กลุ่มศัพท์ที่ลงปัจจัยในอิตถีลิงค์
๗๐. ลง อาปัจจัย
ในอิตถีลิงค์ ท้ายนามศัพท์อการันต์
อิตฺถิยํ+อโต+อาติ
เฉโทฯ อการนฺตนามมฺหา อิตฺถิยํ อาปจฺจโย โหติฯ
สูตรนี้ตัดบทเป็น
อิตฺถิยํ + อโต + อา. ความหมายคือ อาปัจจัย ย่อมลง ในอิตถีลิงค์
ท้ายนามศัพท์ที่เป็นอการันต์.
อภาสิตปุเมหิ
เกหิจิ สญฺญาสทฺเทหิ นิจฺจํ –
กญฺญา, ปญฺญา, สญฺญา, นาวา,
สาลา, ตณฺหา,
อิจฺฉา, ภิกฺขา, สิกฺขา, คีวา, ชิวฺหา, วีสา, ติํสา, จตฺตาลีสา,
ปญฺญาสา อิจฺจาทิฯ
ท้ายสัญญาศัพท์บางศัพท์
ซึ่งไม่เคยกล่าว (หรือใช้ใน) ปุงลิงค์ ลงอาปัจจัยแน่นอน เช่น
กญฺญา = หญิงสาว, ปญฺญา = ปัญญา,
สญฺญา = สัญญา, นาวา = เรือ, สาลา =
โรง, ตณฺหา
= ความอยาก, อิจฺฉา = ความปรารถนา, ภิกฺขา =
อาหาร, สิกฺขา = ข้อปฏิบัติ, คีวา =
คอ, ชิวฺหา
= ลิ้น, วีสา = ยี่สิบ, ติํสา = สามสิบ, จตฺตาลีสา
= สี่สิบ, ปญฺญาสา = ห้าสิบ.[2]
ภาสิตปุเมหิปิ
สพฺพนาเมหิ ตพฺพา,
นีย, ตปจฺจยนฺเตหิ จ นิจฺจํ –
สพฺพา, กตรา, กตมา, อนุภวิตพฺพา,
อนุภวนียา, คตา, ชาตา,
ภูตา, หูตา อิจฺจาทิฯ
ถึงที่เป็นสัพพนาม
บทที่ลงตพฺพ อนีย และ ตปัจจัย แม้จะเคยใช้ในปุงลิงค์ ก็ลงอาปัจจัยแน่นอนเหมือนกัน
เช่น
สพฺพา =
ทั้งหมด, กตรา = พวกไหน, กตมา = พวกไหน, อนุภวิตพฺพา, อนุภวนียา = พึงเสวย, คตา
= ไปแล้ว, ชาตา = เกิดแล้ว, ภูตา =
เป็นแล้ว, หูตา = เป็นแล้ว.
กลฺยาณา, กลฺยาณี, สุนฺทรา, สุนฺทรี,
โสภณา, โสภณี, กุมฺภการา,
กุมฺภการี, กุมฺภการินี, อตฺถกามา, อตฺถกามี, อตฺถกามินี,
ปริพฺพาชิกา, ปริพฺพาชิกินี, เอกากา, เอกากินี, ทีปนา,
ทีปนี อิจฺจาทิฯ
กรณีที่เป็นศัพท์อื่นจากนี้
ไม่จำต้องลงอาปัจจัยเสมอไป [3] เช่น
กลฺยาณา, กลฺยาณี = หญิงงาม, สุนฺทรา, สุนฺทรี = หญิงงาม , โสภณา, โสภณี = หญิงงาม, กุมฺภการา,
กุมฺภการี, กุมฺภการินี = ช่างปั้นหม้อหญิง, อตฺถกามา,
อตฺถกามี, อตฺถกามินี = หญิงผู้ต้องการประโยชน์, ปริพฺพาชิกา, ปริพฺพาชิกินี = นางปริพพาชก, เอกากา,
เอกากินี =
หญิงคนเดียว, ทีปนา, ทีปนี = ตำราที่ิอธิบายความหมาย
สุตฺตวิภตฺเตน
สมาเส มาตุ,
ธีตุ อิจฺจาทีหิ อาปจฺจโย โหติฯ นนฺทมาตา, อุตฺตรมาตา,
เทวธีตา, ราชธีตา, อสฺสมณี
โหติ อสกฺยธีตรา อิจฺจาทิฯ
มีการลงอาปัจจยท้ายมาตุ
ธีตุเป็นต้น ที่เป็นบทสมาสได้ โดยการแบ่งสูตร[4] เช่น
นนฺทมาตา
มารดาของท่านพระนันทะ,
อุตฺตรมาตา มารดาของท่านพระอุตตระ,
เทวธีตา เทพธิดา (บุตรีของเทวดา),
ราชธีตา พระราชธิดา, อสฺสมณี โหติ อสกฺยธีตรา ภิกษุนีรูปนี้
ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นธิดาของพระสักยมุนี.
เอตฺถ จ
‘อิตฺถิย’นฺติ กตฺถจิ สทฺทมตฺตสฺส วา, กตฺถจิ อตฺถมตฺตสฺส วา อิตฺถิภาเว โชเตตพฺเพติ อตฺโถฯ เอวญฺจ สติ
อิตฺถิปจฺจยาปิ สฺยาทโย วิย โชตกมตฺตา เอว โหนฺติ, น วาจกาติ
สิทฺธํ โหติฯ
คำว่า “อิตฺถิยํ
ในอิตถีลิงค์” ในสูตรนี้ บ่งความว่า ในบางแห่ง (ลงอาปัจจัย)
ในความเป็นเพียงอิตถีลิงค์ของศัพท์ หรือ ของเนื้อความ ที่ตนจะเปิดเผยเท่านั้น.
เมื่อเป็นเช่นนี้แสดงว่า อิตถีปัจจัยทั้งหลายเป็นเพียงโชตกศัพท์
(ศัพท์ที่ส่องให้ปรากฏ) เช่นเดียวกับวิภัตติทั้งหลายมีสิเป็นต้น,
มิได้เป็นวาจกศัพท์ (ศัพท์ที่กล่าวเนื้อความ ว่าเป็นกรรมหรือกรณะเป็นต้น).
*********
ลงอีปัจจัย ท้าย
นท ศัพท์เป็นต้น.
นทาทีหิ
อิตฺถิยํ ฏีโหติฯ งานุพนฺโธ ‘นฺตนฺตูนํ งีมฺหิ โต วา’ติ เอตฺถ วิเสสนตฺโถฯ
ลง
อีปัจจัยท้ายนทศัพท์เป็นต้น ที่เป็นไปในอิตถีลิงค์. ในสูตรนี้ว่า “นตนฺตูนํ
วีมฺหิ โต วา ในเพราะ อี ใช้ ต แทน นฺต และ นฺตุ ได้บ้าง” งอนุพันธ์
มีความหมายพิเศษขึ้น[6]”.
นที, มหี, อิตฺถี, กุมารี, ตรุณี, วาเสฏฺฐี, โคตมี,
กจฺจานี, กจฺจายนี, มาณวี,
สามเณรี, นาวิกี, ปญฺจมี,
ฉฏฺฐี, จตุทฺทสี, ปญฺจทสี,
สหสฺสี, ทสสหสฺสี, สตสหสฺสี,
กุมฺภการี, มาลการี, จกฺขุกรณี,
ญาณกรณี, ธมฺมทีปนี อิจฺจาทิฯ
ตัวอย่างเช่น
นที แม่น้ำ, มหี แผ่นดิน, อิตฺถี ผู้หญิง, กุมารี
เด็กหญิง, ตรุณี หญิงสาว,
วาเสฏฺฐี นางวาเสฏฐี, โคตมี นางโคตมี, กจฺจานี
นางกัจจานี (บุตรีนางกัจจา), กจฺจายนี
นางกัจจายนี (บุตรีนางกัจจา), มาณวี
ผู้หญิง, สามเณรี สามเณรี,
นาวิกี นายเรือหญิง, ปญฺจมี ที่ห้า, ฉฏฺฐี ที่หก, จตุทฺทสี
ที่สิบสี่, ปญฺจทสี ที่สิบห้า,
สหสฺสี ที่หนึ่งพัน, ทสสหสฺสี ที่หนึ่งหมื่น, สตสหสฺสี ที่หนึ่งแสน, กุมฺภการี ช่างหม้อหญิง, มาลการี
ช่างดอกไม้สตรี, จกฺขุกรณี
ธรรมสร้างจักษุ, ญาณกรณี
ธรรมสร้างปัญญา , ธมฺมทีปนี
ตำราแสดงธรรม.
***********************
เพราะ อีปัจจัย
ใช้ ต แทนนฺต และ นฺตุ ได้บ้าง.
นฺต, นฺตูนํ โต โหติ วา งีมฺหิ ปเรฯ
คจฺฉตี, คจฺฉนฺตี, สตี, สนฺตี, ภวิสฺสตี, ภวิสฺสนฺตี, คุณวตี,
คุณวนฺตี, สติมตี, สติมนฺตี,
สพฺพาวตี, สพฺพาวนฺตี, ยาวตี,
ยาวนฺตี, ตาวตี, ตาวนฺตี,
ภุตฺตวตี, ภุตฺตวนฺตีฯ
ในเพราะ
อีปัจจัยอยู่เบื้องหลัง นฺต และ นฺตุ ใช้ ต แทน ได้บ้าง. เช่น
คจฺฉตี, คจฺฉนฺตี หญิง ไป, สตี, สนฺตี หญิง มีอยู่, ภวิสฺสตี,
ภวิสฺสนฺตี วิภัตติที่มีในกิริยาที่จักมี,
คุณวตี, คุณวนฺตี หญิงมีคุณ, สติมตี, สติมนฺตี
หญิงมีสติ, สพฺพาวตี, สพฺพาวนฺตี หญิงมีสรรพสิ่ง, ยาวตี, ยาวนฺตี หญิงเท่าใดที่มี, ตาวตี, ตาวนฺตี หญิงเท่านั้นที่มี, ภุตฺตวตี, ภุตฺตวนฺตี
หญิงรับประทานแล้ว
**********************
ลง อี ปัจจัย
ท้าย โคศัพท์ ได้บ้าง
ลงอี ปัจจัย
ท้ายโคศัพท์ ได้บ้าง
คาวีฯ
คาวี แม่โค
วาติ
กิํ?
โค กาณา ปริยนฺตจารินีติ ปาฬิฯ ตตฺถ กาณาติ อนฺธาฯ
วา ศัพท์
ที่หมายถึง ได้บ้าง มีประโยชน์ในการห้ามการลง อีปัจจัยได้ เช่น พระบาฬีนี้
โค กาณา
ปริยนฺตจารินี แม่โคตาบอด วิ่งพล่านไปรอบๆ. กาณา คือ อนฺธา หมายถึง บอด.
๗๔. ลง อี และ
อินี ปัจจัย ท้ายนามศัพท์อการันต์มียกฺขศัพท์เป็นต้น ในอิตถีลิงค์.
ยกฺขาทีหิ
อการนฺเตหิ อิตฺถิยํ วี จ โหติ อินี จฯ
ลง อี และ อินี
ปัจจัย ท้ายนามศัพท์อการันต์ มียกฺขศัพท์เป็นต้น ในอิตถีลิงค์.
ยกฺขี, ยกฺขินี, นาคี, นาคินี,
มหิํสี, มหิํสินี, มิคี,
มิคินี, สีหี, สีหินี,
ทีปี, ทีปินี, พฺยคฺฆี,
พฺยคฺฆินี, กากี, กากินี,
กโปตี, กโปตินี, มานุสี,
มานุสินี อิจฺจาทิฯ
ตัวอย่าง
ยกฺขี, ยกฺขินี = นางยักษ์.
นาคี, นาคินี = งูตัวเมีย. มหิํสี, มหิํสินี = ควายตัวเมีย. มิคี,
มิคินี = กวางตัวเมีย. สีหี, สีหินี = สิงโตตัวเมีย. ทีปี, ทีปินี = เสือเหลืองตัวเมีย.
พฺยคฺฆี, พฺยคฺฆินี = เสือโคร่งตัวเมีย.
กากี, กากินี = กาตัวเมีย. กโปตี, กโปตินี = นกพิราบตัวเมีย. มานุสี, มานุสินี = หญิงมนุษย์.
******
ลง อินี ปัจจัย
ท้ายอารามิกศัพท์เป็นต้น ในอิตถีลิงค์.
อารามิกาทีหิ
อการนฺเตหิ อิตฺถิยํ อินี โหติฯ
อารามิกินี, อนฺตรายิกินี, นาวิกินี, โอลุมฺพิกินี,
ปํสุกูลิกินี, ปริพฺพาชิกินี, ราชินี, เอกากินี อิจฺจาทิฯ
ท้ายนามศัพท์อการันต์
มีอารามิกศัพท์เป็นต้น ลง อินีปัจจัยในอิตถีลิงค์ เช่น
นาวิกินี
นายเรือหญิง,
โอลุมฺพิกินี สตรีผู้มีปกติยึดเหนี่ยว
ปํสุกูลิกินี ภิกษุนีผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร,
ปริพฺพาชิกินี นางปริพพาชก,
เอกากินี
หญิงผู้อยู่คนเดียว (หญิงโสด)
สญฺญายํ
–
มานุสินี
มานุสา วา,
อญฺญตฺร มานุสี สมฺปตฺติฯ
อินีปัจจัย
ลงในสัญญาศัพท์ ศัพท์ที่ใช้เป็นชื่อ เช่น
มานุสินี,
มานุสา นกชนิดหนึ่ง มีร่างกายเป็นมนุษย์ มีปีกสวยงาม
๗๖.
ศัพท์ที่มีนีปัจจัยเป็นที่สุด ฆรณีเป็นต้น ใช้ในอิตถีลิงค์
ฆรณีอิจฺจาทโย
อิตฺถิยํ นีปจฺจยนฺตา สิชฺฌนฺติฯ
ศัพท์ที่มีนีปัจจัยเป็นที่สุด
เช่น ฆรณี ให้ใช้ในอิตถีลิงค์.
ฆรณี, เวตฺรณี, โปกฺขรณี-เอสุ นสฺส ณตฺตํฯ อาจรินี ยโลโป,
อาจริยา วาฯ
เช่น ฆรณี
หญิงแม่เรือน[16], เวตรณี
แม่น้ำเวตรณี, โปกขรณี สระบัว.
สามศัพท์เหล่านี้แปลง
น เป็น ณ.
อาจรินี
อาจารย์หญิง รูปนี้ลบ ย. (นอกจากนี้) รูปว่า อาจริยา ก็มี[17]
************************
๗๗. มาตุลาทิตฺวานี ภริยายํ
[18]ฯ
หนปลายมาตุลศัพท์เป็นต้น
ลง อานีปัจจัยในความหมายว่าเป็นภริยา.
มาตุลาทีหิ
อการนฺเตหิ ภริยายํ อานี โหติฯ
มาตุภาตา
มาตุโล,
ตสฺส ภริยา มาตุลานี, เอวํ วรุณานี, คหปตานี, อาจริยานี, ขตฺติยานีฯ
ใช้อานีปัจจัยในความหมายว่า
ภริยา ลงท้ายนามศัพท์อการันต์ มีมาตุล เป็นต้น
ตัวอย่าง
มาตุลานี,
ศัพท์นี้มาจาก มาตุ + ล ปัจจัย (=ภาตุ) วิเคราะห์ว่า พี่ชายของมารดา
ชื่อว่า มาตุล (ลุง), ภรรยาของพี่ชายของมารดานั้น ชื่อว่า มาตุลานี (ป้าสะใภ้)
วรุณานี
พระชายาของท้าววรุณ, คหปตานี ภรรยาคฤหบดี,
อาจริยานี ภรรยาของอาจารย์,
ขตฺติยานี พระชายาของกษัตริย์.
‘พหุลา’ธิการา ขตฺติยี ขตฺติยา จฯ
เพราะการตามมาของ
“พหุล” ศัพท์ (โดยมาก) ดังนั้น จึงมีรูปว่า ขตฺติยี และ ขตฺติยา (นอกจาก ขตฺติยานี
พระชายาของกษัตริย์).
********************************
๗๘.
ลงนีปัจจัยท้ายศัพท์ที่มีอิวัณณะและอุวัณณะเป็นที่สุด ในอิตถีลิงค์.
อิวณฺณนฺเตหิ
อุวณฺณนฺเตหิ จ อิตฺถิยํ นี โหติฯ
ท้ายศัพท์ที่มีอิวัณณะ
(อิ อี) และ อุวัณณะ (อุ อู) เป็นที่สุด ลง อินี ในอิตถีลิงค์.
ฉตฺตปาณินี, ทณฺฑปาณินี, ทณฺฑินี, ฉตฺตินี,
หตฺถินี, มาลินี, มายาวินี,
เมธาวินี, ปิยปสํสินี, พฺรหฺมจารินี,
ภยทสฺสาวินี, อตฺถกามินี, หิตจารินี, ภิกฺขุนี, ขตฺติยพนฺธุนี,
ปฏุนี, ปรจิตฺตวิทุนี, มตฺตญฺญุนี,
อตฺถญฺญุนี, ธมฺมญฺญุนี อิจฺจาทิฯ
เช่น
ฉตฺตปาณินี หญิงมีร่มในมือ
(ถือร่มมา),
ทณฺฑปาณินี
หญิงมีไม้เท้าในมือ (ถือไม้เท้ามา) ,
ทณฺฑินี หญิงถือไม้เท้า,
ฉตฺตินี
หญิงมีร่ม,
หตฺถินี ช้างพัง,
มาลินี
หญิงมีดอกไม้,
มายาวินี
หญิงมีมายา,
เมธาวินี สตรีมีปัญญา,
ปิยปสํสินี
สตรีผู้ได้การสรรเสริญจากคนรัก,
พฺรหฺมจารินี
หญิงพรหมจรรย์,
ภยทสฺสาวินี
สตรีผู้เห็นภัยเป็นนิตย์,
อตฺถกามินี
หญิงผู้หวังประโยชน์,
หิตจารินี
หญิงผู้ประพฤติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล,
ภิกฺขุนี
ภิกษุนี,
ขตฺติยพนฺธุนี
เชื้อพระวงศ์หญิง (ผู้สืบเชื้อสายกษัตริย์),
ปฏุนี
สตรีผู้ฉลาด,
ปรจิตฺตวิทุนี
สตรีผู้ล่วงรู้จิตของผู้อื่น,
มตฺตญฺญุนี
สตรีผู้ทราบความพอเพียง,
อตฺถญฺญุนี
หญิงผู้รู้จักประโยชน์,
ธมฺมญฺญุนี
หญิงผู้รู้จักธรรม.
(หรือ อตฺถญฺญุนี
หญิงผู้รู้เหตุ ธมฺมญฺญุนี หญิงผู้รู้ผล)
๗๙ ลง นีปัจจัย ท้ายบทอัญญัตถสมาส
ที่มีติปัจจัยเป็นที่สุด ในอิตถีลิงค์
อญฺญปทตฺถสมาเส
ติปจฺจยนฺตมฺหา อิตฺถิยํ นี โหติฯ
นีปัจจัยลงท้ายบทที่มีติปัจจัยเป็นที่สุดในอัญญปทัตถสมาส
(พหุพีหิสมาส) ในอิตถีลิงค์.
อหิํสารตินี, ธมฺมรตินี, วจฺฉคิทฺธินี, ปุตฺตคิทฺธินี,
มุฏฺฐสฺสตินี, มิจฺฉาทิฏฺฐินี, สมฺมาทิฏฺฐินี, อตฺตคุตฺตินี อิจฺจาทิฯ
เช่น
อหิํสารตินี
หญิงผู้มีความยินดีในการไม่เบียดเบียน,
ธมฺมรตินี
หญิงผู้มีความยินดีในธรรม,
วจฺฉคิทฺธินี
หญิงผู้มีความรักในลูกวัว,
ปุตฺตคิทฺธินี
หญิงผู้มีความรักในบุตร,
มุฏฺฐสฺสตินี
หญิงผู้มีสติหลงลืมแล้ว,
มิจฺฉาทิฏฺฐินี
หญิงผู้มีความเห็นผิด,
สมฺมาทิฏฺฐินี
หญิงผู้มีความเห็นถูก,
อตฺตคุตฺตินี
หญิงผู้มีตนอันคุ้มครองแล้ว
อญฺญตฺเถติ
กิํ?
ธมฺเม รติ ธมฺมรติฯ
คำว่า
ในอัญญัตถสมาส แสดงว่า ในสมาสชนิดอื่น ไม่ลง นี ปัจจัย เช่น ธมฺเม รติ ธมฺมรติ
สตรี ผู้ยินดีในธรรม ชื่อว่า ธัมมรติ.
๘๐. ลง ติ
ปัจจัยท้าย ยุวศัพท์ ในอิตถีลิงค์.
ยุวโต
อิตฺถิยนฺติ โหติฯ
ท้ายยุวศัพท์
ลงติปัจจัย ในอิตถีลิงค์
ยุวติฯ
ยุวติ
หญิงรุ่นสาว
เอตฺถ จ
‘ติ’ อิติ สุตฺตวิภตฺเตน วีส, ติํสโตปิติ
โหติ วาฯ วีสติ, วีสํ, ติํสติ, ติํสํฯ
ด้วยการแบ่งสูตรว่า
“ติ” ในสูตรนี้, สามารถลง ติ ปัจจัยท้าย วีส ติํส ศัพท์ ได้เช่นกัน เป็น วีสติ,
วีสํ ยี่สิบ, ติํสติ ติํสํ สามสิบ.
๘๑. อุปมา สํหิต สหิต สญฺญต
สห สผ วามลกฺขณาทิตูรุตฺวู [20]ฯ
๘๑. ลง อูปัจจัย
ท้าย อูรุศัพท์ที่มีศัพท์ต่อไปนี้ คือ คำศัพท์ที่เป็นอุปมา สํหิต สหิต สญฺญต สห สผ
วาม ลกฺขณ เป็นต้น เป็นบทหน้า ในอิตถีลิงค์.
ลกฺขณาทิโต+อูรุโต+อูติ
เฉโทฯ
สูตรนี้ตัดบทเป็น
ลกฺขณาทิโต – อูรุโต – อู
อญฺญปทตฺถสมาเส
อุปมาทิปุพฺพา อูรุสทฺทมฺหา อิตฺถิยํ อู โหติฯ
อูปัจจัยลงท้ายอูรุศัพท์ที่มีศัพท์อุปมาเป็นต้นเป็นบทหน้าในอัญญปทัตถสมาส
ในอิตถีลิงค์.
นาคสฺส
นาสา วิย อูรู ยสฺสาติ นาคนาสูรู, สํหิตา สมฺพนฺธา อูรู ยสฺสาติ
สํหิโตรู, สหิตา เอกพทฺธา อูรู ยสฺสาติ สหิโตรู, สญฺญตา อโลลา อูรู ยสฺสาติ สญฺญโตรู, อูรุยา
[อูรุนา?] สห วตฺตตีติ สโหรู, สโผ วุจฺจติ ขุโร, สํสิลิฏฺฐตาย สผภูตา อูรู ยสฺสาติ
สโผรู, วามา สุนฺทรา อูรู ยสฺสาติ วาโมรู, ลกฺขณสมฺปนฺนา อูรู ยสฺสาติ ลกฺขโณรูฯ
ตัวอย่าง
นาคนาสูรู
(นาคนาส + อูรุ + อู) สตรีมีต้นขาเหมือนงวงช้าง
นาคสฺส
นาสา วิย อูรู ยสฺสาติ นาคนาสูรู
ต้นขาของหญิงใด
เหมือนกับ งวงของช้าง หญิงนั้น ชื่อว่า นาคนาสูรู.
สํหิโตรูู
(สํหิตา + อูรุ + อู) สตรีมีต้นขาแนบชิดกัน. (ขาไม่โก่ง)
สํหิตา
สมฺพนฺธา อูรู ยสฺสาติ สํหิโตรู,
ต้นขาของหญิงใด
แนบติดกัน เหตุนั้น หญิงนั้น ชื่อว่า สํหิโตรู.
สหิโตรู (สหิต +
อูรุ + อู) สตรีมีต้นขาเนื่องเป็นอันเดียวกัน (ไม่แบะ)
สหิตา
เอกพทฺธา อูรู ยสฺสาติ สหิโตรู,
ต้นขาของสตรีใด
เป็นท่อนเดียวกัน สตรีนั้น ชื่อว่า สหิโตรู[21]
สญฺญโตรู (สญฺญต
+ อูรุ + อู) สตรีมีต้นขากลมกลึง
สญฺญตา
อโลลา อูรู ยสฺสาติ สญฺญโตรู,
หญิงผู้มีต้นขา
กลม คือ ไม่บิดเบี้ยว ชื่อว่า สญฺญโตรู.[22]
สโหรู คือ
หญิงเป็นไปกับด้วยต้นขา (มีต้นขางาม)
อูรุยา [อูรุนา?] สห วตฺตตีติ สโหรู,
หญิงที่เป็นไปกับด้วยต้นขา
ชื่อว่า สโหรู.
สโผรู
สตรีมีต้นขาเป็นกีบม้า
สโผ วุจฺจติ
ขุโร,
สํสิลิฏฺฐตาย สผภูตา อูรู ยสฺสาติ สโผรู,
ขุร เรียกว่า สผ
ในที่นี้ (กีบม้า). หญิงผู้มีช่วงขาเป็นกีบม้า เพราะติดกัน ชื่อ สโผรู.
วาโมรู (วาม +
อูรุ + อู) หญิงมีช่วงขาสวยงาม
วามา
สุนฺทรา อูรู ยสฺสาติ วาโมรู,
หญิงผู้มีช่วงขาสวยงาม
ชื่อว่า วาโมรู.
ลกฺขโณรู (ลกฺขณ
+ อูรุ + อู) หญิงผู้มีช่วงขาสมบูรณ์แบบ
ลกฺขณสมฺปนฺนา
อูรู ยสฺสาติ ลกฺขโณรูฯ
หญิงผู้มีช่วงขาอันถึงพร้อมแล้วด้วยลักษณะ
ชื่อว่า ลกฺขโณรู.
สุตฺตวิภตฺเตน
พฺรหฺมพนฺธูติ สิชฺฌติฯ
อุทาหรณ์ว่า
พฺรหฺมพนฺธู ผู้เป็นเผ่าพันธ์แห่งพรหม (พราหมณ์) ย่อมมี ด้วยการแบ่งสูตร (ว่า
“อู”)
‘‘สเจ มํ นาคนาสูรู, โอโลเกยฺย ปภาวตี’’ติ [ชา. ๒.๒๐.๑๔] จ ‘‘เอกา
ตุวํ ติฏฺฐสิ สหิตูรู’’ติ [ชา. ๑.๑๖.๒๙๗]
จ ‘‘สญฺญตูรู มหามายา, กุมาริ
จารุทสฺสนา’’ติ [ชา. ๒.๑๗.๑๐๙] จ ‘‘วาโมรู สช มํ ภทฺเท’’ติ [ที.
นิ. ๒.๓๔๘] จ ‘‘การณํ นปฺปชานามิ, สมฺมตฺโต
ลกฺขณูรุยา’’ติ [ที. นิ. ๒.๓๔๘] จ ‘‘คารยฺหสฺสํ พฺรหฺมพนฺธุยา’’ติ [ชา. ๒.๒๒.๒๑๐๙] จ ปาฬิปทานิ ทิสฺสนฺติฯ
‘‘สเจ มํ นาคนาสูรู, โอโลเกยฺย ปภาวตี’’ติ [ชา. ๒.๒๐.๑๔] จ
หากว่า
นางปภาวดีมีช่วงขางดงามพึงแลดูเรา
‘‘เอกา ตุวํ ติฏฺฐสิ สหิตูรู’’ติ [ชา. ๑.๑๖.๒๙๗]
หล่อน
ผู้โดดเดี่ยว มีขาอ่อนงดงาม จงหยุดก่อนเถิด.
‘‘สญฺญตูรู มหามายา, กุมาริ จารุทสฺสนา’’ติ [ชา. ๒.๑๗.๑๐๙]
ดูก่อนหญิงน้อย
มีมายามาก มีขาอ่อนงดาม ปรากฏดังทอง
‘‘วาโมรู สช มํ ภทฺเท’’ติ [ที.
นิ. ๒.๓๔๘]
แม่นาง
ผู้มีช่วงขางดงาม จงกอดเราเถิด.
‘‘การณํ นปฺปชานามิ, สมฺมตฺโต ลกฺขณูรุยา’’ติ [ที. นิ. ๒.๓๔๘]
เรามึนเมาแล้ว
จึงไม่รู้จักเหตุการณ์ เพราะหล่อนผู้มีช่วงขางดงาม.
‘‘คารยฺหสฺสํ พฺรหฺมพนฺธุยา’’ติ [ชา. ๒.๒๒.๒๑๐๙] จ
ข้าพเจ้าจักถูกพราหมณ์
ตำหนิ
ตตฺถ ‘สชา’ติ อาลิงฺคาหิ, ‘คารยฺหสฺส’นฺติ
อหํ คารยฺโห ภเวยฺยํฯ
ในพระบาฬีเหล่านั้น
บทว่า สช
หมายถึง อาลิงฺคาหิ แปลว่า สวมกอด
บทว่า
คารยฺหสฺสํ หมายถึง อหํ คารยฺโห ภเวยฺยํ ข้าพเจ้า จักเป็นผู้อ้นพราหมณ์ตำหนิแล้ว.
**************************
(สรุปความเป็นอิตถีลิงค์ของศัพท์ต่างๆ)
เอตฺถ จ
ตาปจฺจยนฺตา สภาวอิตฺถิลิงฺคา เอว – ลหุตา, มุทุตา, คามตา, ชนตา, เทวตา อิจฺจาทิฯ
อนึ่ง
ในความเป็นอิตถีลิงค์นี้ ศัพท์ที่มีตาปัจจัยเป็นที่สุด เป็นอิตถีลิงค์โดยสภาพ
(อัตถลิงค์) เช่น
ลหุตา ความเบา
มุทุตา ความอ่อน คามตา หมู่บ้าน ชนตา ประชุมชน เทวตา เทวดา
ตถา
ติปจฺจยนฺตา –
คติ, มติ, รตฺติ,
สติ, ตุฏฺฐิ, ทิฏฺฐิ,
อิทฺธิ, สิทฺธิ อิจฺจาทิ, ตถา ยาคุ, ธาตุ, เธนุ, กณฺฑุ, กจฺฉุ, มาตุ, ธีตุ, ทุหิตุ อิจฺจาทิ, ชมฺพู, วธู, จมู, สุตนู, สรพู อิจฺจาทิ จฯ
แม้ศัพท์ที่มีติปัจจัยเป็นที่สุด
ก็เป็นอิตถีลิงค์โดยสภาพเหมือนกัน เช่น
คติ ที่ไป, มติ ความรู้, รตฺติ ราตรี, สติ
สติ, ตุฏฺฐิ ความยินดี, ทิฏฺฐิ
ความเห็นผิด, อิทฺธิ ความสำเร็จ, สิทฺธิ
ความสำเร็จ,
ที่เป็น
(อุการันต์) ก็เหมือนกัน เช่น
ยาคุ ข้าวต้ม, ธาตุ ธาตุ, เธนุ แม่โค, กณฺฑุ โรคผิวหนัง
ผื่นค้น, กจฺฉุ อ้อย, มาตุ มารดา,
ธีตุ ธิดา, ทุหิตุ หนทางมีอันตราย
ที่เป็น
อูการันต์ เช่น
ชมฺพู ผลหว้า, วธู หญิงสาว, จมู ทหาร, สุตนู,
สรพู ตุ๊กแก
สกฺกตคนฺเถสุ
ปน สุตนู,
สรพู อิจฺจาทีสุปิ อูปจฺจยํ วิทหนฺติฯ
อนึ่ง
แม้ในอุทาหรณ์เหล่านี้ คือ สุตนู และ สรพู เป็นต้น ในตำราฝ่ายสันสกฤตถือว่า
ลงอูปัจจัย.
ตตฺถ
อิตฺถิลิงฺคภูตา สพฺเพ ‘อิวณฺณุวณฺณา ปิตฺถิย’นฺติ สุตฺเตน นิจฺจํ ปสญฺญา โหนฺติฯ ‘อากาโร จ ฆา’ติ สุตฺเตน นิจฺจํ ฆสญฺโญฯ
นามศัพท์ที่เป็นอิตถิลิงค์ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนั้น
(สำหรับที่เป็น อุ อู และ อิ อีการันต์) ให้ชื่อว่า ป เสมอ ด้วยสูตรว่า อิวณฺณุวณฺณา
ปิตฺถิยํ อิวัณณะและอุวัณณะ ในอิตถีลิงค์ ให้ชื่อว่า ป. (ส่วนที่เป็นอาการันต์)
ชื่อว่า ฆ เสมอ ด้วยสูตรว่า อากาโร จ ฆา และที่เป็น อาการันต์ ให้ชื่อว่า ฆ
อิตฺถิปจฺจยราสิ
นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มปัจจัยลงท้ายนามศัพท์ในอิตถีลิงค์
จบแล้ว
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช
[1] [ก. ๒๓๗; รู. ๑๗๖; นี. ๔๖๖;
จํ. ๒.๓.๑๕; ปา. ๔.๑.๔]
[2] สัญญาศัพท์
หมายถึง ชื่อเฉพาะที่นิยมใช้เรียกกันทางโลก ไม่ได้สำเร็จจากธาตุปัจจัยอะไร
เป็นศัพท์จำพวกรุฬหี หรือเรียกว่า อนิปผันนปาฏิปทิกะ. ในที่นี้ หมายถึง สัญญาศัพท์
บางศัพท์ที่ใช้เป็นอิตถีลิงค์อย่างเดียว
และจะต้องไม่ใช่เป็นคำที่สามารถนำมาใช้ในปุงลิงค์. ด้วยคำนี้ แสดงว่า
ศัพท์เหล่านี้ ใช้เป็นชื่อเรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น กญฺญ แล้วลง อา กลายรูปเป็น
กญฺญา ความหมาย คือ ผู้หญิง โดยมิต้องคำนึงถึงการสำเร็จรูปว่ามาจากธาตุและปัจจัยใด
คือ มิใช่มีความหมายตามศัพท์ว่า ผู้ยังชายให้รักใคร่. ปญฺญา คือ
สภาพธรรมที่เรียกว่า ปัญญา, มิใช่ใช้ในความหมายว่า
ความรอบรู้ในสังขารทั้งปวง ดังนี้เป็นต้น
จึงเป็นศัพท์อิตถีลิงค์ โดยการลงอาปัจจัยท้ายนามศัพท์เหล่านี้. แม้จำนวนนับ คือ วีสา เป็นต้น ก็มีรูปเดิมมาจาก
วีส และลง อาปัจจัยเพื่อเป็นอิตถีลิงค์เท่านั้น. กรณีนี้ถือเป็นอีกมติหนึ่ง
ที่ต่างไปจากวิธีการที่คัมภีร์กัจจายนะและปทรูปสิทธิแสดงไว้ ซึ่งผู้สนใจดูวิธีการลงอาปัจจัยเหล่านี้ได้ในคัมภีร์ปทรูปสิทธิสูตรที่
๔๑๓. คณเน ทสสฺส ทฺวิติ จตุ ปญฺจ ฉ สตฺต
อฏฺฐนวกานํ วีติ จตฺตาร ปญฺญา ฉ สตฺตาส นวา โยสุ โยนญฺจี สมาสํ ฐิริ ตีตุติ, และ๔๑๔ ติ จ ฯ
ที่แสดงกระบวนการสำเร็จรูปตามระบบไวยากรณ์ภาษาบาฬีอย่างมีขั้นตอน.
[3] กรณีนี้
ไม่จำเป็นต้องลง อาปัจจัยอย่างเดียว อาจลงอิตถีปัจจัยอื่นเช่น อี หรือ อีนี
ได้อีก. ด้วยคำนี้แสดงว่า ลงอา
ปัจจัยอย่างแน่นอนท้ายสัญญาศัพท์บางกลุ่มที่ไม่อาจนำมาใช้ในปุงลิงค์ได้, ท้ายสัพพนาม และบทลงตพฺพ อนีย และตปัจจัย แต่เป็นศัพท์ที่ามารถนำมาใช้ในปุงลิงค์ได้
กล่าวคือ เป็นวิเสสนะที่ต้องใช้ตามลิงค์ของวิเสสยะ. ส่วน อา อี อินี สามารถลงท้ายนามศัพท์อื่นๆ
ที่นอกจากสามกลุ่มดังกล่าว ไม่มีข้อกำหนด.
[4] โดยการแบ่งสูตรว่า
อิตฺถิยํ อา. หมายความว่า ให้ตัดนิมิตคือ อโต อา ท้ายอการันต์
เหลือแค่ อิตฺถิยํ อา ลง อาปัจจัยในอิตถีลิงค์ กล่าวคือ
ลงท้ายการันต์อื่นได้ แต่ในที่นี้หมายถึง อุการันต์ในสมาส.
[5] [ก. ๒๓๘; รู. ๑๘๗; นี. ๔๖๗;
นทาทิโต วี (พหูสุ)]
[6] ง
ในสูตรดังกล่าวมีหน้าที่เพิ่มขึ้นมาจากสูตรนี้ คือ นอกจากลง
อีปัจจัยท้ายนามศัพท์มีคจฺฉนฺตและคุณวนฺตุเป็นต้นในอิตถีลิงค์แล้ว ยังมีหน้าที่เป็นนิมิตให้แปลงเฉพาะ
นฺต และ นฺตุ ของ อนฺต และ วนฺตุ ปัจจัย. ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีมีอรรถวิเสสนะ
(วิเสสนตฺถ แต่คัมภีร์ปทสาธนะ กล่าวว่า ง เป็นศัพท์ให้สังเกต (สงฺเกตตฺถ) ในสูตร
“นฺตนฺตุนํฯ”).
[7] [ก. ๒๓๙, ๒๔๑; รู. ๑๙๐, ๑๙๑; นี. ๔๖๘, ๔๗๑]
[8] [ก. ๒๓๘; รู. ๑๘๗; นี. ๔๖๗]
[9] [ก. ๒๓๘, ๒๔๐; รู. ๒๘๗, ๑๙๓; นี. ๔๖๗, ๔๖๙; ยกฺขาทิตฺวินี จ (พหูสุ)]
[10] [ก. ๒๔๐; รู. ๑๙๓; นี. ๔๖๙]
[11] อารามิกินี
คัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกา หมายถึง ภริยาของอารามิกชน โดยให้ อินี มีอรรถภริยา
เหมือน อานี ปัจจัย แต่ในที่นี้แปลโดยความเป็นเพียงอิตถีโชตกปัจจัย.
[12] อนฺตรายิกินี
แปลตามรูปที่ปรากฏ แต่คัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกาเป็นต้นมีรูปเป็น อนนฺตรายิกินี
และอธิบายว่า นตฺถิ อนฺตรายิโก เอติสฺสา รญฺโญ ภริยาย. พระชายาของพระเจ้าแผ่นดิน
ผู้ทรงไม่มีธรรมสร้างอันตราย แต่ในพระบาฬีภิกขุนีวิภังค์ ๓/๒๒๗ หมายถึง นางภิกษุนีผู้ไม่มีอันตราย.
[13]ราชินี
คัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกา หมายถึง พระชายาของพระราชา โดยให้ อินี
ลงในอรรถภริยาของบุคคลนั้น เหมือน อานี ปัจจัย.
[14] มานุสินี,
มานุสา, มานุสี หมายถึง สมบัติอันเป็นของมนุษย์ แต่คัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกา
อธิบายว่า เป็นชื่อของนกชนิดหนึ่ง ที่มีร่างกายเป็นมนุษย์ (โมค.ปญฺ. ๒๖ สูตร
อารามิกาทีหิ.)
[15] ก.
๒๔๐; รู. ๑๙๓; นี. ๔๖๙
[16] คัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกา
อธิบายว่า ฆรณี มีรูปวิเคราะห์เป็นอัสสัตถตัทธิต ว่า ฆรํ เอติสฺสา อตฺถีติ
ฆรณี. หญิงผู้มีเรือน ชื่อว่า ฆรณี
หญิงแม่เรือน.
ลง อีปัจจัย
ท้าย ฆร ด้วยสูตร ทณฺฑาทิตฺวิกอี วาฯ (๔/๘๐). ท้าย ทณฺฑ เป็นต้น ลง อิก หรือ อี ปัจจัยในอรรถของมนฺตุปัจจัย ได้บ้าง
(ฆรี). เมื่อลง นี ด้วยสูตรนี้ (ฆรีนี) แปลง อี เป็น อ (ฆรฺ อี > อ = ฆรนี) ด้วยนิปาตนะว่า อีสฺสตฺตํ นี้ (อาศัยคำนี้เป็นเครื่องสำเร็จรูป), แปลง
น เป็น ณ ด้วยสูตร ตถนรานํ ฏฐณลา (๑/๕๒) แปลง ต ถ น และร เป็น ฎ ฐ ณ และ ล
ได้บ้าง (ฆรนฺ >
ณี = ฆรณี). แม้รูปว่า โปกฺขรณี สระมีบัว
ก็มีวิเคราะห์และสำเร็จรูปตามนี้.
[17]
กรณีนี้เป็นเพียงปัจจัยแสดงความเป็นอิตถีลิงค์.
โดย เมื่อลง นี ท้ายอาจริย เมื่อควรเป็น อาจริยนี แต่ลบ ย ด้วยคณสูตรว่า “อาจริยา
วา ยโลโป จ ลบ ย ท้าย อาจริยศัพท์ได้บ้าง” เป็น อาจรินี. รูปว่า อาจริยา ลง อา
ด้วยสูตร อิตฺถิยมตฺวา ลงอาท้ายนามศัพท์ อการันต์”
[18] [ก. ๙๘; รู. ๑๘๙; นี. ๒๖๑]
[19] [กฺติมฺหาญฺญตฺเต (พหูสุ), โมคฺคลฺลาเน ๓๑ สุตฺตงฺเก]
[20] [จํ. ๒.๓.๗๙; ปา. ๔.๑.๖๙, ๗๐ ตูรุตู
(พหูสุ)]
[21] อรรถกถาสัมพุลาชาดก
อธิบายว่า (- สํหิตูรูติ สมฺปิณฺฑิตูรุ อุตฺตมอูรุลกฺขเณฯ ชา.อ. ๑/๒๙๗
สัมพุลาชาดก) สมฺปิณฺฑิตูรุ หมายถึง มีต้นขาอวบอัด คือมีลักษณะของช่วงขาที่สวยงามยอดเยี่ยม
[22] อรรถกถาอลัมพุสาชาดก
อธิบายว่า สญฺญตูรูติ สุวฏฺฏิตฆนอูรุ สมฺปนฺนอูรุลกฺขณาฯ (ชา ๒/๑๑๙
อลัมพุสาชาดก) สญฺญตูรู หมายถึง หญิงที่มีต้นขาที่กลมกลึงสวยงาม คือ
มีลักษณะต้นขาที่สมบูรณ์แบบ.
[23]ข้อสังเกต
ศัพท์เหล่านี้ล้วนมีอรรถว่า งดงาม ดังที่อรรถกถาชาดกสรุปไว้ว่า
เป็นผู้ที่มีช่วงขาสมบูรณ์แบบ ดังนั้น พระบาฬีอ้างอิงอุทาหรณ์ จึงแปลโดยโวหารว่า
มีขาที่งดงาม แต่โดยสัททัตถนัย ดังได้แปลไว้ในอุทาหรณ์สูตรนี้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น