วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๘ : สนธิกัณฑ์ วุทธิราสิ

วุทฺธิราสิ
อถ วุทฺธิสนฺธิ ทีปิยเตฯ
๓๖. ยุวณฺณานเมโอ ลุตฺตา [ก. ๑๔; รู. ๑๖; นี. ๓๔]ฯ
ลุตฺตา ปุพฺพสรมฺหา วา ปรสรมฺหา วา เสสานํ อิวณฺณุวณฺณานํ กเมน เอ, โออาเทสา โหนฺติ วาฯ
ปรอิวณฺเณ
พนฺธุสฺเสว สมาคโม, อเตว เม อจฺฉริยํ [ชา. ๒.๒๒.๑๙๘๘], วาเตริตํ, ชิเนริตํฯ
ปรอุวณฺเณ
คงฺโคทกํ, ปตฺตํ โวทกํ กตฺวา [จูฬว. ๓๗๖], สงฺขฺยํ [สุ. นิ. ๗๕๔] โนเปติ เวทคู [มหานิ. ๖], อุทโกมิว ชาตํฯ
กฺริยาปเทสุ
เวติ, อเปติ, อุเปติ, อเปกฺขา, อุเปกฺขา อิจฺจาทิฯ
ปุพฺพอิวณฺเณ
รเถสโภ, ชเนสโภ, มุเนลโย อิจฺจาทิ- ตตฺถ รถีนํ อาสโภ เชฏฺฐโกติ รเถสโภ, รถีนนฺติ รถวนฺตานํ รถรุฬฺหานํ โยธานนฺติ อตฺโถฯ ชนีนํ อาสโภ ชเนสโภ, ชนีนนฺติ ชนวนฺตานํ อิสฺสรานํฯ มุนีนํ อาลโย วิหาโร มุเนลโยฯ
ปุพฺพอุวณฺเณ
สุนฺทรา อิตฺถี โสตฺถิ, สุนฺทโร อตฺโถ ยสฺสาติ โสตฺถิ, รสฺสตฺตํ, มงฺคลํฯ

-----

ต่อจากการทำเป็นทีฆะและเป็นรัสสะนั้น จะกล่าวถึงการเข้าสนธิโดยวุทธิ (เพิ่มเสียง)
หัวข้อศึกษา : อิ อี วุทธิเป็น เอ, อุ อู วุทฺธิ เป็น โอ เมื่อสระหน้าหรือ สระหลัง ที่ถูกลบแล้ว
สูตรกำกับ :
๓๖. ยุวณฺณานเมโอ ลุตฺตา
หลังจากลบสระแล้ว อิและอุวัณณะเป็น เอ และ โอ ตามลำดับ.
คำขยายสูตร (วุตติ) :
อักษรอาเทส คือ เอและโอ ของอิวัณณะและ อุวัณณะซึ่งเหลืออยู่จากสระหน้าก็ตามสระหลังก็ตามที่ถูกลบ ย่อมมี ตามลำดับ
อุทาหรณ์ : เมื่อลบสระหน้าแล้ว

๑) ในกรณีที่อิวัณณะเป็นสระหลัง
พนธุสฺเสว สมาคโม = พนฺธุสฺส อิว สมาคดม
อเตว เม อจฺฉริยํ = อติ อิว เม อจฺฉริยํ
วาเตริตํ = วาต อีริตํ
ชิเนริตํ = ชิน อีริตํ


๒) กรณีที่ อุวัณณะเป็นสระหลัง
คงฺโคทกํ, = คงฺคา อุทกํ
ปตฺตํ โวทกํ กตฺวา  สงฺขฺยํ = ปตฺตํ วา อุทกํ กตฺวา สงฺขฺยํ
โนเปติ เวทคู  = น อุเปติ เวทคู
อุทโกมิว ชาตํ = อุทก อูมิว ชาตํ

๓) กรณีที่อิวัณณะหรืออุวัณณะเป็นกริยาบท
เวติ, = วา อิติ
อเปติ, = อป อิติ
อุเปติ, =อุป อิติ
อเปกฺขา, = อป อิกฺข
อุเปกฺขา = อุป อิกฺข

๕) กรณีที่อิวัณณะอยู่หน้า วุทธิ อิวัณณะ
รเถสโภ, = รถี อาสโภ
ชเนสโภ, =  ชนี อาสโภ
มุเนลโย = มุนิ อาลโย
ตตฺถ รถีนํ อาสโภ เชฏฺฐโกติ รเถสโภ, รถีนนฺติ รถวนฺตานํ รถรุฬฺหานํ โยธานนฺติ อตฺโถฯ ชนีนํ อาสโภ ชเนสโภ, ชนีนนฺติ ชนวนฺตานํ อิสฺสรานํฯ มุนีนํ อาลโย วิหาโร มุเนลโยฯ
ในตัวอย่างเหล่านี้
รเถสโภ ตัดบทเป็น รถี อาสโภ มีรูปวิเคราะห์ว่า รถีนํ อาสโภ รเถสโภ หัวหน้าพลรถ ชื่อว่า รเถรสภ. คำว่า รถีนํ พลรถ ได้แก่ ทหารผู้มีรถ คือ ผู้ขึ้นรถแล้ว.
ชเนสโภ ตัดเป็น ชนี อาสโภ มีรูปวิเคราะห์ว่า ชนีนํ อาสโภ ชเนสโภ ผู้เป็นใหญ่ แห่งจ้าวประชาชน. คำว่า ชนีนํ ได้แก่ อิสรชน ผู้มีประชาชน (หมายถึง ผู้นำอื่นๆที่มีชนเป็นบริวารหรืออยู่ในความปกครอง.
มุเนลโย ตัดเป็น มุนี อาลโย มีรูปวิเคราะห์ว่า มุนีนํ อาลโย มุเนลโย ที่อยู่ของมุนี ชื่อว่า มุเนลโย

๖) กรณีที่อุวัณณะเป็นสระหน้า
โสตฺถิ = สุ อิตฺถี
โสตฺถิ = สุ อตฺโถ อี
ในสองตัวอย่างนี้มีความหมายต่างกัน
ตัวอย่างแรก โสตฺถิ ตัดเป็น สุ (สุนฺทรา) + อิตฺถี  แปลว่า หญิงงาม มีรูปวิเคราะห์ว่า สุนฺทรา อิตฺถี โสตฺถี หญิงงาม ชื่อว่า โสตฺถี แล้วรัสสะเป็น โสตฺถิ.
ตัวอย่างสอง โสตฺถิ ตัดเป็น สุ (สุนฺทโร)  + อตฺโถ + อี แปลว่า มงคลมีประโยชน์ที่ดี มีรูปวิเคราะห์ว่า สุนฺทโร ยสฺสาติ โสตฺถิ มงคลมีประโยชน์ดี ชื่อว่า โสตฺถี รัสสะเป็น โสตฺถิ

วุทฺธิราสิ นิฏฺฐิโตฯ

กลุ่มวิธีการสนธิโดยวุทธิ จบ.

******
สมภพ สงวนพานิช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น