วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๕ สัญญาราสิ : สังเกตราสิ จบ สัญญาราสิ

สงฺเกตราสิ
กลุ่มสูตรแสดงข้อกำหนดและวิธีการ[1]
๑๓. วิธิ วิเสสนํ ยํ ตสฺส [2]
สุตฺเต ยํ วิเสสนํ ทิสฺสติ, ตสฺส วิธิ ญาตพฺโพฯ
อโต โยนํ ฏาเฏฯ นรา, นเรฯ โยนนฺติ วิเสสนํฯ ฏาเฏติ วิธิฯ

๑๓. วิธิ วิเสสนํ ยํ ตสฺส.
สูตรที่ใช้วิเสสนะ พึงทราบว่า จะเกิดวิธีการกับตัวนั้น.
ศัพท์วิเสสนะใด ย่อมถูกแสดงในสูตร, ควรทราบว่า (สูตรนี้) เป็นวิธีการของวิเสสนะนั้น.
เช่น สูตรว่า “อโต โยนํ ฎาเฏ”ฯ นรา นเรฯ หลัง อ การันต์ อา และ เอเป็นอาเทสของโยทั้งหลาย.
ในสูตรนี้ บทว่า โยนํ เป็นวิเสสนะ (ของ อา และ เอ อตุลยาธิกรณวิเสสนะ) ส่วน อา และ เอ เป็น (อาเทส) วิธีของวิเสสนะ (คือ โยนํ ของโยวิภัตติ) นั้น [3]

 ๑๔. สตฺตมิยํ ปุพฺพสฺส [4]
สตฺตมีนิทฺเทเส ปุพฺพวณฺณสฺเสว วิธิ ญาตพฺโพฯ
สโร โลโป สเรฯ โลกคฺโค [5]
ที่แสดงเป็นสัตตมีวิภัตติ สูตรนั้นเป็นวิธีการของสระหน้า
ควรทราบว่า ในสูตรที่แสดงด้วยสัตตมีวิภัตติ เป็นวิธีการของสระหน้าเท่านั้น. เช่น
สูตรว่า
 “สโร โลโป สเร”ฯ โลกคฺโค” ในเพราะสระ สระหน้าถูกลบไป. ตัวอย่างเช่น โลกคฺโค.


๑๕. ปญฺจมิยํ ปรสฺส[6]
ปญฺจมีนิทฺเทเส ปรสฺเสว วิธิ ญาตพฺโพฯ
อโต โยนํ ฏาเฏฯ นรา, นเรฯ
๑๕. ปญฺจมิยํ ปรสฺส
ในสูตรที่แสดงเป็นปัญจมีวิภัตติ เป็นวิธีของของบทหลัง.
ควรทราบว่า ในสูตรที่มีการแสดงด้วยปัญจมีวิภัตติ เป็นวิธีการของบทหลังเท่านั้น เช่น
สูตรว่า “อโต โยนํ ฎาเฏ”ฯ นรา นเรฯ
หลังอการันต์ อาและเอ เป็นอาเทสของโย. ตัวอย่าง นรา นเร. (ดูหนังสือดร.สุภาพรรณน.110)

๑๖. อาทิสฺส [7]
ปรสฺส สิสฺสมาโน [8]วิธิ อาทิวณฺณสฺส ญาตพฺโพฯ
สงฺขฺยาโต วาฯ เตรสฯ
๑๖. อาทิสฺส
เป็นวิธีการของ (เฉพาะ) อักษรต้น (ของบทหลัง)
วิธีที่ถูกแสดง (ด้วยปัญจมิภัตติ) ของบทหลัง เป็นวิธีของอักษรต้นของบทหลัง (ไม่ใช่ทั้งบทเหมือนสูตรที่ ๑๕) เช่น
สูตรว่า “ร สงฺขยาโต วา”ฯ เตรสฯ
ทส ท้ายสังขยา เป็น ร ได้บ้าง เช่น เตรส ๑๓.

๑๗. ฉฏฺฐิยนฺตสฺส [9]
ฉฏฺฐีนิทฺเทเส ตทนฺตสฺส วิธิ ญาตพฺโพฯ
ราชสฺสิ นามฺหิฯ ราชินาฯ
๑๗. ฉฏฺฐิยนฺตสฺส
ในที่แสดงด้วยฉัฏฐีวิภัตติ เป็นวิธีของศัพท์ส่วนท้ายบทนั้น.
ในที่แสดงด้วยฉัฏฐีวิภัตติ ควรทราบว่า เป็นวิธีเกี่ยวกับที่สุดของศัพท์นั้น เช่น
สูตรว่า “ราชสฺสิ นามฺหิ”ฯ ราชินา.
เพราะนาวิภัตติ แปลงสระที่สุดของ ราช เป็น อิ เช่น ราชินา


๑๘. งานุพนฺโธ [10]
งานุพนฺโธ อาเทโส ฉฏฺฐีนิทฺทิฏฺฐสฺส อนฺตสฺส ญาตพฺโพฯ
โคสฺสาวงฯ ควสฺสํฯ
๑๘. งานุพนฺโธ
ถ้าใช้ ง อนุพันธ์ แสดงว่าเป็นวิธีของท้ายศัพท์
อาเทสที่มี ง อนุพันธ์ (คือ อักษรที่เพิ่มเข้ามาหรือแนบมา เพื่อบอกวิธีการทางไวยากรณ์) เป็นอาเทศของอักษรที่สุดของศัพท์ที่ลงฉัฏฐีวิภัตติ เช่น
สูตรว่า “โคสฺสาวง”ฯ ควสฺสํฯ
แปลงสระที่สุดของโคเป็น อว (อวเป็นอาเทสของสระที่สุดแห่งโคศัพท์) เช่น ควสฺสํ โคและม้า.

๑๙. ฏานุพนฺโธเนกวณฺโณ สพฺพสฺส [11]
โย จ ฏานุพนฺโธ อาเทโส, โย จ อเนกวณฺโณ อาเทโส, ตทุภยํ ฉฏฺฐีนิทฺทิฏฺฐสฺส สพฺพสฺเสว วณฺณสมุทายสฺส ญาตพฺพํฯ
ฏานุพนฺเธ ตาว
อิมสฺสานิตฺถิยํ เฏฯ เอสุฯ
อเนกวณฺเณ
อนิมิ นามฺหิฯ อเนน, อิมินาฯ
๑๙. ฏานุพนฺโธเนกวณฺโณ สพฺพสฺส
อาเทสที่มีฎอนุพันธ์และมีอาเทศหลายตัว เป็นการอาเทสทั้งศัพท์ (ไม่ใช่แต่ส่วนต้นหรือส่วนท้าย)
อาเทศ (ที่มี) ฏอนุพันธ์และที่มีอักษรมากกว่าหนึ่ง ทั้งสองแบบนี้เป็นอาเทศของกลุ่มอักษรทั้งตัวนั่นเลย ที่ลงฉัฏฐีวิภัตติ. กรณีที่ใช้อาเทสมีฏอนุพันธ์ เช่น
สูตรว่า อิมสฺสานิตฺถิยํ เฏ”ฯ เอสุฯ.
ในที่ไม่ใช่อิตถีลิงค์ เพราะ สุ นํ หิ เอ เป็นอาเทสของ อิมศัพท์ทั้งตัว เช่น เอสุ
ในกรณีที่ใช้อาเทสหลายตัว เช่น
สูตรว่า อนิมิ นามฺหิ”ฯ อเนน, อิมินาฯ
เพราะนา อน และ อิมิ เป็นอาเทสของอิมศัพท์ทั้งตัว  เช่น อเนน, อิมินา.

๒๐. ญกานุพนฺธา อาทฺยนฺตา [12]
ญานุพนฺโธ อาคโม จ กานุพนฺโธ อาคโม จ กเมน ฉฏฺฐีนิทฺทิฏฺฐสฺส อาทิมฺหิ จ อนฺเต จ ญาตพฺโพฯ
ญานุพนฺเธ
พฺรูโต ติสฺสิญฯ พฺรวิติฯ
กานุพนฺเธ
ภูสฺส วุกฯ พภุวฯ
๒๐. ญกานุพนฺธา อาทฺยนฺตา
อาคมที่มีญ อนุพันธ์ ลงหน้าศัพท์ และที่มีกอนุพันธ์ ลงท้ายศัพท์
พึงทราบว่า อาคมที่มี ญอนุพันธ์ ลงในเบื้องต้น และ อาคมที่มี ก อนุพันธ์ ลงในที่สุดของศัพท์ที่แสดงด้วยฉัฏฐีวิภัตติ.
ตัวอย่างเช่น
กรณีที่มีญเป็นอนุพันธ์
สูตรว่า พฺรูโต ติสฺสิญ.
ลง อิ อาคม ในเบื้องต้นของ (หน้า) ติ วิภัตติ ท้าย พฺรู ธาตุ เช่น พฺรวิติ.
กรณีที่มี ก อนุพันธ์
สูตรว่า ภูสฺส วุก
ลง ว อาคมในที่สุดแห่ง (ท้าย) ภูธาตุ เช่น พภุว

๒๑. มานุพนฺโธ สรานมนฺตา ปโร [13]
มานุพนฺโธ อาคโม สรานํ อนฺตสรมฺหา ปโร โหติฯ
นชฺชาโย สฺวามฯ นชฺชาโย สนฺทนฺติฯ มํ วา รุธาทีนํฯ รุนฺธติฯชร สทานมีม วาฯ ชีรติ, สีทติฯ
อิมสฺมิํ พฺยากรเณ อเนกสรตา นาม นที, ปุริส อิจฺจาทีสุ ลิงฺคปเทสุ เอว อตฺถิ, คมุ, ปจอิจฺจาทีสุ ธาตุปเทสุ นตฺถิฯ สพฺพธาตุโย พฺยญฺชนนฺตา เอว โหนฺติ, ธาตฺวนฺตโลปกิจฺจํ นตฺถิฯ ตสฺมา นชฺชาโยติ เอตฺถ อี-กาโร อนฺตสโร นามฯ ตโต นชฺชาโย สฺวามอิติ สุตฺเตน อา-การาคโมฯ รุนฺธตีติ เอตฺถ ปน อุ-กาโร อนฺตสโร นาม, ตโต ‘‘มํ วา รุธาทีน’’นฺติ สุตฺเตน พินฺทาคโมฯ เอวํ ชีรติ, สีทติ อิจฺจาทีสุฯ มฺรมฺมโปตฺถเกสุ ปน ‘‘มานุพนฺโธ ปทานมนฺตา ปโร’’ติ ปาโฐ, โส สีหฬโปตฺถเกหิ น สเมติฯ
๒๑. มานุพนฺโธ สรานมนฺตา ปโร
อาคมที่มีมอนุพันธ์ ลงหลังจากสระตัวท้ายของสระทั้งหมด
อาคมที่มีมอนุพันธ์ ลงเป็นเบื้องหลังจากสระสุดท้าย ของสระทั้งหลาย. เช่น
ตัวอย่างที่ ๑ สูตรว่า นชฺชา โยสฺวาม (โมค.สฺยาทิ ๒/๑๖๗)
ในเพราะโย ลง อา เป็นอาคมท้ายอีของนทีศัพท์ เช่น นชฺชาโย สนฺทนฺติ แม่น้ำทั้งหลาย ย่อมไหล.
ตัวอย่างที่ ๒ สูตรว่า มํ วา รุธาทีนํ (โมค.ขาทิ ๕/๙๓)
อํ (นิคคหิต) เป็นอาคม ในเบื้องหลังแห่งธาตุมีรุธเป็นต้น ได้บ้าง เช่น
รุนฺธติ ย่อมกั้น.
ตัวอย่างที่ ๓ สูตรว่า ชรสทามีม วา (โมค.ขาทิ ๕/๑๒๓)
อี เป็นอาคมในเบื้องหลังจากสระที่สุดของชร และ สท ได้บ้างตามอุทาหรณ์.
ในคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์นี้ ความมีสระมากมีเฉพาะคำนามอาทิ นที ปุริสเป็นต้นเท่านั้น, ส่วนธาตุอาทิ คมุ ปจ ไม่มี[14]. ธาตุทุกตัวชื่อว่า มีพยัญชนะที่สุดนั่นเทียว, กิจคือการลบที่สุดธาตุจึงไม่มี. เพราะฉะนั้น ในคำว่า นชฺชาโย นี้ สระ อี ชื่อว่า สระที่สุด. ลงอา เป็นอาคมท้ายสระอีนั้น ด้วยสูตรว่า  นชฺชา โยสฺวาม. ในบทว่า รุนฺธติ สระ อุ ชื่อว่า สระที่สุด, ลงนิคคหิตอาคมท้ายอุในรุธนั้นด้วยสูตร มํ วา รุธาทีนํ. ในชชร ธาตุ และ สท ธาตุก็มีนัยนี้. คัมภีร์ฉบับพม่า มีข้อความว่า มานุพนฺโธ ปทานมนฺตา ปโร. ข้อความนี้ไม่สอดคล้อง (คือ ไม่เหมือน) กับฉบับของสีหล.

๒๒. วิปฺปฏิเสเธ [15]
สมานวิสยานํ ทฺวินฺนํ วิธีนํ อญฺญมญฺญปฏิเสธรหิเต ฐาเน เยภุยฺเยน ปโร วิธิ โอกาสํ ลภติฯ
จตฺตาโรเม ภิกฺขเว ธมฺมา[16] -เอตฺถ จตฺตาริเมติ ปุพฺพโลเป สมฺปตฺเต ปรโลโป โอกาสํ ลภติฯ
๒๒. วิปฺปฏิเสเธ
เมื่อวิธีสองอย่างไม่ขัดแย้งกันเอง  ใช้วิธีอย่างหลัง
ในที่ซึ่งปราศจากการขัดแย้งกันเองของวิธีสองอย่างที่มีวิสัยเหมือนกัน (วิสัย คือ อุทาหรณ์เป็นที่เป็นไป) โดยมากแล้ว วิธีหลังได้โอกาสที่จะนำมาใช้ เช่น
ในอุทาหรณ์ว่า จตฺตาโรเม ภิกฺขเว ธมฺมา เมื่อวิธีลบบทหน้าเป็น จตฺตาริเม มาปรากฏแล้ว วิธีลบสระหลังได้โอกาส (ถูกใช้ คือ เป็น จตฺตาโรเม)[17]

๒๓. สงฺเกโต นาวยโวนุพนฺโธ [18]
โย วณฺโณ ปโยคสฺส อวยโว น โหติ, สุตฺเตสุ สงฺเกตมตฺโต โหติ, โส อนุพนฺโธ นามฯ
โคสฺสาวฯ ควสฺสํ-เอเตน ปทรูปวิธาเน อนุพนฺโธ อุปโยคํ น คจฺฉตีติ ญาเปติฯ
๒๓. สงฺเกโต นาวยโวนุพนฺโธ
อักษรอนุพันธ์ ไม่ใช่หน่วยหนึ่งของตัวอย่าง (รูปสำเร็จ).
อนุพันธ์ คือ อักษรที่เป็นเพียงตัวสังเกต (วิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง) ในสูตร ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของตัวอย่าง เช่น
สูตรว่า โคสฺสาวง สระที่สุดของ โค เป็น อว. เช่น ควสฺสํ (คฺ โ > อว + อสฺสํ = ควสฺสํ) โคและม้า. ในการทำตัวรูปด้วยสูตรนี้ บอกให้รู้ว่า อนุพันธ์ ไม่ถึงความเป็นตัวอย่างการใช้. [19]

๒๔. วณฺณปเรน สวณฺโณปิ
วณฺณสทฺโท ปโร เอตสฺมาติ วณฺณปโร, วณฺณปเรน รสฺสสเรน สวณฺโณปิ คยฺหติ สยญฺจ, อวณฺโณติ วุตฺเต อา-กาโรปิ คยฺหติ อ-กาโร จาติ วุตฺตํ โหติฯ เอวํ อิวณฺณุวณฺเณสุฯ
๒๔. วณฺณปเรน สวณฺโณปิ
แม้สวัณณะ (สระที่มีคู่เสียงของตน) ถูกถือเอาด้วยรัสสสระที่มีวัณณศัพท์เป็นศัพท์หลัง
วณฺณปร ศัพท์ ในสูตรนี้ มีวิเคราะห์ว่า
วณฺณสทฺโท ปโร เอตสฺมาติ วณฺณปโร
ศัพท์ว่า “วณฺณ” เป็นข้างหลังจากรัสสสระนี้ เหตุนั้น รัสสสระนี้ ชื่อว่า “วณฺณปร” รัสสสระที่มีคำว่าวัณณะเป็นศัพท์หลัง, (ปัญจมีพหุพพีหิสมาส)
แม้สวัณณะ (คืออาเป็นต้นที่เป็นคู่เสียงกับตน) และตัวรัสสะเองก็ถูกถือเอาด้วยรัสสสระที่มีวัณณศัพท์เป็นเบื้องหลัง, หมายความว่า เมื่อกล่าวถึงคำว่า “อวัณณะ” แม้อและอาก็ถูกกล่าวด้วย[20]. อิวัณณะและอุวัณณะ ก็มีนัยนี้.

๒๕. นฺตุวนฺตุมนฺตาวนฺตุตวนฺตุสมฺพนฺธี [21]
นฺตุอิติ วุตฺเต วนฺตุ, มนฺตุ, อาวนฺตุ, ตวนฺตูนํ สมฺพนฺธีภูโต นฺตุกาโร คยฺหติฯ
นฺตนฺตูนํ นฺโต โยมฺหิ ปฐเมฯ คุณวนฺโต, สติมนฺโต, ยาวนฺโต, ภุตฺตวนฺโตฯ
๒๕. นฺตุวนฺตุมนฺตาวนฺตุตวนฺตุสมฺพนฺธี
นฺตุ เป็นสัมพันธี คือ เป็นส่วนหนึ่งของ วนฺตุ มนฺตุ อาวนฺตุ และตวนฺตุ
เมื่อกล่าวคำว่า นฺตุ ให้หมายถึง นฺตุ อักษร ที่เป็นส่วนหนึ่งของ วนฺตุ มนฺตุ อาวนฺตุ และตวนฺตุ. เช่น
สูตรว่า นตนฺตุนํ นฺโต โยมฺหิ ปฐเม.
เมื่อลง โย ปฐมาวิภัตติ เอา นฺต และ นฺตุ พร้อมกับวิภัตติเป็น นฺโต บ้าง เช่น  คุณวนฺโต, สติมนฺโต, ยาวนฺโต ภุตฺตวนฺโต.

สงฺเกตราสิ นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มคำศัพท์ใช้กำหนดในสูตร จบ




[1] คำศัพท์และอักษรอนุพันธ์ที่แสดงในกลุ่มนี้ คัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์ใช้เป็นศัพท์ที่กำหนดวิธีการต่างๆ บ้าง ตำแหน่งที่มีวิธีการบ้าง คือ  เป็นแนวทาง เรียกว่า เครื่องสังเกต หรือ สำหรับหมายรู้กันในหมู่นักศึกษาคัมภีร์นี้เท่านั้น เพราะอักษรอนุพันธ์บางตัว เช่น ง ฏ ไม่มีใช้ในคัมภีร์อื่น.  อักษรอนุพันธ์ที่เป็นสาธารณะ เช่น ณ ร เป็นต้น ท่านก็ไม่ได้แสดงไว้ในกลุ่มนี้. 
[2] [จํ. ๑.๑.๖; ปา. ๑.๑.๗๒; วิธิพฺพิเสสนนฺตสฺส (พหูสุ)]
[3] กรณีนี้ ท่านใช้วิเสสนะ คือ อตุลยาธิกรณวิเสสนะ ที่ใช้วิภัตติต่างกัน คือ ฉัฏฐีวิภัตติ และ ตุลยาธิกรณวิเสสนะ ที่มีวิภัตติเดียวกัน คือคุณศัพท์ ของบทประธาน. ในที่นี้ คือ อาเอ (ประกอบกับอนุพันธ์ คือ ฏ เป็น ฏาเฏ) มีโยนํ เป็นอตุลยาธิกรณวิเสสนะ ดังนั้น อาเทสคืออาเอ จึงเป็นวิธีการของโยที่ถูกแปลงเป็นเอ กล่าวง่ายๆ ว่าสูตรนี้เป็นวิธีของใคร ให้สังเกตที่วิเสสนะ. แต่ในโมคคัลลานไวยากรณ์แสดงว่า วิธิพฺพิเสสนนฺตสฺสฯยํ วิเสสนํ, ตทนฺตสฺส วิธิ ญาตพฺโพ ‘‘อโต โยนํ ฏาเฏ’’ ,๔๑ นรานเรฯ ฯลฯ เป็นวิธีของอักษรที่สุดของวิเสสนะนั้น. กรณีนี้หมายถึงอักษรที่สุด เช่น นฺตุ ของ ตวนฺตุ ปัจจัยเป็นต้น.
[4] [รู. ๘ (ปิฏฺเฐ); จํ. ๑.๑.๗; ปา. ๑.๑.๖๖]
[5] [อป. เถร ๑.๑๒.๕๗]
[6] [จํ. ๑.๑.๘; ปา. ๑.๑.๖๗]
[7] [จํ. ๑.๑.๙; ปา. ๑.๑.๕๔]
[8] [ทิสฺสมาโน (มู)]
[9] [จํ. ๑.๑.๑๐; ปา. ๑.๑.๕๒]
[10] [จํ. ๑.๑.๑๑; ปา. ๑.๑.๕๓]
[11] [จํ. ๑.๑.๑๒; ปา. ๑.๑.๕๕; ฏานุพนฺธาเนกวณฺณา สพฺพสฺส (พหูสุ)]
[12] [จํ. ๑.๑.๑๓; ปา. ๑.๑.๔๖]
[13] [จํ. ๑.๑.๑๔; ปา. ๑.๑.๔๗]
[14] ในคัมภีร์โมคคัลลานะไม่ถือว่าธาตุมีหลายสระ ดังนั้นแม้ธาตุ คือ ปจฺ คมฺ ถือเป็นธาตุมีสระเดียวคือ อ ไม่ใช่มีสองสระ ซึ่งต่างจากที่ในคัมภีร์กัจจายนะที่แสดงว่า ธาตุมีสระหลายเสียงไว้ด้วยสูตรว่า อเนกสฺสรานํ ธาตฺวนฺตสฺส โลโป
[15] [จํ. ๑.๑.๑๖; ปา. ๑.๔.๒]
[16] [องฺคุตฺตรนิกาเย
[17] วิปฺปฏิเสธ มาจาก วิ = รหิต ปราศจาก และ ปฏิเสธ ขัดแย้ง  แปลว่า “ถ้าไม่ขัดแย้งกัน” หมายถึง ในอุทาหรณ์เดียวกันแต่อาจมีวิธีการทำมากกว่าหนึ่งอย่างที่ไม่ขัดแย้งกัน เพราะสามารถใช้ได้ทั้งคู่ ในกรณีนี้ ให้เลือกใช้วิธีของบทหลัง เพราะมีที่ใช้มากกว่า.  ในตัวอย่างที่ท่านให้ไว้นั้น คำว่า จตฺตาโร อิเม นี้สามารถเลือกใช้วิธีได้ ๒ อย่าง คือ ลบสระหน้าเป็น จตฺตาริเม ก็ได้ ลบ สระหลัง เป็น จตฺตาริเม ก็ได้ ตัวอย่างนี้เสมอกันด้วยกิจคือการลบ และในที่นั้นอาจใช้วิธีของการลบสระหน้าก็ได้ แต่ท่านเลือกวิธีการลบสระหลัง โดยมีเหตุผลว่า วิธีการที่เสนอภายหลังนี้มีใช้มากกว่า.
สูตรนี้อยู่ในสัญญาทิกัณฑ์ (๑/๒๒) ท่านยกตัวอย่างว่า กัตตามีบุรุษต่างกัน คือ ไม่ตรงกัน ให้ใช้กิริยาตัวหลัง เช่น โส จ ตฺวํ จ คจฺฉถ. เขาด้วย ท่านด้วย ย่อมไป, โส จ ตฺวํ จ อหํ จ คจฺฉามา. เขาด้วย ท่านด้วย ข้าพเจ้าด้วยย่อมไป. ในตัวอย่างนี้ เมื่อ โส และ ตฺวํ เป็นกัตตาของ คจฺฉ สามารถใช้วิภัตติ สิ และ ถ ได้ทั้งสอง ซึ่งเป็นส่วนที่ถือว่า ขัดแย้งกัน กรณีนี้ให้ใช้วิภัตติตัวหลังคือถ
ในคัมภีร์ปโยคสิทธิสูตรว่า วิปฺปฏิเสเธ (๑,๒๒.) อรรถาธิบายสูตรนี้ว่า
วิปฺปฏิเสเธ วิปฺปฏิเสธนํ=อญฺญมญฺญปฏิเสธนํ วิปฺปฏิเสโธฯ ปฐมมชฺฌิมปุริสานํ ทฺวินฺนํ เอกตฺถปสงฺเค มชฺฌิมปุริสพหุวจนํ ถปจฺจโยฯ โส จ ปจติ, ตฺวญฺจ ปจสิ, ตุมฺเห ปจถฯ ตุลฺยพลวิโรธิโน หิ วิปฺปฏิเสธา ปฐมมชฺฌิมอุตฺตมปุริสานํ ติณฺณํ เอกตฺถปสงฺเค อุตฺตมปุริสพหุวจนํ โหติ, โส จ ปจติ, ตฺวญฺจ ปจสิ, อหญฺจ ปจามิ มยํ ปจามาติ ภวติฯ
แปลว่า การปฏิเสธกันและกันชื่อว่า วิปฺปฏิเสธ. หมายความว่า เมื่อการถึงความมีเนื้อความเดียวกันแห่งสองบุรุษ คือ ปฐมบุรุษและมัชฌิมบุรุษ ให้ลง ถปัจจัย (ถวิภัตตินั่นแหละ) พหุวจนะฝ่ายมัชฌิมบุรุษ ดังนี้. โส จ (ปจติ), ตวญฺจ (ปจสิ), ตุมฺเห ปจถ. อนึ่ง เมื่อการถึงความมีเนื้อความเดียวกันแห่งบุรุษสามคือ ปฐมบุรุษ มัชฌิมบุรุษและอุตตมบุรุษ ให้ลงมวิภัตติพหุวจนะฝ่ายอุตตมบุรุษ เป็น โส จ (ปจติ), ตฺวญฺจ )ปจสิ), อหญฺจ (ปจามิ) มยํ ปจาม เพราะเป็นการปฏิเสธกันเองแห่งคู่ขัดแย้งที่มีกำลังเสมอกัน.
เมื่อเป็นเช่นนี้สูตรนี้จึงแปลว่า “เมื่อขัดแย้งกัน ให้ใช้วิธีหลัง”. สองตำรานี้ขัดแย้งกันหรือไม่? ตอบว่า ไม่ขัดแย้งกัน เพราะยังตั้งอยู่บนหลักการเดียวกันคือ กรณีที่สูตรใดแสดงไว้ถึงสองวิธีที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นการลบ อาเทส หรือลงวิภัตติเป็นต้นก็ตาม ในตัวอย่างเดียวกัน ให้ใช้วิธีการอย่างหลัง
[18] [จํ. ๑.๑.๕]
[19] อนุพันธ์ เป็นเพียงศัพท์ที่ผนวกเข้ามาเพื่อสังเกตวิธีการต่างๆ เช่น อาเทศ หรือ วุทธิ สระเท่านั้น ในตำรานี้กล่าวถึงตำแหน่งของอาเทศและอาคมของด้วยอนุพันธ์ต่างๆ ซึ่งอนุพันธ์ก็จะถูกลบไปโดยไม่ปรากฏในอุทาหรณ์อันเป็นผลของสูตรนั้น เช่น การแปลง โอ ของ โค เป็น อว ถูกแสดงด้วยคำว่า อวง ในสูตร.  ง คือ อนุพันธ์ที่มีอยู่ในอาเทสคืออว ที่ช่วยให้ทราบว่า อว นี้จะถูกลงแทนสระที่สุดของศัพท์นั้นๆที่ประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติ.
[20] สูตรนี้อธิบายคำว่า วัณณะ ที่หมายถึง สระที่เหมือนกับโดยฐาน ดังที่เคยศึกษาในคัมภีร์ปทรูปสิทธินั่นเอง. คำว่า วณฺณปร เป็นพหุพพีหิสมาสที่มีอัญญบทเป็นประธาน  เมื่อเป็นเช่นนี้  อัญญบท ได้แก่ รัสสสระ. หมายความว่า  วณฺณ ถ้าต่อท้ายสระใด สระนั้นก็คือ รัสสสระ.  อนึ่ง ด้วยคำว่า สวณฺโณปิ แสดงว่า ถึงสวัณณะ ก็ถูกถือเอาด้วยคำว่า วณฺณปร จึงได้ความหมายว่า คำว่า วณฺณปร หมายถึง ทั้งรัสสะ (ที่ถูกกล่าวด้วยคำว่า วณฺณปร) และทีฆะ (ที่ถูกกล่าวด้วยคำว่า สวณฺโณปิ) ปิศัพท์ ในคำว่า สวณฺโณปิ มีอรรถสัมปิณฑนะ คือ ประมวลการถูกถือเอาด้วยคำว่า  วณฺณปร นั้น.
[21] [นฺตุ วนฺตุมนฺตฺวาวนฺตุตวนฺตุ สมฺพนฺธี (พหูสุ)]

************
สมภพ สงวนพานิช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น