฺตํ, ทุติยาโยสฺส โนตฺตํ เนตฺตญฺจ โหติฯ ตตฺถ ทฺเว โนตฺตานิ ปากฏานิฯ เนตฺตํ ปน วุจฺจเต, ‘‘อสฺสมเณ สมณมานิเน [อ. นิ. ๘.๑๐], นเร ปาณาติปาติเน [อิติวุ. ๙๓], มญฺชุเก ปิยภาณิเน [ชา. ๒.๒๒.๑๗๒๑], มาลธาริเน [ชา. ๒.๒๒.๑๗๒๗], กาสิกุตฺตมธาริเน [ชา. ๒.๒๒.๑๙๕], วณฺณวนฺเต ยสสฺสิเน [ที. นิ. ๒.๒๘๒], จาปหตฺเถ กลาปิเน, อุโภ ภสฺสรวณฺณิเน [ชา. ๒.๒๑.๑๑๑], พฺราหฺมเณ เทววณฺฑิเน, สมุทฺธรติ ปาณิเน [อป. เถรี ๒.๓.๑๓๗], เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ, อธิวตฺตนฺติ ปาณิเน’’ติ [สํ. นิ. ๑.๑๓๖] ทิสฺสนฺติฯ ตตฺถ ภสฺสรวณฺณิเนติ ปภสฺสรวณฺณวนฺเตฯ

๓) แม้ในสมาส โยปฐมาวิภัตติ เป็น โน, ทุติยาวิภัตติ เป็น โน และ เน. บรรดาอาเทสเหล่านั้น ความเป็น โน ของโยวิภัตติทั้งสอง ปรากฏแล้ว (เห็นได้ทั่วไป). แต่ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉพาะความเป็น เน แห่งโยทุติยา ที่อยู่หลังจาก อีการันต์ ปุงลิงค์ ในสมาส. ในกรณีนี้ พบหลักฐานในพระบาฬี ดังนี้ เช่น

ตโต ปลาเป วาเหถ                      อสฺสมเณ สมณมานิเน. [อํ.อฏฺฐก.๒๓/๑๐๐]
แต่นั้น จงนำคนแกลบ  ผู้มิใช่สมณะแต่ยังนับว่าเป็นสมณะออกเสีย

ราคคฺคิ ทหติ มจฺเจ                      รตฺเต กาเมสุ มุจฺฉิเต 
โทสคฺคิ ปน พฺยาปนฺเน                 นเร ปาณาติปาติเน [ขุ.อิติ. ๒๕/๒๗๓], [7]
ไฟคือราคะ ย่อมเผาสัตว์ผู้กำหนัดแล้วหมกมุ่นแล้วในกาม ทั้งหลาย ส่วนไฟคือโทสะ ย่อมเผานรชนผู้พยาบาท มีปรกติฆ่าสัตว์

อิเม กุมาเร ปสฺสนฺโต                   มญฺชุเก ปิยภาณิเน    
อาสีเน วนคุมฺพสฺมึ                      น รชฺชสฺส สริสฺสสิ   [ขุ.ชา. ๒๘/๑๐๗๗],
เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้ง ๒ นี้  ผู้มีเสียงอันไพเราะ พูดจาน่ารัก  นั่งอยู่ที่พุ่มไม้ในป่า จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ

ยทา ทกฺขสิ นจฺจนฺเต                                กุมาเร มาลธาริเน     
อสฺสเม รมณียมฺหิ                        น รชฺชสฺส สริสฺสสิ    [ขุ.ชา ๒๘/๑๐๗๗],
เมื่อใด พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้ง ๒ พระองค์  ทรงมาลา ฟ้อนรำอยู่ ณ อาศรมรัมณียสถาน เมื่อนั้นจักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ

อนุลิตฺตา จนฺทเนน                      กาสิกุตฺตมธาริเน  
สพฺเพ ปญฺชลิกา หุตฺวา                อิสีนํ อชฺฌุปาคมม[8] [ขุ.ชา. ๒๘/๑๕๐],
พระราชาทุกพระองค์  ทรงลูบไล้ด้วยจันทน์หอม ทรงผ้ากาสิกพัสตร์อย่างดี ทุกพระองค์ทรงประคองอัญชลีเข้าไปยังสำนักของฤาษีทั้งหลาย. 


นเว  ว เทเว ปสฺสนฺตา                 วณฺณวนฺเต ยสสฺสิเน 
สุคตสฺมึ พฺรหฺมจริยํ                                  จริตฺวาน อิธาคเต[9][ที.ม. ๑๐/๑๙๓],
เห็นเทวดาผู้ใหม่ๆ ผู้มีวรรณะ มียศ ประพฤติ พรหมจรรย์ในพระสุคตแล้ว มา ณ ที่นี้

กทาหํ รถาโรเห จ                        สพฺพาลงฺการภูสิเต       
นีลจมฺมธเร สูเร                           จาปหตฺเถ กลาปิเน
ปหาย ปพฺพชิสฺสามิ                     ตํ กทา สุ ภวิสฺสติ[10] [ขุ.ชา.๒๘/๔๕๓]
เมื่อไรเราจึงจักละกองฝึกรถอันประดับเครื่องอลังการทั้งปวง สวมเกราะเขียว กล้าหาญ ถือธนู และแล่ง ออกบวชได้, ความดำรินั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ

เต ปญฺชรคเต ปกฺขี                      อุโภ ภสฺสรวณฺณิเน     
สุมุขํ ธตรฏฺฐญฺจ                          ลุทฺโท อาทาย ปกฺกมิ[ชา. ๒๘/๒๐๘],
นายพรานพาพระยาหงส์ทั้งสอง ผู้มีผิวพรรณอันผุดผ่อง คือ สุมุขหงส์และพระยาหงส์ธตรฐซึ่งอยู่ในกรงหลีกไป.

พฺราหฺมเณ เทววณฺฑิเน[11],
ซึ่งพราหมณ์ ท. ชื่อว่า เทววัณฑี.

เทเสติ มธุรํ ธมฺมํ             จตุสจฺจุปสํหิตํ 
นิมุคฺเค โมหปงฺกมฺหิ         สมุทฺธรติ ปาณิเน.[12]  [อป.เถร ๓๓/๑๒๑],
พระองค์ทรงแสดงธรรมอันไพเราะ ซึ่งประกอบด้วยสัจจะ ๔ ทรงฉุดขึ้น ซึ่งหมู่สัตว์ ที่จมอยู่ในเปือกตมคือโมหะ

เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ,                       อธิวตฺตนฺติ ปาณิเน
ขตฺติเย พฺราหฺมเณ เวสฺเส,           สุทฺเท จณฺฑาลปุกฺกุเส
กิญฺจิ ปริวชฺเชติ,                       สพฺพเมวาภิมทฺทติ[13] [สํ.ส. ๑๕/๔๑๕]
ชราและมัจจุก็ฉันนั้น ย่อมครอบงำ สัตว์ทั้งหลาย คือ พวกกษัตริย์ พวกพราหมณ์ พวกแพศย์ พวกศูทร พวกจัณฑาล และคนเทมูลฝอย ไม่เว้นใครๆ ไว้เลย ย่อมย่ำยีเสียสิ้น.

ในอุทาหรณ์ว่า อุโภ ภสฺสรวณฺณิเน นี้ บทว่า ภสฺสรวณฺณิเน ได้แก่ ปภสฺสรวณฺณวนฺเต มีผิวพรรณผ่องใส.

สฺมิํโน เนตฺเต ปน ‘‘มาตงฺคสฺมิํ ยสสฺสิเน’’ อิจฺจาทีนิ [ชา. ๒.๑๙.๙๖] ปุพฺเพ วุตฺตาเนวฯ
๔) (เน เป็น อาเทส ของ สฺมิํ).  ในกรณีนี้ ข้าพเจ้าเคยกล่าวตัวอย่างไว้ในตอนต้นว่า มาคงฺคสฺมิํ ยสสฺสิเน ดังนี้เป็นต้นแล้ว. (ดูย่อหน้าสุดท้ายของอิการันต์)

อีการนฺตปุลฺลิงฺคราสิ นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มนามศัพท์อีการันต์ปุงลิงค์ จบแล้ว.


[1] ดูในเชิงอรรถที่ ๖ ประกอบ.
[2] คัมภีร์ปทรูปสิทธิฎีกากล่าวว่า นอกจาก คามณี เสนานี สุธี แล้ว  ยังมี ธมฺมสิรี ผู้มีสิริคือธรรม. (รูป.ฎี. ทณฺฑีศัพท์)ศัพท์เหล่านี้ในสัตตมีวิภัตติ จะไม่เป็น คามณินิ เสนานินิ สุธินิ ธมฺมสิรินิ คงเป็น คามณิสฺมิํ, คามณิมฺหิ เป็นต้น.
[3] ปัจจุบันเป็น หตฺถิโย 
[4] อปเจ พฺรหฺมจารโย ปาฐะที่พบในฉบับสยามรัฐเป็น อปาเป พฺรหฺมจาริโน แต่ในที่นี้ยึดตามปาฐะฉบับฉัฏฐสังคายนา
[5] อรรถกถาชาดก ภาค ๒ เป็น วฬวามุขยกฺขินิโย นางยักษินีหน้าฬา
[6] แต่ในอรรถกถาอัฏฐกถนิบาตอันเป็นที่มา อธิบายว่า อปเจ พฺรหฺมจารโยติ พฺรหฺมจาริโน อปจยติ, นีจวุตฺติตํ เนสํ อาปชฺชติฯ อปเจ พฺรหฺมจารโย คือ พฺรหฺมจาริโน อปจยติ ย่อมอ่อนน้อมซึ่งท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ คือ ถึงความเป็นผู้ประพฤติโน้มลงต่ำ ต่อท่านเหล่านั้น.
[7] ปัจจุบันมีปาฐะเป็น ปาณาติปาติโน
[8] ปัจจุบันมีปาฐะเป็น กาสิกุตฺตมธาริโน
[9] ฉบับสยามรัฐเป็น ยสสฺสิโน ในที่นี้ยึดตามฉบับฉัฏฐสังคายนา
[10] ฉบับสยามรัฐเป็น กลาปิโน  ในที่นี้ยึดตามฉบับฉัฏฐสังคายนา
[11] ควรค้นหาที่มาของศัพท์นี้?
[12] ฉบับสยามรัฐเป็น ปาณิโณ ในที่นี้ถือเอาตามฉบับฉัฏฐสังคายนา
[13] ฉบับสยามรัฐเป็น ปาณิโน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น