วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การกกัณฑ์ ๓ - ตติยาวิภัตติ


ตติยาวิภตฺติราสิ
กลุ่มเนื้อความของตติยาวิภัตติ
กสฺมิํ อตฺเถ ตติยา?
๓๐๕. กตฺตุกรเณสุ ตติยา[๑]
กตฺตริ กรเณ จ ตติยา โหติฯ


ลงตติยาวิภัตติในอรรถใดบ้าง?
(ลงตติยาวิภัตติในอรรถกัตตาและกรณะ ด้วยสูตรนี้)
๓๐๕. กตฺตุกรเณสุ ตติยา
ลงตติยาวิภัตติในอรรถกัตตาและกรณะ
ใช้ตติยาวิภัตติในอรรถกัตตา ด้วย กรณะ ด้วย.

กตฺตาติ จ การโกติ จ อตฺถโต เอกํ ‘‘กโรตีติ กตฺตา, กโรตีติ การโก’’ติ,

บทว่า กตฺตา และ บทว่า การโก มีความหมายเดียวกัน ตามคำนิยามว่า กโรตีติ กตฺตา กัตตา ได้แก่ ผู้ทำ. กโรตีติ การโก การกะ ได้แก่ ผู้ทำ.

ตสฺมา ‘‘กตฺตุการโก’’ติ วุตฺเต ทฺวินฺนํ ปริยายสทฺทานํ วเสน อยเมว กฺริยํ เอกนฺตํ กโรติ, สามี หุตฺวา กโรติ, อตฺตปฺปธาโน หุตฺวา กโรตีติ วิญฺญายติ, ตโต กฺริยา นาม กตฺตุโน เอว พฺยาปาโร, น อญฺเญสนฺติ จ, อญฺเญ ปน กฺริยาสาธเน กตฺตุโน อุปการกตฺตา การกา นามาติ จ, ตถา อนุปการกตฺตา อการกา นามาติ จ วิญฺญายนฺตีติฯ

เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวว่า “กตฺตุการโก (กัตตุการกะ) ย่อมแสดงให้รู้ความหมายว่า กัตตานี้แหละ ทำกิริยาแน่นอน, ย่อมกระทำโดยเป็นเจ้าของ (แห่งกริยา)  และ ย่อมกระทำ โดยมีตนเป็นประธาน (ไม่ได้ถูกใครใช้ให้กระทำ) ดังนี้ เนื่องด้วยสองคำนี้เป็นปริยายศัพท์ (ไวพจน์ หรือคำที่ใช้แทนกันได้) กัน. ต่อมา จึงสื่อความหมายได้อีกหลายประการ คือ บอกให้รู้ว่า (๑) กริยา คือ ความพยายามจะทำของกัตตานั่นเอง มิใช่ของอรรถเหล่าอื่น, (๒) ส่วนอรรถเหล่าอื่น (นอกจากกัตตา) ก็ชื่อว่า การกะ เพราะเป็นผู้ช่วยเหลือแก่กัตตา ในการทำกิริยาให้สำเร็จ, (๓) อรรถอื่นๆ อีกเช่นกัน ก็ชื่อว่า อการกะ เพราะไม่ได้เป็นผู้ช่วยเหลือกัตตาในการยังกิริยาให้สำเร็จ.

ตตฺถ กตฺตา ติวิโธ สยํกตฺตา, ปโยชกกตฺตา, กมฺมกตฺตาติฯ
บรรดาอรรถกัตตาเหล่านั้น กัตตามี ๓ คือ สยังกัตตา, ปโยชชกกัตตา, กัมมกัตตา.
ตตฺถ ธาตฺวตฺถํ สยํ กโรนฺโต สยํกตฺตา นาม, ปุริโส กมฺมํ กโรติฯ

บรรดากัตตา ๓ อย่างนั้น
สยังกัตตาได้แก่ กัตตาที่ทำอรรถของธาตุ (คือกิริยา) นั้นๆต้วยตนเอง เช่น ปุริโส กมฺมํ กโรติ บุรุษทำอยู่ ซึ่งการงาน.

ปรํ นิโยเชนฺโต ปโยชกกตฺตา นาม, ปุริโส ทาสํ กมฺมํ กาเรติฯ

ปโยชชกัตตา ได้แก่ กัตตาที่ใช้ให้ผู้อื่นกระทำ เช่น  ปุริโส ทาสํ กมฺมํ กโรติ บุรุษ ใช้ให้ทาส ทำอยู่ ซึ่งการงาน.

กมฺมกตฺตา นาม ปโยชฺชกกตฺตาปิ วุจฺจติ, ปุริโส ทาเสน กมฺมํ กาเรติ ทาสสฺส วา, โย จ อญฺเญน กตํ ปโยคํ ปฏิจฺจ กมฺมภูโตปิ สุกรตฺตา วา กมฺมภาเวน อวตฺตุกามตาย วา อชานนตาย วา วญฺเจตุกามตาย วา กตฺตุภาเวน โวหรียติ, โส กมฺมกตฺตา นาม, กุสูโล สยเมว ภิชฺชติ, ฆโฏ สยเมว ภิชฺชติฯ
ส่วนกัมมกัตตา ก็ได้แก่ ปโยชชกัตตา เช่น ปุริโส ทาเสน กมฺมํ กาเรติ ทาสสฺส วา บุรุษ ใช้ให้ทาส ทำอยู่ ซึ่งการงาน. หรือประกอบเป็นฉัฏฐีวิภัตติว่า ทาสสฺส
อนึ่ง กัมมกัตตา (กัตตาคือกรรม) ยังได้แก่ กรรมอันอาศัยปโยคะ (การกระทำ) อันผู้อื่นทำแล้ว ซึ่งถูกเรียกชื่อว่า กัตตา เพราะเป็นสิ่งที่ทำง่าย (สุกรตฺตา วา) เพราะไม่ต้องการเรียกโดยความเป็นกรรม (กมฺมภาเวน อวตฺตุกามตาย วา) เพราะการไม่รู้ (อชานนตาย วา) หรือเพราะใคร่จะลวง (วญฺเจตุกามตาย วา)  เช่น กุสูโล สยเมว ภิชฺชติ ยุ้ง พังทะลายไปเอง นั่นเทียว. ฆโฏ สยเมว ภิชฺชติ หม้อ แตกเอง นั่นเทียว.

อปิจ สุกโร วา โหตุ ทุกฺกโร วา, โย กมฺมรูปกฺริยาปเท ปฐมนฺโต กตฺตา, โส กมฺมกตฺตาติ วุจฺจติฯ
ยกความเป็นสิ่งทำง่ายหรือยากไว้ (ไม่ต้องพูดถึง),  บทลงปฐมาวิภัตติอันเป็นกัตตา ในกริยาบทอันเป็นกรรม (บทกริยาที่ลงปัจจัยและวิภัตติอันระบุได้ว่าเป็นกรรมวาจก)  ก็เรียกว่า กัมมกัตตา.

สทฺทรูเปน กมฺมญฺจ ตํ อตฺถรูเปน กตฺตา จาติ กมฺมกตฺตา, กุสูโล ภิชฺชติ, ฆโฏ ภิชฺชติ, ปจฺจติ มุนิโน ภตฺตํ, โถกํ โถกํ ฆเร ฆเร อิจฺจาทิฯ

รูปวิเคราะห์ของ “กมฺมกตฺตา”
สทฺทรูเปน กมฺมญฺจ ตํ อตฺถรูเปน กตฺตา จาติ กมฺมกตฺตา.
กรรมโดยศัพท์ด้วย กรรมโดยศัพท์นั้น เป็นกัตตาโดยความหมายด้วย ชื่อว่า กรรมกัตตา ( กัตตาอันเป็นกรรม) เช่น กุสูโล ภิชฺชติ. ยุ้งพังทะลาย.ฆโฏ ภิชฺชติ.หม้อ แตกไป.ปจฺจติ มุนิโน ภตฺตํ, โถกํ โถกํ ฆเร ฆเร.  ข้าวอันเขาหุงอยู่ เพื่อมุนี ในแต่ละบ้านมีนิดหนึ่งๆ.

เอตฺถ จ สทฺทตฺโถ ทุวิโธ ปรมตฺโถ, ปญฺญตฺตตฺโถติฯ ตตฺถ ปรมตฺโถ เอกนฺเตน วิชฺชมาโนเยวฯ ปญฺญตฺตตฺโถ ปน โกจิ วิชฺชมาโนติ สมฺมโตฯ ยถา? ราชปุตฺโต, โควิสาณํ, จมฺปกปุปฺผนฺติฯ โกจิ อวิชฺชมาโนติ สมฺมโตฯ ยถา? วญฺฌาปุตฺโต, สสวิสาณํ, อุทุมฺพรปุปฺผนฺติฯ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ อรรถของศัพท์ มี ๒ อย่าง คือ ปรมัตถะ (อรรถที่เป็นปรมัตถ์) และ ปัญญัตตัตถะ (อรรถที่เป็นบัญญัติ). ในอรรถ ๒ อย่างนั้น ปรมัตถะ เป็นอรรถที่มีอยู่โดยส่วนเดียวแน่นอน. ส่วนปัญญัตถะ บางอย่าง ถูกรับรู้กันว่า มีอยู่ เช่น ราชปุตฺโต บุตรของพระราชา โควิสาณํ เขาโคจมฺปกปุปฺผํ ดอกจำปา. บางอย่างก็ถูกรับรู้กันว่าไม่มี เช่น วญฺฌปุตฺโต บุตรของหญิงหมัน สสวิสาณํ เขากระต่าย อุทุมฺพรปุปฺผํ ดอกมะเดื่อ

สทฺโท จ นาม วตฺติจฺฉาปฏิพทฺธวุตฺตี โหติ, วตฺตมาโน จ สทฺโท อตฺถํ น ทีเปตีติ นตฺถิ, สงฺเกเต สติ สุณนฺตสฺส อตฺถวิสยํ พุทฺธิํ น ชเนตีติ นตฺถีติ อธิปฺปาโยฯ
อนึ่ง ศัพท์ ย่อมมีความเป็นไปเนื่องด้วยความประสงค์ของผู้กล่าว, และ ศัพท์ ที่กำลังเป็นไป ที่จะไม่แสดงอรรถ ย่อมไม่มี, อธิบายว่า เมื่อมีการบัญญัติคำพูดขึ้น (การที่จะบอกว่า) ศัพท์จะไม่ทำให้เกิดความรู้ ซึ่งมีอรรถเป็นอารมณ์ ของผู้ได้ยินศัพท์ ดังนี้ ย่อมไม่มี.

อิติ อวิชฺชมานสมฺมโตปิ อตฺโถ สทฺทพุทฺธีนํ วิสยภาเวน วิชฺชมาโน เอว โหติฯ อิตรถา  วญฺฌาปุตฺโตติ ปทํ สุณนฺตสฺส ตทตฺถวิสยํ จิตฺตํ นาม น ปวตฺเตยฺยาติ, สทฺทพุทฺธีนญฺจ วิสยภาเวน วิชฺชมาโน นาม อตฺโถ สทฺทนานาตฺเต พุทฺธินานาตฺเต จ สติ นานา โหติ, วิสุํ วิสุํ วิชฺชมาโน นาม โหตีติ อธิปฺปาโยฯ
เพราะเหตุนี้ อรรถแม้ที่รับรู้กันว่าไม่มี ย่อมชื่อว่า มีอยู่ นั่นเอง โดยความเป็นอารมณ์ของความรู้ในศัพท์. มิเช่นนั้น เมื่อได้ยินบทว่า “วญฺฌาปุตฺโต บุตรของหญิงหมัน” ดังนี้ จิตซึ่งมีอรรถนั้นเป็นอารมณ์ จะไม่พึงเป็นไป ดังนั้น อรรถ อันชื่อว่า มีอยู่ โดยความเป็นอารมณ์ของความรู้ในเสียง  ย่อมเป็นอย่างต่างๆ หากมีความต่างกันแห่งศัพท์และความต่างกันแห่งความรู้, หมายความว่า เป็นอรรถที่มีอยู่กันคนละอย่างๆ (ไม่เกี่ยวข้องกัน).

เอวํ สทฺทพุทฺธิวิสยภาเวน วิชฺชมานญฺจ นานาภูตญฺจ อตฺถํ ปฏิจฺจ การกนานาตฺตํ กฺริยาการกนานาตฺตญฺจ โหติ, น ปน สภาวโต วิชฺชมานเมว นานาภูตเมว จ อตฺถนฺติ นิฏฺฐเมตฺถ คนฺตพฺพํฯ ตสฺมา ‘‘สํโยโค ชายเต’’ อิจฺจาทีสุ สทฺทพุทฺธีนํ นานาตฺตสิทฺเธน อตฺถนานาตฺเตน ทฺวินฺนํ สทฺทานํ ทฺวินฺนํ อตฺถานญฺจ กฺริยาการกตาสิทฺธิ เวทิตพฺพาติฯ

ด้วยประการดังนี้ บัณฑิตพึงถึงความวินิจฉัยในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ความต่างกันแห่งการกะ และความต่างกันแห่งกริยาการกะ มีขึ้นได้ก็โดยอาศัยอรรถที่มีอยู่ โดยความเป็นอารมณ์ของเสียงและความรู้ และมีความเป็นอย่างต่างๆกัน, แต่จะโดยอาศัยซึ่งอรรถที่มีอยู่โดยสภาวะและ จะเป็นอย่างต่างๆกันก็หามิได้. เพราะเหตุนั้น ในตัวอย่างว่า สํโยโค ชายเต (ความเกี่ยวพัน ย่อมเกิด) ดังนี้เป็นต้น พึงทราบความสำเร็จแห่งกริยาการกะ แห่งศัพท์สองประการ และอรรถสองประการนั้น โดยความต่างกันแห่งอรรถ อันสำเร็จแล้วด้วยความต่างกันแห่งศัพท์และความรู้ ดังนี้แล.

กยิรเต อเนนาติ กรณํ, กฺริยาสาธเน กตฺตุโน สหการีการณนฺติ วุตฺตํ โหติฯ ตํ ทุวิธํ อชฺฌตฺติกกรณํ, พาหิรกรณนฺติฯ

กรณะ ได้แก่ เครื่องมือช่วยกระทำ, หมายความว่า เป็นเหตุที่กระทำร่วมกันของกัตตา ในการทำกริยาให้สำเร็จ. กรณะมี ๒ อย่าง คือ อัชฌัตติกกรณะ (กรณะภายใน) และ พาหิรกรณะ (กรณะภายนอก).

ตตฺถ กตฺตุโน องฺคภูตํ กรณํ อชฺฌตฺติกํ นาม, ปุริโส จกฺขุนา รูปํ ปสฺสติ, มนสา ธมฺมํ วิชานาติ, หตฺเถน กมฺมํ กโรติ, ปาเทน มคฺคํ คจฺฉติ, รุกฺโข ผลภาเรน โอณมติฯ

บรรดากรณะ ๒ อย่างนั้น กรณะคืออวัยวะของกัตตา ชื่อว่า อัชฌัตติกกรณะ เช่น ปุริโส จกฺขุนา รูปํ ปสฺสติ บุรุษเห็นรูปด้วยจักษุ. มนสา ธมฺมํ วิชานาติ ย่อมรู้ธรรมด้วยใจ. หตฺเถน กมฺมํ กโรติ ย่อมทำการงานด้วยมือ.  ปาเทน มคฺคํ คจฺฉติ ย่อมไปสู่หนทางด้วยเท้า. รุกฺโข ผลภาเรน โอณมติ ต้นไม้ย่อมเอนไปด้วยสิ่งของคือผล.

กตฺตุโน พหิภูตํ พาหิรํ นาม, ปุริโส ยาเนน คจฺฉติ, ผรสุนา [ปรสุนา (สกฺกตคนฺเถสุ)] ฉินฺทติ, รุกฺโข วาเตน โอณมติฯ

กรณะอันเป็นภายนอกของกัตตา ชื่อว่า พาหิรกรณะ. ตัวอย่างเช่น ปุริโส ยาเนน คจฺฉติ บุรุษ ย่อมไป ด้วยยาน. ผรสุนา ฉินฺทติ ย่อมตัดด้วยขวาน รุกฺโข วาเตน โอณมติ ต้นไม้ ย่อมเอนไป ด้วยลม.

๓๐๖. สหตฺเถน[๒]

สหัตถตติยา
(ลงตติยาวิภัตติในอรรถสหัตถะ ด้วยสูตรนี้)
 ๓๐๖. สหตฺเถน.
ลงตติยาวิภัตติ ท้ายนามศัพท์ ที่ประกอบด้วยศัพท์อันมีอรรถแห่งสหศัพท์.

สหสทฺทสฺส อตฺโถ ยสฺส โสติ สหตฺโถ, สหตฺเถน สทฺเทน ยุตฺตา ลิงฺคมฺหา ตติยา โหติฯ สหสทฺทสฺส อตฺโถ นาม สมวายตฺโถฯ

ความหมายของสหศัพท์ ของศัพท์ใดมีอยู่ เหตุนั้น ศัพท์นั้น ชื่อว่า สหตฺถ.  ลงตติยาวิภัตติ ท้ายนามศัพท์ ที่ประกอบด้วยศัพท์อันมีอรรถแห่งสหศัพท์. อรรถของสหศัพท์ ชื่อว่า สมวายตฺถ.

โส ติวิโธ ทพฺพสมวาโย, คุณสมวาโย, กฺริยาสมวาโยติฯ ปุตฺเตน สห ธนวา ปิตา, ปุตฺเตน สห ถูโล ปิตา, ปุตฺเตน สห อาคโต ปิตาฯ

สมวายะนั้น (อรรถของสหศัพท์อันชื่อว่า สมวายะ) นั้น มี ๓ อย่าง คือ ทัพพสมวายะ, คุณสมวายะ, กริยาสมวายะ เช่น (ทัพพสมวายะ) ปุตฺเตน สห ธนวา ปิตา สห อาคโต. บิดา ผู้มีทรัพย์ มาแล้ว พร้อมด้วยบุตร. (คุณสมวายะ) ปุตฺเตน สห ถูโล ปิตา สห อาคโต ปิตา บิดา อ้วน มาแล้ว พร้อมกับบุตร, (กริยาสมวายะ) ปุตฺเตน สห อาคโต ปิตา บิดา มาแล้ว พร้อมกับบุตร.

สห, สทฺธิํ, สมํ, นานา, วินาอิจฺจาทิโก สหตฺถสทฺโท นามฯ นิสีทิ ภควา สทฺธิํ ภิกฺขุสงฺเฆน, สหสฺเสน สมํ มิตา, ปิเยหิ นานาภาโว วินาภาโว, สงฺโฆ สห วา คคฺเคน วินา วา คคฺเคน อุโปสถํ กเรยฺย.

ศัพท์ที่ชื่อว่า สหตฺถ (มีอรรถแห่งสหศัพท์) คือ สห (พร้อม), สทฺธิํ (กับ), สมํ (เสมอ), นานา (อย่างอื่น) เป็นต้น มีพระบาฬีเป็นตัวอย่างการใช้ ดังนี้ นิสีทิ ภควา สทฺธิํ ภิกฺขุสงฺเฆน[๓] พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง (เหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย) พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. สหสฺเสน สมํ มิตา[๔] ทักษิณาที่ให้แต่ของน้อย นับเสมอด้วยพัน. ปิเยหิ นานาภาโว วินาภาโว[๕] ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่นจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ต้องมี. สงฺโฆ สห วา คคฺเคน วินา วา คคฺเคน อุโปสถํ กเรยฺย[๖].สงฆ์พร้อมกับคัคคะภิกษุ หรือเว้นจากคัคคะภิกษุ จักทำอุโบสถก็ได้ จักทำสังฆกรรมก็ได้.

๓๐๗. ลกฺขเณ[๗]

อิตถัมภูตลักขณะ
(ลงตติยาวิภัตติในอรรถอิตถัมภูตลักขณะด้วยสูตรนี้)
๓๐๗. ลกฺขเณ.
ลงตติยาวิภัตติในอรรถลักขณะ.

ลกฺขณํ วุจฺจติ อิตฺถมฺภูตลกฺขณํ, ตสฺมิํ ตติยา โหติฯ อสฺสุปุณฺเณหิ เนตฺเตหิ, ปิตรํ โส อุทิกฺขติฯ พฺรหฺมภูเตน อตฺตนา วิหรติ, อสมฺภินฺเนน วิเลปเนน ราชานมทกฺขิ, ติทณฺฑเกน ปริพฺพาชกมทกฺขิ, อูนปญฺจพนฺธเนน ปตฺเตน อญฺญํ ปตฺตํ เจตาเปติ, ภิกฺขุ ปาสาทิเกน อภิกฺกนฺเตน ปฏิกฺกนฺเตน อาโลกิเตน วิโลกิเตน สมิญฺชิเตน ปสาริเตน คามํ ปิณฺฑาย ปาวิสิ, สา กาฬี ทาสี ภินฺเนน สีเสน โลหิเตน คลนฺเตน ปติวิสฺสกานํ อุชฺฌาเปสิ, อุกฺขิตฺตกาย อนฺตรฆเร คจฺฉนฺติ , ปลฺลตฺถิกาย อนฺตรฆเร นิสีทนฺติฯ

อิตถัมภูตลักขณะ (เครื่องสังเกตของบุคคลผู้ถึงคุณลักษณะอย่างนี้) เรียกว่า ลักขณะ, ลงตติยาวิภัตติ เมื่อมีอรรถลักขณะนั้น เช่น อสฺสุปุณฺเณหิ เนตฺเตหิ, ปิตรํ โส อุทิกฺขติ[๘]. พระชาลี มีพระเนตรทั้งสองนองไปด้วยน้ำอัสสุชล ชะเง้อมองดูพระบิดา. พฺรหฺมภูเตน อตฺตนา วิหรติ[๙] มีตนเป็นประหนึ่งพรหมอยู่ในปัจจุบัน. อสมฺภินฺเนน วิเลปเนน ราชานมทกฺขิ.[๑๐] ได้เห็นแล้ว ซึ่งพระราชา ทั้งๆ ที่เครื่องประทินทรงยังคงปรากฏอยู่  ติทณฺฑเกน ปริพฺพาชกมทกฺขิ ได้เห็นแล้ว ซึ่งปริพพาชก ด้วยทั้งไม้สามง่าม. อูนปญฺจพนฺธเนน ปตฺเตน อญฺญํ ปตฺตํ เจตาเปติ.[๑๑] ภิกษุใด มีบาตรมีแผลหย่อนห้า ให้จ่ายบาตรใหม่อื่น. ภิกฺขุ ปาสาทิเกน อภิกฺกนฺเตน ปฏิกฺกนฺเตน อาโลกิเตน วิโลกิเตน สมิญฺชิเตน ปสาริเตน คามํ ปิณฺฑาย ปาวิสิ.[๑๒] ภิกษุ มีมรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขนน่าเลื่อมใส มีนัยน์ตาทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ.เข้าบ้านไปบิณฑบาต. สา กาฬี ทาสี ภินฺเนน สีเสน โลหิเตน คลนฺเตน ปติวิสฺสกานํ อุชฺฌาเปสิ[๑๓]. นางกาลีทาสีมีศีรษะแตก โลหิตไหลโซม จึงเที่ยวโพนทะนา ให้บ้านใกล้เคียงทราบว่า .... อุกฺขิตฺตกาย อนฺตรฆเร คจฺฉนฺติ[๑๔] พระฉัพพัคคีย์เดินเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน. ปลฺลตฺถิกาย อนฺตรฆเร นิสีทนฺติ[๑๕] พระฉัพพัคคีย์รัดเข่านั่งในละแวกบ้าน.

องฺควิกาโรปิ อิธ สงฺคยฺหติ[๑๖], อกฺขินา กาณํ ปสฺสติ, ‘อกฺขีติ อิทํ กาณนฺติ ปเท วิเสสนํ, วิกเลน จกฺขุองฺเคน โส กาโณ นาม โหติฯ หตฺเถน กุณิํ ปสฺสติ, ปาเทน ขญฺชํ ปสฺสติฯ

แม้ความพิการแห่งกาย (อังควิการ) ก็รวมเข้าในสูตรนี้[๑๗]เช่น อกฺขินา กาณํ ปสฺสติ  เห็นผู้บอดด้วยนัยน์ตา. บทว่า อกฺขิ เป็นวิเสสนะในบทว่า กาณํ, บทว่า กาณํ มีวิเคราะห์ว่า วิกเลน จกฺขุองฺเคน โส กาโณ นาม โหติ บุคคลนั้น ชื่อว่า เป็นผู้บอด ด้วยอวัยวะคือจักษุที่บกพร่อง. หตฺเถน กุณิํ ปสฺสติ เห็นคนง่อยด้วยมือ ปาเทน ขญฺชํ ปสฺสติ เห็นคนเขยกด้วยเท้า.

๓๐๘. เหตุมฺหิ[๑๘]

๓๐๘. เหตุมฺหิ.
ลงตติยาวิภัตติในอรรถเหตุ

หิโนติ ปวตฺตติ ผลํ เอเตนาติ เหตุ, ตสฺมิํ ตติยา โหติฯ อนฺเนน วสติ, วิชฺชาย สาธุ, กมฺมุนา วตฺตติ โลโก, กมฺมุนา วตฺตติ ปชาฯ กมฺมุนา วสโล โหติ, กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณฯ เกนฏฺเฐน [ธ. ส. อฏฺฐ. นิทานกถา], เกน นิมิตฺเตน, เกน วณฺเณน เกน ปจฺจเยน, เกน เหตุนา, เกน การเณน อิจฺจาทิ.

เหตุ คือ สภาพที่ช่วยให้ผลเป็นไป. ลงตติยาวิภัตติในเหตุ เช่น อนฺเนน วสติ, ภิกษุ อยู่ เพราะข้าว.วิชฺชาย สาธุ, เป็นคนดีเพราะความรู้.กมฺมุนา วตฺตติ โลโก, กมฺมุนา วตฺตติ ปชา[๑๙]. โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะกรรม กมฺมุนา วสโล โหติ, กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ[๒๐] ฯ เป็นคนชั่วเพราะกรรม ชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม. เกนฏฺเฐน[๒๑], เพราะความหมายอะไร[๒๒]. เกน นิมิตฺเตน เพราะนิมิตเหตุใด เกน วณฺเณน[๒๓] เพราะวรรณะใด เกน ปจฺจเยน, เกน เหตุนา [๒๔]เพราะปัจจัยอะไร, เพราะเหตุอะไร. เกน การเณน[๒๕]เพราะเหตุอะไร

เอตฺถ จ กรณํ ติวิธํ กฺริยาสาธกกรณํ, วิเสสนกรณํ, นานาตฺตกรณนฺติฯ
ในอรรถแห่งตติยาวิภัตตินี้ กรณะมี ๓ อย่าง คือ กริยาสาธกกรณะ (กรณะที่ทำให้กริยาสำเร็จ), วิเสสนกรณะ (กรณะที่เป็นวิเสสนะ) และ นานาตตกรณะ (กรณะชนิดต่างๆ).

ตตฺถ กฺริยาสาธกํ ปุพฺเพ วุตฺตเมวฯ

บรรดากรณะ ๓ ประการนั้น ได้กล่าวถึงกริยาสาธนกรณะไปแล้วในตอนต้น.

วิเสสนกรณํ ยถา? อาทิจฺโจ นาม โคตฺเตน, สากิโย นาม ชาติยาฯ โคตฺเตน โคตโม นา , สาริปุตฺโตติ นาเมน, วิสฺสุโต ปญฺญวา จ โส, ชาติยา ขตฺติโย พุทฺโธ, ชาติยา สตฺตวสฺสิโก, สิปฺเปน นฬกาโร โส, เอกูนติํโส วยสา, วิชฺชาย สาธุ, ตปสา อุตฺตโม, สุวณฺเณน อภิรูโป, ปกติยา อภิรูโป, ปกติยา ภทฺทโก, เยภุยฺเยน มตฺติกา, ธมฺเมน สเมน รชฺชํ กาเรติ, สเมน ธาวติ, วิสเมน ธาวติ, สุเขน สุขิโต โหมิ, ปาโมชฺเชน ปมุทิโตฯ ทฺวิโทเณน ธญฺญํ กิณาติ, สหสฺเสน อสฺเส วิกฺกิณาติ, อตฺตนาว อตฺตานํ สมฺมนฺนติ อิจฺจาทิฯ

วิเสสนกรณะ เห็นได้ตามตัวอย่างเหล่านี้ เช่น อาทิจฺโจ นาม โคตฺเตน. ผู้ทรงเป็นเผ่าพันธ์แห่งพระอาทิตย์โดยตระกูล (โดยโคตร).สากิโย นาม ชาติยา [วิ.มหา.๔/๑๐๐].ถ้าเป็นศากยะโดยกำเนิด.โคตฺเตน โคตโม นาโถ [ขุ.อป.เถร ๓๒/๓], พระโลกนาถทรงพระนามว่า โคตมะ โดยพระโคตร. สาริปุตฺโตติ นาเมน วิสฺสุโต ปญฺญวา จ โส [ขุ.อป. เถร ๓๒/๓]. นระนี้เป็นผู้มีปัญญา ปรากฏแล้ว โดยชื่อว่า สารีบุตร. ชาติยา ขตฺติโย พุทฺโธ [ที.ม.๑๐/๒], เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ได้เป็นกษัตริย์โดยชาติ ชาติยา สตฺตวสฺสิโก [ขุ.วิ.๒๖/๓๕๖] สามเณรอายุ ๗ ขวบโดยกำเนิด. สิปฺเปน นฬกาโร โส. เขาเป็นช่างสานด้วยศิลปะ. เอกูนติํโส วยสา [ที.ม.๑๐/๑๓๙] เราโดยวัยได้ ๒๙ ปี บวชแล้ว. วิชฺชาย สาธุ. คนดีด้วยความรู้. ตปสา อุตฺตโม สูงส่งด้วยตบะ. สุวณฺเณน อภิรูโป  งดงามด้วยทองคำปกติยา อภิรูโป งดงามตามปกติ. ปกติยา ภทฺทโก สวยงามตามปกติ. เยภุยฺเยน มตฺติกา [วิ.มหาวิ.๒/๓๕๐]  ปฐพีแท้ ได้แก่ ... มีดินเหนียวมาก. ธมฺเมน สเมน รชฺชํ กาเรติ, ครองราชย์โดยธรรมอย่างถูกต้อง.สเมน ธาวติ,ย่อมวิ่งไปอย่างสม่ำเสมอ. วิสเมน ธาวติ, ย่อมวิ่งไปอย่างไม่สม่ำเสมอ. สุเขน สุขิโต โหมิ, ปาโมชฺเชน ปมุทิโต [ขุ.อป.(พุทฺธวํ.)๓๓/๒] เราสำราญใจด้วยความสุข เบิกบานใจด้วยปราโมทย์. ทฺวิโทเณน ธญฺญํ กิณาติ, ซื้อข้าวเปลือกโดยทรัพย์สองทะนาน. สหสฺเสน อสฺเส วิกฺกิณาติ, ขายม้าด้วยทรัพย์หนึ่งพัน. อตฺตนาว อตฺตานํ สมฺมนฺนติ [ม.มู.๑๒/๑๒] เราย่อมสำคัญ (รู้ชัด) ตนด้วยตนเอง.

นานาตฺตกรณํ ยถา? กิํ เม เอเกน ติณฺเณน, ปุริเสน ถามทสฺสินา [พุ. วํ. ๒.๕๖]ฯ กิํ เต ชฏาหิ ทุมฺเมธ, กิํ เต อชินสาฏิยา [ธ. ป. ๓๙๔]ฯ อลํ เต อิธ วาเสน [ปารา. ๔๓๖], อลํ เม พุทฺเธน [ปารา. ๕๒], กินฺนุเมพุทฺเธน [ปารา. ๕๒], น มมตฺโถ พุทฺเธน [ปารา. ๕๒], มณินา เม อตฺโถ [ปารา. ๓๔๔], วเทยฺยาถ ภนฺเต เยนตฺโถ, ปานีเยน [ปาณิเยน (มู.)] อตฺโถ, มูเลหิ เภสชฺเชหิ อตฺโถ [มหาว. ๒๖๓], เสยฺเยน อตฺถิโก, มหคฺเฆน อตฺถิโก, มาเสน ปุพฺโพ, ปิตรา สทิโส, มาตรา สโม, กหาปเณน อูโน, ธเนน วิกโล, อสินา กลโห, วาจาย กลโห, อาจาเรน นิปุโณ, วาจาย นิปุโณ, คุเฬน มิสฺสโก, ติเลน มิสฺสโก, วาจาย สขิโล อิจฺจาทิฯ

นานาตตกรณะ (กรณะชนิดต่างๆ) พึงเข้าใจความหมายด้วยตัวอย่างเหล่านี้ เช่น
กิํ เม เอเกน ติณฺเณน,              ปุริเสน ถามทสฺสินา [ขุ.อป. (พุ.วํ.) ๓๓/๒] ประโยชน์อะไรด้วยความเป็นคนมีกำลัง ผู้ข้ามไปคนเดียวแก่เราเล่า. กิํ เต ชฏาหิ ทุมฺเมธ, กิํ เต อชินสาฏิยา [ขุ.ธ.๒๕ (กุหกพฺราหฺมณวตฺถุ)]  เจ้าคนมีปัญญาทราม จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเกล้าชฎา  ด้วยการครองหนังเสือ แก่เจ้า. อลํ เต อิธ วาเสน [ปารา. ๔๓๖]  อย่าเลย ด้วยการอยู่ในที่นี้ แก่ท่าน. อลํ เม พุทฺเธน [ปารา. ๕๒] อย่าเลย ด้วยพระพุทธเจ้า แก่เรา. กินฺนุเมพุทฺเธน [ปารา. ๕๒] ประโยชน์อะไรด้วยพระพุทธเจ้า แก่เรา. น มมตฺโถ พุทฺเธน [ปารา. ๕๒] ความต้องการด้วยพระพุทธเจ้า แก่เรา ย่อมไม่มี. มณินา เม อตฺโถ [ปารา. ๓๔๔] ความต้องการด้วยแก้วมณี แก่เรา ย่อมมี. วเทยฺยาถ ภนฺเต เยนตฺโถ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความต้องการด้วยสิ่งใด, ท่านพึงบอกซึ่งสิ่งนั้น. ปานีเยน อตฺโถ. ความต้องการด้วยน้ำดื่ม. มูเลหิ เภสชฺเชหิ อตฺโถ [มหาว. ๒๖๓] ความต้องการด้วยเภสัชชอันเป็นรากไม้. เสยฺเยน อตฺถิโก ผู้มีความต้องการที่นอน.  มหคฺเฆน อตฺถิโก ผู้ต้องการด้วยทรัพย์มีค่ามาก มาเสน ปุพฺโพ ผู้มาถึงก่อนโดยเดือน. ปิตรา สทิโส ผู้เช่นกับบิดา มาตรา สโม ผู้เช่นกับมารดา กหาปเณน อูโน ผู้ขาดแคลนด้วยกหาปณะ. ธเนน วิกโล ผู้พร่องด้วยทรัพย์. อสินา กลโห การต่อสู้ด้วยดาบ. วาจาย กลโห ทะเลาะด้วยวาจา. อาจาเรน นิปุโณ ผู้ละเอียดอ่อนด้วยอาจาระ (หรือ ผู้ดีด้วยความประพฤติ). วาจาย นิปุโณ ผู้ละเอียดอ่อนด้วยวาจา. คุเฬน มิสฺสโก (ข้าว) เคล้าน้ำอ้อย. ติเลน มิสฺสโก ข้าวคลุกงา. วาจาย สขิโล ผู้หยาบคายด้วยวาจา.

ตถา กมฺมาวธิ, อาธารจฺจนฺตสํโยค, กฺริยาปวคฺคาปิ นานาตฺตกรเณ สงฺคยฺหนฺติฯ

อนึ่ง แม้อรรถกรรม, อวธิ (อปาทาน), อาธาระ, อัจจันตสังโยค และกริยาปวัคคะ ก็สงเคราะห์เข้าในนานาตตกรณะ.

กมฺเม ตาว ติเลหิ เขตฺเต วปฺปติ, ตนฺตวาเยหิ จีวรํ วายาเปติ, สุนเขหิ ขาทาเปนฺติ อิจฺจาทิฯ

ลำดับแรก ตติยาวิภัตติที่ใช้ในอรรถกรรม เช่น
ติเลหิ เขตฺเต วปฺปติ ชาวนา หวานเมล็ดงาในนา. ตนฺตวาเยหิ จีวรํ วายาเปติ นายยังช่างช่างหูกให้ทอผ้าจีวร.สุนเขหิ ขาทาเปนฺติ ชนยังสุนัขท.ให้กัดกิน.

อวธิมฺหิ สุมุตฺตา มยํ เตน มหาสมเณน [จูฬว. ๔๓๗], มุตฺโตมฺหิ กาสิราเชน, จกฺขุ สุญฺญํ อตฺเตน วา อตฺตนิเยน วา [สํ. นิ. ๔.๘๕], โอตฺตปฺปติ กายทุจฺจริเตน [อ. นิ. ๕.๒], หิรียติ กายทุจฺจริเตน [อ. นิ. ๕.๒], ชิคุจฺฉติ สเกน กาเยน, ปถพฺยา เอกรชฺเชน, สคฺคสฺส คมเนน วาฯ สพฺพโลกาธิปจฺเจน, โสตาปตฺติผลํ วรํ [ธ. ป. ๑๗๘] อิจฺจาทิฯ

ใช้ในอรรถอวธิ เช่น สุมุตฺตา มยํ เตน มหาสมเณน [จูฬว. ๔๓๗] พวกเราพ้นแล้วจากพระมหาสมณะนั้น. มุตฺโตมฺหิ กาสิราเชน เราเป็นผู้พ้นแล้วจากพระเจ้ากาสิ. จกฺขุ สุญฺญํ อตฺเตน วา อตฺตนิเยน วา [สํ. นิ. ๔.๘๕] จักษุเป็นสภาวะที่ว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา. โอตฺตปฺปติ กายทุจฺจริเตน [อ. นิ. ๕.๒], ย่อมเกรงกลัว แต่กายทุจริต. หิรียติ กายทุจฺจริเตน [อ. นิ. ๕.๒] ย่อมละอาย แต่กายทุจริต. ชิคุจฺฉติ สเกน กาเยน ย่อมรังเกียจแต่กายอันเป็นของมีอยู่แห่งตน.
ปถพฺยา เอกรชฺเชน, สคฺคสฺส คมเนน วาฯ
สพฺพโลกาธิปจฺเจน, โสตาปตฺติผลํ วรํ [ธ. ป. ๑๗๘]
โสตาปัตติผล ประเสริฐกว่าความเป็นพระราชาเอกในแผ่นดิน, การไปสู่สวรรค์ หรือความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง.

อาธาเร เตน ขเณน เตน ลเยน เตน มุหุตฺเตน [มหาว. ๑๗], เตน สมเยน [ปารา. ๑], กาเลน ธมฺมสฺสวนํ [ขุ. ปา. ๕.๙]ฯ โส โว มมจฺจเยน สตฺถา [ที. นิ. ๒.๒๑๖], ติณฺณํ มาสานํ อจฺจเยน [ที. นิ. ๒.๑๖๘; อุทา. ๕๑], ปุพฺเพน คามํ, ทกฺขิเณน คามํ, ปุรตฺถิเมน ธตรฏฺโฐ, ทกฺขิเณน วิรูฬฺหโก ปจฺฉิเมน วิรูปกฺโข [ที. นิ. ๒.๓๓๖], เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ [ขุ. ปา. ๕.๑] อิจฺจาทิฯ

ในอรรถอาธาระ เช่น เตน ขเณน เตน ลเยน เตน มุหุตฺเตน [มหาว. ๑๗] ในขณะนั้น ในเวลานั้น ในครู่หนึ่งนั้น. เตน สมเยน [ปารา. ๑] ในสมัยนั้น.กาเลน ธมฺมสฺสวนํ [ขุ. ปา. ๕.๙] การฟังธรรมในกาล. โส โว มมจฺจเยน สตฺถา [ที. นิ. ๒.๒๑๖] ธรรมวินัยนั้น เป็นศาสดาของเธอ ในเวลาที่ล่วงไปแห่งเรา. ติณฺณํ มาสานํ อจฺจเยน [ที. นิ. ๒.๑๖๘; อุทา. ๕๑] ในกาลอันล่วงไปแห่งเดือนสาม (ในเวลาที่สามเดือนผ่านไป). ปุพฺเพน คามํ หมู่บ้านในทิศตะวันออก.ทกฺขิเณน คามํ หมู่บ้านในทิศใต้. ปุรตฺถิเมน ธตรฏฺโฐ, ทกฺขิเณน วิรูฬฺหโก ปจฺฉิเมน วิรูปกฺโข [ที. นิ. ๒.๓๓๖] ท้าวธตรัฐ อยู่ในทิศเบื้องหน้า, ท้าววิรูฬหก อยู่ในทิศเบื้องขวา ท้าววิรูปักษ์ อยู่ในทิศเบื้องหลัง. เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ [ขุ. ปา. ๕.๑] ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคในทิศที่ทรงประทับอยู่.


อจฺจนฺตสํโยเค มาเสน ภุญฺชติ, โยชเนน ธาวติ อิจฺจาทิฯ

ในอรรถอัจจันตสังโยค เช่น มาเสน ภุญฺชติ ย่อมบริโภคตลอดหนึ่งเดือน. โยชเนน ธาวติ ย่อมวิ่งไปตลอดหนึ่งโยชน์.

กฺริยาปวคฺโค นาม กฺริยาย สีฆตรํ นิฏฺฐาปนํ, ตสฺมิํ โชเตตพฺเพ ตติยา, เอกาเหเนว พาราณสิํ ปาปุณิ, ตีหิ มาเสหิ อภิธมฺมํ เทเสสิ, นวหิ มาเสหิ วิหารํ นิฏฺฐาเปสิ, คมนมตฺเตน ลภติ, โอฏฺฐปหฏมตฺเตน ปคุณํ อกาสิ

กริยาปวัคคะ คือ การสำเร็จการกระทำโดยรวดเร็ว, ใช้ตติยาวิภัตติ เมื่อจะแสดงกิริยาปวัคคะนั้น ตัวอย่างเช่น เอกาเหเนว พาราณสิํ ปาปุณิ ถึงเมืองพาราณสีเพียงหนึ่งวัน. ตีหิ มาเสหิ อภิธมฺมํ เทเสสิ ทรงแสดงพระอภิธรรมจบภายในสามเดือน.  นวหิ มาเสหิ วิหารํ นิฏฺฐาเปสิ สร้างวิหารเสร็จในเวลาเพียง ๙ เดือน. คมนมตฺเตน ลภติ, พอถึงเท่านั้น เขาก็ได้ (สิ่งของที่ต้องการ). โอฏฺฐปหฏมตฺเตน ปคุณํ อกาสิ เพียงริมฝีปากกระทบกันเท่านั้น ท่านก็ได้ทำ (ซึ่งคาถานั้น) ให้คล่องแคล่ว.

ตติยาวิภตฺติราสิ นิฏฺฐิโตฯ

กลุ่มอรรถของตติยาวิภัตติ จบแล้ว






























[๑] [ก. ๒๘๖, ๒๘๘; รู. ๒๙๑, ๒๙๓; นี. ๕๙๑, ๕๙๔; จํ. ๒.๑.๖๒-๓; ปา. ๒.๓.๑๘]ฯ
[๒] ก. ๒๘๗; รู. ๒๙๖; นี. ๕๙๒; จํ. ๒.๑.๖๕; ปา. ๒.๓.๑๙]
[๓] [วิ.มหาวคฺค ๕/๕๓]
[๔] [สํ.ส.๑๕/๘๙]
[๕] [ที.ม.๑๐/๑๐๖]
[๖] [วิ.มหาวคฺค ๔/๑๘๔].
[๗] [รู. ๑๔๗ ปิฏฺเฐ; นี. ๕๙๘; จํ. ๒.๑.๖๖; ปา. ๒.๓.๒๑]ฯ
[๘] [ขุ.ชา.๒๘/๑๑๗๓]
[๙] [อํ.เอก.๒๐/๕๐๖]
[๑๐] พระบาฬีวินัย มหาวิภังค์ ภาค ๒ (วิ.มหาวิ.๒/๖๑๐) มีตัวอย่างเพียง อสมฺภินฺเนน วิเลปเนน ดังนี้ว่า พหินคเร วสิตฺวา กาลสฺเสว อสมฺภินฺเนน วิเลปเนน เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ  เสด็จเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคแต่เช้า ทั้งๆที่เครื่องประทินยังคงปรากฏอยู่.
[๑๑] (วิ.มหาวิ.๒/๑๓๐) ปาฐะปัจจุบันเป็น โย  ปน  ภิกฺขุ  อูนปญฺจพนฺธเนน  ปตฺเตน  อญฺญํ นวํ  ปตฺตํ  เจตาเปยฺย  นิสฺสคฺคิยํ  ปาจิตฺติยํ. อนึ่ง ภิกษุใด มีบาตรมีแผลหย่อนห้า ให้จ่ายบาตรใหม่อื่น, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
[๑๒] เทียบกับปาฐะที่คล้ายคลึงในพระบาฬีมหาวรรควินัยปิฎก
[๑๓] [ม.มู. ๑๒/๒๖๖]
[๑๔] [วิ.มหาวิ. ๒/๘๐๘]
[๑๕]  [วิ.มหาวิ. ๒/๘๒๕]
[๑๖] [ก. ๒๙๑; รู. ๒๙๙; นี. ๖๐๓]
[๑๗] (ดูสูตรในกัจจายนะ เยนงฺควิกาโร ก.๒๙๑, รู. ๒๙๙ และสัททนีติ สูตร ๖๐๓)
[๑๘] [ก. ๒๘๙; รู. ๒๙๗; นี. ๖๐๑]
[๑๙] [ม.ม.๑๓/๗๐๗
[๒๐] [ม.ม.๑๓/๗๐๗]
[๒๑] (ขุ.ปฏิ.๓๑/๔๕๑)
[๒๒]  (กรณีที่ให้ อฏฺฐ มีความหมายว่า สภาว แปลว่า เพราะมีอะไรเป็นสภาวะ)
[๒๓]  [ขุ.วิ.๒๖/๓๔]
[๒๔] [ขุ.ชา. ๒/๖๘๑]
[๒๕]  [ชา.อ. ๔/๕๔ มาตงฺคชาตกวณฺณนา]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น