สตฺตมีวิภตฺติราสิ
|
กลุ่มนามศัพท์ที่มีอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ
|
กสฺมิํ
อตฺเถ สตฺตมี?
|
ลงสัตตมีวิภัตติ
ในอรรถใดบ้าง?
ลงสัตตมีวิภัตติในอรรถอาธาระ
ด้วยสูตรนี้
|
๓๒๓. สตฺตมฺยาธาเร[๑]
ฯ
|
๓๒๓. สตฺตมฺยาธาเร
ลงสัตตมีวิภัตติในอรรถอาธาระ.
|
อาธาโร, โอกาโส, อธิกรณนฺติ อตฺถโต เอกํ, อาธารตฺเถ สตฺตมี โหติฯ กตฺตุกมฺมฏฺฐํ กฺริยํ ภุโส ธาเรตีติ อาธาโรฯ
|
คำว่า
อาธาระ โอกาส และอธิกรณะ เหมือนกันโดยความหมาย, ลงสัตตมีวิภัตติในอรรถอาธาระ.
การกะที่ทรงไว้ (รองรับ) กริยาที่ตั้งอยู่ในกัตตาและกรรมโดยยิ่ง ชื่อว่า อาธาระ.
|
กเฏ
นิสีทติ ปุริโส, ถาลิยํ โอทนํ ปจติฯ
ตตฺถ กโฏ กตฺตุภูเต ปุริเส ฐิตํ นิสีทนกฺริยํ ธาเรติ, ถาลี
กมฺมภูเต ตณฺฑุเล ฐิตํ ปจนกฺริยํ ธาเรติฯ
|
ตัวอย่าง
กเฏ
นิสีทติ ปุริโส
บุรุษ
นั่งบนเสื่อ,
ในตัวอย่างนี้
เสื่อ ทรงไว้ซึ่งกริยการนั่ง ซึ่งตั้งอยู่ในบุรุษ อันเป็นกัตตา.
ถาลิยํ
โอทนํ ปจติ
ย่อมหุงข้าว
ในหม้อข้าว.
ส่วนตัวอย่างนี้
ถาด ย่อมทรงไว้ซึ่งกริยาการหุง ซึ่งตั้งอยู่ในข้าวสาร อันเป็นกรรม.
|
โส
จตุพฺพิโธ พฺยาปิกาธาโร, โอปสิเลสิกาธาโร, สามีปิกาธาโร,
เวสยิกาธาโรติฯ
|
อาธาระมี
๔ คือ พยาปิกาธาระ, โอปเลสิกาธาระ, สามีปิกาธาระ และ เวสยิกาธาระ.
|
ตตฺถ
ยสฺมิํ
อาเธยฺยวตฺถุ สกเล วา เอกเทเส วา พฺยาเปตฺวา ติฏฺฐติ, โส พฺยาปิโกฯ ยถา? ติเลสุ เตลํ ติฏฺฐติ,
อุจฺฉูสุ รโส ติฏฺฐติ, ชเลสุ ขีรํ ติฏฺฐติ,
ทธิมฺหิ สปฺปิ ติฏฺฐตีติฯ
|
บรรดาอาธาระ
๔ เหล่านั้น.
อาเธยยวัตถุ
(สิ่งที่ดำรงอยู่ในอาธาระ) ซึมซาบไปในส่วนทั้งหมด ก็ดี ในส่วนหนึ่ง
แล้วตั้งอยู่ในอาธารวัตถุ (วัตถุที่ดำรงอยู่ของอาเธยยวัตถุ)ใด, อาธาระนั้น
ชื่อว่า พยาปิกะ เช่น
ติเลสุ
เตลํ ติฏฺฐติ
น้ำมัน
ตั้ง (คือแผ่กระจาย) อยู่ในงาทั้งหลาย.
อุจฺฉูสุ
รโส ติฏฺฐติ
น้ำหวานย่อม
ตั้งอยู่ในอ้อยทั้งหลาย.
(๒
ตัวอย่างนี้เป็นกรณีแรก)
ชเลสุ
ขีรํ ติฏฺฐติ
น้ำนมตั้งอยู่ในน้ำ.
ทธิมฺหิ
สปฺปิ ติฏฺฐติ
เนยใส
ตั้งอยู่ในนมส้ม.
(๒
ตัวอย่างนี้เป็นกรณีหลัง)
|
ยสฺมิํ
อาเธยฺยวตฺถุ อลฺลียิตฺวา วา ติฏฺฐติ, อธิฏฺฐิตมตฺตํ หุตฺวา
วา ติฏฺฐติ, โส โอปสิเลสิโกฯ ยถา? อุกฺขลิยํ อาจาโม ติฏฺฐติ, ฆเฏสุ อุทกํ ติฏฺฐติ,
อาสเน นิสีทติ ภิกฺขุ, ปริยงฺเก ราชา เสติฯ
|
อาเธยยวัตถุ
ย่อมตั้งอยู่โดยแนบชิด (แนบสนิท) ก็ดี
ย่อมตั้งอยู่แค่เป็นการดำรงอยู่ (แค่จรดถึงกันเท่านั้นไม่แนบสนิท) ก็ดี
ที่อาธารวัตถุใด, อาธารวัตถุนั้น ชื่อว่า โอปสิเลสิกะ. เช่น
อุกฺขลิยํ
อาจาโม ติฏฺฐติ
ข้าวตังติดอยู่ที่ก้นหม้อ
ฆเฏสุ
อุทกํ ติฏฺฐติ
น้ำขังอยู่ในหม้อ
(๒
ตัวอย่างนี้เป็นกรณีแรก)
อาสเน
นิสีทติ ภิกฺขุ
ภิกษุนั่งบนอาสนะ
ปริยงฺเก
ราชา เสติ
พระราชาบรรทมบนพระแท่น.
(๒
ตัวอย่างนี้เป็นกรณีหลัง)
|
โย
ปน อตฺโถ อาเธยฺยสฺส อวตฺถุภูโตปิ ตทายตฺตวุตฺติทีปนตฺถํ อาธารภาเวน โวหริยติ, โส สามีปิโก นามฯ ยถา? คงฺคายํ โฆโส ติฏฺฐติ,
สาวตฺถิยํ วิหรติ ภควาติ [อ. นิ. ๑.๑]ฯ
|
ส่วนเนื้อความใด
แม้ไม่ใช่เป็นที่ตั้งของอาเธยยะ แต่ท่านก็เรียกโดยความเป็นอาธาระ
เพื่อแสดงความเป็นไปอาศัยอาธาระ, เนื้อความนั้น ชื่อว่า สามีปิกะ เช่น
คงฺคายํ
โฆโส ติฏฺฐติ
หมู่บ้านคนเลี้ยงโค
อยู่ใกล้แม่น้ำคงคา.[๒]
สาวตฺถิยํ
วิหรติ ภควาติ [อํ.เอกก.๒๐/๑]
พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ใกล้เมืองสาวัตถี.
|
โย
จ อตฺโถ อตฺตนา วินา อาเธยฺยสฺส อญฺญตฺถตฺตํ กฺริยํ สมฺปาเทตุํ อสกฺกุเณยฺยตฺตา
อาธารภาเวน โวหริยติ, โย จ อาเธยฺยสฺส อนญฺญาภิมุขภาวทีปนตฺถํ อาธารภาเวน
โวหริยติ, โส เวสยิโก นามฯ ยถา? อากาเส สกุณา ปกฺขนฺติ, ภูมีสุ มนุสฺสา จรนฺติ, อุทเก มจฺฉา จรนฺติ, ภควนฺตํ
ปาเทสุ วนฺทติ, ปาเทสุ ปติตฺวา โรทติ, ปาปสฺมิํ รมตี มโน [ธ. ป. ๑๑๖], ปสนฺโน พุทฺธสาสเนติ [ธ. ป. ๓๖๘]ฯ
|
เนื้อความใด
ที่ถูกเรียกโดยความเป็นอาธาระ เพราะความที่อาเธยยะไม่สามารถทำกริยา
อันมีในที่อื่นให้ถึงพร้อม โดยขาดตน (คืออาธาระ) ไปเสีย, และเนื้อความใด
ที่ถูกเรียกโดยความเป็นอาธาระ เพื่อแสดงความที่อาเธยยะไม่มุ่งไปในที่อื่น,เนื้อความนั้น
ชื่อว่า เวสยิกะ [๓]
เช่น
อากาเส
สกุณา ปกฺขนฺติ
นกย่อมบินไปในอากาศ.
ภูมีสุ
มนุสฺสา จรนฺติ.
มนุษย์ทั้งหลายเที่ยวไปบนแผ่นดิน.
อุทเก
มจฺฉา จรนฺติ.
ปลาว่ายไปในน้ำ
(๓
ตัวอย่างนี้ใช้ในกรณีแรก)
ภควนฺตํ
ปาเทสุ วนฺทติ
ย่อมถวายบังคมพระผู้มีพระภาคที่พระบาท.
ปาเทสุ
ปติตฺวา โรทติ.
ซบที่พระบาทร่ำไห้
ปาปสฺมิํ
รมตี มโน [ขุ.ธ.๒๕/๑๙]
ใจย่อมยินดีในบาป,
ปสนฺโน
พุทฺธสาสเนติ [ขุ.ธ.๒๕/๓๕]
เลื่อมใสแล้วในพระพุทธศาสนา.
(๓
ตัวอย่างนี้ใช้ในกรณีหลัง)
|
|
(๒)
ลงสัตตมีวิภัตติในอรรถนิมิต (เหตุ) ด้วยสูตรนี้
|
๓๒๔. นิมิตฺเต [๔]ฯ
|
๓๒๔. นิมิตฺเต
ลงสัตตมีวิภัตติ
ท้ายศัพท์ที่เป็นนิมิต.
|
นิมินนฺติ
สญฺชานนฺติ เอเตนาติ นิมิตฺตํ, เนมิตฺตกสหภาวิโน สญฺญาณการณสฺเสตํ นามํ, ตสฺมิํ
นิมิตฺเต สตฺตมี โหติฯ
ทีปิ
จมฺเมสุ หญฺญเต, กุญฺชโร ทนฺเตสุ หญฺญเต, มุสาวาเท
ปาจิตฺติยํ [ปาจิ. ๒], โอมสวาเท
ปาจิตฺติยํ [ปาจิ. ๑๔] อิจฺจาทิฯ
|
นิมิต
ได้แก่ เนื้อความอันเป็นเหตุให้บุคคลกำหนดหมายได้, คำว่า นิมิต
เป็นชื่อของเหตุอันเป็นเครื่องหมาย (เครื่องกำหนดรู้)
แห่งธรรมที่มีร่วมกับธรรมอันมีนิมิต, ลงสัตตมีวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่เป็นนิมิตนั้น
เช่น
ทีปิ
จมฺเมสุ หญฺญเต
เสือ
ถูกฆ่า ในเพราะหนัง.
กุญฺชโร
ทนฺเตสุ หญฺญเต
ช้าง
ถูกฆ่า ในเพราะงา
มุสาวาเท
ปาจิตฺติยํ [วิ.๒/๒ (ฉ.)]
อาบัติปาจิตตีย์
ย่อมมี ในเพราะการพูดเท็จ.
โอมสวาเท
ปาจิตฺติยํ [วิ.ป.๖/๖๑]
อาบัติปาจิตตีย์
ย่อมมี ในเพราะโอมสวาท (คำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจ).
|
|
(๓)
ลงสัตตมีวิภัตติ ท้ายศัพท์ที่เป็นภาวลักขณะ (กำหนดเวลาของกริยาอื่นด้วยกริยานี้)
ด้วยสูตรนี้
|
๓๒๕. ยมฺภาโว ภาวลกฺขณํ [๕]ฯ
|
๓๒๕. ยมฺภาโว ภาวลกฺขณํ
กริยาเช่นใดเป็นเครื่องกำหนดกริยาอื่น,
(เมื่อกริยาเช่นนั้นมีอยู่ ลงสัตตมีวิภัตติท้ายศัพท์ที่มีกริยาอันกำหนดนั้น)[๖].
|
ยาทิโส
ภาโว ยมฺภาโว, ลกฺขิยติ เอเตนาติ ลกฺขณํ, ภาวนฺตรสฺส
ลกฺขณํ ภาวลกฺขณํ, ยมฺภาโว ภาวนฺตรสฺส
ลกฺขณํ โหติ, ตสฺมิํ ภาเว คมฺยมาเน สตฺตมี โหติ, ฉฏฺฐีปิ ทิสฺสติฯ
|
ภาวะ
(กริยา) เช่นใด ชื่อว่า ยมฺภาว,
ย่อมกำหนดได้ด้วย
อรรถนี้ เหตุนั้น อรรถนี้ ชื่อว่า ลกฺขณ (เครื่องกำหนด).
เครื่องกำหนดซึ่งภาวะ
(กริยา) อื่น ชื่อว่า ภาวลกฺขณ.
ภาวะ
(กริยา) เช่นใด เป็นเครื่องกำหนดภาวะอย่างอื่น มีอยู่, เมื่อภาวะ (กริยา)
นั้นถูกรู้อยู่ ลงสัตตมีวิภัตติ (ท้ายศัพท์ที่มีกริยาอันกำหนดนั้น)[๗],
แม้ฉัฏฐีวิภัตติ ก็เห็นมีใช้.
|
อจิรปกฺกนฺตสฺส
สาริปุตฺตสฺส พฺราหฺมโณ กาลมกาสิ [ม. นิ. ๒.๔๕๒
(วิสทิสํ)], อปฺปมตฺตสฺส เต วิหรโต อิตฺถาคาโรปิ เต
อปฺปมตฺโต วิหริสฺสติ [สํ. นิ. ๑.๑๒๙ (วิสทิสํ)] อิจฺจาทิฯ
|
ตัวอย่าง
(ฉัฏฐีวิภัตติ)
อจิรปกฺกนฺตสฺส
สาริปุตฺตสฺส พฺราหฺมโณ กาลมกาสิ [ม.ม.๑๓/๖๐๒
(วิสทิสํ)]
เมื่อพระสารีบุตร
หลีกไปไม่นาน, พราหมณ์ได้กระทำกาละ.
อปฺปมตฺตสฺส
เต วิหรโต อิตฺถาคาโรปิ เต อปฺปมตฺโต วิหริสฺสติ [สํ.ส.๑๕/๓๘๔ (วิสทิสํ)]
เมื่อมหาบพิตรไม่ประมาทอยู่
แม้นางสนมของพระองค์ ก็จักไม่ประมาทอยู่.
|
อิมสฺมิํ
สติ อิทํ โหติ, อิมสฺมิํ อสติ อิทํ น โหติ [สํ.
นิ. ๒.๒๑], อจิรปกฺกนฺเต ภควติ พฺราหฺมโณ กาลมกาสิ,
สพฺเพ มคฺคา วิวชฺชนฺติ, คจฺฉนฺเต โลกนายเก
[ม. นิ. อฏฺฐ. ๒.๒๒]ฯ คาวีสุ ทุยฺหมานาสุ คโต, คาวีสุ ทุทฺธาสุ อาคโต อิจฺจาทิฯ
|
ตัวอย่าง
(สัตตมีวิภัตติ)
อิมสฺมิํ
สติ อิทํ โหติ, อิมสฺมิํ อสติ อิทํ น โหติ [สํ.นิ.๑๖/๖๔],
เมื่อสิ่งนี้มี
สิ่งนี้จึงมี, เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี.
อจิรปกฺกนฺเต
ภควติ พฺราหฺมโณ กาลมกาสิ.
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน,
พราหมณ์ได้กระทำกาละ.
สพฺเพ
มคฺคา วิวชฺชนฺติ, คจฺฉนฺเต โลกนายเก [ม.อ.๒/๒๒
(ฉ)]ฯ
เมื่อพระโลกนายกพุทธเจ้า
ทรงเสด็จไป, หนทางทั้งปวง ก็เว้นจากก้อนกรวดฯลฯถวาย.
คาวีสุ
ทุยฺหมานาสุ คโต,
เมื่อแม่โคกำลังถูกรีดนมอยู่
เขาไปแล้ว.
คาวีสุ
ทุทฺธาสุ อาคโต
เมื่อแม่โคถูกรีดนมเสร็จแล้ว
เขาก็มา
|
ในบางแห่ง
ใช้ปฐมาวิภัตติก็พบมากอยู่ เช่น
คจฺฉนฺโต
โส ภารทฺวาโช, อทฺทสา อจฺจุตํ อิสิํ [ขุ.ชา.๒๘/๑๑๔๔)
(อทฺทสฺส)]ฯ
ชูชกพราหมณ์ภารทวาชโคตรนั้น
เมื่อเดินไป ฯลฯ ก็ได้พบอจุตฤาษี
ยายมาโน
มหาราชา, อทฺทา สีทนฺตเร นเค [ขุ.ชา.๒๘/๕๙๐]
|
|
ปุพฺพณฺหสมเย
คโต, สายนฺหสมเย อาคโต อิจฺจาทิ เวสยิกาธาโร เอวฯ
|
ตัวอย่างเหล่านี้
เป็นเวสยิกาธาระ เท่านั้น เช่น
ปุพฺพณฺหสมเย
คโต
เขาไปในเวลาเช้า
สายนฺหสมเย
อาคโต
เขากลับมาในเวลาเย็น
|
ตถา
อกาเล วสฺสตี ตสฺส, กาเล ตสฺส น วสฺสติ [ชา.
๑.๒.๘๘; ๑.๘.๔๘]ฯ อิโต สตสหสฺสมฺหิ, กปฺเป
อุปฺปชฺชิ นายโก [อป. เถร ๒.๕๔.๒๘] อิจฺจาทิฯ
|
และในตัวอย่างเหล่านี้เป็นต้น
ก็เช่นกัน
อกาเล
วสฺสตี ตสฺส, กาเล ตสฺส น วสฺสติ [ขุ.ชา๒๗/๒๓๘ฯ
อิโต
สตสหสฺสมฺหิ, กปฺเป อุปฺปชฺชิ นายโก [ขุ.อป.๓๓/๑๒๒]
ในแสนกัปป์แต่กัปป์นี้
พระผู้นำโลกพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว.
|
|
(๔)
ลงทั้งสัตตมีวิภัตติและฉัฏฐีวิภัตติ ท้ายนามศัพท์ที่มีอนาทรกริยา ด้วยสูตรนี้
|
๓๒๖. ฉฏฺฐี จานาทเร[๘] ฯ
|
๓๒๖. ฉฏฺฐี จานาทเร
เมื่อภาวลักขณะที่ไม่เอื้อเฟื้อต่อกริยา
ถูกรู้อยู่ลงทั้งสัตตมีวิภัตติและฉัฏฐีวิภัตติ ท้ายนามศัพท์ที่มีอนาทรกริยา.
|
‘อนาทโร’ติ ทฺวินฺนํ ลกฺขณ, ลกฺขิตพฺพกฺริยานํ
เอกปฺปหาเรน ปวตฺติยา อธิวจนํ, อนาทรภูเต ภาวลกฺขเณ
คมฺยมาเน สตฺตมี ฉฏฺฐี จ โหติฯ
|
คำว่า
“อนาทร” เป็นชื่อของความเป็นไปในขณะเดียวกัน แห่งลักขณกริยาและลักขิตัพพกริยา[๙],
เมื่อภาวลักขณะ อันเป็นอนาทร ถูกรู้อยู่ ลงทั้งสัตตมีวิภัตติและฉัฏฐีวิภัตติ
ท้ายนามศัพท์ที่มีอนาทรกริยานั้น เช่น
|
มจฺจุ
คจฺฉติ อาทาย, เปกฺขมาเน มหาชเนฯ อาโกฏยนฺโต โส เนติ, สิวิราชสฺส เปกฺขโต [ชา. ๒.๒๒.๒๑๒๒ (เตเนติ)]ฯ
อกามกานํ มาตาปิตูนํ รุทนฺตานํ ปพฺพชิ, อนคาริยุเปตสฺส,
วิปฺปมุตฺตสฺส เต สโตฯ สมณสฺส น ตํ สาธุ, ยทญฺญมนุโสจติ
[ชา. ๑.๗.๑๐๗ (ยํ เปตมนุโสจสิ)]ฯ
|
มจฺจุ
คจฺฉติ อาทาย, เปกฺขมาเน มหาชเนฯ
เมื่อมหาชนกำลังเพ่งดูอยู่
มัจจุย่อมพาไป.
อาโกฏยนฺโต
โส เนติ, สิวิราชสฺส เปกฺขโต [ขุ.ชา.๒๘/๑๑๗๒
เนติ เป็น เตเนติ)]ฯ
เมื่อพระเวสสันดรสีพีราช
กำลังทอดพระเนตรอยู่ พราหมณ์นั้นจับเถาวัลย์ถือไม้เท้าทุบตีพระกุมารทั้งสองนำไป.
อกามกานํ
มาตาปิตูนํ รุทนฺตานํ ปพฺพชิ,
เมื่อบิดามารดา
ผู้ไม่ปรารถนาให้เขาบวช ร้องไห้อยู่ ก็บวชแล้ว.
อนคาริยุเปตสฺส, วิปฺปมุตฺตสฺส เต สโตฯ
สมณสฺส
น ตํ สาธุ, ยทญฺญมนุโสจติ [ขุ.ชา.๒๗/๑๐๗๔
(ปาฐะในชาดกนี้เป็น ยํ เปตมนุโสจสิ)]
เมื่อท่านผู้ออกบวช เป็นสมณะพ้นวิเศษแล้ว, การที่ท่านมาเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้วนั้น
เป็นการไม่ดีงาม.
|
|
(๕)
เมื่อหมู่ (สมุทายะ หรือ นิทธารณียะ) มีอยู่ ลงทั้งสัตตมีวิภัตติและฉัฏฐีวิภัตติ
ด้วยสูตรนี้
|
๓๒๗. ยโต นิทฺธารณํ [๑๐]ฯ
|
๓๒๗. ยโต นิทฺธารณํ
ลงฉัฏฐีวิภัตติ
และสัตตมีวิภัตติท้ายศัพท์ ที่ระบุถึงหมู่
|
ชาติ, คุณ, กฺริยา, นาเมหิ
สมุทายโต เอกเทสสฺส ปุถกฺกรณํ นิทฺธารณํ, ยโต
ตํ นิทฺธารณํ ชายติ, ตสฺมิํ สมุทาเย ฉฏฺฐี, สตฺตมิโย โหนฺติฯ
|
การแยกส่วนหนึ่งจากกลุ่ม
โดย ชาติ คุณ กริยา และนาม ชื่อว่า นิทธารณะ. นิทธารณะนั้น เกิดขึ้น จากกลุ่มใด,
ลงฉัฏฐีวิภัตติและสัตตมีวิภัตติท้ายศัพท์ที่ระบุถึงกลุ่มนั้น.
|
|
|
|
จะกล่าวการลงฉัฏฐีและสัตตมีวิภัตติในนิทธารณะจำพวกชาติก่อน
เช่น
|
มนุสฺสานํ
ขตฺติโย สูรตโม, มนุสฺเสสุ ขตฺติโย สูรตโมฯ
|
มนุสฺสานํ
ขตฺติโย สูรตโม,
กษัตริย์
เป็นผู้กล้าหาญที่สุด แห่งมนุษย์ทั้งหลาย
มนุสฺเสสุ
ขตฺติโย สูรตโมฯ
บรรดามนุษย์ทั้งหลาย
กษัตริย์ กล้าหาญที่สุด.
|
คุเณ
–
กณฺหา
คาวีนํ สมฺปนฺนขีรตมา, กณฺหาคาวีสุ สมฺปนฺนขีรตมาฯ
|
ในนิทธารณะจำพวกคุณ
เช่น
กณฺหา
คาวีนํ สมฺปนฺนขีรตมา,
แม่โคสีดำ
มีน้ำนมสมบูรณ์มากที่สุด แห่งแม่โคทั้งหลาย.
กณฺหาคาวีสุ
สมฺปนฺนขีรตมาฯ
บรรดาแม่โคทั้งหลาย
แม่โคสีดำ มีน้ำนมสมบูรณ์มากที่สุด
|
กฺริยายํ
–
อทฺธิกานํ
ธาวนฺโต สีฆตโม, อทฺธิเกสุ ธาวนฺโต สีฆตโมฯ
|
ในนิทธารณะจำพวกกริยา
เช่น
อทฺธิกานํ
ธาวนฺโต สีฆตโม
ม้าตัวที่กำลังวิ่ง
มีฝีเท้ารวดเร็วที่สุด แห่งม้าที่เดินทางทั้งหลาย.
อทฺธิเกสุ
ธาวนฺโต สีฆตโมฯ
บรรดาม้าที่เดินทางทั้งหลาย
ตัวที่กำลังวิ่ง มีฝีเท้ารวดเร็วที่สุด
|
นาเม
–
อายสฺมา
อานนฺโท อรหตํ อญฺญตโร, อรหนฺเตสุ อญฺญตโร อิจฺจาทิฯ
|
ในนิทธารณะจำพวกชื่อ
เช่น
อายสฺมา
อานนฺโท อรหตํ อญฺญตโร
ท่านพระอานนท์ผู้มีอายุ
เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง แห่งพระอรหันต์ทั้งหลาย.
อรหนฺเตสุ
อญฺญตโร
บรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ท่านพระอานนท์ผู้มีอายุ เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง
|
อิธ
นานาตฺตสตฺตมี วุจฺจเตฯ
|
ข้าพเจ้าจะกล่าวสัตตมีวิภัตติชนิดต่างๆ
ในที่นี้
|
กมฺมตฺเถ
สตฺตมี, ภิกฺขูสุ อภิวาเทนฺติ [ปารา. ๕๑๗],
ปุตฺตํ มุทฺธนิ จุมฺพิตฺวา, ปุริสํ
นานาพาหาสุ คเหตฺวา [สํ. นิ. ๒.๖๓] อิจฺจาทิฯ
|
(๗)
ลงสัตตมีวิภัตติ ในอรรถกรรม เช่น
ภิกฺขูสุ
อภิวาเทนฺติ [ปารา. ๕๑๗],
ย่อมอภิวาทซึ่งภิกษุทั้งหลาย
ปุตฺตํ
มุทฺธนิ จุมฺพิตฺวา[๑๑]
จุมพิตแล้วที่กระหม่อม (ปุตฺตํ = ปุตฺตสฺส ?)ของบุตร)
(บุรุษที่มีกำลัง
๒ คน) ช่วยกันจับแขนทั้ง ๒ ข้าง (ปุริสํ = ปุริสสฺส?
ของบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่า)
|
อถ
วา ‘มุทฺธนิ, พาหาสู’ติ อาธาเร เอว ภุมฺมํฯ ยถา? รุกฺขํ มูเล ฉินฺทติ,
รุกฺขํ ขนฺเธ ฉินฺทติ, ปุริสํ สีเส ปหรติ,
ภควนฺตํ ปาเทสุ วนฺทติฯ
|
อีกนัยหนึ่ง
สองบทคือ มุทฺธนิ และ พาหาสุ เป็นสัตตมีในอรรถอาธาระ นั่นเอง เช่นเดียวกับที่ว่า
รุกฺขํ
มูเล ฉินฺทติ
ตัดต้นไม้ที่ราก.
รุกฺขํ
ขนฺเธ ฉินฺทติ
ตัดต้นไม้ที่ลำต้น
ปุริสํ
สีเส ปหรติ
ตีบุรุษที่ศีรษะ
ภควนฺตํ
ปาเทสุ วนฺทติ
ถวายบังคมพระศาสดาที่พระบาททั้งหลาย.
|
กรเณ
จ สตฺตมี,
หตฺเถสุ
ปิณฺฑาย จรนฺติ [มหาว. ๑๑๙], ปตฺเตสุ ปิณฺฑาย
จรนฺติ, ปเถสุ คจฺฉนฺติ, โสปิ มํ อนุสาเสยฺย,
สมฺปฏิจฺฉามิ มตฺถเก [มิ. ป. ๖.๔.๘]ฯ
|
(๘)
ลงสัตตมีวิภัตติในอรรถกรณะ เช่น
หตฺเถสุ
ปิณฺฑาย จรนฺติ [วิ.มหา.๔/๑๓๔],
ปตฺเตสุ
ปิณฺฑาย จรนฺติ,
พวกเธอเที่ยวรับบิณฑบาตด้วยบาตร.
ปเถสุ
คจฺฉนฺติ
ไปตามหนทาง.
โสปิ
มํ อนุสาเสยฺย, สมฺปฏิจฺฉามิ มตฺถเก [มิลินฺท.
๖/๔/๘].
แม้สามเณรอายุ
๗ ขวบ ที่เพิ่งบวชในวันนั้น จะพึงสั่งสอนเรา,
เราก็จะใช้กระหม่อมรับเอา(คำสอน)นั้น.
|
สมฺปทาเน
จ สตฺตมี,
สงฺเฆ
ทินฺเน มหปฺผลํ, สงฺเฆ โคตมี ทเทยฺยาสิ, สงฺเฆ
ทินฺเน อหญฺเจว ปูชิโต ภวิสฺสามิ [ม.
นิ. ๓.๓๗๖], วิเจยฺย ทานํ ทาตพฺพํ, ยตฺถ
ทินฺนํ มหปฺผลํ [เป. ว. ๓๒๙]ฯ เอเตสุ ปน วิสยสตฺตมีปิ
ยุชฺชติฯ
|
(๙)
ลงสัตตมีวิภัตติ ในอรรถสัมปทาน
สงฺเฆ
ทินฺเน มหปฺผลํ (ขุ.วิ.๒๖/๒๓).
ทานที่ถวายแก่สงฆ์มีผลมาก.
สงฺเฆ
โคตมี ทเทยฺยาสิ, [ม.อุ.๑๔/๗๐๓]
ดูกรโคตมี
พระนางจงถวายสงฆ์เถิด.
สงฺเฆ
ทินฺเน อหญฺเจว ปูชิโต ภวิสฺสามิ [ม.อุ.๑๔/๗๐๓]
เมื่อทานอันพระนางได้ถวายแด่สงฆ์แล้ว
จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์
วิเจยฺย
ทานํ ทาตพฺพํ, ยตฺถ ทินฺนํ มหปฺผลํ [ขุ.เป.๒๖/๓๔]ฯ
ทานอันบุคคลให้แล้วแก่เขตใด(คือ
พระสงฆ์อันเป็นดุจเขต) มีผลมาก ควรเลือกให้แก่เขตนั้น
แต่ในอุทาหรณ์เหล่านี้
หากจะเป็นวิสยสัตตมี (วิสยาธาระ) ก็ควร.
|
อปาทาเน
จ สตฺตมี, คทลีสุ คเช รกฺขนฺติอิจฺจาทิฯ
|
(๑๐)ลงสัตตมีวิภัตติในอรรถอปาทานะ
เช่น
คทลีสุ
คเช รกฺขนฺติ
ย่อมป้องกันช้าง
จากต้นกล้วยท.
|
สามิสฺสราทิโยเค
ปน ฉฏฺฐี สตฺตมี จ โหติ, คุนฺนํ สามิ, โคสุ สามิ,
คุนฺนํ อิสฺสโร, โคสุ อิสฺสโร, คุนฺนํ อธิปติ, โคสุ อธิปติ, คุนฺนํ ทายาโท, โคสุ ทายาโท, คุนฺนํ สกฺขิ, โคสุ สกฺขิ, คุนฺนํ
ปติภู, โคสุ ปติภู, คุนฺนํ ปสุโต,
โคสุ ปสุโต, อายุตฺโต กฏกรณสฺส, อายุตฺโต กฏกรเณติ,
|
อนึ่ง
ท้ายศัพท์ที่ประกอบกับศัพท์อันมีความหมายว่า เจ้าของและผู้เป็นใหญ่เป็นต้น
ลงได้ทั้งฉัฏฐีวิภัตติและสัตตมีวิภัตติ เช่น
คุนฺนํ
สามิ, โคสุ สามิ,
เจ้าของแห่งโค
เจ้าของในโค.
คุนฺนํ
อิสฺสโร, โคสุ อิสฺสโร
ผู้เป็นใหญ่แห่งโค,
ผู้เป็นใหญ่ในโค,
คุนฺนํ
อธิปติ, โคสุ อธิปติ,
ผู้เป็นใหญ่แห่โคท.,
ผู้เป็นใหญ่ในโคท.
คุนฺนํ
ทายาโท, โคสุ ทายาโท,
ทายาทแห่งโค,
ทายาทในโค.
คุนฺนํ
สกฺขิ, โคสุ สกฺขิ,
พยานแห่งโคท.,
พยานในโคท.
คุนฺนํ
ปติภู, โคสุ ปติภู,
ผู้ค้ำประกันแห่งโคท.
ผู้ค้ำประกันในโคท.
คุนฺนํ
ปสุโต, โคสุ ปสุโต
ผู้คลอดแล้วแห่งโคท.
ผู้คลอดแล้วในโคท.
อายุตฺโต
กฏกรณสฺส, อายุตฺโต กฏกรเณ
ผู้ขวนขวายแล้ว
แห่งการทอเสื่อ
ผู้ขวนขวายแล้ว
ในการทอเสื่อ
|
เอเตสุ
ปน สมฺพนฺเธ ฉฏฺฐี, วิสยาธาเร สตฺตมีฯ ญาณสฺมิํ ปสนฺโน, ญาณสฺมิํ อุสฺสุกฺโกติ วิสยาธาเร สตฺตมีฯ ญาเณน ปสนฺโน, ญาเณน อุสฺสุกฺโกติ กรเณ ตติยาฯ
|
อนึ่ง
ในอุทาหรณ์ (ดังกล่าวข้างต้น) เหล่านี้ ลงฉัฏฐีวิภัตติในอรรถสัมพันธ์
และลงสัตตมีวิภัตติในวิสยาธาระ
ในอุทาหรณ์เหล่านี้
ลงสัตตมีวิภัตติในอรรถวิสยาธาระ
ญาณสฺมิํ
ปสนฺโน
ผู้เลื่อมใสแล้ว
ในญาณ.
ญาณสฺมิํ
อุสฺสุกฺโก.
ผู้ขวนขวายแล้วในญาณ.
|
ญาเณน
ปสนฺโน, ญาเณน อุสฺสุกฺโกติ กรเณ ตติยาฯ
|
(๑๑)
ลงตติยาวิภัตติ ในอรรถกรณะ เช่น
ญาเณน
ปสนฺโน
ผู้เลื่อมใสแล้วด้วยญาณ.
ญาเณน
อุสฺสุกฺโก
ผู้ขวนขวายแล้วด้วยญาณ.
|
|
(๑๒)
ลงสัตตมีวิภัตติท้ายศัพท์ที่สัมพันธ์กับ อุปศัพท์ ที่มีอรรถว่าเป็นส่วนเกิน
ด้วยสูตรนี้
|
๓๒๘. สตฺตมฺยาธิกฺเย [๑๓]ฯ
|
๓๒๘. สตฺตมฺยาธิกฺเย.
ลงสัตตมีวิภัตติ
ท้ายนามศัพท์ ที่ประกอบด้วยอุป ศัพท์ในอรรถว่าเป็นส่วนเกิน.
|
อธิกภาวตฺเถ
อุเปน ยุตฺตา ลิงฺคมฺหา สตฺตมี โหติฯ
|
ลงสัตตมีวิภัตติ
ท้ายนามศัพท์ที่ประกอบด้วย อุปศัพท์ ในอรรถว่า ความยิ่งเกิน เช่น
|
อุป
ขาริยํ โทโณ, อุป นิกฺเข กหาปณํ, อติเรกโทณา
ขารี, อติเรกกหาปณํ นิกฺขนฺติ วุตฺตํ โหติฯ
|
อุป
ขาริยํ โทโณ
ทะนานหนึ่งที่เกินกว่าสาแหรกหนึ่ง.
อุป
นิกฺเข กหาปณํ
กหาปนะที่เกินกว่านิกขะหนึ่ง.
หมายความว่า หนึ่งสาแหรก อันมีทะนานเป็นส่วนเกิน (หนึ่งสาแหรกกับอีกหนึ่งทะนาน
หรือ ๑๗ ทะนาน เพราะ ๑ นิกขะ = ๑๖ ทะนาน),
นิกขะหนึ่ง อันมีกหาปนะเป็นส่วนเกิน (หนึ่งนิกขะกับอีกหนึ่งกหาปนะ หรือ
๑๐๑กหาปนะ เพราะ ๑ นิกขะ = ๑๐๐ กหาปนะ)
|
|
(๑๓)
ลงสัตตมีวิภัตติ ท้ายนามศัพท์ที่ประกอบด้วยอธิศัพท์ ในอรรถว่าเป็นนาย
ด้วยสูตรนี้
|
สามิภาวตฺเถ
อธินา ยุตฺตา ลิงฺคมฺหา สตฺตมี โหติฯ
อธิ
พฺรหฺมทตฺเต ปญฺจาลา, อธิ ปญฺจาเลสุ พฺรหฺมทตฺโต, อธิ
เทเวสุ พุทฺโธฯ ตตฺถ ‘อธิ พฺรหฺมทตฺเต ปญฺจาลา’ติ พฺรหฺมทตฺติสฺสรา ปญฺจาลรฏฺฐวาสิโนติ วทนฺติ, ‘ปญฺจาลา’ติ วา ชนปทนามตฺตา พหุวจนํ, กทาจิ ปญฺจาลราชา
พฺรหฺมทตฺเต กาสิรญฺเญ อิสฺสโร, กทาจิ พฺรหฺมทตฺโต
ปญฺจาลรญฺเญ อิสฺสโรติ อตฺโถฯ
|
๓๒๙. สามิตฺเตธินา
ลงสัตตมีวิภัตติท้ายนามศัพท์ที่ประกอบด้วยกับอธิศัพท์ในอรรถว่า
เป็นนาย.
ท้ายนามศัพท์ที่ประกอบด้วย
อธิศัพท์ ในอรรถความเป็นเจ้านาย เช่น
อธิ
พฺรหฺมทตฺเต ปญฺจาลา
ชาวปัญจาละ
เป็นใหญ่กว่าพระเจ้าพรหมทัต.
อธิ
ปญฺจาเลสุ พฺรหฺมทตฺโต
พระเจ้าพรหมทัต
เป็นใหญ่กว่าชาวปัญจาละ
อธิ
เทเวสุ พุทฺโธฯ
พระพุทธเจ้าเป็นใหญ่เหนือเทพทั้งหลาย.
ในตัวอย่างข้างต้นน้ัน
ตัวอย่างว่า อธิ พฺรหฺมทตฺเต ปญฺจาลา ชาวปัญจาละ เป็นใหญ่กว่าพระเจ้าพรหมทัต นี้
อาจารย์บางท่านอธิบายว่า ประชาชนชาวปัญจาลรัฐ มีพระเจ้าพรหมทัตเป็นใหญ่,
อีกนัยหนึ่ง
คำว่า ปญฺจาลา เป็นพหุวจนะ เพราะเป็นชื่อเรียกของเมือง. ความหมายมีดังนี้
ในบางครั้ง
พระเจ้าปัญจาละ เป็นใหญ่เหนือพระเจ้าพรหมทัต ผู้เป็นพระราชาแห่งรัฐกาสิ,
ในบางครั้ง พระเจ้าพรหมทัต เป็นใหญ่เหนือพระราชาแห่งรัฐปัญจาละ.
|
|
(๑๔)
วิภัตติทั้งหมด สามารถลงในอรรถเหตุ ด้วยสูตรนี้
|
๓๓๐. สพฺพาทิโต สพฺพา [๑๕]ฯ
|
๓๓๐. สพฺพาทิโต สพฺพา.
ลงวิภัตติทั้งปวง
ท้ายสัพพนามมีสพฺพเป็นต้นที่สัมพันธ์กับนามศัพท์ที่มีอรรถเหตุ และในอรรถแห่งเหตุ
ท้ายสัพพนามทั้งหลายมีสพฺพเป็นต้น
|
เหตฺวตฺเถหิ
โยเค สพฺพาทีหิ สพฺพนาเมหิ เหตฺวตฺเถ สพฺพา วิภตฺติโย โหนฺติฯ
|
ลงวิภัตติทั้งปวง
ท้ายสัพพนามมีสพฺพเป็นต้นที่สัมพันธ์กับนามศัพท์ที่มีอรรถเหตุ
และท้ายสัพพนามทั้งหลายมีสพฺพเป็นต้น ในอรรถแห่งเหตุ เช่น
|
กิํ
การณํ, เกน การเณน [ชา. อฏฺฐ. ๔.๑๕ มาตงฺคชาตกวณฺณนา],
กิํ นิมิตฺตํ, เกน นิมิตฺเตน, กิํ ปโยชนํ, เกน ปโยชเนน, เกนฏฺเฐน
[ธ. ส. อฏฺฐ. นิทานกถา], เกน วณฺเณน
[สํ. นิ. ๑.๒๓๔], กิมตฺถํ, กุโต นิทานํ [ปารา. ๔๒], กิสฺส
เหตุ [ปารา. ๓๙], กสฺมิํ นิทาเน,
เอตสฺมิํ นิทาเน [ปารา. ๔๒], เอตสฺมิํ ปกรเณ [ปารา. ๔๒] อิจฺจาทิฯ
|
กิํ
การณํ เพราะเหตุไร
เกน
การเณน [ชา.อฏฺฐ.๔/๑๕ มาตงฺคชาตกวณฺณนา (ฉ). ]
เพราะเหตุไร
กิํ
นิมิตฺตํ
เพราะเหตุไร
เกน
นิมิตฺเตน
เพราะเหตุไร
กิํ
ปโยชนํ
ประโยชน์อะไร
เกน
ปโยชเนน
ด้วยประโยชน์อะไร
เกนฏฺเฐน [อภิ.อฏฺฐ.๑ นิทานกถา (๑) ]
เพราะอรรถว่าอะไร
(เพราะเหตุใด หรือ เพราะสภาวะใด)
เกน
วณฺเณน [ขุ.วิ.๓๔/๕๙[๑๖]]
เพราะเหตุไร
กิมตฺถํ
เพราะอรรถว่าอะไร
กุโต
นิทานํ [วิ.๑/๒๖ (ฉ)]
เพราะเหตุอะไร,
กิสฺส
เหตุ [วิ.มหาวิ.๑/๗]
เพราะเหตุอะไร,
กสฺมิํ
นิทาเน
ในเพราะเหตุใด,
เอตสฺมิํ
นิทาเน เอตสฺมิํ ปกรเณ [วิ.มหาวิ.๑/๑๒๐]
ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น
|
สัตตมีวิภัตติ
จบแล้ว.
|
|
อิติ
นิรุตฺติทีปนิยา นาม โมคฺคลฺลานทีปนิยา
การกกณฺโฑ
นิฏฺฐิโตฯ
|
การกกัณฑ์ แห่งคัมภีร์มีนามว่า นิรุตติทีปนี
ซึ่งใช้อธิบายคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์
จบแล้ว
ด้วยประการดังนี้
|
|
|
[๒] หมายถึง
อาธาระ อันถูกกำหนดขึ้นโดยอาศัยชื่อของสถานที่ใกล้เคียงอันเป็นที่ปรากฏรู้จักของชนทั่วไปมากล่าวแทนสถานที่อันเป็นที่ตั้งจริงด้วยอุปจารโวหาร.
สำหรับในตัวอย่างนี้ บทว่า “คงฺคาย” เป็นบทที่ลงท้ายด้วยสัตตมีวิภัตติในอรรถโอกาส
ที่ระบุถึงสถานที่ อันเป็นที่ตั้งโดยอุปจารโวหาร ในฐานะที่อยู่ใกล้กับสถานที่อันเป็นที่ตั้งจริง.
ซึ่งความจริง แม่น้ำคงคงไม่สามารถเป็นที่ตั้งอย่ของคอกวัวโดยตรงได้
เป็นแต่เพียงสำนวนคำพูดที่ผู้พูดได้นำเอาสถานที่อันเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากล่าวแทนสถานที่อันเป็นที่ตั้งจริง
ซึ่งอยู่ใกล้กับแม่น้ำคงคานั้น หมายความว่า เป็นการพูดถึงแม่น้ำคงคา
แต่มิได้หมายเอาแม่น้ำคงคาโดยตรง การพูดอ้อมค้อมเช่นนี้ เรียกว่า อุปจารโวหาร
ซึ่งจัดอยู่ในประเภทสมีปยูปจาระ (กล่าวถึงสมีปี คือ สิ่งที่อยู่ในที่ใกล้
แต่หมายเอาสมีปะ คือ ที่ใกล้) ) -
(คำอธิบายในสัททนีติ.สุตตมาลา. ฉบับแปล - การกกัณฑ์ โอกาสการกะ สามีปิกาธาระ).
[๓] เวสยิกะ
คือ อาธาระหรือโอกาสอันเป็นสถานที่รองรับอาเธยยวัตถุที่ถูกกำหนด
ด้วยอำนาจแห่งการตัดขาดจากสถานทีตั้งหรือที่รองรับอื่น คือ
เป็นสถานที่ที่ถูกกำหนดไว้โดยเฉพาะ เช่น อากาเส สกุณา ปกฺขนฺติ นกบินไปในท้องฟ้า.
คำว่า เวสยิกะ มีวิเคราะห์ว่า วิเสเสน เสนฺติ ปวตฺตติ เอตฺถาติ วิสโย. สถานที่
อารมณ์ หรือ กาลเป็นต้น ย่อมเป็นไปโดยพิเศษในโอกาสนั้น เหตุนั้น โอกาสนั้น ชื่อว่า
วิสย (วิ + สิ + อ), วิสโยเยว เวสยิโก วิสยะนั่นแหละ ชื่อว่า เวสยิกะ. ลง
กปัจจัยในอรรถสกัตถะ. มี ๒ คือ อญฺญตฺถาภาววิสัย (เวสยิกโอกาส ที่เป็นไปตามธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ)
และ เทสันตราวัจเฉทวิสยะ
(เวสยิกโอกาสที่เป็นไปโดยมีจุดประสงค์เพื่อห้ามสถานที่อื่น) - (คำอธิบายในสัททนีติ
สุตตมาลา ฉบับแปล - การกกัณฑ์ โอกาสการกะ เวสิยกาธาระ). ในที่นี้
อัญญัตถาภาววิสัย ได้แก่ คำอธิบายในวิกัปแรก, ส่วน เทสันตราวัจเฉทวิสยะ ได้แก่
คำอธิบายในวิกัปหลัง.
[๖] [(โมค) ๓๔. ยพฺภาโวภาวลกฺขณํฯ
ยสฺส ภาโว ภาวนฺตรสฺส ลกฺขณํ ภวติ, ตโต สตฺตมี
โหติฯ กริยาของนามศัพท์ใด เป็นเครื่องกำหนดกริยาอื่น, ลงสัตตมีวิภัตติท้ายศัพท์นั้นอันมีกริยาที่ใช้กำหนดกริยาอื่น.
]
[๙] ลักขณกริยา
คือ กริยาที่กำหนดกริยาอื่น, ลักขิตัพพกริยา คือ
กริยาที่ถูกกำหนดโดยลักขณกริยา. ภาวลักขณะ
คือ กริยาที่เป็นเครื่องกำหนดกริยาอื่น ในที่นี้ ภาวลักขณะ
จะมีความพิเศษขึ้นอีกในฐานะที่ไม่สนใจ ไม่เยื่อใย ต่อกริยาหลัก. ลงฉัฏฐวิภัตติหรือสัตตมีวิภัตติ ท้ายนามศัพท์ที่มีหรือประกอบด้วยกริยาเช่นนั้น.
[๑๑] เต อาคเต มุทฺธนิ ธมฺมปาโล จุมฺพิตฺวา ปุตฺเต อวิกมฺปมาโนพระมหาสัตว์ผู้รักษาธรรม
ได้จุมพิตบุตรธิดาผู้มาแล้วนั้นที่กระหม่อม((ที่คล้ายกัน - ขุ.ชา.๒๘/๕๙๖).
[๑๒] สองตัวอย่างนี้
มาในพระบาฬี แต่ในรูปสิทธิมีอุทาหรณ์ว่า มุทฺธนิ จุมฺพิตฺวา และ พาหาสุ คเหตฺวา
โดยไม่มีบทว่า ปุตฺตํ และ ปุริสํ . เมื่อเป็นเช่นนี้
ก็จะสอดคล้องกับอรรถกรรมมากกว่า. อย่างไรก็ตาม
ในอุทาหรณ์ที่เป็นอรรถอาธาระเท่านั้น จึงสอดคล้องกับพระบาฬี.
[๑๖] เกน
วณฺเณนาติ เกน การเณนฯ วิมาน.อ. ๖๒๔ (ฉ).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น