วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สมาสกัณฑ์ ๕ - ทวันทสมาส

ทฺวนฺทสมาส
ทวันทสมาส
อถ ทฺวนฺทสมาโส ทีปิยเตฯ

จะแสดงทวันทสมาสสืบไป.

ทฺเว จ ทฺเว จ ปทานิ ทฺวนฺทา, ทฺเว จ ทฺเว จ อตฺถา วา ทฺวนฺทา, มหาวุตฺตินา ทฺวินฺนํ ทฺวิสทฺทานํ ทฺวนฺทาเทโสฯ ทฺวนฺทสทฺทสทิสตฺตา สพฺโพ จายํ สมาโส ทฺวนฺโทติ วุจฺจติฯ

บททั้งหลายสอง ด้วย สอง ด้วย ชื่อว่า ทวันทะ, เนื้อความทั้งหลาย สอง ด้วย สอง ด้วย ชื่อว่า ทวันทะ. แปลง ทฺวิศัพท์สองศัพท์เป็น ทวนฺท ด้วยสูตรใหญ่. สมาสนี้นั้น ทุกประเภท เรียกว่า ทวันทสมาส เพราะเหมือนกับทวันทศัพท์.

อถ วา ทฺเว อวยวา อนฺทิยนฺติ พนฺธิยนฺติ เอตฺถาติ ทฺวนฺโท, ยุคฬสฺเสตํ นามํ ‘‘ปาททฺวนฺทํ มุนินฺทสฺส, วนฺทามิ สิรสามห’’นฺติ เอตฺถ วิย, อิธ ปน ปทยุคฬํ อตฺถยุคฬญฺจ คยฺหติฯ อุภยปทตฺถปธาโน หิ ทฺวนฺโท.

อีกนัยหนึ่ง ส่วนท.สอง ถูกผูกไว้ในศัพท์นี้ เหตุน้ัน ศัพท์นี้ ชื่อว่า ทวันทะ, คำนี้เป็นชื่อของสิ่งอันเป็นคู่ เหมือนในข้อความนี้ว่า “ปาททฺวนฺทํ มุนินฺทสฺส, วนฺทามิ สิรสามหํ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการที่พระยุคลบาท (คู่แห่งพระบาท) ของพระจอมมุนีพุทธเจ้าด้วยเศียรเกล้า”. แต่ในที่นี้ ท่านถือเอาคู่แห่งบทและคู่แห่งอรรถ. ก็ทวันทสมาสนั้น มีอรรถแห่งบททั้งสองเป็นประธาน.


เอตฺถ สิยา ยทิ อุภยปทตฺถปฺปธาโน ทฺวนฺโท, เอวญฺจ สติ ทฺวนฺเท กถํ เอกตฺถีภาวลกฺขณํ สิยาติ? วุจฺจเต อภินฺนวิเธยฺยตฺถตฺตาฯ วจนปถญฺหิ ปตฺวา กตฺตุภาวกมฺมภาวาทิโก วิเธยฺยตฺโถ เอว ปทานํ อจฺจนฺตปฺปธานตฺโถ โหติ วจนวากฺยสมฺปตฺติยา ปธานงฺคตฺตา, โส จ วิเธยฺยตฺโถ ทฺวนฺเทปิ อภินฺโน เอว โหติฯ ตถา หิ ‘‘สาริปุตฺตโมคฺคลฺลานา คจฺฉนฺติ, สาริปุตฺตโมคฺคลฺลาเน ปสฺสติ’’ อิจฺจาทีสุ ทฺเว อตฺถา เอกวิภตฺติยา วิสยา หุตฺวา เอกกตฺตุ, เอกกมฺมาทิภาเวน เอกตฺตํ คจฺฉนฺติ, เอวํ ทฺวนฺเทปิ ทฺวินฺนํ ติณฺณํ พหุนฺนํ วา ปทานํ เอกตฺถีภาวลกฺขณํ ลพฺภติเยวาติฯ

ท้วงว่า :  ในกรณีนี้ หากทวันทสมาสมีอรรถของบททั้งสองเป็นประธานแล้ว, เมื่อเป็นเช่นนี้ ในทวันทสมาส จะมีลักษณะเป็นเอกัตถีได้อย่างไร?.  ตอบว่า : เพราะความมีอรรถที่พึงประกอบไม่ต่างกัน (คือ อรรถของวิภัตติที่ลงท้ายคำสมาสนั้น มีความเป็นกัตตาและกรรมเป็นต้น ที่แปลว่า อันว่า บ้าง, ซึ่ง บ้าง, ด้วย บ้างเป็นต้น). จริงอย่างนั้น เมื่อถึงคลองแห่งคำพูด (คือ เมื่อกลายเป็นคำศัพท์ที่ใช้พูดกันแล้ว) อรรถที่พึงประกอบมีความเป็นกัตตาและกรรมเป็นต้น จะเป็นอรรถประธาน (คือเนื้อความหลัก)ที่สุด ของบททั้งหลาย เพราะความถึงพร้อมแห่งคำศัพท์ และวากยวิเคราะห์ (คือความสำเร็จ หรือความปรากฏเป็นรูปสมาสที่เกิดจากนามศัพท์และรูปวิเคราะห์) เป็นส่วนประธาน(ที่รองมา), อนึ่ง อรรถที่พึงประกอบ (คืออรรถกัตตาและกรรมเป็นต้น)นั้น เป็นอันไม่ต่างกันนั่นเทียว แม้ในทวันทสมาส. จริงอย่างนั้น ในพระบาฬีนี้ว่า “สาริปุตฺตโมคฺคลฺลานา คจฺฉนฺติ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะท. กำลังไป”, และ “สาริปุตฺตโมคฺคลฺลาเน ปสฺสติ ย่อมเห็น ซึ่งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะท.” เป็นต้น  อรรถ(กัตตาและกรรม)ทั้งสองย่อมถึงความเป็นอันเดียวกัน โดยความเป็นกัตตาเดียวกัน และกรรมเดียวกันเป็นต้น เหตุที่มีวิสัย (ที่ตั้ง) ในวิภัตติเดียวกัน, เมื่อเป็นเช่นนี้ ลักษณะความเป็นเอกัตถีแห่งบทสองบท, สามบท หรือ หลายๆบท จึงมีในทวันทสมาสนั่นเอง.

๓๕๗. จตฺเถ [1]

๓๕๗. จตฺเถ.
(บทนามหลายบทเข้าสมาส ในอรรถของ จ-ศัพท์ ได้บ้าง)
อเนกํ สฺยาทฺยนฺตปทํ จสทฺทสฺส อตฺเถ เอกตฺถํ โหติ วาฯ

บทอันลงสิวิภัตติเป็นต้นหลายบท มีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน ในอรรถของจ-ศัพท์ บ้าง.

เอตฺถ จ สมุจฺจโย, อนฺวาจโย, อิตรีตรโยโค, สมาหาโรติ จตฺตาโร จสทฺทตฺถา โหนฺติฯ

ในที่นี้ อรรถของจ-ศัพท์มี ๔ คือ สมุจจยะ (คัมภีร์ปทรูปสิทธิเรียกว่า เกวลสมุจจยะ = การเชื่อมล้วนๆ), อันวาจยะ (การเชื่อมข้อความท่อนหลัง), อิตรีตรโยคะ (การเชื่อมซึ่งกันและกัน), สมาหาร (การเชื่อมโดยการรวมเข้าด้วยกัน).
ตตฺถ สมุจฺจโย ยถา? จีวรญฺจ ปิณฺฑปาตญฺจ เสนาสนญฺจ เทตีติฯ อนฺวาจโย ยถา? ทานญฺจ เทติ, สีลญฺจ รกฺขตีติฯ อิเม ทฺเว จสทฺทตฺถา วากฺยทฺวนฺเท เอว ลพฺภนฺติ, น สมาสทฺวนฺเท ปทานํ อญฺญมญฺญํ นิรเปกฺขตฺตาติ วทนฺติฯ ตํ อนฺวาจเย ยุชฺชติ นานากฺริยาเปกฺขตฺตา, สมุจฺจเย ปน ‘‘จีวรญฺจ ปิณฺฑปาตญฺจ เสนาสนญฺจ เทตี’’ติ วา ‘‘จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนานิ เทตี’’ติ วา เอวํ ทฺวิธาปิ โยเชตุํ ยุชฺชติเยว ‘‘ลาภี โหติ จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขาราน’’นฺติ[2] ปาฬิทสฺสนโตฯ อนฺวาจโยปิ วา สมาสทฺวนฺเท โน น ลพฺภติ ‘‘มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา’’ติ [3]ปาฬิทสฺสนโตฯ เอวํ ปน ยุชฺเชยฺย จสทฺทตฺโถ เอกกฺริย, นานากฺริยาเปกฺขนเภเทน ทุวิโธ โหติ สมุจฺจโย, อนฺวาจโย จาติ, เตสุ จ เอเกโก อวยวปฺปธาน, สมุทายปฺปธานเภเทน ทุวิโธ โหติ อิตรีตรโยโค, สมาหาโร จาติฯ ตตฺถ อิตรีตรโยเค อวยวปฺปธานตฺตา สพฺพวิภตฺตีสุ พหุวจนเมว ยุชฺชติฯ

บรรดาอรรถ ๔ เหล่านั้น สมุจจยะ พึงเห็นความหมายในตัวอย่างนี้ว่า จีวรญฺจ ปิณฺฑปาตญฺจ เสนาสนญฺจ เทติ ย่อมให้จีวรด้วย บิณฑบาตด้วย เสนาสนะ ด้วย. อันวาจยะ เช่น ทานญฺจ เทติ, สีลญฺจ รกฺขติ ย่อมให้ทานด้วย, ย่อมรักษาศีลด้วย. อาจารย์บางท่านมีความเห็นว่า อรรถของจศัพท์ สองชนิดนี้ พบได้ในวากยวิเคราะห์แห่งทวันทสมาสเท่านั้น, ไม่พบในบททวันทสมาส เพราะไม่ ไม่สัมพันธ์กัน ดังนี้. ความเห็นนั้น ใช้ได้ในอันวาจยะเท่านั้น เพราะสัมพันธ์กับกริยาที่ต่างกัน. ส่วนในสมุจจยะ ย่อมใช้ได้ทั้งสองกรณี (คือ ทั้งในวากยวิเคราะห์และบทสมาส) อย่างนี้ คือ จีวรญฺจ ปิณฺฑปาตญฺจ เสนาสนญฺจ เทติ ย่อมให้จีวร และ บิณฑบาต และ เสนาสนะ หรือ คือ จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนานิ เทติ ย่อมให้จีวรบิณฑบาตและะสนาสนะ เพราะมีหลักฐานพระบาฬีแสดงว่า  “ลาภี           โหติ จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารานํ เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเครื่องใช้คือยาอันเป็นปัจจัยสำหรับผู้ป่วยไข้”[4]ดังนี้.อนึ่ง แม้อันวาจยะ จะว่าไม่มีในทวันทสมาส ก็หามิได้ เพราะมีหลักฐานพระบาฬีแสดงว่า “มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา  เว้นขาดจากการทัดทรงประดับและตบแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้  ของหอมและเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว” ดังนี้. อนึ่ง ควรประกอบอย่างนี้ว่า “อรรถของจ-ศัพท์ มีสองอย่างคือ สมุจจยะ และ อันวาจยะ โดยแยกเป็นประเภทคือมุ่งถึงกริยาอย่างเดียวกัน และต่างกัน, ในสองอย่างนั้น แต่ละอย่าง มี  ๒ คือ อิตรีตรโยคะ และ สมาหาระ โดยการที่มีส่วนประกอบเป็นประธาน และมีความรวมเป็นประธาน. บรรดาอิตรีตรโยคะและสมาหาระนั้น ในอิตรีตรโยคะ ใช้พหุวจนะเท่านั้น ในวิภัตติทั้งปวง เพราะส่วนประกอบ (แต่ละบท) ในบทสมาสเป็นประธานของสมาสชนิดนี้.

ทฺวนฺเท ปณีตตรํ ปุพฺเพ นิปตติฯ สาริปุตฺโต จ โมคฺคลฺลาโน จ สาริปุตฺตโมคฺคลฺลานา, สาริปุตฺตโมคฺคลฺลาเน, สาริปุตฺตโมคฺคลฺลาเนหิ อิจฺจาทิฯ เอวํ สมณพฺราหฺมณา, พฺราหฺมณคหปติกา, ขตฺติยพฺราหฺมณา, เทวมนุสฺสา, จนฺทิมสูริยาฯ

ในทวันทสมาส ให้วางสิ่งที่ประณีตกว่า ไว้หน้า เช่น สาริปุตฺโต จ โมคฺคลฺลาโน จ สาริปุตฺตโมคฺคลฺลานา พระสารีบุตร ด้วย พระโมคฺคลฺลานะด้วย ย่อมสำเร็จรูปว่า สาริปุตฺตโมคฺคลฺลานา. สาริปุตฺตโมคฺคลฺลาเน, ซึ่งพระสารีบุตรและพระโมคคัลานะ, สาริปุตฺตโมคฺคลฺลาเนหิ ด้วยพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เป็นต้น. สมณพฺราหฺมณา (สมณะและพราหมณ์), พฺราหฺมณคหปติกา (พราหมณ์และคฤหบดี),  ขตฺติยพฺราหฺมณา (กษัตริย์และพราหมณ์), เทวมนุสฺสา (เทวดาและมนุษย์), จนฺทิมสูริยา (เทพมีพระจันทร์เป็นวิมานและมีพระอาทิตย์เป็นวิมาน) ก็เช่นเดียวกันนี้.

อปฺปกฺขร, พหฺวกฺขเรสุ อปฺปกฺขรํ กฺวจิ ปุพฺพํ โหติ, คามนิคมา, คามชนปทา อิจฺจาทิฯ

ในบรรดาบทที่มีอักษรน้อยและอักษรมาก บางแห่ง วางอักษรน้อยไว้หน้า เช่น คามนิคมา บ้านและนิคม, คามชนบท บ้านและแว่นแคว้น.

กฺวจิ อิวณฺณุวณฺณนฺตา ปุพฺเพ โหนฺติ, อคฺคิ จ ธูโม จ อคฺคิธูมา, รตฺติทิวา, ธาตุลิงฺคานิฯ

บางแห่ง วางบทที่มีอิวัณณะและอุวัณณะเป็นที่สุดไว้หน้า เช่น อคฺคิ จ ธูมา จ อคฺคิธูมา ไฟและควัน ชื่อว่า อคฺคิธูมา, รตฺติทิวา (คืนและวัน), ธาตุลิงฺคานิ (ธาตุและลิงค์ [นามศัพท์] )

อวณฺณนฺเตสุ สราทิปทํ ปุพฺพํ โหติ, อตฺโถ จ ธมฺโม จ อตฺถธมฺมา, ธมฺมตฺถา วา อิจฺจาทิฯ

บรรดาบทที่มีอวัณณะเป็นที่สุด วางบทที่มีสระเป็นตัวต้นไว้หน้า เช่น อตฺถธมฺมา (อรรถและธรรม), มีรูปเป็น ธมฺมตฺถา (ธรรมและอรรถ) บ้าง.

อยญฺจ นิยโม ทฺวิปททฺวนฺเทสุ เยภุยฺเยน ลพฺภติ, พหุปททฺวนฺเทสุ น ลพฺภติฯ

อนึ่ง ข้อกำหนดนี้ โดยมากพบได้ในทวันทสมาสที่มีสองบท, ในทวันทสมาสที่มีบทมาก ไม่พบ.


สมาหารทฺวนฺเท

ในสมาหารทวันทสมาส
๓๕๘. สมาหาเร นปุํสกํ [5]

๓๕๘. สมาหาเร นปุํสกํ.
(ในสมาหารทวันทสมาส บทสมาสเป็นนปุงสกลิงค์)

จตฺเถ สมาหาเร เอกตฺถปทํ นปุํสกํ โหติ, เอกวจนนฺตตฺตํ ปน สมาหารวจเนเนว สิทฺธํ, อยญฺจ สมาหาโร ปาณฺยงฺคาทีนํ ทฺวนฺเทสุ นิจฺจํ ลพฺภติ, รุกฺขติณาทีนํ ทฺวนฺเทสุ วิกปฺเปน ลพฺภติฯ

บทสมาส ในอรรถของจศัพท์ อันเป็นสมาหาระ (การรวมเป็นกอง) ย่อมเป็นนปุงสกลิงค์, ส่วนความเป็นเอกวจนะเป็นที่สุด สำเร็จได้ด้วยคำว่า “สมาหาร” นั่นเอง, อนึ่ง สมาหาระนี้ ย่อมได้แน่นอน ในทวันทะ (คู่) แห่งอวัยวะของสัตว์เป็นต้น, ย่อมได้โดยไม่แน่นอน ในทวันทะ (คู่) แห่งต้นไม้และหญ้าเป็นต้น.

ตตฺถ นิจฺจลทฺเธสุ ตาว ปาณฺยงฺคทฺวนฺเท

บรรดาคู่ท.ที่ได้แน่นอนนั้น จะแสดงสมาหาระที่มีได้แน่นอนในคู่แห่งอวัยวะของสัตว์ก่อน

จกฺขุ จ โสตญฺจ จกฺขุโสตํ, มุขญฺจ นาสิกา จ มุขนาสิกํ, ‘สฺยาทีสุ รสฺโสติ รสฺสตฺตํฯ หนุ จ คีวา จ หนุคีวํฯ เอวํ กณฺณนาสํ, ฉวิ จ มํสญฺจ โลหิตญฺจ ฉวิมํสโลหิตํ, นามญฺจ รูปญฺจ นามรูปํ, ชรา จ มรณญฺจ ชรามรณํฯ พหุลาธิการา กฺวจิ วิกปฺปรูปมฺปิ ทิสฺสติ, หตฺถา จ ปาทา จ หตฺถปาทํ, หตฺถปาทา วา อิจฺจาทิฯ

(ในคู่แห่งอวัยวะของสัตว์) มีตัวอย่างว่า
จักษุด้วย หู ด้วย ชื่อว่า จกฺขุโสตํ, หน้า ด้วย จมูก ด้วย ชื่อว่า มุขนาสิกํ, เป็นรัสสะ ด้วยสูตร “สฺยาทีสุ รสฺโส”ติ. คาง ด้วย คอ ด้วย ชื่อว่า หนุคีวํ. กณฺณนาสํ หูและจมูก ก็เช่นเดียวกันนี้, ผิว ด้วย เนื้อ ด้วย เลือด ด้วย ชื่อว่า มํสโลหิตํ, นาม ด้วย รูป ด้วย ชื่อว่า นามรูปํ, ชรา ด้วย มรณะ ด้วย ชื่อว่า ชรามรณํ. เพราะคำว่า พหุล (โดยมาก) ตามมา ในบางตัวอย่าง แม้รูปที่เป็นวิกัป ก็พบได้บ้าง. เช่น หตฺถา จ ปาทา จ หตฺถปาทํ, มีรูปว่า หตฺถปาทา บ้าง.

ตูริยงฺคทฺวนฺเท

ในคู่แห่งส่วนของเครื่องดนตรี มีตัวอย่างว่า

นจฺจญฺจ คีตญฺจ วาทิตญฺจ นจฺจคีตวาทิตํฯ เอวํ สมฺมตาฬํ, ‘สมฺมนฺติ กํสตาฬํ, ‘ตาฬนฺติ หตฺถตาฬํ, สงฺโข จ ปณโว จ ฑิณฺฑิโม จ สงฺขปณวฑิณฺฑิมํ อิจฺจาทิฯ

การฟ้อนรำ ด้วย การขับร้อง ด้วย  การประโคม ด้วย ชื่อว่า นจฺจคีตวาทิตํ[6]. สมฺมตาฬํ (กังสดาลและฉาบ) ก็เช่นเดียวกันนี้, คำว่า สมฺม ได้แก่ กังสดาล (ระฆังวงเดือน) ส่วนคำว่า ตาฬํ ได้แก่ ฉาบมือ. สังข์ ด้วย ปัณเฑาะว์ ด้วย เปิงมาง ด้วย ชื่อว่า สงฺขปณวทิณฺฑิมํ. ดังนี้เป็นต้น

โยคฺคงฺคทฺวนฺเท
ผาโล จ ปาจนญฺจ ผาลปาจนํ, ยุคญฺจ นงฺคลญฺจ ยุคนงฺคลํ อิจฺจาทิฯ

ในคู่แห่งส่วนของเครื่องมือ (กสิกรรม)[7] ตัวอย่าง เช่น ผาลและปฏัก ชื่อ ว่า ผาลปาจนํ, แอกและไถ ชื่อว่า ยุคนงฺคลํ

เสนงฺคทฺวนฺเท
หตฺถิโน จ อสฺสา จ หตฺถิอสฺสํฯ เอวํ รถปตฺติกํ, อสิ จ จมฺมญฺจ อสิจมฺมํฯ จมฺมนฺติ สรปริตฺตาณผลกํ, ธนุ จ กลาโป จ ธนุกลาปํ อิจฺจาทิฯ

ในคู่แห่งส่วนของกองทัพ มีตัวอย่างว่า  ช้างทั้งหลาย ด้วย ม้า ด้วย ชื่อว่า หตฺถิอสฺสํ, รถปตฺติกํ (รถและพลทหารราบ) ก็เช่นเดียวกันนี้, ดาบด้วย โล่ ด้วย ชื่อ ว่า อสิจมฺมํ. คำว่า จมฺมํ (โล่) คือ แผ่นไม้ใช้ป้องกันลูกศร,                ธนู ด้วย แล่ง ด้วย ชื่อว่า ธนุกลาปํ  ดังนี้เป็นต้น.

ขุทฺทกปาณทฺวนฺเท
ฑํสา จ มกสา จ ฑํสมกสํฯ เอวํ กุนฺถกิปิลฺลิกํ[8], กีฏปฏงฺคํ อิจฺจาทิฯ

ในคู่แห่งสัตว์เล็กๆ มีตัวอย่างเป็นต้นว่า เหลือบ ด้วย ยุง ด้วย ชื่อว่า ฑํสมกสํ. ตัวอย่างเป็นต้นว่า กุนฺถกิปิลฺลิกํ (มดและปลวก), กีฏปฏงฺคํ (ตั๊กแตนและหิ่งห้อย) ก็เช่นเดียวกันนี้

นิจฺจเวริทฺวนฺเท
อหิ จ นกุโล จ อหินกุลํ, พิฬาโร จ มูสิกา จ พิฬารมูสิกํ, รสฺสตฺตํฯ กาโกลูกํ, สปฺปมณฺฑูกํ, นาคสุปณฺณํ อิจฺจาทิฯ

ในคู่แห่งผู้เป็นเวรต่อกันเสมอ เช่น งู ด้วยพังพอน ด้วย ชื่อว่า อหินกุลํ, แมว ด้วย หนู ด้วย ชื่อว่า พิฬารมูสิกํ (แมวและหนู) มีการรัสสะสระท้าย[ของ มูสิกา], ตัวอย่างเป็นต้นว่า กาโกลูกํ (กาและนกฮูก), สปฺปมณฺฑูกํ (งูและกบ), นาคสุปณฺณํ (นาคและครุฑ) ก็เช่นเดียวกันนี้.

สภาคทฺวนฺเท
สีลญฺจ ปญฺญาณญฺจ สีลปญฺญาณํ, สมโถ จ วิปสฺสนา จ สมถวิปสฺสนํ, วิชฺชา จ จรณญฺจ วิชฺชาจรณํฯ เอวํ สติสมฺปชญฺญํ, หิริโอตฺตปฺปํ, อุทฺธจฺจกุกฺกุจฺจํ, ถินมิทฺธํ อิจฺจาทิฯ

ในคู่แห่งธรรมที่มีส่วนเสมอกัน เช่น ศีล ด้วย ปัญญา ด้วย ชื่อว่า สีลปญฺญาณํ, สมถะ ด้วย วิปัสสนา ด้วย ชื่อว่า สมถวิปสฺสนํ, วิชชา ด้วย จรณะ ด้วย ชื่อว่า วิชชาและจรณะ. ตัวเป็นต้นว่า สติสมฺปชญฺญํ (สติและสัมปชัญญะ), หิริโอตฺตปฺปํ หิริและโอตตัปปะ), อุทฺธจฺจกุกฺกุจฺจํ (อุทธัจจะและกุกกุจจะ), ถินมิทฺธํ (ถีนะ และ มิทธะ) ก็เชนเดียวกันนี้.

วิวิธวิรุทฺธทฺวนฺเท
กุสลากุสลํ, สาวชฺชานวชฺชํ, กณฺหสุกฺกํ, หีนปณีตํ, เฉกพาลํ อิจฺจาทิฯ

ในคู่แห่งธรรมที่ตรงกันข้าม โดยลักษณะต่างๆ ตัวอย่างเช่น กุสลากุสลํ (กุศลและอกุศล),สาวชฺชานวชฺชํ (ธรรมมีโทษและธรรมไม่มีโทษ), กณฺหสุกฺกํ (ธรรมฝ่ายดำและฝ่ายขาว), หีนปณีตํ (ธรรมที่หยาบและธรรมที่ละเอียด), เฉกพาลํ (บุคคลผู้ฉลาดและผู้โง่เขลา).

เอกสงฺคีติทฺวนฺเท
ทีโฆ จ มชฺฌิโม จ ทีฆมชฺฌิมํ, องฺคุตฺตรสํยุตฺตกํ, ขนฺธกวิภงฺคํ อิจฺจาทิฯ

ในคู่แห่งสังคีติชนิดหนึ่ง เช่น ทีฆนิกาย ด้วย มัชฌิมนิกาย ด้วย  ชื่อว่า ทีฆมชฺฌิมํ,                    องฺคุตฺตรสํยุตฺตกํ (อังคุตรนิกายและสังยุตตนิกาย), ขนฺธกวิภงฺคํ (คัมภีร์ขันธกะ และ คัมภีร์วิภังค์ [แห่งวินัยปิฏก])

สงฺขฺยาปริมาณทฺวนฺเท
เอกกทุกํ, ทุกติกํ, ติกจตุกฺกํ, จตุกฺกปญฺจกํ อิจฺจาทิฯ

ในคู่แห่งการนับและจำนวน เช่น เอกกทุกํ (หมวดหนึ่งและหมวดสอง), ทุกติกํ (หมวดสองและหมวดสาม), ติกจตุกฺกํ (หมวดสามและหมวดสี่), จตุกฺกปญฺจกํ (หมวดสี่และหมวดห้า).

ปจนจณฺฑาลทฺวนฺเท
โอรพฺภิกา จ สูกริกา จ โอรพฺภิกสูกริกํฯ เอวํ สากุณิกมาควิกํ, สปากจณฺฑาลํ, เวนรถการํ, ปุกฺกุสฉวฑาหกํ อิจฺจาทิฯ

ในคู่แห่งนายพรานและคนจัณฑาล เช่น คนฆ่าแกะและคนฆ่าหมู ชื่อว่า โอรพฺภิกสูกริกํ. ตัวอย่างเป็นต้นว่า สากุณิกมาควิกํ (คนฆ่านกและคนฆ่าเนื้อ), สปากจณฺฑาลํ (คนกินสุนัขและคนจัณฑาล), เวนรถการํ (ช่างสานและช่างหนัง), ปุกฺกุสฉวฑาหกํ (คนทิ้งดอกไม้และสัปเหร่อ) ก็เช่นเดียวกันนี้.

ลิงฺควิสภาคทฺวนฺเท
อิตฺถิปุมํ, ทาสิทาสํ อิจฺจาทิฯ

ในคู่แห่งศัพท์ที่มีลิงค์ต่างกัน เช่น อิตฺถิปุมํ (หญิงและชาย), ทาสิทาสํ (ทาสีและทาส).

ทิสาทฺวนฺเท
ปุพฺพา จ อปรา จ ปุพฺพาปรํฯ เอวํ ทกฺขิณุตฺตรํ, ปุพฺพทกฺขิณํ, ปุพฺพุตฺตรํ, อปรทกฺขิณํ, อปรุตฺตรํฯ

ในคู่แห่งทิศ เช่น ทิศตะวันออก ด้วย ทิศตะวันตก ด้วย ชื่อว่า ปุพฺพาปรํ. ตัวอย่างว่า ทกฺขิณุตฺตรํ (ทิศใต้และทิศเหนือ), ปุพฺพทกฺขิณํ (ทิศตะวันออกและทิศใต้), ปุพฺพุตฺตรํ (ทิศตะวันออกและทิศเหนือ), อปรทกฺขิณํ (ทิศตะวันตกและทิศใต้), อปรุตฺตรํ (ทิศตะวันตกและทิศเหนือ) ก็เช่นเดียวกันนี้.

นทีทฺวนฺเท
คงฺคายมุนํ, มหิสรภุ, สพฺพตฺถ นปุํสกตฺตา อนฺเต ทีฆานํ รสฺสตฺตํ สตฺตสุ วิภตฺตีสุ เอกวจนนฺตญฺจฯ

ในคู่แห่งแม่น้ำ เช่น คงฺคายมุนํ (แม่น้ำคงคาและแม่น้ำยมุนา), มหิสรภุ (แม่น้ำมหี และ แม่น้ำสรภู). เพราะในทวันทสมาสทั้งหมด เป็นนปุงสกลิงค์ นามศัพท์ที่มีเสียงท้ายเป็นทีฆะ จึงเป็นรัสสะ และมีเอกวจนะเป็นที่สุด ในวิภัตติทั้ง ๗.

อิติ นิจฺจสมาหารราสิฯ

กลุ่มทวันทสมาสที่เป็นสมาหาระแน่นอน
เป็นอย่างนี้

วิกปฺปลทฺเธสุ[9]

ในสมาหารทวันทสมาส ที่มีได้ไม่แน่นอน
ติณวิเสสทฺวนฺเท
อุสีรานิ จ พีรณานิ จ อุสีรพีรณํ, อุสีรพีรณาฯ เอวํ มุญฺชปพฺพชํ, มุญฺชปพฺพชา, กาสกุสํ, กาสกุสาฯ

ในคู่แห่งชนิดต้นหญ้า เช่น หญ้าแฝก และ หญ้าคมบาง ชื่อว่า อุสีรพีรณํ, เป็นรูปว่า อุสีพีรณา ก็มี. ตัวอย่างเหล่านี้ก็เช่นกัน คือ  มุญฺชปพฺพชํ (หญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย), เป็นรูปว่า มุญฺชปพฺพชา ก็มี, กาสกุสํ (หญ้าเป้ง และ หญ้าคา), เป็นรูปว่า กาสกุสา ก็มี.

รุกฺขวิเสสทฺวนฺเท
ขทิโร จ ปลาโส จ ขทิรปลาสํ, ขทิรปลาสา, ธโว จ อสฺสกณฺโณ จ ธวสฺสกณฺณํ, ธวสฺสกณฺณา, ปิลกฺขนิคฺโรธํ, ปิลกฺขนิคฺโรธา, อสฺสตฺถกปีตนํ[10], อสฺสตฺถกปีตนา, สากสาลํ, สากสาลาฯ

ในคู่แห่งชนิดต้นไม้ เช่น ต้นสีเสียด และ ต้นทองกวาว ชื่อว่า ขทิรปลาสํ, เป็นรูปว่า ขทิรปลาสา ก็มี. ต้นตะแบก และ ต้นทองกวาว ชื่อว่า ธวสฺสกณฺณํ, เป็นรูปว่า ธวสฺสกณฺณา ก็มี. ปิลกฺขนิคฺโรธํต้นเลียบและต้นไทร, เป็นรูปว่า ปิลกฺขนิคฺโรธา ก็มี., อสฺสตฺถกปีตนํ ต้นโพธิ์และต้นมะขวิด, เป็นรูปว่า อสฺสตฺถกปีตนา ก็มี, สากสาลํ ต้นสากะและต้นสาละ, เป็นรูปว่า สากสาลา ก็มี.

ปสุวิเสสทฺวนฺเท
คชา จ ควชา จ คชควชํ, คชควชา, โคมหิสํ, โคมหิสา, เอเณยฺยวราหํ, เอเณยฺยวราหา, อเชฬกํ, อเชฬกา, กุกฺกุฏสูกรํ, กุกฺกุฏสูกรา, หตฺถิควสฺสวฬวํ, หตฺถิควสฺสวฬวาฯ

ในคู่แห่งชนิดสัตว์เลี้ยง เช่น ช้าง และ โคลาน ชื่อว่า คชควชํ, หรือเป็นรูปว่า คชควชา ก็มี.โคมหิสํ หรือเป็นรูปว่า โคมหิสา โคและกระบือ ก็มี., เอเณยฺยวราหํ เนื้อทราย และ หมู, เป็นรูปว่า เอเณยฺยวราหา ก็มี. อเชฬกํ แพะและแก เป็นรูปว่า, อเชฬกา ก็มี. กุกฺกุฏสูกรํ ไก่และหมู, เป็นรูปว่า กุกฺกุฏสูกรา ก็มี, หตฺถิควสฺสวฬวํ โค ม้าและนางม้า, เป็นรูปว่า หตฺถิควสฺสวฬวา ก็มี.

สกุณวิเสสทฺวนฺเท
หํสพิลวํ, หํสพิลวา, การณฺฑวจกฺกวากํ, การณฺฑวจกฺกวากา, พกพลากํ, พกพลากาฯ

ในคู่แห่งชนิดนก เช่น หํสพิลวํ, เป็นรูปว่า หํสพิลวา ก็มี, การณฺฑวจกฺกวากํ นกเป็ดและห่านแดง เป็นรูปว่า, การณฺฑวจกฺกวากา ก็มี. พกพลากํ นกกระยางและนกกระเรียน, เป็นรูปว่า พกพลากา  ก็มี.
ธนทฺวนฺเท
หิรญฺญสุวณฺณํ, หิรญฺญสุวณฺณา, มณิ จ สงฺโข จ มุตฺตา จ เวฬุริยญฺจ มณิสงฺขมุตฺตเวฬุริยํ, มณิสงฺขมุตฺตเวฬุริยา, ชาตรูปรชตํ, ชาตรูปรชตาฯ

ในคู่แห่งทรัพย์ เช่น หิรญฺญสุวณฺณํ เงินและทอง, เป็นรูปว่า หิรญฺญสุวณฺณา ก็มี. มณิ จ สงฺโข จ มุตฺตา จ เวฬุริยญฺจ มณิสงฺขมุตฺตเวฬุริยํ มณี สังข์ มุกดา และไพฑูรย์, เป็นรูปว่า มณิสงฺขมุตฺตเวฬุริยา ก็มี.  ชาตรูปรชตํ ทองและเงิน, เป็นรูปว่า ชาตรูปรชตา ก็มี.

ธญฺญทฺวนฺเท
สาลิยวํ, สาลิยวา, ติลมุคฺคมาสํ, ติลมุคฺคมาสา, นิปฺผาวกุลตฺถํ, นิปฺผาวกุลตฺถา[11]

ในคู่แห่งข้าวเปลือก เช่น สาลิยวํ ข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์, เป็นรูปว่า สาลิยวา ก็มี. ติลมุคฺคมาสํ งา ถั่วเขียวและถั่วราชมาส, เป็นรูปว่า ติลมุคฺคมาสา ก็มี. นิปฺผาวกุลตฺถํ , เป็นรูปว่า นิปฺผาวกุลตฺถา ก็มี (?)

พฺยญฺชนานํ ทฺวนฺเท
มจฺฉมํสํ, มจฺฉมํสา, สากสูปํ, สากสูปา, คพฺยมาหิสํ, คพฺยมาหิสา, เอเณยฺยวาราหํ, เอเณยฺยวาราหา, มิคมายูรํ, มิคมายูราฯ

ในคู่แห่งกับข้าว เช่น มจฺฉมํสํ ปลาและเนื้อ, เป็นรูปว่า มจฺฉมํสา ก็มี, สากสูปํ ผักดองและน้ำแกง, เป็นรูปว่า สากสูปา ก็มี, คพฺยมาหิสํ, เป็นรูปว่า คพฺยมาหิสา ก็มี, เอเณยฺยวาราหํ , เป็นรูปว่า เอเณยฺยวาราหา ก็มี, มิคมายูรํ,เป็นรูปว่า มิคมายูรา ก็มี (?)[12]
ชนปททฺวนฺเท
กาสิโกสลํ, กาสิโกสลา, วชฺชิมลฺลํ, วชฺชิมลฺลา, เจตวํสํ, เจตวํสา, มชฺฌญฺจ สูรเสนญฺจ มชฺฌสูรเสนํ, มชฺฌสูรเสนา, กุรุปญฺจาลํ, กุรุปญฺจาลาฯ

ในคู่แห่งแคว้น เช่น กาสิโกสลํแคว้นกาสีและแคว้นโกศล, เป็นรูปว่า กาสิโกสลา ก็มี, วชฺชิมลฺลํ แคว้นวัชชีและแคว้นมัลละ, เป็นรูปว่า วชฺชิมลฺลา ก็มี, เจตวํสํ แคว้นเจตีและแคว้นวังคะ, เป็นรูปว่า เจตวํสา ก็มี, แคว้นมัชฌะและแคว้นสูรเสนะ ชื่อว่า มชฺฌสูรเสนํ, เป็นรูปว่า มชฺฌสูรเสนา ก็มี, กุรุปญฺจาลํ แคว้นกุรุและแคว้นปัญจาละ, เป็นรูปว่า  กุรุปญฺจาลา ก็มี.

อิติ วิกปฺปสมาหารราสิฯ

กลุ่มทวันทสมาสที่เป็นสมาหาระไม่แน่นอน
เป็นอย่างนี้
                
ทฺวนฺทสมาโส นิฏฺฐิโตฯ

ทวันทสมาส จบแล้ว









[1] [ก. ๓๒๙; รู. ๓๕๗; นี. ๗๐๙]
[2] [ม. นิ. ๑.๖๕]
[3] [ที. นิ. ๑.๑๐]
[4] คำว่า คิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขาร แปลอีกนัยหนึ่งว่า เภสัชอันเหมาะสมแก่โรคซึ่งเป็นเครื่องแวดล้อม[ของชีวิต] (ปท.มัญ.ล.๒ น.๓๖๐)
[5] [ก. ๓๒๒; รู. ๓๕๙; นี. ๗๐๐]
[6] คำว่า นจฺจ เป็นต้น แม้จะเป็นกริยาการฟ้อนเป็นต้น ก็จริง แต่กระนั้น ก็สงเคราะห์เข้าในเครื่องดนตรีด้วย  เพราะคำว่า ตูริยงฺค (ส่วนของเครื่องดนตรี) ยังใช้เป็นสำนวนทางภาษาที่เรียกว่า สหจรณนัย คือ นัยที่หมายถึงสิ่งที่ดำเนินไปร่วมกัน หรือฐานูปจาระ คือ สำนวนที่กล่าวถึงที่ตั้ง แต่มุ่งให้หมายถึงสิ่งที่อาศัยอีกด้วย ซึ่งในที่นี้กล่าวถึงเครื่องดนตรีมีฉิ่งและฉาบเป็นต้น แต่เจตนายังหมายถึงกิริยาที่เนื่องด้วยเครื่องดนตรีอีกด้วย จึงมีอุทาหรณ์ว่า คีตญฺจ วาทิตญฺจ คีตวาทิตํ (การขับและการประโคม มีรูปว่า คีตวาทิตํ) (ปท.มัญ.ล.๒น.๓๙๔)
[7] คำว่า โยคฺค หมายถึง อุปกรณ์ของกสิกรรม สำเร็จรูปมาจาก โยค ศัพท์ + ณฺย ปัจจัยในอิทังตัทธิต มีรูปวิเคราะห์ว่า ยุคสฺส หิตา โยคา, โยคานํ อิทํ โยคฺคํ (โยคคะ คือ กรรมที่เป็นของวัว, กสิกรรม) ดังหลักฐานในคัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกาฎีกาว่า ยุคสฺส หิตา โยคา, โคณา. เตสมิทํ โยคฺคํ กสิกมฺมํ.๓๔๘ สัตว์ที่อันเกื้อกูลแก่แอก ชื่อว่า โยคะ คือ วัว กรรมที่เป็นของวัว ชื่อว่า โยคคะ คือ กสิกรรม ดังนั้น โยคฺคงฺค (ส่วนของกสิกรรม) จึงหมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับกสิกรรมนั่นเอง] (ปท.มัญ.ล.๒น.๓๙๔)
[8] [สุ. นิ. ๖๐๗]
[9] [ก. ๓๒๓; รู. ๓๖๐; นี. ๗๐๑]
[10] [กปิตฺถนํ (กตฺถจิ)]
[11] นิปฺผาวกุลตฺถํ, นิปฺผาวกุลตฺถา ไม่ทราบคำแปล แต่พบศัพท์นี้ในคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์ สูตรที่ ๓/๑๙. จตฺเถ
[12] คพฺยมาหิสํ, คพฺยมาหิสา, เอเณยฺยวาราหํ, เอเณยฺยวาราหา, มิคมายูรํ, มิคมายูรา ไม่ทราบคำแปล แต่ศัพท์เหล่านี้พบในคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์ สูตรที่ ๓/๑๙. จตฺเถ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น