วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ปุงลิงค์ - อการันต์ ครั้งที่ ๓ (มโนคณาทิคณะ)


มโนคณราสิ
กลุ่มนามศัพท์ที่เป็นมโนคณะ
มโน, มนา, โภ มน, โภ มนา, โภนฺโต มนาฯ
มน ศัพท์  (ใจ)
ปฐมาวิภัตติ
มโน ใจ   
มนา ใจท.


อาลปนวิภัตติ
โภ มน, โภ มนา  แน่ะ ใจ
โภนฺโต มนา แน่ะ ใจท.
๑๑๕. มนาทีหิ สฺมิํสํนาสฺมานํ สิโสโอสาสา [ก. ๑๘๑-๒, ๑๘๔; รู. ๙๕-๙๗; นี. ๓๗๓-๔, ๓๗๖-๗].
สิ โส โอ สา สา เป็นอาเทสของ สฺมิํ ส อํ นา และ สฺมา ท้ายมนศัพท์เป็นต้น

เตหิ สฺมิํ, , อํ, นา, สฺมานํ กเมน สิ, โส, โอ, สา, สา โหนฺติ วาฯ มนํ, มโน, มเน, มเนน, มนสา, มเนหิ, มเนภิ, มนสฺส, มนโส, มนานํ, มนสฺมา, มนมฺหา, มนสา, มนา, มเนหิ, มเนภิ, มนสฺส, มนโส, มนานํ, มนสฺมิํ, มนมฺหิ, มนสิ, มเน, มเนสุฯ
สิ โส โอ สา สา เป็นอาเทสของ สฺมิํ ส อํ นา และ สฺมา อันเป็นเบื้องหลังจากมนศัพท์เป็นต้นเหล่านั้น
ทุติยาวิภัตติ
มนํ,  มโน ซึ่งใจ
มเน ซึ่งใจท.

ตติยาวิภัตติ
มเนน, มนสา ด้วยใจ
มเนหิ มเนภิ ด้วยใจท.

จตุตถีวิภัตติ
มนสฺส, มนโส แก่ใจ
มนานํ แก่ใจท.

ปัญจมีวิภัตติ
มนสฺมา, มนมฺหา, มนสา, มนา จากใจ
มเนหิ, มเนภิ จากใจท.
ฉัฏฐีวิภัตติ
มนสฺส, มนโส แห่งใจ
มนานํ แห่งใจท.

สัตตมีวิภัตติ
มนสฺมิํ, มนมฺหิ, มนสิ, มเน ในใจ
มเนสุ ในใจท.

ตโม, ตโป, เตโช, สิโร, อุโร, วโจ, รโช, โอโช, อโย, ปโย, วโย, สโร, ยโส, เจโต, ฉนฺโท, รธตา, อโห อิจฺจาทิ มโนคโณ
ศัพท์ที่เป็นมโนคณะ มีอย่างนี้คือ
ตโม = ความมืด
ตโป = ตบะ (ความร้อน)
เตโช = ไฟ
สิโร = ศีรษะ
อุโร = อก
วโจ = คำพูด
รโช =  ฝุ่น
โอโช =  โอชา
อโย = เหล็ก
ปโย = น้ำนม
วโย = วัย (ความเสื่อม)
สโร = สระ
ยโส =  ยส
เจโต = ใจ
ฉนฺโท =  ฉันทะ
รธตา = รธตา (?)
อโห = วัน ดังนี้เป็นต้น[1]

อิทํ มโนคณลกฺขณํฯ กฺริยากมฺเม โอทนฺโต, นาทีนํ สาทิตา, สมาสตทฺธิตมชฺเฌ โอทนฺโต จาติฯ
ลักษณะของมโนคณะนี้ (มี ๓ ประการ) คือ
๑) ที่เป็นกรรมของกริยา จะมีโอเป็นที่สุด
๒) นา วิภัตติเป็นต้น จะเป็น สา เป็นต้น
๓) ที่อยู่กลางสมาสและตัทธิต จะมีโอเป็นที่สุด

โย เว ทสฺสนฺติ วตฺวาน, อทาเน กุรุเต มโน [ชา. ๑.๑๕.๖๑], กสฺสปสฺส วโจ สุตฺวา, ตโป อิธ ปกฺรุพฺพติ [สํ. นิ. ๑.๒๐๔], เจโต ปริจฺจ ชานาติ [ที. นิ. ๑.๒๔๒], สิโร เต พาธยิสฺสามิ อิจฺจาทิฯ
มนสา เจ ปสนฺเนน [ธ. ป. ๒], วิปฺปสนฺเนน เจตสา [ชา. ๒.๒๒.๕๕๑], วจสา มนสา เจว, วนฺทา เม เต ตถาคเต [ปริตฺตปาฬิ อาฏานาฏิยสุตฺต]ฯ เอกูนติํโส วยสา [ที. นิ. ๒.๒๑๔], เตชสา ยสสา ชลํ [วิ. ว. ๘๕๗], ตปสา อุตฺตโม สตฺโต, ฆเตน วา ภุญฺชสฺสุ ปยสา วา, วนฺทามิ สิรสา ปาเท [ชา. ๒.๒๐.๖๘], เย เอตา อุปเสวนฺติ, ฉนฺทสา วา ธเนน วา [ชา. ๒.๒๑.๓๕๐], อุรสา ปนุทิสฺสามิ [ชา. ๒.๒๒.๑๘๓๓], อยสา ปฏิกุชฺฌิโต [อ. นิ. ๓.๓๖] อิจฺจาทิฯ
น มยฺหํ มนโส ปิโย [ชา. ๑.๑๐.๑๑], เจตโส ปริวิตกฺโก อุทปาทิ [ปารา. ๑๘], เจตโส สมนฺนาหาโร, สาธุ ขลุ ปยโส ปานํ, สาวิตฺตี ฉนฺทโส มุขํ [ม. นิ. ๒.๔๐๐] อิจฺจาทิฯ
สาธุกํ มนสิ กโรถ [ที. นิ. ๒.๓], เอตมตฺถํ เจตสิ สนฺนิธาย, สิรสิ อญฺชลิํ กตฺวา [อป. เถร ๑.๔๑.๘๒], อุรสิโลโม, ปาปํ อกาสิ รหสิ อิจฺจาทิฯ
มโนธาตุ, มโนมยํ, ตโมขนฺธํ ปทาลยิ, ตโปธโน, เตโชธาตุ, สิโรรุหา เกสา, สโรรุหํ ปทุมํ, รโชหรณํ วตฺถํ, โอโชหรณา สาขา, อโยปตฺโต, วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ, ยโสธรา เทวี, เจโตยุตฺตา ธมฺมา, ฉนฺโทวิจิติปกรณํ, รโหคโต จินฺเตสิ, อโหรตฺตานมจฺจเย [สํ. นิ. ๑.๑๑๒] อิจฺจาทิฯ

ตัวอย่างประกอบลักษณะ ๓ ประการของมโนคณะ
๑) ที่เป็นกรรมของกิริยาจะมีโอเป็นที่สุด
โย เว ทสฺสนฺติ วตฺวาน, อทาเน กุรุเต มโน [ขุ.ชา. ๒๗/๑.๖๑],
ผู้ใดพูดว่า “เราจักให้” แล้วกลับใจไม่ให้ ผู้นั้นชื่อว่าสวมบ่วงที่ตกไปบนพื้นดินไว้ที่คอ

กสฺสปสฺส วโจ สุตฺวา, (ขุ.ชา.๒๘/๑๒๐๓)
ได้สดับถ้อยคำของกัสสปคุณาชีวก

ตโป อิธ ปกฺรุพฺพติ[2] [สํ. ส. ๑๕/๒๐๔],
ท่านทำความเพียรในที่นี้ (เพื่อบังเกิดเป็นพรหมหรือ)

เจโต ปริจฺจ ชานาติ [ที.สี. ๙/๒๔๒],
ย่อมกำหนดรู้ซึ่งใจ.

สิโร เต พาธยิสฺสามิ
เราจักผ่าศีรษะของเจ้า.

๒) นาวิภัตติเป็นต้น จะเป็น สา เป็นต้น
นา, สฺมา เป็น สา
มนสา เจ ปสนฺเนน [ธ. ป. ๒],
หากมีใจเลื่อมใสแล้ว

วิปฺปสนฺเนน เจตสา [ชา. ๒.๒๒.๕๕๑]
มีใจไม่เลื่อมใสแล้ว

วจสา มนสา เจว, วนฺทา เม เต ตถาคเต [ปริตฺตปาฬิ อาฏานาฏิยสุตฺต]ฯ
การนมัสการของเราด้วยวาจา และ ด้วยใจ ขอจงมี แด่พระองค์ผู้ตถาคต.

เอกูนติํโส วยสา [ที. นิ. ๒.๒๑๔]
นับได้ ๒๙ ปี โดยวัย.

เตชสา ยสสา ชลํ [วิ. ว. ๘๕๗]
รุ่งเรืองด้วยเดชและยศ

ตปสา อุตฺตโม สตฺโต
สัตว์ผู้สูงส่งด้วยตบะ (ความเพียร)

ฆเตน วา ภุญฺชสฺสุ ปยสา วา
จงบริโภคด้วยเปรียงหรือด้วยนม.

วนฺทามิ สิรสา ปาเท [ชา. ๒.๒๐.๖๘]
ข้าพระองค์ขอนมัสการพระบาทด้วยเศียรเกล้า.

เย เอตา อุปเสวนฺติ, ฉนฺทสา วา ธเนน วา [ชา. ๒.๒๑.๓๕๐]
หญิงเหล่านั้น ย่อมเข้าไปคบหาบุรุษใด เพราะความรักใคร่พอใจ หรือเพราะทรัพย์

อุรสา ปนุทิสฺสามิ [ชา. ๒.๒๒.๑๘๓๓]
เราจักทำ หญ้าคา ฯลฯ ให้แหลกละเอียดทั้งหมดด้วยอก.
อยสา ปฏิกุชฺฌิโต[3] [อ. นิ. ๓.๓๖].
ครอบไว้ด้วยแผ่นเหล็ก

ส เป็น โส
น มยฺหํ มนโส ปิโย [ชา. ๑.๑๐.๑๑],
จะเป็นที่รักแห่งใจ ของเราก็หามิได้.

เจตโส ปริวิตกฺโก อุทปาทิ [ปารา. ๑๘],
ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจ.

เจตโส สมนฺนาหาโร,
การประมวลมาแห่งใจ

สาธุ ขลุ ปยโส ปานํ,
ได้ยินว่า เครื่องดื่มแห่งน้ำนมเป็นของดี

สาวิตฺตี ฉนฺทโส มุขํ [ม. นิ. ๒.๔๐๐].
สาวิตตีฉันท์เป็นมุข (แนวทาง, จุดเริ่มต้น) ของฉันท์

สฺมิํ เป็น สิ
สาธุกํ มนสิ กโรถ [ที. นิ. ๒.๓],
จงกระทำไว้ในใจ (ใส่ใจ) ให้ดี

เอตมตฺถํ เจตสิ สนฺนิธาย,
ต้้งไว้ซึ่งความข้อนี้ในใจ

สิรสิ อญฺชลิํ กตฺวา [อป. เถร ๑.๔๑.๘๒],
กระทำซึ่งอัญชลีเหนือศีรษะ

อุรสิโลโม,
มีขนที่อก

ปาปํ อกาสิ รหสิ
กระทำบาปไว้ในที่ลับ

๓) เป็น โอ ในกรณีที่อยู่กลางสมาสและตัทธิต เช่น
มโนธาตุ
ธาตุคือใจ

มโนมยํ
สำเร็จด้วยใจ

ตโมขนฺธํ ปทาลยิ
ทำลายกองแห่งโมหะ

ตโปธโน
ทรัพย์คือตบะ

เตโชธาตุ
ธาตุคือเตโช

สิโรรุหา เกสา
เส้นผม ซึ่งงอกที่ศีรษะ

สโรรุหํ ปทุมํ
ดอกบัวที่งอกในสระ

รโชหรณํ วตฺถํ
ผ้านำออกซึ่งฝุ่น (ผ้าเช็ดฝุ่น)

โอโชหรณา สาขา
กิ่งที่นำมาซึ่งโอชะ

อโยปตฺโต
บาตรอันทำด้วยเหล็ก,

วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ
ชั้นแห่งวัย ย่อมละไป ตามลำดับ

ยโสธรา เทวี
พระนางยโสธราเทวี

เจโตยุตฺตา ธมฺมา
ธรรมอันประกอบด้วยใจ

ฉนฺโทวิจิติปกรณํ
ปกรณ์ชื่อฉันโทวิจิติ

รโหคโต จินฺเตสิ
ผู้ไปในที่ลับ คิดแล้ว

อโหรตฺตานมจฺจเย [สํ. นิ. ๑.๑๑๒]
เพราะการล่วงไปแห่งคืนและวัน

มหาวุตฺตินา อหมฺหา สฺมิํโน นิ จ อุ จ โหติ, ตทหนิ, ตทหุฯ รหมฺหา สฺมิํโน โอ โหติ, มาตุคาเมน สทฺธิํ เอโก เอกาย รโห นิสีทติ [ปารา. ๔๕๒], รโห ติฏฺฐติ, รโห มนฺเตติฯ
ด้วยมหาสูตร สฺมิํ ท้าย อห ศัพท์ จะเป็น นิ และ อุ เช่น
ตทหนิ, ตทหุ. ในวันนั้น

สฺมิํ ท้าย รห ศัพท์ จะเป็น โอ เช่น
มาตุคาเมน สทฺธิํ เอโก เอกาย รโห นิสีทติ [ปารา. ๔๕๒],
พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง,

รโห ติฏฺฐติ
ยืนในที่ลับ

รโห มนฺเตติ
คิดในที่ลับ.
มโนคณราสิ นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มนามศัพท์ที่เป็นมโนคณะ จบแล้ว


[1] สัททนีติปทมาลา ระบุจำนวนมโนคณะว่า มี ๑๖ เท่านั้น คือ มโนคโณ จ นาม มโน วโจ วโย เตโช,ตโป เจโต ตโม ยโส;อโย ปโย สิโร ฉนฺโท,สโร อุโร รโห อโห อิเม โสฬสฯ
[2] พระไตรปิฎกฉบับปัจจุบันเป็น ตโป อิธ กุพฺพสิ (สํ.ส.๑๕/๒๐๔ กัฏฐหารสูตร)
[3] ปัจจุบันเป็น ปฏิกฺกุชฺชิโต (อํ.ติก. ๒๐/๓๖ เทวทูตสุตฺตํ, ม.อุ.๑๔/๒๕๐ พาลปณฺฑิตสุตฺตํ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น