วิภตฺติปจฺจยนฺตราสิ
กลุ่มนามศัพท์ที่มีวิภัตติปัจจัยเป็นที่สุด
อถ
วิภตฺติปจฺจยา ทีปิยนฺเตฯ
ต่อจากสรรพนาม
ข้าพเจ้าจะแสดงวิภัตติปัจจัย
วิภตฺยตฺถานํ
โชตกตฺตา วิภตฺติฏฺฐาเน ฐิตา ปจฺจยา วิภตฺติปจฺจยาฯ
วิภัตติปัจจัย
ได้แก่ ปัจจัยที่ดำรงอยู่ในฐานะแห่งวิภัตติ เพราะเป็นศัพท์แสดงอรรถของวิภัตติ.
โต ปัจจัย
ใช้ในอรรถของปัญจมีวิภัตติ.
ปญฺจมิยา
วิภตฺติยา อตฺเถ โตปจฺจโย โหติฯ
โตมฺหิ
ทีฆานํ รสฺโส,
กญฺญโต, รตฺติโต, อิตฺถิโต,
เธนุโตฯ มหาวุตฺตินา โตมฺหิ มาตาปิตูนํ อิตฺตํ,มาติโต, ปิติโต, วธุโต,
ปุริสโต, มุนิโต, ทณฺฑิโต, ภิกฺขุโต, สตฺถารโต,
กตฺตุโต, โคตฺรภุโต, สพฺพโต,
ยโต, ตโตฯ
โต ปัจจัย
ใช้ในอรรถของปัญจมีวิภัตติ.
อิตถีลิงค์
ในอิตถีลิงค์, สระทีฆะเป็นรัสสะ
เพราะโตปัจจัย ตัวอย่างเช่น
กญฺญโต
จากหญิงสาว
รตฺติโต จากราตรี
อิตฺถิโต จากผู้หญิง
เธนุโต
จากแม่โค
ด้วยมหาสูตร
สระที่สุดของ มาตุ และ ปิตุ ศัพท์ เป็นอิ เพราะ โตปัจจัย ตัวอย่างเช่น
มาติโต
จากฝ่ายมารดา
ปิติโต
จากฝ่ายบิดา
วธุโต
จากหญิงสาว
ปุงลิงค์
ปุริสโต
จากบุรุษ
มุนิโต
จากพระมุนี
ทณฺฑิโต
จากคนมีไม้เท้า
ภิกฺขุโต
จากภิกษุ
สตฺถารโต
จากพระศาสดา
กตฺตุโต
จากผู้ทำ
นปุงสกลิงค์
โคตฺรภุโต
จากโคตรภู
สรรพนาม
สพฺพโต
จากสิ่งทั้งปวง
ยโต จากสิ่งใด
ตโต
จากสิ่งนั้น
อิม, เอต, กิํสทฺเทหิ โตฯ
ลง โต
ปัจจัยท้าย ศัพท์เหล่านี้ คือ อิม เอต และ กิํ
ศัพท์เหล่านี้
คือ อิโต อโต เอตฺโต และ กุโต ย่อมสำเร็จรูป.
อิโต, อโต, เอตฺโต, กุโตติ เอเต
สทฺทา โตปจฺจยนฺตา นิปจฺจนฺเตฯ
อิมมฺหา
อิเมหีติ วา อิโต,
เอตสฺมา เอเตหีติ วา อโต, เอตฺโต, กสฺมา เกหีติ วา กุโตฯ เอตฺถ จ อิมมฺหา, อิเมหีติอาทิกํ
อตฺถวากฺยํ ทิสฺวา ปกติลิงฺคํ เวทิตพฺพํฯ อิมินา สุตฺเตน อิมสฺส อิตฺตํ, เอตสฺส อตฺตํ เอตฺตญฺจ, ‘สรมฺหา ทฺเว’ติ เอสรมฺหา ทฺวิตฺตํ, กิํสทฺทสฺส กุตฺตํฯ เอส นโย
เสเสสุ นิปาตเนสุฯ
ศัพท์เหล่านี้
คือ อิโต อโต เอตฺโต และ กุโต อันมีโตปัจจัยเป็นที่สุด ย่อมสำเร็จรูป. ตัวอย่าง
อิมมฺหา
อิเมหีติ วา อิโต,
จากสิ่งนี้ หรือ
จากสิ่งนี้ ท. ชื่อว่า อิโต
เอตสฺมา
เอเตหีติ วา อโต,
เอตฺโต
จากสิ่งนั่น
หรือ จากสิ่งนั่นท. ชื่อว่า อโต, เอตฺโต
กสฺมา
เกหีติ วา กุโตฯ
จากสิ่งอะไร
หรือ จากสิ่งอะไรท. ชื่อว่า กุโต.
เกี่ยวกับเรื่องนี้
นักศึกษาพึงทราบปกติลิงค์ได้ เพราะเห็นรูปวิเคราะห์ว่า อิมมฺหา, อิเมหิ เป็นต้น[๑].
แปลง อิม เป็น อิ, เอต เป็น อ และ เอตฺต, ซ้อน ตฺ ท้าย เอ ด้วยสูตร สรมฺหา เทฺว
(อักษรสองตัวย่อมมีตรงท้ายสระ), กิํ เป็น กุ ด้วยสูตรนี้. ในนิปาตนะ (รูปที่ได้จากบทในตัวสูตร)
ที่เหลือ มีนัยนี้.
ลง โต
ปัจจัยท้าย อภิ เป็นต้น
อภิอาทีหิ
โต โหติ,
ปุนพฺพิธานา’ปญฺจมฺยตฺเถปีติปิ สิทฺธํฯ
โต ปัจจัย
ย่อมมีท้าย อภิ เป็นต้น, เป็นอันสำเร็จแม้ความหมาย (อรรถรูป) ว่า โตปัจจัย
ที่ใช้ในการกล่าวข้อความเดิมอีก อันไม่ใช่อรรถแห่งปัญจมี ดังนี้.
อภิโต
คามํ คามสฺส อภิมุเขติ อตฺโถฯ
ปริโต
คามํ คามสฺส สมนฺตโตติ อตฺโถฯ
อุภโต
คามํ คามสฺส อุโภสุ ปสฺเสสูติ อตฺโถฯ
ปจฺฉโต, เหฏฺฐโต, อุปริโตฯ
ปริโต
คามํ
ความหมายคือ คามสฺส สมนฺตโต ในที่โดยรอบ แห่งบ้าน
อุภโต
คามํ
ความหมายคือ อุโภสุ ปสฺเสสุ ในข้างทั้งสอง แห่งบ้าน
อื่น ๆ เช่น
ปจฺฉโต ในที่ข้างหลัง
เหฏฺฐโต ในที่เบื้องต่ำ
อุปริโต
ในที่ข้างบน
ลง โต
ปัจจัยในอรรถที่ไม่ใช่ปัญจมี ท้าย อาทิ ศัพท์เป็นต้น.
อาทิปภุตีหิ
อปญฺจมฺยตฺเถปิ โต โหติฯ
อาทิโต,
มชฺฌโต, ปุรโต, ปสฺสโต,
ปิฏฺฐิโต, โอรโต, ปรโต,
ปจฺฉโต, ปุรตฺถิมโต, ทกฺขิณโตอิจฺจาทีสุ
พหุลํ สตฺตมฺยตฺเถ ทิสฺสติฯ
โดยมากแล้วพบตัวอย่างการใช้ในอรรถสัตตมี
เช่น
อาทิโต ในเบื้องต้น
มชฺฌโต ในท่ามกลาง
ปุรโต ข้างหน้า
ปสฺสโต
ด้านข้าง
ปิฏฺฐิโต
ข้างหลัง
โอรโต
ในฝั่งนี้
ปรโต
ที่ฝั่งโน้น
ปจฺฉโต
ด้านหลัง
ปุรตฺถิมโต
ในทิศตะวันออก
ทกฺขิณโต
ด้านขวา
ตถา
ตติยตฺเถปิ
รูปํ
อตฺตโต สมนุปสฺสติ [สํ. นิ. ๓.๔๔], ปญฺจกฺขนฺเธ อนิจฺจโต วิปสฺสติ อิจฺจาทิฯ
ลงในอรรถแห่งตติยา
ก็มี เช่นกัน ดังตัวอย่างพระบาฬีนี้
รูปํ
อตฺตโต สมนุปสฺสติ (สํ.ขนฺธ. ๑๗/๔)
ย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตัวตน
ปญฺจกฺขนฺเธ
อนิจฺจโต วิปสฺสติ
ย่อมเห็นแจ้งซึ่งเบญจขันธ์โดยความไม่เที่ยง
ยโตนิทานํ
[สุ. นิ. ๒๗๕], ยตฺวาธิกรณํ, ยโตทกํ ตทาทิตฺตมิจฺจาทีสุ [ชา. ๑.๙.๕๘] ปฐมตฺเถ
อิจฺฉนฺติฯ
อาจารย์ทั้งหลายยังเห็นชอบว่า
ใช้ในอรรถแห่งปฐมาวิภัตติ[๔]
เช่น
สาตํ อสาตญฺจ
กุโตนิทานา กิสฺมิํ อสนฺเต น ภวนฺติ เหเต
วิภวํ ภวญฺจาปิ ยเมตมตฺถํ เอตํ เม ปพฺรูหิ
ยโตนิทานํ (ขุ.สุ. ๒๕/๘๗๕).
ความยินดีและความไม่ยินดี มีอะไรเป็นเหตุ เมื่อธรรมอะไรไม่มี ธรรมเหล่านี้จึงไม่มี ขอพระองค์จงตรัสบอกอรรถ คือ ทั้งความเสื่อมไปและทั้งความเกิดขึ้น (แห่งความยินดีและความไม่ยินดี) นี้ว่า มีสิ่งใดเป็นเหตุ แก่ข้าพระองค์เถิด.[๕]
ยตฺวาธิกรณํ (ที.สี.๙/๑๒๒)
เหตุใด
สุณนฺตุ
เม ชานปทา เนคมา จ สมาคตา
ยโตทกํ
ตทาทิตฺตํ ยโต เขมํ ตโต ภยํ
[ขุ.ชา.๒๗/๑๒๖๔]
ชาวชนบท
และชาวนิคมผู้มาประชุมกันแล้วขอจงฟังข้าพเจ้า,
น้ำใด มีอยู่, น้ำนั่นแหละ คือ ไฟ.[๖]
ความเกษมสำราญบังเกิดขึ้นแต่ที่ใด ภัยก็บังเกิดขึ้นแต่ที่นั้น
อิโต
เอหิ,
อิโต พลาเก อาคจฺฉ, จณฺโฑ เม วายโส สขา
อิจฺจาทีสุ ทุติยตฺเถฯ
ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ
เช่น
ท่านจงมา สู่ที่นี่.
กายํ พลากา สิขินี โจรี ลงฺฆีปิตามหา
นกกระยางอะไรนี่ มีหงอน ขี้ขโมย เป็นปู่นก
โลดเต้นอยู่. แน่ะนกกระยาง ท่านจงออกมา สู่ที่นี่ (ข้างนี้)
กาผู้เป็นสหายของเราดุร้าย.
ปรโตโฆโส, นาทิฏฺฐา ปรโต โทสํ อิจฺจาทีสุ ฉฏฺฐฺยตฺเถฯ
ในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ
เช่น
ปรโตโฆโส [๙]
(ขุ.ปฏิ.๓๑/๓๐๔)
เสียง (คำพูด,
คำสอน) ของผู้อื่น
นาทิฏฺฐา ปรโต โทสํ อณณถูลานิ สพฺพโส
อิสฺสโร ปณเย ทณฺฑํ สามํ อปฺปฏิเวกฺขิย. [ขุ.ชา.๒๗/๑๖๙๘]
พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
ไม่เห็นโทษของผู้อื่นว่าน้อยหรือมากโดยประการทั้งปวงไม่พิจารณาด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว
ไม่พึงลงอาชญา.
ตฺร และ ตฺถ
ย่อมลงในอรรถแห่งสัตตมีท้ายสรรพนามทั้งหลาย.
สพฺพาทินามเกหิ
สพฺพนาเมหิ สตฺตมิยา อตฺเถ ตฺร, ตฺถา โหนฺติฯ
ตฺร และ ตฺถ
ย่อมลงในอรรถแห่งสัตตมี ท้ายสรรพนามทั้งหลายอันมีชื่อว่า สพฺพาทิ.
สพฺพสฺมิํ
สพฺเพสูติ วา สพฺพตฺร, สพฺพตฺถ, สพฺพสฺสํ
สพฺพาสุ วาติปิฯ เอวํ กตรตฺร, กตรตฺถ, อญฺญตฺร,
อญฺญตฺถ อิจฺจาทิฯ
สพฺพสฺมิํ (ในบุรุษทั้งปวง),
สพฺเพสุ (ในบุรุษท. ทั้งปวง) ชื่อว่า สพฺพตฺร, สพฺพตฺถ บ้าง
สพฺพสฺสํ
(ในหญิงทั้งปวง) ,สพฺพาสุ (ในหญิงท.ทั้งปวง) ชื่อว่า สพฺพตฺร, สพฺพตฺถ บ้าง
ศัพท์อื่นก็เหมือนกัน[๑๐]
คือ
กตรตฺร, กตฺรตฺถ
ในที่ไหน,
อญฺญตร, อญฺญตฺถ
ในที่อื่น
ยตฺร, ยตฺถ, ตตฺร, ตตฺถฯ
ยตฺร, ยตฺถ
ในที่ใด
ตตฺร, ตตฺถ
ในที่ไหน
ศัพท์เหล่านี้คือ
กตฺถ, เอตฺถ, กุตฺร, อตฺร, ตฺว, อิห, อิธ ย่อมสำเร็จในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ.
กตฺถ,เอตฺถ,กุตฺร, อตฺร, ตฺว, อิห, อิธาติ เอเต สทฺทา ตฺถ, ตฺร,ว, ห, ธาปจฺจยนฺตา สตฺตมฺยตฺเถ สิชฺฌนฺติ.
ศัพท์เหล่านี้
คือ กตฺถ, เอตฺถ, กุตฺร, อตฺร, ตฺว, อิห, อิธ มี ตฺถ, ตร, ว, ห, และธา
ปัจจัยเป็นที่สุด ย่อมสำเร็จ ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ.
กสฺมิํ
เกสูติ วา กตฺถ,
กุตฺร, กฺวฯ ‘กุว’นฺติปิ สิชฺฌติ, ‘‘กุวํ สตฺตสฺส การโก, กุวํ สตฺโต สมุปฺปนฺโน [สํ.
นิ. ๑.๑๗๑], กุวํ อสิสฺสํ, กุวํ
ขาทิสฺส’’นฺติ ปาฬิฯ
กสฺมิํ (ในที่ใด)
เกสุ (ในที่ท.เหล่าใด) ชื่อว่า กตฺถ, กุตฺตร, กฺว บ้าง. แม้รูปว่า กุวํ ในที่ไหน
ดังนี้ก็มีบ้าง พบตัวอย่างพระบาฬีว่า
เกนายํ
ปกโต สตฺโต กุวํ สตฺตสฺส
การโก,
(มารถามว่า) สัตว์นี้ใครสร้าง
ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน สัตว์บังเกิดในที่ไหน สัตว์ดับไปในที่ไหน.
กิํสู
อสิสฺสามิ กุวํ วา อสิสฺสํ, ทุกฺขํ วต เสตฺถ กฺวชฺช เสสฺสํ;
เอเต
วิตกฺเก ปริเทวเนยฺเย, วินเยถ เสโข อนิเกตจารี. (ขุ.สุตฺต. ๙๗๖)
ผู้เป็นเสขะ ไม่มีความกังวลเที่ยวไป
พึงปราบวิตกอันเป็นที่ตั้งแห่งความร่ำไรเหล่านี้ว่า เราจักบริโภคอะไร
หรือว่าเราจักบริโภคที่ไหน เมื่อคืนนี้เรานอนเป็นทุกข์นัก
ค่ำวันนี้เราจักนอนที่ไหน.
เราจักเคี้ยวกิน
ในที่ไหน
เอตสฺมิํ
(ในที่นั่น) เอเตสุ (ในที่ท.นั่น) ชื่อว่า เอตฺถ, อตฺร
อิมสฺมิํ
(ในที่นี้) อิเมสุ (ในที่ท.นั่น) ชื่อว่า อิห, อิธ
ลง ธิ
ในอรรถสัตตมีท้าย สพฺพ ศัพท์ ได้บ้าง.
สพฺพสทฺทมฺหา
สตฺตมฺยตฺเถ ธิ โหติ วาฯ
ธิปัจจัย ย่อมมี
ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ ท้าย สพฺพ ศัพท์ ได้บ้าง. ตัวอย่างเช่น
นโม เต
พุทฺธวีรตฺถุ วิปฺปมุตฺโตสิ สพฺพธิ
สมฺพาธปฏิปนฺโนสฺมิ ตสฺส
เม สรณํ ภวาติ. (สํ.ส. ๑๕/๒๔๑)
(จันทิมเทวบุตร
ฯลฯ ได้ภาษิตคาถานี้ว่า)
ข้าแต่พระพุทธเจ้า
ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง
ข้าพระองค์ถึงเฉพาะแล้ว ซึ่งฐานะอันคับขัน
ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น ฯ
ลง หิํ
ในอรรถสัตตมี ท้าย ย ศัพท์.
ยมฺหา
สตฺตมฺยตฺเถ หิํ โหติฯ ยหิํฯ
หิํ ปัจจัย
ย่อมมี ท้าย ย ศัพท์ ในอรรถสัตตมี. ตัวอย่างเช่น
ยหิํ ในที่ใด.
ลง หิํ และ หํ
ในอรรถสัตตมี ท้าย ต ศัพท์.
ตมฺหา
สตฺตมฺยตฺเถ หิํ โหติ หญฺจฯ
ตหิํ, ตหํฯ ทุติยตฺเถปิ ทิสฺสติ ‘‘ตหํ ตหํ โอโลเกนฺโต คจฺฉตี’’ติฯ
หิํ และ หํ
ปัจจัย ย่อมลง ในอรรถสัตตมี ท้าย ต ศัพท์. ตัวอย่างเช่น ตหิํ, ตหํ ในที่นั้น.
หิํ และ หํ
ลงในอรรถแห่งทุติยา ก็พบได้บ้าง เช่น
(ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ)
ไป (ในละแวกบ้าน) พลางแลดู ซึ่งที่นั้นๆ (ต้องอาบัติทุกกฏ).
ลง หิํ และ หํ ปัจจัยท้าย
กิํ ศัพท์ ในอรรถกสัตตมี และ แปลง กิํ เป็น กุ, ก.
กิํมฺหา
สตฺตมฺยตฺเถ หิํ,
ตํ โหติฯ กิํสฺส กุตฺตํ กตฺตญฺจ โหติฯ
หิํ และ หํ
ย่อมลงในอรรถสัตตมี ท้าย กิํ ศัพท์. ความเป็น กุ และ เป็น ก แห่ง กิํ ศัพท์
ย่อมมี.
กุหิํ
คจฺฉติ,
กุหํ คจฺฉติฯ กหํ เอกปุตฺตก กหํ เอกปุตฺตก [สํ. นิ. ๒.๖๓]ฯ
กุหิํ คจฺฉติ,
กุหํ คจฺฉติ จะไป ในที่ไหน.
กหํ
เอกปุตฺตก กหํ เอกปุตฺตก (สํ.นิทาน. ๑๖/๒๔๑)
ลูกชายน้อยๆ
คนเดียวของฉัน ไปไหนเสีย ลูกชายน้อยๆ คนเดียวของฉัน ไปไหนเสีย
ดังนี้
กุหิญฺจิ, กุหิญฺจนนฺติ ทฺเว จิ, จน-นิปาตนฺตา สิชฺฌนฺติฯ
สองบทว่า
กุหิญฺจิ และ กุหิญฺจนํ เป็นบทมี จิ และ จนํ นิบาตเป็นที่สุด ย่อมสำเร็จ[๑๔].
อิติ
สามญฺญสตฺตมฺยนฺตราสิฯ
กลุ่มนามศัพท์มีปัจจัยมีอรรถสัตตมีเป็นที่สุดโดยทั่วไป[๑๕]
เป็นอย่างนี้.
๒๘๕. สพฺเพกญฺญยเตหิ กาเลทา [ก. ๒๕๗; รู. ๒๗๖; นี. ๕๐๕]ฯ
ทา ปัจจัย
ลงในอรรถกาล ท้าย สพฺพ เอก อญฺญ ย และ ต ศัพท์.
สพฺพ, เอก, อญฺญ, ย, ตสทฺเทหิ กาเล ทา โหติฯ
สพฺพสฺมิํ
กาเล สพฺพทา,
เอกสฺมิํ กาเล เอกทา, อญฺญสฺมิํ กาเล อญฺญทา,
ยสฺมิํ กาเล ยทา, ตสฺมิํ กาเล ตทาฯ
ทา ปัจจัย
ย่อมมี ในอรรถกาลท้าย สพฺพ, เอก, อญฺญ, ย และ ศัพท์ท. .
สพฺพสฺมิํ กาเล
(ในกาลทั้งปวง) ชื่อว่า สพฺพทา.
เอกสฺมิํ กาเล
(ในกาลบางคราว) ชื่อว่า เอกทา.
อญฺญสฺมิํ กาเล
(ในกาลอื่น) ชื่อว่า อญฺญทา.
ยสฺมิํ กาเล
(ในกาลใด) ชื่อว่า ยทา.
ตสฺมิํ กาเล
(ในกาลนั้น) ชื่อว่า ตทา.
ศัพท์เหล่านี้
คือ กทา กุทา สทา อธุนา อิทานิ ย่อมสำเร็จ.
เอเตปิ
สตฺตมฺยตฺเถ กาเล ทา, ธุนา, ทานิปจฺจยนฺตา
สิชฺฌนฺติฯ
ศัพท์เหล่านี้
เป็นศัพท์ที่มี ทา, ธุนา, ทานิ ปัจจัยเป็นที่สุด ย่อมสำเร็จ ในกาล อันเป็นอรรถสัตตมี.
กิํสฺมิํ
กาเล กทา,
กุทา, สพฺพสฺมิํ กาเล สทา, อิมสฺมิํ กาเล อธุนา, อิทานิฯ
กิํสฺมิํ กาเล
(ในกาลไหน) ชื่อว่า กทา, กุทา.
สพฺพสฺมิํ กาเล
(ในกาลทั้งปวง) ชื่อว่า สทา.
อิมสฺมิํ กาเล
(ในกาลนี้) ชื่อว่า อธุนา, อิทานิ.
ศัพท์เหล่านี้
คือ อชฺช สชฺชุ ปรชฺชุ เอตรหิ กรหา ย่อมสำเร็จ.
เอเตปิ
กาเล ชฺช,
ชฺชุ, รหิ, รห ปจฺจยนฺตา
สิชฺฌนฺติฯ
ศัพท์แม้เหล่านี้
เป็นศัพท์ที่มี ชฺช, ชฺชุ, รหิ, รหิ ปัจจัยเป็นที่สุด ย่อมสำเร็จ ในอรรถกาล.
อิมสฺมิํ
กาเล อชฺช,
อิมสฺมิํ ทิวเสตฺยตฺโถฯ
สมาเน
กาเล สชฺชุ-‘สมาเน’ติ วิชฺชมาเนฯ น หิ ปาปํ กตํ กมฺมํ, สชฺชุ ขีรํว มุจฺจติ [ธ.
ป. ๗๑], สชฺชุกํ ปาเหสิ – ตตฺถ
‘สชฺชู’ติ ตสฺมิํ ทิวเสฯ
อิมสฺมิํ กาเล
ในกาลนี้ ชื่อว่า อชฺช, ความหมายคือ ในวันนี้.
สมาเน กาเล
(ในกาลอันมีอยู่) ชื่อว่า สชฺชุ. บทว่า สมาเน ความเท่ากับ วิชฺชมาเน แปลว่า
มีอยู่. ตัวอย่างพระบาฬี เช่น
น หิ ปาปํ กตํ
กมฺมํ,
สชฺชุ ขีรํว มุจฺจติ (ขุ.ธ.๒๕/๑๕
พาลวคฺค)
ก็บาปกรรมบุคคลทำแล้วยังไม่แปรไป
เหมือนน้ำนมในวันนี้ยังไม่แปรไปฉะนั้น.
สชฺชุกํ ปาเหสิ
ส่งไปแล้ว ในวันนั้น.[๑๖]
ในพระบาฬีนั้น บทว่า
สชฺชุ ความหมายคือ ตสฺมิํ ทิวเส ในวันนั้น.
อปรสฺมิํ
กาเล อปรชฺชุ,
ปุนทิวเสติ อตฺโถฯอิมสฺมิํ กาเล เอตรหิ, กิํสฺมิํ
กาเล กรหฯ กุโตจิ, กฺวจิ, กตฺถจิ,
กุหิญฺจิ, กทาจิ, กรหจิสทฺทา
ปน จิ-นิปาตนฺตา โหนฺติ, ตถา ยโต กุโตจิ, ยตฺถ กตฺถจิ, ยทา
กทาจีติฯ กิญฺจนํ, กุหิญฺจนํ, กุทาจนนฺติ
จน-นิปาตนฺตาติฯ
อปรสฺมิํ กาเล
(ในกาลภายหลัง) ชื่อว่า อปรชฺชุ. ความหมายคือ ปุนทิวส (ในวันพรุ่งนี้)
อิมสฺมิํ กาเล
(ในกาลนี้) ชื่อว่า เอตรหิ.
กิํสฺมิํ กาเล
(ในกาลไหน) ชื่อว่า กรห.
(ศัพท์เหล่านี้
คือ) กุโตจิ,
กฺวจิ, กตฺถจิ, กุหิญฺจิ,
กทาจิ, กรหจิ (ในกาลไหน) มี จิ
นิบาตเป็นที่สุด. ยโต กุโตจิ, ยตฺถ กตฺถจิ, ยทา กทาจิ (ในกาลใดกาลหนึ่ง) ก็เช่นกัน.
(ศัพท์เหล่านี้
คือ) กิญฺจนํ,
กุหิญฺจนํ, กุทาจนํ (ในกาลไหน) มี จน
นิบาตเป็นที่สุด.
วิภตฺติปจฺจยนฺตราสิ
นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มนามศัพท์มีวิภัตติปัจจัยเป็นที่สุด
จบแล้ว.
[๑] ในคัมภีร์โมคคัลลานะ
สร้างประโยควิเคราะห์รูป อิโต เป็นต้นจาก อิม เป็นต้น เพื่อให้เห็นปกติลิงค์ (รูปเดิมก่อนลงวิภัตติ)
นอกจากนี้ ถ้าไม่ลงโตปัจจัย ด้วยสูตรนี้
เป็นรูปเดิมก่อนลงวิภัตติตามปกติ. พึงทราบว่า รูปที่ลง โต
ปัจจัยจะใช้ในปัญจมีวิภัตติมาก ส่วนวิภัตติอื่นๆ มีได้น้อยกว่า. (ปทสาธนะ)
[๒] โมคคัลลานปัญจิกา
สูตรที่ ๙๗ (อภฺยาทีหิ) สยาทิกัณฑิ อธิบายว่า อภิโต มาจาก อุภยโต แปลว่า
โดยส่วนทั้งสอง. แต่ในที่นี้ท่านอธิบายว่า
ใช้ในอรรถอภิมุข (ต่อหน้า, มุ่งหน้า)
และสามารถบ่งถึงข้อความที่เคยกล่าวมาแล้วให้สืบเนื่่องกัน. อนึ่ง
สูตรนี้แสดงอรรถสัตตมีวิภัตติของโตปัจจัย เช่นเดียวกับสูตรว่า อาทฺยาทีหิ ที่จะกล่าวต่อไป.
[๓] สูตรนี้ให้ลงโตปัจจัยในอรรถอื่นๆ
คือ ปฐมาวิภัตติ ทุติยาวิภัตติ ตติยาวิภัตติ และ สัตตมีวิภัตติ.
[๔] คือ
คัมภีร์โมคคัลลานะ, โมคคัลลานปัญจิกา, ปทสาธนะ, ปโยคสิทธิ.
คัมภีร์ปทสาธนะ อธิบายการลง โต
ปัจจัยในอรรถของปฐมาวิภัตติไว้ในวุตติของสูตรว่า อาทฺยาทีหิ นี้ว่า ยํ ยโต ลงโต
ปัจจัย ท้าย ย อันมีปฐมาวิภัตติเป็นที่สุด และคัมภีร์ ปทสาธนฎีกา อธิบายว่า
ยํ ยโต “ย”นฺติ ยสทฺทา ปฐเมกวจนํ สิ, “อาทฺยาทีหีติ
สุตฺเตน ปฐมนฺตา โตปฺปจฺจโย ณาทิวุตฺติวิภตฺติโลโป, ยโตสทฺทา ปฐเมกวจนํ สิ
“อสํเขฺยหิ สพฺพาส”นฺติ ตสฺส โลโป. (ปทสา.ฎี. ๓๗๔)
คำว่า ยํ ยโต ความว่า บทว่า ยํ ลง สิปฐมาวิภัตติเอกวจนะ ท้าย ย ศัพท์, ลง โต
ปัจจัย ท้ายนามศัพท์อันมีปฐมาวิภัตติเป็นที่สุด ด้วยสูตร อาทฺยาทีหิ, ลบปัจจัยและวิภัตติมี
ณ เป็นต้น, ลงสิปฐมาวิภัตติ เอกวจนะท้าย ยโต ศัพท์, ลบ สิ วิภัตติด้วยสูตร อสํเขฺยหิ
สพฺพาสํ (ลบวิภัตติทั้งหมดท้ายนามศัพท์ (อัพยยศัพท์) ที่ไม่ปรากฏพจน์). (ดู ปทสาธนฎีกา )
[๕] ในอุทาหรณ์นี้
พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า อิทํ ปน วุตฺตํ โหติ – สาตาสาตานํ
วิภโว ภโว จาติ โย เอส อตฺโถ, เอวํ เม ปพฺรูหิ ยโตนิทานนฺติ
(สุตฺต.นิ.อ.๒๗๕). หมายความว่า อรรถนี้ใด คือ
ความมีและไม่มีแห่งความยินดีและไม่ยินดี,
ขอพระองค์จงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์อย่างนี้ว่า มีสิ่งใดเป็นเหตุ ดังนี้
นอกจากนี้ ยังมีพระบาฬีมัชฌิมนิกาย
มูลปัณณาสก์ ดังนี้ว่า
ยโตนิทานํ ภิกฺขุ ปุริสํ ปปญฺจสญฺญาสงฺขา สมุทาจรนฺติ (ม.มู.๑๒/๒๔๕)
ดูกรภิกษุ เมื่อมีเหตุอยู่
ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษ. พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า
ยโตนิทานํ เป็นกิริยาวิเสสนะ (ภาวนปุงสกลิงค์).ยโตนิทานํ ในพระบาฬีนี้
เป็นบทลงปฐมาวิภัตติ ตามหลักการของสูตรนี้ และตามนัยแห่งอรรถาธิบายของอรรถกถา
แปลโดยพยัญชนะว่า ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำ บุรุษ อย่างมีเหตุผล.
(คือ ไม่ใช่ไม่มีเหตุ แต่เมื่อมีเหตุ กล่าวคือ อายตนะภายในและภายนอก บุรุษนั้นจะถูกกิเลสครอบงำ)
[๖] ตามคำแปลของฉบับไทยแปลว่าน้ำมีในที่ใด ไฟก็มีในที่นั้น. ยโต
ในที่นี้เป็นบทลงโตปัจจัยแทนปฐมาวิภัตติ ดังคัมภีร์อรรถกถาและคัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกาตัดบทนี้เป็น
ยํ + อุทกํ. คัมภีร์ปทสาธนฎีกาอธิบายว่า ยํ ไม่ใช่บทลงสัตตมีวิภัตติ
แต่เป็นบทลงปฐมาวิภัตตินั่นแหละ (ดูเชิงอรรถ ๓). ในที่นี้แปลตามหลักการของสูตรนี้.
[๗] ดูอรรถาธิบายในเชิงอรรถ
๘
[๘] ปาฐะปัจจุบันเป็น
โอรํ พลาเก อาคจฺฉ, จณฺโฑ เม วายโส สขา. (ขุ.ชา.๒๗/๔๒๑ และ๘๒๖).
คัมภีร์อรรถกถาชาดก แก้เป็น โอรํ พลาเก อาคจฺฉาติ, อมฺโภ
พลาเก, อิโต เอหิ (ชา.อ.๑/๗๐). (บทว่า โอรํ พลาเก อาคจฺฉ ความว่า ดูก่อนนกยาง
ท่านจงมาข้างนี้เถิด). ดังนั้น บทว่า อิโต ตามที่พระคันถรจนาจารย์อ้างไว้
จึงมีความหมายเท่ากับ โอรํ แปลตามบริบทว่า ข้างนี้.
[๙] บางแห่งไม่เข้าสมาส
เช่น ปรโต จ โฆโส (ม.มู. ๑๒/๔๙๗), ปรโต โฆโส (ขุ.มหา. ๒๙/๓๓๖)
[๑๐] คือ
ลง ตร, ตถ ท้าย กตร, อญฺญ, ย, ต ศัพท์ และตั้งวิเคราะห์เช่นเดียวกับ สพฺพ ศัพท์
เช่น กตสฺมิํ, กเตสุ อิติ กตรตฺร, กตรตฺถ. กตาย, กตาสุ กตรตฺร, กตรตฺถ.
[๑๑] ฉบับสยามรัฐ
รูปว่า กุวํ เป็น กวฺจิ ทั้งหมด [สํ.ส.๑๕/๕๕๓].
ในที่นี้ใช้ปาฐะฉบับฉัฏฐสังคายนา เพื่อให้สอดคล้องกับมติของพระคันถรจนาจารย์
[๑๒] ไม่พบที่มา
[๑๓] พบปาฐะที่ต่างกันเล็กน้อยในพระบาฬีมหาวิภังค์
วินัยปิฎก (วิ.มหา. ๒/๘๐๖) ดังนี้ว่า โย
อนาทริยํ ปฏิจฺจ ตหํ ตหํ โอโลเกนฺโต อนฺตรฆเร คจฺฉติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส.อันภิกษุพึงมีนัยน์ตาทอดลง
เดินไปในละแวกบ้าน พึงแลประมาณชั่วแอกหนึ่ง. ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ
ไปในละแวกบ้าน พลางแลดู ซึ่งที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏ. อรรถกถาแก้ ตหํ
เป็นบทลงทุติยาวิภัตติว่า โย อนาทริยํ ปฏิจฺจ ตหํ ตหํ โอโลเกนฺโตติ โย
ตํตํทิสาภาคํ ปาสาทํ กูฏาคารํ วีถิํ โอโลเกนฺโต คจฺฉติ, อาปตฺติ
ทุกฺกฏสฺสฯ ข้อว่า โย
อนาทริยํ ปฏิจฺจ ตหํ ตหํ โอโลเกนฺโต มีความว่า
ภิกษุใดเดินแลดูทิศาภาค ปราสาท เรือนยอด ถนนนั้นๆ ไปพลาง, ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ.
[๑๔] ความหมายคือ
ใช้เป็นบทนิบาต. จิ และ จนํ เป็นนิบาตสำหรับลงท้ายนามศัพท์ที่ลง หิํ และ หํ ปัจจัย.
[๑๕] คือ
ไม่เจาะจงว่าลงอรรถกาล เหมือนที่จะกล่าวด้วยสูตร ๒๘๕ สพฺเพกญฺญยเตหิ กาเลทา
เป็นต้นต่อจากนี้ไป.
[๑๖] พบตัวอย่างคล้ายกันในพระบาฬีวินัยปิฎก
มหาวรรค ดังนี้. เตหิ ภิกฺขเว ภิกฺขูหิ เอโก ภิกฺขุ สามนฺตา อาวาสา สชฺชุกํ ปาเหตพฺโพ “คจฺฉาวุโส สงฺขิตฺเตน วา วิตฺถาเรน วา ปาติโมกฺขํ ปริยาปุณิตฺวา อาคจฺฉ”าติฯ. (วิ.มหา.๔/๑๘๐).
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปสู่อาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมาทันในวันนั้น
ด้วยสั่งว่า ดูกรอาวุโส เธอจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อ หรือโดยพิสดารมา.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น