วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๖ : สนธิกัณฑ์ : โลปราสิ

สนฺธิวิธาน
วิธีเชื่อมบท
อถ สนฺธิวิธานํ ทีปิยเตฯ
โลโป, ทีโฆ, รสฺโส, วุทฺธิ, อาเทโส, อาคโม, ทฺวิภาโว, วิปลฺลาโสฯ

ต่อจากวิธีการเกี่ยวกับตัวอักษร (สัญญาราสิ) ข้าพเจ้าจะแสดงวิธีการเชื่อมบท.
วิธีเชื่อมบทมี ดังนี้
โลป ลบ
ทีฆะ ทำให้เป็นเสียงยาว
รัสสะ ทำให้เป็นเสียงสั้น
วุทธิ การเพิ่มเสียง,
อาเทส แปลง,
อาคโม การเพิ่มอักษรใหม่,
ทวิภาวะ ทำเป็นสองตัว (ซ้อน),
วิปัลลาสะ การสลับตำแหน่ง


***********************

โลปราสิ
กลุ่มวิธีเกี่ยวกับการลบ
๒๖. สโร โลโป สเร [๑]
ลุปฺปตีติ โลโปฯ สเร ปเร สรูโป วา อสรูโป วา ปุพฺโพ สโร โลโป โหติฯ
สรูเป ตาว
อวณฺเณ - โลกคฺโค[๒], ภวาสโว[๓], อวิชฺชาสโว[๔], อวิชฺชานุสโย [๕]
อิวณฺเณ-มุนินฺโท, มุนีริโต, วรวาทีริโต, อิตฺถินฺทฺริยํ [๖]
อุวณฺเณ-พหูปกาโร[๗], พหุกา อูมิ พหูมิ, สรภุยา อูมิ สรภูมิ, สรภุยา อุทกํ สรภูทกํฯ
อสรูเป
โสตินฺทฺริยํ[๘], กามุปาทานํ, ภเวสนา[๙], ภโวโฆ[๑๐], โส ตุณฺหสฺส[๑๑], ทิฏฺฐานุสโย[๑๒], ทิฏฺฐุปาทานํ,               ทิฏฺเฐกฏฺฐํ, ทิฏฺโฐโฆ[๑๓], มุทินฺทฺริยํ[๑๔], ปุตฺตา มตฺถิ[๑๕], อุรสฺส ทุกฺโข[๑๖], อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ [๑๗]อิจฺจาทิฯ

 (ลบสระหน้า)
๒๖. สโร โลโป สเร
สระหน้าที่อยู่ชิดกับสระข้างหลัง ถูกลบ
คำว่า ลบ ได้แก่ อักษรที่ถูกลบ[๑๘]. ความว่า สระตัวหน้าที่มีรูปเหมือนกัน หรือ ที่ต่างกันที่อยู่ชิดกับสระข้างหลัง[๑๙] จะเป็นตัวที่ถูกลบ.
จะกล่าวถึงในสระที่ถูกลบมีรูปเหมือนกันกับสระหลังก่อน.
ในอวัณณะ (ลบ อ อา ท้ายบทหน้า) เช่น
โลกคฺโค (โลก อคฺโค) ผู้เลิศในโลก
ภวาสโว (ภว อาสโว) อาสวะคือภพ
อวิชฺชาสโว (อวิชฺชา อาสโว) อาสวะ คืออวิชชา
อวิชฺชานุสโย (อวิชฺชา อนุสโย) อนุสัยคืออวิชชา

อิวัณณะ (ลบ อิ อี ท้ายบทหน้า) เช่น
มุนินฺโท (มุนิ อินฺโท) จอมมุนี,
มุนีริโต (มุนิ อีริโต) ธรรมอันพระมุนีตรัสแล้ว,
วรวาทีริโต วรวาที อีริโต ธรรมอันพระผู้มีพระวาจาประเสริฐตรัสแล้ว,
อิตฺถินฺทฺริยํ (อิตฺถี อินฺทฺริยํ) อินทรีย์คือความเป็นหญิง

อุวัณณะ ลบ อุ อู ท้ายบทหน้า เช่น  -
พหูปกาโร (พหุ อุปกาโร) มีอุปการะมาก (รูปนี้มีทีฆะหลังหลังจากที่ได้ลบสระหน้าแล้ว)
พหุกา  อูมิ พหูมิ แม่น้ำมีคลื่นมาก (พหุ + อูมิ) ,
สรภุยา  อูมิ สรภูมิ คลื่นในแม่น้ำสรภู (สรภู + อูมิ),
สรภุยา  อุทกํ  สรภูทกํ น้ำแห่งแม่น้ำสรภู (สรภู + อุทกํ)ฯ
(๓ อุทาหรณ์นี้เป็นวัณณสนธิ คือ วิธีการของการเข้าสมาส ที่จะต้องทำให้เป็นปกติก่อนเข้าสมาส จึงเป็น พหุ, สรภู)

สระที่ถูกลบเป็นอสรูปะ มีรูปต่างจากสระหลัง เช่น
โสตินฺทฺริยํ (โสต อินฺทฺริยํ) อินทรีย์คือหู
กามุปาทานํ (กาม อุปาทานํ) อุปาทานคือกาม
ภเวสนา (ภว เอสนา) การแสวงหาภพ
ภโวโฆ (ภว โอโฆ) โอฆะคือภพ
โส ตุณฺหสฺส (โส ตุณฺหี อสฺส) ภิกษุรูปนั้นพึงนิ่ง
ทิฏฺฐานุสโย (ทิฏฺฐิ อนุสโย) อนุสัยคือทิฏฐิ
ทิฏฺฐุปาทานํ (ทิฏฺฐิ อุปาทานํ)  อุปาทานคือทิฏฐิ
ทิฏฺเฐกฏฺฐํ (ทิฏฺฐิ เอกฏฺฐํ) มีที่ตั้งเดียวกับทิฏฐิ
ทิฏฺโฐโฆ (ทิฏฺฐิ โอโฆ) โอฆะคือทิฏฐิ
มุทินฺทฺริยํ, (มุทุ อินฺทฺริยํ) อินทรีย์อันอ่อน
ปุตฺตา มตฺถิ (ปุตฺโต เม อตฺถิ) บุตรของเรามีอยู่
อุรสฺส ทุกฺโข (อุโร อสฺส ทุกฺโข) อกของเขาจะเจ็บ
อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ (อสนฺโต เอตฺถ น ทิสฺสนฺติ) อสัตบุรุษ ย่อมไม่ปรากฏในที่นี้.

อิติ ปุพฺพโลปราสิฯ
ลบสระหน้าเป็นอย่างนี้

***********
(ลบสระหลัง)
๒๗. ปโร กฺวจิ [ก. ๑๓; รู. ๑๕; นี. ๓๑]ฯ
ปุพฺพสรมฺหา สรูโป วา อสรูโป วา ปโร สโร กฺวจิ โลโป โหติฯ
สรูเป ตาว
ตํ กทาสฺสุ ภวิสฺสติ [ชา. ๒.๒๒.๑๔๔ อาทโย; ตํ กุทสฺสุ],
กุทาสฺสุ นาม ทุมฺเมโธ,
ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ [ธ. ป. ๓๗๖],
ยทาสฺส สีลํ ปญฺญญฺจ [ชา. ๒.๒๒.๑๔๗๔],
ตทาสฺสุ กณฺหํ ยุญฺชนฺติ [ชา. ๑.๑.๒๙] -กณฺหนฺติ มหากณฺหโคณํ,
ตณฺหาสฺส วิปฺปหีนา,
มาสฺสุ กุชฺฌ รเถสภ,
สตฺถหารกํ วาสฺส ปริเยเสยฺย [ปารา. ๑๖๗, ๑๗๑],
อาคตาตฺถ ตุมฺเห,
โสตุกามาตฺถ ตุมฺเห,
มายฺโย เอวรูปมกาสิ,
ปปํ อวินฺทุํ [ชา. ๑.๑.๒] -ปวฑฺฒํ อาปํ ลภิํสูตฺยตฺโถ,
นาลํ กพฬํ ปทาตเว [ชา. ๑.๑.๒๗] -ป+อาทาตเวติ เฉโท, คณฺหิตุนฺตตฺโถ,
รุปฺปตีติ รูปํ,
พุชฺฌตีติ พุทฺโธ -ทีโฆ,
อคฺคีว ตปฺปติ,
อิตฺถีว คจฺฉติ,
นทีว สนฺทติ,
มาตุปฏฺฐานํ,
ปิตุปฏฺฐานํ,
เยเต ธมฺมา อาทิกลฺยาณา [จูฬว. ๓๙๙]   -อิจฺจาทิฯ
อสรูเป
อิติสฺส [ปาจิ. ๔๖๕], อิติปิ [ปารา. ๑], อสฺสมณีสิ [ปารา. ๑๓๕], อกตญฺญูสิ [ธ. ป. ๓๘๓], วนฺเทหํ, โสหํ, ยสฺสทานิ [มหาว. ๒๔๒], ฉายาว อนปายินี [ธ. ป. ๒], มาทิเสสุ กถาว กา, กินฺนุมาว สมณิโย มธุวา มญฺญติ พาโล [ธ. ป. ๖๙], จกฺขุนฺทฺริยํ [วิภ. ๒๑๙], ทฺเวเม ภิกฺขเว ธมฺมา [อ. นิ. ๒.๓], ตโยเม ภิกฺขเว ธมฺมา [อ. นิ. ๓.๑๗] อิจฺจาทิฯ
กฺวจีติ กิํ? กตมา จานนฺท อนิจฺจสญฺญา [อ. นิ. ๑๐.๖๐]ฯ
อิติ ปรโลปราสิฯ


๒๗. ปโร กฺวจิ
สระหลังถูกลบได้ ในบางแห่ง.

หลังจากสระหน้า สระหลัง ไม่ว่าจะมีรูปเหมือนกันก็ตาม มีรูปต่างกันก็ตาม ถูกลบไป ในบางแห่ง
จะกล่าวถึงในที่สระหลังมีรูปเหมือนกับสระหน้าเป็นลำดับแรก

๑) สระหลังมีรูปเหมือนกับสระหน้า
ตํ กทาสฺสุ[๒๐] ภวิสฺสติ (ตํ กทา + อสฺสุ ภวิสฺสติ)
ข้อนั้นจักมีในกาลไร (อสฺสุ เป็นเพียงนิบาตไม่ต้องแปล)

กุทาสฺสุ นาม ทุมฺเมโธ, (กุทา + อสฺสุ นาม ทุมฺเมโธ)
คนปัญญาน้อย จักมีในกาลไร

ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ (ทุกฺขสฺส อนฺตํ กริสฺสติ)
จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

ยทาสฺส สีลํ ปญฺญญฺจ (ยทา + อสฺส สีลํ ปญฺญญฺจ)
เมื่อใด พระราชาทรงทราบศีล ปัญญา และความบริสุทธิ์ของราชเสวกนั้น [ชา. ๒.๒๒.๑๔๗๔],

ตทาสฺสุ กณฺหํ ยุญฺชนฺติ (ตทา + อสฺสุ กณฺหํ ยุญฺชนฺติ) [ชา. ๑.๑.๒๙]
ในเวลานั้นแหละ ชนทั้งหลายจะเทียมโคกัณหะ
คำว่า กณฺหํ คือ มหากณฺหโคณํ วัวดำตัวใหญ่.

ตณฺหาสฺส วิปฺปหีนา, (ตณฺหา + อสฺส วิปฺปหีนา)
ตัณหาของเขาถูกละได้แล้ว

มาสฺสุ กุชฺฌ รเถสภ, (มา + อสฺสุ กุชฺฌ รเถสภ)
ดูก่อนรเถสภะ เธอจงอย่าโกรธ.

สตฺถหารกํ วาสฺส ปริเยเสยฺย (สตฺถหารกํ วา + อสฺส ปริเยเสยฺย) [ปารา. ๑๖๗, ๑๗๑],
ภิกษุใด แสวงหาศาสตรามาให้เขา ก็ตาม

อาคตาตฺถ ตุมฺเห, (อาคตา + อตฺถ ตุมฺเห)
พวกเธอมากันแล้ว
โสตุกามาตฺถ ตุมฺเห, (โสตุกามา + อตฺถ ตุมฺเห)
พวกเธอจงตั้งใจมาฟัง

มายฺโย เอวรูปมกาสิ, (มา + อยฺโย เอวรูปํ อกาสิ)
ขอพระคุณเจ้าอย่าทำกรรมเช่นนี้

ปปํ อวินฺทุํ (ป+อาปํ อาปํ ลภึสุ [ชา. ๑.๑.๒]
ในรูปนี้มีความหมายว่า ได้บ่อน้ำกว้างใหญ่

นาลํ กพฬํ ปทาตเว (นาลํ กพฬํ ป+อาทตเว) [ชา. ๑.๑.๒๗]
พระยาช้าง ไม่สามารถรับเอาก้อนข้าวได้. ในรูปนี้ตัดบทเป็น ป + อาทาตเว, ความหมาย คือ คณฺหิตุ เพื่อรับเอา (ไม่สามารถเพื่อรับก้อนข้าว)

สองรูปนี้ มีการทีฆะ (สระหน้าหลังจากลบสระหลังแล้ว)
รุปฺปตีติ รูปํ, (รุปฺปติ อิติ รูปํ)
เรียกว่า รูป เพราะย่อมเสื่อมสิ้นไป

พุชฺฌตีติ พุทฺโธ  (พุชฺฌติ อิติ พุทฺโธ)
ทรงพระนามว่า พระพุทธเจ้า เพราะย่อมตรัสรู้

อคฺคีว ตปฺปติ (อคฺคี อิว ตปฺปติ)
ย่อมแผดเผาเหมือนดังไฟ

อิตฺถีว คจฺฉติ, (อิตฺถี อิว คจฺฉติ)
ไปดังเช่นอิสตรี

นทีว สนฺทติ, (นที อิว สนฺทติ)
ย่อมไหลไปดุจแม่น้ำ

มาตุปฏฺฐานํ, (มาตุ + อุปฏฺฐานํ)
การบำรุงมารดา

ปิตุปฏฺฐานํ, (ปิตุ + อุปฏฺฐานํ)
การบำรุงบิดา
เยเต ธมฺมา อาทิกลฺยาณา (เย + เอเต ธมฺมา อาทิกลฺยาณา) [จูฬว. ๓๙๙]  
ธรรมเหล่านี้ อันงามในเบื้องต้น อันใด
-------------------------

๒) ในสระหลังที่มีรูปต่างจากสระหน้า เช่น
(อิติ + อสฺส =)  อิติสฺส [ปาจิ. ๔๖๕],
(อิติ + อปิ =) อิติปิ [ปารา. ๑],
(อสฺส มณี + อสิ =)อสฺสมณีสิ [ปารา. ๑๓๕],
(อกตญฺญู +อสิ =)อกตญฺญูสิ [ธ. ป. ๓๘๓],
(วนฺเท + อหํ =)วนฺเทหํ,
(โส + อหํ =)โสหํ,
(ยสฺส + อิทานิ =) ยสฺสทานิ [มหาว. ๒๔๒],
(ฉายา + อิว อนปายินี =) ฉายาว อนปายินี [ธ. ป. ๒],
(มาทิสา +  เอสุ กถาว กา =) มาทิเสสุ กถาว กา,
(กินฺนุมา + เอว สมณิโย, =) กินฺนุมาว สมณิโย
(มธุ + อิว มญฺญติ พาโล = ) มธุวา มญฺญติ พาโล [ธ. ป. ๖๙],
 (จกฺขุ + อินฺทฺริยํ =) จกฺขุนฺทฺริยํ [วิภ. ๒๑๙],
(เทฺว + อิเม ธมฺมา =) เทฺวเม ภิกฺขเว ธมฺมา [อ. นิ. ๒.๓],
(ตโย + อิเม ภิกฺขเว ธมฺมา =) ตโยเม ภิกฺขเว ธมฺมา [อ. นิ. ๓.๑๗]

คำว่า ในบางแห่ง  (กฺวจิ) ข้าพเจ้ากล่าวไว้เพื่อแสดงการไม่ลบสระหลังได้ในบางอุทาหรณ์ เช่น          กตมา จ อานนฺท อนิจฺจสญฺญา (กตมา จ + อานนฺท อนิจฺจสญฺญา รูปนี้ลบสระหน้า)

***

 (ปฏิเสธวิธิสูตร กล่าวคือ เป็นปกติในบางแห่ง)
๒๘. น เทฺว วา
สระหน้าและหลังทั้งสองนั้นที่ไม่ถูกลบ ก็มี.

เทฺว ปุพฺพปรสรา กฺวจิ โลปา น โหนฺติ วาฯ
สระหน้าและสระหลังทั้งสองประการนั้น ในบางแห่งไม่ถูกลบไปก็มี (ถูกลบก็มี) ตัวอย่างเช่น

อปฺปมาโท อมตํ ปทํ [ธ. ป. ๒๑], โก อิมํ ปถวิํวิเจสฺสติ [ธ. ป. ๔๔]ฯ
คงรูปเป็น อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ตามเดิม (ไม่ลบสระหน้าเป็น อปฺปมาทมตํ ปทํ)
คงรูปเป็น โก อิมํ ปถวึ วิเจสฺสติ (ไม่ลบสระหลังเป็น โกมํ ปถวึ วิเจสฺสติ)

กฺวจิตฺเวว? โสตินฺทฺริยํ [วิภ. ๒๑๙], จกฺขุนฺทฺริยํ [วิภ. ๒๑๙],
ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวคำว่า บางแห่ง (กฺวจิ)  เพื่อแสดงว่า ในบางแห่งสามารถลบสระหน้าและสระหลังได้ นอกจากอุทาหรณ์นี้ ในอุทาหรณ์อื่น แต่มีลักษณเช่นเดียวกันนี้ เช่น
โสตินฺทฺริยํ (โสต + อินฺทฺริยํ รูปนี้เข้าสนธิโดยลบสระหน้าตามปกติ ไม่คงรูปเดิมตามสูตรนี้)
จกฺขุนฺทฺริยํ (จกฺขุ + อินฺทฺริยํ รูปนี้เข้าสนธิโดยลบสระหลัง ไม่คงรูปเดิม)

วาติ กิํ? โกมํ วสลิํ ปรามสิสฺสติฯ
ที่ได้กล่าวว่า ลบได้ก็มี (วา) เพื่อแสดงว่า ในรูปตัวอย่างแบบนี้จะคงไว้ก็ได้ เข้าสนธิตามปกติก็ได้ เช่น
โกมํ วสลึ ปรามสิสฺสติ [๒๑]

(คำชี้แจงของท่านผู้รจนาคัมภีร์)
อิโต ปฏฺฐาย ยาวสนฺธิกณฺฑาวสานา ยุตฺตฏฺฐาเนสุ สพฺพตฺถ กฺวจิสทฺโท, วาสทฺโท จ วตฺตนฺเตฯ ตตฺถ กฺวจิสทฺโท นานาปโยคํ ทสฺเสติฯ วาสทฺโท เอกปโยคสฺส นานารูปํ ทสฺเสติฯ โลปนิเสโธฯ
ตั้งแต่นี้ไปจนจบสนธิกัณฑ์ กฺวจิ และ วา ศัพท์ ตามไปในทุกสูตรที่มีอุทาหรณ์ที่เกี่ยวข้อง. กฺวจิศัพท์จะแสดงหลายตัวอย่าง, ส่วนวาศัพท์แสดงหลายรูปของตัวอย่างเดียว. [๒๒] สูตรนี้เป็นการปฏิเสธการลบ.

(ลบสระหลังจากนิคคหิต)
๒๙. ปรสรสฺส
ท้ายนิคหิต สระหลังลบได้บ้าง
นิคฺคหีตมฺหา ปรสรสฺส กฺวจิ โลโป โหติ วาฯ
สระหลัง (คือ สระหน้าตัวต้นของบทข้างหลัง) ซึ่งอยู่ท้ายนิคหิต ถูกลบในบางแห่ง, และบางตัวอย่างนั้น ถูกลบไปก็มี ไม่ถูกลบก็มี เช่น
ตฺวํ + อสิ = ตฺวํสิ [เป. ว. ๔๗; ชา. ๒.๒๒.๗๖๔],
จนฺทํ อิว = จนฺทํว วิมลํ สุทฺธํ [ธ. ป. ๔๑๓; สุ. นิ. ๖๔๒],
จกฺกํ + อิว = จกฺกํว วหโต ปทํ [ธ. ป. ๑],
หลํ + อิทานิ = หลํทานิ ปกาสิตุํ [มหาว. ๘],
กึ + อิติ = กินฺติ วเทยฺยํ,
จีวรํ + อิติ = จีวรนฺติ,
ปตฺตํ + อิติ = ปตฺตนฺติ,
ภิกฺขุ + อิติ = ภิกฺขุนฺติฯ[๒๓]
อิติ สรโลปราสิฯ
กลุ่มว่าด้วยการลบสระ เป็นอย่างนี้

 (การลบอักษรต้นของพยัญชนสังโยค)
๓๐. สํโยคาทิ โลโป
สํโยคสฺส อาทิภูโต พฺยญฺชโน กฺวจิ โลโป โหติ วาฯ

๓๐. สํโยคาทิ โลโป
พยัญชนะต้นสังโยคถูกลบไปได้บ้างในบางแห่ง.
พยัญชนะอันเป็นตัวแรกของพยัญชนสังโยค ย่อมถูกลบไปในบางแห่ง ได้บ้าง.

ปุปฺผํสา อุปฺปชฺชติ [ปารา. ๓๖]อิธ ปุพฺพสุตฺเตน สรโลโป, เอวํส เต อาสวา ปหีนา โหนฺติ [ม. นิ. ๑.๒๔],สเจ ภุตฺโต ภเวยฺยาหํ, สาชีโว ครหิโต มม [มิ. ป. ๖.๑.๕] - อสฺส+อาชีโวติ เฉโท, ภเวยฺยาติ อตฺโถ.
เช่น
ปุปฺผํสา อุปฺปชฺชติ (= ปุปฺผํ + อสฺสา อุปฺปชฺชติ ระดูเกิดขึ้นแก่นาง). ในรูปนี้ ลบสระอ ด้วยสูตรก่อนหน้า(ปรสรสฺส) ก่อนแล้วลบ สฺ ต้นสังโยคด้วยสูตรนี้)
เอวํส เต อาสวา ปหีนา โหนฺติ (= เอวํ อสฺส เต อาสวา ปหีนา โหนฺติ อาสวะของภิกษุนั้นย่อมถูกละไปอย่างนี้)
สเจ ภุตฺโต ภเวยฺยาหํ, สาชีโว ครหิโต มม (สเจ ภุตฺโต ภเวยฺยาหํ, อสฺส อาชีโว ครหิโต มม หากเราเป็นผู้บริโภคแล้ว, อาชีวะของเราพึงเป็นอาชีวะที่บัณฑิตติเตียน) ในรูปว่า สาชีโว นี้ ตัดบทเป็น อสฺส ชีโว ความหมายคือ ภเวยฺย พึงเป็น.

ตีสุ พฺยญฺชเนสุ สรูปานํ ทฺวินฺนํ อาทิพฺยญฺชนสฺส โลโป อคฺยาคารํ [ปาจิ. ๓๒๖], อคฺยาหิโต, วุตฺยสฺส, วิตฺยานุภูยเต, เอกสตํ ขตฺยา [ชา. ๒.๒๒.๕๙๔], รตฺโย, รตฺยา, รตฺยํ, สกฺวาหํ มาริส เทวานมินฺโท [สํ. นิ. ๑.๒๖๘], อิจฺจาทิฯ
ถ้าพยัญชนสังโยคซ้อนกัน ๓ ตัว ให้ลบพยัญชนะตัวต้นของสองตัวที่เหมือนกัน เช่น
อคฺยาคารํ = อคฺคิ + อาคารํ แปลงอิ ที่ อคฺคิ เป็น ยฺ > อคฺคฺยฺ อาคารํ ลบ คฺ ตัวแรกของ คฺคฺ ที่มีรูปเหมือนกัน เป็น อคฺยฺ อาคารํ > อคฺยาคารํ
อคฺยาหิโต = อคฺคิ + อาหิโต
วุตฺยสฺส = วุตฺติ + อสฺส
วิตฺยานุภูยเต = วิตฺติ + อนุภูยเต
เอกสตํ ขตฺยา = เอกํ สตํ ขตฺติยา (ขตฺติย + โย > อา ขตฺติยา ลบ อิ เพราะย (ในที่นี้ ดูสูตร ตทมินาทีนิ และสูตรสัททนีติ ๖๙ สรโลโป ยมนราทีสุ วา ในเพราะย  ม น ร เป็นต้น ข้างหลัง ลบสระหน้าได้บ้าง,)  > ขตฺตฺยฺ อ + อา ลบ ตฺ  
รตฺโย = รตฺติ + สฺมึ แปลง อิ เป็น ยฺ สมึเป็น โอ > รตฺตฺยฺโอ ลบ ตฺ เป็น รตฺโย
รตฺยา = รตฺติ + สฺมา หรือ สฺมึ แปลง สฺมา หรือ สฺมึ เป็น อา ที่เหลือเหมือน รตฺโย
รตฺยํ = รตฺติ + สฺมึ แปลง สฺมึ เป็น อํ ที่เหลือเหมือนรตฺโย
สกฺวาหํ มาริส เทวานมินฺโท = สกฺโก + อหํ แปลง โอ เป็น วฺ >  สกฺกฺวฺ ลบ ก ด้วยสูตรนี้ ทีฆะ อ (ที่ อหํ) อันอยู่เบื้องหลังจากพยัญชนะอาเทส ด้วยสูตร เสสา ทีฆา (นิรุตฺติ . ๓๔) > สกฺวาหํ

สรูปานนฺติ กิํ? ติตฺถฺยา ปุถุโส วทนฺติ [สุ. นิ. ๘๙๗], จตุตฺถฺยนฺตํ, ฉฏฺฐุนฺตํ, จกฺขฺวาพาธํ, วตฺถฺเวตฺถฯ
ข้าพเจ้ากล่าวว่า สรูปานํ แห่งพยัญชนสังโยคที่มีรูปเหมือนกันไว้ เพื่อห้ามการลบดังกล่าวในที่มีสังโยคที่มีรูปต่างกัน เช่น
ติตฺถฺยา ปุถุโส วทนฺติ (= ติตฺถิยฺ อ + โย > อา ติตฺถิยา ลบ อิ เพราะ ย (เหมือนในรูป ขตฺติยา) > ติตฺถฺยฺ อ อา ไม่ลบ ถฺ เพราะมีรูปต่างจาก ตฺ ด้วยคำว่า สรูปานํ ในสูตรนี้)
จตุตฺถฺยนฺตํ = จตุตฺถี  อนฺตํ
ฉฏฺฐุนฺตํ (ฉฏฺฐยนฺตํ = ฉฏฺฐี อนฺตํ?)
จกฺขฺวาพาธํ = จกฺขุ อาพาธํ
วตฺถฺเวตฺถ = วตฺถุ เอตฺถ

อิติ พฺยญฺชนโลปราสิฯ
กลุ่มพยัญชนะที่ถูกลบ จบ

(การลบนิคคหิต)
๓๑. โลโป
นิคฺคหีตสฺส กฺวจิ โลโป โหติ วาฯ
๓๑. โลโป
นิคคหิตถูกลบไปได้บ้าง
ในบางแห่ง นิคคหิตถูกลบบ้าง ไม่ถูกลบบ้าง

สเร ปเร ตาว
เอวาหํ จินฺตยิตฺวาน [พุ. วํ. ๒.๒๗], ปุปฺผทานํ อทาสหํ-อทาสิํ+อหนฺติ เฉโท, พินฺทุโลโป, ปุน ปุพฺพสรโลโป, ตุยฺหตฺถาย มหามุนิ, ตุยฺเหเวตํ ทุกฺกฏํ [ที. นิ. ๒.๑๗๘], ตาสาหํ สนฺติเก [ปาจิ. ๗๐๙], เตสาหํ เอวํ วทามิ, ปญฺจนฺเนตํ ธมฺมานํ อธิวจนํ, ฉนฺเนตํ ธมฺมานํ อธิวจนํ, สมณ ตฺเวว ปุจฺฉามิ [ชา. ๒.๒๒.๒๕๓ สมณ เตว], พฺราหฺมณ ตฺเวว ปุจฺฉามิ [ชา. ๒.๒๒.๒๕๘ พฺราหฺมณ เตว] -ตฺวํ+เอวาติ เฉโท, วิทูนคฺคมิติฯ
ลำดับแรกจะกล่าวถึงการลบนิคหิตที่อยู่ติดกับสระหลังก่อน.
เอวํ + อหํ = เอวาหํ. เอวาหํ  จินฺตยิตฺวาน
อทาสึ + อหํ = อทาสหํ.  อทาปุปฺผทานํ อทาสหํ. รูปนี้ตัดบทเป็น อทาสึ อหํ, ลบนิคคหิต (ด้วยสูตรนี้), ลบสระหน้า ซ้ำอีก.
ตุยฺหํ + อตฺถาย = ตุยฺหตฺถาย. ตุยฺหตฺถาย มหามุนิ
ตุยฺหํ เอว = ตุยฺเหว. ตุยฺเหเวตํ ทุกฺกฏํ.
ตาสํ อหํ = ตาสาหํ. ตาสาหํ สนฺติเก.
เตสํ อหํ = เตสาหํ. เตสาหํ เอวํ วทามิ.
ปญฺจนฺนํ เอตํ = ปญฺจนฺเนตํ. ปญฺจนฺเนตํ ธมฺมานํ อธิวจนํ.
ฉนฺนํ เอตํ = ฉนฺเนตํ. ฉนฺเนตํ ธมฺมานํ อธิวจนํ.
ตฺวํ เอว = เตฺวว. สมณ เตฺวว ปุจฺฉามิ, และ พฺราหฺมณ เตฺวว ปุจฺฉามิ. รูปนี้ตัดบทเป็น ตฺวํ + เอว.
วิทูนํ อคฺคํ = วิทูนคฺคํ. วิทูนคฺคมิติ.

พฺยญฺชเน ปเร
ตํ ตุยฺหมูเล ปฏิเทเสมิฯ
ที่อยู่ติดกับพยัญชนะหลัง
ตุยฺหํ มูเล = ตุยฺหมูเล. ตํ ตุยฺหมูเล ปฏิเทเสมิ.

คาถายํ
อริยสจฺจานทสฺสนํ [ขุ. ปา. ๕.๑๑], เอตํ พุทฺธาน สาสนํ [ธ. ป. ๑๘๓], ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ, ธาตุอายตนาน จ [ธ. ส. อฏฺฐ. นิทานกถา]ฯ
ในคาถาก็ลบได้
อริยสจฺจานํ ทสฺสนํ = อริยสจฺจานทสฺสนํ.

‘‘ตโป จ พฺรหฺมจริยญฺจ, อริยสจฺจาน ทสฺสนํ;
นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ, เอตํ มงฺคลมุตฺตมํฯ

พุทฺธานํ สาสนํ = พุทฺธานสาสนํ
สพฺพปาปสฺส อกรณํ, กุสลสฺส อุปสมฺปทา;
สจิตฺตปริโยทปนํ, เอตํ พุทฺธานสาสนํฯ

ธาตุอายตนานํ จ = ธาตุอายตนาน จ
ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ, ธาตุอายตนาน จ;
อพฺโพจฺฉินฺนํ วตฺตมานา, สํสาโรติ ปวุจฺจตีติฯ

มาคเม ปเร
ครุโฬ อุรคามิว [ชา. ๑.๔.๑๒๔ สุปณฺโณ], ธมฺโม อรหตามิว [ที. นิ. ๒.๓๔๘], อาโลโก ปสฺสตามิว [สุ. นิ. ๗๖๙], พโก กกฺกฏกามิว [ชา. ๑.๑.๓๘], นภํ ตารกิตามิว [ชา. ๒.๒๒.๑๙๘๙ ตาราจิตามิว], ปทุมํ หตฺถคตามิว [ชา. ๒.๒๒.๒๓๓๖] -เอเตสุ มาคเม พินฺทุโลโป, พฺยญฺชเน ปุพฺพสรทีโฆ จฯ
ที่ติดกับมอาคมข้างหลัง ในกรณีนี้ ลบนิคคหิตที่อยู่ติดกับมอาคม และทีฆสระหน้าที่อยู่ติดกับพยัญชนะหลัง ตัวอย่างเช่น
อุรคํ อิว = อุรคามิว. ครุโฬ อุรคามิว. (ลบนิคคหิตด้วยสูตรนี้ อุรค อิว ลงมฺ เป็นอาคม อุรค มฺ อิว, ทีฆสระหน้าที่อยู่ติดกับมฺข้างหลัง)
อรหตํ อิว = อรหตามิว. ธมฺโม อรหตามิว.
ปสฺสตํ อิว = ปสฺสตามิว. อาโลโก ปสฺสตามิว.
กกฺกฏกํ อิว = กกฺกฎกามิว. [๒๔]พโก กกฺกฏกามิว
ตารกิตํ อิว = ตารกิตามิว. นภํ ตารกิตามิว.
หตฺถคตํ อิว = หตฺถคตามิว. ปทุมํ หตฺถคตามิว

ตถา สํอุปสคฺคสฺส พินฺทุโลเป อนฺตสรทีโฆ
สาราโค, สารตฺโต, อวิสาหาโร, สารมฺโภ, สารทฺโธ, สาเกตํ นครํ, สาธารณํ, สํ อสฺส อตฺถีติ สามีฯ
สำหรับ สํอุปสัค เมื่อลบนิคคหิตแล้ว ทีฆสระท้าย (ของสํ ที่ลบนิคคหิตไปแล้ว) ได้ด้วย
สํ ราโค = สาราโค,
สํ รตฺโต = สารตฺโต
อ วิ สํ หาโร = อวิสาหาโร,
สํ รมฺโภ = สารมฺโภ,
สํ อารทฺโธ = สารทฺโธ,
สํ เกตํ = สาเกตํ. สาเกตํ นครํ,
สํ อาธารณํ = สาธารณํ,
สํ อี = สามี. สํ อสฺส อตฺถีติ สามีฯ[๒๕]

สมาเส ตุมนฺตมฺหิ นิจฺจํ
กตฺตุกาโม, คนฺตุกาโม อิจฺจาทิฯ
ในสมาส ลบนิคคหิตท้ายบทที่มีตุเป็นที่สุดแน่นอน
กตฺตุกาโม = กตฺตุกาโม
คนฺตุกาโม = คนฺตุกาโม.
อิติ พินฺทุโลปราสิฯ
กลุ่มอักษรคือนิคคหิตที่ถูกลบไป เป็นอย่างนี้.

(ลบสิวิภัตติเป็นต้นในบทวิจฉา คือ บทที่ใช้ซ้ำกัน)
๓๒. สฺยาทิโลโป ปุพฺพสฺเสกสฺส
วิจฺฉายํ เอกสฺส วิภตฺยนฺตสฺส ปทสฺส ทฺวิตฺเต กเต ปุพฺพปทสฺส สฺยาทิโลโป โหติฯ
เอเกกํ, เอเกกานิ, เอเกเกน, เอเกกสฺส อิจฺจาทิฯ
มาคเม
เอกเมกํ, เอกเมกานิ อิจฺจาทิฯ
อิติ สฺยาทิโลปราสิฯ

   ๓๒. สฺยาทิโลโป ปุพฺพสฺเสกสฺส
          ๓๒. สิวิภัตติเป็นต้น ที่อยู่ท้ายเอกศัพท์ของบทแรกในวิจฉา ถูกลบไป.
          เมื่อเอกศัพท์เป็นบทอันมีวิภัตติเป็นที่สุด (บทว่า เอก ที่ลงวิภัตติมีสิเป็นต้นแล้ว) ที่ใช้ในวิจฉา คือบทที่ถูกกล่าวซ้ำ. ลบสิวิภัตติเป็นต้น ของบทว่า เอโก เป็นต้น
          เช่น เอเกกํ (เอกํ เอกํ = เอเกกํ) อ.วัตถุสิ่งหนึ่ง ๆ (ทุกคน)[๒๖]
          เอเกกานิ (เอกานิ เอกานิ = เอเกกานิ สู่วัตถุหนึ่งๆ
เอเกเกน(เอเกน เอเกน = เอเกเกน) โดยวัตถุหนึ่งๆ
เอเกกสฺส  (เอกสฺส เอกสฺส = เอเกกสฺส)  โดยวัตถุหนึ่งๆ

เมื่อลบแล้ว ลง ม อาคม เช่น
เอกเมกํ (เอกมฺ เอกํ = เอกเมกํ)
เอกเมกานิ (เอกมฺ เอกานิ = เอกเมกานิ)

อิติ สฺยาทิโลปราสิฯ
กลุ่มศัพท์มีสิวิภัตติเป็นต้นที่ถูกลบ จบ

อปฺปวิธานมุจฺจเตฯ
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงวิธีการบางสิ่งในโลปราสินี้.
๓๓. ตทมินาทีนิ [จํ. ๕.๒.๑.๒๗; ปา. ๖.๓.๑๐๙; มุ. ๒.๓๔; กา. ๒.๒๗]ฯ
มหาวุตฺติสุตฺตมิทํ, ตทมินาทีนิ ปทรูปานิ อิมินา นิปาตเนน สิชฺฌนฺตีติ อตฺโถฯ


๓๓. ตทมินาทีนิ
รูปสำเร็จมี ตทมินา เป็นต้น (ย่อมมี ตามพระบาฬี)
สูตรนี้เป็นสูตรใหญ่ คือ มีการใช้สำเร็จรูปอย่างกว้างๆ.  ความหมายคือ รูปว่า ตทมินา เป็นต้น ย่อมสำเร็จด้วยนิปาตนสูตรนี้[๒๗].

สรโลโป พฺยญฺชเน
ลาพุ=อลาพุ, ปิธานํ=อปิธานํ, ทฺวารํ ปิทหิตฺวา=อปิทหิตฺวา, คินิ=อคฺคินิ, รตฺนํ=รตนํ, นฺหานํ=นหานํ, อสฺนาติ=อสนาติ, หนฺติ=หนติ, หนฺติ กุทฺโธ ปุถุชฺชโน [อ. นิ. ๗.๖๔], ผลํ เว กทลิํ หนฺติ [อ. นิ. ๔.๖๘], สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติฯ
เมื่ออยู่ติดกับพยัญชนหลัง สระหน้าถูกลบ
ลาพุ = (มาจาก) อลาพุ (ในบทว่า อลาพุ ลบ อ ที่อยู่ติดกับ ลฺ )
ปิธานํ = อปิธานํ (ในบทว่า อปิธานํ ลบ อ ที่อยู่ติดกับ ปฺ – อุ.อื่นก็มีนัยนี้)
ปีทหิตฺวา = อปิทหิตฺว เช่น ในประโยคว่า ทฺวารํ ปทหิตฺวา ปิดประตู
คินิ = อคฺคินิ ลบ อ ที่ติดกับ คฺ ในรูปนี้ เมื่อลบ อ แล้ว คฺ ที่เคยเป็นสังโยคท้ายสระ จึงถูกลบไปโดยปริยาย เหตุที่นิมิตถูกลบไป จึงเป็นรูปว่า คินิ.
รตฺนํ = รตนํ ลบ อ ที่ ต
นฺหานํ = นหานํ, ลบ อ ที่ น
อสฺนาติ = อสนาติ, ลบ อ ที่ ส
หนฺติ = (มาจาก) หนติ (หนติ = หนฺ + อวิกรณปัจจัย + ติวิภัตติ,  ลบ อ วิ. ที่อยู่ติดกับ ติ)
ในรูปนี้ มีตัวอย่างในพระบาฬีว่า หนฺติ กุทฺโธ ปุถุชฺชโน [อ. นิ. ๗.๖๔] ปุถุชนเป็นผู้โกรธย่อมประทุษร้าย (ฆ่า),  ผลํ เว กทลิํ หนฺติ [อ. นิ. ๔.๖๘] ผลกล้วยย่อมทำลายต้น, สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ สักการะย่อมฆ่าคนชั่วฯ
กตฺถจิ พหุวจนมฺปิ ทิสฺสติฯ
สำหรับรูปว่า หนฺติ นี้ บางแห่งเป็นพหุวจนะ (ไม่ใช่เอกวจนะ) ตังตัวอย่างนี้
วิกฺโกสมานา ติพฺพาหิ, หนฺติ เนสํ วรํ วรํ [ชา. ๒.๒๒.๒๓๗๐]ฯ
นายพรานเหล่านี้ (ได้ขึงข่ายล้อมฝูงเนื้อในป่าไล่ต้อนให้ตกลงในหลุมแล้ว) แผดเสียง ไล่ทิ่มแทงเนื้อตัวล่ำพีแห่งฝูงนั้นด้วยหอกอันคม.[๒๘]

อิวณฺณโลเป
อารามรุกฺขเจตฺยานิ=เจติยานิ [ธ. ป. ๑๘๘], อถตฺเถกสตํ ขตฺยา [ชา. ๒.๒๒.๕๙๔] =ขตฺติยา, ติถฺยา ปุถุโส วทนฺติ [สุ. นิ. ๘๙๗]ฯ ติถฺยา ปุถุโส นิวิฏฺฐา [สุ. นิ. ๘๙๘] =ติตฺถิยาฯ วิทฺธสฺโต=วิทฺธํสิโต, อุตฺรสฺโต=อุตฺราสิโต, สฺเนโห=สิเนโห, กฺเลสวตฺถูนิ=กิเลสวตฺถูนิ, กฺริยา=กิริยา, ปฺลวนฺติ=ปิลวนฺติ.
ในที่ลบอิวัณณะ (อิ อี ตัวหน้าถูกลบไป ในกรณีที่อยู่ติดพยัญชนะหลัง)
อารามรุกฺขเจตฺยานิ  = (มาจาก) เจติยานิ [ธ. ป. ๑๘๘], ลบ อิ ที่ เจติ
อถตฺเถกสตํ ขตฺยา [ชา. ๒.๒๒.๕๙๔] =ขตฺติยา, ลบ อิ เพราะ ยพยัญชนะ. = ขตฺตฺยา พยัญชนสังโยคมีรูปเหมือนกันลบตัวที่เหมือนกันได้ เป็น ขตฺยา
ติถฺยา ปุถุโส วทนฺติ [สุ. นิ. ๘๙๗]ฯ
ติถฺยา ปุถุโส นิวิฏฺฐา [สุ. นิ. ๘๙๘] =ติตฺถิยาฯ
(รูปนี้ ลบ อิ ที่ ถิ เป็น ติตฺถฺยา.  คัมภีร์สัททนีติระบุว่า ห้ามลบ ตฺ  เพราะถือว่า สังโยครูปต่างกันแม้มีสองตัว ก็ไม่ให้ลบ ซึ่งต่างจากในกรณีที่เป็นสังโยครูปเหมือนกันดังเช่น ขตฺยา (ในสูตร ๑๒๐. ตีสุ พฺยญฺชเนเสฺวโก สรูโป โลปํ. โมเจสิ เอกสตํ ขเตฺย. อคฺยาคารํ. สรูโปติ กึ ? เอวมฺปิ ติตฺถฺยา ปุถุโส วทนฺติ.) แม้ในพระบาฬีสุตตนิบาตดังกล่าวก็มีรูปว่า ติตฺถฺยา รูปนี้ยังฉงนอยู่?)

วิทฺธสฺโต=วิทฺธํสิโต, ลบ อ ที่ ธํ เพราะ นิคคหิต (ลบนิคคหิตเพราะ ส พยัญชนะ) และ ลบ อิ ที่ สิ เพราะ ต พยัญชนะ
อุตฺรสฺโต=อุตฺราสิโต, ลบ อิ ที่ สิ และ รัสสะในที่มีสังโยคอยู่หลัง.
สฺเนโห=สิเนโห, ลบ อิ เพราะ นพยัญชนะ
กฺเลสวตฺถูนิ=กิเลสวตฺถูนิ, ลบ อิ เพราะ ล พยัญชนะ
กฺริยา=กิริยา, ลบ อิ เพราะ รพยัญชนะ
ปฺลวนฺติ=ปิลวนฺติ. ลบ อิ เพราะลพยัญชนะ.
รูปเหล่านี้ บางรูปมีแสดงไว้ในสูตรของคัมภีร์สัททนีติ (๖๙. สรโลโป ยมนราทีสุ วา.  ลบสระหน้า ถ้ามีย ม น ร เป็นต้นอยู่หลัง) แต่บางรูปมีนอกเหนือจากสัททนีติ แสดงว่า นิรุตตทีปนีแสดงรูปได้มากกว่า.

อุวณฺณโลเป
ปทฺมานิ=ปทุมานิ, อุสฺมา=อุสุมา อิจฺจาทิฯ
ลบอุอู (อุวัณณะ) ในกรณีที่มีพยัยญชนะอยู่หลัง เช่น
ปทฺมานิ = (มาจาก) ปทุมานิ
อุสฺมา = อุสุมา (ลบ อุ ที่ สุ)

สํโยคาทิพฺยญฺชนโลโป จ
ปุตฺตานญฺหิ วโธ ทุโข, มาติโฆ ลภเต ทุขํ, อปฺปสฺสาทา กามา ทุขา, นตฺถิ กามปรํ ทุขํ [ชา. ๒.๑๙.๑๑๘], เสโข=เสกฺโข, อเปขา=อเปกฺขา, อุปสมฺปทาเปโข=อุปสมฺปทาเปกฺโข [มหาว. ๗๐] อิจฺจาทิฯ
ลบพยัญชนะตัวต้นของสังโยค เช่น
ปุตฺตานญฺหิ วโธ ทุโข,
มาติโฆ ลภเต ทุขํ,
อปฺปสฺสาทา กามา ทุขา,
นตฺถิ กามปรํ ทุขํ [ชา. ๒.๑๙.๑๑๘],
เสโข=เสกฺโข,
อเปขา=อเปกฺขา,
อุปสมฺปทาเปโข=อุปสมฺปทาเปกฺโข [มหาว. ๗๐]
(ในข้อความเหล่านี้ ทุโข เป็นต้น ลบ กฺ ตัวต้นของ กฺข ในคำว่า ทุกฺโข,เสกฺโข, อเปกฺขา เป็นต้น )

สเรน สห พฺยญฺชนโลโป
ปฏิสงฺขา โยนิโส [อ. นิ. ๖.๕๘], อกฺขาติ=อกฺขายติ, คนฺธํ ฆาติ=ฆายติ, อภิญฺญา=อภิญฺญาย, ปริญฺญา=ปริญฺญาย, อธิฏฺฐา=อธิฏฺฐาย, ปติฏฺฐา=ปติฏฺฐาย, อาวีกตา หิสฺส ผาสุ [มหาว. ๑๓๔], อสฺสวนตา ธมฺมสฺส ปริหายนฺติ [มหาว. ๘], วิปาโก ตทารมฺมณตา อุปฺปชฺชติ [ปฏฺฐา. ๓.๑.๙๘], ทสาหปรมตา ธาเรตพฺพํ [ปารา. ๔๖๒], นายํ พฺราหฺมณโภชนตฺถา, ติโลทโน เหหิติ [ชา. ๑.๘.๑], วิสเสโนว คารยฺโห, ยสฺสตฺถา รุกฺขโรปกา [ชา. ๑.๓.๕๔] =วิสเสโนวาติ เอวํนามโก ราชา เอว, ยสฺสตฺถา ทูรมายนฺติ [ชา. ๑.๓.๒๘]ยสฺสาติ อุทรสฺส, ปิตุ อตฺถา จนฺทวตี [ชา. ๑.๙.๖๖], อุปาทารูปํ, อนุปาทา วิมุตฺโต, สทฺธาปพฺพชิโต, อุปนิธาปญฺญตฺติฯ สํวิธาวหาโร, ยาติ=ยายติ, วาติ=วายติ, นิพฺพาติ=นิพฺพายติ, นิพฺพนฺติ=นิพฺพายนฺติ, ปหาติ=ปหายติ, สปฺปติสฺโส=สปฺปติสฺสโย, สุหโท=สุหทโย=สพฺพตฺถ ยโลโป,

ลบ ย พร้อมสระ
(แปลง ตฺวา เป็น ย.  ลบ ย ที่แปลงมาจาก ตฺวา)
ปฏิสงฺขา โยนิโส [อ. นิ. ๖.๕๘], = (มาจาก) ปฏิสงฺขาย โยนิโส
ปฏิสงฺขาย = ปฏิ + สํ + ขา ญาเณ + ตฺวา.
อกฺขาติ = (มาจาก) อกฺขายติ,
คนฺธํ ฆาติ = (มาจาก) ฆายติ, [๒๙]
อภิญฺญา = (มาจาก) อภิญฺญาย,
ปริญฺญา = (มาจาก) ปริญฺญาย,
อธิฏฺฐา = (มาจาก) อธิฏฺฐาย,
ปติฏฺฐา = (มาจาก) ปติฏฺฐาย,

(ลบ ย ที่แปลงมาจา นา ส สฺมา สฺมึ  ท้ายนามศัพท์อิตถีลิงค์)
อาวีกตา หิสฺส ผาสุ [มหาว. ๑๓๔], = (มาจาก) อาวีกตาย หิสฺส ผาสุ
อสฺสวนตา ธมฺมสฺส ปริหายนฺติ [มหาว. ๘], = (มาจาก) อสฺสวนตาย ธมฺมสฺส ปริหายนฺติ
วิปาโก ตทารมฺมณตา อุปฺปชฺชติ [ปฏฺฐา. ๓.๑.๙๘], = (มาจาก) วิปาโก ตทารมฺมณตาย อุปฺปชฺชติ
ทสาหปรมตา ธาเรตพฺพํ [ปารา. ๔๖๒], = (มาจาก) ทสาหปรมตาย ธาเรตพฺพํ

(ลบ ย ของ อาย ที่แปลงมาจาก ส จตุตถีวิภัตติที่ใช้ในอรรถตทัตถสัมปทาน.)
นายํ พฺราหฺมณโภชนตฺถา, ติโลทโน เหหิติ [ชา. ๑.๘.๑= นายํ พฺราหฺมณโภชนตฺถาย
ยสฺสตฺถา ทูรมายนฺติ [ชา. ๑.๓.๒๘]ยสฺสาติ อุทรสฺส,
ยสฺสตฺถา = ยสฺสตฺถาย ทูรมายนฺติ.  คำว่า ยสฺส ได้แก่ อุทรสฺส [๓๐]
ปิตุ อตฺถา จนฺทวตี [ชา. ๑.๙.๖๖], = ปิตุ อตฺถาย
จนฺทวตี นางจันทวดี บูชายัญเพื่อประโยชน์ของพระบิดา.

(ลบ ย ที่แปลงมาจาก ตฺวา ปัจจัย และอยู่ในสมาส[๓๑].)
อุปาทารูปํ  =  อุปาทายรูปํ รูปอาศัยมหาภูตรูป เรียกว่า อุปาทายรูป.
อนุปาทา วิมุตฺโต = อนุปาทายวิมุตฺโต อนุปาทายวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น.
สทฺธาปพฺพชิโต, = (สทฺธายปพฺพชิโต บรรพชิตผู้บวชโดยศรัทธา
อุปนิธาปญฺญตฺติฯ  = อุปนิธายปญฺญตฺติ อุปนิธายบัญญัติ บัญญัติโดยการเปรียบเทียบ.
สํวิธาวหาโร  = สํวิธายาวหาโร, การขโมยโดยการจัดแจงวิธีการไว้ก่อน (ตกลงกันก่อน)
สทฺธาย ปพฺพชิโต สทฺธาปพฺพชิโต.
สทฺธาย = สํ+ธา+ตฺวา.  แปลง ตฺวา เป็น ย เหมือนนัยก่อน และลบย[๓๒].  

(ลบ ย วิกรณปัจจัย)
ยาติ = (มาจาก) ยายติ,
วาติ = (มาจาก) วายติ,
นิพฺพาติ = (มาจาก) นิพฺพายติ,
นิพฺพนฺติ = (มาจาก) นิพฺพายนฺติ,
ปหาติ = (มาจาก) ปหายติ,

สองศัพท์นี้ลบ ย ของนามศัพท์.
สปฺปติสฺโส = (มาจาก) สปฺปติสฺสโย,
สุหโท = (มาจาก) สุหทโย

----------------------

มุขโร=มุขขโร, วาจากรโณ=วากฺกรโณ, วาจาปโถ=พฺยปฺปโถ=วาสฺส พฺยตฺตํ, รสฺสตฺตญฺจ, เอวํ พฺยาโข=เอวํ วิย โข=วิสฺส พฺยตฺตํ, ทีโฆ จ ยโลโป จฯ
กลุ่มนี้ลบพยัญชนะบางตัวที่นอกจาก ย
มุขโร=มุขขโร,
มุขโร มาจาก มุขขโร ลบ ข 1 ตัว แปลว่า
๑) ผู้ถือเอาซึ่งกรรมอันไม่น่าพอใจด้วยปาก. (สี.ฎี. ๑/๑๙๕) มุข +รา ธาตุ ถือเอา + อ) มุเขน วา อมนาปํ กมฺมํ ราติ คณฺหาตีติ มุขรา.
๒) มีปากคม คือ มีคำพูดแหลมคม คือ วาจาเชือดเฉือน (ม.อฏฺ. ๑/๓๘)

วาจากรโณ=วากฺกรโณ.  ลบ จา และซ้อนกฺ โดยนิรุตตินัย.
วากฺกรโณ มาจาก วาจากรโณ. เสียงที่เปล่งออกมา, คำพูด. การกระทำคือคำพูด. เสียงที่สื่อความหมายให้เข้าใจกันได้.[๓๓]

วาจาปโถ=พฺยปฺปโถ =วาสฺส พฺยตฺตํ, รสฺสตฺตญฺจ,
พฺยปฺปโถ มาจาก วาจาปโถ แปลง วา เป็น พฺย (ลบ จา ท่านไม่ได้แสดงไว้) และ รัสสะ[๓๔]

-----------------------

โลลุโป, โมมุโห, กุกฺกุโจ, สุสุโข, โรรุโวอิจฺจาทีสุ ปน อติสยตฺถทีปนตฺถํ ปททฺวิตฺตํ กตฺวา ปุพฺพปเทสุ อกฺขรโลโปฯ
แต่ในบางรูป เมื่อทำเทวภาวะอักษร (ซ้อนตัวเดิมเป็นสองตัว) เพื่อแสดงเนื้อความทิ่ยิ่งพิเศษ ลบอักษรในบทหน้าได้ ดังนั้น พยัญชนะพร้อมสระตัวสุดท้ายของบทหน้า เช่น  
โลลุโป มาจาก โลปลุโป แปลว่า โลภอย่างหนัก
โมมุโห, โมหมุโห หลงอย่างยิ่ง
กุกฺกุโจ, กุจกุโจ เดือดร้อนอย่างยิ่ง
สุสุโข, สุขสุโข สุขอย่างยิ่ง
โรรุโว รุวรุโว ร้องเสียงดังยิ่ง.

ปทโลโป อาทิมชฺฌนฺเตสุ
ทตฺโต=เทวทตฺโต, อสฺเสหิ ยุตฺโต รโถ=อสฺสรโถ, รูปภโว=รูปํ, อรูปภโว=อรูปํ อิจฺจาทิฯ
          ลบบทในเบื้องต้นและท่ามกลางและที่สุด เช่น
ทตฺโต มาจาก เทวทตฺโต ลบบทต้น
อสฺเสหิ ยุตฺโต รโถ อสฺสรโถ ลบบทกลาง
รูปํ มาจาก รูปภโว ลบบทท้าย
อรูปํ มาจาก อรูปภโว ลบบทท้าย.

โลปราสิ นิฏฺฐิโต.
กลุ่มศัพท์ที่ถูกลบ จบ.



[๑] [ก. ๑๒; รู. ๑๓; นี. ๓๐]
[๒] [อป. เถร ๑.๑๒.๕๗]
[๓] [ธ. ส. ๑๑๐๒]
[๔] [ธ. ส. ๑๑๐๒]
[๕] [วิภ. ๙๔๙]
[๖] [วิภ. ๒๑๙]
[๗] [ชา. ๑.๒๒.๕๘๘]
[๘] [วิภ. ๒๑๙]
[๙] [ที. นิ. ๓.๓๐๕]
[๑๐] [ธ. ส. ๑๑๕๖]
[๑๑] [ปารา. ๓๘๑]
[๑๒] [วิภ. ๙๔๙]
[๑๓] [ธ. ส. ๑๑๕๖]
[๑๔] [มหาว. ๙]
[๑๕] [ธ. ป. ๖๒]
[๑๖] [ปาจิ. ๔๐๒]
[๑๗] [ธ. ป. ๓๐๔]
[๑๘] ในที่นี้ท่านวิ.เป็น กัมมสาธนะทั่วไปว่า ลุปฺปตีติ โลโป อักษรตัวที่ถูกลบ ชื่อว่า โลป.  พึงทราบว่า ในคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์ โลป ศัพท์ หมายถึง ตัวที่ถูกลบ ดังที่มีคำอธิบายศัพท์นี้ว่า  โลปนีโย อันควรถูกลบ (โมค ๑/๒๖.) สเร สโร โลปนีโย โหติฯ
[๑๙] บทสัตตมีวิภัตติที่ใช้ในคัมภีร์โมคคัลลานะนี้มีอรรถเป็นโอปสิเลสิกาธาระ แปลว่า ชิด. ท่านให้เหตุผลว่า การลบจะต้องติดอยู่กับการิยและนิมิต เพราะในที่ถูกคั่นด้วยการสวด (ในคาถา) ไม่มีการเข้าสนธิ ต่างจากในกัจจายนะและสัททนีติ ให้มีอรรถนิมิตตสัตตมีแปลว่า ในเพราะ.
[๒๐] บาลีชาดกเป็น ตํ กุทาสฺสุ ภวิสฺสติ.
[๒๑] แสดงว่า คำว่า โก อิมํ มี ๒ รูป คือ โก อิมํ ไม่เข้าสนธิ คิอ เป็นปกติตามสูตรนี้ และจะเข้าสนธิโดยปฏิเสธสูตรนี้ก็มี เช่น โกมํ ก็มี
[๒๒] ต่อไปนี้จนจบการใช้อุ.ของสูตรจะมี ๒ แบบ เนื่องด้วยกฺวจิและวา ศัพท์. สูตรที่มีวาศัพท์ในสูตร และในวุตติ แสดงไว้ทั้งกฺวจิและวา หมายความว่า  สูตรนั้นมีอุ.ที่เป็นไปตามสูตรนี้แน่นอน และบางอุ.ไม่เป็นไปตามสูตรนี้.  ส่วนบางอุ. จะมีรูปถึงสองอย่างคือ เป็นไปและไม่เป็นไปตามสูตรนี้. ลักษณะเช่นนี้ตรงกับการแสดงด้วย วาศัพท์ ที่มีอรรถววัตถิตวิภาสา ในคัมภีร์ปทรูปสิทธิ.
ในที่นี้ กฺวจิ จะแสดงอุทาหรณ์ที่เป็นไปตามสูตรนี้ และ ที่ไม่เป็นไปตามสูตรนี้. ส่วน วา จะแสดงอุทาหรณ์ที่มีได้สองรูปของอุทาหรณ์เดียว
ในสูตรนี้ คำว่า ปมาโท อมตํ ปทํ เป็นปกติถูกห้ามการลบสระหน้าหรือสระหลัง ด้วยสูตรนี้แน่นอน
คำว่า โสตินฺทฺริยํ ไม่เป็นปกติด้วยสูตรนี้ โดยถูกลบสระหลังไปเพื่อเข้าสนธิ ถือว่า ไม่มีวิธีการตามสูตรนี้ สองตัวอย่างนี้ เป็นผลของกฺวจิ ในบางแห่ง ที่ว่า บางแห่งทำได้ บางแห่งทำได้แต่ไม่ทำ
คำว่า โก อิมํ ไม่เข้าสนธิ ก็มี เข้าสนธิ เป็น โกมํ ก็มี ตัวอย่างนี้ถือเป็นผลของ วาศัพท์ ที่วา รูปนี้ทำได้แบบนี้ก็ได้ ไม่ทำก็ได้.
แต่ถ้าในสูตรใด ระบุแต่ กฺวจิ แสดงว่า สูตรนี้มีอุทาหรณ์ ๒ อย่าง คือ บางอุทาหรณ์ทำได้ บางอุทาหรณ์ไม่ได้ทำ. และในสูตรใด ระบุ แต่เพียง วา แสดงว่าสูตรนั้น อุทาหรณ์เดียวแต่มีรูปได้สองอย่าง.
อนึ่ง กฺวจิ และ วา ที่มาคู่กันในสูตรต่อจากนี้ไปจนจนสนธิกัณฑ์ ไม่ได้มาโดยตรงด้วยตัวสูตร แต่มาโดยอธิการนัย คือ นัยที่แสดงการติดตามไปในสูตรต่างๆ เพื่ออุปการะแก่วิธีที่ไม่ได้กล่าวไว้ในสูตรข้างหน้า.)
[๒๓] ในสูตรนี้วาศัพท์ที่ตามมาจากสูตรว่า ๒๘. น เทฺว วาฯ แสดงอุ.ที่สำเร็จโดยวิธีการของสูตรนี้บ้าง, และ ไม่ทำบ้าง หรือ ทำด้วยวิธีการของสูตรอื่นบ้าง ดังนั้น อุ.ที่สำเร็จด้วยสูตรนี้ได้แน่นอน ซึ่งเป็นผลของ กฺวจิ เช่น ตฺวํสิ,  จนฺทํว, จกฺกํว, หลํทานิ, จีวรนฺติ, ปตฺตนฺติ, ภิกฺขุนฺติฯ อุ.เหล่านี้ ไม่แน่นอน ซึ่งเป็นผลของ วา ศัพท์
คัมภีรปโยคสิทธิแสดงอุทาหรณ์ที่ไม่แน่นอนด้วยวาศัพท์ไว้ดังนี้กตํ + อิติ = กตนฺติ,  กตํ อิติ กึ + อิติ = กิมิติ, กินฺติทาตุ– + อปิ = ทาตุมฺปิ, ทาตุมปิ สทิสํ + เอว = สทิสํ ว, สทิสํว.
คัมภีร์ปทรูปสิทธิ แสดงว่า วิธีการทีลบสระท้ายนิคคหิตนั้น (ด้วยสูตร ปโร วา สโร รู. ๕๕) ได้แก่ สระของ อิติ อิว อิทานิ อสิ อปิ และเอว เป็นต้น ดังนั้น ในกรณีที่สระหลังไม่ใช่สระของ อิติ เป็นต้น แต่เป็นของศัพท์อื่น เอตฺถ เป็นต้น ก็ไม่ใช่วิธีการที่มีในสูตรนี้เช่น อหํ เอตฺถ,  เอตํ อโหสิ.แต่ในกรณีนี้ไม่ได้แสดงไว้ในที่นี้

[๒๔] ในพกชาดกอรรถกถา แก้เป็น พโก กกฺกฏกามิว, ยถา พโก กกฺกฏกา คีวจฺเฉทํ ปาปุณาติ ดังนั้น รูปนี้ไม่น่าจะมีการสนธิโดยลบนิคคหิต เพราะกกฺกฎกามิว ไม่ได้ตัดบทเป็น กกฺกฏกํ อิว แต่เป็น กกฺกฎกา อิว
[๒๕] สามี มาจาก สํ ทรัพย์ + อี (อัสสัตถิตัทธิต).  สํ = ธนํ ทรัพย์ มีวิ. ว่า สสฺส อตฺตโน อิทํ สํ สิ่งนี้มีอยู่แก่ตน ชื่อว่า สํ สิ่งของของตน ก็คือ ทรัพย์.  วิ. ทรัพย์ของผู้นี้มีอยู่ ดังนั้น ชื่อว่า สามี. ลบ นิคคหิต ด้วยสูตรนี้ สอี ลงมอาม สมฺอี ทีฆะสระที่อยู่ติดกับมฺอาคม เป็น สามี.  แต่บางแห่ง สํ+อี  แปลง นิคคหิตเป็น มฺ แล้ว ทีฆะเป็นอา (ปทวิจารทีปนี น. ๗๓๓)
[๒๖] อรรถวิจฉา แปลว่า แผ่ไป หมายถึง เนื้อความที่ต้องการพูดถึงกระจายไปทั่วถึงนามศัพท์ที่กล่าวถึง บทที่เป็นวิจฉา ในสนามหลวงแปลว่า หนึ่งหนึ่ง, แต่อาจแปลโดยอรรถว่า ทุกๆคน หรือ แต่ละ ก็ได้. บทที่กล่าวซ้ำกัน ในบางแห่ง ไม่ใช่วิจฉา ดูสัททนีติด้วย. รูปเอกํ เอกํ เมื่อลบสิวิภัตติแล้ว ได้รูปเดิมว่า เอก เพราะ อํ แปลงมาจาก สิ วิภัตติที่ลงท้ายอการันต์ในนปุงสกลิงค์.
[๒๗] (คือเป็นสูตรใหญ่ ในคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์นี้ น เช่นเดียวกับสูตรว่า กฺวจิ ธาตุวิภตฺติปฺปจฺจยานํ ทีฆวิปรีตาเทสโลปาคมา จฯ, ยทนุปปนฺนา นิปาตนา สิชฺฌนฺติ, ปจฺจยา ทนิฏฺฐา นิปาตนา สิชฺฌนฺติและ กฺวจาทิมชฺฌุตฺตรานํ ทีฆรสฺสาปจฺจเยสุ จที่ใช้แยกเฉพาะบทแต่ละประเภท แต่ในโมคคัลลานมีสูตรนี้เพียงสูตรเดียวที่ใช้ครอบคลุมลักษณะพิเศษทุกเรื่อง). ดังนั้น ในอุทาหรณ์ในพระบาฬีที่ไม่มีสูตรสำเร็จรูป ก็ให้อ้างสูตรนี้สำเร็จรูปตามพระบาฬีนั้น เพราะถือวา “รูปว่า ตทมินา เป็นต้นนี้ ก็มีใช้อยู่” ส่วนขั้นตอนการประกอบรูปให้อ้างอิงตามที่ควรจะเป็น ดังที่ท่านจะแสดงต่อไป.
[๒๘] หนฺติ ก็คือ หนนฺติ อรรถกถาชาดกเวสสันตร แก้ศัพท์นี้เป็น หนนฺติ. รูปพหุวจนะนี้ มาจาก หนฺ หึสา เบียดเบียน + อ + อนฺติ วิภัตติ. ลบ อ ที่ หฺ ด้วยสูตรนี้ และลบ นฺ ที่สุดธาตุด้วยสูตรใหญ่ (คือ สูตรนี้) = หฺ อ  + อนฺติ, ลบ อ วิกรณ ด้วยสูตร กฺวจิ วิกรณานํ.  ดังนั้น คำนี้ไม่ใช่เอกวจนะเหมือนอุทาหรณ์ว่า หนติ ที่ลบ อฺ ท้าย ห ที่อยู่ติดกับ นฺ) โปรดสังเกตที่บทลงปฐมาวิภัตติเป็นพหุวจนะ. นอกจากนี้ยังตัวอย่างอื่นอีก เช่น ลุทฺทกา มิคํ หนฺติ, นายพรานทั้งหลายฆ่าเนื้อ, เกวฏฺฏา มจฺฉํ หนฺติ พรานปลา ฆ่าปลา.
อีกนัยหนึ่ง รูปว่า หนฺติ ที่เป็นเอกวจนะ ลบ อวิกรณประจำหมวดภูวาทิ. ท่านแสดงไว้ดังนี้
ในที่มีการลบ วิกรณปัจจัย ด้วยสูตร กฺวจิ วิกรณานํ , หนฺ + อ + ติ ลบ อวิกรณ เป็น หนฺ + ติ = หนฺติ เช่น  ผลํ เว กทลึ หนฺติ ผลกล้วย ย่อมฆ่า (หน่อ) กล้วย, สกฺกาโร กาปุรสํ หนฺติ สักการะ ทำลายคนชั่ว., หนฺติ กุทฺโธ ปุถุชฺชโน ปุถุชน โกรธกริ้วแล้วย่อมฆ่า.
 (นิรุตติ. น. ๔๓๓ หลังสูตรว่า ๖๕๓ วจภุชมุจวิสานํ กฺขงฺ)
[๒๙] อีกนัยหนึ่ง ถ้ามีอรรถกรรม ลง ยปัจจัยในอรรถกรรม แล้วลบ ย ไปด้วยสูตรนี้.สองรูปนี้ลบ ย วิกรณในทิวาทิคณธาตุ ดังในธาตุปปิกาภาคผนวกว่า ขา และ ฆา นอกจากเป็นภูวาทิคณะแล้ว ยังอยู่ในทิวาคณ. ดังนั้น ในที่นี้ จึงลบ ยวิกรณ.
[๓๐] อรรถกถาทูตชาดก อธิบายว่า ยสฺส อตฺถาย อิเม สตฺตา ตณฺหาวสิกา หุตฺวา ทูรมฺปิ คจฺฉนฺติ สัตว์พวกนี้ตกภายใต้อำนาจความอยากไปยังที่ไกล เพื่อประโยชน์แห่งท้องใด. ในที่นั้นคำว่า ท้อง ได้แก่ ความอยาก. คนพวกนี้ถูกความอยากส่งไปยังที่ไกลเพื่อทำประโยชน์ของตัณหา.
[๓๑] สัททนีติ สูตร ๖๗๙ ห้ามการสมาสกับตฺวาปัจจยันตบทในกรณีที่เป็นกิริยาในระหว่าง เพราะยังมองหาปธานกิริยาข้างหลังอยู่ ดังนี้ว่า ตฺวาปจฺจยนฺตาทีหิ จ การย่อบทด้วยบทหลังที่เป็นกิริยาในระหว่างซึ่งลงท้ายด้วยตฺวาปัจจยเป็นต้น ย่อมไม่มี.ส่วนสูตรที่ ๖๘๓ อนุญาต ตฺวาปัจจยันตบทที่เป็นบทหน้าให้สมาสกับบทหลังได้แน่นอนดังนี้ว่า ตฺวาปจฺจยนฺตาทีหิ จ ปุพฺเพหิ. การย่อบทกับบทหน้ามีบทที่ลงท้ายด้วยตฺวาปัจจัยเป็นต้นด้วย  ย่อมมีอย่างแน่นอน. ปกติ ตฺวา ปัจจัย ถ้าเป็นบทหลัง ไม่สามารถเข้าสมาสกับบทหน้าได้ แต่ในกรณีที่เป็นบทหน้า สามารถเข้าสมาสกับบทหลังได้ ในรูปนี้ แปลง ตฺวา เป็น ย แล้วลบ ย ไปด้วยสูตรนี้.ดังตัวอย่างในที้นี้ว่า อุปาทายรูปํ =  มหาภูตานิ อุปาทาย (อุปาทยิตฺวา) + รูปํ อุปาทายรูปํ.)  อุ.อื่น เช่น อนุปาทายวิมุตติ แปลว่า การหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น = กญฺจิ ธมฺมํ อนุปาทยิตฺวา วิมุตฺติ.
[๓๒]ปกติ ธา ที่มี สํเป็นบทหน้า และใช้เป็นตฺวาปจฺจยนฺตบท จะกลายรูปเป็น สทฺทหิตฺวา แต่ถ้าเป็นนามศัพท์ จะเป็น สทฺธา โดยแปลงนิคคหิตเป็น ธวคฺคนฺต คือ นฺ แปลง นฺ เป็น ทฺ สำเร็จรูปเป็น สทฺธา ลง อปัจจัย + อาปัจจัย.  แต่ในรูปนี้เหมือนจะพ้นกฎเกณฑ์ โดยนำวิธีการที่เคยใช้เป็นนามศัพท์แล้วลงตฺวาปัจจัย เมื่อควรจะเป็น สทฺธาตฺวา ก็แปลง ตฺวา เป็น ย.  อีกนัยหนึ่ง รูปว่า สทฺธาย นี้เป็น ย ที่แปลงมาจาก สฺมา วิภัตติท้ายอิตถีลิงค์นั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ควรจัดเป็นกลุ่มลบ ย ที่แปลงมาจากวิภัตติ.

[๓๓] มีวิธีแสดงไว้ใน ที.สี.อฏฺ. และสี.ฎี. ๒/๒๔๐, ๓๐๓
๒๖๘. กลฺยาณวากฺกรโณติ มธุรวจโนฯ (สี.อฏฺ.)
๒๖๘. อตฺถวิญฺญาปเน สาธนตาย วาจา เอว กรณํ วากฺกรณํ นิรุตฺตินเยน, ตํ กลฺยาณมสฺสาติ กลฺยาณวากฺกรโณฯ
๓๐๓. วากฺกรณนฺติ อุทาหรณโฆโสฯ.
๓๐๓. อตฺถวิญฺญาปเน สาธนตาย วาจาว กรณํ วากฺกรณนฺติ ตุลฺยาธิกรณตํ ทสฺเสตุํ ‘‘อุทาหรณโฆโส’’ติ วุตฺตํ, วจีเภทสทฺโทติ อตฺโถฯ
การกระทำคือวาจา เรียกว่า วากฺกรณ ได้แก่ การเปล่งเสียง, 
[๓๔] สัททนีติมีสูตร ๑๒๘. วาจาย โพฺย ปเถ. วาจาสทฺทสฺส โพฺย โหติ ปถสทฺเท ปเร. พฺยปฺปโถ.
เอวํ พฺยาโข=เอวํ วิย โข=วิสฺส พฺยตฺตํ, ทีโฆ จ ยโลโป จฯ
เอวํ พฺยาโข มาจาก เอวํ วิย โข. แปลง วิ เป็น พฺย, ทีฆะ อ เป็น พฺยา, ลบ ย ที่ วิย.
สัททนีติมีสูตร ๑๒๗. เอวํ ขฺวนฺตเร วิยสฺส พฺยา. เอวํสทฺทโขสทฺทานมนฺตเร ฐิตสฺส วิยสทฺทสฺส พฺยาเทโส โหติ.

*****************

สมภพ สงวนพานิช


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น