วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สมาสกัณฑ์ ๙ - วิเสสวิธาน ง - อัพยยะ

อพฺยยราสิ

อัพยยราสิ
กลุ่มนามศัพท์ที่เข้าสมาสกับบทอัพยยะ

๔๑๐. กุปาทโย นิจฺจมสฺยาทิวิธิมฺหิ [1]

๔๑๐. กุปาทโย นิจฺจมสฺยาทิวิธิมฺหิ.
นิบาตมีกุเป็นต้นและ อุปสัคมี ป เป็นต้น เข้าสมาสกับบทนามในวิธีการแห่งสมาส แน่นอน
สฺยาทิวิธิโต อญฺญตฺถ กุอาทโย ปาทโย จ สทฺทา สฺยาทฺยนฺเตน สห นิจฺจํ เอกตฺถา โหนฺติฯ

ในวิธีการอื่นจากวิธีการแห่งคำนาม  ศัพท์ทั้งหลายมีกุเป็นต้น และ ป เป็นต้น เข้าสมาสกับบทนาม แน่นอน. ตัวอย่างเช่น

กุจฺฉิโต พฺราหฺมโณ กุพฺราหฺมโณ, อีสกํ อุณฺหํ กทุณฺหํ, ปากโฏ หุตฺวา ภวตีติ ปาตุภูโต, อาวี[2] หุตฺวา ภวตีติ อาวีภูโต, ตุณฺหี ภวตีติ ตุณฺหีภูโต, ปมุโข นายโก ปนายโก, ปกาเรน กริตฺวา ปกริตฺวา ปกาเรน กตํ ปกตํ, ปฐมํ วา กตํ ปกตํ, วิรูโป ปุริโส ทุปฺปุริโสฯ เอวํ ทุกฺกฏํ, โสภโณ ปุริโส สุปุริโสฯ เอวํ สุกตํ, อภิธมฺโม, อภิตฺถุโต, ภุสํ กฬาโร อากฬาโร, ภุสํ พนฺโธ อาพนฺโธ อิจฺจาทิฯ

พราหมณ์น่ารังเกียจ ชื่อว่า กุพฺราหฺมโณ, ร้อนนิดหน่อย ชื่อว่า กทุณฺหํ, ย่อมมีโดยปรากฏ (มีอย่างชัดเจน) ชื่อว่า ปาตุภูโต, ย่อมมีโดยแจ่มแจ้ง ชื่อว่า อาวีภูโต, ย่อมเป็นผู้นิ่ง ชื่อวา ตุณฺหีภูโต, ผู้นำ อันเป็นประมุข ชื่อว่า ปนายโก, ทำแล้ว โดยประการ ชื่อว่า ปกริตฺวา (ทำเป็นอย่างต่างๆแล้ว), สิ่งที่ทำแล้วโดยประการ ชื่อว่า ปกตํ, อีกอย่างหนึ่ง สิ่งที่ทำไว้ก่อน ชื่อว่า ปกตํ, บุรุษมีรูปทราม ชื่อว่า ทุปฺปุริโส. ตัวอย่างนี้ คือ ทุกฺกฏํ กรรมที่ทำไว้ไม่ดี ก็เช่นเดียวกันนี้. บุรุษงาม ชื่อว่า สุปุริโส. ตัวอย่างนี้ คือ สุกตํ กรรมที่ไว้ดี, อภิธมฺโม ธรรมที่พิเศษ, อภิตฺถุโต  ยกย่องแล้ว ก็เช่นเดียวกันนี้, แหลมคมยิ่ง ชื่อว่า อากฬาโร, ผูกแน่นหนา ชื่อว่า อาพนฺโธ.

ปาทโย ปกตาทฺยตฺเถ ปฐมาย เอกตฺถา โหนฺติ, ปกโต อาจริโย ปาจริโยฯ เอวํ ปยฺยโก, ปโร อนฺเตวาสี ปนฺเตวาสี, ปโร ปุตฺโต ปปุตฺโต, ปโร นตฺตา ปนตฺตาฯ

ป เป็นต้น เข้าสมาสกับบทลงปฐมาวิภัติในอรรถปกต (มีก่อน) เป็นต้น  ตัวอย่างเช่น
อาจารย์ ผู้ทำไว้ในกาลก่อน ชื่อว่า ปาจริโย. ปยฺยโก ผู้มีก่อนปู่ (ทวด) ก็เช่นกัน. ผู้อยู่ในสำนักคนหลัง ชื่อว่า ปนฺเตวาสี. บุตรรุ่นหลัง (คือ ผู้สืบเชื้อสายจากบุตร ได้แก่ หลาน) ชื่อว่า ปปุตฺโต, หลานรุ่นหลัง (คือ ผู้สืบเชื้อสายจากหลาน ได้แก่ เหลน) ชื่อว่า ปนตฺตา.

อตฺยาทโย อติกฺกนฺตาทฺยตฺเถ ทุติยาย, มญฺจํ อติกฺกนฺโต อติมญฺโจฯ เอวํ อติพาโล, อติเวลาฯ

อติศัพท์เป็นต้น เข้าสมาสกับบทลงทุติยาวิภัตติ ในอรรถว่า อติกฺกนฺต ก้าวล่วง เป็นต้น. เช่น ผู้ก้าวล่วง (ข้าม) เตียง ชื่อว่า อติมญฺโจ, อติพาโล ล่วงเลยคนเขลา, อติเวลา ล่วงเลยเวลา.

อวาทโย กุฏฺฐาทฺยตฺเถ ตติยาย, โกกิลาย อวกุฏฺฐํ วนํ อวโกกิลํ, ‘อวกุฏฺฐนฺติ ฉฑฺฑิตนฺติ วทนฺติฯ เอวํ อวมยูรํฯ

อุ เป็นต้น เข้าสมาสกับบทลงตติยาวิภัตติในอรรถว่า กุฏฺฐ (รังเกียจ) เป็นต้น. ป่าอันนกกาเหล่าละแล้ว ชื่อว่า อวโกกิลํ, มีบางอาจารย์ท่านกล่าวว่า บทว่า อวกุฏฺฐิตํ ได้แก่ ฉฑฺฑิตํ ทิ้งแล้ว, อวมยูรํ ป่าอันนกยูงหนีไปแล้ว.

ปริยาทโย คิลานาทฺยตฺเถ จตุตฺถิยา, อชฺฌายิตุํ คิลาโน ปริยชฺเฌโนฯ

ปริ เป็นต้น เข้าสมาสกับบทลงจตุตถีวิภัตติในอรรถว่า คิลาน ผู้ป่วย. ปริยชฺเฌโน (เชื้อเชิญมาสวดสาธยายเพื่อผู้ป่วย?)

นฺยาทโย นิกฺขนฺตาทฺยตฺเถ ปญฺจมิยา, โกสมฺพิยา นิกฺขนฺโต นิกฺโกสมฺพิ, วานโต นิกฺขนฺตํ นิพฺพานํ.

น เป็นต้น เข้าสมาสกับบทลงปัญจมีวิภัตติในอรรถว่า ออก เป็นต้น. ภิกษุผู้ออกจากเมืองโกสัมพี ชื่อว่า นิกฺโกสมฺพี, ธรรมชาติที่ออกจากตัณหา ที่ชื่อ วานะ ชื่อว่า นิพฺพานํ.

อสฺยาทิวิธิมฺหีติ กิํ? รุกฺขํ ปติ วิชฺโชตเตฯ

คำว่า อสฺยาทิวิธิมฺหิ  มีประโยชน์อะไร ?
มีประโยชน์ในการห้ามเข้าสมาสกับ ป เป็นต้น ในที่ไม่ใช่วิธีการแห่งคำนาม เช่น รุกฺขํ ปติ วิชฺโชตเต. สายฟ้า แลบกระทบที่ต้นไม้.

๔๑๑. จี กฺริยตฺเถหิ[3]
จีปจฺจยนฺโต สทฺโท กฺริยตฺเถหิ สทฺเทหิ สห เอกตฺโถ โหติฯ
พลสา กิริย พลีกิริย, ปากฏีกิริย, ปากฏีภุยฺย, ปากฏีภวิยฯ

๔๑๑. จี กฺริยตฺเถหิ.
ศัพท์ที่ลงจี (อี)ปัจจัย เข้าสมาสกับศัพท์ที่มีอรรถแห่งกิริยา.
นามศัพท์ที่ลงจีปัจจัย ย่อมเข้าสมาสกับนามศัพท์กับนามศัพท์ที่มีความหมายว่ากิริยา.
ตัวอย่างเช่น กระทำแล้วด้วยเรี่ยวแรง ชื่อว่า พลีกิริย, กระทำให้ปรากฏ ชื่อว่า ปากฏีกิริย, ปากฏีภุยฺย, ปากฏีภวิย (ความมีอย่างปรากฏชัดเจน?)

๔๑๒. ภูสนาทรานาทราทีสฺเวหิ สห[4]
อลมาทโย สทฺทา ภูสนาทีสุ อตฺเถสุ เอเตหิ กฺริยตฺเถหิ สห เอกตฺถา โหนฺติฯ

๔๑๒. ภูสนาทรานาทราทีสฺเวหิ สห.
(นามศัพท์มี อลํ เป็นต้น สมาสกับนามศัพท์ที่มีอรรถกิริยาในอรรถว่าภูสน (ประดับ), อาทร (เอื้อเฟื้อ), อนาทร (ไม่เอื้อเฟื้อ) เป็นต้น.)
นามศัพท์มี อลํ เป็นต้นเข้าสมาสกับนามศัพท์ที่มีความหมายว่าเป็น กิริยา ในอรรถว่า ภูสน (ประดับ)เป็นต้น. ตัวอย่างเช่น

ภูสนํ อกาสีติ อลํกิริย, สมํ อาทรํ อกาสีติ สกฺกจฺจ, อสมํ อนาทรํ อกาสีติ อสกฺกจฺจ, พินฺทุโน ปรรูปตฺตํฯ

ได้ทำแล้วซึ่งการประดับ ชื่อว่า อลํกิริย, ทำแล้ว ซึ่งความเอื้อเฟื้อ ชื่อว่า สกฺกจฺจ, ทำแล้ว ซึ่งความไม่เอื้อเฟื้อ ชื่อว่า อสกฺกจฺจ, แปลง นิคคหิต เป็นอักษรหลัง[5]
ภูสนาทีสูติ กิํ? อลํ ภุตฺวา คโต, ‘อลนฺติ ปริยตฺตํ, สกฺกตฺวา คโต, โสภณํ กตฺวาตฺยตฺโถฯ ‘‘กจฺจ, กิริย’’ อิจฺจาทินา สํขิตฺตรูเปหิ อุปปเทน สห สิทฺเธหิ เอว เอกตฺถสญฺญา, ‘‘กตฺวา’’ อิจฺจาทินา อสํขิตฺตรูเปหิ วิสุํ สิทฺเธหีติ อธิปฺปาโยฯ

บทว่า ภูสนาทีสุ  ในความหมายว่า ประดับเป็นต้น มีไว้เพื่ออะไร?
ในกรณีที่ไม่มีความหมายดังกล่าว ห้ามเข้าสมาส เช่นในตัวอย่างนี้ว่า
อลํ ภุตฺวา คโต บริโภคจนพอแล้วจึงไป. บทว่า  อลํ มีความหมายว่า  ปริยตฺต พอ,
สกฺกตฺวา คโต ทำให้ดีงามแล้วจึงไป, บทว่า สกฺกตฺวา หมายความว่า โสภณํ กตฺวา ทำให้ดีงาม.
มีคำอธิบายว่า[6] การได้ชื่อว่า สมาส ย่อมมี เพราะรูปศัพท์ที่ย่อไว้ ซึ่งสำเร็จพร้อมกับอุปบท โดยนัยว่า กจฺจ, กิริย เป็นต้น, มิได้มีเพราะรูปศัพท์ที่ไม่ย่อ  ที่สำเร็จแยกเป็นต่างหาก โดยนัยว่า กตฺวา เป็นต้น[7]

๔๑๓. อญฺเญ จ [8]
อญฺเญ จ สทฺทา กฺริยตฺเถหิ สฺยาทฺยนฺเตหิ สห พหุลํ เอกตฺถา โหนฺติฯ

๔๑๓. อญฺเญ จ
ศัพท์เหล่าอื่น เข้าสมาสกับนามศัพท์ที่มีความหมายว่า กริยา เช่นกัน.
ศัพท์เหล่าอื่น เข้าสมาสกับนามศัพท์ที่มีความหมายว่า กริยา โดยมาก เช่นกัน ตัวอย่างเช่น

อติเรกํ อภวีติ ปโรภุยฺยฯ เอวํ ติโรภุยฺย, ปโรกิริย, ติโรกิริย, อุรสิกิริย, มนสิกิริย, มชฺเฌกิริย, ตุณฺหีภุยฺยฯ

ได้มีเกินแล้ว ชื่อว่า ปโรภุยฺย, ติโรภุยฺย ได้มีที่ฝาบ้านแล้ว, ปโรกิริย ได้ทำเกินแล้ว, ได้ทำที่ฝาบ้านแล้ว, อุรสิกิริย แล้วที่อก, มนสิกิริย ได้กระทำแล้วในใจ, มชฺเฌกิริย ได้ทำในท่ามกลางแล้ว, ตุณฺหีภุยฺย ได้เป็นผู้นิ่งแล้ว ก็เช่นเดียวกันนี้.

ตฺยาทิสทฺทาปิ สญฺญาภาวํ ปตฺตา นิปาตรูปา โหนฺติ, สฺยาทิรูปา จฯ ตสฺมา เตปิ อิมสฺมิํ สุตฺเต สงฺคยฺหนฺติฯ

แม้กริยาศัพท์ และ นามศัพท์ครั้นถึงความเป็นชื่อแล้ว ก็ย่อมเป็นนิบาตไป[9]. เพราะเหตุนั้น แม้กริยาและนามศัพท์ที่เป็นชื่อเหล่านั้น จึงสงเคราะห์อยู่ในสูตรนี้ด้วย. ตัวอย่างเช่น
อตฺถิขีรา คาวี, นสนฺติปุตฺตา อิตฺถี, อตฺถิ หุตฺวา ปจฺจโย อตฺถิปจฺจโยฯ เอวํ นตฺถิปจฺจโย, อโหสิ เอว กมฺมํ อโหสิกมฺมํ, เอหิ จ ปสฺส จ เอหิปสฺส, เอหิปสฺส อิติ วิธานํ อรหตีติ เอหิปสฺสิโก, อยํ ตทฺธิตนฺตสมาโส นามฯ เอวํ ปรตฺถฯ

แม่โค มีน้ำนมมาก ชื่อว่า อตฺถิขีรา, หญิง ไม่มีบุตร ชื่อว่า นสนฺติปุตฺตา, เป็นปัจจัยโดยความมีอยู่ ชื่อว่า อตฺถิปจฺจโย. ตัวอย่างว่า นตฺถิปจฺจโย นัตถิปัจจัย ก็เช่นเดียวกันนี้, กรรมคืออโหสิ ชื่อว่า อโหสิกมฺมํ, จงมาและจงดู ชื่อว่า เอหิปสฺส, ย่อมควรซึ่งวิธีคือเอหิปสฺส (มาดู) ชื่อว่า เอหิปสฺสิโก คำว่า เอหิปสฺสิโก นี้ เรียกว่า ตัทธิตันตสมาส (สมาสที่มีตัทธิตเป็นที่สุด). ในตัวอย่างที่จะกล่าวต่อไป ก็เป็นเช่นเดียวกันนี้.

เอหิ ภทฺทนฺเตติ วุตฺโตปิ น เอตีติ นเอหิภทฺทนฺติโก[10], ติฏฺฐ ภทฺทนฺเตติ วุตฺโตปิ น ติฏฺฐตีติ นติฏฺฐภทฺทนฺติโก, เอหิ สฺวาคตํ ตุยฺหนฺติ วทนสีโล เอหิสฺวาคติโก, เอหิสฺวาคตวาที[11]  วา, เอหิ ภิกฺขูติ วจเนน สิทฺธา อุปสมฺปทา เอหิภิกฺขูปสมฺปทา, เอวํ โปราณา อาหํสุ วา, เอวํ ปุเร อาสิํสุ วาติ เอวํ ปวตฺตํ วิธานํ เอตฺถ อตฺถีติ อิติหาโส[12], ปุราณคนฺโถ, ยํ ปุพฺเพ อนญฺญาตํ, ตํ อิทานิ ญสฺสามิ อิติ ปวตฺตสฺส อินฺทฺริยํ อนญฺญาตญฺญสฺสามีตินฺทฺริยํ, อสุโก อิติ อาห อสุโก อิติ อาห, อสุกสฺมิํวา คนฺเถ อิติ อาห อสุกสฺมิํ คนฺเถ อิติ อาหาติ เอวํ ปวตฺตวจนํ อิติหิติหํ, อญฺญาสิ อิติ พฺยากโต โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิโกณฺฑญฺโญ[13] อิจฺจาทิ.

บุคคล ผู้แม้มีใครบอกว่า ท่านผู้เจริญ จงมา ดังนี้แล้ว ก็ไม่มา ชื่อว่า นเอหิภทฺทนฺติโก. บุคคล ผู้แม้มีใครบอกว่า ท่านผู้เจริญ จงหยุด ดังนี้แล้ว ชื่อว่า นติฏฺฐภทฺทนฺติโก. บุคคลผู้มีการกล่าวว่า “ท่านจงมาเถิด, การมาของท่านนั้นดี” ดังนี้เป็นปกติ ชื่อว่า เอหิสฺวาคติโก. หรือ เป็นรูปว่า เอหิสฺวาคตวาที. อุปสมบทที่สำเร็จแล้วด้วยพระดำรัสว่า “เอหิ ภิกฺขุ (เธอจงมา จงเป็นภิกษุเถิด)” ชื่อว่า เอหิภิกฺขูปสมฺปทา. คัมภีร์ที่มีวิธีอันดำเนินไปแล้วอย่างนี้ว่า พระโบราณาจารย์กล่าวแล้วอย่างนี้, หรือ เรื่องนี้ได้มีแล้วอย่างนี้ในกาลก่อน ชื่อว่า อิติหาโส. ได้แก่ คัมภีร์โบราณ (ประวัติศาสตร์) อินทรีย์ แห่งบุคคลผู้ดำรงอยู่ในโสตาปัตติผล  ซึ่งเป็นไปว่า สัจธรรมใด อันเราไม่รู้แล้วในกาลก่อน, บัดนี้ เราจักรู้ซึ่งสัจธรรมนั้น ชื่อว่า อนญฺญาตญฺญสฺสามีตินฺทฺริยํ. คำพูดอันเป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า กล่าวแล้วว่า บุคคลโน้น, กล่าวแล้วว่า บุคคลโน้น, หรือว่า กล่าวแล้วว่า ในตำราโน้น, กล่าวแล้วว่า ในตำราโน้น ชื่อว่า อิติหิติหํ. พระโกญทัญญะ ผู้อันพระศาสดาทรงพยากรณ์แล้วว่า ได้รู้แล้ว ดังนี้ ชื่อว่า อญฺญาสิโกญฺฑญฺโญ

เกจิ ปน ‘‘สจฺฉิกโรติ, มนสิกโรติ, ปากฏีกโรติ, อาวีกโรติ, ปาตุกโรติ, อลงฺกโรติ, สกฺกโรติ, ปภวติ, ปราภวติ’’ อิจฺจาทีนมฺปิ เอกตฺถีภาวํ วทนฺติฯ
แต่มีบางอาจารย์ กล่าวถึงความเป็นสมาสแม้ของศัพท์เหล่านี้ เช่น สจฺฉิกโรติ ทำให้แจ้ง, มนสิกโรติ ทำไว้ในใจ, ปากฏีกโรติ ทำให้ปรากฏ, อาวีกโรติ ทำให้เป็นแจ้ง, ปาตุกโรติ ทำให้ปรากฏ, อลงฺกโรติ ทำการประดับ, สกฺกโรติ ทำความเคารพ, ปภวติ ย่อมเกิดก่อน, ปราภวติ ย่อมเสื่อม.

ตุมนฺตตฺวนฺตาทิกาปิ เอตฺถ สงฺคยฺหนฺติ, คนฺตุํ กาเมตีติ คนฺตุกาโม, กตฺตุกาโม, ทฏฺฐุกาโม, คนฺตุํ มโน เอตสฺสาติ คนฺตุมโน, สํวิธาย อวหาโร สํวิธาวหาโร, ยโลโปฯ เอวํ อุปาทาย อุปฺปนฺนํ รูปํ อุปาทารูปํ, อนุปาทาย วิมุตฺโต อนุปาทาวิมุตฺโต, ปฏิจฺจสมุปฺปาโท, อาหจฺจภาสิโต, อุปหจฺจปรินิพฺพายี[14], อเวจฺจปฺปสาโท, ฉกฺขตฺตุปรมํ, สตฺตกฺขตฺตุปรโม[15] อิจฺจาทิฯ







แม้ศัพท์ที่ลงตุํ และ ตฺวา ปัจจัยเป็นต้น ก็สงเคราะห์เข้าในวิธีการนี้ เช่น ผู้ใคร่เพื่อไป ชื่อว่า คนฺตุกาโม, กตฺตุกาโม ผู้ใคร่ทำ, ทฏฺฐุกาโม ผู้ใคร่เห็น, ผู้มีความคิดเพื่อไป ชื่อว่า คนฺตุมโน, ผู้จัดแจงแล้วนำไป ชื่อว่า สํวิธาวหาโร รูปนี้ลบ ย (ที่แปลงมาจาก ตฺวา), รูปที่เข้าไปอาศัย (ซึ่งมหาภูตรูป) เกิดขึ้น ชื่อว่า อุปาทารูป, ผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะการไม่ถือมั่น ชื่อว่า อนุปาทาวิมุตฺโต, ปฏิจฺจสมุปฺปาโท ธรรมที่อาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น, อาหจฺจภาสิโต ผู้กล่าวกระทบกระเทียบ, อุปหจฺจปรินิพฺพายี พระอนาคามีผู้เข้าไปใกล้ (อายุขัย) แล้วปรินิพพาน[16], อเวจฺจปฺปสาโท ผู้เลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหว, ฉกฺขตฺตุปรมํ ฐานะมีการกำหนด ๖ ครั้งอย่างมาก[17], สตฺตกฺขตฺตุปรโม พระโสดาบัน ผู้มีการเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างมาก.

อพฺยยราสิ นิฏฺฐิโต.


อัพยยราสิ
กลุ่มนามศัพท์ที่เข้าสมาสกับบทอัพยยะ
จบแล้ว




[1] [ก. ๓๒๔; รู. ๓๓๙; จํ. ๒.๒.๒๔; ปา. ๒.๒.๑๘]
[2] [‘อาวิปิ ทิสฺสติ]
[3] [จํ. ๒.๒.๒๕; ปา. ๑.๔.๖๐, ๖๑]ฯ
[4] [จํ. ๒.๒.๒๗; ปา. ๑.๔.๖๓, ๖๔
[5] (นิคคหิตที่ สํ เป็น ก เพราะ ก ที่กร ธาตุเบื้องหลัง)
[6] (หรือจะแปลว่า ความข้อนี้ประสงค์ความว่า ดังนี้ก็ควร)
[7] (หมายความว่า การเป็นสมาสในกรณีนี้ จะต้องได้ด้วยคำที่ย่อรูปไว้ ซึ่งมาพร้อมกับอุปบท หาได้สำเร็จโดยบทเดียวไม่ เช่น กจฺจ , กิริย ต้องสำเร็จคู่กับ อลํ สํ เป็นต้น ไม่ใช่แยกกันเป็น สํ กตฺวา , อลํ กตฺวา เป็นต้น)
[8] [ก. ๓๒๔, ๓๒๗; รู. ๓๓๙, ๓๕๑; นี. ๖๘๒-๖๘๘, จํ. ๒.๒.๓๐, ๓๓, ๓๔, ๓๗, ๔๔; ปา ๑.๔.๖๗, ๗๑, ๗๒, ๗๕, ๗๖; ๓.๔.๖๓]
[9] (มีรูปเป็นนิบาต?)
[10] [ที. นิ. ๑.๓๙๔]
[11] [ปารา. ๔๓๒]
[12] [ที. นิ. ๑.๒๕๖]
[13] [มหาว. ๘]
[14] [ปุ. ป. ๓๗]
[15] [ปุ. ป. ๓๑]
[16] (อุปหจฺจ เข้าไปใกล้, จวนเจียน หมายถึง จวนถึงกาลเป็นที่สิ้นอายุ + ปรินิพฺพายี มีการปรินิพพาน)
[17] (คำนี้มีที่มาในพระบาฬีปาราชิกกัณฑ์ ราชสิกขาปทวัณณนา และกังขา.อภิ.ฏี. อธิบายว่า ฉกฺขตฺตุํ ปรโม ปริจฺเฉโท อสฺสาติ ฉกฺขตฺตุปรมํ ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการในที่นี้ที่นำบทลงตุํปัจจัยเข้าสมาสกับบทว่า ปรมํ )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น