วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๒ สนธิกัณฑ์ : สัญญาราสิ : ครุสัญญา

๑. สนฺธิกณฺฑ
สญฺญาราสิ
ครุสญฺญาราสิ
กัณฑ์ที่ ๑ สนธิกัณฑ์
กลุ่มว่าด้วยชื่ออักษร
กลุ่มครุสัญญา[1]

ครุสัญญา คือ ชื่ออักษรที่ใช้กันโดยทั่วไปในคัมภีร์ไวยากรณ์
วณฺโณ, สโร, สวณฺโณ, ทีโฆ, รสฺโส, พฺยญฺชโน, วคฺโค, นิคฺคหีตํฯ
ครุสัญญา คือ ชื่ออักษรที่ใช้กันโดยทั่วไปในคัมภีร์ไวยากรณ์ ได้แก่ ชื่อเหล่านี้ คือ วัณณะ, สระ, สวัณณะ, ทีฆะ, รัสสะ, พยัญชนะ, วรรค, และ นิคคหิต.

. ออาทโย ติตาลีสํ [2]วณฺณา[3]
ออาทโย พินฺทนฺตา เตจตฺตาลีสกฺขรา วณฺณา นาม โหนฺติฯ
, อา, อิ, อี, อุ, อู, เอต, เอ, โอต, โอฯ ก, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,ว ส, , , อํฯ อตฺถํ วณฺเณนฺติ ปกาเสนฺตีติ วณฺณา, อกฺขราติ จ วุจฺจนฺติ, นามปญฺญตฺติรูปตฺตา นกฺขรนฺติ ขยวยํ น คจฺฉนฺตีติ อกฺขราฯ ‘‘นามโคตฺตํ น ชีรตี’’ติ [4]หิ วุตฺตํฯ

ความหมายของคำว่า วัณณะ
๑. ออาทาโย ติตาลีสํ[5] วณฺณา.
อักษร ๔๓ มี อ อา เป็นต้น มีชื่อว่า วัณณะ.
อักษร ๔๓ ตัว มี อ อา เป็นเบื้องต้น และมีพินทุ (นิคคหิต) เป็นที่สุด มีชื่อว่า วัณณะ. (ได้แก่)


อ อา อิ อี อุ อู เอตฺ โอตฺ [6]
ก ข ค ฆ ง
จ ฉ ช ฌ ญ
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
ต ถ ท ธ น
ป ผ พ ภ ม
ย ร ล ว ส ห ฬ อํ.

คำว่า วัณณะ คือ อักษรที่ประกาศเนื้อความ และ โดยทั่วไปเรียก วัณณะเหล่านั้น ว่า อักษร. คำว่า อักษร คือ เสียงที่ไม่ถึงความหมดและเสื่อมไป เพราะเป็นรูปที่นำมาใช้ในการตั้งเป็นชื่อ (นามบัญญัติ ที่ใช้เรียกถึงสิ่งต่างๆ). ดังพระบาฬีว่า นามโคตฺตํ น ชีรติ (ชื่อและตระกูล หาได้คร่ำคร่าไปไม่).

ความหมายของคำว่า สระ
๒. ทสาโท สรา [7]
เตสุ วณฺเณสุ อาทิมฺหิ ทส วณฺณา สรา นาม โหนฺติฯ
สยเมว ลทฺธสรูปา หุตฺวา ราชนฺติ วิโรจนฺตีติ สราฯ
๒. ทสาโท สรา
อักษร ๑๐ ตัวแรก ชื่อว่า สระ.
บรรดาอักษร ๔๓ ตัวเหล่านั้น อักษร ๑๐ ตัวในเบื้องต้น มีชื่อว่า สระ.
สระ เป็นอักษรที่มีสภาพอันได้แล้ว[8]  ย่อมรุ่งเรือง (ออกเสียงได้) ด้วยตนเองทีเดียว.[9] 

ความหมายของคำว่า สวัณณะ
๓. เทฺว เทฺว สวณฺณาฯ
เตสุ สเรสุ เทฺว เทฺว สรา สวณฺณา นาม โหนฺติฯ
, อา อวณฺโณ, อิ, อี อิวณฺโณ, อุ, อู อุวณฺโณ, เอต, เอ เอตวณฺโณ, โอต, โอ โอตวณฺโณฯ สมาโน วณฺโณ สุติ เอเตสนฺติ สวณฺณา, สรูปาติ จ วุจฺจนฺติ, สมานํ รูปํ สุติ เอเตสนฺติ สรูปาฯ

๓. เทฺว เทฺว สวณฺณา
สระทุกสองตัว (แต่ละคู่) ชื่อว่า สวัณณะ.
บรรดาสระเหล่านั้น สระสองตัวหนึ่งๆ มีชื่อว่า สวัณณะ (ซึ่งมีการจัดแบ่งเป็นคู่ดังนี้ คือ)
อ และ อา เรียกว่า อวัณณะ, อิ และ อี เรียกว่า อิวัณณะ, อุ และ อู เรียกว่า อวัณณะ, เอตฺ และ เอ เรียกว่า เอตวัณณะ, โอต และ โอ เรียกว่า โอตฺวัณณะ.
สวัณณะ มีรูปวิเคราะห์ว่า วัณณะ คือ เสียง อันเหมือนกัน ของสระเหล่านี้ มีอยู่ เหตุนั้น สระเหล่านั้นชื่อว่า สวัณณะ, และเรียกว่า สรูปะ ได้อีก โดยมีรูปวิเคราะห์ว่า สมานํ รูปํ สุติ เอเตสนฺติ สรูปา รูป คือ เสียงที่เสมอกันของสระเหล่านี้มีอยู่ ดังนั้น จึงชื่อว่า สรูปะ. [10]

ความหมายของคำว่า รัสสะ
๔. ปุพฺโพ รสฺโส[11]
ทฺวีสุ ทฺวีสุ สวณฺเณสุ โย โย ปุพฺโพ โหติ, โส โส รสฺโส นาม โหติฯ รสฺเสน กาเลน วตฺตพฺพาติ รสฺสา, รสฺสกาโล นาม อกฺขิทลานํ อุมฺมิสนนิมฺมิสนสมกาโลฯ
ตตฺถ เอต, โอต อิติ ทฺเว เอกปทสํโยเค ปเร กฺวจิ ลพฺภนฺติฯ เอฏฺฐิ, เสฏฺโฐ, โอฏฺโฐ, โสตฺถิฯ
เอกปทสํโยเคติ กิํ? ปทนฺตรสํโยเค ปเร รสฺสา มา โหนฺตูติฯ มํ เจ ตฺวํ นิขณํ วเน, [ชา. ๒.๒๒.๕] ปุตฺโต ตฺยาหํ มหาราช [ชา. ๑.๑.๗]ฯ
กฺวจีติ กิํ? เอกปทสํโยเคปิ วคฺคนฺเตสุ วา ย, , , เวสุ วา ปเรสุ รสฺสา มา โหนฺตูติฯ เอนฺติ, เสนฺติ, เอยฺย, ภาเสยฺย, เมณฺโฑ, โสณฺโฑฯ
๔. ปุพฺโพ รสฺโสฯ
สระตัวแรก ในสวัณณสระ  ชื่อว่า รัสสะ..
สระตัวแรกทุกตัว ในสวัณณสระแต่ละคู่ มีชื่อว่า รัสสะ. รัสสสระ คือ อักษรที่ถูกกล่าวด้วยระยะเวลาอันสั้น, เวลาอันสั้น ก็คือ ระยะเท่ากับการเปิดและปิดเปลือกตา (การลืมตาและหลับตา).
ในรัสสะดังกล่าวมานั้น ที่ว่า เอ และ โอ (เสียงสั้น) นี้พบได้ในเอกปทสังโยค (สังโยคที่เป็นบทเดียวกัน หรือ ที่อยู่ในภายในบทเดียวกัน) บางตัว.[12] ตัวอย่างเช่น.
เอฏฺฐิ, เสฏฺโฐ, โอฏฺโฐ, โสตฺถิ.[13]
เหตุไรจึงกล่าวว่า ในเอกปทสังโยค? คำนี้กล่าวไว้หวังว่าจะห้ามเอและโอเป็นรัสสะได้ในกรณีที่มีปทันตรสังโยค (สังโยคที่มีอยู่ในบทอื่น) อยู่ข้างหลัง [14] ตัวอย่างเช่น[15]
มํ เจ ตฺวํ นิขณํ วเน[16],   
ปุตฺโต ตฺยาหํ มหาราช[17]
เหตุที่ข้าพเจ้ากล่าวคำว่า กฺวจิ นี้เพื่อจะห้ามความเป็นรัสสะ ในกรณีที่พยัญชนะข้างหลัง เป็นพยัญชนะที่สุดวรรค บ้าง, เป็น ย ร ล ว บ้างถึงบทนั้นจะเป็นเอกปทสังโยคก็ตาม. ตัวอย่างเช่น
เอนฺติ (ตวัคคันตพยัญชนะ คือ นฺ)
เสนฺติ (ตวัคคันต คือ นฺ)
เอยฺย (อวัคคพยัญชนะ คือ ยฺ)
ภาเสยฺย (อวัคคพยัญชนะ คือ ยฺ)
เมณฺโฑ (ฏวัคคันตพยัญชนะ คือ ณฺ)
โสณฺโฑ (ฏวัคคันตพยัญชนะ คือ ณฺ)[18]

ความหมายของคำว่า ทีฆะ
๕. ปโร ทีโฆ [ก. ๕; รู. ๕; นี. ๕]ฯ
ทฺวีสุ ทฺวีสุ สวณฺเณสุ โย โย ปโร โหติ, โส โส ทีโฆ นาม โหติฯ ทีเฆน กาเลน วตฺตพฺพาติ ทีฆา, ทีฆกาโล นาม รสฺเสหิ ทิคุณกาโลฯ
๕. ปโร ทีโฆ[19]
สระตัวหลังในแต่ละสวัณณสระ ชื่อว่า ทีฆะ.
สระตัวแรกทุกตัวในสวัณณสระคู่หนึ่งๆ มีชื่อว่า ทีฆสระ.  คำว่า ทีฆะ คือ สระทั้งหลายที่ควรถูกกล่าวด้วยระยะเวลายาว, คำว่า ยาว ได้แก่ ระยะเวลาเป็นสองเท่าของรัสสสระ. (คือ สองมาตรา)

ความหมายของคำว่า “พยัญชนะ
๖. กาทโย พฺยญฺชนาฯ
เตสุ วณฺเณสุ กาทโย พินฺทนฺตา วณฺณา พฺยญฺชนา นาม โหนฺติฯ อตฺถํ พฺยญฺชยนฺตีติ พฺยญฺชนาฯ เต ปน สุทฺธา อทฺธมตฺติกา, รสฺสยุตฺตา ทิยทฺธมตฺติกา, ทีฆยุตฺตา ติยทฺธมตฺติกาฯ
๖. กาทโย พฺยญฺชนา[20]
อักษรมี กเป็นตัวแรก ๑ ชื่อว่า พยัญชนะ.
ในอักษรเหล่านั้น อักษรที่มีกเป็นตัวแรก มีพินทุ (นิคคหิต) เป็นตัวสุดท้าย มีชื่อว่า พยัญชนะ.
พยัญชนะ ได้แก่ อักษรที่ทำให้เนื้อความชัดเจน. ก็พยัญชนะเหล่านั้น ที่ไม่มีสระประกอบ มีระยะเวลา(ออกเสียง) ครึ่งมาตรา, ถ้ามีประกอบด้วยรัสสสระ มีระยะเวลา (ออกเสียง) มาตราครึ่ง, ที่มีทีฆสระ มีระยะเวลา (ออกเสียง) สองมาตราครึ่ง.[21]

ความหมายของคำว่า วรรค หรือ พยัญชนวรรค
๗. ปญฺจปญฺจกา วคฺคาฯ
เตสุ พฺยญฺชเนสุ กาทิ-มนฺตา ปญฺจพฺยญฺชนปญฺจกา วคฺคา นาม โหนฺติฯ
กาทิ ปญฺจโก กวคฺโค, จาทิ จ วคฺโค, ฏาทิ ฏวคฺโค, ตาทิ ตวคฺโค, ปาทิ ปวคฺโคฯ เสสา อวคฺคาติ สิทฺธํ. วณฺณุทฺเทเส เอกฏฺฐานิกานํ พฺยญฺชนานํ วคฺเค สมูเห นิยุตฺตาติ วคฺคาฯ
๗. ปญฺจปญฺจกา วคฺคาฯก. ๗; รู ๙; นี. ๗
กลุ่มพยัญชนะทุกๆ ๕ ตัว ชื่อว่า วรรค.
บรรดาพยัญชนะเหล่านั้น กลุ่มพยัญชนะทุกๆ ๕ ตัว มีกเป็นตัวต้นและมเป็นตัวท้าย มีชื่อว่า วรรค.
กลุ่มพยัญชนะ ๕ ตัวที่มี กเป็นตัวต้น ชื่อว่า กวรรค. ที่มี จเป็นตัวต้น ชื่อว่า จวรรค. ที่มี ฏเป็นตัวต้น ชื่อว่า ฏวรรค. ที่มีตเป็นตัวต้นชื่อว่า ตวรรค ที่มีปเป็นตัวต้นชื่อว่า ปวรรค. พยัญชนะที่เหลือ จึงมีชื่อว่า อวรรค โดยปริยาย.[22]  ในตอนแสดงเรื่องอักษร (แสดงความหมายของวรรคนี้ไว้ว่า) [23] พยัญชนะที่ประกอบในวรรคคือกลุ่มแห่งพยัญชนะที่มีฐานเดียวกัน ชื่อว่า วรรค.

ความหมายของคำว่า นิคคหิต
๘. พินฺทุ นิคฺคหีตํ ฯ
อนฺเต พินฺทุมตฺโต วณฺโณ นิคฺคหีตํ นามฯ นิคฺคยฺห คยฺหติ อุจฺจาริยตีติ นิคฺคหีตํฯ
๘. พินฺทุ นิคฺคหีตํ ฯ
พินทุ (จุด _ ) ชื่อว่า นิคคหิต.
อักษร ที่เป็นเพียงจุดเท่านั้น ในสุดท้ายแห่งพยัญชนะ (พยัญชนะตัวสุดท้าย ซึ่งเป็นเพียงจุดเท่านั้น) มีชื่อว่า นิคคหิต. คำว่า นิคคหิต ได้แก่ อักษรที่กดกรณ์แล้วถูกออกเสียงได้. [24]

ครุสญฺญาราสิ นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มครุสัญญา จบ




[1] ครุสัญญา หมายถึง ชื่อที่สามารถตั้งวิเคราะห์ได้ เช่น วณฺณา หมายถึง อักษรที่ประกาศเนื้อความ ดังนี้เป็นต้น. ส่วนลหุสัญญา หมายถึง ชื่อที่ไม่สามารถตั้งชื่อได้ โดยตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่สังเกตหรือใช้แทนครุสัญญาเหล่านั้น เช่น ฌ เป็นชื่อว่า อิ อี,  ล เป็นชื่อของ อุ อู ดังนี้เป็นต้น.
[2] [ติตาลีส (พหูสุ)]
[3] [ก. ๒; รู. ๒; นี. ๑, ๒]
[4] [สํ. นิ. ๑.๗๖]
[5] ติตาลีส มาจาก ติ + จตฺตาลีสา = ๔๓ เป็นสมาส ลบ จตฺ และ รัสสะ อา ที่ จตฺตาลีสา ด้วยสูตร ตทมินาทีนิ เป็น ติตาลีส.  มีวิ.   ตโย จ จตฺตาลีสา จ สี่สิบ กับ อีก สาม ชื่อว่า สี่สิบสาม.  (ตโย จ จตฺตาลีสา จาติ จตฺถ สมาเส ‘‘ตทมินาทีนิ’’ติ จต โลเป จ รสฺเส จ ติตาลีสาติ. = โมคฺ.ป.)
[6] เอตฺ โอตฺ คือ เอ และ โอ ที่ ออกเสียง เป็นเสียงสั้นว่า เอะ และ โอะ.  ตฺ เป็นอักษรเครื่องสังเกต (คัมภีร์ปทรูปสิทธิ เรียกว่า อักษรอนุพันธ์) วิธีการเปลี่ยนแปลงอักษรในรูปแบบต่างๆ ซึ่งท่านจะกล่าวอักษรเหล่านี้ต่อไป.
[7] [ก. ๓; รู. ๓; นี. ๓]
[8] สรูป แปลว่า สภาพหรือความเป็นของตน สำหรับในที่นี้ คือ สภาพที่ออกเสียงได้ ซี่งเป็นของตนโดยธรรมชาติ.
[9] ด้วยรูปวิเคราะห์ตามมติของนิรุตติทีปนีนี้ แสดงว่า สระ ได้แก่ อักษรที่รุ่งเรือง คือ ปรากฏด้วยตนเองโดยการออกเสียง. คัมภีร์กัจจายนัตถทีปนีอธิบายว่า มาจาก สยํ นิบาตในอรรถว่า ด้วยตนเอง + ราช ธาตุ สว่าง + ร ปัจจัย (ด้วยสูตร คมา โร (ณฺวาทิ ๗/๑๓). ลบ ร = สยํราช.  แปลง สยํ เป็น ส และ ราช เป็น ร ด้วยนิรุตตินัย สำเร็จรูปเป็น สร. ส่วนคัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกาอธิบายว่า
              สยํ ปุพฺพา’ราช=ทิตฺติยํ’ตีสฺมา กฺวิมฺหิ อนฺตโลเป สมาเส จ ตทมินาทิตฺตา นิรุตฺตินเยน วา สรสทฺโท นิปฺผชฺชตีติ, ‘สร-คติหิํ สาจินฺตาสุ’ อิจฺจสฺมา อปฺปจฺจเยน วา นิปฺปชฺชตีติ ทสฺเสตุมาห=‘สยํ ราชนฺตี’ติอาทิฯ
           คำว่า สร สำเร็จรูปด้วยนิรุตตินัย เพราะสูตรว่า ตทมินาฯ มีในที่ลบสระที่สุดและในสมาส ในเพราะกฺวจิปัจจัยหลังจาก ราช ธาตุที่มีอรรถส่องสว่าง ซึ่งมีสยํ เป็นบทหน้า.
(ถ้าเป็นสมาส ตั้งรูปว่า สยํ + ราช + กฺวิ ในกรณีนี้เป็นกิตันตสมาส “สมาสที่มีกิตเป็นที่สุด” จึงลบ ชฺ อักษรที่สุดธาตุสำเร็จรูปเป็น สรา ซึ่งไม่ใช่รูปที่ประสงค์ ดังนั้น จึงสำเร็จด้วยนิรุตตินัยคือ อาเทศ แผลงสยํ เป็น ส และ รา เป็น  ร สำเร็จรูปเป็น สร). อีกนัยหนึ่ง คำว่า สร สำเร็จรูปโดยอปัจจัย ท้าย สรธาตุ ในอรรถว่า ไป เบียดเบียนและคิด ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สยํ ราชนฺติ ไว้เพื่อแสดงความข้อนี้. (ยังไม่ทราบว่าคัมภีร์ใดแสดงไว้เพราะ ในโมคคัลลานไวยากรณ์ไม่ได้แสดงรูปวิเคราะห์ไว้)
สร นอกจากที่ท่านวิเคราะห์ในที่นี้แล้วยังมีอีกหลายนัย คือ
สรนฺติ=สปฺปธานภาเวน ปวตฺตนฺติ, พฺยญฺชเน วา สาเรนฺตีติ สราฯ (ปโยคสิทธิ)
อักษรที่เป็นไป โดยความมีตนเป็นใหญ่ (ไม่ต้องอาศัยอักษรอื่นช่วยให้เป็นไป), อีกนัยหนึ่ง อักษรที่ทำให้พยัญชนะทั้งหลายเป็นไป (คือออกเสียงได้).
สรนฺติ สุยฺยมานตํ คจฺฉนฺตีติ สรา. (สัททนีติ สุตตมาลา ๓)
อักษรที่แล่นไป คือถึงความเป็นอารมณ์ของโสตวิญญาณ ชื่อว่า สระ.
สทฺทียนฺติ สรา. (คัมภีร์กัจจายนสุตตัตถะ)
อักษรที่ถูกออกเสียงได้เอง ชื่อว่า สระ
 (รวบรวมจาก ปทวิจาร น.๕๓)
สระ ๑๐ ตัว คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ เอต (เอ เสียงสั้น = เอะ) และ โอต (โอ เสียงสั้น=เอะ).  สำหรับ สระ คือ เอตฺ และ โอตฺ นั้น ท่านอธิบายว่า พบในกรณีที่มีสังโยคในบทเดียวกันเป็นเสียงท้ายบางรูปเท่านั้น คือ เอตฺถ โอฏฺฐ เป็นต้น ไม่ใช่ทุกรูป ความโดยละเอียดจะมาในสูตรว่า ปุพฺโพ รสฺโส.
[10] ความรู้ที่ได้จากการศึกษา
สระ ๒ ตัวหนึ่งๆ  ท่านใช้คำว่า เทฺว เทฺว สองศัพท์ซ้ำกัน เพื่อสื่อความว่า สระ ๑๐ ตัวนั้น ถูกแบ่งออกทีละสอง เหมือนสูตร วคฺคา วคฺคา ปญฺจโส มนฺตา
วณฺณ ศัพท์มีความหมายว่า อักษร (ธาน.ฎี.๓๔๘ และ ๗๗๙) ซึ่งอักษรในที่นี้มีความหมายว่า สุติ  เสียง (ธาน.ฎี.๑๒๘) หมายความว่า อักษรเหล่านั้น ปรากฏเป็นสิ่งที่ถูกได้ยิน ไม่ได้ถูกตาเห็น เหมือนอย่างในปัจจุบันที่เป็นตัวหนังสือ.
อย่างไรก็ตาม ตัวอักษรที่จารึกแล้ว ที่อ่านกันด้วยสายตา เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกเห็นได้ ก็สามารถสื่อความหมายได้เช่นเดียวกับเสียง ดังนั้น ถ้าโดยนัยนี้ คำว่า วัณณะ ที่แปลว่า เสียง ก็ถือเอาโดยภูตปุพฺพคติกนัย นัยที่ถือเอาสิ่งเคยเป็นมาก่อน.  เพราะในยุคก่อนที่จารึกเป็นตัวอักษร ใช้สวดหรือบอกกันด้วยเสียงเท่านั้น แม้ต่อมามีการจารึก ก็สามารถสื่อกันได้ตัวหนังสือ แต่ก็ยังใช้คำว่า สุติ หรือ เสียง กันอยู่.  (สมภพ) ส่วนความหมายว่า สรูปะ คำว่า รูป ในที่นี้ ได้แก่ เสียง เหมือนกัน.
[11] ก. ๔; รู. ๔; นี. ๔.๒๒
[12] หมายความว่า เอ และ โอ ที่เป็นเสียงสั้น มีการออกเสียงเท่ากับมาตราเดียว (ตามกัจจายนไวยากรณ์) นั้นที่แท้ก็ต้องอยู่ในบทที่มีพยัญชนสังโยคเท่านั้น และเป็นบางบทด้วย ไม่พบทุกตัว.  เมื่อเป็นเช่นนี้ อักษรที่กล่าวว่า ๔๓ ตัวนั้น ที่แท้ก็มีเพียง ๔๑ เท่ากับที่กล่าวไว้ในกัจจายนไวยากรณ์นั่นเอง เพราะท่านกล่าวว่า ทีฆสระที่มีสังโยคมีมาตราเดียวเท่ากับรัสสระ ซึ่งได้แก่ เอตฺถ โอฏฐ เป็นต้นนั่นเอง ไม่ได้เกินไปจากนี้เลย.
[13] เนื่อง โอ และ เอ ที่มีอยุ่ในบทที่มีสังโยค เป็นรัสสะ จึงออกเสียงสั้นเท่ากับ อ อิ เป็นต้น ดังนั้น คำว่า เอฏฺฐิ จึงมีเสียงเท่ากับ เอ็ด-ถิ, โอฏฺโฐ เท่ากับ อด-โถ เทียบได้กับเสียง เอ็ด และ อด ในภาษาไทย เช่น เอ็ดตะโร, อดอาหาร. ในคำว่า เสฏฺโฐ และ โสตฺถิ ก็นัยนี้.
[14] แปลโดยพยัญชนะว่า ในเพราะปทันตรสังโยคอันเป็นเบื้องหล้ง เอตฺ และ โอตฺ จงอย่าเป็นรัสสะ.
[15] สองตัวอย่างนี้จะเห็นว่า  ตฺวํ ข้างหลังถึงจะเป็นสังโยค ก็จัดเป็นปทันตรสังโยค ไม่มีอำนาจทำให้ เอ ที่ เจ ต้องเป็นรัสสะ คือ เอตฺ แต่อย่างใด แม้ ตฺยาหํ ก็ไม่มีอำนาจทำให้ โต ที่ปุตฺโต ต้องเป็นรัสสะ คือ โอตฺ
[16] [ชา. ๒.๒๒.๕]
[17] [ชา. ๑.๑.๗]
[18] ตัวอย่างเหล่านี้เป็นอุทาหรณ์ของกฺวจิศัพท์ ที่ห้ามความเป็นรัสสะเช่นกัน ในกรณีที่เป็นวัคคันตพยัญชนะ และ อวัคคพยัญชนะคือ ย ร ล ว แสดงว่า ในตัวอย่งเหล่านี้ไม่ออกเสียงสั้นเหมือนอย่าง เอตฺถ เป็นต้นที่กล่าวมาข้างต้น. คำว่า เอยฺย อ่านว่า เอยะ ตามปกติ ไม่อ่านว่า ไอยะหรือเอยยะ เหมือนภาษาไทย ทั้งไม่ออกเสียงสั้นเป็นเอะยะ. ในคำว่า ภาเสยฺย ก็นัยนี้ ไม่อ่านว่า ภาเสยยะ ภาไสยะ แต่อ่านว่า ภาเสยะ ตามปกติ.
[19] ก. ๕; รู. ๕; นี. ๕
[20] ก. ๖; รู. ๘; นี. ๖
[21] หนึ่งมาตราใช้เวลาเท่ากับ การดีดนิ้วมือ ๑ ครั้ง, สายฟ้าแลบ ๑ ครั้งหรือการกระพริบตา ๑ ครั้ง. (คัมภีร์นยาสะ ๔)
[22] สิทฺธ ศัพท์คัมภีร์เนตติฎีกา แก้เป็น ปากฏ คือ มีขึ้น. การมีขึ้นนี้ได้แก่ การมีขึ้นโดยปริยาย หรือ ได้มาโดยเป็นผลพลอยได้ ไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากกริยา ดังนั้น เมื่อตั้งชื่อว่า กเป็นต้นมีมเป็นที่สุดว่าวรรคแล้ว พยัญชนะที่เหลือ คือ ย ร ฯลฯ นิคคหิต จึงชื่อว่า อวรรค โดยปริยาย เรียกวิธีการแบบนี้ว่า อวุตตสิทธนัย คือ นัยที่สำเร็จได้โดยไม่กล่าวไว้โดยตรง.
[23] ท่านใช้คำว่า วณฺณุเทเส แปลว่า ในตอนแสดงเรื่องอักษร คำนี้ หมายถึง อะไร ระหว่าง ตอนแสดง หรือ เป็นชื่อตำรา.
[24] (ก. ๘; รู. ๑๐; นี. ๘). คำว่า นิคฺคหิต มาจาก นิ อุปสัค = นิคฺเหตฺวา ข่ม + คห ธาตุ มีอรรถว่า ออกเสียง. หมายความว่า นิคคหิตเป็นพยัญชนะที่ต้องกดหรือข่มฐานและกรณ์ไม่ปล่อยเสียงออกมาตามฐานและกรณ์ปกติ จึงออกเสียงได้ อุปมาเหมือนนกที่เกาะอยู่บนยอดไม้ เมื่อจะบินขึ้นได้ต้องกดกิ่งไม้ที่มันอาศัยอยู่แล้วบินขึ้นไป หมายถึง การปิดปากนั่นเอง ตัวอย่างเช่น การออกเสียง กํ ต้องกดฐานและกรณ์ของ กํ คือ กัณฐฐานและกัณฐกรณะ โดยไม่เปล่งเสียงออกทางปาก แต่ให้เสียงขึ้นไปทางจมูกแล้วเปล่งออกทางจมูก เป็นต้น. ดังคำอธิบายในค้มภีร์อรรถกถาพระวินัยว่า นิคฺคหีตนฺติ ยํ กรณานิ นิคฺคเหตฺวา อวิสชฺเชตฺวา อวิวเฏน มุเขน สานุนาสิกํ กตฺวา วตฺตพฺพํ “พินทุที่บุคคลข่ม คือ ไม่ปล่อยฐานและกรณ์ไว้แล้วกล่าว โดยกระทำให้มีเสียงตามจมูกด้วยปากอันไม่เปิด ชื่อว่า นิคคหิต. และในคัมภีร์การิกาฎีกาว่า นิคฺคเหตฺวานาติ นิปฺปีเฬตฺวา. มุขํ ปิทหิตฺวาติ วุตฺตํ โหติ. คำว่า นิคฺคเหตฺวาน แปลว่า ข่มแล้ว ความหมายก็คือ ปิดปากแล้ว.” ข้อนี้ หมายความว่า การเปิดปากไม่กว้างและไม่ให้ลมผ่านปากไปเท่านั้น ถ้าปิดปากสนิทจะเป็นเสียงที่มี มฺ อักษรอยู่ท้าย เช่น พุทฺธมฺ สรณมฺ ซึ่งไม่ใช่เสียงนิคคหิต. (ปทวิจารทีปนี น. ๖๘)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น