วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ปุงลิงค์ - อาการันต์ ครั้งที่ ๑๒


อาการนฺตปุลฺลิงฺคราสิ
กลุ่มนามศัพท์อาการันต์
สา ศัพท์ (สุนัข)
ปฐมาวิภัตติ
คสีนนฺติ สิโลโป, สา ติฏฺฐติฯ
ลง สิ ท้าย นามศัพท์นี้คือ สา ลบ สิ วิภัตติ ด้วยสูตร คสีนํ (ลบสิชื่อคและสิอื่น)
สา สุนัข เช่น
สา ติฏฺฐติ สุนัข ยืนอยู่


เอกวจนโยสฺวโฆนนฺติ โยสุ จ เอกวจเนสุ จ รสฺโส, ‘อโต โยนมิจฺจาทินา วิธานํ, สา ติฏฺฐนฺติฯ
รัสสะอา  ท้าย สาศัพท์ เพราะ โย และ วิภัตติฝ่ายเอกวจนะทั้งหลาย ด้วยสูตร เอกวจนโยสฺวโฆนํ [ เพราะ โย และ วิภัตติฝ่ายเอกวจนะทั้งหลายท้ายนามศัพท์ ที่ไม่ใช่อการันต์และอาการันต์ชื่อฆ สระทีฆะถึงความเป็นรัสสะ]. วิธี (การทำตัวรูปที่เหลือ คือ แปลงโย เป็น อา) ย่อมมี ด้วยสูตรว่า อโต โยนํ ฎา เฏ [ท้าย อการันต์ โยทั้งหลายเป็น อา และ เอ] (สำเร็จรูปเป็น สา สุนัขท.) เช่น
สา ติฏฺฐนฺติ สุนัขท. ยืนอยู่

๑๖๓. สาสฺสํเส จานง
เพราะอํ ด้วย, สทั้งหลาย ด้วย และสิชื่อค ด้วย สระที่สุดของสาศัพท์ เป็น อาน.

อํ, เสสุ เค จ สาสทฺทสฺส อานง โหติฯ
โภ สาน, โภนฺโต สา, สํ, สานํ, เส, เสน, สาหิ, สาภิ, สสฺส, สานสฺส, สานํ, สสฺมา, สมฺหา, สา, สาหิ,สาภิ, สสฺส, สานสฺส, สานํ, สสฺมิํ, สมฺหิ, เส, สาสุฯ
ในเพราะ อํ, สทั้งหลาย (จตุตถีและฉัฏฐี) และสิชื่อค สระที่สุดของสาศัพท์ เป็น อาน.
อาลปนวิภัตติ
โภ สาน  แน่ะ สุนัข
โภนฺโต สา แน่ะ สุนัขท.

ทุติยาวิภัตติ
สํ, สานํ ซึ่งสุนัข
เส ซึ่งสุนัขท.

ตติยาวิภัตติ
เสน ด้วยสุนัข
สาหิ, สาภิ ด้วยสุนัขท.
จตุตถีวิภัตติ
สสฺส, สานสฺส แก่สุนัข
สานํ แก่สุนัขท.

ปัญจมีวิภัตติ
สสฺมา, สมฺหา, สา จากสุนัข
สาหิ, สาภิ จากสุนัขท.

ฉัฏฐีวิภัตติ
สสฺส, สานสฺส แห่งสุนัข
สานํ แห่งสุนัขท.

สัตตมีวิภัตติ
สสฺมิํ, สมฺหิ, เส ในสุนัข
สาสุ ในสุนัขท.

อถ วา สาสฺสํเส จานงอิติ สุตฺเต จสทฺโท อวุตฺตสมุจฺจยตฺโถปิ โหตีติ กตฺวา สิโต เสสาสุ วิภตฺตีสุปิ อานง โหติ วา, มหาวุตฺตินา จ อานาเทสโต โยนํ โอฯ
สา คจฺฉติ, สาโน คจฺฉนฺติ, สา วา, เห ส, เห สา, เห สาน, เห สา, เห สาโน, สํ, สานํ, เส, สาเน อิจฺจาทิฯ
อีกนัยหนึ่ง
จศัพท์ในสูตรว่า สาสฺสํเส จานง ยังมีความหมายว่าอวุตตสมุจจยะอีก  เพราะเหตุนี้ แม้ในเพราะวิภัตติทั้งหลายที่เหลือจากสิวิภัตติ สระที่สุดของสาเป็น อาน ได้อีกนัยหนึ่ง, และ โยทั้งหลาย (ปฐมาและอาลปนะ) ท้ายอาเทสคืออาน เป็นโอ ด้วยมหาสูตร.
ปฐมาวิภัตติ
สา คจฺฉติ สุนัข เดินไป
สาโน คจฺฉนฺติ สุนัขท. เดินไป

อาลปนวิภัตติ
สา วา, เห ส, เห สา, เห สาน แน่ะสุนัข
เห สา, เห สาโน แน่ะสุนัขท.

ทุติยาวิภัตติ
สํ, สานํ ซึ่งสุนัข
เส, สาเน ซึ่งสุนัขท.
(วิภัตติที่เหลือเหมือนปุริสาทิคณะ)

สทฺทนีติรูปํ วุจฺจเต
สา ติฏฺฐติ, สา ติฏฺฐนฺติ, สาโน ติฏฺฐนฺติ, โภ สา, โภนฺโต สา, สาโน, สานํ, สาเน, สานา, สาเนหิ, สาเนภิ, สาสฺส, สานํ, สานา, สาเนหิ, สาเนภิ, สาสฺส, สานํ, สาเน, สาเนสูติ [นีติ. ปท. ๒๑๑]
จะแสดงรูปตามนัยของคัมภีร์สัททนีติ (ปทมาลา ๒๑๑)
ปฐมาวิภัตติ
สา ติฏฺฐติ สุนัขยืนอยู่
สา ติฏฺฐนฺติ, สาโน ติฏฺฐนฺติ สุนัขท. ยืนอยู่

อาลปนวิภัติ
โภ สา แน่ะสุนัข  
โภนฺโต สา แน่ะสุนัขท.  

ทุติยาวิภัตติ
สาโน, สานํ ซึ่งสุนัข
สาเน ซึ่งสุนัขท.

ตติยาวิภัตติ
สานา ด้วยสุนัข
สาเนหิ, สาเนภิ  ด้วยสุนัขท.

จตุตถีวิภัตติ
สาสฺส แก่สุนัข
สานํ แก่สุนัขท

ปัญจมีวิภัตติ
สานา จากสุนัข
สาเนหิ, สาเนภิ จากสุนัขท.

ฉัฏฐีวิภัตติ
สาสฺส แห่งสุนัข
สานํ แห่งสุนัขท.

สัตตมีวิภัตติ
สาเน ในสุนัข
สาเนสุ ในสุนัขท.

*********
วตฺตหา ศัพท์
วตฺตหา วุจฺจติ สตฺโต [สกฺโก (อมรโกส, ๑-๑๔๕ คาถายํ)]
สัตว์ เรียกว่า วตฺตหา[๑]

๑๖๔. วตฺตหา สนํนํ โนนานํ
ส วิภัตติและนํวิภัตติ ที่อยู่ข้างหลังจาก วตฺตหศัพท์ เป็น โน, เป็น นานํ.

วตฺตหโต สสฺส โน โหติ, นํวจนสฺส นานํ โหติฯ
โน เป็นอาเทสของ ส และ นานํ เป็นอาเทสของ นํ ที่อยู่ข้างหลังจาก วตฺตหศัพท์.

วตฺตหาโน เทติ, วตฺตหานานํ เทติฯ เสสํ ยุวสทฺทสมํฯ
สทฺทนีติยํ ปน นา,เสสุ วตฺตหินา, วตฺตหิโนติ [นีติ. ปท. ๒๑๙; (ตตฺถ นามฺหิ วตฺตหานาติ ทิสฺสติ)] วุตฺตํ.
วตฺตหาโน เทติ ย่อมให้แก่ แก่สัตว์.
วตฺตหานานํ เทติ ย่อมให้แก่สัตว์ท.
รูปที่เหลือเหมือนยุวศัพท์.
แต่ในคัมภีร์สัททนีติ ปทมาลา ท่านกล่าวรูปในนาวิภัตติว่า วตฺตหินา และ ในสวิภัตติว่า วตฺตหิโน[๒]

****************

ทฬฺหธมฺมา ศัพท์ (ผู้มีธนูแข็งแกร่ง)
ทฬฺหธมฺมา, ทฬฺหธมฺมา, ทฬฺหธมฺมาโนฯ ‘‘สิกฺขิตา ทฬฺหธมฺมิโน’’ติปิ [สํ. นิ. ๑.๒๐๙] ปาฬิฯ โภ ทฬฺหธมฺมา, โภนฺโต ทฬฺหธมฺมา, ทฬฺหธมฺมาโน, ทฬฺหธมฺมิโน, ทฬฺหธมฺมานํ, ทฬฺหธมฺมาเน, ทฬฺหธมฺมินา, ทฬฺหธมฺเมหิฯ เสสํ ปุริสสมํฯ
ปฐมาวิภัตติ
ทฬฺหธมฺมา ผู้มีธนูแข็งแกร่ง
ทฬฺหธมฺมา, ทฬฺหธมฺมาโน ผู้มีธนูแข็งแกร่งท.
แม้ในปฐมาวิภัตติพหุวจนะ ก็มีรูปว่า ทฬฺหธมฺมิโน ดังมีพระบาฬีเป็นหลักฐานว่า
สิกฺขิตา ทฬฺหธมฺมิโน [สํ.ส.๑๕/๗๒๙]
ผู้มีฝีมืออันเชี่ยวชาญ ศึกษาดีแล้ว ทรงธนูไว้มั่นคง

อาลปนวิภัตติ
โภ ทฬฺหธมฺมา ข้าแต่ท่านผู้มีธนูแข็งแกร่ง
โภนฺโต ทฬฺหธมฺมา ข้าแต่ท่านผู้มีธนูแข็งแกร่งท.

ทุติยาวิภัตติ
ทฬฺหธมฺมาโน, ทฬฺหธมฺมิโน, ทฬฺหธมฺมานํ ซึ่งท่านผู้มีธนูแข็งแกร่ง
ทฬฺหธมฺมาเน ซึ่งท่านผู้มีธนูแข็งแกร่งท.

ตติยาวิภัตติ
ทฬฺหธมฺมินา ด้วยท่านผู้มีธนูแข็งแกร่ง
ทฬฺหธมฺเมหิ ด้วยท่านผู้มีธนูแข็งแกร่งท.

รูปวิภัตติที่เหลือเหมือนปุริสศัพท์

เอวํ ปจฺจกฺขธมฺมาติฯ
ปจฺจกฺขธมฺมา ศัพท์ (ผู้มีธรรมเห็นประจักษ์) ก็มีนัยนี้.

************ 
วิวฏจฺฉทาศัพท์ (ผู้มีกิเลสเพียงดังหลังคาอันเปิดแล้ว)
วิวฏจฺฉทสทฺเท ปน นามฺหิ อิตฺตํ นตฺถิ, เสสํ ทฬฺหธมฺมสมํฯ ปาฬิยํ ปน ‘‘ทฬฺหธมฺโมติ วิสฺสุโต’’ติ          [ชา. ๒.๒๒.๓๐๐]‘‘โลเก วิวฏจฺฉโท’’ติ [ที. นิ. ๑.๒๕๘] จ ทิฏฺฐตฺตา เอเต สทฺทา ปุริสรูปา อการนฺตาปิ ยุชฺชนฺติฯ
ในวิวฏจฺฉทาศัพท์ (ผู้มีกิเลสเพียงดังหลังคาอันเปิดแล้ว) ก็เหมือนกับ ทฬฺหธมฺมศัพท์ แต่มีที่ต่างกันคือ ในนาวิภัตติ ไม่มีการแปลง อ เป็น อิ (โดยมีรูปเป็น วิวฏจฺฉทนา). อย่างไรก็ตาม ทั้งทฬฺหธมฺมา และ วิวฏจฺฉทา ๒ ศัพท์นี้ หากจะให้เป็นอการันต์ เหมือนปุริสศัพท์ ก็ได้ เพราะพบตัวอย่างในพระบาฬีว่า

ทฬฺหธมฺโมติ วิสฺสุโต [ขุ.ชา.๒๘/๔๘๓]
ได้รับการขนานนามว่าเป็นนักแม่นธนู

โลเก วิวฏจฺฉโท [ที.สี.๘/๑๔๓]
จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก

***********
วุตฺตสิรา ศัพท์
วุตฺตสิรา วุจฺจติ นวโวโรปิตเกโส, วุตฺตสิรา พฺราหฺมโณ, วุตฺตสิรา, วุตฺตสิราโน, วุตฺตสิรานํ, วุตฺตสิราเน, วุตฺตสิรานา, วุตฺตสิราเนหิฯ เสสํ ปุริสสมํฯ ปาฬิยํ ปน ‘‘กาปฏิโก มาณโว วุตฺตสิโร’’ติปิ [ม. นิ. ๒.๔๒๖]          ทิสฺสติฯ
ผู้ที่เพิ่งจะปลงผมลงใหม่ๆ เรียกว่า วุตฺตสิรา
ปฐมาวิภัตติ
วุตฺตสิรา พฺราหฺมโณ พราหมณ์ ผู้ซึ่งจะปลงผมเสร็จใหม่
วุตฺตสิรา, วุตฺตสิราโน  ผู้ซึ่งจะปลงผมเสร็จใหม่ท.

ทุติยาวิภัตติ
วุตฺตสิรานํ ซึ่งพราหมณ์ผู้ซึ่งจะปลงผมเสร็จใหม่
วุตฺตสิราเน ซึ่งพราหมณ์ผู้ซึ่งจะปลงผมเสร็จใหม่ท.

ตติยาวิภัตติ
วุตฺตสิรานา ด้วยพราหมณ์ผู้ซึ่งจะปลงผมเสร็จใหม่
วุตฺตสิราเนหิ ด้วยพราหมณ์ผู้ซึ่งจะปลงผมเสร็จใหม่ท.

รูปที่เหลือเหมือนปุริสศัพท์. อย่างไรก็ตาม ในพระบาฬีพบรูปปฐมาวิภัตติที่เป็นของอการันต์ ดังนี้
กาปฏิโก มาณโว วุตฺตสิโร [ม.ม. ๑๓/๖๕๑]
ก็สมัยนั้นแล มาณพชื่อว่ากาปทิกะ ยังเป็นเด็กโกนศีรษะ

********

รหาศัพท์ (บาปธรรม)
รหา วุจฺจติ ปาปธมฺโมฯ รหา, รหา, รหิโน, รหานํ, รหิเน, รหินา, รหิเนหิ, รหิเนภิ, รหสฺส, รหิโน, รหานํเป.รหาเน, รหาเนสูติ [นีติ. ปท. ๒๑๗] สพฺพํ สทฺทนีติยํ วุตฺตํ, อิธ ปน มหาวุตฺตินา สิทฺธํฯ
บาปธรรม เรียกว่า รหา.

ปฐมาวิภัตติ
รหา บาปธรรม
รหา บาปธรรมท.

ทุติยาวิภัตติ
รหิโน, รหานํ ซึ่งบาปธรรม
รหิเน ซึ่งบาปธรรมท.

ตติยาวิภัตติ
รหินา ด้วยบาปธรรม
รหิเนหิ, รหิเนภิ ด้วยบาปธรรมท.

จตุตถีวิภัตติ
รหสฺส, รหิโน แก่บาปธรรม
รหานํ แก่บาปธรรมท.

(ปัญจมีวิภัตติเหมือนตติยาวิภัตติ และ ฉัฏฐีวิภัตติเหมือนจตุตถีวิภัตติ)

สัตตมีวิภัตติ
รหาเน ในบาปธรรม
รหาเนสุ ในบาปธรรมท.

รูปทั้งหมดดังกล่าวมา มีแสดงไว้ในคัมภีร์สัททนีติ แต่ในคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์นี้ สำเร็จรูปด้วยมหาสูตร.
อิติ อาการนฺตปุลฺลิงฺคราสิฯ
กลุ่มนามศัพท์อาการันต์ ปุงลิงค์ เป็นอย่างนี้.



[๑] คัมภีร์อมรโกส ฝ่ายสันสกฤต คาถาที่ ๑-๑๔๕ เป็น สกฺโก (อมรโกส, ๑-๑๔๕ คาถายํ) แม้สัททนีติปทมาลา ก็แสดงไว้ว่า วตฺตหาติ สกฺโก โดยนัยนี้ วตฺตหา เป็นชื่อหนึ่งของท้าวสักกะ โดยแยกเป็น วตฺต (ชื่อหนึ่งของอสูร) + หน ธาตุ กำจัด + กฺวิ ท้าวสักกะนั้นเป็นผู้กำจัดอสูรที่ชื่อวตฺต จึงทรงพระนามว่า วตฺตหา เทียบกับรูปว่า วตฺรภู ซึ่งเป็นชื่อหนึ่งของท้าวสักกะ ที่มาในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาคาถาที่ ๒๐ และอภิธาน.ฎีกาอธิบายว่า วตฺรํ นาม อสุรํ อภิภวตีติ วตฺรภูฯ (ธาน.ฎี.๒๐) ผู้เอาชนะอสูรที่ชื่อว่า วัตระได้ ชื่อว่า วตฺรภู.
[๒] แต่ในคัมภีร์สัททนีติ ปทมาลาตามที่ท่านอ้างไว้นั้น ในนาวิภัตติ เป็น วตฺตหานา [นีติ. ปท. ๒๑๙].

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น