วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สมาสกัณฑ์ ๖ - วิเสสวิธาน ก- นปุํสเกกตฺตํ - ปุมฺภาวาติเทส

วิเสสวิธาน
วิธีประกอบรูปพิเศษ
อิทานิ ปุพฺเพ วุตฺตานิ อวุตฺตานิ จ ฉสุ สมาเสสุ วิเสสวิธานานิ วุจฺจนฺเตฯ

ต่อไปนี้ จะกล่าวถึงการประกอบรูปพิเศษ ในสมาส ๖ ประเภท ทั้งที่เคยและไม่เคยกล่าวไว้ในตอนต้น.
นปุํสเกกตฺตํ, สมาสนฺตรสฺโส, ปุมฺภาวาติเทโส, สมาสนฺเต ก, สมาสนฺเต อ, นานาเทโส, อพฺยโย, สงฺขฺยา

วิธีการดังกล่าวมีดังนี้
๑. ความเป็นรูปนปุงสกลิงค์ เอกวจนะ
๒. ความเป็นรัสสะท้ายบทสมาส
๓. การแสดงเหมือนที่เคยเป็งปุงลิงค์
๔. ลง ก ปัจจัยท้ายบทสมาส
๕. ลง อ ปัจจัยท้ายบทสมาส
๖. การแปลงเป็นรูปต่างๆ
๗. บทสมาสที่เป็นอัพยยะ
๘. บทสมาสที่เป็นสังขยา


นปุํสเกกตฺตราสิ
กลุ่มศัพท์ที่มีรูปเป็น
นปุงสกลิงค์และเอกวจนะ
ตตฺถ สพฺโพ อพฺยยีภาโว นปุํสกลิงฺโค เอว, สมาหารภูตา ทิคุ, ทฺวนฺทา นปุํสกา จ เอกตฺตสงฺขฺยา จฯ

ในบทสมาสทั้งหลายนั้น สมาสที่เป็นอัพยยีภาวะ เป็นนปุงสกลิงค์ได้อย่างเดียว, ส่วนทิคุสมาสและทวันทสมาสที่เป็นสมาหาระ เป็นได้ทั้งนปุงสกลิงค์และเอกวจนะ.

๓๕๙. กฺวเจกตฺตญฺจ ฉฏฺฐิยา[๑]

๓๕๙. กฺวเจกตฺตญฺจ ฉฏฺฐิยา.
(ในฉัฏฐีสมาส [ฉัฏฐตัป.] บางตัวอย่างเป็นนปุงสกลิงค์ เอกพจน์.)
ฉฏฺฐีสมาเส กฺวจิ นปุํสกตฺตํ เอกตฺตญฺจ โหติฯ

ในฉัฏฐีสมาส  ความเป็นนปุงสกลิงค์ และมีเอกวจนะ เป็นบางแห่ง.
ฉายา, สภาสฺเววายํ วิธิ, สลภานํ ฉายา สลภจฺฉายํ[๒] ฯ เอวํ สกฏจฺฉายํ, ฆรจฺฉายํฯ อิธ น โหติ, รุกฺขจฺฉายา, ปพฺพตจฺฉายาฯ สภาสทฺเท อมนุสฺสสภาสฺเววายํ วิธิ, พฺรหฺมูนํ สภา พฺรหฺมสภํฯ เอวํ เทวสภํ, อินฺทสภํ, ยกฺขสภํ, รกฺขสสภํฯ มนุสฺสสภาสุ นตฺถิ, ขตฺติยสภา, ราชสภา อิจฺจาทิฯ

หลักการนี้ใช้สำหรับศัพท์ว่า ฉายา (เงา) และ สภา (ที่ประชุม) เท่านั้น. เช่น เงา แห่งตั๊กแตน ชื่อว่า สลภจฺฉายํ. สกฏจฺฉายํ (เงาแห่งเกวียน), ฆรจฺฉายํ (เงาแห่งเรือน) ก็เช่นเดียวกันนี้. ในตัวอย่างต่อไปนี้ไม่ใช้หลักการนี้ คือ รุกฺขจฺฉายา (เงาแห่งต้นไม้), ปพฺพตจฺฉายา (เงาแห่งภูเขา).
สำหรับ สภา ศัพท์ ใช้สำหรับของพวกอมนุษย์ เท่านั้น เช่น สภา ของพวกพรหม ชื่อว่า พฺรหฺมสภํ. เทวสภํ เทวสภา, อินฺทสภํ (สภาของพระอินทร์), ยกฺขสภํ (สภาของพวกยักษ์), รกฺขสสภํ (สภาของพวกรากษส). ในสภาของพวกมนุษย์ ไม่ใช้ เช่น ขตฺติยสภา สภาของพวกกษัตริย์, ราชสภา (สภาของพระราชา) เป็นต้น.
กฺวจีติ กิํ? ราชปริสาฯ

คำว่า กฺวจิ บางแห่ง มีประโยชน์อะไร.
มีประโยชน์ในกำหนดตัวอย่าง เช่น คำว่า ราชปริสา ไม่เข้าเกณฑ์ของสูตรนี้ เพราะปริสาศัพท์ไม่ใช่ สภาศัพท์.
อิติ นปุํสเกกตฺตราสิฯ

กลุ่มศัพท์ที่เป็นนปุงสกลิงค์และเอกพจน์
เป็นอย่างนี้















สมาสนฺตรสฺสราสิ
กลุ่มศัพท์ที่รัสสะท้ายบทสมาส
สฺยาทีสุ รสฺโสติ สุตฺเตน อพฺยยีภาว, สมาหารทิคุ, ทฺวนฺทานํ กสฺสจิ ตปฺปุริสสฺส จ สฺยาทีสุ รสฺโสฯ

อัพยยีภาวสมาส, สมาหารทิคุสมาส, สมาหารทวันทสมาสและตัปปุริสสมาสบางชนิด เป็นรัสสะ เมื่อลงสิวิภัตติเป็นต้น ด้วยสูตรว่า “สฺยาทีสุ รสฺโส เมื่อลงสิวิภัตติเป็นต้น คำสมาสอันเป็นนปุงสกลิงค์ดังกล่าวเป็นรัสสะ”.
อพฺยยีภาเว
อุปมณิกํ อธิตฺถิ, อุปวธุฯ
สมาหารทิคุมฺหิ
จตุทฺทิสํ, ทสิตฺถิ, ทสวธุฯ
สมาหารทฺวนฺเท
มุขนาสิกํ, หนุคีวํฯ
ตปฺปุริเส
สลภจฺฉายํ, พฺรหฺมสภํฯ

ในอัพยยีภาวสมาส เช่น อุปมณิกํ ใกล้แห่งโอ่งน้ำ, อธิตฺถิ ถ้อยคำปรารภหญิง, อุปวธุ ที่ใกล้แห่งหญิงสาว.
ในสมาหารทิคุสมาส เช่น จตุทฺทิสํ ทิศ ๔, ทสิตฺถิ หญิง ๑๐ คน, ทสวธุ หญิงสาว ๑๐ นาง.
ในสมาหารทวันทสมาส เช่น มุขนาสิกํ หน้าและจมูก, หนุคีวํ คางและคอ.
ในตัปปุริสสมาส เช่น สลภจฺฉายํ เงาแห่งตั๊กแตน, พฺรหฺมสภํ สภาแห่งพรหม.

๓๖๐. ฆปสฺสนฺตสฺสาปฺปธานสฺส [๓]

๓๖๐. ฆปสฺสนฺตสฺสาปฺปธานสฺส
(เมื่อลงสิเป็นต้น รัสสะ ฆและป ที่เป็นสระที่สุด ของสมาสประเภทวิเสสนะ)
สฺยาทีสุ อนฺตภูตสฺส อปฺปธานภูตสฺส จ ฆปสฺส รสฺโส โหติฯ
เมื่อลง สิวิภัตตเป็นต้น มีความเป็นรัสสะ แห่ง ฆและป ซึ่งเป็นสระที่สุด และ เป็นวิเสสนสมาส.
พหุพฺพีหิมฺหิ
พหุกญฺโญ, โปโส, พหุอิตฺถิ, กุลํ, พหุวธุ, กุลํฯ
อพฺยยีภาเว
อุปมณิกํ, อธิตฺถิ, อุปวธุฯ

ในพหุพพีหิสมาส เช่น พหุกญฺโญ โปโส บุรุษ ผู้มีหญิงสาวมาก, พหุอิตฺถิ กุลํ ตระกูลซึ่งมีผู้หญิงมาก, พหุวธุ กุลํ ตระกูล มีหญิงรุ่นสาวมาก.
ในอัพยยีภาวะ เช่น อุปมณิกํ ใกล้แห่งโอ่งน้ำ, อธิตฺถิ ถ้อยคำปรารภหญิง, อุปวธุ ที่ใกล้แห่งหญิงสาว.
อนฺตสฺสาติ กิํ? สทฺธาธโน, ปุริโสฯ
คำว่า อนฺตสฺส สระที่สุด มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ ในการห้ามมิให้รัสสะ ในกรณีที่ไม่ใช่สระเสียงท้าย เช่นในคำว่า สทฺธาธโน ปุริโส บุรุษ ผู้มีทรัพย์คือศรัทธา.
อปฺปธานสฺสาติ กิํ? ราชกญฺญา, ราชกุมารี, พฺรหฺมพนฺธูฯ

คำว่า อปฺปธานสฺส วิเสสนสมาส มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการห้ามมิให้รัสสะ หากไม่ใช่สมาสประเภทวิเสสนะ เช่นในคำว่า ราชกญฺญา หญิงสาวของพระราชา, ราชกุมารี บุตรีของพระราชา, พฺรหฺมพนฺธู แห่งพรหม.

๓๖๑. โคสฺสุ[๔]

๓๖๑. โคสฺสุ
(เมื่อลงสิวิภัตติเป็นต้น แปลง โอ ของ โค ที่เป็นศัพท์ท้าย ของสมาสประเภทวิเสสนะ)
สฺยาทีสุ อนฺตภูตสฺส อปฺปธานภูตสฺส จ โคสฺส อุ โหติฯ
เมื่อลงสิวิภัตติเป็นต้น แปลง โอ ของ โค ที่เป็นศัพท์ท้าย ของสมาสประเภทวิเสสนะ.
ติฏฺฐคุ จิตฺตคุฯ
อปฺปธานสฺสาติ กิํ? ราชคโวฯ
อนฺตสฺสาติ กิํ? โคกุลํฯ

ตัวอย่างเช่น ติฏฺฐคุ กาลที่มีโคยืนอยู่,  จิตฺตคุ บุคคลผู้มีโคด่าง.
คำว่า อปฺปธานสฺส เป็นวิเสสนสมาส มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการห้ามมิให้แปลง โอ ของ โคศัพท์ เป็น อุ หากไม่ใช่วิเสสนสมาส เช่น ราชคโว โคของพระราชา.
คำว่า อนฺตสฺส ท้ายสมาส มีประโยชน์อะไร ?
มีประโยชน์ในการห้ามมิให้แปลง โอ ของ โคศัพท์ เป็น อุ หากไม่ใช่เป็นบทท้ายสมาส เช่น โคกุลํ ผู้เป็นตระกูลโค

อิติ สมาสนฺตรสฺสราสิฯ
กลุ่มศัพท์ที่รัสสะท้ายบทสมาสเป็นอย่างนี้


ปุมฺภาวาติเทสราสิ
กลุ่มศัพท์ที่ถูกแสดงเหมือนที่เคยเป็นปุงลิงค์
๓๖๒. อิตฺถิยํ ภาสิตปุมิตฺถี ปุมาเวกตฺเถ [๕]

๓๖๒. อิตฺถิยํ ภาสิตปุมิตฺถี ปุมาเวกตฺเถ.
(หากบทหลัง ที่เป็นไปในอิตถีลิงค์ มีเนื้อความเดียวกันกับบทหน้า ศัพท์อิตถีลิงค์ที่เคยเป็นปุงลิงค์ ให้แสดงเหมือนที่เคยเป็นปุงค์ลิงค์)
เอกตฺเถติ ตุลฺยาธิกรเณ, อิตฺถิยํ วตฺตมาเน เอกตฺเถ อุตฺตรปเท ปเร กทาจิ ภาสิตปุโม อิตฺถิลิงฺคสทฺโท ปุมา อิว โหติฯ จตุรงฺคมิทํ วิธานํ, ปุพฺพปทํ อิตฺถิลิงฺคญฺจ ภาสิตปุมญฺจ สิยา, ปรปทํ นิยติตฺถิลิงฺคญฺจ ปุพฺพปเทน เอกตฺถญฺจ สิยาติฯ

คำว่า เอกตฺเถ หมายถึง มีเนื้อความ (ในที่นี้ คือ วิภัตติ) เสมอกัน. ความว่า ในเพราะบทหลัง อันมีเนื้อความเสมอกัน ซึ่งเป็นไปในอิตถีลิงค์ ศัพท์ที่อิตถีลิงค์ ซึ่งมีปุงลิงค์อันตนกล่าวแล้ว ในบางคราว ย่อมเป็นเหมือนกับปุงลิงค์. สูตรนี้มีองค์ประกอบ ๔ คือ บทหน้า จะต้องเป็นอิตถีลิงค์ และมีปุงลิงค์อันตนกล่าวแล้ว, และบทหลัง จะต้องเป็นอิตถีลิงค์แน่นอน ซึ่งมีลิงค์ วิภัตติและวจนะ เสมอกับบทหน้า.
ทีฆา ชงฺฆา ยสฺส โส ทีฆชงฺโฆ, ปุริโส, ทีฆชงฺฆา, อิตฺถี, ทีฆชงฺฆํ, กุลํฯ

หน้าแข้ง ของบุรุษใด ยาว บุรุษนั้น ชื่อว่า ทีฆชงฺโฆ มีหน้าแข้งยาว ได้แก่ บุรุษ, ทีฆชงฺฆา ได้แก่ อิตฺถี, ทีฆชงฺฆํ ได้แก่ ตระกูล.
เอตฺถ จ เย สทฺทา กตฺถจิ ปุลฺลิงฺครูปา โหนฺติ, กตฺถจิ อิตฺถิปจฺจยยุตฺตา อิตฺถิลิงฺครูปา, เต ภาสิตปุมา นามฯ ทีโฆ มคฺโค, ทีฆา รตฺติ, คโต ปุริโส, คตา อิตฺถี, กุมาโร, กุมารี, พฺราหฺมโณ, พฺราหฺมณี อิจฺจาทิฯ

ในตัวอย่างนี้ ศัพท์เหล่าใด มีรูปเป็นปุงลิงค์ในที่หนึ่ง, เมื่อประกอบกับอิตถีปัจจัย ก็เป็นรูปอิตถีลิงค์ในอีกที่หนึ่งได้, ศัพท์เหล่านั้น ชื่อว่า ภาสิตปุมะ  เช่น ทีโฆ มคฺโค หนทางไกล, ทีฆา รตฺติ ราตรียาวนาน, คโต ปุริโส บุรุษ ผู้ไปแล้ว, คตา อิตฺถี หญิง ผู้ไปแล้วกุมาโร เด็กชาย, กุมารี เด็กหญิง, พฺราหฺมโณ พราหมณ์, พฺราหฺมณี นางพราหมณี.
เย ปน อิตฺถิปจฺจยยุตฺตา นิจฺจํ อิตฺถิลิงฺครูปา โหนฺติ, เต ภาสิตปุมา นาม น โหนฺติ, กญฺญา, ปญฺญา, สทฺธา, นที, อิตฺถี, ปถวี อิจฺจาทิฯ ตถา สภาวอิตฺถิลิงฺคาปิ นิยตปุนฺนปุํสกลิงฺคาปิ ภาสิตปุมา น โหนฺติ, เทวตา, รตฺติ, เธนุ, วธู, สกฺโก, เทโว, พฺรหฺมา, รตนํ, สรณํ อิจฺจาทิฯ

แต่ศัพท์เหล่าใด ซึ่งประกอบด้วยอิตถีปัจจัยแล้ว ย่อมมีรูปเป็นอิตถีลิงค์เสมอ, ศัพท์เหล่านั้น ไม่ชื่อว่า เป็นภาสิตปุมะ เช่น กญฺญา นางสาวน้อย, ปญฺญา ปัญญา, สทฺธา ศรัทธา, นที แม่น้ำ, อิตฺถี ผู้หญิง, ปถวี แผ่นดิน. ถึงศัพท์ที่เป็นอิตถีลิงค์ตามธรรมชาติ และศัพท์ที่เป็นปุงลิงค์หรือนปุงสกลิงค์เสมอ ก็เช่นกัน มิได้เป็นภาสิตปุมะ เช่น เทวตา เทวดา, รตฺติ ราตรี,  เธนุ แม่วัว, วธู หญิงสาวรุ่น, สกฺโก ท้าวสักกะ, เทโว เทวดา, พฺรหฺมา พรหม, รตนํ แก้วรัตนะ, สรณํ ที่พึ่ง.
อิธ ปน ทีฆสทฺโท ‘‘ทีโฆ พาลาน สํสาโร’’ติ[๖] อาทีสุ ภาสิตปุโม, โส วิเสสฺยลิงฺคานุคตวเสน อิธ อิตฺถิปจฺจยยุตฺโต อิตฺถิลิงฺคสทฺโท นามฯ อิมินา สุตฺเตน ปุมฺภาวาติเทเส กเต ตตฺถ อาปจฺจโย อนฺตรธายติ,‘ฆปสฺสนฺตสฺสาปฺปธานสฺสาติ สุตฺเตน สมาสนฺตสฺส อาการสฺส รสฺสตฺตํ, กุมารี ภริยา ยสฺส โส กุมารภริโย, อีปจฺจยนิวตฺติฯ ยุวติ ชายา ยสฺส โส ยุวชาโย, ติปจฺจยนิวตฺติฯ พฺรหฺมพนฺธู ภริยา ยสฺส โส พฺรหฺมพนฺธุภริโย, อูปจฺจยนิวตฺติฯ

แต่ในตัวอย่างนี้ว่า  ทีโฆ พาลาน สํสาโร สังสารวัฏฏ์ของคนเขลา ช่างยาวนาน” ทีฆศัพท์เคยกล่าวปุงลิงค์มาแล้ว. ทีฆศัพท์นั้น หากลงอิตถีปัจจัย ในที่นี้ ตามที่ประสงค์จะให้คล้อยตามลิงค์ของวิเสสยะ ก็จะมีชื่อว่า ศัพท์อิตถีลิงค์. ดังนั้น เมื่อทำการแสดงเป็นปุงลิงค์ด้วยสูตรนี้แล้ว อาปัจจัย (อิตถีปัจจัย) ในศัพท์ดังกล่าว ก็จะหายไป,  สระท้ายสมาส จะเป็นรัสสะ ด้วยสูตรว่า “ฆปสฺสนฺตสฺสาปฺปธานสฺส เมื่อลงสิเป็นต้น รัสสะ ฆและป ที่เป็นสระที่สุด ของสมาสประเภทวิเสสนะ”, ในตัวอย่างนี้ว่า เด็ก ของบุรุษใด มีอยู่ บุรุษนั้น ชื่อว่า กุมารภริโย มีภริยาเด็ก, จะเห็นได้ว่า นำอีปัจจัยออกไป[๗], ในตัวอย่างนี้ว่า ภรรยาสาว ของบุรุษใด มีอยู่ บุรุษนั้น ชื่อว่า ยุวชาโย มีภรรยาสาว, จะเห็นได้ว่า นำ ติปัจจัยออกไป. ในตัวอย่างนี้ว่า ภรรยา ผู้เป็นเผ่าพันธ์แห่งพรหม ของบุรุษใด มีอยู่ บุรุษนั้น ชื่อว่า พฺรหฺมพนฺธุภริโย มีภรรยา ผู้เป็นเผ่าพันธ์แห่งพรหม, จะเห็นได้ว่านำ อู ปัจจัยออกไป.
อิตฺถิยนฺติ กิํ? กุมารี รตนํ ยสฺส โส กุมารีรตโน, ปุริโส, อิธ ปรปทํ อิตฺถิลิงฺคํ น โหติ, ตสฺมา ปุมฺภาวาติเทโส น กาตพฺโพ, ยทิ กเรยฺย, กุมาโร รตนํ ยสฺส กุมารรตโนติ เอวํ อนิฏฺฐตฺโถ ภเวยฺยฯ

คำว่า อิตฺถิยํ เป็นไปในอิตถีลิงค์ มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการห้ามมิให้บทหน้าถูกแสดงเหมือนที่เคยเป็นปุงลิงค์ หากศัพท์หลัง มิได้เป็นไปในอิตถีลิงค์ เช่น รัตนะ คือ เด็กหญิง ของบุรุษใด มีอยู่ บุรุษนั้น ชื่อว่า กุมารีรตโน ได้แก่ บุรุษ. จะเห็นได้ว่า ในตัวอย่างนี้ บทหลัง มิได้เป็นศัพท์อิตถีลิงค์, เพราะฉะนั้น ไม่ควรทำการแสดงเหมือนที่เคยเป็นปุงลิงค์, แต่ถ้าขืนทำ ก็จะได้รูปที่ไม่ประสงค์ (ผิดความประสงค์ของผู้พูด) เช่นนี้ว่า รัตนะคือเด็กชาย ของบุรุษใด มีอยู่ บุรุษนั้น ชื่อว่า กุมารรตโน มีรัตนะคือเด็กชาย.
เอกตฺเถติ กิํ? กุมารีสุ ภตฺติ ยสฺส โส กุมารีภตฺติโกฯ เอวํ สมณีภตฺติโก, พฺราหฺมณีภตฺติโก, สมาสนฺเต โก, อิธ ปรปทํ ปุพฺพปเทน เอกตฺถํ น โหติ, ตสฺมา ปุมฺภาวาติเทโส น กาตพฺโพ, ยทิ กเรยฺย, กุมาเรสุ ภตฺติ ยสฺส โส กุมารภตฺติโกติ เอวํ อนิฏฺฐตฺโถ ภเวยฺยฯ

บทว่า เอกตฺเถ มีเนื้อความเสมอกัน มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการห้ามมิให้บทหน้าถูกแสดงเหมือนที่เคยเป็นปุงลิงค์ หากบทหลังมีอธิกรณ์ต่างกัน เช่น ความภักดี ในเด็กหญิง ของบุรุษใด มีอยู่ บุรุษนั้น ชื่อว่า กุมารีภตฺติโก มีความภักดีในเด็กหญิง. ตัวอย่างเป็นต้นว่า สมณีภตฺติโก ผู้มีความภักดีในนางสมณี, พฺราหฺมณีภตฺติโก ผู้มีความภักดีในนางพราหมณี ก็เช่นเดียวกันนี้ แต่มีการลง กปัจจัยท้ายบทสมาส, จะเห็นได้ว่า ในตัวอย่างเหล่านี้ บทหลัง มิได้มีอธิกรณ์ (ในที่นี้ คือ วิภัตติ) เสมอกับบทหน้า จึงไม่ต้องแสดงบทหน้าถูกแสดงเหมือนที่เคยเป็นปุงลิงค์, หากขืนกระทำ ก็จะได้รูปที่ไม่ประสงค์เช่นนี้ว่า ความภักดี ในเด็กชาย ของบุรุษใด มีอยู่ บุรุษนั้น ชื่อว่า กุมารภตฺติโก มีความภักดีในเด็กชาย.
อิตฺถีติ กิํ? ทฏฺฐพฺพฏฺเฐน ทิฏฺฐิ, คามณิกุลํ ทิฏฺฐิ เยน โส คามณิทิฏฺฐิ, อิธ คามณิสทฺโท ภาสิตปุโม โหติ, อิธ ปน กุลวาจกตฺตา นปุํสกลิงฺเค ติฏฺฐติ, อิตฺถิปจฺจโย นตฺถิ, ตสฺมา ปุมฺภาวาติเทสกิจฺจํ นตฺถิฯ

บทว่า อิตฺถี บทหน้าเป็นอิตถีลิงค์ มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในกรณีดังกล่าวมาแล้ว หากบทหน้ามิได้เป็นอิตถีลิงค์ (ซึ่งเคยเป็นปุงลิงค์) เช่น ชื่อว่า ทิฏฐิ เพราะเป็นสิ่งที่พึงเห็น, ตระกูลของผู้ใหญ่บ้าน อันบุคคลใดพึงเห็น บุคคลนั้น ชื่อว่า คามณิทิฏฺฐิ ตระกูลผู้ใหญ่บ้าน อันตนพึงเห็น. ในกรณีนี้ อันที่จริง คามณิศัพท์ เป็นภาสิตปุมะ ได้ แต่ในที่นี้ เพราะกล่าวถึงตระกูล จึงตั้งอยู่ในฐานะที่เป็นนปุงสกลิงค์, และไม่ได้ลงอิตถีปัจจัย เพราะฉะนั้น จึงไม่ต้องแสดงเหมือนที่เคยเป็นปุงลิงค์.
ภาสิตปุโมติ กิํ? สทฺธา ปกติ ยสฺส โส สทฺธาปกติโกฯ เอวํ ปญฺญาปกติโก, อิธ ปุพฺพปทํ นิยติตฺถิลิงฺคตฺตา ภาสิตปุมํ น โหตีติฯ สทฺธาธโน, ปญฺญาธโน, สทฺธาธุโร ปญฺญาธุโร อิจฺจตฺร ทุวงฺคเวกลฺลํ โหติฯ

บทว่า ภาสิตปุม มีความเป็นปุงลิงค์อันตนกล่าวแล้ว มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการห้ามมิให้ แสดงเหมือนที่เคยเป็นปุงลิงค์ ในตัวอย่างนี้ คือ ศรัทธา แห่งอุบาสกใด เป็นปกติ มีอยู่ อุบาสกนั้น ชื่อว่า สทฺธาปกติโก. ตัวอย่างว่า ปญฺญาปกติโก ผู้มีปัญญาเป็นปกติ ก็เช่นเดียวกันนี้.  ในตัวอย่างนี้ บทหน้า ไม่ได้มีปุงลิงค์อันตนกล่าวเคยกล่าวมา เพราะเป็นอิตถีลิงค์แน่นอน. ในตัวอย่างเหล่านี้ คือ สทฺธาธโน มีทรัพย์คือศรัทธา, ปญฺญาธโน มีทรัพย์คือปัญญา, สทฺธาธุโร มีธุระคือศรัทธา, ปญฺญาธุโร มีธุระคือปัญญา นี้ ขาดองค์ประกอบไป ๒ อย่าง (คือ บทหน้ากล่าวอิตถีลิงค์แน่นอน และบทหลังเป็นนปุงสกลิงค์).
กมฺมธารยมฺหิ [๘]ปน เอกตฺเถติ ปทํ วิสุํ เอกํ องฺคํ น โหติ อเนกตฺถสฺส อิธ อสมฺภวโตฯ ทีฆา จ สา ชงฺฆา จาติ ทีฆชงฺฆา, กุมารี จ สา ภริยา จาติ กุมารภริยาฯ เอวํ ขตฺติยกญฺญา, พฺราหฺมณกญฺญา, ยุวติ จ สา ภริยา จาติ ยุวภริยา, พฺรหฺมพนฺธู จ สา ภริยา จาติ พฺรหฺมพนฺธุภริยาฯ

ส่วนในกัมมธารยสมาส บทว่า “เอกตฺเถ มีเนื้อความอันเดียวกัน” หาได้เป็นองค์ประกอบของแต่ละบทไม่ เพราะในกัมมธารยสมาส ไม่มีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน. เช่น ยาว ด้วย ยาวนั้น เป็นแข้ง ด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ทีฆชงฺฆา แข้งอันยาว, เด็กหญิง ด้วย เด็กหญิงนั้น เป็นภรรยา ด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า กุมารภริยา ภรรยาผู้เป็นเด็กหญิงฯ ตัวอย่างเหล่านี้ คือ ขตฺติยกญฺญา หญิงสาวผู้เป็นกษัตริย์, พฺราหฺมณกญฺญา นางสาวน้อยผู้เป็นพราหมณ์. ก็เช่นเดียวกันนี้, หญิงสาว ด้วย หญิงสาวนั้น เป็นภริยา ด้วย ชื่อว่า ยุวภริยา ภรรยาผู้เป็นหญิงสาว, พฺรหฺมพนฺธุภริยา เผ่าพันธ์แห่งพรหม ด้วย เผ่าพันธ์แห่งพรหมนั้น เป็นภรรยา ด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่า พฺรหฺมพนฺธุภริยา ภรรยาผู้เป็นเผ่าพันธ์แห่งพรหม.
อิตฺถิยนฺติ กิํ? กุมารี จ สา รตนญฺจาติ กุมารีรตนํฯ เอวํ สมณีปทุมํฯ

บทว่า อิตฺถิยํ บทหลังเป็นไปในอิตถีลิงค์ มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการห้ามแสดง เหมือนที่เคยเป็นปุงลิงค์ ในตัวอย่างนี้ว่า เด็กหญิง ด้วย เด็กหญิงนั้น เป็นรัตนะ ด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่า กุมารีรตนํ. ตัวอย่างว่า สมณีปทุมํ นางสมณะอันเป็นดอกบัว ก็เช่นเดียวกันนี้.
อิตฺถีติ กิํ? คามณิกุลญฺจ ตํ ทิฏฺฐิ จาติ คามณิทิฏฺฐิฯ

บทว่า อิตฺถี บทหน้าเป็นอิตถีลิงค์ มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการห้ามแสดง เหมือนที่เคยเป็นปุงลิงค์ ในตัวอย่างนี้ว่า ตระกูลแห่งผู้ใหญ่บ้าน ด้วย ตระกูลแห่งผู้ใหญ่บ้าน นั้น เป็นสิ่งอันบุคคลพึงเห็นด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่า คามณิทิฏฺฐิ ตระกูลผู้ใหญ่บ้านอันบุคคลพึงเห็น.
ภาสิตปุโมติ กิํ? สทฺธาปกติ, คงฺคานที, ตณฺหานที, ปถวีธาตุฯ

บทว่า ภาสิตปุม มีปุงลิงค์อันตนกล่าวแล้ว มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการห้าม แสดงเหมือนที่เคยเป็นปุงลิงค์ ในตัวอย่างนี้ว่า สทฺธาปกติ ศรัทธา อันเป็นปกติ, คงฺคานที คงคาอันเป็นแม่น้ำ, ตณฺหานที ตัณหาอันเป็นแม่น้ำ (แม่น้ำคือตัณหา), ปถวีธาตุ ดินอันเป็นธาตุ (ธาตุคือดิน).
สญฺญาสทฺเทสุ ปน จตุรงฺคยุตฺเตปิ วิธานํ น        โหติ, นนฺทาเทวี, นนฺทาโปกฺขรณี, กายคตาสติ,            ปฐมาวิภตฺติ, ทุติยาวิภตฺติ, ปญฺจมีวิภตฺติ, ฉฏฺฐีวิภตฺติ อิจฺจาทิฯ

แต่ในศัพท์ที่แสดงชื่อ ไม่มีหลักการนี้ ถึงในที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ก็ตาม  เช่น นนฺทาเทวี พระนางนันทาเทวี, นนฺทาโปกฺขรณี นันทา อันเป็นสระบัว, กายคตาสติ ธรรมอันชื่อว่า กายคตาสติ, ปฐมาวิภตฺติ วิภัตตที่หนึ่ง, ทุติยาวิภตฺติ วิภัตติที่สอง, ปญฺจมีวิภตฺติ วิภัตติที่ห้า, ฉฏฺฐีวิภตฺติ วิภัตติที่หก เป็นต้น.

๓๖๓. กฺวจิ ปจฺจเย[๙]

๓๖๓. กฺวจิ ปจฺจเย.
(ในเพราะปัจจัย ศัพท์อิตถีลิงค์ ที่เคยกล่าวปุงลิงค์ เป็นเพียงดังปุงลิงค์ได้บ้าง)
ปจฺจเย ปเร กทาจิ ภาสิตปุโม อิตฺถิลิงฺคสทฺโท กฺวจิ ปุมาว โหติฯ
ในเพราะปัจจัยอันเป็นเบื้องหลัง ศัพท์อิตถีลิงค์ มีปุงลิงค์อันตนกล่าวแล้ว ในบางคราว เป็นเพียงดังปุงลิงค์ ในบางตัวอย่าง.
พฺยตฺตตรา, พฺยตฺตตมา, เอตฺถ จ พฺยตฺตานํ อิตฺถีนํ อติสเยน พฺยตฺตาติ พฺยตฺตตรา, พฺยตฺตตมาติ อตฺโถฯ เอวํ ปณฺฑิตตรา, ปณฺฑิตตมา อิจฺจาทิฯ
ในสองตัวอย่างว่า พฺยตฺตตรา, พฺยตฺตตมา หญิงผู้ฉลาดที่สุด นี้ มีความหมายว่า หญิงผู้ฉลาดอย่างยิ่ง แห่งหญิงทั้งหลายผู้ฉลาด เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พฺยตฺตตรา, พฺยตฺตตมา หญิงผู้ฉลาดที่สุด. ตัวอย่างเป็นต้นว่า ปณฺฑิตตรา, ปณฺฑิตตมา สตรีผู้มีบัณฑิตที่สุด ก็เป็นเช่นนี้.

๓๖๔. สพฺพาทโย วุตฺติมตฺเต [๑๐]

๓๖๔. สพฺพาทโย วุตฺติมตฺเต
(คำสัพพนามมีสพฺพเป็นต้น อันเป็นอิตถีลิงค์ เป็นเหมือนปุงลิงค์ ในคำที่เป็นเพียงวุตติ [คำที่เป็นรูปสำเร็จทั่วไป])
วุตฺติมตฺเต ฐาเน สพฺพาทินามกา สพฺพนามสทฺทา ปุมาว โหนฺติฯ
คำสัพพนาม ที่มีชื่อเรียกว่า สพฺพาทิ เป็นเพียงดังปุงลิงค์ ในที่อันเป็นเพียงวุตติ (คำที่สำเร็จรูป).
สา ปมุขา ยสฺส โส ตปฺปมุโขฯ เอวํ ตปฺปธาโน, ตาย ตาหิ วา สมฺปยุตฺโต ตํสมฺปยุตฺโตฯ สา เอว ปมุขา ตปฺปมุขาฯ เอวํ ตปฺปธานา, ตสฺสา มุขํ ตมฺมุขํ, ตสฺสํ คาถายํ ตาสุ คาถาสุ วา ตตฺร, ตาย คาถโต ตาหิ วา คาถาหิ ตโต, ตสฺสํ เวลายํ ตทา อิจฺจาทิฯ




ตัวอย่างเช่น หญิงนั้น เป็นประมุข ของคณะใด คณะนั้น ชื่อว่า ตปฺปมุโข คณะมีหญิงนั้นเป็นประมุข. ตัวอย่างว่า  ตปฺปธาโน มีหญิงนั้นเป็นประธาน ก็เช่นเดียวกันนี้, ธรรมอันสัมปยุตด้วยธรรมชาตินั้น หรือ ด้วยธรรมชาติทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า ตํสมฺปยุตฺโต ธรรมอันสัมปยุตด้วยธรรมชาตินั้น. หญิงนั้นนั่นแหละเป็นประมุข ชื่อว่า ตปฺปมุขา ประมุขหญิง. ตปฺปธานา ประธานหญิง ก็เช่นเดียวกันนี้, หน้าของหญิงนั้น ชื่อว่า ตมฺมุขํ, ในคาถานั้น หรือว่า ในคาถาทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า ตตฺร, จากคาถานั้น หรือว่า ด้วยคาถาทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า ตโต, ในเวลานั้น ชื่อว่า ตทา.
เอตฺถ จ วุตฺติ นาม สมาส, ตทฺธิตายาทิธาตุปจฺจยนฺต, วิภตฺติปจฺจยนฺตานํ นามํฯ
ในสูตรนี้ วุตฺติ เป็นชื่อของคำสมาส ตัทธิต, คำที่มีธาตุปัจจัย เช่นอาย เป็นที่สุด และที่มีวิภัตติปัจจัยเป็นที่สุด.

อิติ ปุมฺภาวาติเทสราสิฯ
กลุ่มศัพท์ที่แสดงเหมือนที่เคยเป็นปุงลิงค์
เป็นอย่างนี้




[๑]  [ก. ๓๒๗; รู. ๓๕๑; นี. ๗๐๔; จํ. ๒.๒.๖๙-๗๓; ปา. ๒.๔.๒๒-๒๕]
[๒] [สภจฺฉายํ (มูลปาเฐ)]
[๓] [ก. ๔๐๓; รู. ๓๕๔; นี. ๘๕๘; จํ. ๒.๒.๘๖; ปา. ๑.๒.๔๘]
[๔] [ก. ๓๔๒; รู. ๓๓๗; นี. ๗๒๒; จํ. ๒.๒.๘๕; ปา. ๑.๒.๔๘]
[๕] [ก. ๓๓๑; รู. ๓๕๓; นี. ๗๑๔; จํ. ๕.๒.๒๙; ปา. ๖.๓.๓๔]
[๖] [ธ. ป. ๖๐]
[๗] นิวตฺติ ตามศัพท์ คือ  ห้าม.
[๘] [ก. ๓๓๒; รู. ๓๔๓; นี. ๗๑๖]
[๙] [ก. ๓๓๒; รู. ๓๔๓; นี. ๗๑๖; จํ. ๕.๒.๓๑; ปา. ๖.๓.๓๕]
[๑๐] [ก. ๓๓๑; รู. ๓๕๓; นี. ๗๑๔; จํ. ๕.๒.๔๑; ปา. ๖.๓.๓๕]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น