ทฺวิภาวสนฺธิ
ทวิภาวสนธิ
อาคมสนธิ คือ
วิธีการเชื่อมบทโดยซ้อนอักษร
อถ
ทฺวิภาวสนฺธิ ทีปิยเตฯ
ข้าพเจ้าจะแสดงทวิภาวสนธิ
คือ การเชื่อมบทโดยการทำอักษร ๒ สองตัว (ซ้อน) สืบไป
ทฺวิภาโว
ติวิโธฯ ตตฺถ ปกฺกโม, ปรกฺกโม อิจฺจาทิ พฺยญฺชนทฺวิตฺตํ
นามฯ รุกฺขํ รุกฺขํ สิญฺจติ อิจฺจาทิ วิภตฺยนฺตปททฺวิตฺตํ นามฯ ติติกฺขา,
ติกิจฺฉา, ชคมา, ชคมุ อิจฺจาทิ
ธาตุปททฺวิตฺตํ นามฯ
ทวิภาวะ
(การซ้อน) มี ๓ ชนิด.
๑. ซ้อนพยัญชนะ
เช่น
ปกฺกโม พากเพียร
ปรกฺกโม
บากบั่น.
๒. ซ้อนบทที่มีวิภัตติเป็นที่สุด
(ลงวิภัตติแล้ว) เช่น
รุกฺขํ รุกฺขํ สิญฺจติ
รดน้ำต้นไม้ทุกต้น.
๓. ซ้อนพยัญชนะต้นธาตุ
เช่น
ติติกฺขา
ความอดกลั้น
ติกิจฺฉา
ความรักษา
ชคมา เขาไปแล้ว
(การซ้อนพยัญชนะ)
เบื้องหลังจากสระ
ซ้อนพยัญชนะได้บ้าง
สรมฺหา
ปรสฺส พฺยญฺชนสฺส กฺวจิ ทฺเว รูปานิ โหนฺติฯ
ในบางแห่ง
พยัญชนะที่อยู่ข้างหลังสระ เป็นพยัญชนะสองตัว.
ตตฺถ
สรมฺหา ป,
ปติ, ปฏีนํ ปสฺส ทฺวิตฺตํ –
อปฺปมาโท, อิธปฺปมาโท, วิปฺปยุตฺโต, สมฺมปฺปธานํ,
อปฺปติวตฺติยํ ธมฺมจกฺกํ[๒], สุปฺปติฏฺฐิโต, อปฺปฏิปุคฺคโล, วิปฺปฏิสาโร, สุปฺปฏิปนฺโน อิจฺจาทิฯ
บรรดาการซ้อนพยัญชนะเหล่านั้น
ซ้อน ป ของ ป ปติ และ ปฏิ อุปสัคค ที่อยู่หลังสระ เช่น
อปฺปมาโท ความไม่ประมาท
อิธปฺปมาโท ความไม่ประมาทในธรรมนี้
วิปฺปยุตฺโต ไม่ประกอบ
สมฺมปฺปธานํ ความเพียรชอบ
อปฺปติวตฺติยํ
ธมฺมจกฺกํ ธรรมจักร อันใครๆไม่ให้เป็นไป
สุปฺปติฏฺฐิโต ตั้งไว้ดีแล้ว
อปฺปฏิปุคฺคโล บุคคลผู้มีคนเปรียบหามิได้
วิปฺปฏิสาโร ความเดือดร้อน
สุปฺปฏิปนฺโน ผู้ปฏิบัติดี
สรมฺหาติ
กิํ?
สมฺปยุตฺโตฯ
คำว่า สรมฺหา
หลังจากสระ กล่าวไว้ทำไม.
เพื่อปฏิเสธการซ้อน
ถ้าไม่อยู่หลังจากสระ เช่น
สมฺปยุตฺโต ประกอบ
กี, กุธ, กมุ, กุส, คห, ชุต, ญา, สิ, สุ, สมฺภุ, สร, สส อิจฺจาทีนํ ธาตูนญฺจ, อุ,
ทุ, นิปุพฺพานํ ปทานญฺจ อาทิพฺยญฺชนสฺส
ทฺวิตฺตํฯ
วิกฺกินาติ, วิกฺกโย, ธนกฺกีโตฯ
กุธ –
อกฺกุทฺโธ, อกฺโกโธฯ
กมุ –
อภิกฺกมติ, อภิกฺกโม, อภิกฺกนฺโต, อกฺกมติ,
อกฺกโม, อกฺกนฺโต, ปรกฺกมติ,
ปรกฺกโม, วิกฺกมติ, วิกฺกโม,
โอกฺกมติ, โอกฺกนฺโตฯ
กุส –
อกฺโกสติ, อกฺโกโสฯ
คห –
ปคฺคณฺหาติ, ปคฺคโห, วิคฺคโห, ปริคฺคโห,
อนุคฺคโหฯ
ชุต –
อุชฺโชตติ, วิชฺโชตติฯ
ญา –
อญฺญา, ปญฺญา, อภิญฺญา, ปริญฺญา,
วิญฺญาณํ, สพฺพญฺญุตญฺญาณํ, รตฺตญฺญู, อตฺถญฺญู, ธมฺมญฺญูฯ
สิ –
อติสฺสโย, ภูมสฺสิโต, เคหสฺสิโตฯ
สุ –
อปฺปสฺสุโต, พหุสฺสุโต, วิสฺสุโต, อสฺสโว,
อนสฺสโวฯ
ปสฺสมฺภติ, ปสฺสทฺธิ, ปสฺสทฺโธฯ
สร –
อนุสฺสรติ, อนุสฺสติ, อนุสฺสโรฯ
สส –
อสฺสสติ, อสฺสสนฺโต, อสฺสาโส, ปสฺสาโสฯ
สช –
วิสฺสชฺเชติ, วิสฺสชฺชนฺโต, วิสฺสคฺโคฯ
จช –
ปริจฺจชติ, ปริจฺจชนฺโต, ปริจฺจาโค อิจฺจาทิฯ
อุปุพฺเพ
–
อุกฺกํสติ, อุกฺกํโส, อุคฺคโห, อุจฺจาเรติ,
อุจฺจาโร, อุจฺจโย, สมุจฺจโย,
อุชฺชโล, สมุชฺชโล, อุณฺณมติ,
อุตฺตรติ อิจฺจาทิฯ
ทุปุพฺเพ
–
ทุกฺกฏํ, ทุกฺกรํ, ทุคฺคติ, ทุจฺจริตํ,
ทุตฺตโร, ทุทฺทโม, ทุนฺนโย,
ทุปฺโปโส, ทุพฺพโล, ทุมฺมคฺโค,
ทุลฺลโภ อิจฺจาทิฯ
นิปุพฺเพ
–
นิกฺกโม, นิกฺขนฺโต, นิคฺคโต, นิจฺโจโร,
นิชฺชโร, นิทฺโทโส, นิปฺปาโป,
นิมฺมิโต, นิมฺมาโน, นิยฺยานํ,
นิลฺโลโล,
นิพฺพานํ, นิสฺสโย อิจฺจาทิฯ
พยัญชนะต้นของธาตุเหล่านี้
คือ กี กุธ, กมุ,
กุส, คห, ชุต, ญา, สิ, สุ, สมฺภุ, สร, สส - และ พยัญชนะต้นของบทที่มี อุ, ทุ และนิอุปสัคเป็นบทหน้า เป็นตัวซ้อน เช่น
(พยัญชนะต้นของธาตุ)
กีธาตุ เช่น
วิกฺกินาติ = ย่อมขาย
วิกฺกโย =การซื้อขาย
ธนกฺกีโต =
ผู้ที่ถูกซื้อมาด้วยทรัพย์
กุธ ธาตุ เช่น
อกฺกุทฺโธ = ผู้ไม่โกรธ
อกฺโกโธ =
ความไม่โกรธ
กมุ ธาตุ เช่น
อภิกฺกมติ = ก้าวไป
อภิกฺกโม = การก้าวไป
อภิกฺกนฺโต = ก้าวไปอยู่
อกฺกมติ = ย่อมเหยียบ
อกฺกโม = การเหยียบ
อกฺกนฺโต = เหยียบ
ปรกฺกมติ = ย่อมพากเพียร บากบั่น
ปรกฺกโม = ความบากบั่น
วิกฺกมติ = ย่อมกล้าหาญ
วิกฺกโม = ความกล้าหาญ
โอกฺกมติ = ย่อมหยั่งลง
โอกฺกนฺโต = หยั่งลงแล้ว
กุส ธาตุ เช่น
อกฺโกสติ = ย่อมด่า
อกฺโกโส = การด่า
คห ธาตุ เช่น
ปคฺคณฺหาติ = ย่อมประคอง
ปคฺคโห = การประคอง
วิคฺคโห = การวิเคราะห์, รูปวิเคราะห์
ปริคฺคโห = การกำหนด
อนุคฺคโห = การช่วยเหลือ
ชุต ธาตุ เช่น
อุชฺโชตติ = ย่อมรุ่งเรือง
วิชฺโชตติ = ย่อมส่องสว่าง
ญา ธาตุ เช่น
อญฺญา = รู้ยิ่ง
ปญฺญา = ปัญญา
อภิญฺญา = รู้ยิ่ง
ปริญฺญา = กำหนดรู้
วิญฺญาณํ = วิญญาณ
สพฺพญฺญุตญฺญาณํ = พระญาณอันรู้ทุกสิ่ง
รตฺตญฺญู = ผู้รู้ราตรีนาน
อตฺถญฺญู = ผู้รู้อรรถ
ธมฺมญฺญู = ผู้รู้ธรรม
สิ ธาตุ เช่น
อติสฺสโย = พิเศษ
ภูมสฺสิโต= ผู้นอนบนแผ่นดิน
เคหสฺสิโต = ผู้อาศัยเรือน
สุ ธาตุ เช่น
อปฺปสฺสุโต = มีสุตะน้อย (ความรู้น้อย)
พหุสฺสุโต = มีสุตะมาก
วิสฺสุโต = รู้จักดี (มีชื่อเสียง)
อสฺสโว = ไหลไป
อนสฺสโว = ไม่ไหลไป
สมฺภุธาตุ เช่น
ปสฺสมฺภติ = ย่อมระงับ
ปสฺสทฺธิ = ความสงบระงับ
ปสฺสทฺโธ = ผู้สงบระงับแล้ว
สร ธาตุ เช่น
อนุสฺสรติ = ย่อมระลึก
อนุสฺสติ = การระลึก
อนุสฺสโร = การระลึก
สส ธาตุ เช่น
อสฺสสติ = ย่อมหายใจเข้า
อสฺสสนฺโต = เมื่อหายใจเข้า
อสฺสาโส = ลมหายใจเข้า
ปสฺสาโส = ลมหายใจออก
สช –
วิสฺสชฺเชติ = ย่อมสละ
วิสฺสชฺชนฺโต= เมื่อสละ
วิสฺสคฺโค = การสละ
จช ธาตุ เช่น
ปริจฺจชติ = ย่อมสละ
ปริจฺจชนฺโต = เมื่อสละ
ปริจฺจาโค =
การสละ
พยัญชนะต้นของธาตุที่มี
อุ เป็นบทหน้า เช่น
อุกฺกํสติ, ย่อมยกย่อง
อุกฺกํโส, การยกย่อง
อุคฺคโห, การยกขึ้น, การเล่าเรียน
อุจฺจาเรติ, ย่อมออกเสียง
อุจฺจาโร, การออกเสียง
อุจฺจโย, สะสม
สมุจฺจโย, สะสม
อุชฺชโล, โชติช่วง
สมุชฺชโล, โชติช่วงขึ้น
อุณฺณมติ, ย่อมฟูขึ้น
อุตฺตรติ ย่อมข้าม
พยัญชนะต้นของธาตุที่มี
ทุ เป็นบทหน้า เช่น
ทุกฺกฏํ, กรรมชั่ว
ทุกฺกรํ, ทำได้ยาก
ทุคฺคติ, ทุคติ
ทุจฺจริตํ, ประพฤติชั่ว
ทุตฺตโร, ข้ามได้ยาก
ทุทฺทโม, ฝึกยาก
ทุนฺนโย, รู้ยาก, นำไปได้ยาก
ทุปฺโปโส, เลี้ยงยาก
ทุพฺพโล, อ่อนแอ, ทรามกำลัง
ทุมฺมคฺโค, ทางผิด
ทุลฺลโภ หาได้ยาก
พยัญชนะต้นของธาตุที่มี
นิ เป็นบทหน้า เช่น
นิกฺกโม, ก้าวออก
นิกฺขนฺโต, ออกไปอยู่
นิคฺคโต, ออกไปแล้ว
นิจฺโจโร, ไม่มีโจร
นิชฺชโร, ความเสื่อมโทรม, ปฏิปทาเครื่องทำลายกิเลส ได้แก่ มรรค, เทวดา
นิทฺโทโส, ความไม่มีโทษ
นิปฺปาโป, ไม่มีบาป
นิมฺมิโต,หลับตา
นิมฺมาโน, หมดมานะ
นิยฺยานํ, นำออก
นิลฺโลโล, ไม่โลเล, มั่นคง
นิพฺพานํ, นิพพาน
นิสฺสโย ที่พึง
ติก, ตย, ติํสานํ ตสฺส ทฺวิตฺตํ –
กุสลตฺติกํ, เวทนตฺติกํ, วตฺถุตฺตยํ, รตนตฺตยํ,
ทฺวตฺติํสํ, เตตฺติํสํฯ
พยัญชนะต้นของศัพท์เหล่านี้
คือ ติก ตย และ ติํส เป็นตัวซ้อน เช่น
กุสลตฺติกํ, กุสลติกะ (หมวดสามแห่งธรรมมีกุศลเป็นลำดับแรก)
เวทนตฺติกํ, เวทนาติกะ (หมวดสามแห่งเวทนา, เวทนา ๓ ประเภท)
วตฺถุตฺตยํ, วัตถุ ๓ ประการ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
รตนตฺตยํ, พระรัตนตรัย
ทฺวตฺติํสํ, สามสิบสอง
เตตฺติํสํ สามสิบสาม
จตุพฺพิธํ, จตุทฺทส, จตุทฺทิสํ, จตุปฺปทํ,
ฉพฺพิธํ, ฉนฺนวุติฯ
พยัญชนะหลังของศัพท์เหล่านี้
คือ จตุ และ ฉ เป็นตัวซ้อน เช่น
จตุพฺพิธํ, สี่ประการ
จตุทฺทส, สิบสี่
จตุทฺทิสํ, สี่ทิศ
จตุปฺปทํ, สี่บท
ฉพฺพิธํ, หกประการ
ฉนฺนวุติ เก้าสิบหก
วา
ตฺเวว?
จตุสจฺจํ, ฉสตํฯ
วา ในสูตรนี้
มีประโยชน์อะไร
เพื่อห้ามการซ้อนพยัญชนะในตัวอย่างนี้ว่า
จตุสจฺจํ, สัจจะ ๔ ประการ
ฉสตํ
หนึ่งร้อยกับอีกหก (๑๐๖)
สนฺตสฺส
สตฺเต ปรพฺยญฺชนสฺส นิจฺจํ ทฺวิตฺตํ –
สชฺชโน, สปฺปุริโส, สทฺธมฺโม, สนฺตสฺส
ภาโว สตฺตา, สพฺภาโวฯ
ส ที่กลายมาจาก
สนฺต เป็นตัวซ้อนพยัญชนะตัวหลัง แน่นอน เช่น
สชฺชโน, คนดี
สปฺปุริโส, บุรุษสงบ, สัตตบุรุษ
สทฺธมฺโม, พระสัทธรรม, ธรรมของสัตตบุรุษ
สนฺตสฺส ภาโว
สตฺตา,
ความเป็นแห่งคนดีชื่อวา สัตตะ.
สพฺภาโว ความมีแห่งธรรมอันมีอยู่
วสฺส
พตฺเต พสฺส ทฺวิตฺตํ –
สีลพฺพตํ, นิพฺพานํ, นิพฺพุตํ อิจฺจาทิ ปุพฺเพ วุตฺตเมวฯ
พ ที่กลายมาจาก
ว เป็นตัวซ้อนแน่นอน เหมือนที่กล่าวมาแล้ว เช่น
สีลพฺพตํ, ศีลและวัตร (แบบผิดๆ)
นิพฺพานํ, พระนิพพาน, สภาวะที่ออกจากกิเลสร้อยรัด
นิพฺพุตํ ดับแล้ว
วตุ, วฏุ อิจฺจาทีนํ อนฺตพฺยญฺชนสฺส ทฺวิตฺตํ –
วตฺตติ, ปวตฺตติ, นิวตฺตติ, สํวตฺตติ,
วฏฺฏติ, วิวฏฺฏติฯ
พยัญชนะที่สุดของ
วตุ และ วฏุธาตุ เป็นตัวซ้อน เช่น
วตฺตติ, ย่อมเป็นไป
ปวตฺตติ, ย่อมเป็นไป
นิวตฺตติ, ย่อมห้าม
สํวตฺตติ, ย่อมเป็นไปพร้อม
วฏฺฏติ, ย่อมควร, ย่อมหมุนไป
วิวฏฺฏติ
ย่อมหมุนออก, ไม่เป็นไป
สํมฺหา
อนุโน นสฺส ทฺวิตฺตํ –
สมนฺนาคโต, สมนฺนาหาโร, สมนฺเนสติฯ
น ของ อนุ
ที่อยู่หลังจาก สํ เป็นตัวซ้อน เช่น
สมนฺนาคโต, ประกอบพร้อมแล้ว
สมนฺนาหาโร, ประมวล
สมนฺเนสติ ย่อมมองหา,
ตรวจดู
อญฺญตฺรปิ
–
สีมํ
สมฺมนฺเนยฺย[๓], สีมํ สมฺมนฺนิตุํ[๔], สีมํ สมฺมนฺนติ[๕],
สมฺปฏิจฺฉนฺนํ, จีวรเจตาปนฺนํ, จตุนฺนํ, ปญฺจนฺนํฯ
แม้ในกรณีอื่น
เช่น
สีมํ
สมฺมนฺเนยฺย พึงตรวจดูซึ่งสีมา
สีมํ สมฺมนฺนิตุํ
เพื่อตรวจดูสีมา
สีมํ สมฺมนฺนติ
ย่อมตรวจดูซึ่งสีมา
สมฺปฏิจฺฉนฺนํ ย่อมรับ
จีวรเจตาปนฺนํ ทรัพย์ที่ใช้จ่ายหรือซื้อจีวรมีเงิน
และทองเป็นต้น
จตุนฺนํ แห่งวัตถุสี่อย่าง
ปญฺจนฺนํ แห่งวัตถุห้าอย่าง
อิติ
สทิสทฺวิตฺตราสิฯ
กลุ่มศัพท์เกี่ยวกับซ้อนพยัญชนะเดียวกัน
(สทิสทวิภาวะ) เป็นอย่างนี้.
กลุ่มศัพท์เกี่ยวกับการซ้อนพยัญชนะต่างกัน
(วิสทิสทวิภาวะ)
วคฺเค
จตุตฺถ,
ทุติเยสุ ปเรสุ กเมน ตติย, ปฐมา เอสํ จตุตฺถ,
ทุติยานํ ทฺวิภาวํ คจฺฉนฺติ, ทุติยภาวํ
คจฺฉนฺตีติ อตฺโถฯ
‘สรมฺหา
ทฺเว’ติ สุตฺเตน วา ‘วคฺคลเสหิ เต’อิจฺจาทีหิ วา ทุติย, จตุตฺถานมฺปิ สทิสตฺเต ชาเต
ปุน อิมินา สุตฺเตน อาทิทุติยสฺส ปฐมตฺตํ, อาทิจตุตฺถสฺส ตติยตฺตญฺจ ชาตํฯ
๕๔. จตุตฺถทุติเยสฺเวสํ
ตติยปฐมา
เพราะพยัญชนะที่
๔ และ ที่ ๒ อยู่เบื้องหลัง, พยัญชนะที่ ๓ และ ที่ ๑
ถึงความเป็นอักษรซ้อนของพยัญชนะที่ ๔ และ ที่ ๒ ตามลำดับ. ความหมายคือ
ถึงความเป็นพยัญชนะที่ ๒ (คือ พยัญชนะคู่กัน).
ในกรณีที่พยัญชนะที่
๒ และที่ ๔ เป็นอักษรเหมือนกัน
(อันเนื่องมาจากการแปลง) ด้วยสูตรว่า สรมฺหา เทฺว ก็ดี สูตรว่า วคฺคลเสหิ
เต เป็นต้นก็ดี ให้แปลงพยัญชนะที่ ๒ ตัวหน้าเป็นพยัญชนะที่ ๑,
และแปลงพยัญชนะที่ ๔ ตัวต้นเป็นพยัญชนะที่ ๓
(ของแต่ละวรรค) ด้วยสูตรนี้อีก,
ตตฺถ
กวคฺเค –
อากฺขาตํ, ปกฺขิตฺตํ, ปกฺเขโป, รูปกฺขนฺโธ,
เวทนากฺขนฺโธ, ธาตุกฺโขโภ, อายุกฺขโย, นกฺขมติฯ
‘วคฺคลเสหิ
เต’ติ สุตฺตวิธาเน –
ปมุเข
สาธุ ปาโมกฺขํ,
ปคฺฆรติ, อุคฺโฆสติ, นิคฺโฆโสฯ
ตัวอย่าง
ในวรรค ๕ นั้น จะกล่าวถึง
กวรรค
อากฺขาตํ (อา +
ขาตํ) กล่าวแล้ว,
ปกฺขิตฺตํ (ป +
ขิตฺตํ) วางแล้ว,
ปกฺเขโป (ป +
เขโป) การวาง,
รูปกฺขนฺโธ (รูป
+ ขนฺโธ) รูปขันธ์
เวทนากฺขนฺโธ (เวทนา
+ ขนฺโธ) เวทนาขันธ์
ธาตุกฺโขโภ (ธาตุ
+ โขโภ) ความกำเริบไม่เสมอกันแห่งธาตุ
อายุกฺขโย (อายุ
+ ขโย) ความสิ้นอายุ
นกฺขมติ (น +
ขมติ) ย่อมไม่ชอบใจ
ตัวอย่างนี้ คือ
ปาโมกฺข [ปมุข + ณฺย ปัจจัยในชาตาทิตัทธิต = ปาโมขฺข >
ปาโมกฺข, ย เป็น ข ปุพพรูป
แล้ว แปลง ขฺ เป็น กฺ]
ปมุเข สาธุ
ปาโมกฺขํ ความดี (หรือ ความควร, เหมาะสม) ในประธาน ชื่อว่า ปาโมกฺข.
ใช้ในวิธีการของสูตรว่า
“วคฺคลเสหิ เต ย ที่อยู่หลัง พยัญชนวรรค , ล และ ส ให้แปลง ย
เป็นพยัญชนะวรรค ล และ ส เหล่านั้น ”
ปคฺฆรติ (ป +
ฆรติ) ย่อมไหลออก
อุคฺโฆสติ (อุ +
โฆสติ) ย่อมส่งเสียง
นิคฺโฆโส. (นิ + โฆโส) เงียบเสียง, เปล่งเสียง[๗]
จวคฺเค –
อจฺฉาเทติ, อจฺฉินฺทติ-สํโยเค รสฺสตฺตํ, ปจฺฉาเทติ, ปจฺฉินฺทติ, เสตจฺฉตฺตํ, รุกฺขจฺฉายา,
ตถสฺส ภาโว ตจฺฉํ, รถสฺส หิตา รจฺฉา, ปชฺฌายติ, อุชฺฌายติ, นิชฺฌายติ,
ปฐมชฺฌานํ, ทุติยชฺฌานํ, อชฺโฌกาโส,โพชฺฌงฺโค, ทุมฺเมธสฺส
ภาโว ทุมฺเมชฺฌํ, พุชฺฌติ, พุชฺฌิตพฺพํ,
โพชฺฌํ, ปฏิวิชฺฌ, ปฏิวิชฺฌิย,
ปฏิวิชฺฌิตฺวา อิจฺจาทิฯ
ในจวรรค
อจฺฉาเทติ (อา +
ฉาเทติ) ย่อมฉาบทา
อจฺฉินฺทติ (อา
+ ฉินฺทติ) ย่อมตัด
สองรูปนี้
เป็นรัสสะ ในที่เป็นพยัญชนสังโยค (อา เป็น อ เพราะ จฺฉ ข้างหลัง).
ปจฺฉาเทติ (ป + ฉาเทติ) ย่อมฉาบทา
ปจฺฉินฺทติ (ป +
ฉินฺทติ) ย่อมตัด
เสตจฺฉตฺตํ (เสต
+ ฉตฺตํ) ร่มขาว
รุกฺขจฺฉายา
(รุกฺข + ฉายา) เงาไม้
ตถสฺส ภาโว ตจฺฉตํ (ตถ + ณฺย) ความเป็นจริง
รถสฺส หิตา
รจฺฉา (รถ + ณฺย) อุปกรณ์อันเกื้อกูลแก่รถ อะไหล่รถฯลฯ
ปชฺฌายติ (ป +
ฌายติ) (๑) คิดมาก, (๒) แห้งผาก (๓) เศร้าโศก
อุชฺฌายติ (อุ +
ฌายติ) ย่อมตำหนิ, โพนทนา
นิชฺฌายติ (นิ +
ฌายติ) (๑) คิดไปเรื่อย, (๒) แผดเผา (๓) พิจารณาใคร่ครวญ
ปฐมชฺฌานํ (ปฐม
+ ฌานํ) ฌานที่หนึ่ง
ทุติยชฺฌานํ (ทุติย
+ ฌานํ) ฌานที่สอง
อชฺโฌกาโส (อธิ
+ โอกาโส) ที่โล่งแจ้ง
โพชฺฌงฺโค (โพธิ
+ องฺโค) องค์แห่งการตรัสรู้.
ฏวคฺเค –
ยตฺรฏฺฐิตํ, ตตฺรฏฺฐิโต, อุฏฺฐิโต, นิฏฺฐิโต,
ถลฏฺโฐ, ชลฏฺโฐ, วุฑฺโฒ
อิจฺจาทิฯ
ในฏวรรค ตัวอย่างเช่น
ยตฺรฏฺฐิตํ (ยตฺร
+ ฐิตํ) ดำรงอยู่แล้วในที่ใด
ตตฺรฏฺฐิโต (ตตฺร
+ ฐิโต) ผู้ดำรงอยู่แล้วในที่นั้น
อุฏฺฐิโต (อุ +
ฐิโต) ตั้งขึ้นแล้ว
นิฏฺฐิโต (นิ +
ฐิโต) สำเร็จแล้ว
ถลฏฺโฐ (ถล +
โฐ) อยู่บนบก
ชลฏฺโฐ (ชล +
โฐ) อยู่ในน้ำ
วุฑฺโฒ (วฑฺฒ +
ต) คนแก่
[คัมภีร์อภิธานฎีกาคาถาที่
๒๕๔ และปทรูปสิทธิสูตรที่ ๖๑๔ – ๖๑๕ อธิบายการสำเร็จรูปว่า มาจาก วฑฺฒ ธาตุ
ในอรรถว่า วฑฺฒน เจริญ, ลง ตปัจจัยในอรรถกัตตา, แปลง ต ปัจจัยเป็น ฒ,
แปลงที่สุดธาตุ คือ ฑฺฒ เป็น ฑ, แปลง อ ต้นธาตุ เป็น อุ.
(นี้คงเป็นเหตุผลในการแปลงที่สุดธาตุ
เป็น ฑ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับการแปลง ต เป็น ฒ
ตามวิธีการเขียนพยัญชนะตามหลักภาษาบาลีนั่นเอง– สมภพ)]
ตวคฺเค –
สุมนตฺเถโร, ยสตฺเถโร, อวตฺถา, อวตฺถานํ,
วิตฺถาโร, อภิตฺถุโต, วิตฺถมฺภิโต,
อุทฺธรติ, อุทฺธรณํ, อุทฺธฏํ,
นิทฺธาเรติ, นิทฺธารณํ, นิทฺธาริตํ,
นิทฺธโน, นิทฺธุโต, นิทฺโธโต
อิจฺจาทิฯ
ในตวรรค
ตัวอย่างเช่น
สุมนตฺเถโร (สุมน
+ เถร) พระเถระนามว่า สุมน
ยสตฺเถโร (ยส +
เถร) พระเถระนามว่า ยสะ
อวตฺถา (อว +
ถา) กำหนด
อวตฺถานํ (อว +
ถานํ) การกำหนด
วิตฺถาโร (วิ +
ถาร) แผ่ขยายไป, พิสดาร, ความโดยละเอียด
อภิตฺถุโต (อภิ
+ ถุต) สรรเสริญแล้ว
วิตฺถมฺภิโต (วิ
+ ถมฺภิต) ค้ำจุนแล้ว
อุทฺธรติ (อุ +
ธรติ) ยกขึ้น
อุทฺธรณํ (อุ +
ธรณ) การยกขึ้น
อุทฺธฏํ (อุ +
ธฏ) ยกขึ้นแล้ว
นิทฺธาเรติ (นิ
+ ธาเรติ) ย่อมไขความ
นิทฺธารณํ (นิ +
ธารณํ) การไขความ
นิทฺธาริตํ (นิ
+ ธาริต) ไขความแล้ว
นิทฺธโน (นิ +
ธน) คนไร้ทรัพย์
นิทฺธุโต (นิ +
ธุต) กำจัดออกแล้ว
นิทฺโธโต (นิ +
โธต) ล้างออกแล้ว
ปวคฺเค –
วิปฺผรติ, วิปฺผรณํ, วิปฺผาโร, อปฺโผเฏติ,
มหปฺผลํ, นิปฺผลํ, มธุปฺผาณิตํ,
วิพฺภมติ, วิพฺภโม, อุพฺภตํ,
นิพฺภยํ, ทุพฺภโร, สพฺภาโว, อุสภสฺส ภาโว โอสพฺภํ, ลพฺภติ,
อารพฺโภ, อารพฺภ, อารพฺภิตฺวา
อิจฺจาทิฯ
ในปวรรค
ตัวอย่างเช่น
วิปฺผรติ (วิ+ผรติ)
ย่อมแผ่ไป
วิปฺผรณํ (วิ +
ผรณ) การแผ่ไป
วิปฺผาโร (วิ +
ผาร) การแผ่ไป
อปฺโผเฏติ (อา +
โผเฏติ) ย่อมสะเทือน
มหปฺผลํ (มหา +
ผล) มีผลมาก
นิปฺผลํ (นิ +
ผล) ไม่มีผล
มธุปฺผาณิตํ (มธุ
+ ผาณิต) น้ำผึ้งและน้ำอ้อย
วิพฺภมติ (วิ+ภมติ)
ย่อมหมุนไปผิดทาง
วิพฺภโม (วิ+ภม)
การหมุนไปผิดทาง
อุพฺภตํ (อุ +
ภต) หมุนไปคนละทาง
นิพฺภยํ (นิ+ภย)
ไม่มีภัย
ทุพฺภโร (ทุ +
ภร) คนเลี้ยงยาก
สพฺภาโว (สนฺต +
ภาว) ความมีแห่งธรรมที่มีอยู่, มีธรรมนี้อยู่
อุสภสฺส ภาโว
โอสพฺภํ (อุสภ + ณฺย) ความเป็นแห่งโค ชื่อว่า โอสพฺภ
ลพฺภติ (ลภ + ย
+ ติ) ย่อมถูกได้
อารพฺโภ (อา +
รภ + ต) เริ่มแล้ว
อารพฺภ (อา + รภ
+ ตฺวา) ปรารภแล้ว
อารพฺภิตฺวา (อา
+ รภ + ตฺวา) ปรารภแล้ว
อิธปิ อุ, ทุ, นิโต ปรปทานํ อาทิพฺยญฺชนสฺส ทฺวิตฺตํ วิเสสโต อิจฺฉนฺติฯ
ในหัวข้อวิสทิสทวิตต์นี้
นักไวยากรณ์ท. ย่อมปรารถนาความเป็นอักษรสองตัวแห่งพยัญชนะต้นของบทท.ที่อยู่หลัง
อุ, ทุ และนิอุปสรรค โดยเฉพาะ.
(ในกรณีที่อยู่ท้าย
อุ ทุ และนิอุปสรรค ให้ทำวิสทิสทวิตต์แน่นอน)
อิติ
วิสทิสทฺวิตฺตราสิฯ
กลุ่มศัพท์ที่มีการซ้อนอักษรที่ต่างกัน
เป็นอย่างนี้.
(การใช้บทซ้ำ)
๕๕.
วิจฺฉาภิกฺขญฺเญสุ เทฺว.
ทำบทซ้ำ
ในอรรถวิจฉา (แผ่ไป) และ อภิกขัญญะ (การทำบ่อย, ซ้ำๆ)
วิจฺฉายํ
อภิกฺขญฺเญ จ อเนกตฺถสฺส เอกปทสฺส เทฺว รูปานิ โหนฺติฯ ภินฺเน อตฺเถ กฺริยาย วา
ทพฺเพน วา คุเณน วา พฺยาปิตุํ อิจฺฉา วิจฺฉาฯ ปุนปฺปุนกฺริยา อภิกฺขญฺญํฯ
ในที่มีอรรถวิจฉา
(แผ่ไปอย่างทั่วถึงโดยทัพพะ กิริยา หรือคุณสมบัติ) และมีอรรถอภิกขัญญะ (มีการทำซ้ำๆ)
มีการซ้อนกันสองบท แห่งบทเดียวกัน แต่มีหลายอรรถได้.
คำว่า วิจฉา คือ
ความปรารถนาเพื่อแผ่ไปโดยกิริยา โดยทัพพะ หรือโดยคุณ ในอรรถต่างกัน. คำว่า
อภิกขัญญะ คือ การกระทำซ้ำๆ.
วิจฺฉายํ
ตาว –
รุกฺขํ
รุกฺขํ สิญฺจติฯ คาเม คาเม สตํกุมฺภา, คาโม คาโม รมณิโย,
เคเห เคเห อิสฺสโร, รสํ รสํ ภกฺขยติ, กฺริยํ กฺริยํ อารภเตฯ
ลำดับแรก
จะกล่าวในอรรถวิจฉา
รุกฺขํ รุกฺขํ
สิญฺจติฯ
ย่อมรดน้ำ
ต้นไม้ทุกๆต้น
คาเม คาเม
สตํกุมฺภา
ในทุกๆบ้าน
มีหม้อน้ำ ๑๐๐ ใบ
คาโม คาโม
รมณิโย
ทุกๆบ้าน
น่ายินดี
เคเห เคเห
อิสฺสโร
ผู้ใหญ่ในแต่ละบ้าน,
รสํ รสํ ภกฺขยติ
ย่อมเคี้ยวกิน
ทุกๆรส (รส ได้แก่ น้ำในอาหารวัตถุมีผลไม้เป็นต้น มิใช่รสารมณ์),
กฺริยํ กฺริยํ
อารภเต
ทุกๆการกระทำ
ย่อมถูกปรารภ
อานุปุพฺพิเยปิ
วิจฺฉาว คมฺยเต –
มูเล
มูเล ถูลา,
อคฺเค อคฺเค สุขุมา, เชฏฺฐํ เชฏฺฐํ อนุปเวเสถ,
อิเมสํ เทวสิกํ มาสกํ มาสกํ เทหิ, มญฺชู-สกรุกฺโข ปุปฺผํ ปุปฺผํ ปุปฺผติ, อิเม ชนา ปถํ ปถํ อจฺเจนฺติ, สพฺเพ อิเม อฑฺฒา,
กตรา กตรา อิเมสํ อฑฺฒตา, กตมา กตมา อิเมสํ อฑฺฒตาฯ
อรรถวิจฉานั่นเทียว
ย่อมถูกรู้ (ใช้) แม้ในสิ่งที่เกิดขึ้น (มี) โดยลำดับ, ตัวอย่างเช่น.
มูเล มูเล ถูลา
อ้วนที่โคนตามลำดับ
อคฺเค อคฺเค
สุขุมา
ละเอียดบนยอดตามลำดับ
เชฏฺฐํ เชฏฺฐํ
อนุปเวเสถ
เข้าไปตามลำดับคนโต
อิเมสํ เทวสิกํ
มาสกํ มาสกํ เทหิ
จงให้แก่ชนเหล่านี้ทุกวันทุกเดือน
มญฺชูสกรุกฺโข
ปุปฺผํ ปุปฺผํ ปุปฺผติ
ต้นมัญชูสก
(ชื่อต้นไม้สวรรค์ชนิดหนึ่ง มีกลิ่นหอม) ผลิดอกไปตามลำดับ
อิเม ชนา ปถํ
ปถํ อจฺเจนฺติ,
ชนเหล่านี้
ย่อมไปตามลำดับหนทาง
สพฺเพ อิเม
อฑฺฒา,
กตรา กตรา อิเมสํ อฑฺฒตา,
กตมา กตมา อิเมสํ อฑฺฒตา.
ชนเหล่านี้ทั้งหมดเป็นคนรวย,
ความร่ำรวยของชนเหล่านี้ เป็นอย่างไรๆ, ความมั่งคั่ง ของชนเหล่านี้ เหล่าไหนๆ
(หมายถึง ร่ำรวยโดยลำดับอย่างไร, ทรัพย์สมบัติเหล่าไหนๆ ที่เรียงตามลำดับ)
อภิกฺขญฺเญ
–
ภตฺตํ
ปจติ ปจติ,
อปุญฺญํ ปสวติ ปสวติ, ภุตฺวา ภุตฺวา นิปฺปชฺชนฺติ,
ปฏํ ปฏํ กโรติ, ปฏปฏายติ, เอกเมกํ, เอกเมกานิ
อิจฺจาทีสุ วิจฺฉาสุ ปุพฺพปเท สฺยาทิโลโปฯ
ในอรรถอภิกขัญญะ
ทำซ้ำๆ ตัวอย่างเช่น
ภตฺตํ ปจติ ปจติ
ย่อมหุงข้าวซ้ำซาก.
อปุญฺญํ ปสวติ
ปสวติ
ย่อมประสบบาป
แล้วๆเล่าๆ.
ภุตฺวา ภุตฺวา นิปฺปชฺชนฺติ
เอาแต่กินแล้วก็นอน
กินแล้วก็นอน.
ปฏํ ปฏํ กโรติ,
ส่งเสียง ปฏะ
ปฏะ ซ้ำๆ
มีการลบสิวิภัตติเป็นที่บทต้นในวิจฉาเหล่านี้
ปฏปฏายติ ย่อมประพฤติปฏะปฏะ
(เปล่งเสียงปฏะๆ)
เอกเมกํ อย่างเดียวอยู่นั่นแหละ
เอกเมกานิ ทำหลายอย่างอยู่นั่นแหละ
๕๖.
สพฺพาทีนํ วีติหาเร
เมื่อมีอรรถวีติหาร
ทำบทสัพพนามมีสพฺพศัพท์เป็นต้น ให้เป็นสองบทซ้อนกัน.
อติกฺกมฺม
หรณํ อติหาโร, น อติหาโร วีติหาโร,
อญฺญมญฺญสฺส อนฺโตเยว หรณนฺติ อตฺโถ, วีติหารตฺเถ
คมฺยมาเน สพฺพาทีนํ สพฺพนามานํ ทฺเว รูปานิ โหนฺติ, ปุพฺพสฺเสกสฺส
จ สฺยาทิโลโปฯ
วีติหาระ คือ
การนำไปไม่ละทิ้ง หมายถึง การนำไปไว้ภายในแห่งกันและกัน (อยู่ร่วมโดยไม่ทิ้งกัน) (วิ
ไม่มี+ อติ ล่วงเลย + หาร นำไป). เมื่ออรรถวีติหาระถูกรู้อยู่,
สัพพนามมีสพฺพเป็นต้น ทำคำซ้ำขึ้นได้,
และลบวิภัตติมีสิเป็นต้นของบทต้นเสียบทหนึ่ง.
อิเม
ทฺเว ชนา อญฺญมญฺญสฺส อุปการกา, อิตรีตรสฺส อุปการกา,
อญฺญมญฺญํ ปสฺสนฺติ, อญฺญมญฺญสฺส เทนฺติ,
อญฺญมญฺญสฺส อเปนฺติ, อญฺญมญฺญสฺส ธนํ,
อญฺญมญฺเญ นิสฺสิตาฯ
ตัวอย่างเช่น
อิเม ทฺเว ชนา
อญฺญมญฺญสฺส อุปการกา
สองคนนี้เป็นผู้อุปการะแก่กันและกัน.
อิตรีตรสฺส
อุปการกา
เป็นผู้อุปการะซึ่งกันและกัน
อญฺญมญฺญํ
ปสฺสนฺติ
ย่อมเห็นกันและกัน
อญฺญมญฺญสฺส
เทนฺติ
ย่อมให้แก่กันและกัน
อญฺญมญฺญสฺส
อเปนฺติ
ย่อมไม่จากกันและกัน
อญฺญมญฺญสฺส ธนํ
ทรัพย์ของกันและกัน
อญฺญมญฺเญ
นิสฺสิตา
อาศัยแล้วซึ่งกันและกัน
(ในตัวอย่างเหล่านี้
ทำศัพท์ว่า อญฺญ ซ้อนกันสองบทเป็น อญฺญมญฺญ, อิตร เป็น อิตรีตร
เพื่อแสดงอรรถวีติหาระ คือ สองฝ่ายยังรวมกันเป็นภายในของกันและกัน,
และการเข้าสนธิของบททั้งสองให้ลบวิภัตติของบทหน้า)
เมื่อมีอรรถสัมภมะ
ใช้บทซ้ำกันได้จนกว่าเนื้อความจะปรากฏ
ยํ
ปริมาณมสฺสาติ ยาวํฯ ตํ ปริมาณมสฺสาติ ตาวํฯ ปุนปฺปุนํ ภมนํ ปวตฺตนํ สมฺภโมฯ
ตุริเตน วจีปโยเคน ตํ ตํ อุปายทีปนํ สมฺภโม, อาเมฑิตเมว
วุจฺจติ, สมฺภเม คมฺยมาเน ยาวตา ยตฺตเกน ปเทน โส อตฺโถ ปญฺญายติ,
ตตฺตกํ ปทํ ปยุชฺชเต, ทฺวิกฺขตฺตุํ วา
ติกฺขตฺตุํ วา ตทุตฺตริ วา อุทีริยเตตฺยตฺโถฯ ยถาโพธํ สมฺภเมติปิ ปาโฐ, โสเยวตฺโถฯ
(ในตัวสูตร)
คำว่า ยาวตา คือ
ยาวํ มีวิเคราะห์ว่า ยํ ปริมาณํ อสฺสติ ยาวํ, ประมาณเท่าใด ของบทนี้ มีอยู่ เหตุนั้น
บทนี้ จึงชื่อว่า ยาวํ มีประมาณเท่าใด,
คำว่า ตาวํ
มีวิเคราะห์ว่า ตํ ปริมาณํ อสฺสาติ ตาวํ ประมาณเท่านั้น ของบทนี้มีอยู่ เหตุนั้น
บทนี้ชื่อว่า ตาวํ มีประมาณเท่านั้น.
คำว่า สมฺภมํ
คือ ความเป็นไปบ่อยๆ. หมายถึง ความเป็นไปบ่อยๆ อันแสดงอุบายนั้น
ด้วยการเปล่งวาจาอย่างรีบด่วน. กล่าวคือ อาเมฑิตะ (การกล่าวคำซ้ำๆ) นั่นเอง.
(ด้วยเหตุนี้
ในตัวสูตรจึงประกอบความว่า)
สมฺภเม คมฺยมาเน
เมื่ออรรถสัมภมะ ถูกรู้อยู่ โส อตฺโถ เนื้อความนั้น ปญฺญายติ ย่อมปรากฏ ยาวตา =
ยตฺตเกน ปเทน ด้วยบทมีประมาณเท่าใด, ปทํ บท ปยุชฺชเต ย่อมถูกใช้ ตตฺตกํ
มีประมาณเท่านั้น. หมายความว่า บทย่อมถูกออกเสียงได้สองครั้ง สามครั้ืง
หรือมากกว่านั้น.
ปาฐะว่า
“ยถาโพธํ สมฺภเม” มีบ้าง, ความหมายเดียวกัน. (โมคคัลลานไวยากรณ์มีปาฐะว่า ยถาโพธํ
สมฺภเม แปลว่า เมื่อมีอรรถสัมภมะ ใช้บทซ้ำจนกว่าจะรู้ความหมาย)
ภเย, โกเธ, ปสํสายํ, ตุริเต, โกตูหเล’จฺฉเรฯ
หาเส, โสเก, ปสาเท จ, กเร อาเมฑิตํ พุโธฯ
มีคาถาแสดงการใช้บทซ้ำในกรณีที่มีอรรถสัมภมะนี้ว่า
ภเย, โกเธ, ปสํสายํ, ตุริเต,
โกตูหเล’จฺฉเรฯ
หาเส, โสเก, ปสาเท จ, กเร อาเมฑิตํ
พุโธฯ
ท่านผู้รู้พึงกระทำซึ่งคำซ้ำในฐานะเหล่านี้คือ
ภย กลัว, โกธ
โกรธ, ปสํสา สรรเสริญ, ตุริต รีบเร่ง, โกตูหเล ตื่นตระหนก, อจฺฉร อัศจรรย์, หาส
ดีใจ, โสก เศร้า, ปสาท เลื่อมใส.
ตตฺถ
ตัวอย่างการใช้ในอรรถเหล่านั้น
ภเย –
สปฺโป
สปฺโป,
โจโร โจโร –
ภย กลัว เช่น
สปฺโป สปฺโป งู
งู !
โจโร โจโร โจร
โจร !
โกเธ –
วิชฺฌ
วิชฺฌ,
ปหร ปหรฯ
โกรธ เช่น
วิชฺฌ วิชฺฌ
แทงๆ
ปหร ปหร ตีๆ
ปสํสายํ
–
สาธุ
สาธุฯ
สรรเสริญ
สาธุ สาธุ
ดีจริง ดีจริง
คจฺฉ
คจฺฉฯ
ตุริต ด่วน เช่น
คจฺฉ คจฺฉ ไปไป
โกตูหเล
–
อาคจฺฉ
อาคจฺฉฯ
โกตูหล โกลาหลอลหม่าน
เช่น
อาคจฺฉ อาคจฺฉ
ไป ไป. (มา มา)
อจฺฉเร –
อโห
พุทฺโธ อโห พุทฺโธฯ
อจฺฉร อัศจรรย์
เช่น
อโห พุทฺโธ อโห
พุทฺโธ
โอ้โห
พระพุทธเจ้าๆ
หาเส –
อภิกฺกมถ
วาเสฏฺฐา อภิกฺกมถ วาเสฏฺฐา [๙]ฯ
หาส ร่าเริง
เช่น
อภิกฺกมถ
วาเสฏฺฐา อภิกฺกมถ วาเสฏฺฐา
นี่แนะวาเสฏฐะ พวกคุณจงเดินไปๆ
โสเก –
กหํ
เอกปุตฺตก กหํ เอกปุตฺตก [๑๐]ฯ
โสก เศร้าโศก
เช่น
กหํ เอกปุตฺตก
กหํ เอกปุตฺตก
ลูกน้อย
อยู่ไหนๆ
ปสาเท –
อภิกฺกนฺตํ
โภ โคตม อภิกฺกนฺตํ โภ โคตม [๑๑]อิจฺจาทิฯ
ติกฺขตฺตุํอุทานํ
อุทาเนสิ ‘‘นโม ตสฺส ภควโต’’ [๑๒]อิจฺจาทิฯ
ในความเลื่อมใส
ดังใน ในพระบาฬีเป็นต้นว่า
อภิกฺกนฺตํ โภ
โคตม อภิกฺกนฺตํ โภ โคตม ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าเลื่อมใสจริง ๆ
ติกฺขตฺตุํ
อุทานํ อุทาเนสิ “นโม ตสฺส ภควโต”
เปล่งอุทานว่า
“นโม ตสฺส ภควโต” สามครั้ง.
อิติ
ปทวากฺยทฺวิตฺตราสิฯ
ทฺวิภาวสนฺธิราสิ
นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มศัพท์แสดงการซ้ำบทและวากยะ
เป็นอย่างนี้
กลุ่มศัพท์ที่เข้าสนธิโดยการซ้อนรูป
จบแล้ว
วิปลฺลาสสนฺธิ
การเข้าสนธิโดยการสลับตำแหน่งอักษร
อถ
วิปลฺลาสสนฺธิ ทีปิยเตฯ ปทกฺขรานํ ปุพฺพาปรวิปริยาโย วิปลฺลาโสฯ
ข้าพเจ้าจะแสดงวิปัลลาสนธิ
เป็นลำดับต่อไป. การสลับตำแหน่งหน้าหลังแห่งบทและอักษร ชื่อว่า วิปัลลาส.
๕๘.
หสฺส วิปลฺลาโส
หอักษร
สามารถสลับตำแหน่ง ได้บ้าง.
ยมฺหิ
ปเร หสฺส ปุพฺพาปรวิปลฺลาโส โหติ วาฯ
เพราะ ย
เป็นเบื้องเหลัง หอักษร สลับตำแหน่งจากหน้าเป็นหลัง ได้บ้าง. ตัวอย่างเช่น
ทยฺหติ, สงฺคยฺหติ, สนฺนยฺหติ, วุยฺหติ,
ทุยฺหติ, มุยฺหติฯ
ทยฺหติ (ทหยติ)
ย่อมเผา
สงฺคยฺหติ (สํ +
คหฺ + ย + ติ) ย่อมรวม
สนฺนยฺหติ (สํ +
นหฺ + ย + ติ) ย่อมสอด
วุยฺหติ (วหฺ +
ย ติ) ย่อมพัดไป
ทุยฺหติ (ทุหฺ +
ย + ติ) ย่อมรีด (นม)
มุยฺหติ (มุหฺ +
ย + ติ) ย่อมหลง
วา ศัพท์
มีไว้ทำไม?
มีไว้เพื่อแสดงการไม่สลับตำแหน่งในบทว่า
สงฺคณฺหิยติ. (ถ้าสลับจะเป็น สงฺคยฺหติ)
เอวํ สงฺคยฺห สงฺคณฺหิตฺวา, อารุยฺห อารุหิตฺวา, โอคายฺห โอคาหิตฺวาฯ ปสยฺห
ปสหิตฺวาฯ
และในบทอื่นๆก็นัยนี้
(คือ ที่สลับก็มี ไม่สลับก็มี) เช่น
สงฺคยฺห ,
สงฺคณฺหิตฺวา ถือเอาพร้อมแล้ว, ย่อแล้ว, รวมแล้ว
อารุยฺห,
อารุหิตฺวา ขึ้นแล้ว
โอคายฺห,
โอคาหิตฺวา หยั่งลงแล้ว
ปสยฺห, ปสหิตฺวา
อดกลั้นแล้ว
๕๙. เว
วา.
เพราะ วา
ข้างหลัง ห สลับตำแหน่งได้บ้าง
วมฺหิ
ปเร หสฺส วิปลฺลาโส โหติ วาฯ
ในเพราะ ว
อันเป็นเบื้องหลัง มีการสลับตำแหน่ง ห ได้บ้าง. ตัวอย่างเช่น
พวฺหาพาโธ
พหฺวาพาโธ,
พวฺเหตฺถ นฺหายตี ชโน [๑๔]= พหฺเวตฺถ นฺหายตี ชโนฯ
พวฺหาพาโธ =
พหฺวาพาโธ มีอาพาธมาก
พวฺเหตฺถ
นฺหายตี ชโน = พฺหเวตฺถ นฺหายตี ชโน ชนเป็นอันมาก ย่อมอาบในแม่น้ำนี้.
มหาวุตฺติวิธานํ
วุจฺจเตฯ
จะกล่าวตัวอย่างที่นอกเหนือจากวิธีการที่มาในสูตร
โดยสำเร็จรูปด้วยมหาสูตร (สูตร ตทมินาทีนิ)
ย, รานํ วิปลฺลาโส –
กุฏิ เม
กยิรติ[๑๕], วจนํ ปยิรุทาหาสิ, ครุํ ปยิรูปาสติ, วนฺทามิ เต อยฺยิเร ปสนฺนจิตฺโต[๑๖] -ยสฺส ทฺวิตฺตํฯ
ย และ ร
สลับตำแหน่งได้ ตัวอย่างเช่น
กุฏิ เม กยิรติ
กุฎี อันเรา ย่อมสร้าง (กริยติ)
วจนํ
ปยิรุทาหาสิ (ปริยุทาหาสิ) ย่อมยกคำพูดมาอ้าง
ครุํ ปยิรูปาสติ
(ปริยูปาสติ) ย่อมเข้าไปหาครู (ใกล้ชิดกับครู)
วนฺทามิ เต
อยฺยิเร (อริเย) ปสนฺนจิตฺโต เรามีจิตเลื่อมใสแล้วขอไหว้พระอริยเจ้าท.
ในตัวอย่างนี้
หลังจากสลับ ย ร แล้วซ้อน ยฺ
นิคฺคหีตสฺส
วิปลฺลาโส –
สลับตำแหน่งนิคคหิต
ตัวอย่างเช่น
นิรยมฺหิ
อปจฺจิสุํ (อปจฺจิํสุ) ได้สุกแล้วในนรก
เต เม อสฺเส
อายาจิสุํ (อายาจิํสุ) พวกเขาได้ขอม้ากะเรา.
อิมา คาถา
อภาสิสุํ (อภาสิํสุ) ได้กล่าวแล้วซึ่งคาถาเหล่านี้.
สรานมฺปิ
วิปลฺลาโส –
หญฺญยฺเยวาปิ
โกจิ นํ[๑๙]– หญฺเญยฺยาติ ฐิติ, อมูลมูลํ คนฺตฺวา-มูลมูลํ
อคนฺตฺวาติ อตฺโถฯ เอวํ ปรตฺรฯ อโนกาสํ การาเปตฺวา[๒๐], อนิมิตฺตํ กตฺวา, สทฺธํ น ภุญฺชตีติ อสทฺธโภชิ,
ทิสฺวา ปทมนุตฺติณฺณํ [๒๑] – อุตฺติณฺณํ อทิสฺวาติ อตฺโถฯ
แม้สระทั้งหลายก็สลับตำแหน่งได้.
ตัวอย่างเช่น
หญฺญยฺเยวาปิ
โกจิ นํ ใครก็ตาม แม้พึงฆ่าซึ่งเราท.
ตัวอย่างนี้ ต้องตั้งบทเป็น
หญฺเญยฺย
อมูลมูลํ
คนฺตฺวา ไม่ไปแล้วยังราก ยังราก
ตัวอย่างนี้
ความหมายคือ มูลมูลํ อคนฺตฺวา
เอวํ ปรตฺร
คำว่า ปรตฺรํ เหมือนกัน. (คืออะไร ยังหาเฉลยไม่ได้ว่า อะไรที่สลับกัน
น่าจะเหมือนกับ อมูลมูลํ คนฺตฺวา แต่ยังไม่พบ)
อโนกาสํ
การาเปตฺวา = โอกาสํ อการาเปตฺวา ไม่ให้เขาทำโอกาส
อนิมิตฺตํ กตฺวา
= นิมิตฺตํ อกตฺวา ไม่กระทำนิมิต.
สทฺธํ น
ภุญฺชตีติ อสทฺธโภชี =
อสทฺธํ ภุญฺชติ ย่อมกินของที่เขาไม่ให้ด้วยศรัทธา
ทิสฺวา
ปทมนุตฺติณฺณํ หมายถึง อุตฺติณฺณํ อทิสฺวา ไม่เห็นแล้วซึ่งบทอันตื้น.
ปทานมฺปิ
วิปลฺลาโส –
แม้บททั้งหลาย
ก็สามารถสลับตำแหน่งได้ ตัวอย่างเช่น
นวํ ปน ภิกฺขุนา
จีวรลาเภน, ก็อันภิกษุผู้ได้จีวรใหม่
ตัวอย่างนี้
ที่ถูกต้องเป็น นวจีวรลาเภน ปน ภิกฺขุนา (ปาจิตฺติยอรรถกถา)
นาคกญฺญา จริตํ
คเณน อันหมู่นาคมาณวิกา ประพฤติแล้ว
ตัวอย่างนี้
ที่ถูกต้องตั้งเป็น นาคกญฺญาคเณน จริตํ.
อิติ
วิปลฺลาสราสิฯ
กลุ่มศัพท์ที่มีการสลับตำแหน่งหน้าหลัง
เป็นอย่างนี้
๖๐.
พหุลํ
การเข้าสนธินี้เป็นวิธีการโดยส่วนมาก.
สนฺธิวิธานํ
นาม พหุลํ โหติ, เยภุยฺเยน โหตีติ อตฺโถฯ
อธิการสุตฺตํฯ ยาวคนฺถปริโยสานา ยุตฺตฏฺฐาเนสุ สพฺพตฺถ วตฺตเตฯ เอเตน สพฺพสทฺทสุตฺเตสุ
อนิฏฺฐนิวตฺติ จ อิฏฺฐปริคฺคโห จ กโต โหติฯ
ธรรมดาการทำสนธิ
เป็นวิธีการโดยมาก กล่าวคือ ย่อมมีโดยส่วนใหญ่. สูตรนี้เป็นอธิการสูตร.
ย่อมตามไปในทุกสูตร ไปจนจบคัมภีร์ เมื่อมีฐานะอันควร. ด้วยสูตรนี้ เป็นอันกระทำการห้ามรูปที่ไม่ประสงค์แล้ว
และถือเอารูปที่ประสงค์ ในสูตรไวยากรณ์ทั้งปวง.
อิติ
นิรุตฺติทีปนิยา นาม โมคฺคลฺลานทีปนิยํ
สนฺธิกณฺโฑ
นิฏฺฐิโตฯ
สนธิกัณฑ์
ในตำราอธิบายโมคคัลลานไวยากรณ์
อันมีนามว่า นิรุตติทีปนี
จบแล้ว.
[๑] [ก. ๒๘; รู. ๔๐; นี. ๖๗]
[๒] [มหาว. ๑๗]
[๓] [มหาว. ๑๓๙]
[๔] [มหาว. ๑๓๘]
[๕] มหาว.
๑๓๙
[๖] [ก. ๔๔, ๒๙; รู. ๒๔; นี. ๕๗, ๖๘, ๗๔, ๗๗-๘, ๘๐, ๘๒-๓, ๙๑, ๑๒๒]
[๘] [จํ. ๖.๓.๑๔; ปา. ๘.๑.๑๒; ยาวโพธํ
สมฺภเม (พหูสุ)]
[๙] [ที. นิ. ๒.๒๑๐]
[๑๐] [สํ. นิ. ๔.๑๒๐]
[๑๑] [ม. นิ. ๒.๑๐๖]
[๑๒] [ม. นิ. ๒.๓๕๗]
[๑๓] [รู. ๔๐ (ปิฏฺเฐ)]
[๑๔] [อุทา. ๙]
[๑๕] [ปารา. ๓๕๘]
[๑๖] [ชา. ๒.๑๗.๕๔]
[๑๗] [ชา. ๒.๒๒.๖๐]
[๑๘] [ชา. ๒.๒๒.๑๘๖๓]
[๑๙] [ชา. ๒.๒๒.๑๑๙๓]
[๒๐] [ปารา ๓๘๙]
[๒๑] [ชา. ๑.๑.๒๐]
[๒๒] [ชา. ๑.๑๕.๒๖๘]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น