วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สมาสกัณฑ์ ๑๐ - วิเสสวิธาน จ - สังขยา จบ สมาสกัณฑ์

สงฺขฺยาราสิ

สังขยาราสิ
กลุ่มนามศัพท์ที่เข้าสมาสกับสังขยาศัพท์

อิทานิ สงฺขฺยาราสิ วุจฺจเตฯ
บัดนี้ จะกล่าวถึงกลุ่มนามศัพท์ที่เข้าสมาสกับสังขยาศัพท์.

๔๑๔. วิธาทีสุ ทฺวิสฺส ทุ[๑]
วิธาทีสุ ปเรสุ ทฺวิสฺส ทุ โหติฯ
ทฺเว วิธา ปการา ยสฺสาติ ทุวิโธ, ทฺเว ปฏฺฏานิ ยสฺสาติ ทุปฏฺฏํ, จีวรํ, ทุวงฺคิกํ, ฌานํ อิจฺจาทิฯ

๔๑๔. วิธาทีสุ ทฺวิสฺส ทุ
ในเพราะวิธศัพท์เป็นต้น แปลง ทฺวิ เป็น ทุ.
ในเพราะศัพท์มี วิธ เป็นต้น อันเป็นเบื้องหลัง ทุ เป็นตัวเปลี่ยน ของทฺวิ. ตัวอย่างเช่น
ธรรมมี ๒ ประการ ชื่อว่า ทุวิโธ. จีวรมี ๒ ชั้น ชื่อว่า ทุปฏฺฏํ. ฌาน มีองค์สอง ชื่อว่า ทุวงฺคิกํ.


๔๑๕. ทิ คุณาทีสุ[๒]
คุณาทีสุ ทฺวิสฺส ทิ โหติฯ
ทฺเว คุณา ปฏลา ยสฺสาติ ทิคุณา, สงฺฆาฏิ, ทฺเว คาโว ทิคุ, ทฺเว รตฺติโย ทิรตฺตํ, ทฺวิรตฺตํ วาฯ

๔๑๕. ทิ คุณาทีสุ.
ในเพราะคุณ ศัพท์ เป็นต้น แปลงทวิเป็น ทิ.
ในเพราะศัพท์มี คุณ เป็นต้น (อันเป็นเบื้องหลัง)  ทิ เป็นตัวเปลี่ยนของ ทฺวิ. ตัวอย่างเช่น
ผ้าสังฆาฏิ มี ๒ ชั้น ชื่อว่า ทิคุณํ. โค ๒ ตัว ชื่อว่า ทิคุ. ๒ ราตรี ชื่อว่า ทิรตฺตํ, มีรูปว่า ทฺวิรตฺตํ บ้าง.

๔๑๖. ตีสฺว [๓]
ตีสุ ปเรสุ ทฺวิสฺส อ โหติฯ
ทฺเว วา ตโย วา วารา ทฺวตฺติกฺขตฺตุํ, ทฺเว วา ตโย วา ปตฺตา ทฺวตฺติปตฺตาฯ

๔๑๖. ตีสฺว.
ในเพราะติ แปลง ทฺวิ เป็น อ.
ในเพราะ ติ อันเป็นเบื้องหลัง อ เป็นตัวเปลี่ยนของ ทฺวิ. ตัวอย่างเช่น
๒ หรือ ๓ วาระ ชื่อว่า ทฺวตฺติกฺขตฺตุํ,  ๒ หรือ ๓ บาตร ชื่อว่า ทฺวตฺติปตฺตา.

๔๑๗. อา สงฺขฺยายาสตาโทนญฺญตฺเถ [๔]
อญฺญปทตฺถวชฺชิเต สมาเส สตาทิโต อญฺญสฺมิํ สงฺขฺยาปเท ปเร ทฺวิสฺส อา โหติฯ
ทฺเว จ ทส จ ทฺวาทส, ทฺวีหิ วา อธิกา ทส ทฺวาทส, ทฺวาวีสติ, ทฺวตฺติํส, รสฺสตฺตํฯ
อสตาโทติ กิํ? ทฺวิสตํ, ทฺวิสหสฺสํฯ
อนญฺญตฺเถติ กิํ? ทฺเว ทส ยสฺมินฺติ ทฺวิทสฯ

๔๑๗. อา สงฺขฺยายาสตาโทนญฺญตฺเถ.
ในที่ไม่ใช่อัญญัตถสมาส ในเพราะบทสังขยาซึ่งนอกจาก สต เป็นต้น แปลง ทฺวิ เป็น อา.
ในสมาส อันเว้นจากอัญญัตถสมาส ในเพราะบทสังขยาที่เป็นอื่นจากศัพท์มี สต เป็นต้น อา  เป็นตัวเปลี่ยน ของ ทฺวิ. ตัวอย่างเช่น
สิบ กับ สอง ชื่อว่า ทฺวาทส (๑๒), อีกนัยหนึ่ง สิบ เกินด้วย สอง ชื่อว่า ทฺวาทส (๑๒).  ทฺวาวีสติ ยี่สิบ, ทฺวตฺติํส ๓๒, รูปนี้รัสสะจาก ทฺวาตฺติํส เป็น ทฺวตฺติํส.

๔๑๘. ติสฺเส[๕]
อนญฺญตฺเถ อสตาโท สงฺขฺยาปเท ปเร ติสฺส เอ โหติฯ
ตโย จ ทส จ เตรส, ตีหิ วา อธิกา ทส เตรสฯ เอวํ เตวีสติ, เตตฺติํสฯ

๔๑๘. ติสฺเส.
แปลง ติ เป็น เอ ด้วย
ในสมาส ที่ไม่ใช่อัญญัตถสมาส ในเพราะบทสังขยาที่ไมใช่ สต เป็นต้น เอ  เป็นตัวเปลี่ยน ของ ติ. ตัวอย่างเช่น
สิบ กับ สาม ชื่อว่า เตรส ๑๓, หรือ อีกนัยหนึ่ง สิบ เกินด้วย สอง ชื่อว่า เตรส ๑๓. เตวีสติ ๒๓, เตตฺติํส ๓๓ ก็เป็นเช่นเดียวกันนี้.

๔๑๙. จตฺตาลีสาโท วา[๖]
จตฺตาลีสาทีสุ ปเรสุ ติสฺส เอ โหติ วาฯ
เตจตฺตาลีสํ, ติจตฺตาลีสํ, เตปญฺญาสํ, ติปญฺญาสํ, เตสฏฺฐิ, ติสฏฺฐิ, เตสตฺตติ, ติสตฺตติ, เตอสีติ, ติอสีติ, เตนวุติ, ตินวุติฯ
๔๑๙. จตฺตาลีสาโท วา.
ในเพราะ จตฺตาลีส เป็นต้น แปลง ติ เป็น เอ ได้บ้าง.
ในเพราะบทสังขยา มี จตฺตาลีส เป็นต้น อันเป็นเบื้องหลัง เอ เป็นตัวเปลี่ยนของ ติ ได้บ้าง.
เตจตฺตาลีสํ, ติจตฺตาลีสํ ๔๓, เตปญฺญาสํ, ติปญฺญาสํ ๕๓ , เตสฏฺฐิ, ติสฏฺฐิ ๖๓ , เตสตฺตติ, ติสตฺตติ ๗๓ , เตอสีติ, ติอสีติ ๘๓, เตนวุติ, ตินวุติ ๙๓.

๔๒๐. ทฺวิสฺสา จ[๗]
จตฺตาลีสาโท ทฺวิสฺส เอ โหติ วา อา จฯ
ทฺเวจตฺตาลีสํ, ทฺวาจตฺตาลีสํ, ทฺวิจตฺตาลีสํ, ทฺเวปญฺญาสํ, ทฺวิปญฺญาสํ, ทฺวาสฏฺฐิ, ทฺเวสฏฺฐิ, ทฺวาสตฺตติ, ทฺเวสตฺตติ, ทฺวาสีติ, ทฺวานวุติ, ทฺเวนวุติฯ วาสทฺเทน ปญฺญาสมฺหิ อาตฺตํ, อสีติมฺหิ เอตฺตญฺจ นตฺถิฯ

๔๒๐. ทฺวิสฺสา จ.
ในเพราะ จตฺตาลีส เป็นต้น แปลง ทฺวิ เป็น เอ และ เป็น อา ได้บ้าง.
ในเพราะบทสังขยามี จตฺตาลีส เป็นต้น เอ บ้าง อา บ้าง เป็นตัวเปลี่ยนของ ทฺวิ ได้บ้าง. ตัวอย่างเช่น
ทฺเวจตฺตาลีสํ, ทฺวาจตฺตาลีสํ, ทฺวิจตฺตาลีสํ๔๒, ทฺเวปญฺญาสํ, ทฺวิปญฺญาสํ ๕๒, ทฺวาสฏฺฐิ, ทฺเวสฏฺฐิ ๖๒, ทฺวาสตฺตติ, ทฺเวสตฺตติ ๗๒, ทฺวาสีติ ๘๒, ทฺวานวุติ, ทฺเวนวุติ ๙๒.  ด้วย วาศัพท์ ไม่แปลง ทฺวิ ที่มี ปญฺญาส อยู่หลัง เป็น อา,  และ ไม่แปลง ทฺวิ ที่มี อสีติ อยู่หลังเป็น เอ.

๔๒๑. พาจตฺตาลีสาโท วา [๘]
อจตฺตาลีสาโท ปเร ทฺวิสฺส พา โหติ วาฯ
พารส, ทฺวาทส, พาวีสติ, ทฺวาวีสติ, พาตฺติํส, ทฺวตฺติํสฯ
อจตฺตาลีสาโทติ กิํ? ทฺวาจตฺตาลีสํฯ

๔๒๑. พาจตฺตาลีสาโท วา.
ในเพราะสังขยาศัพท์ที่ไม่ใช่ จตฺตาลีส เป็นต้น แปลง ทฺวิ เป็น พา ได้บ้าง.
ในเพราะสังขยาศัพท์ที่ไม่ใช่ จตฺตาลีส เป็นต้น เป็นเบื้องหลัง พา เป็นตัวเปลี่ยนของ ทฺวิ ได้บ้าง. ตัวอย่างเช่น
พารส, ทฺวาทส  ๑๒, พาวีสติ, ทฺวาวีสติ ๒๒, พาตฺติํส, ทฺวตฺติํส ๓๒.
บทว่า อจตฺตาลีสาโท ในเพราะสังขยาศัพท์ ที่ไม่ใช่ จตฺตาลีส มีประโยชน์อะไร?
ในกรณีที่มี จตฺตาลีส เป็นเบื้องหลัง ไม่ใช้ พา แทน ทฺวิ ดังในตัวอย่างนี้ว่า ทฺวาจตฺตาลีสํ ๔๒.

๔๒๒. จตุสฺส จุโจ ทเส[๙]
ทเส ปเร จตุสฺส จุ, โจ โหนฺติ วาฯ
จุทฺทส, โจทฺทส, จตุทฺทสฯ

๔๒๒. จตุสฺส จุโจ ทเส.
ในเพราะ ทส แปลง จตุ เป็น จุ เป็น โจ บ้าง.
ในเพราะ ทส ศัพท์ อันเป็นเบื้องหลัง จุ และ โจ เป็นตัวเปลี่ยนของ จตุ ได้บ้าง. ตัวอย่างเช่น
จุทฺทส, โจทฺทส, จตุทฺทส ๑๔.

๔๒๓. วีสติทเสสุ ปญฺจสฺส ปณฺณปนฺนา[๑๐]
เอสุ ปญฺจสฺส ปณฺณ, ปนฺนา โหนฺติ วา ยถากฺกมํ.
ปณฺณวีสติ, ปญฺจวีสติ, ปนฺนรส, ปญฺจทสฯ

๔๒๓. วีสติทเสสุ ปญฺจสฺส ปณฺณปนฺนา.
เพราะมี วีสติ และ ทส ศัพท์ อยู่หลัง แปลง ปญฺจ เป็น ปณฺณ, ปนฺน ได้บ้าง.
 ในเพราะศัพท์เหล่านั้น คือ  วีสติ และ ทส อยู่หลัง จะใช้ปณฺณ, ปนฺน เป็นตัวเปลี่ยนของ ปญฺจ ได้บ้าง. ตัวอย่างเช่น
ปณฺณวีสติ, ปญฺจวีสติ, ปนฺนรส, ปญฺจทส ๑๕.

๔๒๔. ฉสฺส โส[๑๑]
ทเส ปเร ฉสฺส โส โหติฯ
โสฬสฯ

๔๒๔. ฉสฺส โส.
เพราะ ทส แปลง ฉ เป็น ส.
เพราะ ทส อันเป็นเบื้องหลัง ใช้ ส เป็นตัวเปลี่ยนแปลงของ ฉ. ตัวอย่างเช่น
โสฬส ๑๖.

๔๒๕. เอกฏฺฐานมา[๑๒]
ทเส ปเร เอก, อฏฺฐานํ อา โหติฯ
เอกาทส, อฏฺฐารสฯ

๔๒๕. เอกฏฺฐานมา.
เพราะ ทส แปลงสระที่สุด ของ เอก และ อฏฺฐ เป็น อา.
เพราะ ทส อันเป็นเบื้องหลัง สระที่สุดของ เอก และ อฏฺฐ เป็น อา. ตัวอย่างเช่น
เอกาทส ๑๑, อฏฺฐารส ๑๘.

๔๒๖. ร สงฺขฺยาโต วา[๑๓]
เอกาทิสงฺขฺยมฺหา ปรสฺส ทสสฺส ร โหติ วาฯ
เอการส, เอกาทส, พารส, ทฺวาทส, ปนฺนรส, ปญฺจทส, สตฺตรส, สตฺตทส, อฏฺฐารส, อฏฺฐาทส, พาเทเส ปนฺนาเทเส จ นิจฺจํฯ อิธ น โหติ, จตุทฺทสฯ

๔๒๖. ร สงฺขฺยาโต วา.
แปลง ทส ศัพท์ ที่อยู่หลังจากสังขยาศัพท์ มี เอก เป็นต้น เป็น ร ได้บ้าง.
จะใช้ ร เป็นตัวเปลี่ยนของ ทส ศัพท์ ที่อยู่หลังจากสังขยาศัพท์ มี เอก เป็นต้น บ้างก็ได้. ตัวอย่างเช่น
เอการส, เอกาทส ๑๑ , พารส, ทฺวาทส ๑๒, ปนฺนรส, ปญฺจทส ๑๕ , สตฺตรส, สตฺตทส ๑๗ , อฏฺฐารส, อฏฺฐาทส ๑๘,
ในตัวอย่างที่กล่าวมานี้ การใช้พา และ ปนฺน เป็นตัวเปลี่ยน ต้องมีแน่นอน, ส่วน จตุทฺทส ไม่เข้าเกณฑ์ ของสูตรนี้เลย[๑๔].

๔๒๗. ฉตีหิ โฬ จ[๑๕]
, ตีหิ ปรสฺส ทสฺส โฬ โหติ โร จฯ
โสฬส, เตรส, เตฬสฯ

๔๒๗. ฉตีหิ โฬ จ.
แปลง ทส ศัพท์ ที่อยู่หลังจาก ฉ และ ติ เป็น ฬ และ ร.
ใช้ ฬ และ ร เป็นตัวเปลี่ยนของ ทส ที่อยู่หลังจาก ฉ และ ติ. ตัวอย่างเช่น
โสฬส ๑๖ , เตรส, เตฬส ๑๓.

๔๒๘. จตุตฺถตติยานมฑฺฒุฑฺฒติยา[๑๖]
อฑฺฒุฑฺฒติยาติ อฑฺฒา+อุฑฺฒติยาติ เฉโท, อฑฺฒมฺหา ปเรสํ จตุตฺถ, ตติยานํ อุฑฺฒ, ติยา โหนฺติ ยถากฺกมํฯ
อฑฺเฒน จตุตฺโถ อฑฺฒุฑฺโฒ, อฑฺเฒน ตติโย อฑฺฒติโยฯ
สกตฺเถ ณฺยมฺหิ อฑฺฒเตยฺโยฯ

๔๒๘. จตุตฺถตติยานมฑฺฒุฑฺฒติยา
แปลง จตุตฺถ และ ตติย ที่อยู่ท้าย อฑฺฒ เป็น อุฑฺฒ, และ เป็น ติย.
บทว่า อฑฺฒุฑฺฒติยา ตัดเป็น อฑฺฒา+อุฑฺฒติยา. ความหมาย คือ ใช้ อุฑฺฒ และ ติย แทน จตุตฺถ และ ตติย ที่อยู่ท้าย อฑฺฒ ตามลำดับ.
ตัวอย่างเช่น
เต็มสี่ ด้วยกึ่ง ชื่อว่า อฑฺฒุฑฺโฒ (คือ สามครึ่ง), เต็มสาม ด้วยทั้งกึ่ง ชื่อว่า อฑฺฒติโย (สองครึ่ง)
ในเพราะ ณฺย อันมีอรรถสกัตถะ เป็นรูปว่า อฑฺฒเตยฺโย ก็มี. [๑๗]

๔๒๙. ทุติยสฺส สห ทิยฑฺฒทิวฑฺฒา[๑๘]
อฑฺฒมฺหา ปรสฺส ทุติยสฺส สห อฑฺเฒน ทิยฑฺฒ, ทิวฑฺฒา โหนฺติฯ
อฑฺเฒน ทุติโย ทิยฑฺโฒ, ทิวฑฺโฒฯ

๔๒๙. ทุติยสฺส สห ทิยฑฺฒทิวฑฺฒา.
แปลง ทุติย ที่อยู่หลังจาก อฑฺฒ พร้อมกับ อฑฺฒ นั้นเป็น ทิยฑฺฒ และ ทิวฑฺฒ.
ใช้ ทิยฑฺฒ และ ทิวฑฺฒ เป็นตัวเปลี่ยนของทุติย ที่อยู่หลังจาก อฑฺฒ พร้อมกับ อฑฺฒ นั้น. ตัวอย่างเช่น
 เต็มสองด้วยกึ่ง ชื่อว่า ทิยฑฺโฒ, ทิวฑฺโฒ. (คือ หนึ่งครึ่ง).

ยถา จ เอก, ทฺวิ,ติ, จตุ, ปญฺจ, , สตฺต, อฏฺฐ, นว, ทสสทฺทา ปจฺเจกํ อตฺตโน อตฺเถสุ นิปตนฺติ, ตถา วีสติ, ติํสติ, จตฺตาลีส, ปญฺญาส, สฏฺฐิ, สตฺตติ, อสีติ, นวุติสทฺทา ปจฺเจกํ อตฺตโน อตฺเถสุ นิปตนฺติ, ทสสทฺทสฺส การิยา น โหนฺติ, เอวํ สตสหสฺสสทฺทาปีติ ทฏฺฐพฺพํฯ

อนึ่ง ศัพท์สังขยาคือ เอก, ทฺวิ ,ติ, จตุ, ปญฺจ, , สตฺต, อฏฺฐ, นว และ ทส ใช้ ในอรรถของตนโดยเฉพาะโดยประการใด, แม้ ศัพท์เหล่านี้  คือ  วีสติ, ติํสติ, จตฺตาลีส, ปญฺญาส, สฏฺฐิ, สตฺตติ, อสีติ, นวุติ  ใช้ในอรรถของตนโดยเฉพาะเหมือนกัน, หมายความว่า มิได้เป็นการิยะ[๑๙]  ของ ทส ศัพท์. แม้สต และ สหสฺส ศัพท์ ก็ควรทราบตามนี้เหมือนกัน.
ตโต ปรํ ปน ทส สหสฺสานิ ทสสหสฺสํ, อิทํ นหุตนฺติ จ วุจฺจติ, สตํ สหสฺสานิ สตสหสฺสํ, อิทํ ลกฺขนฺติ จ วุจฺจติ, ทส สตสหสฺสานิ ทสสตสหสฺสนฺติ เอวํ ทิคุสมาสวเสน เอตานิ ปทานิ สิชฺฌนฺติฯ

สังขยาที่เพิ่มจาก สต และสหสฺส คือ ทสสหสฺส ๑๐ พัน ที่เรียกว่า นหุต (หนึ่งหมื่น), สตสหสฺส ๑๐๐ พัน ที่เรียกว่า ลกฺขํ (หนึ่งแสน), ทสสตสหสฺส จำนวน ๑๐ แสน (หนึ่งล้าน) บทเหล่านี้ สำเร็จรูปโดยเป็นทิคุสมาส อย่างนี้.

ทฺเว สตานิ ทฺวิสตํ, ตีณิ สตานิ ติสตํ, ทฺเว สหสฺสานิ ทฺวิสหสฺสํ, ตีณิ สหสฺสานิ ติสหสฺสํ อิจฺจาทีนิ ทิคุมฺหิ วุตฺตาเนวฯ

สังขยาเหล่านี้คือ ทฺวิสต ๒๐๐, ติสตํ ๓๐๐, ทฺวิสหสฺสํ ๒,๐๐๐, ติสหสฺสํ ๓,๐๐๐  ดังนี้เป็นต้น ท่านแสดงไว้ในทิคุสมาสนั่นเทียว.
คณนปเถ ปน เอกฏฺฐานํ, ทสฏฺฐานํ, สตฏฺฐานํ, สหสฺสฏฺฐานํ, ทสสหสฺสฏฺฐานํ, สตสหสฺสฏฺฐานํ, ทสสตสหสฺสฏฺฐานนฺติ อิมานิ สตฺต ฐานานิ กเมน ทสคุณิตานิ โหนฺติฯ ตตฺถ เอกฏฺฐานํ นาม เอกํ, ทฺเว, ตีณิ อิจฺจาทิฯ ทสฏฺฐานํ นาม ทส, วีสํ, ติํสํ อิจฺจาทิฯ สตฏฺฐานํ นาม สตํ, ทฺวิสตํ, ติสตํ อิจฺจาทิฯ สหสฺสฏฺฐานํ นาม สหสฺสํ, ทฺวิสหสฺสํ, ติสหสฺสํ อิจฺจาทิฯ เอวํ อุปริปิฯ เอกเมกสฺมิญฺจ ฐาเน นว ปทานิ จ นว อนฺตรนวนฺตานิ จ โหนฺติฯ อยํ มูลภูมิ นามฯ

ในระบบการนับ มี ๗ หลัก ซึ่งแต่ละหลักถูกคูณด้วย ๑๐ไป โดยลำดับเหล่านี้ คือ เอกฏฺฐานํ หลัก ๑ , ทสฏฺฐานํ หลัก ๑๐, สตฏฺฐานํ หลัก ๑๐๐, สหสฺสฏฺฐานํ หลัก ๑๐๐๐, ทสสหสฺสฏฺฐานํ หลัก ๑๐,๐๐๐, สตสหสฺสฏฺฐานํ หลัก ๑๐๐,๐๐๐, ทสสตสหสฺสฏฺฐาน และ หลัก ๑,๐๐๐,๐๐๐
บรรดา ๗ หลักเหล่านั้น หลัก ๑ (หรือหลักหน่วย)  คือ เอก, ทวิ , ติ , จตุ เป็นต้น. หลักสิบ คือ ทส, วีสํ, ติํสํ เป็นต้น, หลักร้อย คือ สตํ, ทฺวิสตํ, ติสตํ เป็นต้น, หลักพัน คือ สหสฺสํ, ทฺวิสหสฺสํ, ติสหสฺสํ เป็นต้น, แม้หลักหมื่น หลักแสน และหลักล้าน ก็มีนัยนี้. และในแต่ละหลัก มี ๙ บท มี ๙ ช่วง และ ลงท้ายด้วย ๙. ภูมิ (ชั้นสังขยา) นี้ ชื่อว่า มูลภูมิ. (สังขยาชั้นแรก)

ตทุตฺตริ โกฏิภูมิ นามฯ ตตฺถปิ เอกฏฺฐานํ, ทสฏฺฐานํ, สตฏฺฐานํอิจฺจาทีนิ สตฺต ฐานานิ โหนฺติฯ ตตฺถ มูลภูมิยา อนฺติมฏฺฐานํ คเหตฺวา ทสคุณิเต กเต โกฏิภูมิยํ เอกฏฺฐานํ โหติ, อิธปิ สตฺต ฐานานิ กเมน ทสคุณิตานิเยว, อิธ ทสโกฏิสตสหสฺสํ อนฺติมฏฺฐานํ ภวติฯ

สังขยาที่มากขึ้นจากสังขยาชั้นแรกนั้น ชื่อว่า ชั้นโกฏิ.  แม้ในสังขยาชั้นโกฏินั้น ก็มี ๗ หลัก เช่นกัน คือ หลัก ๑ โกฏิ, หลัก ๑๐ โกฏิ, หลัก ๑๐๐ โกฏิเป็นต้น. บรรดาหลัก ๗ เหล่านั้น เมื่อเอาหลักสุดท้ายของมูลภูมิ (คือ สิบล้าน) มาคูณด้วยสิบ ก็ชื่อว่า เอกัฏฐาน (หลัก ๑ โกฏิ), เจ็ดหลัก แม้ในชั้นโกฏิภนี้ ก็คูณด้วยสิบไปตามลำดับเช่นกัน, และแสนโกฏิ จัดเป็นหลักสุดท้ายในชั้นโกฏินี้.

ตทุตฺตริ ปโกฏิภูมิ นามฯ เอตฺถปิ สตฺต ฐานานิ โหนฺติฯ ตตฺถ โกฏิภูมิยา อนฺติมฏฺฐานํ คเหตฺวา ทสคุณิเต กเต ปโกฏิภูมิยํ เอกฏฺฐานํ โหติ, อิธปิ สตฺต ฐานานิ ทสคุณิตานิเยว, ทสปโกฏิสตสหสฺสํ อนฺติมฏฺฐานํ, อิมินา นเยน สพฺพภูมีสุ อุปรูปริ ภูมิสงฺกนฺติ จ ฐานเภโท จ เวทิตพฺโพฯ

สังขยาที่เพิ่มจากชั้นโกฏินั้น ได้แก่ ชั้นปโกฏิ (๑,๐๐๐ ล้าน). แม้ในชั้นปโกฏินี้ ก็มี ๗ หลัก.  เมื่อจับหลักสุดท้ายในชั้นโกฏินั้นมาคูณ ๑๐ ก็จะได้หลัก ๑ ในชั้นปโกฏิ, แม้ในชั้นปโกฏินี้ ทั้ง ๗ หลัก ย่อมเป็นอันถูกคูณด้วย ๑๐ เหมือนกัน, จำนวน๑๐ ล้านปโกฏิ จึงเป็นหลักสุดท้าย, ในชั้นสังขยาทั้งหมดต่อไปเรื่อยๆ ก็พึงทราบการเลื่อนชั้น และการจำแนกหลักโดยนัยนี้.

อยํ ปเนตฺถ ภูมิกฺกโม-มูลภูมิ, โกฏิภูมิ, ปโกฏิภูมิ, โกฏิปโกฏิภูมิ, นหุตภูมิ, นินฺนหุตภูมิ, อกฺโขภิณีภูมิ[๒๐], พินฺทุภูมิ, อพฺพุทภูมิ, นิรพฺพุทภูมิ, อหหภูมิ, อพพภูมิ, อฏฏภูมิ, โสคนฺธิกภูมิ, อุปฺปลภูมิ, กุมุทภูมิ, ปุณฺฑรีกภูมิ, ปทุมภูมิ, กถานภูมิ, มหากถานภูมิ, อสงฺขฺเยยฺยภูมีติ เอกวีสติ ภูมิโย สตฺตจตฺตาลีสสตํ ฐานานิ จ โหนฺติฯ

ที่กล่าวมานี้ เป็นลำดับชั้นสังขยา, ชั้นเหล่านี้  มี ๒๑ ชั้น และ ๑๔๗ หลักคือ ชั้นมูลภูมิ, ชั้นโกฏิ, ชั้นปโกฏิ, ชั้นโกฏิปโกฏิ, ชั้นนหุต, ชั้นนินนหุต, ชั้นอักโขภิณี, ชั้นพินทุ, ชั้นอัพพุทะ, ชั้นนิรัพพุทะ, ชั้นอหหะ, ชั้นอพพะ, ชั้นอฏฏะ, ชั้นโสคันธิกะ, ชั้นอุปปละ, ชั้นกุมุทะ, ชั้นปุณฑรีกะ, ชั้นปทุมั, ชั้นกถานะ, ชั้นมหากถานะ, ชั้นอสังขเยยยะ.
นิรยภูมีนํ กเมน ปน อพฺพุทภูมิ, นิรพฺพุทภูมิ, อพพภูมิ, อฏฏภูมิ, อหหภูมิ, กุมุทภูมิ, โสคนฺธิกภูมิ, อุปฺปลภูมิ, ปุณฺฑรีกภูมิ, ปทุมภูมีติ วตฺตพฺโพฯ เอตฺถ จ ยสฺมา ปาฬิภาสายํ ทสสตสหสฺสํ นาม สตฺตมฏฺฐานํ นตฺถิ, ฉ ฐานานิ เอว อตฺถิ, ตสฺมา ครู อฏฺฐกถาสุ[๒๑]  อาคตนเยน สตฺตมฏฺฐานํ อุลฺลงฺเฆตฺวา ฉฏฺฐฏฺฐานโต อุปริ ภูมิสงฺกนฺติํ กเถนฺตา สตคุณิตํ กตฺวา กเถนฺติ, สตสหสฺสานํ สตํ โกฏิ, โกฏิสตสหสฺสานํ สตํ ปโกฏิ อิจฺจาทิฯ

แต่ว่าโดยลำดับแห่งนิรยภูมิ ควรกล่าว (ถึงลำดับชั้นอย่างนี้) ว่า ชั้นอัพพุทะ, ชั้นนิรัพพุทะ, ชั้นอหหะ, ชั้นอพพะ, ชั้นอฏฏะ, ชั้นโสคันธิกะ, ชั้นอุปปละ, ชั้นกุมุทะ, ชั้นปุณฑรีกะ, ชั้นปทุมะ.  อนึ่ง เกี่ยวกับลำดับแห่งนิรยภูมินี้ เพราะเหตุที่ในภาษาบาฬี หลักที่ ๗ อันชื่อว่า ๑๐ ล้านไม่มี มีเพียง ๖ หลักเท่านั้น, ดังนั้น ครูทั้งหลาย จึงแสดงหลักที่ ๗ ตามนัยซึ่งมาในอรรถกถา (สัง.ส.๑/๑๘๑). เมื่อจะกล่าวการเลื่อนภูมิขึ้นไปจากหลักที่ ๖ จึงกล่าวโดยการคูณด้วย ๑๐๐ ว่า ร้อยแห่งหนึ่งแสน เป็นหนึ่งโกฏิ (๑๐ ล้าน), ร้อยแห่งหนึ่งแสนโกฏิ เป็นหนึ่งปโกฏิ (๑,๐๐๐ ล้าน) ดังนี้เป็นต้น.

ตตฺถ สตสหสฺสานํ สตํ นาม ทสสตสหสฺสานํ ทสกเมว โหติ, ตสฺมา ตถา กเถนฺตาปิ ภูมีนํ สพฺพฏฺฐานานญฺจ ทสคุณสิทฺธิเมว กเถนฺตีติ เวทิตพฺพํฯ ยสฺมา จ คณนภูมิสงฺขาโต คณนปโถ นาม นานาเทสวาสีนํ วเสน นานาวิโธ โหติ, ตสฺมา ทีปวํเส อกฺโขภิณี, พินฺทุ, กถาน, มหากถานานิ วชฺเชตฺวา ปาฬินเยน สตฺตรส ภูมิโยว วุตฺตาฯ กจฺจายเน[๒๒]  ปุพฺเพ ทสฺสิตา เอกวีสติ ภูมิโย, สกฺกตคนฺเถสุ ตโต สาธิกภูมิโย, กตฺถจิ ปน มหาพลกฺขนฺธปริยนฺตา สฏฺฐิ ภูมิโยติ อาคตาฯ

ในสังขยาชั้นปโกฏินั้น หมวดสิบแห่ง ๑๐ ล้าน (๑๐ ล้าน ๑๐ ครั้ง คือ ๑๐ ล้าน คูณ ๑๐)  ชื่อว่า สตสหสฺสานํ สตํ ร้อยล้าน, เพราะเหตุนั้น เมื่อจะกล่าวโดยประการนั้น พึงทราบว่า ย่อมกล่าวถึงการสำเร็จแห่งภูมิและหลักทั้งหมด โดยการเอา ๑๐ คูณ นั่นเอง. อนึ่ง เพราะชื่อว่าระบบการนับ กล่าวคือชั้นแห่งสังขยา  จะมีวิธีการต่างกัน เนื่องด้วยผู้อยู่ในท้องถิ่นต่างกัน (คือ ตามภาษาถิ่น) เพราะเหตุนั้น ชั้นแห่งสังขยาทั้งหลาย จึงมาแล้วอย่างนี้ คือ ในคัมภีร์ทีปวังสะ ท่านกล่าวเฉพาะสังขยา ๑๗ ชั้น ตามนัยพระบาฬี โดยเว้น อักโขภินี, พินทุ, กถานะ และ มหากถานะ. ในคัมภีร์กัจจายนะ มี ๒๑ ชั้นซึ่งข้าพเจ้าได้แสดงไปก่อนหน้านี้แล้ว, ในคัมภีร์สันสกฤต มีชั้นสังขยาที่เป็นไปกับส่วนเกินจาก ๗ ชั้น เหล่านั้น, แต่ในบางคัมภีร์ มี ๖ อันมีมหาพลักขันธะ (คือ ? ยังต้องแสวงหาที่มาต่อไป) เป็นที่สุด.

ตตฺถ สกสกภูมิโต อติเรกวตฺถูนิ คณนปถวีติวตฺตานิ นาม โหนฺติ, เยสํ ปน มูลภูมิมตฺตํ อตฺถิ, เตสํ โกฏิมตฺตานิปิ วตฺถูนิ คณนปถาติกฺกนฺตานิ เอวฯ

ในข้อความข้างต้นนั้น วัตถุอันเกินกว่าชั้นของตน ย่อมมีชื่อว่า ล่วงเกินแผ่นดินคือการนับ, หลักอันเป็นเพียงสังขยาชั้นแรก ของจำนวนนับเหล่าใด มีอยู่, จำนวนนับเหล่านั้น แม้วัตถุเพียงหนึ่งโกฏิ ก็ชื่อว่า เกินระบบการนับ นั่นเทียว.

อปิ จ คณนปถวีติวตฺตนฺติ จ คณนปถาติกฺกนฺตนฺติ จอสงฺขฺเยยฺยนฺติ จ อตฺถโต เอกํฯ ตสฺมา อิธปิ วีสติ ภูมิโย เอว อนุกฺกเมน ทสคุณิตา คณนปถา นาม โหนฺติ. อสงฺขฺเยยฺยนฺติ ปน ทสคุณวินิมุตฺตา คณนปถาติกฺกนฺตภูมิ เอว วุจฺจติฯ มหากถานภูมาติกฺกนฺตโต ปฏฺฐาย หิ อนนฺตมหาปถวิยา สพฺพปํสุจุณฺณานิปิ อิธ อสงฺขฺเยยฺยภูมิยํ สงฺคยฺหนฺติ. อิตรถา อสงฺขฺเยยฺยนฺติ จ คณนปถภูมีติ จ วิรุทฺธเมตนฺติ.

อนึ่ง คำว่า “คณนปถวีติวตฺต” เกินกว่าแผ่นดินคือการนับ ก็ดี, คำว่า “คณนปถาติกฺกนฺต เกินกว่าระบบการนับ ก็ดี, คำว่า “อสงฺขเยยฺย” นับไม่ถ้วน ก็ดี มีความหมายเดียวกัน. เพราะเหตุนััน  ในที่นี้  ๒๐ ภูมิเท่านั้น มีชื่อว่า ระบบการนับ (คณนปถ) ซึ่งเป็นการคูณด้วยสิบ โดยลำดับ. แต่ท่านเรียก ภูมิที่เกินจากระบบการนับ ซึ่งพ้นจากการคูณด้วย ๑๐ ว่า อสังขเยยะ.  แท้ที่จริง ตั้งแต่สังขยาที่มากเกินกว่ามหากถานะขึ้นไป แม้ฝุ่นและผง  แห่งแผ่นดินใหญ่หาที่สุดไม่ได้ (?) ย่อมถูกรวมไว้ในอสังขเยยยภูมิ ในที่นี้. มิเช่นนั้น คำว่า อสังขเยยยะ ก็ดี คณนปถภูมิ ก็ดี ก็เป็นอันใช้ไม่ได้.

ทีปวํเส ‘‘ตโต อุปริ อภูมิ, อสงฺขฺเยยฺยนฺติ วุจฺจตี’’ติ วุตฺตํฯ ตตฺถ อภูมีติ วจเนน คณนปถภูมิ เอว ปฏิสิทฺธา, น ตุ คณนปถาติกฺกนฺตา วิสุํ อสงฺขฺเยยฺยภูมิ นามฯ จริยาปิฏกสํวณฺณนายมฺปิ[๒๓]  อยมตฺโถ วุตฺโตฯ อสงฺขฺเยยฺยภูมิยมฺปิ อสงฺขฺเยยฺยานํ จูฬ, มหาทิวเสน อเนกปฺปเภโท ทกฺขิณวิภงฺคสุตฺเตน[๒๔] ทีเปตพฺโพฯ

และในทีปวังสะ ท่านกล่าวว่า “ในจำนวนที่มากกว่ามหากถานะ ท่านก็เรียกว่า อภูมิ (ไม่ใช่ภูมิ) คือ อสังขเยยะ” ดังนี้. ในข้อความของคัมภีร์ทีปวังสะนั้น ด้วยคำว่า อภูมิ ไม่ใช่ภูมิ นี้ เป็นอันปฏิเสธ ภูมิแห่งการนับนั่นเทียว, แต่ไม่ใช่ว่า สังขยาที่เกินกว่าจะคำนวนนับได้ จะมีชื่อว่า อสังขเยยยะ แยกเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง. แม้ความข้อนี้ ท่านก็กล่าวไว้แม้ ในอรรถกถาจริยาปิฏก. แม้ในสังขยาชั้นอสังขเยยย ยังมีอสังขเยยสังขยาอีกหลายประเภท ที่จำแนกเป็น จูฬอสังขเยยยะและมหาอสังขเยยยะเป็นต้น ที่ควรนำมาแสดงตามนัยทักขิณาวิภังคสูตร.

สทฺทนีติยํ[๒๕] ปน ปาฬินยํ คเหตฺวา ‘‘วีสติ อพฺพุทานิ เอกํ นิรพฺพุทํ นามฯ วีสติ นิรพฺพุทานิ เอกํ อพพํ นาม’’ อิจฺจาทินา นิรพฺพุทาทีนํ สงฺขฺยานมฺปิ วีสติมตฺตคุณํ นาม วุตฺตํฯ ตํ น ยุชฺชติฯ นิรเยสุ หิ วีสติมตฺตคุเณน อพฺพุท, นิรพฺพุทาทีนํ ทสนฺนํ นิรยานํ ตานิ นามานิ สิทฺธานิ ภวนฺติฯ ครู ปน ตานิ นามานิ คเหตฺวา ทสคุณสิทฺเธสุ คณนปเถสุ ปกฺขิปิํสุ, ตสฺมา นามมตฺเตน สทิสานิ ภวนฺติ, คุณวิธิ ปน วิสทิโสเอว.

ส่วนในสัททนีติ ท่านจับเอานัยตามพระบาฬี แล้วกล่าวการคูณแม้สังขยามีนิรัพพุทะเป็นต้น โดยเพียงการคูณด้วย ๒๐ ว่า “๒๐ อัพพุทะ เป็นหนึ่งนิรัพพุทะ, ยี่สิบนิรัพพุทะ เป็นหนึ่ง อพพะ” เป็นต้น. ข้อนี้ไม่ถูกต้อง. เพราะชื่อเหล่านั้น แห่งนรก ๑๐ ขุมมีอัพพุทนรกและนิรัพพุทะนรก เป็นต้น ในบรรดานรกทั้งหลาย ย่อมสำเร็จโดยเพียงการคูณด้วย ๒๐ ได้.  แต่ครูทั้งหลาย จับเอาชื่อเหล่านั้นแล้วใส่เข้าไปในระบบการนับ ซึ่งสำเร็จโดยการคูณด้วย ๑๐, เพราะฉะนั้น สังขยาที่เหมือนกับนรกเหล่านั้น ก็มีเพียงชื่อ, แต่วิธีการคูณ ยังคงต่างกันอยู่นั่นเอง.

เอวญฺจกตฺวา ปาฬิยมฺปิ พกพฺรหฺมาสุตฺเต[๒๖] ‘‘สตํ สหสฺสานํ นิรพฺพุทานํ, อายุํ ปชานามิ ตวาหํ พฺรหฺเม’’ติ วุตฺตํฯ เอตฺถ จ ยทิ คณนภูมิปเถปิ นิรพฺพุทานํ วีสติมตฺเตน อพพภูมิ ภเวยฺย, เอวํ สติ นิรพฺพุทานํ สตสหสฺสํ นาม น วุจฺเจยฺยฯ ชาตกฏฺฐกถายญฺจ[๒๗] ‘‘นิรพฺพุทสตสหสฺสานํ เอกํ อหหํ นาม, เอตฺตกํ พกสฺส พฺรหฺมุโน ตสฺมิํภเว อวสิฏฺฐํ อายู’’ติ วุตฺตํฯ ตสฺมา อิมํ คณนภูมิปถํ ปตฺวา วีสติคุณํ นาม นตฺถีติ สิทฺธํ โหติฯ อกฺโขภิณี, พินฺทุ, กถาน, มหากถานานิปิ อญฺญโต คเหตฺวา ปกฺขิตฺตานิ สิยุํฯ เอวํ ปกฺขิตฺตานญฺจ จุทฺทสนฺนํ สงฺขฺยานํ กจฺจายเน กโมกฺกมตา ปน ปจฺฉาชาตา สิยาติฯ

เพราะเหตุนี้ ในพระบาฬีพกพรหมาสูตร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้ดังนี้ว่า “สตํ สหสฺสานํ นิรพฺพุทานํ, อายุํ ปชานามิ ตวาหํ พฺรหฺเม แปลว่า ดูกรพรหม เราตถาคตรู้อายุหนึ่งแสนนิรัพพุทะของท่าน”. ในกรณีนี้ จะเห็นว่า ถ้าสังขยาชั้นอพพะ จะมีเพียง ๒๐ นิรัพพุทะ แม้ในระบบการนับแล้วไซร้, เมื่อเป็นเช่นนี้ ไม่พึงตรัสหนึ่งแสนแห่งนิรัพพุทะ. และในอรรถกถาชาดก พรรณนาว่า “หนึ่งแสนนิรัพพุทะ ชื่อว่า หนึ่งอหหะ, อายุที่เหลือในภพนั้นของพกพรหม มีเท่านี้”. เพราะฉะนั้น จึงรู้ได้ว่า ธรรมดาว่า ในระบบการนับนี้ไม่มีการคูณด้วย ๒๐ เลย.  แม้อักโขภิณี พินทุ กถานะและมหากถานะ  ท่านก็เพิ่มเข้าไปโดยใช้วิธีอื่น.  การจัดลำดับสังขยา ๑๔ ประเภทที่ถูกเพิ่มเข้าไปอย่างนี้ เข้าไปในคัมภีร์กัจจายนะ พึงเป็นข้อความที่แต่งเพิ่มภายหลัง.

อิติ นิรุตฺติทีปนิยา นาม
โมคฺคลฺลานพฺยากรณทีปนิยา
สมาสกณฺโฑ จตุตฺโถฯ
นี่คือ สมาสกัณฑ์ที่ ๔
ในคัมภีร์อธิบายโมคคัลลานพยากรณ์
ที่ชื่อว่า นิรุตติทีปนี




[๑] [ก. ๓๘๖; รู. ๔๑๐; นี. ๘๑๑]
[๒] [ก. ๓๘๖; รู. ๔๑๐; นี. ๘๑๑]
[๓] [ก. ๓๘๓; รู. ๒๕๓; นี. ๘๑๕]
[๔] [ก. ๓๘๓; รู. ๒๕๓; นี. ๘๑๕; จํ. ๕.๒.๕๒; ปา. ๖.๓.๔๗]
[๕] [ก. ๔๐๔; รู. ๓๗๐; จํ. ๕.๒.๕๓; ปา. ๖.๓.๔๘]
[๖] [ก. ๔๐๔; รู. ๓๗๐; จํ. ๕.๒.๕๔; ปา. ๖.๓.๔๙]
[๗] [ก. ๔๐๔; รู. ๓๗๐ จํ. ๕.๒.๕๔; ปา. ๖.๓.๖๙]
[๘] [ก. ๓๘๐; รู. ๒๕๕; นี. ๘๑๐]
[๙] [ก. ๓๙๐; รู. ๒๕๖; นี. ๘๒๖]
[๑๐] [ก. ๔๐๔; รู. ๓๗๐; นี. ๘๑๔]
[๑๑] [ก. ๓๗๔; รู. ๔๐๘; นี. ๘๐๖]
[๑๒] [ก. ๓๘๓; รู. ๒๕๓; นี. ๘๑๕]
[๑๓] [ก. ๓๘๑; รู. ๒๕๔; นี. ๘๑๒]
[๑๔] วา ศัพท์ในสูตรนี้มีอรรถ ววัตถิตวิภาสา ดังนั้น ในตัวอย่างเหล่านี้ มีไม่แน่นอน คือ มีได้ ๒ รูป ได้แก่  เอการส, เอกาทส. ทฺวาทส, พารส. ปนฺนรส, ปญฺจทส. สตฺตรส, สตฺตทส. อฏฺฐารส, อฏฺฐาทส. ที่เป็นอย่างแน่นอน คือ  พารส และ ปนฺนรส. ที่ไม่เป็นไปตามหลักการของสูตรนี้คือ  จตุทฺทส
[๑๕] [ก. ๓๗๙; รู. ๒๕๘; นี. ๘๐๙]
[๑๖] [ก. ๓๘๗; รู. ๔๑๑; นี. ๘๑๙]
[๑๗] รูปว่า อฑฺฒเตยฺโย คงแปลว่า ที่สาม ด้วยทั้งกึ่ง ไม่ได้หมายถึงอรรถอื่นๆ เช่น ภาวะ,  อปัจจะ เป็นต้น แต่มีความหมายคงเดิม เพราะ ณฺย ปัจจัย มีความหมายในอรรถของศัพท์ข้างหน้า
[๑๘]  [ก. ๓๘๗; รู. ๔๑๑; นี. ๘๑๙]
[๑๙] คือ มิได้เป็นผลสำเร็จหรือ เกิดขึ้นโดยกระบวนการสร้างคำด้วยวิธีการของสมาสหรือตัทธิต
[๒๐] [ภินี, ภนีติปิ ทิสฺสนฺติ]
[๒๑] [สํ. นิ. ๑.๑๘๑]
[๒๒] [ก. ๓๙๔, ๓๙๕; รู. ๔๑๖, ๔๑๗]
[๒๓] [จริยา. อฏฺฐ. นิทานกถา]
[๒๔] [ม. นิ. ๓.๓๗๐]
[๒๕] [นี. ๘๓๓]
[๒๖] [สํ. นิ. ๑.๑๗๕]
[๒๗] [ชา. อฏฺฐ. ๓.๗.๖๙] แต่เนื้อความในอรรถกถาชาดกนี้เป็น “สตํ นินฺนหุตสตสหสฺสานํ เอกํ อพฺพุทํ, วีสติ อพฺพุทานิ เอกํ นิรพฺพุทํ, เตสํ นิรพฺพุทสตสหสฺสานํ เอกํ อหหํ นาม, เอตฺตกํ พกสฺส พฺรหฺมุโน ตสฺมิํ ภเว อวสิฏฺฐํ อายุ, ตํ สนฺธาย ภควา เอวมาหฯ บรรดาการนับเหล่านั้น  ร้อยแสนนินนหุตเป็น ๑ อัพพุทะ. ๒๐ อัพพุทะเป็น ๑ นิรัพพุทะ.  ร้อยแสนนิรัพพุทะเหล่านั้นชื่อว่า  ๑ อหหะ. จำนวนเท่านี้ปีเป็นอายุของพกพรหมที่เหลืออยู่ในภพนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาอายุนั้นจึงได้ตรัสอย่างนี้.” ในที่นี้แปลตามปาฐะของนิรุตติทีปนี.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น