วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สัพพนาม ๒ - สังขยาราสิ


สงฺขฺยาราสิ
กลุ่มสังขยาศัพท์ (การนับ)
เอก ศัพท์ (หนึ่ง)
เอกสทฺโท สงฺขฺยตฺเถ ปวตฺโต เอกวจนนฺโตว, อญฺญตฺเถ ปวตฺโต เอกพหุวจนนฺโตฯ
ตตฺถ สงฺขฺยตฺเถ เอกา อิตฺถี, เอกํ, เอกาย, เอกิสฺสา อิจฺจาทิฯ ปุนฺนปุํสเกสุ เอกวจเนสุ ปุริส,  จิตฺตรูปเมวฯ
อญฺญตฺเถ เอกา อิตฺถี, เอกา อิตฺถิโย, เอกํ, เอกา, เอกาย, เอกิสฺสา, เอกาหิ, เอกาภิ อิจฺจาทิฯ
เอโก ปุริโส, เอเก, เอกํ, เอเก, เอเกน, เอเกหิ, เอเกภิ, เอกสฺส, เอเกสํ, เอเกสานํฯ ปุลฺลิงฺค สพฺพสมํฯ
เอกํ กุลํ, เอกานิ กุลานิ, เอกํ กุลํ, เอกานิ กุลานิฯ เสสํ ปุลฺลิงฺคสมํฯ
เอก ศัพท์ ที่เป็นไปในอรรถแห่งการนับ มีวิภัตติเอกวจนะเป็นที่สุดเท่านั้น, ที่เป็นไปในอรรถอื่น[๑](จากอรรถการนับนั้น) มีทั้งที่มีวิภัตติเอกวจนะและพหุวจนะวิภัตติเป็นที่สุด.

ในอรรถทั้ง ๒ นั้น
เอก ศัพท์ ที่เป็นไปในอรรถแห่งการนับ (มีรูปวิภัตติ ดังนี้)
อิตถีลิงค์ เช่น
ปฐมาวิภัตติ
เอกา อิตฺถี หญิง ๑ คน,

ทุติยาวิภัตติ
เอกํ, เอกาย,

ตติยาวิภัตติ
เอกิสฺสา

ในปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ เอกวจนะ มีรูปเหมือนปุริส และ จิตฺต ศัพท์ ฯ

เอกศัพท์ ที่เป็นไปในอรรถอื่นๆ (มีรูปวิภัตติ ดังนี้)
อิตถีลิงค์ เช่น
ปฐมาวิภัตติ
เอกา อิตฺถี หญิงอื่น
เอกา อิตฺถิโย หญิงทั้งหลายอื่น
ทุติยาวิภัตติ
เอกํ
เอกา

ตติยาวิภัตติ
เอกาย, เอกิสฺสา
เอกาหิ, เอกาภิ

ปุงลิงค์เหมือน สพฺพ ศัพท์ที่เป็นปุงลิงค์ เช่น
ปฐมาวิภัตติ
เอโก ปุริโส บุรุษอื่น
เอเก

ทุติยาวิภัตติ
เอกํ
เอเก

ตติยาวิภัตติ
เอเกน
เอเกหิ, เอเกภิ

จตุตถีวิภัตติ
เอกสฺส
เอเกสํ, เอเกสานํ ดังนี้เป็นต้น

นปุงสกลิงค์ เช่น
ปฐมาวิภัตติ
เอกํ กุลํ ตระกูลอื่น
เอกานิ กุลานิ ตระกูลทั้งหลาย อื่น

ทุติยาวิภัตติ
เอกํ กุลํ ซึ่งตระกูลอื่น
เอกานิ กุลานิ ซึ่งตระกูลทั้งหลายอื่น
รูปวิภัตติที่เหลือเหมือนในปุงลิงค์.
กปจฺจเย ปเร สพฺพาทิรูปํ นตฺถิฯ
‘‘เอกิกา สยเน เสตุ, ยา เต อมฺเพ อวาหริ [ชา. ๑.๔.๑๗๕]ฯ เอกากินี คหฏฺฐาหํ, มาตุยา ปริโจทิตา’’ติ [อป. เถรี ๒.๓.๑๘๘] ปาฬิ, เอกโก ปุริโส, เอกกํ, เอกเกนฯ เอกกํ กุลํ อิจฺจาทิ เอกวจนนฺตเมว, เอกกานํ พหุตฺเต วตฺตพฺเพ ทฺเว เอกกา, ทฺเว เอกเก, ทฺวีหิ เอกเกหีติ ลพฺภติฯ ‘‘ปญฺจาโล จ วิเทโห จ, อุโภ เอกา ภวนฺตุ เต’’ติ ปาฬิฯ อิมินา นเยน พหุวจนมฺปิ ลพฺภติฯ เอกาติ มิสฺสกาฯ
ในที่มี ก ปัจจัย เป็นเบื้องหลัง (คือ เอกก) จะไม่มีรูปตามระบบสัพพนามมี สพฺพ เป็นต้น.  กรณีนี้ จะมีวิภัตติเอกวจนะเป็นที่สุดเท่านั้น คือ
(อิตถีลิงค์ เช่น เอกิกา, เอกากินี เป็นต้น) ดังพระบาฬีนี้

อลงฺกตา สุวสนา                      มาลินี จนฺทนุสฺสทา 
เอกิกา สยเน เสตุ,                   ยา เต อมฺเพ อวาหริ. [ขุ.ชา. ๒๗/๖๗๗]
หญิงคนใด ลักมะม่วงทั้งหลายของท่าน หญิงคนนั้น ถึงจะมีที่อยู่สะอาดตบแต่งร่างกายทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยกระแจะจันทน์ ก็จงนอนอยู่บนที่นอนแต่เพียงคนเดียวเถิด

เอกากินี คหฏฺฐาหํ,                  มาตุยา ปริโจทิตา[๒]
                สากิยมฺหิ กุเล ชาตา                ปุตฺเต พุทฺธานุชา ตุวํ  [ขุ.อป. เถรี ๓๓/๑๖๕]
ดิฉันยังเป็นคฤหัสถ์อยู่ผู้เดียว พระมารดาทรงตักเตือนว่า ดูกรพระราชสุดา ลูกรักเกิดในศากยสกุล เป็นพระอนุชาแห่งพระพุทธเจ้า.

(ปุงลิงค์ เช่น) เอกโก ปุริโส บุรุษคนหนึ่ง, เอกกํ, เอกเกน, (นปุงสกลิงค์ เช่น) เอกกํ กุลํ ตระหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.
ในที่อันควรจะใช้ เอกก ศัพท์ เป็นพหุวจนะ ก็จะมีรูปว่า เทฺว เอกกา (ผู้เดียว ๒ คน), เทฺว เอกเก,  ทฺวีหิ เอกเกหิ. อย่างไรก็ตาม แม้พหุวจนะ อาจพบได้โดยนัยนี้อีก ดังมีพระบาฬีเป็นหลักฐานว่า
ภาสนฺตุ มุทุกา วาจา                ยา วาจา ปฏินนฺทิตา   
ปญฺจาโล จ วิเทโห จ,                อุโภ เอกา ภวนฺตุ เต (ขุ.ชา. ๒๘/๖๐๒)
จงกล่าววาจาอันอ่อนหวาน เป็นวาจาที่น่ายินดี. ปัญจาลนคร กับวิเทหรัฐทั้งสองนั้น จงเป็นรัฐอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ในพระบาฬีนี้ บทว่า เอกา มีความหมายว่า มิสฺสกะ แปลว่า ผสม

ปฏิเสธยุตฺเต ปน อเนกา อิตฺถิโย, อเนกาสํ อิตฺถีนํฯ อเนเก ปุริสา, อเนเกสํ ปุริสานํฯ อเนกานิ กุลานิ, อเนเกสํ กุลานํฯ ปาฬิยํ ปน ‘‘เนกานิ ธญฺญคณานิ, เนกานิ เขตฺตคณานิ, เนกานํ ธญฺญคณานํ, เนกานํ เขตฺตคณาน’’นฺติปิ อตฺถิฯ
แต่ในที่ประกอบด้วย (น นิบาต) ที่มีอรรถปฏิเสธ (จะมีรูปตามระบบสัพพนามนั้น) เช่น
อเนกา อิตฺถิโย หญิงทั้งหลายไม่ใช่น้อย
อเนกาสํ อิตฺถีนํ แห่งหญิงท.มิใช่น้อย

อเนเก ปุริสา บุรุษทั้งหลายไม่ใช่น้อย
อเนเกสํ ปุริสานํ แห่งบุรุษท.มิใช่น้อย

อเนกานิ กุลานิ ตระกูลทั้งหลายไม่ใช่น้อย
อเนเกสํ กุลานํ แห่งตระกูลท.มิใช่น้อย

อย่างไรก็ตาม ในพระบาฬีพบรูปที่ไม่มีระบบสรรพนามนั้น เช่น
โส  สกฺกุเณยฺย  เนกานิ   นิกฺขคณานิ   ปหาย   เนกานิ  ธญฺญคณานิ  ปหาย  เนกานิ เขตฺตคณานิ   ปหาย   เนกานิ   วตฺถุคณานิ   ปหาย  เนกานิ  ภริยคณานิ  ปหาย  เนกานิ  ทาสคณานิ  ปหาย เนกานิ  ทาสิคณานิ  ปหาย   เกสมสฺสุํ   โอหาเรตฺวา   กาสายานิ   วตฺถานิ   อจฺฉาเทตฺวา  อคารสฺมา   อนคาริยํ  ปพฺพชิตุํ. (ม.ม.๑๓/๑๘๐)
เขาอาจ ละทองหลายร้อยแท่ง ละข้าวเปลือก นา ที่ดิน ภรรยา ทาส ทาสี เป็นอันมาก แล้วปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวช เป็นบรรพชิตได้.

คหปติ   วา   คหปติปุตฺโต   วา  อทฺโธ   มหทฺธโน   มหาโภโค  เนกานํ  นิกฺขคณานํ  จโย  เนกานํ  ธญฺญฺคณานํ   จโย   เนกานํ   เขตฺตคณานํ   จโย   เนกานํ  วตฺถุคณานํ  จโย  เนกานํ  ภริยคณานํ   จโย  เนกานํ  ทาสคณานํ  จโย  เนกานํ  ทาสิคณานํ   จโย. (ม.ม.๑๓/๑๘๐)
คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก สะสมทองหลายร้อยแท่ง สะสมข้าวเปลือก นา ที่ดิน ภรรยา ทาส ทาสี ไว้เป็นอันมาก

เอกจฺจ, เอกจฺจิย, กติ, พหุสทฺทาปิ อิธ วตฺตพฺพาฯ
แม้ศัพท์เหล่านี้ คือ เอกจฺจ (บางพวก) เอกจฺจิย (บางพวก) กติ (เท่าไร) และ พหุ (มาก) ก็ควรกล่าวไว้ในที่นี้.

เอกจฺจ ศัพท์
เอกจฺจา อิตฺถี, เอกจฺจา, เอกจฺจาโยติ สพฺพํ กญฺญาสมํฯ
เอกจฺโจ ปุริโสฯ
รูปวิภัตติทั้งหมดของ เอกจฺจ ศัพท์ ในอิตถีลิงค์ เหมือน กญฺญา ศัพท์ เช่น
เอกจฺจา อิตฺถี หญิงบางพวก, เอกจฺจา, เอกจฺจาโย หญิงท. บางพวก.

ในปุงลิงค์ ปฐมาวิภัตติ
เอกวจนะ
เอกจฺโจ ปุริโส

พหุวจนะ (แปลง โย ท้าย เอกจฺจ ศัพท์ เป็น เอ  ด้วยสูตรนี้)
๑๓๕. เอกจฺจาทีหฺยโต [‘เอกจฺจาทีหโต’ (พหูสุ)]
เอ เป็นอาเทสของ โย หลังจาก เอกจฺจ เป็นต้น.

อการนฺเตหิ เอกจฺจาทีหิ โยนํ เฏ โหติฯ
เอ เป็นอาเทสของ โย หลังจากศัพท์ทั้งหลายมี เอกจฺจ ศัพท์เป็นต้น ที่เป็น อการันต์.

เอกจฺเจ ปุริสา, เอกจฺเจ ปุริเสฯ เสสํ ปุริสสมํฯ อาทิสทฺเทน อปฺเปกจฺจ, เอกติย, อุภาทโย สงฺคยฺหนฺติฯ อปฺเปกจฺเจ ปุริสา, เอกติเย ปุริสา, อุเภ ปุริสาฯ
เอกจฺจํ จิตฺตํฯ
สำเร็จรูปเป็น
เอกจฺเจ ปุริสา,

ทุติยาวิภัตติ
เอกจฺเจ ปุริเสฯ  

ในวิภัตติที่เหลือเหมือนปุริสศัพท์.

ด้วย อาทิ ศัพท์ ในสูตรนี้ (ว่า เอกจฺจาทีหิ มี เอกจฺจ ศัพท์เป็นต้น) รวมศัพท์ต่อไปนี้ คือ อปฺเปกจฺจ (บางคน), เอกติย (หนึ่ง) อุภ ทั้งสอง เป็นต้น ซึ่งมีรูปวิภัตติอย่างนี้ คือ
อปฺเปกจฺเจ ปุริสา บุรุษบางคน
เอกติเย ปุริสา บุรุษ หนึ่งคน
อุเภ ปุริสา บุรุษทั้งสองคน.

ในนปุงสกลิงค์ ปฐมาวิภัตติ
เอกวจนะ
เอกจฺจํ จิตบางดวง

พหุวจนะ (เอกจฺจานิ - ไม่แปลง นิ ท้าย  เป็น อา ด้วยสูตรนี้)
๒๓๖. น นิสฺส ฏา
ความเป็น อา แห่ง นิ ท้าย เอกจฺจ ศัพท์เป็นต้น ย่อมไม่มี[๓]

เอกจฺจาทีหิ นิสฺส ฏา น โหติฯ
เอกจฺจานิ จิตฺตานิฯ เสสํ จิตฺตสมํฯ
ความเป็น อา แห่ง นิ ท้าย เอกจฺจ ศัพท์เป็นต้น ย่อมไม่มี
เอกจฺจานิ จิตฺตานิ จิตทั้งหลายบางดวง.
รูปในวิภัตติที่เหลือ เหมือน จิตฺต ศัพท์

เอกจฺจิย ศัพท์เป็นต้น
เอกจฺจิย, เอกจฺเจยฺย, เอกติยสทฺทา กญฺญา, ปุริส, จิตฺตนยาฯ ‘‘อิตฺถีปิ หิ เอกจฺจิยา, เสยฺยา  โปส ชนาธิป [สํ. นิ. ๑.๑๒๗]ฯ สจฺจํ กิเรวมาหํสุ, นรา เอกจฺจิยา อิธฯ กฏฺฐํ นิปฺลวิตํ เสยฺโย, น ตฺเวเวกจฺจิโย นโร’’ติ [ชา. ๑.๑.๗๓] ‘‘ปริวาริตา มุญฺจเร เอกจฺเจยฺยา’’ติ จ ‘‘น วิสฺสเส เอกติเยสู’’ติ จ ปาฬี ตตฺถนิปฺลวิตนฺติ อุทกโต อุพฺภตํฯ
เอกจฺจิย, เอกจฺเจยฺย และ เอกติย ศัพท์ มีนัยเดียวกับ กญฺญา ปุริส และ จิตฺต ศัพท์. มีพระบาฬีเป็นตัวอย่างดังนี้ คือ

เอกจฺจิย ศัพท์
                อิตฺถีปิ หิ เอกจฺจิยา                              เสยฺยา  โปส ชนาธิป 
                เมธาวินี สีลวตี                        สสฺสุเทวา ปติพฺพตา.   [สํ.ส. ๑๕/๓๗๗]
ดูกรมหาบพิตรผู้เป็นใหญ่ยิ่งกว่าปวงชน แท้จริง แม้สตรีบางคนก็เป็นผู้ประเสริฐ พระองค์จงชุบเลี้ยงไว้ สตรีที่มีปัญญา มีศีล ปฏิบัติแม่ผัวพ่อผัวดังเทวดา จงรักสามี ฯ
             สจฺจํ กิเรวมาหํสุ                                   นรา เอกจฺจิยา อิธ 
                กฏฺฐํ นิปฺลวิตํ  เสยฺโย               น เตฺวเวกจฺจิโย นโรติ. [ขุ.ชา.๒๗/๗๓]
ได้ยินว่า นรชนบางพวก ในโลกนี้ ได้กล่าวความจริงไว้อย่างนี้ว่า การเก็บไม้ที่ลอยน้ำขึ้นมายังดีกว่า ช่วยคนอกตัญญูบางคนขึ้นจากน้ำ.
ในพระบาฬีนี้ บทว่า นิปฺลวิตํ ความเท่ากับ อุทกโต อุพฺภตํ แปลความว่า ลอยขึ้นจากน้ำ.
เอกจฺเจยฺย ศัพท์         
                                        หตฺถีหิ อสฺเสหิ รเถหิ ปตฺติหิ    
                                        ปริวาริตา มุญฺจเร เอกจฺเจยฺยา 
                                        น มจฺจุโน มุญฺจิตุมุสฺสหนฺติ      
                                         ตมฺเม มตี โหติ จรามิ ธมฺมํ.    [ขุ.ชา.๒๗/๒๒๖๔]  
   พระราชาบางจำพวกแวดล้อมด้วยพลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า ย่อมพ้นจากเงื้อมมือของข้าศึก แต่ก็ไม่อาจจะพ้นจากสำนักของมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

เอกติย ศัพท์
                                 น วิสฺสเส เอกติเยสุ เอวํ 
                                        อคาริสุ ปพฺพชิเตสุ จาปิ  
                                        สาธูปิ หุตฺวาน อสาธุ โหนฺติ  
                                        อสาธุ หุตฺวา ปุน สาธุ โหนฺติ  (ขุ.เถรคาถา ๒๖/๓๙๖)
   บุคคลไม่ควรคุ้นเคย ในบุคคลบางพวก จะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม หรือเบื้องต้น เขาจะเป็นคนดี ตอนปลายเป็นคนไม่ดีก็ตาม หรือ เคยเป็นคนไม่ดีแล้วกลับเป็นคนดีอีก ก็ตาม.

กติ ศัพท์
กติสทฺโท พหุวจนนฺโตวฯ
กติศัพท์ มีวิภัตติพหุวจนะเป็นที่สุดเท่านั้น
ในอิตถีลิงค์  ปฐมาวิภัตติ (แปลง โย ท้ายกติเป็น อิ ด้วยสูตรนี้)
๒๓๗. ฏิกติมฺหา [รู. ๑๒๐ ปิฏฺเฐ]
อิ เป็นอาเทสของ โย อันเป็นเบื้องหลังจาก กติ.

กติมฺหา โยนํ ฏิ โหติฯ
อิ เป็นอาเทสของ โย อันเป็นเบื้องหลังจาก กติ.
กติ อิตฺถิโย, กติ ปุริสา, กติ ปุริเส, กติ จิตฺตานิฯ กติหิ อิตฺถีหิ, กติหิ ปุริเสหิ, กติหิ จิตฺเตหิฯ
กติ อิตฺถิโย = หญิงท. เท่าไร
กติ ปุริสา = บุรุษท. เท่าไร

ทุติยาวิภัตติ
กติ ปุริเส  = ซึ่งบุรุษท. เท่าไร
กติ จิตฺตานิ = ซึ่งจิตท. เท่าไร

ตติยาวิภัตติ
กติหิ อิตฺถีหิ = ด้วยหญิงท. เท่าไร
กติหิ ปุริเสหิ = ด้วยบุรุษท. เท่าไร
กติหิ จิตฺเตหิ = ด้วยจิตท. เท่าไร

จตุตถีวิภัตติ และ ฉัฏฐีวิภัตติ (ลง น อาคม เพราะ นํวิภัตติ ด้วยสูตรนี้)
๒๓๘. พหุกตีนํ [‘พหุ กตินฺนํ’ (พหูสุ)]
ในที่สุดแห่ง พหุ และ กติ ลง น อาคม เพราะนํวิภัตติ

นํมฺหิ พหุ, กตีนํ อนฺเต นุก โหติฯ
ในที่สุดแห่ง พหุ และ กติ ศัพท์ ลง น อาคม เพราะ นํวิภัตติ

กตินฺนํ อิตฺถีนํ, กตินฺนํ ปุริสานํ, กตินฺนํ จิตฺตานํ, อยํ นาคโม พหุลํ น โหติ, ‘กตินํ ติถีนํ ปูรณี กติมีติ จ ทิสฺสติฯ ‘‘พหูนํ วสฺสสตานํ, พหูนํ วสฺสสหสฺสาน’’นฺติ จ ‘‘พหูนํ กุสลธมฺมานํ, พหูนํ อกุสลธมฺมาน’’นฺติ จ ‘‘พหูนํ วต อตฺถาย, อุปฺปชฺชิํสุ ตถาคตา’’ติ [วิ. ว. ๘๐๗] จ ปาฬีฯ
กตินฺนํ อิตฺถีนํ  (แก่หญิงท., แห่งหญิงท. เท่าไร)
กตินฺนํ ปุริสานํ  (แก่บุรุษท., แห่งบุรุษท. เท่าไร)
กตินฺนํ จิตฺตานํ (แก่จิตท., แห่งจิตท. เท่าไร)

การลง น อาคมนี้ มีไม่มาก โดยพบรูป กตินํ และ พหูนํ ในพระบาฬี (มากกว่า)[๔] เช่น
กตินํ ติถีนํ ปูรณี กติมี[๕]
ที่เต็มแห่งดิถีเท่าไร ชื่อว่า กติมี ดิถีลำดับที่เท่าไร.

อถ โข อานนฺท ราชา มฆเทโว พหูนํ วสฺสานํ พหูนํ วสฺสสตานํ พหูนํ วสฺสสหสฺสานํ อจฺจเยน    กปฺปกํ อามนฺเตสิ. (ม.ม. ๑๓/๔๕๓)
ดูกรอานนท์ ครั้งนั้น ด้วยล่วงปีเป็นอันมาก ล่วงร้อยปีเป็นอันมาก ล่วงพันปีเป็นอันมาก พระเจ้ามฆเทวะ รับสั่งกะช่างกัลบก ว่า
พหูนํ กุสลธมฺมานํ [๖]
กุศลธรรมเป็นอันมาก

พหูนํ อกุสลธมฺมานํ
อกุศลธรรมเป็นอันมาก.
               
                พหูนํ วต อตฺถาย,                    อุปฺปชฺชิํสุ[๗]  ตถาคตา
                ยตฺถ การํ กริตฺวาน                  สคฺคํ คจฺฉนฺติ ทายกาติ.   (ขุ.วิ. ๒๖/๔๗)
ทายกทั้งหลายได้กระทำสักการะบูชาในพระตถาคตเหล่าใดไว้แล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ พระตถาคตเหล่านั้นย่อมเสด็จอุบัติขึ้น เพื่อประโยชน์แก่ชน เป็นอันมาก หนอ.
กติสุ อิตฺถีสุ, กติสุ ปุริเสสุ, กติสุ จิตฺเตสุฯ
สัตตมีวิภัตติ
กติสุ อิตฺถีสุ (ในหญิงท. เท่าไร)
กติสุ ปุริเสสุ  (ในบุรุษท. เท่าไร)
กติสุ จิตฺเตสุ  (ในจิตท. เท่าไร)
พหุศัพท์
พหุสทฺเท ทฺวีสุ นํวจเนสุ พหุนฺนํ, พหุนฺนนฺติ วตฺตพฺพํฯ เสสํ เธนุ, ภิกฺขุ, อายุสทิสํฯ
กปจฺจเย กญฺญา, ปุริส, จิตฺตสทิสํ, พหู อิตฺถิโย, พหุกา อิตฺถิโยฯ พหู ปุริสา, พหโว ปุริสา, พหุกา        ปุริสาฯ พหูนิ จิตฺตานิ, พหุกานิ จิตฺตานิ อิจฺจาทินา วตฺตพฺพํฯ พหูนํ สมุทายาเปกฺขเน สติ เอกวจนมฺปิ   ลพฺภติ, ‘‘พหุชนสฺส อตฺถาย พหุชนสฺส หิตาย, พหุโน ชนสฺส อตฺถาย หิตายา’’ติ [อ. นิ. ๑.๑๔๑] ปาฬิฯ
ในพหุศัพท์ ควรกล่าวรูปใน นํ วิภัตติ ทั้ง ๒ คือ จตุตถีวิภัตติ ว่า พหุนฺนํ และฉัฏฐีวิภัตติว่า พหุนฺนํ เหมือนกัน.  ในรูปวิภัตติที่เหลือ อิตถีลิงค์เหมือน เธนุ ศัพท์, ปุงลิงค์เหมือน ภิกฺขุ ศัพท์ และ นปุงสกลิงค์เหมือน อายุ ศัพท์.
ในที่ลง กปัจจัย ในอิตถีลิงค์จะมีรูปวิภัตติเหมือน กญฺญา, ในปุงลิงค์เหมือน ปุริส และในนปุงสกลิงค์ เหมือน จิตฺต ศัพท์. เพราะฉะนั้น จึงควรแสดงรูปวิภัตติ โดยนัยนี้ คือ
พหู อิตฺถิโย, พหุกา อิตฺถิโย = หญิงท.จำนวนมาก.
พหู ปุริสา, พหโว ปุริสา, พหุกา ปุริสา = บุรุษท. จำนวนมาก
พหูนิ จิตฺตานิ, พหุกานิ จิตฺตานิ = จิตท. จำนวนมาก.

กรณีที่เล็งเอากลุ่ม พหุ ศัพท์ สามารถใช้เป็นเอกวจนะได้ มีพระบาฬีเป็นตัวอย่างการใช้ ด้งนี้
พหุชนสฺส อตฺถาย พหุชนสฺส หิตาย,
เพื่อประโยชน์ แก่ชนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล แก่ชนหมู่มาก

พหุโน ชนสฺส อตฺถาย หิตาย สุขาย (อํ.ปญฺจก ๒๒/๔๒)
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชน เป็นอันมาก

อุภ ศัพท์
อุภสทฺโท พหุวจนนฺโตว, ‘อุภโคหิ โฏติ โยนํ โฏ,  อุโภ อิตฺถิโย, ปุริสา, กุลานิ คจฺฉนฺติ, อุโภ อิตฺถิโย, ปุริสา, กุลานิ ปสฺสติฯ
อุภ ศัพท์ มีวิภัตติพหุวจนะเป็นที่สุดเท่านั้น.
ปฐมาวิภัตติ
แปลง โย เป็น โอ ด้วยสูตร อุภโคหิ โฏ (๑๐๒) โยท้าย อุภ และ โค ศัพท์ เป็น โอ.
อุโภ อิตฺถิโย คจฺฉนฺติ = หญิงท. สองคน กำลังไป.
อุโภ ปุริสา คจฺฉนฺติ = บุรุษท. สอง กำลังไป.
อุโภ กุลานิ คจฺฉนฺติ = ตระกูลท. สอง กำลังไป.

ทุติยาวิภัตติ
อุโภ อิตฺถิโย ปสฺสติ = ย่อมเห็น ซึ่งหญิงท. สอง.
อุโภ ปุริสา ปสฺสติ  = ย่อมเห็น ซึ่งบุรุษท. สอง.
อุโภ กุลานิ ปสฺสติ = ย่อมเห็น ซึ่งตระกูลท. สอง.

ตติยาวิภัตติ ปัญจมีวิภัตติ และ สัตตมีวิภัตติ (แปลงสระที่สุดของ อุภ ศัพท์ เป็น โอ ด้วยสูตรนี้)
๒๓๙. สุหิสุภสฺโส [นี. ๓๑๓ (รู. ๑๐๙ ปิฏฺเฐ)]
เพราะ สุ และ หิวิภัตติ สระที่สุดของ อุภ ศัพท์ เป็น โอ.

สุ, หิสุ อุภสฺส อนฺโต โอ โหติฯ  อุโภหิ, อุโภสุฯ
สระที่สุดของ อุโภ ศัพท์ เป็น โอ ในเพราะ สุ และ หิวิภัตติ.
อุโภหิ,
อุโภสุ.

จตุตถีวิภัตติ และ ฉัฏฐีวิภัตติ (แปลง นํ เป็น อินฺนํ ด้วยสูตรนี้)
๒๔๐. อุภินฺนํ [ก. ๘๖; นีรู. ๒๒๗; นี. ๓๔๑]
นํ วิภัตติ ท้าย อุภ ศัพท์ เป็น อินฺนํ

อุภมฺหา นํวจนสฺส อินฺนํ โหติฯ
อุภินฺนํฯ สพฺพตฺถ อิตฺถิ, ปุริส, กุเลหิ โยเชตพฺพํฯ
แปลง นํ วิภัตติ ท้าย อุภ ศัพท์ เป็น อินฺนํ
อุภินฺนํ
ในวิภัตติทั้งปวง พึงประกอบเข้ากับ อิตฺถีศัพท์ ปุริสศัพท์ และ กุล ศัพท์[๘]

ทฺวิ ศัพท์
ปฐมาวิภัตติ และ ทุติยาวิภัตติ (แปลง ทฺวิ ศัพท์ พร้อมทั้งโย วิภัตติ เป็น ทุเว และ เทฺว ด้วยสูตรนี้)
๒๔๑. โยมฺหิ ทฺวินฺนํ ทุเวทฺเว [ก. ๑๓๒; รู. ๒๒๘; นิ. ๓๑๐]
เพราะ โย วิภัตติ แปลง ทฺวิ พร้อมทั้งวิภัตติ เป็น ทุเว และ เทฺว.

โยสุ สวิภตฺติสฺส ทฺวิสฺส ทุเว, ทฺเว โหนฺติฯ ทฺวินฺนนฺติ วจนํ ทฺวิสฺส พหุวจนนฺตนิยมตฺถํฯ
ทุเว และ เทฺว เป็นอาเทส ของ ทฺวิ ศัพท์ พร้อมกับวิภัตติ ในเพราะ โย วิภัตติ.
การกล่าว “ทฺวินฺนํ” มีประโยชน์ในการกำหนดความมีพหุวจนะเป็นที่สุดของ ทฺวิ ศัพท์. [๙]

ทฺเว อิตฺถิโย, ทฺเว ปุริสา, ทฺเว ปุริเส, ทฺเว จิตฺตานิ, ทุเว อิตฺถิโย, ทุเว ปุริสา, ทุเว ปุริเส, ทุเว จิตฺตานิ, ทฺวีหิ, ทฺวีภิฯ
ปฐมาวิภัตติ
ทฺเว อิตฺถิโย = หญิงท.สอง
ทฺเว ปุริสา = บุุรุษท.สอง
ทุเว อิตฺถิโย = หญิงท.สอง
ทุเว ปุริสา = บุรุษท.สอง
ทุติยาวิภัตติ
ทฺเว อิตฺถิโย = ซึ่งหญิงท.สอง
ทฺเว ปุริเส = ซึ่งบุรุษท. สอง
ทฺเว จิตฺตานิ = ซึ่งจิตท. สอง
ทฺเว อิตฺถิโย = ซึ่งหญิงท.สอง
ทุเว ปุริเส = ซึ่งบุรุษท. สอง
ทุเว จิตฺตานิ = ซึ่งจิตท. สอง

ตติยาวิภัตติ
ทฺวีหิ, ทฺวีภิฯ

จตุตถีวิภัตติ (ลง น อาคมท้าย ทฺวิ ศัพท์ ด้วยสูตรนี้)
๒๔๒. นํมฺหิ นุก ทฺวาทีนํ สตฺตรสนฺนํ [ก. ๖๗; นี. ๒๒๙; นี. ๒๑๔]
เพราะนํ ลง น อาคม ในที่สุดแห่งสังขยาศัพท์ ๑๗ ศัพท์มี ทฺวิเป็นต้น

นํมฺหิ ปเร ทฺวาทีนํ อฏฺฐารสนฺตานํ สตฺตรสนฺนํ สงฺขฺยานํ อนฺเต นุก โหติฯ อุ-กาโร อุจฺจารณตฺโถฯ           กานุพนฺธํ ทิสฺวา อนฺเตติ ญายติฯ
ทฺวินฺนํฯ
เพราะ นํ เป็นเบื้องหลัง ลง น อาคม ในที่สุดแห่งสังขยาศัพท์ ๑๗ ศัพท์ มี ทฺวิ เป็นลำดับแรก จนถึง อฏฺฐารส (๒ ถึง ๑๘). ในคำว่า นุก นี้ อุ อักษร มีประโยชน์ในการออกเสียง. ส่วน ก เป็นอักษรอนุพันธ์ เมื่อเห็นแล้วรู้ได้ว่า กิจไวยากรณ์ เช่น ลงอาคม พึงมีในที่สุดของศัพท์.
ทฺวินนํ

ในจตุตถีวิภัตติมีรูปว่า ทุวินฺนํ ได้อีก โดยแปลง ทฺวิ กับวิภัตติเป็น ทุวินฺนํ ด้วยสูตรนี้
๒๔๓. ทุวินฺนํ นํมฺหิ [ก. ๑๓๒; รู. ๒๒๘; นี. ๒๔๔]
เพราะนํ แปลง ทฺวิ พร้อมทั้งวิภัตติ เป็น ทุวินฺนํ ได้บ้าง.
นํมฺหิ สวิภตฺติสฺส ทฺวิสฺส ทุวินฺนํ โหติ วาฯ
ทุวินฺนํ, ทฺวีหิ, ทฺวีภิ, ทฺวินฺนํ, ทุวินฺนํ, ทฺวีสุฯ มหาวุตฺตินา สุมฺหิ ทุเว โหติ, นาคสฺส ทุเวสุ ทนฺเตสุ นิมฺมิตา [วิ. ว. ๗๐๖], จกฺกานิ ปาเทสุ ทุเวสุ วินฺทติ [ที. นิ. ๓.๒๐๕]ฯ เอวญฺจ สติ ทุเวหิ, ทุเวภีติปิ สิทฺธเมว โหติ, อยํ ทฺวิสทฺโท อุภสทฺโท วิย อลิงฺโคฯ
เพราะ นํ ทุวินฺนํ เป็นอาเทสของ ทฺวิ อันเป็นไปกับด้วยวิภัตติ ได้บ้าง.
จตุตถีวิภัตติ
ทุวินฺนํ,

ปัญจมีวิภัตติ
ทฺวีหิ, ทฺวีภิ,

ฉัฏฐีวิภัตติ
ทฺวินฺนํ, ทุวินฺนํ,

สัตตมีวิภัตติ
ทฺวีสุฯ

ใน สุ สัตตมีวิภัตติ นอกจากรูปว่า ทฺวีสุ แล้วอาจมีรูปว่า ทุเว โดยใช้มหาสูตรสำเร็จรูป มีพระบาฬีเป็นตัวอย่างการใช้ ดังนี้

                                     นาคสฺส ทุเวสุ ทนฺเตสุ นิมฺมิตา
                                        อจฺโฉทกา ปทุมินิโย สุผุลฺลา.             [ขุ.วิ.๒๖/๔๑],
ที่งา ทั้ง ๒  ของคชสารมีสระโบกขรณี ๔ เหลี่ยมเต็มเปี่ยมด้วยน้ำใสสะอาด อันบุญกรรมเนรมิตให้

                                 จกฺกานิ ปาเทสุ ทุเวสุ วินฺทติ
                                        สมนฺตเนมีนิ สหสฺสรานิ  จ.     [ที.ปา. ๑๑/๑๓๕].
ย่อมได้ลายจักรทั้งหลาย มีซี่กำพันหนึ่ง มีกง มีดุม โดยรอบ ในฝ่าพระบาททั้ง ๒

เอวญฺจ สติ ทุเวหิ, ทุเวภีติปิ สิทฺธเมว โหติ, อยํ ทฺวิสทฺโท อุภสทฺโท วิย อลิงฺโคฯ
เพราะเหตุที่ใน สุ วิภัตติ มีรูปว่า ทุเว ได้ ดังนั้น แม้ใน หิ วิภัตติ จึงมีรูปว่า ทุเวหิ ทุเวภิ ได้เช่นกัน, ทฺวิ ศัพท์นี้ เป็นอลิงคนาม (ไม่ปรากฏลิงค์ เพราะในลิงค์ทั้่งสามมีรูปไม่ต่างกัน) เหมือน อุภ ศัพท์.


ติ ศัพท์ (สาม) และ จตุ ศัพท์ (สี่)
อิตถีลิงค์ 
ปฐมาวิภัตติ และ ทุติยาวิภัตติ (แปลง ติ และ จตุ พร้อมทั้งโย เป็น ติสฺโส และ จตสฺโส ด้วยสูตรนี้)
๒๔๔. ติสฺโส จตสฺโส โยมฺหิ สวิภตฺตีนํ [ก. ๑๓๓; รู. ๒๓๐; นี. ๓๑๑]
เพราะ โยวิภัตติ แปลง ติ และ จตุ กับวิภัตติ เป็น ติสฺโส จตสฺโส.

อิตฺถิยํ โยสุ สวิภตฺตีนนฺติ, จตุนฺนํ ติสฺโส, จตสฺโส โหนฺติฯ
ติสฺโส อิตฺถิโย, จตสฺโส อิตฺถิโยฯ
ในเพราะ โยวิภัตติ ในอิตถีลิงค์ ติสฺโส และ จตสฺโส เป็นอาเทสของ ติ และ จตุ พร้อมทั้งวิภัตติ.
ติสฺโส อิตฺถิโย = หญิงท. สาม
จตสฺโส อิตฺถิโย = หญิงท. สี่

มหาวุตฺตินา หิสุ จ ติสฺส, จตสฺสา โหนฺติ, ‘‘ติสฺเสหิ จตสฺเสหิ ปริสาหิ, จตสฺเสหิ สหิโต โลกนายโก’’ติ ปาฬีฯ ตีหิ, ตีภิ อิตฺถีหิ, จตูหิ, จตูภิ, จตุพฺภิ อิตฺถีหิฯ
นอกจากนี้ ใน หิ และ สุ วิภัตติ ก็ใช้มหาสูตร แปลง ติ และ จตุ เป็น ติสฺส และ จตสฺส ได้เช่นกัน
ติสฺเสหิ ปริสาหิ ด้วยบริษัทท. ๓
จตสฺเสหิ ปริสาหิ ด้วยบริษัทท. ๔

มีพระบาฬีเป็นต้วอย่างการใช้ว่า
จตสฺเสหิ สหิโต โลกนายโก[๑๐]
พระโลกนายกเจ้า พร้อมด้วยบริษัท ๔

ตติยาวิภัตติ
ตีหิ, ตีภิ อิตฺถีหิ = ด้วยหญิงท. ๓
จตูหิ, จตูภิ, จตุพฺภิ =  อิตฺถีหิ ด้วยหญิงท. ๔

จตุตถีวิภัตติ แปลงเฉพาะ ติ และ จตุ เป็น ติสฺส และ จตสฺส ด้วยสูตรนี้
๒๔๕. นํมฺหิ ติจตุนฺนมิตฺถิยํ ติสฺสจตสฺสา [ที. นิ. ๓.๒๐๕]
ในอิตถีลิงค์ เพราะ นํ แปลง ติ และ จตุ เป็น ติสฺส และ จตสฺส


อิตฺถิยํ นํมฺหิ ติ,จตุนฺนํ ติสฺส, จตสฺสา โหนฺติฯ
ติสฺสนฺนํ อิตฺถีนํ, จตสฺสนฺนํ อิตฺถีนํ, ติณฺณํ อิตฺถีนํ, จตุนฺนํ อิตฺถีนํ, สมโณ โคตโม จตุนฺนํ ปริสานํ สกฺกโต โหติ, จตุนฺนํ ปริสานํ ปิโย โหติ มนาโปติ [ที. นิ. ๑.๓๐๔], ติสฺเสหิ, จตสฺเสหิ, ตีหิ, ตีภิ, จตูหิ, จตูภิ, จตุพฺภิ, ติสฺสนฺนํ, จตสฺสนฺนํ, ติณฺณํ, จตุนฺนํ, ตีสุ, จตูสุฯ
ปาฬิยํ ‘‘จตสฺเสหี’’ติ ทิฏฺฐตฺตา ติสฺเสสุ, จตสฺเสสูติปิ ทิฏฺฐเมว โหติฯ
ติสฺส และ จตสฺส เป็นอาเทสของ ติ และ จตุ ในอิตถีลิงค์ เพราะ นํ วิภัตติ.
ติสฺสนฺนํ อิตฺถีนํ = แก่หญิงท. ๓
จตสฺสนฺนํ อิตฺถีนํ = แก่หญิงท. ๔

ติณฺณํ อิตฺถีนํ, = แก่หญิงท. ๓
จตุนฺนํ อิตฺถีนํ = แก่หญิงท. ๔

ติณฺณํ และ จตุนฺนํ[๑๑]  มีพระบาฬีเป็นหลักฐานการใช้ว่า
สมโณ โคตโม จตุนฺนํ ปริสานํ สกฺกโต โหติ (ที.สี.๙/๑๘๒)
พระสมณะ ผู้พระโคดม เป็นผู้อันบริษัท ๔ สักการะเคารพนับถือบูชานอบน้อม .

จตุนฺนํ ปริสานํ ปิโย โหติ มนาโป
เป็นที่รัก ที่พอใจ ของบริษัท ๔

ปัญจมีวิภัตติ
ติสฺเสหิ, จตสฺเสหิ,
ตีหิ, ตีภิ, จตูหิ, จตูภิ, จตุพฺภิ,

ฉัฏฐีวิภัตติ
ติสฺสนฺนํ, จตสฺสนฺนํ,
ติณฺณํ, จตุนฺนํ,

สัตตมีวิภัตติ
ตีสุ, จตูสุฯ

เพราะในพระบาฬีมีรูปว่า จตสฺเสหิ ดังนั้น แม้รูปว่า ติสฺเสสุ และ จตสฺเสสุ จึงใช้ได้เหมือนกัน.


ปุงลิงค์
ปฐมาวิภัตติ และ ทุติยาวิภัตติ 
(๑ - แปลง ติ และ จตุ กับโยวิภัตติ เป็น ตโย และ จตฺตาโร ด้วยสูตรนี้)
๒๔๖. ปุเม ตโย จตฺตาโร [ก. ๑๓๓; รู. ๒๓๐; นี. ๓๑๑]
เพราะโยวิภัตติ แปลง ติ และ จตุุ ในปุงลิงค์ กับวิภัตติ เป็น ตโย และ จตฺตาโร.

ปุลฺลิงฺเค โยสุ สวิภตฺตีนนฺติ, จตุนฺนํ ตโย, จตฺตาโร โหนฺติฯ
ตโย และ จตฺตาโร เป็นอาเทสของ ติ และ จตุ ในปุงลิงค์ พร้อมทั้งวิภัตติ ในเพราะโย.

ตโย ปุริสา, ตโย ปุริเส, จตฺตาโร ปุริสา, จตฺตาโร ปุริเสฯ
ตโย ปุริสา บุรุษ ท. ๓
ตโย ปุริเส ซึ่งบุรุษ ท. ๓

จตฺตาโร ปุริสา = บุรุษท. ๔
จตฺตาโร ปุริเส = ซึ่งบุรุษท. ๔

(๒ - แปลง จตุ กับวิภัตติ เป็น จตุโร ได้ด้วยสูตรนี้)
๒๔๗. จตุโร จตุสฺส[๑๒] [ก. ๗๘, ๒๐๕, ๓๑; รู. ๑๖๐; นี. ๒๓๔; ‘จตุโร วา จตุสฺส’ (พหูสุ)]
แปลง จตุ ในปุงลิงค์ กับวิภัตติ เป็น จตุโร

ปุเม สวิภตฺติสฺส จตุสทฺทสฺส จตุโร โหติฯ
จตุโร ปุริสา, จตุโร ปุริเสฯ กถํ จตุโร นิมิตฺเต นาทสฺสิํ, จตุโร ผลมุตฺตเมติ? ‘‘ลิงฺควิปลฺลาสา’’ติ วุตฺติยํ วุตฺตํ, ตีหิ, ตีภิ, จตูหิ, จตูภิ, จตุพฺภิฯ
จตุโร เป็นอาเทสของ จตุศัพท์ ในปุงลิงค์ กับวิภัตติ.
จตุโร ปุริสา = บุรุษท. ๔
จตุโร ปุริเส = ซึ่งบุรุษท. ๔
ถาม จตุโร อาเทส ใช้ในปุงลิงค์มิใช่หรือ เหตุไรในพระบาฬีดังต่อไปนี้จึงใช้ จตุโร ในนปุงสกลิงค์
จตุโร นิมิตฺเต นาทสฺสิํ[๑๓],          ฌานรติสมปฺปิโต. (ขุ.พุทฺธ ๓๓/๓๕)
เราเป็นผู้เปี่ยมด้วยความยินดีในฌาน  จึงไม่ได้เห็นนิมิต   ประการ

กสฺสจิ เทติ สามญฺญํ,                จตุโร ผลมุตฺตเม; (ขุ.พุทฺธ ๓๓/๓)
ทรงประทานสามัญผล อันสูงสุด ให้แก่คนบางคน 
ตอบ ในคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์ ท่านอธิบายไว้ในวุตติของสูตร จตุโร วา จตุสฺส (๒/๒๐๘) ว่า เป็นวิภัตติวิปัลลาส (นัยที่เปลี่ยนวิภัตติ)

ตติยาวิภัตติ
ตีหิ, ตีภิ
จตูหิ, จตูภิ, จตุพฺภิ.

(จตุตถีวิภัตติ) แปลง นํ ท้าย ติ ศัพท์ เป็น อิณฺณํ และ อิณฺณนฺนํ ด้วยสูตรนี้
๒๔๘. อิณฺณํอิณฺณนฺนํ ติโต ฌา [ก. ๘๗; รู. ๒๓๑; นี. ๒๔๓; ‘ณฺณํณฺณนฺนํติโก ฌา’ (พหูสุ)]
แปลง นํ ท้าย ติ ที่ชื่อว่า ฌ เป็น อิณฺณํ และ อิณฺณนฺนํ.

ฌสญฺญมฺหา ติมฺหา นํวจนสฺส อิณฺณํ, อิณฺณนฺนํ โหนฺติฯ
อิณฺณํ และ อิณฺณนฺนํ เป็นอาเทสของ นํวิภัตติ ท้าย ติ ศัพท์ ที่มีชื่อว่า ฌ.

ติณฺณํ, ติณฺณนฺนํ, จตุนฺนํ, ตีหิ, ตีภิ, จตูหิ, จตูภิ, จตุพฺภิ, ติณฺณํ, ติณฺณนฺนํ, จตุนฺนํ, ตีสุ, จตูสุฯ
จตุตถีวิภัตติ
ติณฺณํ, ติณฺณนฺนํ
จตุนฺนํ

ปัญจมีวิภัตติ
ตีหิ, ตีภิ
จตูหิ, จตูภิ, จตุพฺภิ,

ฉัฏฐีวิภัตติ
ติณฺณํ, ติณฺณนฺนํ
จตุนฺนํ

สัตตมีวิภัตติ
ตีสุ
จตูสุ

นปุงสกลิงค์
ปฐมาวิภัตติ แปลง ติ และ จตุ กับวิภัตติเป็น ตีณิ และ จตฺตาริ ด้วยสูตรนี้

๒๔๙. ตีณิจตฺตาริ นปุํสเก [ก. ๑๓๓; รู. ๒๓๐; นี. ๓๑๑]
เพราะ โย วิภัตติ แปลง ติ และ จตุ ในนปุงสกลิงค์ พร้อมทั้งวิภัตติ เป็น ตีณิ และ จตฺตาริ

นปุํสเก โยสุ สวิภตฺตีนนฺติ, จตุนฺนํ ตีณิ, จตฺตาริ โหนฺติฯ ตีณิ จิตฺตานิ, จตฺตาริ จิตฺตานิฯ
เพราะโย ตีณิ และ จตฺตาริ เป็นอาเทสของ ติ และ จตุ ในนปุงสกลิงค์ อันเป็นไปกับด้วยวิภัตติ.
ปฐมาวิภัตติ
ตีณิ จิตฺตานิ = จิตท. ๓
จตฺตาริ จิตฺตานิ = จิตท. ๔
เสสํ ปุลฺลิงฺคสมํฯ
รูปวิภัตติที่เหลือ เหมือนในปุงลิงค์.

(วิปัลลาสนัย)
วจนสิลิฏฺฐตฺเต ปน สติ วิสทิสลิงฺควจนานมฺปิ ปทานํ อญฺญมญฺญสํโยโค โหติ, จตฺตาโร สติปฏฺฐานา [ที. นิ. ๓.๑๔๕], จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา [ที. นิ. ๓.๑๔๕], ตโย มหาภูตา, ตโย มหาภูเต [ปฏฺฐา. ๑.๑.๕๘], สพฺเพ มาลา อุเปนฺติ มํ [ธุ. ๓.๖], สพฺเพ กญฺญา อุเปนฺติ มํ [ธุ. ๓.๖], สพฺเพ รตนา อุเปนฺติ มํ [ธุ. ๓.๖],     สพฺเพ ยานา อุเปนฺติ มํ [ธุ. ๓.๖], อวิชฺชาย สติ สงฺขารา โหนฺติ, สงฺขาเรสุ สติ วิญฺญาณํ โหติ [สํ. นิ. ๒.๕๐] อิจฺจาทิฯ
คาถาสุ วิปลฺลาสาปิ พหุลํ ทิสฺสนฺติ, อญฺเญ ธมฺมานิ เทเสนฺติ, เอวํ ธมฺมานิ สุตฺวาน, สตญฺจ ธมฺมานิ    สุกิตฺติตานิ สุตฺวา, อตฺถานิ จินฺตยิตฺวาน, อุตฺตมตฺถานิ ตยิ ลภิมฺหา, กิํ ตฺวํ อตฺถานิ ชานาสิ, อิจฺเฉยฺยามิ         ภนฺเต สตฺตปุตฺตานิ, สิวิปุตฺตานิ อวฺหย [ชา. ๒.๒๒.๒๒๓๕], ปุตฺตทารานิ โปเสนฺติ, พลีพทฺทานิ โสฬส            อิจฺจาทิฯ
ในที่จะมีความเป็นบทที่ออกเสียงได้ไพเราะ การใช้บทคู่กัน กับบทที่มีลิงค์และวจนะต่างกัน ก็ใช้ได้. ตัวอย่างพระบาฬีมีดังนี้

จตฺตาโร สติปฏฺฐานา [ที. นิ. ๓.๑๔๕],
สติปัฏฐาน ๔[๑๔]

จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา [ที. นิ. ๓.๑๔๕],
สัมมัปปธาน ๔

ตโย มหาภูตา, ตโย มหาภูเต [ปฏฺฐา. ๑.๑.๕๘],
มหาภูตรูป ๓ อาศัย ซึ่งมหาภูตรูป ๓[๑๕]

สพฺเพ มาลา อุเปนฺติ มํ [ธุ. ๓.๖],
ดอกไม้ทั้งหมด ย่อมน้อมเข้าไปหาเรา[๑๖]
สพฺเพ กญฺญา อุเปนฺติ มํ [ธุ. ๓.๖],
หญิงสาวทั้งหมด ย่อมน้อมเข้าไปหาเรา[๑๗]

สพฺเพ รตนา อุเปนฺติ มํ [ธุ. ๓.๖],
รัตนะทั้งปวง ย่อมน้อมเข้าไปหาเรา

สพฺเพ ยานา อุเปนฺติ มํ [ธุ. ๓.๖],
ยานทั้งปวง ย่อมน้อมเข้าไปหาเรา.

อวิชฺชาย สติ สงฺขารา โหนฺติ, สงฺขาเรสุ สติ วิญฺญาณํ โหติ [สํ. นิ. ๒.๕๐]
เมื่ออวิชชา มีอยู่ สังขารทั้งหลาย ย่อมมี, เมื่อสังขารทั้งหลาย มีอยู่ วิญญาณ ย่อมมี.[๑๘]

คาถาสุ วิปลฺลาสาปิ พหุลํ ทิสฺสนฺติ, อญฺเญ ธมฺมานิ เทเสนฺติ, เอวํ ธมฺมานิ สุตฺวาน, สตญฺจ ธมฺมานิ สุกิตฺติตานิ สุตฺวา, อตฺถานิ จินฺตยิตฺวาน, อุตฺตมตฺถานิ ตยิ ลภิมฺหา, กิํ ตฺวํ อตฺถานิ ชานาสิ, อิจฺเฉยฺยามิ ภนฺเต สตฺตปุตฺตานิ, สิวิปุตฺตานิ อวฺหย [ชา. ๒.๒๒.๒๒๓๕], ปุตฺตทารานิ โปเสนฺติ, พลีพทฺทานิ โสฬส  อิจฺจาทิฯ
แม้การใช้วิปัลลาสนัย พบได้มากในคาถา ตัวอย่างพระบาฬีเช่น
อญฺเญ ธมฺมานิ เทเสนฺติ  (ขุ.อป.๓๒/๑)
หมู่พระอริยเจ้าท.เหล่านี้ บางพวก แสดงธรรม.

เอวํ ธมฺมานิ สุตฺวาน (ขุ.ธ.๒๕/๑๖)
บัณฑิตทั้งหลายฟังธรรมแล้ว ย่อมผ่องใส

สตญฺจ ธมฺมานิ สุกิตฺติตานิ สุตฺวา (ขุ.ชา.๒๗/๒๕๐๗)
ฟังธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายท่านประกาศไว้ [๑๙]

อตฺถานิ จินฺตยิตฺวาน (ขุ.ชา. ๒๗/๑๖๘๙)
คนหนึ่งๆ อยู่ในที่ลับ คิดเนื้อความทั้งหลาย

อุตฺตมตฺถานิ ตยิ ลภิมฺหา  (ขุ.ชา. ๒๘/๖๐๘)
เราจะได้รัตนะสูงสุด ในสำนักของท่านหรือ.[๒๐]

กิํ ตฺวํ อตฺถานิ ชานาสิ (ขุ.ชา. ๒๘/๖๐๘)
ท่านจะรู้เหตุแห่งการได้ซึ่งรัตนะสูงสุดนั้น ได้อย่างไร?

อิจฺเฉยฺยามิ ภนฺเต สตฺตปุตฺตานิ,
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าต้องการบุตร ๗ คน.

สิวิ ปุตฺตานิ อวฺหย (ขุ.ชา. ๒๘/๑๑๙๑ )
ข้าแต่ท่านพี่สิวิราช พระองค์จงตรัสเรียกลูกน้อยมาเถิด.

ปุตฺตทารานิ โปเสนฺติ  (ขุ.เถรี.๒๖/๔๔๘.)
หาทรัพย์เลี้ยงบุตรภรรยา

พลีพทฺทานิ โสฬส (ขุ.ชา. ๒๗/๒๔๙๘)
เราจะให้โคผู้มีกำลังแข็งแรง ๑๖ ตัวนี้แก่ท่านทั้งหลาย
--
อิธ เสสสงฺขฺยานามานิ ทีปิยนฺเตฯ
จะแสดงนามศัพท์ที่แสดงการนับ (สังขยานาม) ที่เหลือ ในที่นี้
  
ปญฺจ ศัพท์ (ห้า)
ปญฺจ ศัพท์เป็นต้น ปฐมาวิภัตติ แปลง โย เป็น อ ด้วยสูตรนี้
๒๕๐. ฏ ปญฺจาทีหิ จุทฺทสหิ [ก. ๑๓๔; รู. ๒๕๑; นี. ๒๔๗]
แปลง โย ท้ายสังขยาศัพท์ ๑๔ ศัพท์ มี ปญฺจ เป็นต้น เป็น อ
ปญฺจาทีหิ อฏฺฐารสนฺเตหิ สงฺขฺยาสทฺเทหิ โยนํ ฏ โหติฯ
อ เป็นอาเทสของ โย ที่อยู่หลังจากสังขยาศัพท์ท. มีปญฺจ เป็นต้น จนถึง อฏฺฐารส เป็นที่สุด.

ปญฺจ อิตฺถิโย, ปญฺจ ปุริสา, ปุริเส, ปญฺจ จิตฺตานิ,
ปญฺจ อิตฺถิโย,
ปญฺจ ปุริสา, ปุริเส,
ปญฺจ จิตฺตานิ,

ฉ ศัพท์
ฉ อิตฺถิโยฯ
ฬาคเม ปน ‘‘อิตฺถิภาวา น มุจฺจิสฺสํ, ฉฬานิ คติโย อิมา’’ติ ปาฬิฯ
ฉ ปุริสา, ฉ ปุริเส, ฉ จิตฺตานิฯ เอวํ สตฺต, อฏฺฐ, นว, ทส, เอกาทสเป.อฏฺฐารสฯ

ปฐมาวิภัตติ – ทุติยาวิภัตติ
ฉ อิตฺถิโยฯ
แต่ในที่ลง ฬ อาคม กลับมีรูปว่า ฉฬานิ (พ้องกับนปุงสกลิงค์) ดังพระบาฬีนี้ว่า
อิตฺถิภาวา น มุจฺจิสฺสํ,  ฉฬานิ คติโย อิมา[๒๑] (ขุ.ชา.๒๘/๘๖๔)
หม่อมฉันไม่พ้นจากความเป็นหญิงตลอด ๖ ชาติ
ฉ ปุริสา,
ฉ ปุริเส,

ฉ จิตฺตานิ
ตั้งแต่ สตฺต จนถึง อฏฺฐารส ก็มีนัยนี้.

ตติยาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติ ปัญจมีวิภัตติ ฉัฏฐีวิภัตติ สัตตมีวิภัติ แปลง อ ของ ปญฺจ เป็นต้น เป็น อ ด้วยสูตรนี้
๒๕๑. ปญฺจาทีนํ จุทฺทสนฺนม [ก. ๙๐; รู. ๒๕๒; นี. ๒๔๗]
แปลง อ ของสังขยาศัพท์ ๑๔ ศัพท์มีปญฺจเป็นต้น เป็น อ เพราะ สุ นํ และหิ วิภัตติ.

สุ, นํ, หิสุ ปญฺจาทีนํ จุทฺทสนฺนํ อสฺส อตฺตเมว โหติ, น เอตฺตํ วา ทีฆตฺตํ วา โหติฯ
อ ของสังขยาศัพท์ ๑๔ ศัพท์ มี ปญฺจ เป็นต้น เป็น อ เพราะสุ นํ และหิวิภัตติ. หมายความว่า ไม่เป็น เอ หรือทีฆะ

ปญฺจหิ, ปญฺจนฺนํ, ปญฺจสุ, ฉหิ, ฉนฺนํ, ฉสุ, สตฺตหิ, สตฺตนฺนํ, สตฺตสุ, อฏฺฐหิ, อฏฺฐนฺนํ, อฏฺฐสุ, นวหิ, นวนฺนํ, นวสุ, ทสหิ, ทสนฺนํ, ทสสุ, เอกาทสหิ, เอกาทสนฺนํ, เอกาทสสุเป.อฏฺฐารสหิ, อฏฺฐารสนฺนํ, อฏฺฐารสสุฯ
เอเต สพฺเพ อลิงฺคา พหุวจนนฺตา เอวฯ
ปญฺจหิ, ปญฺจนฺนํ, ปญฺจสุ,
ฉหิ, ฉนฺนํ, ฉสุ,
สตฺตหิ, สตฺตนฺนํ, สตฺตสุ,
อฏฺฐหิ, อฏฺฐนฺนํ, อฏฺฐสุ,
นวหิ, นวนฺนํ, นวสุ,
ทสหิ, ทสนฺนํ, ทสสุ,
เอกาทสหิ, เอกาทสนฺนํ, เอกาทสสุ
ฯลฯ.[๒๒]
อฏฺฐารสหิ, อฏฺฐารสนฺนํ, อฏฺฐารสสุฯ
๑๔ ศัพท์ ดังกล่าวมานี้ เป็น อลิงคนาม และมีวิภัตติพหุวจนะเป็นที่สุด เท่านั้น

วีส ติํส จตฺตาลีส ปญฺญาส ศัพท์
อิตฺถิยมตฺวาติ วีส, ติํส, จตฺตาลีส, ปญฺญาเสหิ อาปจฺจโย, มหาวุตฺตินา สิมฺหิ รสฺโส สิโลโป จ,              นิคฺคหีตนฺติ วิกปฺเปน นิคฺคหีตาคโม, วิกปฺเปน อํโลโป, นาทีนํ เอกวจนานํ ยาเทโส, วีส อิตฺถิโย,  วีสํ   อิตฺถิโย, วีส ปุริสา, วีสํ ปุริสา, วีส ปุริเส, วีสํ ปุริเส, วีส จิตฺตานิ, วีสํ จิตฺตานิ, วีสาย อิตฺถีหิ กมฺมํ กตํ, วีสาย        ปุริเสหิ กมฺมํ กตํ, วีสาย กุเลหิ กมฺมํ กตํ, วีสาย อิตฺถีนํ, ปุริสานํ, กุลานํ, สตฺตมิยํ วีสาย อิตฺถีสุ, ปุริเสสุ,         กุเลสุฯ
ปฐมาวิภัตติ (วีส, วีสํ) ลง อา ปัจจัย ในอิตถีลิงค์ท้าย วีส ติํส จตฺตาลีส ปญฺญาส ศัพท์ ด้วยสูตรว่า “อิตฺถิยมตฺวา” (ลง อาปัจจัยในอิตถีลิงค์ ท้าย อการันต์), เพราะ สิ อา ปัจจัย เป็นรัสสะ และลบ สิ สำเร็จรูปเป็น วีส ด้วยมหาสูตร, มีบ้างที่ลง นิคคหิตอาคม ด้วยสูตรว่า “นิคฺคหีตํ” (นิคคหิตเป็นอาคม)


ทุติยาวิภัตติ (วีสํ, วีส) มีบ้างที่ลบ อํ.

ตติยาวิภัตติเป็นต้น และในสัตตมีวิภัตติ (วีสาย) แปลง วิภัตติเอกวจนะมีนาเป็นต้น เป็น ย

วิภัตติ
อิตถีลิงค์
ปุงลิงค์
นปุงสกลิงค์
ปฐมา
วีส อิตฺถิโย, วีสํ อิตฺถิโย,
วีส ปุริสา, วีสํ ปุริสา
วีส จิตฺตานิ, วีสํ จิตฺตานิ
ทุติยา
วีสํ อิตฺถิโย, วีส อิตฺถิโย
วีส ปุริเส, วีสํ ปุริเส
วีส จิตฺตานิ, วีสํ จิตฺตานิ
ตติยาและปัญจมี
วีสาย อิตฺถีหิ กมฺมํ กตํ
วีสาย ปุริเสหิ กมฺมํ กตํ
วีสาย กุเลหิ กมฺมํ กตํ
จตุตถีและฉัฏฐี
วีสาย อิตฺถีนํ
วีสาย ปุริสานํ
วีสาย กุลานํ
สัตตมี
วีสาย อิตฺถีสุ
วีสาย ปุริเสสุ
วีสาย กุเลสุ



ติปจฺจเย วีสติ, ติํสติสทฺทาปิ สฏฺฐิ, สตฺตติ, อสีติ, นวุติสทฺทา วิย นิจฺจํ อิตฺถิ ลิงฺเคกวจนนฺตา เอว, สิ, อํโลโป, วีสติ อิตฺถิโย, วีสติ ปุริสา, ปุริเส, วีสติ กุลานิ, วีสติยา อิตฺถีหิ, อิตฺถีนํ, ปุริเสหิ, ปุริสานํ, กุเลหิ,        กุลานํ, วีสติยา, วีสติยํ อิตฺถิ, ปุริส, กุเลสุ, เอวํ ยาวนวุติยา เวทิตพฺพาฯ วคฺคเภเท ปน สติ พหุวจนมฺปิ วิกปฺเปน ทิสฺสติ, ทฺเว วีสติโย อิจฺจาทิฯ
ในที่ลงติปัจจัย แม้ศัพท์สองศัพท์คือ วีสติ (๒๐) และ ติํสติ (๓๐) เหมือน สฏฺฐิ (๖๐), สตฺตติ (๗๐),  อสีติ (๘๐) และ นวุติ (๙๐)ศัพท์ คือ เป็นอิตถีลิงค์และมีวิภัตติเอกวจนะเป็นที่สุดเท่านั้น อย่างแน่นอน.

ปฐมาวิภัตติ ลบ สิ และ อํ วิภัตติ.   (ส่วนวิภัตติอื่นๆ เหมือนใน วีส ที่ไม่ได้ลง ติปัจจัยและมีรูปวิภัตติดังต่อไปนี้)


วิภัตติ
อิตถีลิงค์
ปุงลิงค์
นปุงสกลิงค์
ปฐมา
วีสติ อิตฺถิโย
วีสติ ปุริสา
วีสติ กุลานิ
ทุติยา
วีสติ อิตฺถิโย
วีสติ ปุริเส
วีสติ กุลานิ
ตติยาและปัญจมี
วีสติยา อิตฺถีหิ,
วีสติยา ปุริเสหิ
วีสติยา กุเลหิ
จตุตถีและฉัฏฐี
วีสติยา อิตฺถีนํ
วีสติยา ปุริสานํ
วีสติยา กุลานํ
สัตตมี
วีสติยา, วีสติยํ อิตฺถีสุ
วีสติยา, วีสติยํ ปุริเสสุ
วีสติยา, วีสติยํ กุเลสุ

รูปวิภัตติ (ปทมาลา) ของสังขยาศัพท์ในกลุ่มนี้ พึงทราบว่า เป็นอย่างนี้ไปจนถึง นวุติ ศัพท์. แต่เมื่อมีการแยกเป็นกลุ่ม (แบ่งออกเป็นกลุ่มละ ๒๐ หลายกลุ่ม) อาจใช้พหวุจนะได้บ้าง, เช่น เทฺว วีสติโย ยี่สิบท. สอง.
คุณิตสังขยา (จำนวนโดยการคูณ)
สตํ, สหสฺสํ, ทสสหสฺสํ, สตสหสฺสํ, ทสสตสหสฺสนฺติ อิเม นปุํสกลิงฺคาเยวฯ สงฺขฺเยยฺยปธาเน ปน            อิตฺถิลิงฺเค วตฺตพฺเพ สหสฺสี, ทสสหสฺสี, สตสหสฺสีติ อิตฺถิลิงฺคํ ภวติฯ วคฺคเภเท ปน ทฺเว สตานิ, ตีณิ สตานิ, ทฺเว สหสฺสานิ, ตีณิ สหสฺสานิ อิจฺจาทีนิ ภวนฺติฯ โกฏิ, ปโกฏิ, โกฏิปโกฏิ, อกฺโขภิณีสทฺทา อิตฺถิลิงฺคา เอวฯ เสสํ สพฺพํ ยาวอสงฺขฺเยยฺยา นปุํสกเมวฯ
ศัพท์เหล่านี้เป็นนปุงสกลิงค์เท่านั้น คือ สตํ (หนึ่งร้อย), สหสฺสํ (หนึ่งพัน), ทสสหสฺสํ (หนึ่งหมื่น) สตสหสฺสํ (หนึ่งแสน) และ ทสสตสหสฺสํ (หนึ่งล้าน). แต่เมื่อจะแสดงศัพท์อันเป็นอิตถีลิงค์ ที่ยกเอาสิ่งที่ถูกนับเป็นประธาน (สังขเยยปธาน) สหสฺส ศัพท์เป็นต้นเหล่านั้น จะเป็นอิตถีลิงค์ คือ สหสฺสี (หญิงพันนาง), ทสสหสฺสี (หญิงหมื่นนาง, สตสหสฺสี (หญิงแสนนาง).
ในกรณีที่มีการแยกกลุ่ม จะมีรูปเป็นต้นว่า เทฺว สตานิ (ร้อยท. สอง), ตีณิ สตานิ (ร้อยท.สาม), เทฺว สหสฺสานิ (พันท.สอง), ตีณิ สหสฺสานิ (พันท.สาม). ศัพท์เหล่านี้ คือ  โกฏิ (๑ + ๗ ศูนย์), ปโกฏิ (๑ + ๑๔ ศูนย์), โกฏิปโกฏิ (๑ + ๒๑ ศูนย์), อกฺโขภิณี (๑ + ๔๒ ศูนย์) เป็นอิตถีลิงค์เท่านั้น. ศัพท์ที่เหลือทั้งหมดจนถึงอสังขเยยะ[๒๓] เป็นนปุงสกลิงค์เท่านั้น.

ชื่อเรียกจำนวน
สหสฺสํ กาสิ นาม, ทสสหสฺสํ นหุตํ นาม, สตสหสฺสํ ลกฺขํ นามฯ
หนึ่งพัน มีชื่อเรียกว่า กาสิ, หนึ่งหมื่น มีชื่อเรียกว่า นหุตะ, หนึ่งแสน มีชื่อเรียกว่า ลักขะ.

สังขยาปธาน และ สังเขยยปธาน
ทุวิธํ ปธานํ สงฺขฺยาปธานํ, สงฺขฺเยยฺยปธานญฺจฯ ปุริสานํ วีสติ โหติ, ปุริสานํ นวุติ โหติ, ปุริสานํ สตํ โหติ, สหสฺสํ โหติ อิจฺจาทิ สงฺขฺยาปธานํ นาม, วีสติ ปุริสา, นวุติ ปุริสา, สตํ ปุริสา, สหสฺสํ ปุริสา อิจฺจาทิ สงฺขฺเยยฺยปธานํ นามฯ
(เกี่ยวกับการใช้สังขยาศัพท์นี้) ประธาน มี ๒ อย่าง คือ สังขยาประธาน (มีจำนวนนับเป็นประธาน)และ สังขเยยปธาน (มีสิ่งที่ถูกนับเป็นประธาน).
สังขยาประธาน มีตัวอย่างเช่น
ปุริสานํ วีสติ โหติ ยีสิบแห่งบุรุษท. ย่อมมี.
ปุริสานํ นวุติ โหติ เก้าสิบแห่งบุรุษท. ย่อมมี
ปุริสานํ สตํ โหติ หนึ่งร้อยแห่งบุรุษท. ย่อมมี
ปุริสานํ สหสฺสํ โหติ  หนึ่งพันแห่งบุรุษท. ย่อมมี.
สังขเยยประธาน มีตัวอย่างเช่น
วีสติ ปุริสา บุรุษท. ยี่สิบ
นวุติ ปุริสา บุรุษท. เก้าสิบ
สตํ ปุริสา บุรุษ หนึ่งร้อย
สหสฺสํ ปุริสา บุรุษ หนึ่งพัน.

เอตฺถปิ วีสติสทฺโท อิตฺถิลิงฺเคกวจโน เอวฯ สต, สหสฺสสทฺทา นปุํสเกกวจนา เอวฯ สงฺขฺยาสทฺทานํ ปน ปทวิธานญฺจ คุณวิธานญฺจ สมาสกณฺเฑ อาคมิสฺสติฯ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ วีสติศัพท์ เป็นอิตถีลิงค์ เอกวจนะ เท่านั้น. สต ศัพท์ และ สหสฺส ศัพท์ เป็นนปุงสกลิงค์ เอกวจนะ เท่านั้น. ส่วนวิธีการประกอบบท และ วิธีการคูณ ของสังขยาศัพท์ จักแสดงไว้ในสมาสกัณฑ์

สงฺขฺยาราสิ นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มนามศัพท์ที่เป็นการนับ จบแล้ว.



[๑] เอก ศัพท์มีอรรถ คือ สงฺขฺยา การนับ, อตุลฺย การไม่มีผู้เสมอ, อสหาย การไม่มีเพื่อน, อญฺญ อื่น, ตุลฺย เสมอ, มิสฺส ผสม, เสฏฐะ ประเสริฐ, สจฺจ ความจริง, มุขฺย โดยตรง, อปฺป น้อย, เกวล ล้วนๆ (ปทรูปสิทธิมัญชรี เล่ม ๑ หน้า ๗๓๙)
[๒] ฉบับสยามรัฐเป็น เอกกินี แต่ฉบับฉัฏฐสังคายนาเป็น เอกากินี, อย่างไรก็ตาม ฉบับสยามรัฐเป็น มาตุยา ส่วนฉบับฉัฏฐ.เป็น มาตรา ในที่นี้จึงใช้ปาฐะของทั้งสองฉบับร่วมกัน เพื่อให้ตรงกับปาฐะของคัมภีร์นี้.
[๓] สูตรนี้ปฏิเสธความเป็น อา แห่ง นิ อาเทสของ โย ในนปุงสกลิงค์ ตามสูตรว่า ๑๙๗. นีนํ วา (แปลง นิ เป็น อา และ เอ ได้บ้าง)
[๔] พบทั้ง พหูนํ และ พหุนฺนํ ดังพระบาฬีต่อไปนี้. พหูนํ วสฺสสตานํ พบในพระบาฬีที.ม. ๑๐/๓๒ พหุนฺนํ ก็พบในพระบาฬีนี้เช่นกัน สรุปว่า พหุนฺนํ มีน้อยกว่า เพราะพบ ๓ แห่งในพระบาฬีนี้ ส่วนพหูนํ พบ ๘ แห่ง. แม้พหุนฺนํ วสฺสตานํ พบในพระบาฬีม.ม. ๑๓/๔๕๓ พหุนฺนํ ในพระบาฬีมัชฌิมปัณณาสก์ ฉบับสยามรัฐเท่านั้น ไม่พบในฉบับฉัฏฐสังคายนาเลย.
[๕] ปาจิตฺตฺยาทิโยชนา เป็นข้อความที่อธิบายคำว่า กติมี ในพระบาฬีวินัยปิฎก มหาวรรค (วิ.มหา.อุโปสถขันธกะ). นอกจากนี้ คัมภีร์สีลขันธวรรคฎีกา (๒/๒๑๔) อธิบายว่า กตินํ ติถีนํ ปูรณี กติมี, ‘‘ปญฺจมี นุ โข ปกฺขสฺส, อฏฺฐมี’’ติอาทินา ทิวสํ วา ปุจฺฉิโตติ อตฺโถฯ [ที่เต็มแห่งดิถีเท่าไร ชื่อว่า กติมี ที่เต็มแห่งดิถีเท่าไร (ดิถีที่เท่าไร), หมายความว่า ผู้ถูกถามซึ่งวันโดยนัยว่า “ดิถีที่ ๕ แห่งปักษ์ หรือ ที่ ๘ หรือหนอ”]. อนึ่ง ดิถี ได้แก่ วันที่ ๒ และวันที่ ๓ เป็นต้น แห่งปักษ์ ส่วนวันที่ ๑ แห่งปักษ์ ชื่อว่า ปาฏิบท. อีกนัยหนึ่ง ดิถี ได้แก่ วันที่ ๓ เป็นต้น ส่วนวันที่ ๒ ชื่อว่า ปาฏิบท. (ธาน. ๗๒)
[๖] ฉบับสยามรัฐ เป็น พหุนฺนํ ฉบับฉัฏฐสังคายนาเป็น พหูนํ. อนึ่ง ๒ อุทาหรณ์นี้มีความเต็มมาในพระบาฬี ดังนี้ 
            พหูนํ วต โน ภควา อกุสลานํ ธมฺมานํ อปหตฺตา, พหูนํ วต โน ภควา กุสลานํ ธมฺมานํ อุปหตฺตา (ม.ม.๑๓/๑๗๕).
            พระผู้มีพระภาคทรงนำอกุศลธรรมเป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้หนอ พระผู้มีพระภาคทรงนำกุศลธรรมเป็นอันมากเข้าไปให้แก่เราทั้งหลายหนอ.
[๗] ปาฐะปัจจุบัน ทั้งฉบับสยามรัฐและฉัฏฐสังคายนาเป็น อุปฺปชฺชนฺติ  และ เป็น พหุนฺนํ. ในพระบาฬี พบทั้ง พหูนํ และ พหุนฺนํ ดังนี้
                        พหุนฺนํ วต อตฺถาย        อุปฺปชฺชนฺติ ตถาคตา           
                        ยตฺถ การํ กริตฺวาน       สคฺคํ คจฺฉนฺติ ทายกาติ ฯ   (ขุ.วิ. ๒๖/๔๗)
                        ธาตุโย จ วิทิตฺวาน        ปพฺพชึ อนคาริยํ ฯ            
                        พหูนํ วต อตฺถาย          อุปฺปชฺชนฺติ ตถาคตา  (ขุ.เถร. ๒๖/๔๐๑)
แม้ในพระสูตรอื่นๆ ก็เช่นกัน บางแห่งฉบับฉัฏฐสังคายนาเป็น พหูนํ แต่ฉบับสยามรัฐเป็น พหุนฺนํ
[๘]เช่น อุโภหิ อิตฺถีหิ กมฺมํ กตํ การงาน อันหญิงทั้งสอง ทำแล้ว, อุภินฺนํ อิตฺถีนํ เทติ ย่อมให้ แก่หญิงทั้งสอง. อุโภหิ อิตฺถีหิ นิคฺคโต ออกแล้วจากหญิงทั้งสอง, อุภินฺนํ อิตฺถีนํ ธนํ ทรัพย์ของหญิงทั้งสอง, อุโภสุ อิตฺถีสุ ฐิตํ ดำรงอยู่แล้ว ในหญิงทั้งสอง. ในปุงลิงค์ และ นปุงสกลิงค์ ก็มีนัยนี้.
[๙] ทฺวินฺนํ เป็นบทอนุกรณะ คือ เลียนแบบศัพท์จริง ไม่มีอรรถว่า สอง แห่ง ทฺวิ ศัพท์ แต่หมายถึง ทฺวิ ศัพท์ และการที่ประกอบเป็นพหุวจนะ เพื่อแสดงให้ทราบว่า ทฺวิ ในที่นี้ใช้ในพหุวจนะเท่านั้น.
[๑๐]    มีที่คล้ายกัน คือ ๑๕๙
ปริสาหิ จ จตูหิ            ผรเต ๑ โลกนายโก 
มโหรคสฺส ภวเน           นิสีทิ ปรมาสเน ๒ ฯ 
[๑๑] รูปที่ไม่เข้าเกณฑ์ของสูตรนี้ แต่ใช้สูตรทั่วไปของอิตถีลิงค์สำเร็จรูป
[๑๒] โมคคัลลานไวยากรณ์เป็น ๒๐๘. จตุโร วา จตุสฺสฯ จตุสทฺทสฺส สวิภตฺติสฺส โยมฺหิ จตุโร วา โหติ ปุลฺลิงฺเค, จตุโร ชนา สํวิธาย, กถํ ‘จตุโร นิมิตฺเต นาทฺทสฺสาสิ’นฺติ? ลิงฺควิปลฺลาสาฯ
[๑๓] ปัจจุบันเป็น จตุโร นิมิตฺเต นาทฺทสํ  
[๑๔] สติปฏฺฐาน ศัพท์ เป็นนปุงสกลิงค์ เมื่อควรจะประกอบบทว่า จตฺตาริ แต่ก็ประกอบเป็นปุงลิงค์ว่า จตฺตาโร โดยนัยที่เปลี่ยนลิงค์. (วิปัลลาส)  ดังนั้น ที่ถูกควรเป็น จตฺตาริ สติปฏฺฐานานิ.  อนึ่ง สติปฏฺฐานา มาจาก สติปฏฺฐานานิ ซึ่งมีการลบ นิ ไป. แม้สมฺมปฺปธาน ศัพท์ ก็นัยนี้. (ดูวินิจฉัยเรื่องนี้ในสัททนีติ ปทมาลา ปริจเฉทที่ ๘ นปุงสกลิงค์นามิกปทมาลา นิคคหีตันตนปุงสกลิงค์ ฉบับแปล หน้า ๗๓๒ เป็นต้น)
[๑๕] บทว่า ตโย เป็นลิงควิปัลลาส. ส่วนมหาภูตา มาจาก มหาภูตานิ ซึ่งเป็นนปุงสกลิงค์ และมีการลบ นิ ไป. เมื่อควรจะกล่าวว่า ตีณิ มหาภูตานิ แต่ก็กล่าวว่า ตโย มหาภูตา. แม้บทว่า มหาภูเต ก็เช่นกัน ควรกล่าวว่า ตีณิ มหาภูเต ก็กล่าวว่า ตโย มหาภูเต.(สัททนีติ ปทมาลา ฉบับแปล หน้า ๗๔๓ ภูต ศัพท์ ปทมาลา)
[๑๖] สพฺเพ มาลา ดอกไม้ทั้งหมด ควรเป็น สพฺพานิ มาลานิ แต่ก็เป็น สพฺเพ มาลา ดังนั้น สพฺเพ จึงเป็น ลิงควิปัลลาส. แม้ สพฺเพ รตนา และ สพฺเพ ยานา ที่กล่าวต่อไป ก็มีนัยนี้. มาลา ศัพท์ เป็นได้ ๒ ลิงค์คือ อิตถีลิงค์ และ นปุงสกลิงค์ ในที่นี้เป็นนปุงสกลิงค์ มีการลบ นิ เช่นเดียวกัน. (สัททนีติ ปทมาลา แปล หน้า ๗๓๗ เรื่อง วินิจฉัยลิงค์ของมาลา ศัพท์)
[๑๗] เมื่อควรจะเป็น สพฺพาโย กญฺญา ก็กล่าวว่า สพฺเพ กญฺญา. สพฺเพ เป็นลิงควิปัลลาส.
[๑๘] อวิชฺชาย สติ เมื่อควรจะเป็น อวิชฺชาย สติยา เพราะ สนฺต (อส + อนฺต) อิตถีลิงค์ + สฺมิํ สัตตมีวิภัตติจะมีรูปว่า สติยา แต่กล่าวว่า สติ ในรูปของปุงลิงค์ ดังนั้น สติ จึงเป็นลิงควิปัลลาส. สงฺขาเรสุ เป็น พหุวจนะ แต่บทว่า สติ เป็น เอกวจนะ เมื่อควรจะกล่าวว่า สงฺขาเรสุ สนฺเตสุ ก็กลับกล่าวว่า สงฺขาเรสุ สติ โดยวิปัลลาสนัย.
[๑๙] ในพระบาฬีตามที่อ้างไว้มีปาฐะว่า สตญฺจ ธมฺมานิ สุกิตฺติตานิ  สมุทฺทเวลาว ทุรจฺจยานิ. ก็ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายที่ประกาศไว้ดีแล้วยากที่จะก้าวล่วงได้ เหมือนฝั่งสมุทร (ขุ.ชา.๒๗/๒๕๐๗) แต่ในที่นี้แปลตามปาฐะของคัมภีร์นี้.
[๒๐] รูปคล้ายคลึงกับที่อ้างไว้ ในที่นี้แปลพอให้ทราบอุทาหรณ์โดยสังเขปเท่านั้น. ผู้หวังความพิสดารโปรดอ่านพระบาฬีและอรรถกถานั้นๆ ประกอบเถิด. อย่างไรก็ตาม ในพระบาฬีชาดกที่พบศัพท์ว่า อุตฺตมตฺถานิ นี้ มีข้อความว่า
                        มยเมว พาลมฺหเส เอฬมูคา, เย อุตฺตมตฺถานิ ตยี ลปิมฺหา;
                        กิเมว ตฺวํ นงฺคลโกฏิวฑฺโฒ,               อตฺถานิ ชานาสิ ยถาปิ อญฺเญ
            พวกเรานั่นแหละที่ได้สนทนากันถึงเหตุแห่งการได้มาซึ่งอิตถีรัตนะอันสูงส่งกับท่าน กลับเป็นคนโง่ บ้าน้ำลาย, ท่านเติบโตมากับคันไถ จะรู้เหตุเหล่านั้นเหมือนบัณฑิตคนอื่นๆ ได้รึ?

[๒๑] ปัจจุบันเป็น  อิตฺถีภาวา น มุจฺจิสฺสํ ฉฏฺฐาว คติโย อิมา (สฺยาม). ถีภาวาปิ น มุจฺจิสฺสํ, ฉฏฺฐา นิคติโย  อิมา (ฉัฏฐ.) อรรถกถาอธิบายว่า ฉฏฺฐา นิคติโยติ เทวโลเก ปน ปญฺจ, อยญฺจ เอกาติ อิมา ฉ คติโย อิตฺถิภาวา น มุจฺจิสฺสนฺติ วทติฯ ท่านกล่าวว่า เราจักไม่พ้รจากความเป็นหญิง ตลอดคติ ๖ เหล่านี้ คือ ในเทวโลก ๕ ครั้ง และในโลกนี้อีก ๑ ครั้ง. แสดงว่า ในยุคของท่าน พระบาฬีคงมีปาฐะว่า ฉฬานิ คติโย ซึ่งสอดคล้องกับที่พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้.
[๒๒] ที่ละไว้ คือ ทฺวาทสหิ ทวาทสนฺนํ ทฺวาทสสุ เป็นต้น เพราะมีรูปซ้ำกัน
[๒๓]  ศัพท์ที่ละไว้ คือ นหุตํ นหุตะ(๑ + ๒๘ ศูนย์) นินฺนหุตํ นินนหุตะ (๑ + ๓๕ ศูนย์) อกฺโขภนี อักโขภิณี (๑ + ๔๒ ศูนย์)  พินฺทุ พินทุ (๑ + ๔๙ ศูนย์) อพฺพุทํ อัพพุทะ(๑+๕๖ ศูนย์) นิรพฺพุทํ นิรัพพุทะ(๑+๖๓ ศูนย์) อหหํ อหหะ(๑+๗๐ ศูนย์) อพพํ อพพะ(๑+๗๗ ศูนย์) อฏฏํ อฏฏะ (๑+๘๔ ศูนย์) โสคนฺธิกํ โสคันธิกะ (๑+๙๑ ศูนย์) อุปฺปลํ อุปปละ(๑+๙๘ ศูนย์)  กุมุทํ  กุมุทะ(๑+๑๐๕ ศูนย์)  ปุณฺฑรีกํ  ปุณฑรีกะ(๑+๑๑๒ ศูนย์)  ปทุมํ  ปทุมะ(๑+๑๑๙ ศูนย์) กถานํ  กถานะ(๑+๑๒๖ ศูนย์) มหากถานํ    มหากถานะ(๑+๑๓๓  ศูนย์) อสงฺขฺเยยฺยํ  อสงไขย (๑+๑๔๐ ศูนย์) (ธาน.๔๗๔-๔๗๙).

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น