วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ตัทธิตกัณฑ์ ๑ อปัจจราสิ



๕. ตทฺธิต
๕. ตัทธิตกัณฑ์
อถ ตทฺธิตวิธานํ ทีปิยเตฯ
ตทฺธิตวุตฺติ นาม วิจิตฺรา โหติ, สาติสเยน วิจิตฺรญาณหิตํ วหติ, ตสฺมา เตสํ เตสํ กุลปุตฺตานํ หิตนฺติ ตทฺธิตํ, อิมสฺมิํ กณฺเฑ สพฺพวิธานสฺส นามํฯ ตํ ปน อฏฺฐวิธํ โหติ อปจฺจํ, อเนกตฺถํ, อสฺสตฺถิ, ภาวกมฺมํ, ปริมาณํ, สงฺขฺยา, ขุทฺทกํ, นานาตฺตนฺติฯ

จะแสดงวิธีการลงปัจจัยตัทธิตต่อไป.
ธรรมดาว่า การลงปัจจัยตัทธิต มีความวิจิตรพิศดาร, ศัพท์ที่มีชื่อว่า ตัทธิต อันเป็นชื่อของวิธีทั้งปวง ในกัณฑ์นี้ เพราะมีความหมายว่า นำไปซึ่งความรู้ที่เกื้อกูล[๑]ต่อญาณวิจิตรอย่างดีเยี่ยม,  เหตุนั้น จึงเป็นศัพท์เกื้อกูลต่อกุลบุตรเหล่านั้น[๒]. ตัทธิตมี ๘ อย่าง คือ อปัจจะ อเนกัตถะ อัสสัตถิ ภาวกัมมะ ปริมาณะ สังขยา ขุททกะ และนานาตตะ.

สมาสกัณฑ์ ๑๐ - วิเสสวิธาน จ - สังขยา จบ สมาสกัณฑ์

สงฺขฺยาราสิ

สังขยาราสิ
กลุ่มนามศัพท์ที่เข้าสมาสกับสังขยาศัพท์

อิทานิ สงฺขฺยาราสิ วุจฺจเตฯ
บัดนี้ จะกล่าวถึงกลุ่มนามศัพท์ที่เข้าสมาสกับสังขยาศัพท์.

๔๑๔. วิธาทีสุ ทฺวิสฺส ทุ[๑]
วิธาทีสุ ปเรสุ ทฺวิสฺส ทุ โหติฯ
ทฺเว วิธา ปการา ยสฺสาติ ทุวิโธ, ทฺเว ปฏฺฏานิ ยสฺสาติ ทุปฏฺฏํ, จีวรํ, ทุวงฺคิกํ, ฌานํ อิจฺจาทิฯ

๔๑๔. วิธาทีสุ ทฺวิสฺส ทุ
ในเพราะวิธศัพท์เป็นต้น แปลง ทฺวิ เป็น ทุ.
ในเพราะศัพท์มี วิธ เป็นต้น อันเป็นเบื้องหลัง ทุ เป็นตัวเปลี่ยน ของทฺวิ. ตัวอย่างเช่น
ธรรมมี ๒ ประการ ชื่อว่า ทุวิโธ. จีวรมี ๒ ชั้น ชื่อว่า ทุปฏฺฏํ. ฌาน มีองค์สอง ชื่อว่า ทุวงฺคิกํ.

สมาสกัณฑ์ ๙ - วิเสสวิธาน ง - อัพยยะ

อพฺยยราสิ

อัพยยราสิ
กลุ่มนามศัพท์ที่เข้าสมาสกับบทอัพยยะ

๔๑๐. กุปาทโย นิจฺจมสฺยาทิวิธิมฺหิ [1]

๔๑๐. กุปาทโย นิจฺจมสฺยาทิวิธิมฺหิ.
นิบาตมีกุเป็นต้นและ อุปสัคมี ป เป็นต้น เข้าสมาสกับบทนามในวิธีการแห่งสมาส แน่นอน
สฺยาทิวิธิโต อญฺญตฺถ กุอาทโย ปาทโย จ สทฺทา สฺยาทฺยนฺเตน สห นิจฺจํ เอกตฺถา โหนฺติฯ

ในวิธีการอื่นจากวิธีการแห่งคำนาม  ศัพท์ทั้งหลายมีกุเป็นต้น และ ป เป็นต้น เข้าสมาสกับบทนาม แน่นอน. ตัวอย่างเช่น

สมาสกัณฑ์ ๘ - วิเสสวิธาน ค - นานาเทส

นานาเทสราสิ
กลุ่มศัพท์สมาสที่มีการเปลี่ยนรูปต่างๆ
๓๗๘. อุตฺตรปเท [1]

๓๗๘.อุตฺตรปเท
เมื่อมีบทหลัง  จะมีกระบวนการทางไวยากรณ์ที่บทหน้าเท่านั้น.

อุตฺตรปเท ปเร ปุพฺพปเท วิธิ โหตีติ อตฺโถฯ อธิการสุตฺตมิทํฯ
‘‘อพฺราหฺมโณ, อนริโย, อภิกฺขุโก, อนนฺโต’’อิจฺจาทีสุ สมาเส อุตฺตรปเท ปเร น-การสฺส อ, อน โหนฺติฯ

เพราะบทหลัง กระบวนการทางไวยากรณ์มีที่บทหน้า. สูตรนี้เป็นอธิการสูตร.
ในตัวอย่างเป็นต้นว่า อพฺรหฺมโณ ไม่ใช่พราหมณ์, อนริโย ไม่ใช่อริยะ, อภิกฺขุโก ไม่เป็นภิกษุ, อนนฺโต ไม่มีที่สุด ดังนี้ แปลง น (บทหน้า)  เป็น อ และ อน เพราะมีบทข้างหลัง.

สมาสกัณฑ์ ๗ - วิเสสวิธาน ข- สมาสนฺตกปจฺจย - อปจฺจย

สมาสนฺตกปจฺจยราสิ

กลุ่มนามศัพท์ที่ลง ก ปัจจัยท้ายสมาส

๓๖๕. ลฺติตฺถิยูหิ โก[1]

๓๖๕. ลฺติตฺถิยูหิ โก
(ในพหุพพีหิสมาส ลงกปัจจัย ท้ายบทที่ลง ตุปัจจัย, อีการันต์ และอูการันต์อิตถีลิงค์โดยมาก)

อญฺญปทตฺถวิสเย กตฺตุอิจฺจาทีหิ ลฺตุปจฺจยนฺเตหิ อิตฺถิยํ อี, อูการนฺเตหิ จ พหุลํ กปจฺจโย โหติฯ
พหโว กตฺตาโร ยสฺมิํ เทเส โส พหุกตฺตุโกฯ เอวํ พหุวตฺตุโก, พหุกา นทิโย ยสฺมิํ เทเส โส พหุนทิโกฯ เอวํ พหุอิตฺถิโก, คาโม, พหุอิตฺถิกา, สภา, พหุอิตฺถิกํ, กุลํฯ เอวํ พหุกุมาริกํ, พหุพฺรหฺมพนฺธุโกฯ
เอตฺถ จ พฺรหฺมพนฺธูติ รสฺสปทํ พฺราหฺมณํ วทติ, ทีฆปทํ พฺราหฺมณิํ วทติ, กปจฺจเย ปเร ทีฆานํ มหาวุตฺตินา รสฺสตฺตํ อิจฺฉนฺติฯ
พหุลนฺติ กิํ? พหุกตฺตา, คาโมฯ

ในวิสัยแห่งอัญญปทัตถสมาส (พหุพพีหิสมาส)  กปัจจัย โดยมากจะลงท้ายบทลงตุปัจจัย เช่น กตฺตุ เป็นต้น, อี การันต์ และอูการันต์ในอิตถีลิงค์.

สมาสกัณฑ์ ๖ - วิเสสวิธาน ก- นปุํสเกกตฺตํ - ปุมฺภาวาติเทส

วิเสสวิธาน
วิธีประกอบรูปพิเศษ
อิทานิ ปุพฺเพ วุตฺตานิ อวุตฺตานิ จ ฉสุ สมาเสสุ วิเสสวิธานานิ วุจฺจนฺเตฯ

ต่อไปนี้ จะกล่าวถึงการประกอบรูปพิเศษ ในสมาส ๖ ประเภท ทั้งที่เคยและไม่เคยกล่าวไว้ในตอนต้น.
นปุํสเกกตฺตํ, สมาสนฺตรสฺโส, ปุมฺภาวาติเทโส, สมาสนฺเต ก, สมาสนฺเต อ, นานาเทโส, อพฺยโย, สงฺขฺยา

วิธีการดังกล่าวมีดังนี้
๑. ความเป็นรูปนปุงสกลิงค์ เอกวจนะ
๒. ความเป็นรัสสะท้ายบทสมาส
๓. การแสดงเหมือนที่เคยเป็งปุงลิงค์
๔. ลง ก ปัจจัยท้ายบทสมาส
๕. ลง อ ปัจจัยท้ายบทสมาส
๖. การแปลงเป็นรูปต่างๆ
๗. บทสมาสที่เป็นอัพยยะ
๘. บทสมาสที่เป็นสังขยา

สมาสกัณฑ์ ๕ - ทวันทสมาส

ทฺวนฺทสมาส
ทวันทสมาส
อถ ทฺวนฺทสมาโส ทีปิยเตฯ

จะแสดงทวันทสมาสสืบไป.

ทฺเว จ ทฺเว จ ปทานิ ทฺวนฺทา, ทฺเว จ ทฺเว จ อตฺถา วา ทฺวนฺทา, มหาวุตฺตินา ทฺวินฺนํ ทฺวิสทฺทานํ ทฺวนฺทาเทโสฯ ทฺวนฺทสทฺทสทิสตฺตา สพฺโพ จายํ สมาโส ทฺวนฺโทติ วุจฺจติฯ

บททั้งหลายสอง ด้วย สอง ด้วย ชื่อว่า ทวันทะ, เนื้อความทั้งหลาย สอง ด้วย สอง ด้วย ชื่อว่า ทวันทะ. แปลง ทฺวิศัพท์สองศัพท์เป็น ทวนฺท ด้วยสูตรใหญ่. สมาสนี้นั้น ทุกประเภท เรียกว่า ทวันทสมาส เพราะเหมือนกับทวันทศัพท์.

อถ วา ทฺเว อวยวา อนฺทิยนฺติ พนฺธิยนฺติ เอตฺถาติ ทฺวนฺโท, ยุคฬสฺเสตํ นามํ ‘‘ปาททฺวนฺทํ มุนินฺทสฺส, วนฺทามิ สิรสามห’’นฺติ เอตฺถ วิย, อิธ ปน ปทยุคฬํ อตฺถยุคฬญฺจ คยฺหติฯ อุภยปทตฺถปธาโน หิ ทฺวนฺโท.

อีกนัยหนึ่ง ส่วนท.สอง ถูกผูกไว้ในศัพท์นี้ เหตุน้ัน ศัพท์นี้ ชื่อว่า ทวันทะ, คำนี้เป็นชื่อของสิ่งอันเป็นคู่ เหมือนในข้อความนี้ว่า “ปาททฺวนฺทํ มุนินฺทสฺส, วนฺทามิ สิรสามหํ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการที่พระยุคลบาท (คู่แห่งพระบาท) ของพระจอมมุนีพุทธเจ้าด้วยเศียรเกล้า”. แต่ในที่นี้ ท่านถือเอาคู่แห่งบทและคู่แห่งอรรถ. ก็ทวันทสมาสนั้น มีอรรถแห่งบททั้งสองเป็นประธาน.

สมาสกัณฑ์ ๔ - ทิคุ, พหุพพีหิสมาส

ทิคุสมาส
ทิคุสมาส
อถ ทิคุสงฺขาโต ปฐมาตปฺปุริโส วุจฺจเตฯ

จะแสดงปฐมาตัปปุริสสมาสที่นับว่า ทิคุ สืบต่อจากกัมมธารยสมาส.

ทฺเว คาโว ทิคุ, สงฺขฺยาปุพฺพตฺเตน นปุํสเกกตฺเตน จ ทิคุสทฺทสทิสตฺตา สพฺโพ จายํ สมาโส ทิคูติ วุจฺจติฯ

โคสองตัว เรียกว่า ทิคุ, สมาสนี้ทุกประเภท เรียกว่า ทิคุ เพราะเสมือนกับทิคุนั้น โดยมีจำนวนนับ (สังขยาศัพท์) เป็นบทหน้า และมีความเป็นนปุํสกลิงค์เอกพจน์(เท่านั้น).

๓๕๒. สงฺขฺยาทิ [1]
สมาหาเรกตฺเถ สงฺขฺยาปุพฺพกํ เอกตฺถํ นปุํสกํ โหติ, สมาหารวจเนเนว เอกตฺตญฺจ สิทฺธํฯ

๓๕๒. สงฺขฺยาทิ.
(ทิคุสมาสมีสังขยาศัพท์เป็นบทหน้า)
ในสมาสชนิดสมาหาร (ประมวลมาเป็นกลุ่มเดียว) สมาสชนิดที่มีจำนวนนับเป็นบทหน้า เป็นนปุงสกลิงค์ และด้วยคำว่า สมาหาร นั่นเอง จึงสำเร็จเป็นเอกพจน์.

สมาสกัณฑ์ ๓ - กัมมธารยสมาส

กมฺมธารยสมาส

กัมมธารยสมาส

อถ กมฺมธารยสญฺญิโต ปฐมาตปฺปุริโส วุจฺจเตฯ

ต่อจากอมาทิสมาส จะกล่าวถึงปฐมาตัปปุริสสมาส ซึ่งเรียกชื่อว่า กัมมธารยสมาส.

กมฺมมิว ทฺวยํ ธาเรตีติ กมฺมธารโยฯ ยถา กมฺมํ กฺริยญฺจ ปโยชนญฺจ ทฺวยํ ธาเรติ กมฺเม สติ ตสฺส ทฺวยสฺส สมฺภวโต, ตถา อยํ สมาโส เอกสฺส อตฺถสฺส ทฺเว นามานิ ธาเรติ อิมสฺมิํ สมาเส สติ เอกตฺถโชตกสฺส นามทฺวยสฺส สมฺภวโตติ [๑]

กัมมธารยสมาส มีวิเคราะห์ว่า สมาสที่ทรงนามศัพท์สองศัพท์ไว้ เหมือนอย่างกรรม (การกระทำ). หมายความว่า กรรมย่อมทรงไว้ ซึ่งสิ่งสองอย่าง คือ กริยาและผลประโยชน์ เพราะทั้งสองนั้นจะมีขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อกรรมมีอยู่ ฉันใด, สมาสนี้ ก็ย่อมทรงไว้ซึ่งนามศัพท์สองศัพท์ ของอรรถอย่างเดียว เพราะนามศัพท์สองศัพท์ซึ่งแสดงอรรถอย่างเดียว จะมีได้ ก็ต่อเมื่อมีสมาสชนิดนี้.

สมาสกัณฑ์ ๒ - ตัปปุริสสมาส

ตปฺปุริสสมาส
ทุติยาตปฺปุริส
ตปฺปุริสสมาส
ทุติยาตปฺปุริส
อถ อมาทิสมาโส วุจฺจเต, โส ตปฺปุริโสติ จ วุจฺจติฯ ตสฺส ปุริโส ตปฺปุริโส, ตปฺปุริสสทฺเทน สทิสตฺตา อยํ สมาโส ตปฺปุริโสติ วุจฺจติฯ ยถา หิ ตปฺปุริสสทฺโท วิเสสนปทตฺถํ ชหิตฺวา วิเสสฺยปทตฺเถ ติฏฺฐติ, เอวํ อยํ สมาโสปีติฯ

ต่อจากอัพยยีภาวสมาส จะกล่าวอมาทิสมาส. อนึ่ง อมาทิสมาสนั้น เรียกว่า ตปฺปุริส. คำว่า ตปฺปุริส มีวิเคราะห์ว่า “ตสฺส ปุริโส ตปฺปุริโส บุรุษของพระราชานั้น ชื่อว่า ตปฺปุริส, เพราะสมาสนี้เป็นเช่นเดียวกับตปฺปุริสศัพท์ จึงเรียกว่า ตปฺปุริส”. จะเห็นได้ว่า ตปฺปุริสศัพท์ ทิ้งเนื้อความของบทวิเสสนะ (คือ ตสฺส ราชาโน ของพระราชานั้น)ไปแล้วตั้งอยู่ในเนื้อความของบทวิเสสยะ (คือ ปุริส บุรุษ) ฉันใด, แม้สมาสนี้ ก็เป็นเหมือนฉันนั้น.

๓๔๕. อมาทิ[๑]

๓๔๕. อมาทิ
บทนาม ซึ่งประกอบด้วยอํวิภัตติเป็นต้น สมาสกับบทนามที่ลงปฐมาวิภัตติเป็นต้น ชื่อว่า  อมาทิ.

สมาสกัณฑ์ ๑ - อัพยยีภาวสมาส



๔. สมาสกณฺฑ
๔. สมาสกัณฑ์
อถ ยุตฺตตฺถานํ สฺยาทฺยนฺตปทานํ เอกตฺถีภาโว วุจฺจเตฯ เอกตฺถีภาโวติ จ อิธ สมาโส วุจฺจติฯ โส จ สมาโส ฉพฺพิโธ อพฺยยีภาโว, ตปฺปุริโส, กมฺมธารโย, ทิคุ, พหุพฺพีหิ, ทฺวนฺโทติฯ

ต่อจากการกกัณฑ์ ข้าพเจ้าจะแสดงความมีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน (เอกัตถีภาวะ) ของบทลงสิวิภัตติเป็นต้นทั้งหลาย (คือ ของคำนาม) ที่มีเนื้อความประกอบกัน. อนึ่ง ในคัมภีร์(โมคคัลลานไวยากรณ์)นี้ เรียกสมาสว่า เอกัตถีภาวะ. และสมาสนั้น มีอยู่ ๖ ประเภท คือ อัพยยีภาวะ, ตัปปุริสะ, กัมมธารยะ, ทิคุ, พหุพฺพีหิ และทวันทะ.

การกกัณฑ์ ๗ - สัตตมีวิภัตติ จบการกกัณฑ์

สตฺตมีวิภตฺติราสิ
กลุ่มนามศัพท์ที่มีอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ
กสฺมิํ อตฺเถ สตฺตมี?
ลงสัตตมีวิภัตติ ในอรรถใดบ้าง?
ลงสัตตมีวิภัตติในอรรถอาธาระ ด้วยสูตรนี้
๓๒๓. สตฺตมฺยาธาเร[๑]

๓๒๓. สตฺตมฺยาธาเร
ลงสัตตมีวิภัตติในอรรถอาธาระ.

การกกัณฑ์ ๖ - ฉัฏฐีวิภัตติ

ฉฏฺฐีวิภตฺติราสิ
กลุ่มนามศัพท์ที่มีอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ
กสฺมิํ อตฺเถ ฉฏฺฐี?
ลงฉัฏฐีวิภัตติ ในอรรถอะไรบ้าง?

(๑) ลงในอรรถสัมพันธ์ด้วยสูตรนี้
๓๒๐. ฉฏฺฐี สมฺพนฺเธ [๑]
๓๒๐. ฉฏฺฐี สมฺพนฺเธ
ลงฉัฏฐีวิภัตติ เมื่อจะแสดงความสัมพันธ์.
ทฺวินฺนํ สมฺพนฺธีนํ เกนจิ ปกาเรน อายตฺตภาโว สมฺพนฺโธ นาม, สมฺพนฺเธ โชเตตพฺเพ วิเสสนสมฺพนฺธิมฺหิ ฉฏฺฐี โหติฯ
ความเกี่ยวเนื่องกันของสัมพันธี สองบท โดยประการอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัมพันธ์. เมื่อจะแสดงสัมพันธ์ ให้ลงฉัฏฐีวิภัตติ ท้ายสัมพันธีที่เป็นวิเสสนะ[๒] .

การกกัณฑ์ ๕ - ปัญจมีวิภัตติ


ปญฺจมีวิภตฺติราสิ
กลุ่มอรรถแห่งปัญจมีวิภัตติ
กสฺมิํ อตฺเถ ปญฺจมี?

ปัญจมีวิภัตติใช้ในความหมายใดบ้าง?
๓๑๒. ปญฺจมฺยาวธิสฺมิํ [1].
อวธิยติ ววตฺถิยติ ปทตฺโถ เอตสฺมาติ อวธิ, ตสฺมิํ ปญฺจมี โหติ, อวธีติ จ อปาทานํ วุจฺจติฯ

ปัญจมีวิภัตติใชัในความหมายว่า เขตแดน (อวธิ,อปาทาน) ด้วยสูตรนี้
๓๑๒. ปญฺจมฺยาวธิสฺมิํ
ปัญจมีวิภัตติใช้ในความหมายว่า อวธิ (กำหนดอรรถของบท). อวธิ ได้แก่ เขตแดนเป็นที่กำหนดอรรถของบท, ใช้ปัญจมีวิภัตติในอวธินั้น, อนึ่ง อปาทาน ท่านเรียกว่า อวธิ.