วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ตัทธิตกัณฑ์ ๑ อปัจจราสิ



๕. ตทฺธิต
๕. ตัทธิตกัณฑ์
อถ ตทฺธิตวิธานํ ทีปิยเตฯ
ตทฺธิตวุตฺติ นาม วิจิตฺรา โหติ, สาติสเยน วิจิตฺรญาณหิตํ วหติ, ตสฺมา เตสํ เตสํ กุลปุตฺตานํ หิตนฺติ ตทฺธิตํ, อิมสฺมิํ กณฺเฑ สพฺพวิธานสฺส นามํฯ ตํ ปน อฏฺฐวิธํ โหติ อปจฺจํ, อเนกตฺถํ, อสฺสตฺถิ, ภาวกมฺมํ, ปริมาณํ, สงฺขฺยา, ขุทฺทกํ, นานาตฺตนฺติฯ

จะแสดงวิธีการลงปัจจัยตัทธิตต่อไป.
ธรรมดาว่า การลงปัจจัยตัทธิต มีความวิจิตรพิศดาร, ศัพท์ที่มีชื่อว่า ตัทธิต อันเป็นชื่อของวิธีทั้งปวง ในกัณฑ์นี้ เพราะมีความหมายว่า นำไปซึ่งความรู้ที่เกื้อกูล[๑]ต่อญาณวิจิตรอย่างดีเยี่ยม,  เหตุนั้น จึงเป็นศัพท์เกื้อกูลต่อกุลบุตรเหล่านั้น[๒]. ตัทธิตมี ๘ อย่าง คือ อปัจจะ อเนกัตถะ อัสสัตถิ ภาวกัมมะ ปริมาณะ สังขยา ขุททกะ และนานาตตะ.

อปจฺจราสิ
อปัจจราสิ
กลุ่มปัจจัยลงในอรรถอปัจจะ (ผู้สืบเชื้อสาย)

[ณปัจจัย]
๔๓๐. โณ วาปจฺเจ[๓]
ฉฏฺฐฺยนฺตา นามมฺหา ตสฺส อปจฺจนฺติ อตฺเถ วิกปฺเปน ณปจฺจโย โหติฯ
วาสทฺโท วากฺย, สมาสานํ วิกปฺปนตฺโถ, อิโต ปรํ อนุวตฺตเต, เตน สพฺพตฺถ วิกปฺปวิธิ สิชฺฌติฯ
ณานุพนฺโธ วุทฺธฺยตฺโถ, โส ปโยคอปฺปโยคีฯ
วสิฏฺฐสฺส อปจฺจนฺติ อตฺเถ อิมินา สุตฺเตน วสิฏฺฐมฺหา ณปจฺจโย, โส สามฺยตฺถญฺจ อปจฺจตฺถญฺจ อุภยํ วทติ, ฉฏฺฐี จ อปจฺจปทญฺจ เตน วุตฺตตฺถา นาม โหนฺติ, วสิฏฺฐปทํ ปจฺจเยน สห เอกตฺถํ โหติ, อุภยํ เอกโต หุตฺวา ปุตฺตสฺส นามํ โหตีติ อตฺโถฯ
ตโต เอกตฺถตายนฺติ ฉฏฺฐิยา โลโป, อปจฺจปทํ ปน วุตฺตตฺถมตฺเตน ลุปฺปติฯ ตญฺหิ สุตฺเต ปธานภาเวน นิทฺทิฏฺฐํ โหติ, น ฉฏฺฐีติ, มหาวุตฺตินา วา ปทานํ โลโปฯ เอวํ สพฺพตฺถฯ

๔๓๐. โณ วาปจฺเจ.
ลง ณปัจจัย ในอรรถอปัจจะ (ผู้สืบเชื้อสายของบุคคลนั้น) ได้บ้าง
ลง ณ ปัจจัย ท้ายนามศัพท์ อันมีฉัฏฐีวิภัตติเป็นที่สุด ในความหมายว่า เป็นเชื้อสาย ของบุคคลนั้น โดยไม่แน่นอน.
วาศัพท์ มีอรรถวิกัปปนะ (การเลือกเอา) ระหว่างวากยะ และบทตัทธิต[๔]. วา ศัพท์ ตามไปในสูตรต่อไป.   เหตุนั้น การวิกัปป์ จึงมีในทุกสูตร.
ณ อนุพันธ์ มีอรรถวุทธิ, ณอนุพันธ์นั้น ไม่ใช้ในบทที่สำเร็จ.
ลง ณ ปัจจัยท้าย วสิฏฺฐ ศัพท์ ในอรรถว่า เชื้อสายของนายวสิฏฐะ ด้วยสูตรนี้.  ณปัจจัยนั้น กล่าวอรรถ ๒ อย่าง คือ อรรถสามี และอรรถอปัจจะ[๕], ฉัฏฐีวิภัตติและบทว่า อปจฺจ ชื่อว่า มีอรรถอัน ณ ปัจจัยกล่าวแล้ว, บทว่า วสิฏฺฐ มีอรรถเป็นอันเดียวกันกับปัจจัย, หมายความว่า บททั้งสองเป็นชื่อของบุตร โดยพร้อมกัน.
ต่อมา ลบฉัฏฐีวิภัตติ ด้วยสูตรว่า “เอกตฺถตายํ” ส่วนบทว่า อปจฺจ ถูกลบไปโดยเพียงมีอรรถอันถูกกล่าวแล้ว.  เพราะบทว่า อปจฺจ ในสูตรนี้ถูกแสดงโดยภาวปธานนัย[๖]. อีกนัยหนึ่ง ลบบททั้งหลายด้วยมหาสูตร. แม้ในสูตรที่เหลือก็เป็นเช่นเดียวกันนี้.

๔๓๑. ปทานมาทิสฺสายุวณฺณสฺสาเอโอ ณานุพนฺเธ[๗]
ปทานํ อาทิภูตสฺส อการสฺส จ อิวณฺณุวณฺณสฺส จ อา, เอ, โอ วุทฺธิโย โหนฺติ ณานุพนฺเธ ปจฺจเย ปเรติ ปทาทิอ-การสฺส อาวุทฺธิ, สฺยาทฺยุปฺปตฺติฯ

๔๓๑. ปทานมาทิสฺสายุวณฺณสฺสาเอโอ ณานุพนฺเธ.
เพราะณอนุพันธ์ อา เอ โอ เป็นวุทธิของอ, อิวัณณะ และอุวัณณะ อันเป็นต้นบท.
ในเพราะปัจจัย อันมีณอนุพันธ์ เป็นเบื้องหลัง อา, เอ และโอ เป็นวุทธิ ของออักษร, อิวัณณะ, และอุวัณณะ อันเป็นตัวต้นของบท เพราะเหตุนั้น ออักษรต้นบท จึงวุทธิเป็นอา, ลง สิวิภัตติ. ตัวอย่างเช่น

วาสิฏฺโฐ, ปุริโส, วาสิฏฺฐี, อิตฺถี, วาสิฏฺฐํ, กุลํ, วสิฏฺฐสฺส ปุตฺโต วาสิฏฺโฐ, วสิฏฺฐสฺส ธีตา วาสิฏฺฐี, วสิฏฺฐสฺส กุลํ วาสิฏฺฐนฺติ เอวมฺปิ โยเชตุํ ยุชฺชติฯ
ตตฺถ วสิฏฺฐสฺสาติ เอเตน โคตฺตสฺเสว ปิตุภูตํ อาทิปุริสํ วทติฯ กสฺมา? โคตฺตสทฺทตฺตาฯ เอวญฺหิ สติ ตสฺมิํ โคตฺเต ปจฺจาชาตา สพฺเพปิ ชนา ตสฺส อปจฺจา นาม โหนฺติฯ

วาสิฏฺโฐ บุรุษ (ผู้เป็นเชื้อสายของวาสิฏฐะ), วาสิฏฺฐี หญิง (ผู้เป็นเชื้อสายของวสิฏฐะ), วาสิฏฺฐํ ตระกูล (อันเป็นเชื้อสายของวสิฏฐะ) บุตรของวสิฏฐะ ชื่อว่า วาสิฏฺโฐ, ธิดา ของวสิฏฐะ ชื่อว่า วาสิฏฺฐี, ตระกูล ของวาสิฏฐะ ชื่อว่า วาสิฏฺฐํ   จะประกอบรูปตามตัวอย่างนี้ก็ใช้ได้.
ในตัวอย่างเหล่านั้น ด้วยคำว่า วสิฏฺฐสฺส (ของวสิฏฐะ) แสดงบุรุษคนก่อน คือ บิดา แห่งตระกูล (โคตร) เท่านั้น. เพราะเหตุไร? เพราะ วสิฏฺฐ เป็นศัพท์แสดงตระกูล. เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้ชนผู้เกิดภายหลังในตระกูลนั้น ชื่อว่า เป็นเหล่ากอ (สืบเชื้อสาย) ของวสิฏฐะนั้น.

๔๓๒. มชฺเฌ[๘]
มชฺเฌ ปวตฺตานํ อ, ยุวณฺณานํ อา, เอ, โอวุทฺธิโย โหนฺติ วา กฺวจิฯ
วาเสฏฺโฐ, วาเสฏฺฐี, วาเสฏฺฐํฯ วาสทฺเทน ‘‘วสิฏฺฐสฺส ปุตฺโต ธีตา กุล’’นฺติ วากฺยํ วา ‘‘วสิฏฺฐปุตฺโต วสิฏฺฐธีตา วสิฏฺฐกุล’’นฺติ สมาสํ วา วิกปฺเปติฯ เอวํ สพฺพตฺถฯ
ภรทฺวาชสฺส อปจฺจํ ภารทฺวาโช, วิสามิตฺตสฺส[๙] อปจฺจํ เวสามิตฺโต, โคตมสฺส อปจฺจํ โคตโม, กสฺสปสฺส อปจฺจํ กสฺสโป, วสุเทวสฺส อปจฺจํ วาสุเทโวฯ เอวํ พาลเทโวฯ
อุปคุสฺส อปจฺจนฺติ เอตฺถ อุวณฺณสฺสาวง…’ติ ณานุพนฺเธ ปจฺจเย ปเร อุวณฺณสฺส อวง โหติฯ โอปคโว, โอปควี, โอปควํ, มนุโน อปจฺจํ มานโว, ภคฺคุโน อปจฺจํ ภคฺคโว, ปณฺฑุโน อปจฺจํ ปณฺฑโว, อุปวินฺทุสฺส อปจฺจํ โอปวินฺทโว อิจฺจาทิฯ

๔๓๒. มชฺเฌ.
อา, เอ และโอ เป็นวุทธิของ อ,  อิวัณณะและอุวัณณะซึ่งอยู่กลางบทบ้างก็ได้.
ในบางแห่ง อา, เอ และโอ เป็นวุทธิของ อ, อิวัณณะและอุวัณณะ อันเป็นไปในกลางบทก็ได้. ตัวอย่างเช่น
วาเสฏฺโฐ,  วาเสฏฺฐี, วาเสฏฺฐํ ผู้สืบเชื้อสายของวสิฏฐะ. ด้วยวาศัพท์ ย่อมวิกัปปะ (ให้เลือก)ว่าจะเป็นวากยะว่า วสิฏฺฐสฺส ปุตฺโต,  วสิฏฺฐสฺส ธีตา,  วสิฏฺฐสฺส กุลํ ดังนี้ก็ได้, หรือจะเป็นบทย่อว่า วสิฏฺฐปุตฺโต วสิฏฺฐธีตา วสิฏฺฐกุลํ ดังนี้ก็ได้. ในตัวอย่างทั้งหมด ก็เป็นเช่นเดียวกันนี้.
ผู้สืบเชื้อสายของภรทวาชะ ชื่อว่า ภารทฺวาโช,  ผู้สืบเชื้อสายของวิสามิต ชื่อว่า เวสามิตฺโต, ผู้สืบเชื้อสายของโคตมะ ชื่อว่า โคตโม, ผู้สืบเชื้อสายของกัสสปะ ชื่อว่า กสฺสโป, ผู้สืบเชื้อสายของวสุเทวะ ชื่อว่า วาสุเทโว. พาลเทโว (ผู้สืบเชื้อสายของพลเทวะ) ก็เป็นเช่นเดียวกันนี้.
ในตัวอย่างว่า อุปคุสฺส อปจฺจํ นี้ เพราะปัจจัยอันมีณอนุพันธ์ แปลงอุวัณณะเป็นอว ด้วยสูตร “อุวณฺณสฺสาวง ... เป็นต้น. สำเร็จรูปเป็น โอปคโว โอปควี, โอปควํ ผู้สืบเชื้อสายของอุปคุ, ผู้สืบเชื้อสายของพระเจ้ามนุ ชื่อว่า มานโว, ผู้สืบเชื้อสายของพระเจ้าภัคคุนะ ชื่อว่า ภคฺคโว, ผู้สืบเชื้อสายของปัณฑุนะ ชื่อว่า ปณฺฑโว, ผู้สืบเชื้อสายของอุปวินทุ ชื่อว่า โอปวินฺทโว.


[ณาน, ณายน ปัจจัย]
๔๓๓. วจฺฉาทิโต ณานณายนา[๑๐]
ฉฏฺฐฺยนฺเตหิ วจฺฉาทีหิ โคตฺตสทฺทคเณหิ ตสฺส อปจฺจนฺติ อตฺเถ ณานุพนฺธา อาน, อายนปจฺจยา โหนฺติ วาฯ
วจฺฉสฺส อปจฺจํ วจฺฉาโน, วจฺฉายโน, วจฺฉานี, วจฺฉายนี, วจฺฉานํ, วจฺฉายนํฯ เอวํ กจฺจาโน, กจฺจายโน, กาติยาโน, กาติยายโน, สากฏาโน, สากฏายโน, กณฺหาโน, กณฺหายโน, โมคฺคลฺลาโน, โมคฺคลฺลายโน, อคฺคิเวสฺสาโน[๑๑], อคฺคิเวสฺสายโน, มุญฺจาโน, มุญฺจายโน, กุญฺจาโน, กุญฺจายโน อิจฺจาทิฯ

๔๓๓. วจฺฉาทิโต ณานณายนา
ลงณาน และณายนปัจจัยในอรรถอปัจจะท้ายนามศัพท์มีวจฺฉเป็นต้น ได้บ้าง.
ลงอานและอายนปัจจัย ที่มี ณอนุพันธ์ ในอรรถว่า อปจฺจ (ผู้สืบเชื้อสาย) ของโคตรนั้น ท้ายหมู่นามศัพท์อันเป็นศัพท์แสดงโคตร มีวจฺฉเป็นต้น ซึ่งลงฉัฏฐีวิภัตติ ได้บ้าง.
ผู้สืบเชื้อสายแห่งโคตรวัจฉะ ชื่อว่า วจฺฉาโน วจฉายโน , (อิตถีลิงค์)  วจฺฉานี, วจฺฉายนี, (นปุงสกลิงค์) วจฺฉานํ, วจฺฉายนํ[๑๒]. กจฺจาโน, กจฺจายโน, ผู้สืบเชื้อสายแห่งโคตรกัจจะ, กาติยาโน, กาติยายโน  ผู้สืบเชื้อสายแห่งโคตรกติ, สากฏาโน, สากฏายโน ผู้สืบเชื้อสายแห่งโคตรสกฏะ (นายเกวียน) โมคฺคลฺลาโน, โมคฺคลฺลายโน ผู้สืบเชื้อสายแห่งโคตรโมคคัลละ, อคฺคิเวสฺสาโน, อคฺคิเวสฺสายโน ผู้สืบเชื้อสายแห่งโคตรอัคคิเวสสะ, มุญฺจาโน, มุญฺจายโน ผู้สืบเชื้อสายแห่งโคตรมุญจะ, กุญฺจาโน, กุญฺจายโน ผู้สืบเชื้อสายแห่งโคตรกุญจะ.


[เณยฺย, เณร ปัจจัย]
๔๓๔. กตฺติกาวิธวาทีหิ เณยฺยเณรา[๑๓]
ฉฏฺฐฺยนฺเตหิ กตฺติกาทีหิ วิธวาทีหิ จ ตสฺส อปจฺจนฺติ อตฺเถ กเมน ณานุพนฺธา เอยฺย, เอรปจฺจยา โหนฺติ วาฯ
เณยฺเย กตฺติกาย นาม เทวธีตาย อปจฺจํ กตฺติเกยฺโย, วินตาย นาม เทวิยา อปจฺจํ เวนเตยฺโย, โรหิณิยา นาม เทวิยา อปจฺจํ โรหิเณยฺโย, ภคินิยา อปจฺจํ ภาคิเนยฺโย, นทิยา นาม อิตฺถิยา อปจฺจํ นาเทยฺโยฯ เอวํ อนฺเตยฺโย, อาเหยฺโย, กาเมยฺโย, สุจิยา อปจฺจํ โสเจยฺโย, พาลาย อปจฺจํ พาเลยฺโย อิจฺจาทิฯ
เณเร วิธวาย อปจฺจํ เวธเวโร, วิธวา นาม มตปติกา อิตฺถีฯ พนฺธุกิยา อปจฺจํ พนฺธุเกโร, นาฬิกิยา นาม อิตฺถิยา ปุตฺโต นาฬิเกโร, สมณสฺส อุปชฺฌายสฺส ปุตฺโต สามเณโร, สมณิยา ปวตฺตินิยา ธีตา สามเณรี อิจฺจาทิฯ

๔๓๔. กตฺติกาวิธวาทีหิ เณยฺยเณรา.
ลงเณยฺย และ เณร ปัจจัย ในอรรถอปัจจะ ท้ายนามศัพท์มีกตฺติก และ วิธว เป็นต้น ตามลำดับได้บ้าง.
ลง เอยฺย และ เอร ปัจจัย อันมีณอนุพันธ์ ในอรรถว่า ผู้สืบเชื้่อสายของบุคคลนั้น ท้ายนามศัพท์มีกตฺติก เป็นต้น และ วิธวา เป็นต้น ซึ่งลงฉัฏฐีวิภัตติตามลำดับ ได้บ้าง.
เณยฺย ปัจจัย ตัวอย่างเช่น
ผู้สืบเชื้อสายแห่งเทพธิดานามว่า กตฺติกา ชื่อว่า กตฺติเกยฺโย, ผู้สืบเชื้อสายแห่งพระนางวินตา ชื่อว่า เวนเตยฺโย, ผู้สืบเชื้อสายแห่งพระนางโรหิณี ชื่อว่า โรหิเณยฺโย, ผู้สืบเชื้อสายแห่งพี่สาว ชื่อว่า ภาคิเนยฺโย (หลาน), ผู้สืบเชื้อสายแห่งนางนที ชื่อว่า นาเทยฺโย อนฺเตยฺโย ผู้สืบเชื้อสายแห่งนางอันติ, ผู้สืบเชื้อสายแห่งงู ชื่อว่า อาเหยฺโย, ผู้สืบเชื้อสายแห่งนางกมุ ชื่อว่า กาเมยฺโย ก็เป็นเช่นเดียวกันนี้, ผู้สืบเชื้อสายแห่งผู้สะอาด ชื่อว่า โสเจยฺโย, ผู้สืบเชื้อสายแห่งพลเทพ ชื่อว่า พาเลยฺโย.
เณร ปัจจัย ตัวอย่างเช่น
ผู้สืบเชื้อสายแห่งหญิงหม้าย ชื่อว่า เวธเวโร, หญิงผู้มีสามีตายแล้ว ชื่อว่า วิธวา. ผู้สืบเชื้อสายแห่งนางพันธุกี ชื่อว่า พนฺธุเกโร, บุตรของสตรีชื่อว่า นาฬิกี ชื่อว่า นาฬิเกโร, บุตรของพระสมณะ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ชื่อว่า สามเณโร, ธิดาของพระสมณะผู้เป็นปวัตตินี (พระอุปัชฌาย์ฝ่ายหญิง) ชื่อว่า สามเณรี.


[ณฺย ปัจจัย]
๔๓๕. ณฺย ทิจฺจาทีหิ[๑๔]
ฉฏฺฐฺยนฺเตหิ ทิติอิจฺจาทีหิ ตสฺส อปจฺจนฺติ อตฺเถ ณานุพนฺโธ ยปจฺจโย โหติ วาฯ

๔๓๕. ณฺย ทิจฺจาทีหิ.
ลง ณฺย ปัจจัยในอรรถอปัจจะ ท้ายนามศัพท์มีทิติ เป็นต้น ได้บ้าง.
ย ปัจจัย อันมี ณอนุพันธ์ ย่อมลงในอรรถว่า ผู้สืบเชื้อสายของบุคคลนั้น ท้ายนามศัพท์มีทิติเป็นต้น ได้บ้าง.

๔๓๖. โลโปวณฺณิวณฺณานํ[๑๕]
เย ปเร อวณฺณสฺส อิวณฺณสฺส จ โลโป โหตีติ ณฺยมฺหิ ปเร อวณฺณิวณฺณานํ โลโปฯ
ทิติยา นาม เทวธีตาย อปจฺจํ เทจฺโจ, อทิติยา อปจฺจํ อาทิจฺโจฯ
ตตฺถ อิวณฺณโลเป ตวคฺควรณานํ เย จวคฺคพยญาติ ยมฺหิ ปเร ตวคฺคสฺส จวคฺคตฺตํ, ปุน วคฺคลเสหิ เตติ ยสฺส ปุพฺพรูปตฺตํ, กุณฺฑนิยา อปจฺจํ โกณฺฑญฺโญฯ

๔๓๖. โลโปวณฺณิวณฺณานํ.
เพราะ ย ข้างหลังลบ อวัณณะและอิวัณณะ.
ในเพราะย อันเป็นเบื้องหลัง ลบ อิวัณณะและอิวัณณะ เพราะเหตุนั้น จึงลบ อวัณณะ และ อิวัณณะ ในเพราะ ณฺยปัจจัยอันเป็นเบื้องหลัง. ตัวอย่างเช่น
ผู้สืบเชื้อสายแห่งทิติเทพธิดา ชื่อว่า เทจฺโจ, ผู้สืบเชื้อสายแห่งอทิติเทพธิดา ชื่อว่า อาทิจฺโจ.
บรรดาการลบอวัณณะ และอิวัณณะ ในที่ลบอิวัณณ แปลง ตวรรคเป็น จวรรค ในเพราะ ย เบื้องหลัง ด้วยสูตร ตวคฺควรณานํ เย จวคฺคพยญา = เพราะ ย แปลง ต วรรค เป็น จวรรค, ว เป็น พ, ร เป็น ย, และ ณ เป็น ญ ได้บ้าง. แปลง ย เป็นปุพพรูป ด้วยสูตร วคฺคลเสหิ เต = ย ที่อยู่หลัง พยัญชนวรรค , ล และ ส ให้แปลง ย เป็นพยัญชนะวรรค ล และ ส เหล่านั้น
ผู้สืบเชื้อสายแห่งนางกุณฑนี ชื่อว่า โกณฺฑญฺโญ.
๔๓๗. อุวณฺณสฺสาวง สเร[๑๖]
สเร ปเร อุวณฺณสฺส อวง โหตีติ อุวณฺณสฺส อวตฺตํฯตวคฺควรณาน…’นฺติ สุตฺเตน วสฺส พตฺตํ, ปุน วคฺคลเสหิ เตติ สุตฺเตน ยสฺส ปุพฺพรูปตฺตํ, ภาตุโน อปจฺจํ ภาตพฺโยฯ

๔๓๗. อุวณฺณสฺสาวง สเร.
เพราะสระอยู่หลัง แปลง อว เป็น อุ.
ในเพราะสระอันเป็นเบื้องหลัง อว อันมีงอนุพันธ์ เป็นตัวเปลี่ยนของอุวัณณะ เพราะเหตุนั้น แปลง อุ วัณณะ เป็น อว. แปลง ว เป็น พ ด้วยสูตร ตวคฺควรณานํ เย จวคฺคพยญา = เพราะ ย แปลง ต วรรค เป็น จวรรค, ว เป็น พ, ร เป็น ย, และ ณ เป็น ญ ได้บ้าง, แปลง ย เป็นปุพพรูป ด้วยสูตร วคฺคลเสหิ เต = ย ที่อยู่หลัง พยัญชนวรรค , ล และ ส ให้แปลง ย เป็นพยัญชนะวรรค ล และ ส เหล่านั้น. ตัวอย่าง
ผู้สืบเชื้อสายแห่งพี่ชาย ชื่อว่า ภาตพฺโย.

๔๓๘. อา ณิ[๑๗]
รสฺสาการนฺตโต อปจฺจตฺเถ ณานุพนฺโธ รสฺสิปจฺจโย โหติ วาฯ
ทกฺขสฺส อปจฺจํ ทกฺขิฯ เอวํ โทณิ, วาสวิ, สกฺยปุตฺติ, นาฏปุตฺติ, ทาสปุตฺติ, ทารุโน อปจฺจํ ทารวิ[๑๘], วรุณสฺส อปจฺจํ วารุณิฯ เอวํ กณฺฑิ, พาลเทวิ, ปาวกิ, ชินทตฺตสฺส อปจฺจํ เชนทตฺติ, สุทฺโธทนิ, อนุรุทฺธิ อิจฺจาทิฯ

๔๓๘. อา ณิ.
ลงณิปัจจัย ในอรรถอปัจจะ ท้ายนามศัพท์ อการันต์ ได้บ้าง.
ลง อิปัจจัยอันเป็นรัสสะ อันมี ณอนุพันธ์ ในอรรถผู้สืบเชื้อสาย ท้ายนามศัพท์ อการันต์ อันเป็นรัสสะ. ตัวอย่างเช่น
ผู้สืบเชื้อสายแห่งทักขะ ชื่อว่า ทกฺขิ. โทณิ ผู้สืบเชื้อสายแห่งโทณะ, วาสวิ ผู้สืบเชื้อสายแห่งวาสวะ , สกฺยปุตฺติ ผู้สืบเชื้อสายแห่งพระศากยบุตร, นาฏปุตฺติ ผู้สืบเชื้อสายแห่งนาฏปุตตะ, ทาสปุตฺติ ผู้สืบเชื้อสายแห่งทาสปุตตะ ก็เป็นเช่นเดียวกันนี้,
ผู้สืบเชื้อสายแห่งทารุ ชื่อว่า ทารวิ, ผู้สืบเชื้อสายแห่งท้าววรุณะ ชื่อว่า วารุณิ, กณฺฑิ ผู้สืบเชื้อสายแห่งกัณฑะ, พาลเทวิ ผู้สืบเชื้อสายแห่งพลเทวะ, ปาวิกิ ผู้สืบเชื้อสายแห่งปวกะ, ผู้สืบเชื้อสายแห่งชินทัตต์ ชื่อว่า เชตทตฺติ, สุทฺโธทนิ ผู้สืบเชื้อสายแห่งพระเจ้าสุทโธทนะ, อนุรุทฺธิ ผู้สืบเชื้อสายแห่งเจ้าอนุรุทธะ ก็เป็นเช่นเดียวกันนี้.


[ญ ปัจจัย]
๔๓๙. ราชโต โญ ชาติยํ[๑๙]
ชาติยํ คมฺยมานายํ ราชสทฺทมฺหา อปจฺจตฺเถ ญปจฺจโย โหติ วาฯ
รญฺโญ อปจฺจํ ราชญฺโญ, ราชกุลสฺส ปุตฺโตติ อตฺโถฯ
ชาติยนฺติ กิํ? ราชปุตฺโตฯ

๔๓๙. ราชโต โญ ชาติยํ.
ลง ญ ปัจจัยท้าย ราช ศัพท์ ในอรรถอปัจจะ.
ถ้ารู้ว่าเป็นศัพท์แสดงชาติ ลง ญ ปัจจัย ในอรรถอปัจจะ ท้ายราชศัพท์ ได้บ้าง. ตัวอย่าง
ผู้สืบเชื้อสายแห่งพระราชา ชื่อว่า ราชญฺโญ, ความหมายคือ บุตรแห่งราชตระกูล.
บทว่า ชาติยํ ถ้าเป็นศัพท์แสดงชาติ มีประโยชน์อะไร?
ในกรณีที่เป็นศัพท์แสดงบุคคล ไม่ลง ญ ปัจจัย ในตัวอย่างว่า ราชปุตฺโต พระราชบุตร.


[ย - อิยปัจจัย]
๔๔๐. ขตฺตา ยิยา[๒๐]
ชาติยํ คมฺยมานายํ ขตฺตสทฺทมฺหา อปจฺจตฺเถ ย, อิยปจฺจยา โหนฺติฯ
ขตฺตกุลสฺส อปจฺจํ ขตฺโย, ขตฺติโยฯ
ชาติยนฺตฺเวว? ขตฺติฯ

๔๔๐. ขตฺตา ยิยา.
ลง ย และ อิย ปัจจัย ท้าย ขตฺต ศัพท์ ในอรรถอปัจจะ
ถ้ารู้ว่าเป็นศัพท์แสดงชาติ ลง ย และ อิย ปัจจัยท้าย ขตฺต ศัพท์ ในอรรถอปัจจะ. ตัวอย่าง
ผู้สืบเชื้อสายแห่งตระกูลแห่งกษัตริย์ ชื่อว่า ขตฺโย, ขตฺติโย.
บทว่า ชาติยํ ถ้าเป็นศัพท์แสดงชาติ เช่นกันมีประโยชน์อะไร?
ในกรณีที่เป็นศัพท์แสดงบุคคล ไม่ลง ย และ อิย ปัจจัย ในตัวอย่างว่า ขตฺติ (ลงอิปัจจัย) ผู้สืบเชื้อสายแห่งกษัตริย์.


[สฺส - สณปัจจัย]
๔๔๑. มนุโต สฺสสณ[๒๑]
ชาติยํ คมฺยมานายํ มนุสทฺทมฺหา อปจฺจตฺเถ สฺส, สณปจฺจยา โหนฺติฯ
มนุโน อปจฺจํ มนุสฺโส, มานุโส, มนุ นาม กปฺเป อาทิขตฺติโย มหาสมฺมตราชา, อิตฺถิยํ มนุสฺสี, มานุสี,
ชาติยนฺตฺเวว? มาณโวฯ

๔๔๑. มนุโต สฺสสณ.
ลง สฺส และ สณ ปัจจัย ท้าย มนุ ศัพท์ ในอรรถอปัจจะ
ถ้ารู้ว่าเป็นศัพท์แสดงชาติ ลง ส และ สณ ปัจจัยท้าย มนุ ศัพท์ ในอรรถอปัจจะ. ตัวอย่าง
ผู้สืบเชื้อสายแห่งพระเจ้ามนุ ชื่อว่า มนุสฺโส, มานุโส, พระเจ้ามหาสัมมติ ผู้เป็นกษัตริย์ในต้นกัปป์ ชื่อว่า มนุ. ในอิตถีลิงค์ เป็น มนุสฺสี, มานุสี.


[ณปัจจัย]
๔๔๒. ชนปทนามสฺมา ชนขตฺติยา รญฺเญ จ โณ[๒๒]
ชนวาจินา จ ขตฺติยวาจินา จ ชนปทนามมฺหา รญฺเญ จ อปจฺเจ จ โณ โหติฯ
ปญฺจาลานํ ชนานํ ราชา ปญฺจาโล, ปญฺจาลสฺส ขตฺติยสฺส อปจฺจํ ปญฺจาโลฯ เอวํ โกสโล, มาคโธ, โอกฺกาโก[๒๓]
ชนปทนามสฺมาติ กิํ? ทสรถรญฺโญ ปุตฺโต ทาสรถิ[๒๔]
ชนขตฺติยาติ กิํ? ปญฺจาลสฺส พฺราหฺมณสฺส อปจฺจํ ปญฺจาลิฯ

๔๔๒. ชนปทนามสฺมา ชนขตฺติยา รญฺเญ จ โณ.[๒๕]
ลง ณ ปัจจัย ในอรรถพระราชา ด้วย โดยเป็นประชาชน และกษัตริย์ ท้ายนามศัพท์อันเป็นชื่อแว่นแคว้น.
ลง ณ ปัจจัย ในอรรถพระราชา และ ผู้สืบเชื้อสาย ท้ายนามศัพท์ อันเป็นชื่อของแว่นแคว้น โดยเป็นศัพท์ที่กล่าวถึงประชาชน และกษัตริย์. ตัวอย่างเช่น
พระราชาของประชาชนชาวปัญจาละ, ผู้สืบเชื้อสายแห่งกษัตริย์แห่งแคว้นปัญจาละ ชื่อว่า ปญฺจาโล. โกสโล  พระราชาของประชาชนชาวแคว้นโกศล, ผู้สืบเชื้อสายแห่งกษัตริย์แห่งแคว้นโกศล. มาคโธ พระราชาของประชาชนชาวแคว้นมคธ, ผู้สืบเชื้อสายแห่งกษัตริย์แห่งแคว้นมคธ. โอกฺกาโก พระราชาของประชาชนชาวแคว้นโอกกากะ, ผู้สืบเชื้อสายแห่งกษัตริย์แห่งแคว้นโอกกากะ ก็เป็นเช่นเดียวกันนี้.
บทว่า ชนปทนามสฺมา ท้ายนามศัพท์ที่แสดงแว่นแคว้น มีประโยชน์อะไร?
ในกรณีที่นามศัพท์นั้น กล่าวชื่อกษัตริย์ ไม่ลง ณ ปัจจัย ในตัวอย่างว่า บุตร ของพระเจ้าทสรถ ชื่อว่า ทาสรถิ (แต่ให้ลง ณิ ปัจจัย เพราะ ทสรถ เป็นชื่อของพระราชา ไม่ใช่ชื่อแว่นแคว้น).
บทว่า ชนขตฺติยา มีประโยชน์อะไร?
ในกรณีที่ไม่ใช่ศัพท์กล่าวถึงกษัตริย์ ไม่ลง ณ ปัจจัย ในตัวอย่างว่า ผู้สืบเชื้อสายแห่งพราหมณ์ของชาวแคว้นปัญจาละ ชื่อว่า ปญฺจาลิ (แต่ให้ลง ณิ ปัจจัย เพราะ ปญฺจาล ไม่ใช่ กษัตริย์ แต่เป็นพราหมณ์)


[ณยปัจจัย]
๔๔๓. ณฺย กุรุสิวีหิ[๒๖]
กุรุ, สิวิสทฺเทหิ อปจฺเจ รญฺเญ จ ณฺโย โหติฯ
กุรุรญฺโญ อปจฺจํ โกรพฺโย[๒๗], กุรุรฏฺฐวาสีนํ ราชา โกรพฺโย, โกรพฺโพ, ปุพฺพรูปตฺตํ, สิวิรญฺโญ อปจฺจํ เสพฺโย, สิวิรฏฺฐวาสีนํ ราชา เสพฺโยฯ

๔๔๓. ณฺย กุรุสิวีหิ.
ลง ณฺย ปัจจัย ท้าย กุรุ และ สิวิศัพท์ ในอรรถผู้สืบเชื้อสาย และ พระราชา.
ลง ณฺย ปัจจัย ท้ายนามศัพท์ คือ กุรุ และ สิวิ ในอรรถผู้สืบเชื้อสาย และ พระราชา. ตัวอย่างเช่น
ผู้สืบเชื้อสายของพระราชา แห่งแคว้นกุรุ ชื่อว่า โกรพฺโย, พระราชาแห่งประชาชนชาวแคว้นกุรุ ชื่อว่า โกรพฺโย, โกรพฺโพ, ตัวอย่างหลัง แปลง ย เป็น พ ปุพพรูป. 
ผู้สืบเชื้อสายของพระราชา แห่งแคว้นสิวิ ชื่อว่า เสพฺโย, พระราชาของประชาชนชาวแคว้นสิวิ ชื่อว่า เสพฺโย.

อปจฺจราสิ นิฏฺฐิโตฯ

กลุ่มปัจจัยลงในอรรถอปัจจะ
จบแล้ว





[๑] ได้แก่ อักขรโกสัลลญาณ คือ ความฉลาดในอักษร อันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกุตรญาณ.
[๒] น่าจะหมายถึง กุลบุตรทั้งหลายเหล่านั้นผู้มีความอุตสาหะในการเล่าเรียนและทรงจำพระพุทธวจนะ ดังในสัททนีติอธิบายว่า “ปัจจัยที่เกื้อกูลแก่เหล่ากุลบุตรผู้มีความอุตสาหะในการฟัง, เล่าเรียน และทรงจำ ชื่อว่า ตัทธิต เพราะเป็นเหตุให้สำเร็จประโยชน์กล่าวคือให้รู้เนื้อความที่พึงประสงค์แก่กุลบุตรทั้งหลายผู้กำลังศึกษาหาความเข้าใจความหมายของศัพท์.
[๓] [ก. ๓๔๔; รู. ๓๖๑; นี. ๗๕๒; จํ. ๒.๔.๑๖; ปา. ๔.๑.๙๒; ‘สรานมาทิสฺสา…’ (พหูสุ)]
[๔]  ในที่นี้แปลโดยอธิเปตัตถนัย.  คำว่า “บทที่ย่อ  (บาฬีว่า สมาส)”  ได้แก่ บทที่ย่อโดยการลงตัทธิต ไม่ใช่การย่อแบบวิธีสมาส, ด้วยวาศัพท์นี้ หมายความว่า จะใช้เป็นรูปประโยคทั่วไปโดยไม่ลง ณปัจจัย หรือจะใช้รูปที่ลงณ ปัจจัยแล้วก็ได้.
[๕] หมายความว่า ณ ปัจจัย จะแสดงอรรถสองอย่างในเวลาเดียวกันตามรูปวิเคราะห์ เพราะคำว่า อปัจจะ เป็นสัมพันธี และ แม้ บทลงฉัฏฐีวิภัตติในอรรถสามี ก็เป็นสัมพันธี  มีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันโดยความเป็น ชนก + ชญฺญ (บิดาผู้ให้เกิด + บุตร) เช่น วสิฏฺฐสฺส อปจฺจํ วาสิฏฺโฐ กรณีนี้ บุตรหรือผู้สืบเชื้อสายของวสิฏฐะ ชื่อว่า วาสิฏฺโฐ. ดังนั้น ณ ปัจจัย ใช้แทน ชญฺญ คือ บุตร อย่างเดียวหามิได้ แต่ใช้แทนความหมายว่า สามี หรือ ของ ไว้ด้วย เพราะ สัมพันธีและสัมพันธี ไม่แยกจากกัน.
[๖]  (ภาวปธาน คือ ไม่ต้องแสดงไว้ เพราะเป็นที่รู้กันได้ แปลตามศัพท์ว่า มีภาวะเป็นความหมายหลัก
[๗] [ก. ๔๐๕; รู. ๓๖๕; นี. ๘๖๐]
[๘]  [ก. ๔๐๔; รู. ๓๗๐; นี. ๘๕๙]
[๙] [ภารทฺวาชสฺสเวสามิตฺตสฺส… (รู.)]
[๑๐] [ก. ๓๔๕; รู. ๓๖๖; นี. ๗๕๔; ปา. ๔.๑.๙๓, ๙๔, ๑๖๒, ๑๖๓]
[๑๑] [อคฺคิเวสฺสโนติปิ ทิสฺสติ ที. นิ. ๑.๑๗๖; ม. นิ. ๑.๓๕๓ อาทโย]
[๑๒] เป็นที่รู้กันว่า ในกรณีที่เป็นไตรลิงค์ เมื่อวางบทสำเร็จในลักษณะนี้จะสื่อว่า ศัพท์ชุดที่ ๑ คือ วจฺฉาโน, วจฺฉายโน เป็นปุงลิงค์, ที่ ๒ คือ วจฺฉานี, วจฉายนี เป็นอิตถีลิงค์, ที่ ๓ คือ วจฺฉานํ, วจฺฉายนํ เป็นนปุงสกลิงค์ ดังนั้น คำแปลในที่นี้ จึงไม่ต้องโยคศัพท์แสดงปุงลิงค์ เช่น ปุริโสเป็นต้นมาอีก ผู้ศึกษากำหนดความข้อนี้ให้ดี ต่อไปจะเข้าใจแนวทางการรจนาคัมภีร์ของท่าน. 
[๑๓] [ก. ๓๔๖; รู. ๓๖๗; นี. ๗๕๕; ปา. ๔.๑.๑๒๐, ๑๒๓, ๑๒๖, ๑๒๗, ๑๒๘, ๑๒๙, ๑๓๑]
[๑๔] [ก. ๓๔๗; รู. ๓๖๘; นี. ๗๕๖; จํ. ๒.๔.๒; ปา. ๔.๑.๘๕]
[๑๕] [ก. ๒๖๑; รู. ๓๖๙; นี. ๕๐๙]
[๑๖] [ก. ๓๔๘; รู. ๓๗๑; นี. ๗๕๗]
[๑๗] [ก. ๓๔๗; รู. ๓๖๘; นี. ๗๕๖; จํ. ๒.๔.๑๙; ปา. ๔.๑.๙๕]
[๑๘]  [วิจาเรตพฺพมิทํ],
[๑๙] [ก. ๓๔๗; รู. ๓๖๘; นี. ๗๕๖; จํ. ๒.๔.๗๐; ปา. ๔.๑.๑๓๗]
[๒๐] [ก. ๓๔๗; รู. ๓๖๘; นี. ๗๕๖; จํ. ๒.๔.๖๙; ปา. ๔.๑.๑๓๘]
[๒๑] [ก. ๓๔๘; รู. ๓๗๑; นี. ๗๕๓; จํ. ๒.๔.๙๔, ๙๕; ปา. ๔.๑.๑๖๑]
[๒๒] [ก. ๓๕๒; รู. ๓๗๖; นี. ๗๖๕; จํ. ๒.๔.๙๖; ปา. ๔.๑.๑๖๘; ‘‘ชนปทนามสฺมา ขตฺติยา…’’ (พหูสุ)]
[๒๓] [ที. นิ. ๑.๒๖๗]
[๒๔] [ทาสรฏฺฐิ]
[๒๕] โมคคัลลานะเป็น  ชนปทนามสฺมา ขตฺติยา รญฺเญ จ โณฯ
[๒๖] [ก. ๓๔๖; รู. ๓๖๗; นี. ๗๕๕; จํ. ๒.๔.๑๐๑ เป.๔.๑.๑๗๒]
[๒๗] [ชา. ๑.๑๔.๒๒๘, ๒๓๒, ๒๓๖]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น