อิการนฺตปุลฺลิงฺคราสิ
กลุ่มนามศัพท์อิการันต์
ปุงลิงค์.
มุนิศัพท์
(พระมุนี)
ปฐมาวิภัตติ
มุนิ
พระมุนี
‘คสีน’นฺติ โลโป, มุนิ คจฺฉติฯ
ลบ สิ
ด้วยสูตร (๘๒) คสีนํ (ลบ คและสิ ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้วยสูตรอื่น)
มุนิ
คจฺฉติ
พระมุนี ย่อมไป
ลบ โย ท้ายอิ
อี ชื่อว่า ฌ และ อุ อู ชื่อว่า ล.
ฌ, ลโต โยนํ โลโป โหติฯ ‘โยโลปนีสุ ทีโฆ’ติ ทีโฆฯ
มุนี
คจฺฉนฺติฯ
ลบ โยวิภัตติ
ท้ายอิ อี ชื่อว่า ฌ และ อุ อู ชื่อว่า ล. เพราะโยที่ลบแล้ว
ทีฆะสระที่สุดของมุนิศัพท์ ด้วยสูตร (๙๑) โยโลปนีสุ (ในลิงค์ทั้งสาม
เพราะเมื่อโยถูกลบแล้วและที่อาเทสเป็นนิแล้ว สระที่เป็นรัสสะย่อมเป็นทีฆะ).
มุนี
พระมุนีท.
มุนี
คจฺฉนฺติ
มุนีท. ย่อมไป.
๑๖๖. โยสุ ฌิสฺส ปุเม [ก. ๙๖; รู.
๑๔๘; นี. ๒๕๙]ฯ
ในปุงลิงค์
เพราะโยทั้่งหลาย อิอักษรชื่อว่าฌ เป็น อ ก็มีได้.
ปุลฺลิงฺเค
โยสุ ฌสญฺญสฺส อิ-การสฺส ฏ โหติ วาฯ
มุนโย
คจฺฉนฺติฯ
ในปุงลิงค์
เพราะโยวิภัตติทั้งหลาย อ เป็นอาเทสของ อิอักษร มีชื่อว่า ฌ ย่อมมี ได้บ้าง.
มุนโย
พระมุนีท.
มุนโย
คจฺฉนฺติ
พระมุนีท. ย่อมไป.
ฌิสฺสาติ
กิํ?
รตฺติโย, ทณฺฑิโนฯ
ปุเมติ
กิํ?
อฏฺฐีนิฯ
คำว่า ฌิสฺส
อิ ชื่อว่า ฌ มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการห้ามใช้อาเทส
อ ของอิอื่นที่ไม่ใชื่อว่า ฌ เช่น รตฺติโย
ราตรีท. และ ของ อี เช่น ทณฺฑิโน คนมีไม้เท้าท.
คำว่า ปุเม ในปุงลิงค์ มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการห้ามการใช้อาเทส
อ ของอิ ในนปุงสกลิงค์ เช่น อฏฺฐีนิ กระดูกท.
โภ
มุนิ,
‘อยุนํ วา ทีโฆ’ติ ทีโฆ, โภ มุนี, โภนฺโต มุนี, โภนฺโต มุนโย,
มุนิํ, มุนี, มุนโย,
มุนินา, มุนีหิ, มุนีภิ, มุนิสฺส,
มุนิโน, มุนีนํ, มุนิสฺมา,
มุนิมฺหาฯ
อาลปนวิภัตติ
โภ
มุนิ,
ข้าแต่พระมุนี
มีรูปว่า มุนี
ได้บ้าง โดยทีฆะสระที่สุดของมุนิ ด้วยสูตรว่า (๖๓) อยุนํ วา ทีโฆ (ในลิงค์ทั้งสาม
ออิและอุ เป็นทีฆะ ได้บ้าง)
โภ
มุนี ข้าแต่พระมุนี
โภนฺโต
มุนี,
โภนฺโต มุนโย ข้าแต่พระมุนีท.
ทุติยาวิภัตติ
มุนิํ
ซึ่งพระมุนี
มุนี, มุนโย ซึ่งพระมุนีท.
ตติยาวิภัตติ,
มุนินา, ด้วยพระมุนี
มุนีหิ, มุนีภิ ด้วยพระมุนีท.
จตุตถีวิภัตติ
มุนิสฺส, มุนิโน, แก่พระมุนี
มุนีนํ
แก่พระมุนี ท.
ปัญจมีวิภัตติ
มุนิสฺมา, มุนิมฺหา จากพระมุนี
สฺมาวิภัตติ
ท้าย ฌ และ ล เป็น นา ได้บ้าง.
ฌ, ลโต สฺมาสฺส นา โหติ วาฯ
มุนินา, มุนีหิ, มุนีภิ, มุนิสฺส,
มุนิโน, มุนีนํ, มุนิสฺมิํ,
มุนิมฺหิ, มุนีสุฯ
สฺมาวิภัตติ
ท้าย อิ อี ชื่อว่า ฌ และ อุ อู ชื่อว่า ล เป็น นาวิภัตติ ได้บ้าง.
มุนินา
จากพระมุนี
มุนีหิ, มุนีภิ จากพระมุนี ท.
ฉัฏฐีวิภัตติ
มุนิสฺส, มุนิโนแห่งพระมุนี,
มุนีนํ
แห่งพระมุนี ท.
สัตตมีวิภัตติ
มุนิสฺมิํ, มุนิมฺหิ ในพระมุนี
มุนีสุ
ในพระมุนี
ท.
อิสิ ศัพท์ (ภิกษุ[1]
ผู้แสวงหาคุณ)
อิสิ
คจฺฉติ,
อิสี, อิสโย, โภ อิสิ,
โภ อิสี, โภนฺโต อิสี, โภนฺโต
อิสโย อิจฺจาทิฯ
ปฐมาวิภัตติ
อิสิ
คจฺฉติ
ภิกษุ ย่อมไป
อิสี, อิสโย ภิกษุท.
โภ
อิสิ,
โภ อิสี ภิกษุ
โภนฺโต
อิสี,
โภนฺโต อิสโย ข้าแต่ภิกษุท.
(วิภัตติที่เหลือ
เหมือน มุนิ ศัพท์)
อคฺคิ ศัพท์
(ไฟ)
อคฺคิ
ชลติ,
อคฺคี, อคฺคโย, โภ อคฺคิ,
โภ อคฺคี, โภนฺโต อคฺคี, โภนฺโต อคฺคโย อิจฺจาทิฯ
ปฐมาวิภัตติ
อคฺคิ
ชลติ ไฟ
ย่อมลุกโพลง
อคฺคี, อคฺคโย ไฟท.
อาลปนวิภัตติ
โภ
อคฺคิ,
โภ อคฺคี ข้าแต่ไฟ
โภนฺโต
อคฺคี,
โภนฺโต อคฺคโย ข้าแต่ไฟท.
เอวํ
กุจฺฉิ,
มุฏฺฐิ, คณฺฐิ, มณิ,
ปติ, อธิปติ, คหปติ,
เสนาปติ, นรปติ, ยติ,
ญาติ, สาติ, วตฺถิ,
อติถิ, สารถิ, โพนฺทิ,
อาทิ, อุปาทิ, นิธิ,
วิธิ, โอธิ, พฺยาธิ,
สมาธิ, อุทธิ, อุปธิ,
นิรุปธิ, ธนิ, เสนานิ,
กปิ, ทีปิ, กิมิ,
ติมิ, อริ,หริ, คิริ, กลิ, พลิ, สาลิ, อญฺชลิ, กวิ, รวิ, อสิ, มสิ, เกสิ, เปสิ, ราสิ, อหิ, วีหิอิจฺจาทโยฯ
ศัพท์เหมือน
มุนิ ศัพท์ เช่น
กุจฺฉิ ท้อง มุฏฺฐิ กำมือ คณฺฐิ ปุ่มปม
มณิ แก้วมณี ปติ เจ้าหรือผัว อธิปติ อธิบดี
คหปติ
คฤหบดี เสนาปติ เสนาบดี นรปติ จอมชน (กษัตริย์)
ยติ พระภิกษุ ญาติ ญาติ สาติ นายสาติ
วตฺถิ กระเพาะเบา
อติถิ
แขก (ผู้มาเยือน) สารถิ คนขับรถ
โพนฺทิ
ร่างกาย
(ธาน.๑๕๑) อาทิ เบื้องต้น
อุปาทิ อุปาทิ(ขันธ์)
นิธิ ขุมทรัพย์
วิธิ วิธี
โอธิ
ที่ตั้ง
พฺยาธิ
โรค สมาธิ
ความตั้งมั่น อุทธิ ทะเล
อุปธิ กิเลส นิรุปธิ นิพพาน ธนิ เสียง (ธาน.๑๒๘)
เสนานิ
จอมทัพ
(นายพล) กปิ ลิง ทีปิ
เสือดาว
กิมิ หนอน
ติมิ ปลาติมิ อริ ศัตรู
หริ เขียว คิริ ภูเขา กลิ ต้นกล้วย
พลิ พลีกรรม สาลิ
กระพุ่มมือ
อญฺชลิ
ข้าวสาลี
กวิ กวี
รวิ พระอาทิตย์ อสิ ดาบ
มสิ น้ำหมึก
เกสิ นายเกสี
เปสิ
ชิ้นเนื้อ
ราสิ กอง อหิ
งู วีหิ ข้าวเปลือก
**********
วิเสสวิธานมุจฺจเตฯ
มหาวุตฺตินา
อกตรสฺเสหิปิ เกหิจิ ฌสญฺเญหิ โยนํ โน โหติ, ‘‘ฉ มุนิโน
อคารมุนิโน, อนคารมุนิโน, เสขมุนิโน, อเสขมุนิโน,
ปจฺเจกมุนิโน, มุนิมุนิโน’’ติ [มหานิ. ๑๔] จ ‘‘ญาณุปปนฺนา
มุนิโน วทนฺตี’’ติ จ ‘‘เอกเมกาย อิตฺถิยา,
อฏฺฐฏฺฐ ปติโน สิยุ’’นฺติ จ [ชา. ๒.๒๑.๓๔๔] ‘‘ปติโน กิรมฺหากํ วิสิฏฺฐนารีน’’
[วิ. ว.
๓๒๓] นฺติ จ ‘‘หํสาธิปติโน อิเม’’ติ
[ชา. ๒.๒๑.๓๘] จ สุตฺตปทานิ ทิสฺสนฺติฯ
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงรูปแบบพิเศษ
โน
ยังเป็นอาเทสของโย ที่อยู่ท้าย อิ ชื่อว่า ฌ บางพวก แม้ที่ไม่ต้องทำเป็นรัสสะ[2] โดยใช้มหาสูตรสำเร็จรูป.
วิธีการนี้พบสุตตบท (พระบาฬี) เป็นหลักฐาน
ดังนี้
มุนีท.มี ๖
จำพวก คือ อาคารมุนี อนาคารมุนี เสขมุนี อเสขมุนี ปัจเจกมุนี มุนิมุนี.
พระมุนีท.
ผู้อุบัติขึ้น ด้วยญาณ ย่อมเรียก .....
เอกเมกาย
อิตฺถิยา,
อฏฺฐฏฺฐ ปติโน สิยุํ [ขุ.ชา.๒๘/๓๑๒]
หญิงคนหนึ่งๆ มีสามีคนละ
๘ คน
ปติโน
กิรมฺหากํ วิสิฏฺฐนารีนํ [ขุ.ว.๒๖/๓๒]
ได้ยินว่า สามี
(เป็นคติ) อันประเสริฐ แห่งพวกดิฉันผู้เป็นหญิง[5]
หํสาธิปติโน อิเม [ขุ.ชา.๒๘/๑๗๘]
หงส์ธตรฐทั้งสองนี้เป็นอธิบดีแห่งหงส์ทั้งหลาย
คาถาสุ
‘ฆพฺรหฺมาทิตฺเว’ติ มุนิโต คสฺส เอตฺตญฺจ โหติ,
โปโรหิจฺโจ ตวํ มุเน [อป. เถร ๑.๑.๕๔๐],
ธมฺมทสฺโส ตวํ มุเน [อป. เถร ๑.๑.๕๔๐],
จิรํ ชีว มหาวีร, กปฺปํ
ติฏฺฐ มหามุเน [อป. เถร ๑.๒.๑๖๘], ปฏิคฺคณฺห
มหามุเน [อป. เถร ๑.๔๑.๘๓]ฯ ตุยฺหตฺถาย มหามุเนติ [อป. เถร ๑.๓.๓๔๕]ฯ
เตหิเยว
อํวจนสฺส นญฺจ โหติ,
ตมาหุ เอกํ มุนินํ จรนฺตํ [สุ. นิ. ๒๑๐],
มุนินํ โมนปเถสุ สิกฺขมานํ [ชา. ๑.๘.๔๔],
ปิตรํ ปุตฺตคิทฺธินํ [ชา. ๒.๒๒.๒๓๗๗], สพฺพกามสมิทฺธินํ [ชา. ๑.๑๓.๑๐๓]ฯ
ในคาถาทั้งหลาย
–
๑) สิ ชื่อว่า
ค ท้าย มุนิศัพท์ เป็นเอ ด้วยสูตร ฆพฺรหฺมาทิตฺเว เช่น
โปโรหิจฺโจ
ตวํ มุเน
[ขุ.อป.เถร.๓๒/๘],
ข้าแต่พระมุนี
ปุโรหิตของพระองค์มีนามชื่อว่าพระโกลิตะ
ข้าแต่พระมุนี
ฯลฯ เป็นผู้พิพากษาของพระองค์
จิรํ ชีว
มหาวีร,
กปฺปํ ติฏฺฐ มหามุเน [ขุ.อป.เถรี ๓๓/๑๕๗],
ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า
ขอพระองค์จงมีพระชนมชีพอยู่นานๆ ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์จง
ดำรงพระชนม์อยู่ตลอดกัป
ตวตฺถาย
มหาเสตุํ ปฏิคฺคณฺห มหามุเน [ขุ.อป.เถร.๓๒/๔๐๖]ฯ
ข้าแต่พระมหามุนี
ขอได้โปรดทรงรับสะพานใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่พระองค์เถิด พระเจ้าข้า
อธิการํ
พหุํ มยฺหํ ตุยฺหตฺถาย มหามุเน [ขุ.อป.เถร ๓๓/๑๖๘]
ข้าแต่พระมหามุนี
อธิการเป็นอันมากของหม่อมฉันย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่พระองค์
๒) อํ ท้าย ฌ
ที่ไม่ต้องผ่านการทำเป็นรัสสะเหล่านั้นนั่นแหละ เป็น นํ ได้ เช่น
ตมาหุ
เอกํ มุนินํ จรนฺตํ [ขุ.สุ. ๒๕/๓๑๓],
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่าเป็นมุนีเอก
มา
กิญฺจิ อวจุตฺถ คงฺคมาลํ มุนินํ โมนปเถสุ สิกฺขมานํ [ขุ.ชา. ๒๗/๑๑๖๒]
ท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวอะไรๆ
กะท่านคังคมาละ ผู้เป็นปัจเจกมุนี ศึกษาอยู่ในคลองมุนี
ตญฺจ ทิสฺวาน
อายนฺตํ ปิตรํ ปุตฺตคิทฺธินํ [ขุ.ชา.๒๘/๑๒๔๕],
ก็พระเวสสันดรและพระนางเจ้ามัทรี ทอดพระเนตรเห็นพระบิดาผู้มีความรักในบุตรกำลังเสด็จมา
มนุสฺสินฺทํ
ชหิตฺวาน สพฺพกามสมิทฺธินํ
กถํ
นุ ภควา เกสิ กปฺปสฺส
รมติ อสฺสเม. [ชา.๒๗/๖๘๒]
เป็นอย่างไรหนอ
เกสวะดาบสผู้ควรบูชาของข้าพเจ้าทั้งหลายจึงละความเป็นพระเจ้าพาราณสีผู้เป็นจอมมนุษย์
ซึ่งสามารถให้สำเร็จประสงค์ทุกอย่าง แล้วมายินดีอยู่ในอาศรมของกัปปดาบส.
อิสิสทฺเท
ปน
–
ส่วนใน อิสิ
ศัพท์
เอ เป็น อาเทส
ของ สิ ท้าย อิสิ ได้บ้าง.
อิสิมฺหา
สิสฺส เฏ โหติ วาฯ
โย โน’ชฺช วินเย กงฺขํ, อตฺถธมฺมวิทู อิเส [ชา. ๒.๒๒.๑๑๖๔]ฯ ‘ฆพฺรหฺมาทิตฺเว’ติ คสฺส เอตฺตญฺจ โหติ, นิสีทาหิ มหาอิเส [ชา. ๒.๒๐.๑๑๔], ตฺวํ โน’สิ
สรณํ อิเส [ชา. ๒.๒๒.๑๓๒๖], ปุตฺโต
อุปฺปชฺชตํ อิเส [ชา. ๑.๑๔.๑๐๔]ฯ
เอ
เป็นอาเทสของสิ วิภัตติที่อยู่ท้าย อิสิ ศัพท์ ได้บ้าง เช่น
โย โน’ชฺช วินเย กงฺขํ, อตฺถธมฺมวิทู
อิเส
[ขุ.ชา.๒๘/๘๓๘]ฯ
วันนี้
เราทั้งหลายควรจะเข้าไปหาใคร ผู้เป็นบัณฑิต รู้แจ้งอรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณ ซึ่งท่านพึงกำจัดความสงสัยของพวกเราได้.
‘ฆพฺรหฺมาทิตฺเว’ติ คสฺส เอตฺตญฺจ โหติ, นิสีทาหิ มหาอิเส [ชา. ๒.๒๐.๑๑๔],
อาลปนวิภัตติ
ความเป็น เอ
แห่ง สิ ชื่อว่า ค ย่อมมี ด้วยสูตร (๘๔) ฆพฺรหฺมาทิตฺเว (ท้าย ฆ และ พฺรหฺมเป็นต้น
แปลง สิ ชื่อว่า ค เป็น เอ) เช่น
อิเม
อายนฺติ ราชาโน อภิชาตา ยสสฺสิโน
อสฺสมา
นิกฺขมิตฺวาน นิสีทาหิ มหาอิเส [ขุ.ชา. ๒๘/๑๔๗]
ข้าแต่ท่านมหาฤาษี
พระราชาทั้งหลาย ผู้อภิชาต เรืองยศเหล่านี้ เสด็จมาหา
ขอเชิญบิดาออกไปนั่งนอกอาศรมเถิด
ตฺวํ
โน’สิ สรณํ อิเส [ขุ.ชา.๒๘/๘๘๙],
ท่านฤาษี
ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า
ปุตฺโต
อุปฺปชฺชตํ อิเส [ขุ.ชา.๒๗/๑๙๔๒]
ข้าแต่พระฤาษี
ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด
เอ
เป็นอาเทสของ โย ทุติยา ท้าย อิสิ ได้บ้าง.
อิสิมฺหา
ทุติยสฺส โยสฺส เฏ โหติ วาฯ
สมเณ
พฺราหฺมเณ วนฺเท,
สมฺปนฺนจรเณ อิเส [ชา. ๑.๑๖.๓๑๔]ฯ
เอ เป็น
อาเทสของโยทุติยาวิภัตติ อันเป็นเบื้องหลังจาก อิสิ ศัพท์ ได้บ้าง เช่น
สมเณ
พฺราหฺมเณ วนฺเท,
สมฺปนฺนจรเณ อิเส [ขุ.ชา.๒๗/๒๔๑๐]ฯ
พระนางก็วอนไหว้สมณพราหมณ์และฤาษีทั้งหลาย
ผู้สมบูรณ์ด้วยจรณะ
สมาเส
ปน มเหสิ คจฺฉติ,
มเหสี คจฺฉนฺติ, มเหสโย, มเหสิโนฯ อํวจเน มเหสินนฺติ สิชฺฌติฯ ‘‘สงฺคายิํสุ
มเหสโย [วิ. ว. คนฺถารมฺภกถา เป. ว. คนฺถารมฺภกถา], วานมุตฺตา มเหสโย’’ติ [อภิธมฺม.สงฺค.
๑๑๓ ปิฏฺเฐ] จ ‘‘น
ตํ สมฺมคฺคตา ยญฺญํ, อุปยนฺติ มเหสิโน, เอตํ สมฺมคฺคตา ยญฺญํ, อุปยนฺติ มเหสิโน [สํ. นิ. ๑.๑๒๐], ปหนฺตา มเหสิโน กาเม, เยน ติณฺณา มเหสิโน’’ติ จ ‘‘มเหสิํ
วิชิตาวิน’’นฺติ [ม. นิ. ๒.๔๕๙] จ ‘‘สงฺฆญฺจาปิ มเหสินํ, กุญฺชรํว มเหสินํ, อุปคนฺตฺวา มเหสินํ [พุ. วํ.
๙.๑], ขิปฺปํ ปสฺส มเหสินํ [ชา.
๒.๑๙.๗๐], กตกิจฺจํ มเหสิน’’นฺติ
[ชา. ๒.๑๙.๑๐๒] จ สุตฺตปทานิ ทิสฺสนฺติฯ
แต่เมื่อเป็นบทสมาส
ใน สิ
ปฐมาวิภัตติจะสำเร็จรูปเป็น มเหสิ
มเหสิ
คจฺฉติ
พระมเหสีเจ้า ย่อมเสด็จไป
โย
ปฐมาวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น มเหสิ, มเหสโย, มเหสิโน
มเหสี
คจฺฉนฺติ,
พระมเหสีเจ้าท. ย่อมเสด็จไป
ในอํวิภัตติ
สำเร็จรูปเป็น มเหสินํ ซึ่งพระมเหสีเจ้า.
รูปเหล่านั้นมีพระบาฬีเป็นหลักฐาน
ดังนี้
วิมานวตฺถุ
อิจฺเจว,
นาเมน วสิโน ปุเร;
ยํ
ขุทฺทกนิกายสฺมิํ, สงฺคายิํสุ มเหสโยฯ; [วิ.อ.คนฺถารมฺภกถา]
พระมเหสีเจ้าท.
(หมายถึง พระอรหันตเถระผู้สวดคัมภีร์นี้ในคราวปฐมสังคายนา) ผู้เชี่ยวชาญแต่ก่อน
สังคายนาเรื่องใดไว้ในคัมภีร์ขุททกนิกาย โดยชื่อว่าวิมานวัตถุ
วานมุตฺตา
มเหสโย
[อภิธมฺมตฺถสงฺคห ฉฏฺฐปริจฺเฉท] จ
พระมเหสีเจ้าท.
(หมายถึง พระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่มีศีลขันธ์เป็นต้นอันยิ่งใหญ่)
ผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสชื่อวานะ.
น ตํ
สมฺมคฺคตา ยญฺญํ อุปยนฺติ มเหสิโน (สํ.ส.๑๕/๓๕๑)
พระมเหสีเจ้าท.
(หมายถึง พระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่) ผู้ดำเนินปฏิปทาอันชอบ
ย่อมไม่เข้าไปใกล้ยัญนั้น
เอตํ
สมฺมคฺคตา ยญฺญํ,
อุปยนฺติ มเหสิโน [สํ.ส.๑๕/๓๕๑],
พระมเหสีเจ้าท. ผู้ดำเนินปฏิปทาอันชอบ
ย่อมเข้าไปใกล้ยัญนั้น ฯ
ปหนฺตา
มเหสิโน กาเม
พระมเหสีเจ้าท.
ผู้ละกามได้ขาด
อโสกํ
วิรชํ เขมํ อริยฏฺฐงฺคิกํ
อุชุํ
ตํ
มคฺคํ อนุคจฺฉามิ เยน
ติณฺณา มเหสิโน ฯ (ขุ.เถรี.๒๖/๔๗๑)
เราจะเดินไปตามอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์
๘ อันเป็นทางไม่มีความเศร้าโศก ปราศจากธุลี ปลอดโปร่ง เป็นทางตรง เป็นทางที่ท่านผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวงดำเนินข้ามห้วงน้ำใหญ่ไปแล้ว.
อุสภํ
ปวรํ วีรํ มเหสิํ
วิชิตาวินํ
อเนชํ
นฺหาตกํ พุทฺธํ ตมหํ
พฺรูมิ พฺราหฺมณํ [ม.ม.๑๓/๗๐๗]
เราเรียกบุคคลผู้องอาจ
ผู้ประเสริฐ ผู้แกล้วกล้า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ผู้ชำนะแล้วโดยวิเศษ
ผู้ไม่หวั่นไหว อาบเสร็จแล้ว ตรัสรู้แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์.
สตฺถารํ
ธมฺมมารพฺภ สงฺฆญฺจาปิ มเหสินํ
เราปรารภพระศาสดา
พระธรรม และพระสงฆ์ ถวายผ้าเปลือกไม้ แด่พระผู้มีพระภาค ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง
เป็นทักขิเณยบุคคลผู้เลิศ
สุวณฺณวณฺณํ
สมฺพุทฺธํ นิสภาชานิยํ ยถา
ติธาปฺปภินฺนํ
มาตงฺคํ กุญฺชรํว มเหสินํ ฯ (ขุ.อป.๓๒/๑๐๔)
เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทอง ผู้องอาจดุจม้าอาชาไนย ดังช้างมาตังคะตกมัน ๓ ครั้ง ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่.
ตทาปิ
ตํ พุทฺธวรํ อุปคนฺตฺวา มเหสินํ
อนฺน
ปาเนน ตปฺเปสิํ สสงฺฆํ โลกนายกํ [ขุ.พุทฺธ. ๓๓/๘]
แม้ครั้งนั้น
เราก็ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้ทรงแสวงหาคุณใหญ่หลวงพระองค์นั้นแล้วได้ถวายข้าวและน้ำให้พระองค์เสวยพร้อมด้วยพระสงฆ์จนเพียงพอ
สงฺกิจฺจายํ
อนุปฺปตฺโต อิสีนํ สาธุสมฺมโต
ตรมานรูโป
นิยฺยาหิ ขิปฺปํ ปสฺส มเหสินํ ฯ [ขุ.ชา ๒๘/๙๐]
สังกิจจฤาษีที่พระองค์ทรงพระกรุณา
ซึ่งยกย่องกันว่าได้ดีแล้วในหมู่ฤาษีทั้งหลายมาถึงแล้ว เชิญพระองค์รีบเสด็จออกไปพบท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่โดยเร็วเถิด
ผู้ใดฆ่าบรรพชิตผู้ทำกิจเสร็จแล้ว
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
อคฺคิสทฺเท –
ปฐมาวิภัตติ
๑๗๐. สิสฺสคฺคิโต นิ [ก. ๙๕; รู.
๑๔๕; นี. ๒๕๔; ‘สิสฺสาคฺคิโต นิ’
(พหูสุ)]ฯ
นิ
เป็นอาเทสของ สิ ท้าย อคฺคิ ได้บ้าง.
อคฺคิโต
สิสฺส นิ โหติ วาฯ
อคฺคิ
ชลติ,
อคฺคินิ ชลติ, อคฺคี ชลนฺติ, อคฺคโย อิจฺจาทิฯ
นิ เป็น อาเทส
ของ สิวิภัตติ ที่อยู่ท้ายอคฺคิศัพท์ ได้บ้าง. เช่น
อคฺคิ
ชลติ,
อคฺคินิ ชลติ, ไฟ ย่อมลุกโพลง
อคฺคี
ชลนฺติ,
อคฺคโย ชลนฺติ ไฟท. ย่อมลุกโพลง
ปาฬิยํ
ปน ‘‘อคฺคิ, คินิ, อคฺคินี’’ติ ตโย อคฺคิปริยายา ทิสฺสนฺติ – ‘‘ราคคฺคิ, โทสคฺคิ, โมหคฺคี’’ติ [อ. นิ. ๗.๔๖] จ ‘‘ฉนฺนา กุฏิ อาหิโต คินิ, วิวฏา กุฏิ นิพฺพุโต คินิ [สุ. นิ. ๑๙], มหาคินิ สมฺปชฺชลิโต [เถรคา. ๗๐๒ (โถกํ วิสทิสํ)], ยสฺมา โส ชายเต คินี’’ติ [ชา. ๑.๑๐.๕๘] จ ‘‘อคฺคินิํ
สมฺปชฺชลิตํ ปวิสนฺตี’’ติ [สุ. นิ. ๖๗๕]
จฯ
ในพระบาฬี
พบศัพท์ที่เป็นไวพจน์ของอคฺคิศัพท์ ๓ รูป คือ อคฺคิ, คินิ, อคฺคินิ ดังนี้
ราคคฺคิ, โทสคฺคิ, โมหคฺคิ [อํ.สตฺตก. ๒๓/๔๔]
ไฟ ๓ เหล่านี้
คือ ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ
ฉนฺนา
กุฏิ อาหิโต คินิ [ขุ.สุ. ๒๕/๒๙๕],
เรามุงบังกระท่อมแล้ว
ก่อไฟไว้แล้ว.
วิวฏา
กุฏิ นิพฺพุโต คินิ [ขุ.สุ. ๒๕/๒๙๕],
กระท่อมมีหลังคาอันเปิดแล้ว
ไฟดับแล้ว
ไฟกองใหญ่ลุกโชน
เมื่อหมดเชื้อก็ดับไป
กฏฺฐสฺมึ
มตฺถมานสฺมิํ ปาวโก นาม ชายติ
ตเมว
กฏฺฐํ ทหติ ยสฺมา โส ชายเต คินิ
ฯ [ขุ.ชา. ๒๗/๑๓๗๖]
ธรรมดาไฟย่อมเกิดขึ้นที่ไม้สีไฟอันบุคคลสีอยู่
ไฟเกิดขึ้นแต่ไม้ใด ย่อมเผาไม้นั้นเองให้ไหม้.
อถ
โลหมยํ ปน กุมฺภึ อคฺคินิํ สมฺปชฺชลิตํ ปวิสนฺติ[10] [สุ. นิ. ๖๗๕]
ทีนั้น
สัตว์นรกทั้งหลาย ย่อมเข้าไปสู่หม้อเหล็กอันไฟลุกโพลง
เตสํ
วิสุํ วิสุํ รูปมาลา ลพฺภติฯ
ศัพท์ทั้ง ๓
มี อคฺคิ เป็นต้นเหล่านั้น มีรูปมาลา (ปทมาลา, การกระจายรูปวิภัตติ) แยกเป็นของตนโดยเฉพาะ.
เสฏฺฐิ, ปติ, อธิปติ, เสนาปติ, อติถิ,
สารถิสทฺเทหิ จ โยนํ โน โหติ, อํวจนสฺส นํ
โหติ วา, เสฏฺฐิโน, เสฏฺฐินํ, ปติโน, ปตินํ, อธิปติโน,
อธิปตินํ, เสนาปติโน, เสนาปตินํ,
อติถิโน, อติถินํ, สารถิโน,
สารถินนฺติฯ คหปตโย, ชานิปตโย อิจฺจาทีนิ
นิจฺจรูปานิ ทิสฺสนฺติฯ
อนึ่ง โน เป็น
อาเทสของโย, และ นํ เป็นอาเทสของ อํ ที่อยู่ท้ายศัพท์ต่อไปนี้ คือ เสฏฐิ, ปติ, อธิปติ, เสนาปติ, อติถิ และสารถิ
ได้บ้าง ดังนี้
เสฏฺฐิโน เศรษฐีท.
เสฏฺฐินํ
ซึ่งเศรษฐี,
เสฏฺฐิโน ซึ่งเศรษฐีท.,
ปติโน สามี
ปตินํ ซึ่งสามี
ปติโน
สามีท.
อธิปติโน
อธิบดีท.,
อธิปตินํ ซึ่งอธิบดี
อธิปติโน ซึ่งอธิบดีท.,
เสนาปติโน เสนาบดีท.,
เสนาปตินํ
ซึ่งเสนาบดี
เสนาปติโน ซึ่งเสนาบดีท.
อติถิโน
ผู้มาเยือนท.
อติถินํ ซึ่งผู้มาเยือน
อติถิโน
ซึ่งผู้มาเยือนท.
สารถิโน สารถีท.
สารถินํ
ซึ่งสารถี
สารถิโน
ซึ่งสารถีท.
แต่รูปว่า คหปตโย
คฤหบดีท. ชานิปตโย สามีท. เป็นต้นนี้คงมีแน่นอน (ไม่ทำเป็น คหปติโน หรือ
ชานิปติโน)
อาทิสทฺเท
–
‘รตฺถฺยาทีหิ โฏ สฺมิํโน’ติ สฺมิํโน โฏ โหติ, อาทิสฺมิํ, อาทิมฺหิ, อาโท, คาถาโท,
ปาทาโทฯ ‘‘อาทิํ, คาถาทิํ,
ปาทาทิํ’’ อิจฺจาทีสุ ปน อาธารตฺเถ ทุติยา เอว
‘‘อิมํ รตฺติํ, อิมํ ทิวสํ, ปุริมํ ทิสํ, ปจฺฉิมํ ทิสํ, ตํ
ขณํ, ตํ ลยํ, ตํ มุหุตฺตํ’’ อิจฺจาทีสุ วิยฯ
รูปวิภัตติในอาทิศัพท์
มีที่เป็นพิเศษเฉพาะในสฺมิํวิภัตติ กล่าวคือ โอ เป็นอาเทส ของ สฺมิํวิภัตติ
ด้วยสูตรว่า (๙๕). รตฺตาทีหิ โฏ สฺมิํโน (สฺมิํ ท้าย รตฺติและอาทิ
จะกลายเป็น โอ) เช่น
อาทิสฺมิํ, อาทิมฺหิ, อาโท ในเบื้องต้น
คาถาโท ในคาถาแรก
ปาทาโท
ในบาทแรก
แต่ในบางรูปเป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ
เช่น
อาทิํ ในเบื้องต้น คาถาทิํ ในคาถา ปาทาทิํ ในบาท
เช่นเดียวกับรูปว่า
อิมํ
รตฺติํ
ในคืนนี้, อิมํ ทิวสํ ในวันนี้, ปุริมํ ทิสํ ในวันแรก, ปจฺฉิมํ ทิสํ ในวันหลัง, ตํ ขณํ ในวันนั้น, ตํ
ลยํ ในขณะนั้น, ตํ มุหุตฺตํ ในคราวนั้น
อิทานิ
สมาเส ฌิสฺส ฏาเทสาภาโว วุจฺจติฯ
บัดนี้ จะกล่าวถึงการเป็นอาแห่ง
อิ ชื่อว่า ฌ ในสมาส.
ในอัญญปทัตถสมาส
(พหุพพีหิสมาส) ที่เป็นปุงลิงค์ โยปฐมาและทุติยาวิภัตติท้าย อิการันต์ เป็น โน และ
เน ตามลำดับ ได้บ้าง.
ปุเม
อญฺญปทตฺถสมาเส อิ-การมฺหา ปฐมา, ทุติยาโยนํ กเมน โน,
เน โหนฺติ วาฯ สุตฺตวิภตฺเตน อุตฺตรปทตฺถสมาเสปิ กฺวจิ โยนํ โน,
เน โหนฺติฯ
ในอัญญปทัตถสมาส
ที่เป็นปุงลิงค์ โยปฐมาและทุติยาวิภัตติท้าย อิการันต์ เป็น โน และ เน ตามลำดับ ได้บ้าง.
ด้วยการแบ่งสูตรว่า
(อิโต ปุเม) แม้ในอุตตรปทัตถสมาส (ตัปปุริสสมาส) บางตัวอย่างสามารถ แปลง โย เป็น
โน และ เน ตามลำดับ. ตัวอย่าง
ปฐมาโยมฺหิ –
ในโยปฐมา
มิจฺฉาทิฏฺฐิโน, สมฺมาทิฏฺฐิโน, มุฏฺฐสฺสติโน, อุปฏฺฐิตสฺสติโน,
อสาเร สารมติโน [ธ. ป. ๑๑], นิมฺมานรติโน เทวา, เย เทวา วสวตฺติโน [สํ. นิ. ๑.๑๖๘], อฏฺเฐเต จกฺกวตฺติโน, ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน [สํ. นิ. ๕.๓๔], สคฺคํ สุคติโน ยนฺติ [ธ. ป. ๑๒๖], โตมร’งฺกุสปาณิโน [ชา. ๒.๒๒.๒๒๓],
ทณฺฑมุคฺครปาณิโน, อริยวุตฺติโน, นิปกา สนฺตวุตฺติโน อิจฺจาทิฯ
มิจฺฉาทิฏฺฐิโน
ผู้มีความเห็นผิด
สมฺมาทิฏฺฐิโน ผู้มีความเห็นถูก
มุฏฺฐสฺสติโน ผู้มีสติอันหลงแล้ว
อุปฏฺฐิตสฺสติโน ผู้มีสติอันปรากฏแล้ว.
อสาเร
สารมติโน
[ขุ.ธ. ๒๕/๑๑]
ผู้มีความเห็นว่าเป็นสาระในสิ่งไม่ใช่เป็นสาระ
ตาวตึสา
จ ยามา จ ตุสิตา จาปิ เทวตา
นิมฺมานรติโน
เทวา เย เทวา วสวตฺติโน
กามพนฺธนพนฺธา
เต เอนฺติ
มารวสํ ปุน. [สํ.ส.๑๕/๕๔๔],
พวกเทพชั้นดาวดึงส์
ชั้นยาม ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดีและชั้นวสวดี [11]ยังผูกพันอยู่ด้วยเครื่องผูกคือกาม
จำต้องกลับมาสู่อำนาจมารอีกฯ
เตตฺตึเส
วตฺตมานมฺหิ กปฺเป อาสุํ ชนาธิปา
อุทกาเสจนา
นาม อฏฺเฐเต จกฺกวตฺติโน
ฯ ขุ.อป.๓๒/๙๑,
ในกัลปที่ ๓๓
อันกำลังเป็นไป ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิ [12]ผู้เป็นจอมชนรวม
๘ พระองค์ ทรงพระนามว่าอุทกาเสจนะ
เย จ
โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
เต
ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ ฯ [อํ.ทสก.๒๔/๑๑๗],
ส่วนชนเหล่าใด
เป็นผู็ประพฤติธรรมอันสมควร ในธรรมที่[13]พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
ชนเหล่านั้นข้ามบ่วงมฤตยูซึ่งแสนยากที่จะข้ามไปถึงฝั่งได้
คพฺภเมเก
อุปปชฺชนฺติ นิรยํ ปาปกมฺมิโน
สคฺคํ
สุคติโน ยนฺติ ปรินิพฺพนฺติ
อนาสวา
ฯ [ขุ.ธ.๒๕/๑๙],
คนบางพวกย่อมเข้าถึงครรภ์
บางพวกมีกรรมอันลามก ย่อมเข้าถึงนรก ผู้ที่มีคติดี ย่อมไปสู่สวรรค์
ผู้ที่ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน
กทา
สุ มํ หตฺถาโรหา สพฺพาลงฺการภูสิตา
นีลจมฺมธรา
สูรา โตมรงฺกุสปาณิโน [ขุ.ชา.๒๘/๔๕๓],
เมื่อไรกองฝึกช้าง
ผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง สวมเกราะเขียว กล้าหาญ ถือโตมรและของ้าว
(ซึ่งเคยติดตามเรา)[14]
จึงจักไม่ติดตามเรา ความดำรินั้นจักสำเร็จได้เมื่อไร
อทฺทสํสุ
โภชปุตฺตา ขรา ลุทฺธา อการุณา
อุปคจฺฉฉ
มมํ ตตฺถ ทณฺฑมุคฺครปาณิโน (ขุ.พุทฺธ. ๓๓/๒๐) ฯ
พวกบุตรของนายพรานเป็นคนดุร้ายหยาบช้าไม่มีกรุณา
ได้เห็นเราแล้วมีมือถือไม้พลองตะบองสั้นกรูกันเข้ามาหาเรา ณ ที่นั้น
อริยวุตฺติโน
ผู้มีความเป็นไปอันประเสริฐ[15]
ปญฺจาหํ
สนฺนิปตนฺติ เอกคฺคา สนฺตวุตฺติโน
อญฺญมญฺญํ อภิวาเทตฺวา
ปกฺกมนฺติ ทิสามุขา (ขุ.เถร.อป.๓๒/๔๑๒)ฯ
ฤาษีเหล่านั้นเป็นผู้มีตบะ
ประพฤติพรหมจรรย์ ตักเตือนกันและกัน เป็นผู้แน่นแฟ้น เหาะไปในอากาศได้ทุกคน อยู่ในอาศรมประชุมกันทุก
๕ วัน ไม่ระส่ำระสาย มีความประพฤติสงบระงับ อภิวาทกันและกันแล้ว จึงบ่ายหน้ากลับไปตามทิศ
(ที่ตนอยู่)
ทุติยาโยมฺหิ
–
มุฏฺฐสฺสติเน, อุปฏฺฐิตสฺสติเน, อริยวุตฺติเน, โตมร’งฺกุสปาณิเน [ชา. ๒.๒๒.๑๙๐] อิจฺจาทิฯ
ในโยทุติยาวิภัตติ เช่น
มุฏฺฐสฺสติเน ผู้มีสติอันหลงลืมแล้ว
อุปฏฺฐิตสฺสติเน ผู้มีสติปรากฏแล้ว
อริยวุตฺติเน ผู้มีความเป็นไปอันประเสริฐ.
กทาหํ
หตฺถาโรเห จ สพฺพาลงฺการภูสิเต;
นีลวมฺมธเร
สูเร โตมรงฺกุสปาณิเน[16]
ปหาย
ปพฺพชิสฺสามิ ตํ กุทาสฺสุ ภวิสฺสติ [ขุ.ชา.๒๘/๔๕๓]ฯ
เมื่อไรเราจึงจักละกองฝึกช้างผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง
สวมเกราะเขียว กล้าหาญ ถือโตมรและของ้าว ออกบวชได้ ความดำรินั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ
วาตฺเวว? มิจฺฉาทิฏฺฐี ชนา คจฺฉนฺติ, มิจฺฉาทิฏฺฐี ชเน ปสฺสติฯ
วา
ศัพท์ มีไว้เพื่ออะไร?
เพื่อการไม่แปลงโย
เป็น โน และ เป็น เน ได้บ้าง เช่น
มิจฺฉาทิฏฺฐี
ชนา คจฺฉนฺติ
ชนท. ผู้มีความเห็นผิด ย่อมไป
มิจฺฉาทิฏฺฐี
ชเน ปสฺสติ
ย่อมเห็น ซึ่งชนท. ผู้มีความเห็นผิด
ครู
ปน ‘‘โตมร’งฺกุสปาณโย, อตฺเถ
วิสารทมตโย’’ติ [ก. ๒๕๓] รูปานิ อิธ
อิจฺฉนฺติฯ
แต่ครูทั้งหลาย
(คือ พระอาจารย์กัจจายนเถระ) ประสงค์รูปท. ในอธิการนี้ว่า
โตมร’งฺกุสปาณโย, นายทหารผู้ถือโตมรและของ้าว
อตฺเถ
วิสารทมตโย
ผู้มีปัญญาอันแกล้วกล้าในอรรถ (อารัมภกถาในกิพพิธานกัณฑ์ กัจจายนไวยากรณ์)
อญฺญตฺเถติ
กิํ?
มิจฺฉาทิฏฺฐิโย ธมฺมา, มิจฺฉาทิฏฺฐิโย ธมฺเมฯ
บทว่า อญฺญตฺเถ
มีประโยชน์อะไร?
มีประโยชน์ในการไม่แปลง
โน และ เน ในสมาสอื่นนอกนี้ เช่น
มิจฺฉาทิฏฺฐิโย
ธมฺมา
ธรรมท. คือความเห็นอันผิด
มิจฺฉาทิฏฺฐิโย
ธมฺเม
ซึ่งธรรมท. คือความเห็นอันผิด
ปุเมติ
กิํ?
มิจฺฉาทิฏฺฐินิโย อิตฺถิโย, มิจฺฉาทิฏฺฐีนิ กุลานิฯ
บทว่า ปุเม
(ในปุงลิงค์) มีประโยชน์อะไร?
เพื่อการไม่แปลงโย
เป็น โน และ เป็น เน ในอัญญปทัตถสมาส ที่ไม่ใช่ปุงลิงค์ เช่น
มิจฺฉาทิฏฺฐินิโย
อิตฺถิโย
หญิงท. ผู้มีความเห็นผิด
มิจฺฉาทิฏฺฐีนิ
กุลานิ
ตระกูลท. ที่มีความเห็นผิด.
๑๗๒. เน สฺมิํโน กฺวจิ [นี. ๔๕๓]ฯ
ในอัญญัตถสมาส
อันเป็นปุงลิงค์ บางแห่ง สฺมิํ ท้าย อิการันต์ เป็น เน.
ปุเม
อญฺญตฺเถ อิโต สฺมิํโน กฺวจิ เน โหติฯ
กตญฺญุมฺหิ
จ โปสมฺหิ,
สีลวนฺเต อริยวุตฺติเน [ชา. ๑.๑๐.๗๘]ฯ
สพฺพกามสมิทฺธิเน กุเล, ฉตฺตปาณิเน, ทณฺฑปาณิเน,
โตมร’งฺกุสปาณิเน [ชา.
๒.๒๒.๑๙๐] อิจฺจาทิฯ
ในอัญญัตถสมาส
อันเป็นปุงลิงค์ บางแห่ง สฺมิํ ท้าย อิการันต์ เป็น เน. เช่น
กตญฺญุมฺหิ
จ โปสมฺหิ,
สีลวนฺเต อริยวุตฺติเน;
สุเขตฺเต
วิย พีชานิ,
กตํ
ตมฺหิ น นสฺสติฯ[ขุ.ชา.๒๗/๑๓๙๖]
ส่วนกรรมที่บุคคลทำในคนกตัญญู
มีศีล มีความประพฤติประเสริฐ ย่อมไม่ฉิบหายไป
เหมือนพืชที่บุคคลหว่านลงในนาดีฉะนั้น.
สพฺพกามสมิทฺธิเน
กุเล
ในตระกูลอันเพียบพร้อมด้วยกามทั้งปวง
ฉตฺตปาณิเน, ในบุคคลผู้มีร่มในมือ (มือถือร่ม)
ทณฺฑปาณิเน ในบุคคลผู้มีไม้เท้าในมือ
(มีมือถือไม้เท้า)
โตมร’งฺกุสปาณิเน ในทหารผู้มีโตมรและของ้าว
(มีมือถือโตมรและของ้าว)
สุตฺตวิภตฺเตน
อีโตปิ สฺมิํโน กฺวจิ เน โหติ, มาตงฺคสฺมิํ ยสสฺสิเน [ชา. ๒.๑๙.๙๖], เทววณฺณิเน, พฺรหฺมวณฺณิเน, อรหนฺตมฺหิ ตาทิเน [เถรคา. ๑๑๘๒] อิจฺจาทิฯ
ด้วยการแบ่งสูตรโดยไม่ให้บทว่า
อิโต ตามมาจากสูตรว่า อิโตญฺญตฺเถ ปุเม (ในอัญญปทัตถสมาส ที่เป็นปุงลิงค์
โยปฐมาและทุติยาวิภัตติท้าย อิการันต์ เป็น โน และ เน ตามลำดับ ได้บ้าง) สู่สูตรว่า
เน สฺมิํโน กฺวจิ (ในอัญญัตถสมาส
อันเป็นปุงลิงค์ บางแห่ง สฺมิํ ท้าย อิการันต์ เป็น เน) นี้[17]
จึงสามารถแปลง สฺมิํ ท้าย อี เป็น เน ได้บ้าง ในบางอุทาหรณ์ เช่น
อุปหจฺจ
มนํ เมชฺโฌ มาตงฺคสฺมิํ ยสสฺสิเน
สปาริสชฺโช
อุจฺฉินฺโน เมชฺฌารญฺญํ ตทา อหุ ฯ [ขุ.ชา๒๘/๙๒]
พระเจ้าเมชฌะคิดประทุษร้ายในมาตังคะฤาษี
ผู้เรืองยศ รัฐมณฑลของพระเจ้าเมชฌะ พร้อมด้วยบริษัทก็สูญสิ้นไปในครั้งนั้น
เทววณฺณิเน ในหมู่เทวดา
จณฺฑาลิ
วนฺท ปาทานิ โคตมสฺส ยสสฺสิโน
ตเมว
อนุกมฺปาย อฏฺฐาสิ อิสิสตฺตโม
อภิปฺปสาเทหิ
มนํ อรหนฺตมฺหิ ตาทิเน
ขิปฺปมญฺชลิกา วนฺท
ปริตฺตํ ตว ชีวิตนฺติ [ขุ.วิ.๒๖/๒๑]ฯ
แน่ะยายจัณฑาล
ท่านจงถวายอภิวาทพระบาทยุคลของพระสมณโคดม ผู้อุดมด้วยพระเกียรติยศ.
พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าผู้วิเศษทั้งหลาย ได้ประทับยืนอยู่ เพื่อทรงอนุเคราะห์ท่านคนเดียวเท่านั้น.
ท่านจงยังจิตให้เลื่อมใสยิ่ง
ในพระพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสทั้งมวล เป็นผู้หนักแน่น
แล้วจงประคองหัตถ์ถวายอภิวาทโดยเร็วเถิด ชีวิตของท่านยังเหลือน้อยเต็มที.
อิการนฺตปุลฺลิงฺคราสิ
นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มนามศัพท์อิการันต์ปุงลิงค์
จบแล้ว
[1] อิสิ ในที่นี้ ได้แก่ ภิกษุ ผู้แสวงหาคุณ ไม่ใช่ฤาษีที่มีมวยผมยุ่งเหยิง.
[2] ไม่ต้องทำเป็นรัสสะ (อกตรัสสะ) หมายถึง สภาวรัสสะ (รัสสสระตามสภาวะ)
ที่ไม่ผ่านการทำรัสสะด้วยวิธีการของรัสสวิธิสูตร (กตรัสสะ)
เหมือนอย่างศัพท์ที่เป็น อีการันต์. ตัวอย่างเช่น รูปว่า ทณฺฑิโน (ทณฺฑี + โย)
ทณฺฑี เมื่อลงโย เพราะโย สามารถรัสสะเป็น ทณฺฑิ ด้วยสูตรที่ ๙๗ เอกวจนโยสฺวโฆนํ
(เพราะวิภัตติเอกวจนะและโย ทีฆสระทั้งหมดเว้น อา ชื่อ ฆ และโอ เป็นรัสสะ)
เมื่อทำเป็นรัสสะแล้ว โยจึงสามารถแปลง เป็น โน ได้ ซึ่งจะมีสูตรให้แปลง โย
โนโดยตรง คือ สูตรที่ ๑๗๓. โยนํ โนเน ปุเม
(ในปุงลิงค์ โยทั้งหลาย เป็น โน และ เน ตามลำดับ). ส่วนใน
อิการันต์ แม้มีอุทาหรณ์ในพระบาฬี ที่แปลงโยเป็นโน แต่ไม่มีสูตรสำเร็จรูปโดยตรง
จึงต้องใช้มหาสูตรอธิบายวิธีการสำเร็จรูปอุทาหรณ์เหล่านี้. ด้วยเหตุนี้
ท่านจึงกล่าววิธีการเช่นนี้ว่าเป็นรูปแบบพิเศษ ที่นอกเหนือไปจากการแปลง อิ เป็น อ
ในเพราะโย. (ดูวิธีการเช่นนี้ในคัมภีร์ปทรุปสิทธิสูตรที่
๑๕๑ โยนํ โน ที่แสดงการสำเร็จรูปเป็น สารมติโน).
[3] ฉบับสยามรัฐเป็น มุนโย ทุกบท ในที่นี้ยึดตามฉบับฉัฏฐฯ
เพราะตรงตามกฎไวยากรณ์ที่ท่านแสดงไว้.
[4] พบข้อความในพระบาฬีสุตตนิบาต ปรายนวรรค นันทปัญหาที่คล้ายกัน คือ
ญาณูปปนฺนํ มุนิ โน วทนฺติ ชนท.เรียกบุคคลผู้ประกอบด้วยญาณว่าเป็น มุนี หรือ.
(ขุ.สุตฺต ๒๕/๔๓๑, ขุ.จูฬ.๓๐/๔๖) เมื่อพิจารณาตามปาฐะในพระบาฬีปัจจุบัน โน
ที่อยู่ท้าย มุนิ ไม่ใช่เป็น โน ที่แปลงจากโย ตามวิธีนี้ แต่เป็น โน
ที่เป็นนิบาตบอกคำถาม. ส่วนมุนินั้น เป็นทุติยาวิภัตติ ตามที่จูฬนิทเทสท่านขยายความไว้ว่าอฏฺฐ
สมาปตฺติญาเณน วา ปญฺจาภิญฺญาญาเณน วา อุเปตํ สมุเปตํ อุปาคตํ สมุปาคตํ อุปปนฺนํ
สมุปปนฺนํ สมนฺนาคตํ มุนิํ วทนฺติ กเถนฺติ ภณนฺติ ทีปยนฺติ โวหรนฺติ
เรียกผู้เกิดขึ้น เข้าถึง ฯลฯ เกิดขึ้น บริบูรณ์ ประกอบ ด้วยญาณในสมาบัติ ๘ หรือ
ด้วยญาณในอภิญญา ๕ ว่าเป็นมุนี. ดังนั้น
ในที่นี้จึงแปลตามข้อความเท่าที่ปรากฏ เพื่อรักษามติของพระคันถรจนาจารย์.
[5] อรรถกถาลตาวิมานวัตถุอธิบายพระบาฬีนี้ไว้ว่า ปติโน กิรมฺหากํ วิสิฏฺฐ
นารีนํ, คตี จ ตาสํ ปวรา จ เทวตาติ อนตฺถโต ปาลนโต ปติโน สามิกา นาม อมฺหากํ นารีนํ อิตฺถีนํ วิสิฏฺฐา คติ
จ ตาสํ ปฏิสรณญฺจ ธรรมดาว่า สามี ชื่อว่า เจ้าของ เพราะปกป้องจากความพินาศ
เป็นคติอันประเสริฐของพวกเราผู้เป็นผู้หญิง และเป็นที่พึ่งของพวกหญิงเหล่านั้น.
[6] ธมฺมทสฺโส ปาฐะนี้ไม่พบตามที่ท่านอ้างไว้ แต่มีที่คล้ายคลึงกัน คือ
โปราณกวํสธโร อุคฺคเตโช ทุราสโท
ธุตวาทิคุเณ
อคฺโค อกฺขทสฺโส ตว มุเน
[ขุ.อป.เถร.๓๒/๘],
ข้าแต่พระมุนี
พระมหากัสสปเถระผู้ดำรงวงศ์โบราณ มีเดชรุ่งเรือง หาผู้เสมอได้ยาก เลิศในธุดงคคุณ
เป็นผู้พิพากษาของพระองค์
และ
พหุสฺสุโต
ธมฺมธโร สพฺพปาฐี จ สาสเน
อานนฺโท นาม
นาเมน ธมฺมรกฺโข ตว มุเน
ข้าแต่พระมุนี
พระเถระขุนคลังธรรมของพระองค์ มีนามชื่อว่าพระอานนท์ เป็นพหูสูต ทรงธรรม
และชำนาญในพระบาลีทั้งหมดในศาสนา
[7] มเหสินํ ในตัวอย่างนี้ ฉบับสยามรัฐเป็น มเหสิโน
สตฺถารํ
ธมฺมมารพฺภ สงฺฆญฺจาปิ มเหสิโน
โปตฺถทานํ มยา
ทินฺนํ ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร ฯ [ขุ.อป.๓๒/๒๗๘]
เราปรารภพระศาสดา
พระธรรม และพระสงฆ์ ถวายผ้าเปลือกไม้ แด่พระผู้มีพระภาค ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง.
แต่ในที่นี้ใช้ปาฐะฉบับฉัฏฐสังคายนา
เพราะตรงกับหลักการที่ท่านกล่าวไว้.
[8] ปัจจุบันเป็น มเหสินํ ดังที่มาในพระบาฬีสังกิจจชาดก
โย จ ปพฺพชิตํ
หนฺติ กตกิจฺจํ มเหสินํ
ส กาฬสุตฺเต
นิรเย จิรํ รตฺตาย ปจฺจติ
ฯ(ขุ.ชา.๒๘/๙๒)
อนึ่ง
ผู้ใดฆ่าบรรพชิตผู้ทำกิจเสร็จแล้ว ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ผู้นั้นจะต้องหมกไหม้อยู่ในกาฬสุตตนรกตลอดกาลนาน
[9] ปัจจุบันเป็น มหาคฺคินิ
ปชฺชลิโต อนาหาโรปสมฺมติ. แต่ฉบับยุโรป เป็น มหาคินิ
ตามที่พระคันถรจนาจารย์อ้างไว้.
[10] ปัจจุบันฉบับสยามรัฐเป็น
อถ โลหมยํ ปน
กุมฺภึ อคฺคินิสมํ
ปชฺชลิตํ ปวิสนฺติ
ปจฺจนฺติ หิ
ตาสุ จิรรตฺตํ อคฺคินิสมาสุ สมุปฺปิลวาสา
ก็ทีนั้น
สัตว์นรกทั้งหลาย ย่อมเข้าไปสู่หม้อเหล็ก ลุกโพลง ประหนึ่งหม้อไฟ ลอยฟ่องอยู่
ไหม้อยู่ในหม้อเหล็กนั้นอันไฟลุกโพลงสิ้นกาลนาน
ส่วนฉบับฉัฏฐสังคายนาเป็น
อถ โลหมยํ ปน
กุมฺภิํ, คินิสมฺปชฺชลิตํ ปวิสนฺติ;
ปจฺจนฺติ หิ
ตาสุ จิรรตฺตํ,
อคฺคินิสมาสุ
สมุปฺปิลวาเตฯ
ในที่นี้คงปาฐะตามที่พระคันถรจนาจารย์อ้างไว้.
[11] นิมฺมานรติ ในตัวอย่างนี้เป็นอัญญปทัตถสมาส
หรือที่เรียกตามคัมภีร์ปทรูปสิทธิว่า พหุพพีหิสมาส สำเร็จรูปจาก นิมฺมาน
สมบัติที่ตนเนรมิตเอง + รติ ความยินดี วิเคราะห์ว่า เอวํ สยํ นิมฺมิเต นิมฺมิเต
นิมฺมาเน รติ เอเตสนฺติ นิมฺมานรตีฯ (ที.ปา.อ.๑๘๓)
(ความยินดีในกามวัตถุที่ตนเองนิรมิตขึ้นทุกอย่าง ของเทวดาหล่านี้มีอยู่ เหตุนั้น
เทวดาเหล่านี้ ชื่อว่า นิมฺมานรติ). แม้คัมภีร์อังคุตรฎีกา
ให้รูปวิเคราะห์อย่างย่อว่า นิมฺมาเน รติ เอเตสนฺติ นิมฺมานรติโน.
(เทวดาท.ผู้มีความยินดีในกามวัตถุ ชื่อว่า นิมฺมานรติ).
ส่วน
ปรนิมฺมิตวสตฺติโน เป็นอุตตรปทัตถสมาส (กิตันตสัตตมีตัปปุริสสมาส) วิเคราะห์ว่ ปรนิมฺมิเตสุ
โภเคสุ วสํ วตฺเตนฺตีติ ปรนิมฺมิตวสวตฺติโน (เทวดา ทำอำนาจให้เป็นไป (คือ
ถึงความเป็นผู้ตกไปตามความประสงค์) ในโภคะอันผู้อื่นนิรมิตให้ ชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตติ).
แม้ตุสิตา
ยามา ในคาถาตัวอย่างนี้
ก็เป็นสมาสชนิดอุตตรปทัตถสมาส (ตัปปุริสสมาส) เช่นกัน
ดังที่ท่านให้วิเคราะห์ไว้ในทุกนิบาต อังคุตรฎีกา (๓๗) ว่า ทุกฺขโต ยาตา
อปยาตาติ ยามาฯ (เทวดาท. ผู้ไปปราศจากทุกข์ ชื่อว่า ยามา). อตฺตโน สิริสมฺปตฺติยา ตุสํ อิตา คตาติ ตุสิตาฯ
(เทวดาท. ผู้ไปแล้วสู่ความยินดีด้วยศิริและสมบัติของตน ชื่อว่า ตุสิตา). ส่วน ตาวติํสา เป็นอัสสัตถิตัทธิต
มีอรรถาธิบายว่า มเฆน มาณเวน สทฺธิํ มจลคาเม กาลํ กตฺวา เตตฺติํส สหปุญฺญการิโน
เอตฺถ นิพฺพตฺตาติ ตํ สหจาริตํ ฐานํ เตตฺติํสํ, ตเทว ตาวติํสํ, ตํ นิวาโส เอเตสนฺติ ตาวติํสา
(มนุษย์ท. ๓๓ ผู้ทำบุญร่วมกัน
ครั้นได้สิ้นชีวิตพร้อมกับมฆมานพในมจลคามแล้วมาบังเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ ดังนั้น
สวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งเป็นที่อยู่ร่วมกันกัน จึงชื่อว่า เตฺติํส, เตตฺติํสํ นั่นเอง
เป็น ตาวติํสํ. สวรรค์ที่ชื่อว่า ตาวติํสํ นั้น เป็นที่อยู่ ของพวกเทวดา ๓๓
เหล่านี้ ๆ จึงชื่อว่า ตาวติํสา เทวดาอยู่ในสวรรค์ชื่อว่า ตาวติํสํ).
[12] จกฺกวตฺติโนเป็นอุตตรปทัตถสมาส วิ.จตูสฺวปิ ทีเปสุ อาณาธมฺมจกฺกานิ
สเตฺตสุ ปวเตฺตตีติ วา จกฺกวตฺตีฯ (ผู้ยังจักรคืออาณาข้อบังคับและธรรมให้เป็นไปในสัตว์ท.
ที่อยู่ในทวีปท.๔ ชื่อว่า จักกวัตตี).
ส่วนคัมภีร์สัททนีติ ปทมาลา (ปริจเฉทที่ ๗) วินิจฉัยว่า เป็น
อีการันต์ (จกฺกวตฺตี + โย) เพราะลง ณีปัจจัยในอรรถตัสสีละที่เป็นรูปสมาสดังนี้ว่า
จกฺกํ ปวตฺตนสีโลติ จกฺกวตฺตี (ชื่อว่า จกฺกวตฺตี
เพราะเป็นผู้มีปกติยังจักกรัตนะให้หมุน).
ไม่ใช่เป็น อิการันต์ เพราะพบรูปที่เป็น จกฺกวตฺติโน โดย แปลง โย เป็น โน
ตามวิธีการของ อีการันต์ เช่น เสฏฺฐิโน. แม้จะพบรูปที่เป็น รัสสะว่า จกฺกวตฺติ
บ้าง แต่รูปนั้น เป็นการทำรัสสะในภายหลัง ไม่ใช่เป็นรัสสะมาแต่เดิม.
ตามมติของสัททนีติ การที่ โย เป็น โน คงเป็นไปตามปกติของศัพท์ อีการันต์. แต่คัมภีร์นิรุตติทีปนี ท่านมองเป็น อิ การันต์
และเป็นบทสมาส จึงแปลง โย เป็น โน. อย่างไรก็ตาม
ควรยึดถือตามมติของสัททนีติเป็นสำคัญ.
[13] ธมฺมานุวตฺติ ผู้ประพฤติซึ่งธรรมอันเหมาะสม เป็นอุตตรปทัตถสมาส
(ทุติยาตัปปุริสสมาส) ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน มีความหมายดังอรรถกถาสังคารวสูตร
ทสกนิบาต อังคุตรนิกาย อธิบายว่า ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโนติ สมฺมา
อกฺขาเต นววิเธ โลกุตฺตรธมฺเม อนุธมฺมวตฺติโน, ตสฺส
ธมฺมสฺสานุจฺฉวิกาย สห สีลาย ปุพฺพภาคปฏิปตฺติยา ปวตฺตมานา (อํ.ทสก.อ.๑๑๗). (ชนท. ผู้ประพฤติธรรมอันเหมาะสม ในโลกุตรธรรม ๙
ประการ ที่พระผุ้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว, เมื่อประพฤติ
ด้วยข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้น พร้อมทั้งศีล อันเหมาะสมต่อโลกุตรธรรมนั้น).
ส่วนในฎีกาพระสูตรนี้อธิบายว่า ธมฺเมติ ตว เทสนาธมฺเมฯ ธมฺมานุวตฺติโนติ
ตํ ธมฺมํ สุตฺวา ตทนุจฺฉวิกํ ปฏิปทํ ปูเรตฺวา มคฺคผลสจฺฉิกรเณน ธมฺมานุวตฺติโน
อํ.ทสก.ฎี.๑๑๗, ธป.อ.๘๖)ฯ (คำว่า ธมฺเม ในธรรม ได้แก่ ในธรรมเทศนา
ของท่าน. คำว่า ธมฺมานุวตฺติโน (ประพฤติตามซึ่งธรรม) ได้แก่
บุคคลผู้ได้สดับธรรมเทศนานั้นแล้ว จึงบำเพ็ญปฏิปทาอันเหมาะสมต่อธรรมเทศนานั้น
ชื่อว่า ธมฺมานุวตฺติโน เพราะการแทงตลอดมรรคผล). โดยนัยนี้ บทว่า ธมฺมานุวตฺติโน
แปลได้อีกนัยหนึ่งว่า ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม ในธรรม
อันพระตถาคตตรัสแล้วโดยชอบ.
[14] แปลตามรูปศัพท์เดิมว่า ผู้มีโตมรและของ้าวในมือ
[15] อรรถกถาวิมานวัตถุ (วิ.อ.๓๒๘) อธิบายว่า ปริสุทฺธวุตฺติ
ผู้มีความประพฤติบริสุทธิหมดจดแล้ว.
[16] [ฉบับสยามรัฐเป็น ปาณิโน];
แต่ในที่นี้ยึดตามปาฐะในฉบับฉัฏฐสังคายนา เพื่อสอดคล้องกับหลักการที่ท่านวางไว้
[17] บทว่า อิโต สูตร ๑๘๒ (สูตรในโมคคัลลานไวยากรณ์) อิโตญฺญตฺเถ ปุเม (ในอัญญปทัตถสมาส
ที่เป็นปุงลิงค์ โยปฐมาและทุติยาวิภัตติท้าย อิการันต์ เป็น โน และ เน ตามลำดับ
ได้บ้าง) เป็นบทที่ตามมาสู่สูตร ๑๘๓. เน
สฺมิโน กฺวจิ (ในอัญญัตถสมาส อันเป็นปุงลิงค์ บางแห่ง สฺมิํ ท้าย อิการันต์
เป็น เน) นี้ เพื่อกำหนดให้ อิ การันต์ เป็นนิมิตในการแปลงสฺมิํ เป็น เน
ดังนั้น สูตรว่า สฺมิํโนฯ นี้ อี การันต์ จึงเป็นนิมิตให้แปลง สฺมิํ เป็น เน ได้
ในบางอุทาหรณ์. การตัดแบ่งสูตรเช่นนี้เรียกว่า วินาธิการโยควิภาค
การแบ่งสูตรโดนเว้นตัวที่ตามมา.
[18] เทววณฺณิเน และ พฺรหฺมวณฺณิเน
สองศัพท์นี้ไม่พบที่มาในพระไตรปิฎกฉบับปัจจุบัน. พึงค้นหาสืบไป.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น