วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๗ สนธิกณฺฑ : ทีฆรสฺสราสิ

ทีฆ, รสฺสราสิ
กลุ่มวิธีการสนธิโดยทีฆะและรัสสะ
อถ ทีฆ, รสฺสา ทีปิยนฺเตฯ
ต่อจากโลปวิธิราสิ จะแสดงทีฆราสิและรัสสราสิ สืบไป.

๓๔. เสสา ทีฆาฯ
ปกฺขิตฺตมิทํ สุตฺตํฯ ลุตฺเตหิ วา อาเทสกเตหิ วา วณฺเณหิ เสสา รสฺสสรา กฺวจิ ทีฆา โหนฺติ วาฯ

หัวข้อศึกษา :
ในกรณีที่สระหน้าก็ดี สระหลังก็ดี นิคหิตก็ดี ถูกลบไป หรือ สระหน้าเป็นต้น ถูกแปลงเป็นพยัญชนะ ก็ดี สระที่เหลือ เป็นทีฆะแน่นอน.
สูตรกำกับวิธีการ :
๓๔. เสสา ทีฆา.
รัสสะที่เหลือจากการลบหรืออาเทส เป็นทีฆะได้ ในบางแห่ง.
สูตรนี้ถูกเพิ่มเข้ามา. (วิธีการของสูตรนี้ คือ) รัสสสระที่เหลือจากสระที่ถูกลบไปหรือถูกแปลงเป็นพยัญชนะแล้ว (ตามพยัญชนะแปลว่า มีอาเทสอันทำแล้ว) เป็นทีฆสระ ได้บ้าง ในบางแห่ง.
สาระที่ได้จากการศึกษา :
สูตรนี้ท่านเพิ่มเข้ามานอกจากสูตรโมคคัลานไวยากรณ์. ความประสงค์ของสูตรนี้ คือ หลังจากลบสระหน้าหรือสระหลังแล้ว ก็ดี ในที่มีอักษรมีอาเทศอันทำแล้วก็ดี ถ้ายังมีรัสสสระหลงเหลืออยู่ ให้ทีฆะได้ในบางแห่ง. วิธีการเช่นนี้เป็นวิธีการของสูตร ทีฆํ, ยเมทนฺตสฺสาเทโส,  วโมทุทนฺตานํ เป็นต้น ในคัมภีร์กัจจายนะ แต่ในที่นี้รวมวิธีการเหล่านั้นไว้ในสูตรนี้).

ปุพฺพลุตฺเต ตาว
ตตฺรายมาทิ ภวติํ [ธ. ป. ๓๗๕], ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย [ธ. ป. ๘๘; สํ. นิ. ๕.๑๙๘], พุทฺธานุสฺสติ, สทฺธีธ วิตฺตํ ปุริสสฺส เสฏฺฐํ [สุ. นิ. ๑๘๓], อนาคาเรหิ จูภยํ [ธ. ป. ๔๐๔; สุ. นิ. ๖๓๓], ธมฺมูปสํหิตา [ที. นิ. ๒.๓๔๙], ตถูปมํ ธมฺมวรํ อเทสยิ [ขุ. ปา. ๖.๑๓], เตสํ วูปสโม สุโข [ที. นิ. ๒.๒๒๑] อิจฺจาทิฯ

สารัตถะของสูตร -
๑) เมื่อลบสระหน้า สระหลัง อันเป็นรัสสะที่เหลือ เป็นทีฆสระ
ตตฺรยมาทิ ภวติ = ตตฺร + อยมาทิ ภวติ นี้เป็นเหตุเบื้องต้น เพื่อเป็นผู้มีปัญญาในพระศาสนานี้
ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย = ตตฺร + อภิรตึ อิจฺเฉยฺย
พุทฺธานุสฺสติ = พุทฺธ + อนุสฺสติ
สทฺธีธ วิตฺตํ ปุริสสฺส เสฏฺฐํ = สทฺธา + อิธ วิตฺตํ ปุริสสฺส เสฏฺฐํ
อนาคาเรหิ จูภยํ = อนาคาเรหิ จ อุภยํ
ธมฺมูปสํหิตา = ธมฺม + อุปสํหิตา
ตถูปมํ ธมฺมวรํ อเทสยิ = ตถา อุปมํ ธมฺมวรํ อเทสยิ
เตสํ วูปสโม สุโข = เตสํ ว + อุปสมโส สุโข

สาระที่ได้จากการศึกษา
โปรดสังเกต :
ทุกตัวอย่าง จะลบสระหน้า และ ทีฆสระหลัง ซึ่งเป็นรัสสะ

ปรลุตฺเต
อชิตาติ ภควา อโวจ [สุ. นิ. ๑๐๓๙, ๑๐๔๑], สุเมโธ สาชาโต จาติ, รุปฺปตีติ รูปํ [สํ. นิ. ๓.๗๙], พุชฺฌตีติ พุทฺโธ, สาธูติปติสฺสุณิตฺวา [ธ. ป. อฏฺฐ. ๑.๔ กาฬยกฺขินีวตฺถุ], กิํสูธ วิตฺตํ ปุริสสฺส เสฏฺฐํ [สุ. นิ. ๑๘๔] อิจฺจาทิฯ
๒) เมื่อสระหลังถูกลบ สระหน้า อันเป็นรัสสะที่เหลือ เป็นทีฆสระ
อชิตาติ ภควา อโวจ = อชิต + อิติ ภควา อโวจ.
สุเมโธ สาชาโต จาติ = สุเมโธ สาชาโต จ อิติ
รุปฺปตีติ รูปํ = รุปฺปติ + อิติ รูปํ
สาธูติ ปติสฺสุณิตฺวา = สาธุ อิติ ปติสฺสุนิตฺวา.
กึสูธ วิตฺตํ ปุริสสฺส เสฏฺฐํ = กึสุ + อิธ วิตฺตํ ปุริสสฺส เสฏฺฐํ.
สาระที่ได้จากการศึกษา
โปรดสังเกต :
ทุกตัวอย่าง จะลบสระหลัง และ ทีฆสระหน้า ซึ่งเป็นรัสสะ

พินฺทุลุตฺเต
ตาสาหํ [ปาจิ. ๗๐๙], เตสาหํ [ชา. ๒.๒๒.๓๑๓]ฯ
๓) เมื่อพินทุถูกลบ (ในที่มีพินทุอันลบไป) สระหลังจากนิคคหิตนั้น เป็นทีฆะ
ตาสาหํ = ตาสํ อหํ
เตสาหํ = เตสํ อหํ

อาเทเสสุ
มฺยายํธมฺโม [มหาว. ๗], สฺวาหํ [เป. ว. ๔๘๕], วิตฺยานุภูยเต อิจฺจาทิฯ
๔) ในที่มีอักษรอาเทสหลายตัวอันทำแล้ว หลังจากได้อาเทศอักษรแล้ว
มฺยายํ ธมฺโม = เม อยํ ธมฺโม
สฺวาหํ = โส อหํ
วิตฺยานุภูยเต = วิตฺติ อนุภูยเต
สาระที่ได้จากการศึกษา :
โปรดสังเกต
เอ ของ เม ก็ดี โอ ของ โส ก็ดี ถูกแปลง เป็น ยฺ และ วฺ ดังนั้น รัสสะที่อยู่ข้างหลังตนจึงเป็น ทีฆะ.
วิตฺติ แปลง อิ ที่ วิตฺติ เป็น ยฺ ก็จะเป็น วิตฺตฺยฺ ในที่มีอาเทศหลายตัวเช่นนี้ ก็ลบสังโยคตัวต้นที่มีรูปเหมือนกันไปหนึ่งต้วตามที่ได้ศึกษามาแล้ว รัสสะที่เหลืออยู่จึงเป็นทีฆะ.

ยทิปิ อิมานิ รูปานิ พฺยญฺชเน อุปริสุตฺเตน สิชฺฌนฺติ, ลุตฺตาเทเสสุ ปน นิจฺจมิว ทีฆสิทฺธิญาปนตฺถํ อิทํ สุตฺตํ ปกฺขิตฺตนฺติ ทฏฺฐพฺพํฯ
(ชี้แจงเหตุผลในการเพิ่มสูตรนี้)
ถึงในที่มีพยัญชนะเป็นนิมิต สูตรต่อไป (คือสูตร๓๕. พฺยญฺชเน ทีฆรสฺสา) จะใช้ในกรณีนี้ได้เช่นกัน คือ ที่เป็นรัสสะเป็นทีฆะบ้าง ที่เป็นทีฆะเป็นรัสสะบ้าง ก็ตาม, แต่สูตรว่า เสสา ทีฆา นี้ เพิ่มเข้ามาเพื่อกำหนดว่า ในที่ถูกลบและอาเทศ สระหน้าก็ตาม สระหลังก็ตามที่ยังเหลือเป็นทีฆะ แน่นอน.

๓๕. พฺยญฺชเน ทีฆรสฺสา [ก. ๒๕, ๒๖; นี. ๓๕, ๓๖, ๖๔, ๗๑, ๑๖๕, ๑๗๙]
พฺยญฺชเน ปเร รสฺสทีฆานํ กฺวจิ ทีฆ,รสฺสา โหนฺติ วาฯ ตตฺถ ทีฆวิธิ นาม คาถาวเสน วา อาคมวเสน วา วจนสุขวเสน วา พุทฺธิสุขวเสน วา โหติฯ
หัวข้อศึกษา : ในกรณีที่มีพยัญชนะข้างหลัง ที่เป็นทีฆะให้รัสสะ, ที่เป็นรัสสะให้เป็นทีฆะ
สูตรกำกับ :
๓๕. พฺยญฺชเน ทีฆรสฺสา
เพราะพยัญชนะ ที่เป็นรัสสะเป็นทีฆะ ที่เป็นทีฆะ เป็นรัสสะ.
คำขยายความสูตร :
ในเพราะพยัญชนะเบื้องหลัง ทำรัสสสระให้เป็นทีฆสระ และทำทีฆสระให้เป็นรัสสสระ ได้บ้าง ในบางแห่ง.
ในการทำเป็นทีฆะและเป็นรัสสะเหล่านั้น การทำเป็นทีฆะ ย่อมมีเนื่องด้วยคาถา, อาคม, ให้กล่าวสะดวก, หรือ ให้รู้สะดวก.

ตตฺถ คาถาวเสน ตาว
มธุวามญฺญติ พาโล [ธ. ป. ๖๙], ขนฺตี จ โสวจสฺสตา [ขุ. ปา. ๕.๑๐], เอวํ คาเม มุนี จเร [ธ. ป. ๔๙], สกฺโก อุชู จ สุหุชู จ [ขุ. ปา. ๙.๑] อิจฺจาทิฯ
สารัตถะของสูตร :
ในเหตุผลการทำเป็นทีฆะนั้น (ลำดับแรก)
๑) การทำเป็นทีฆะเนื่องด้วย (ข้อบังคับของฉันท์ใน) คาถา ตัวอย่างเช่น
มธุวา มญฺญติ พาโล = มธุว + มญฺญติ พาโล.
ขนฺตี จ โสวจสฺสตา = ขนฺติ + จ โสวจสฺสตา.
เอวํ คาเม มุนี จเร = เอวํ คาเม มุนิ + จเร
สกฺโก อุชู จ สุหุชู จ = สกฺโก อุชุ + จ สุหุชุ + จ.

สาระที่ได้จากการศึกษา :
โปรดสังเกต มธุวา ขนฺตี มุนี และอุชู เดิมเป็น มธุว ขนฺติ มุนิ และ อุชุ กลายเป็นทีฆสระ ตามเกณฑ์ของสูตรนี้.

อาคเม
อุรคามิว [ชา. ๑.๗.๓๐], อรหตามิว [ที. นิ. ๒.๓๔๘], ปสฺสตามิว [สุ. นิ. ๗๖๙] อิจฺจาทิฯ คาถาวเสนาติปิ ยุชฺชติฯ
๒) ในที่ลงอาคม รัสสะเป็นทีฆะ เช่น
อุรคามิว = อุรคา + อิว
อรหตามิว = อรหตา + อิว
ปสฺสตามิว = ปสฺสตา + อิว
ในกรณีนี้ จะเป็นทีฆะเนื่องด้วยคาถา ก็ควร.

วจนสุขญฺจ พุทฺธิสุขญฺจ ปุริเม เสสทีเฆปิ ลพฺภติฯ
การกล่าวได้สะดวก และการรู้ได้สะดวก ย่อมมีแม้ในทีฆะอันเหลือ ที่เป็นสระหน้า (?)

ตตฺถ วจนสุเข
ฉารตฺตํ มานตฺตํ [จูฬว. ๙๗], ปกฏฺฐํ วจนํ ปาวจนํ, ปาสาโท, ปากาโร, ปาวสฺสิ เมโฆ, นครํ ปาวิสิ, ปาเวกฺขิ, ปาริสุทฺธิ, ปาฏิปโท, จตุราสีติสหสฺสานิ [ธ. ส. อฏฺฐ. ๕๘๔] อิจฺจาทิฯ
๓) ในที่จะกล่าวได้สะดวก ตัวอย่างเช่น
ฉารตฺตํ มานตฺตํ = ฉ + รตฺตํ มานตฺตํ
ปกฏฺฐํ วจนํ ปาวจนํ = ปากฏฺฐํ วจนํ ปวจนํ
ปาสาโท = ปสาโท
ปากาโร = ปกาโร
ปาวสฺสิ เมโฆ = ปวสฺสิ เมโฆ
นครํ ปาวิสิ = นครํ ปวิสิ
ปาเวกฺขิ = ปเวกฺขิ
ป่าริสุทฺโธ = ปริสุทฺโธ
ปาฏิปโท = ปฏิปโท
จตุราสีติสหสฺสานิ = จตุร + อสีติสหสฺสานิ

พุทฺธิสุขํ นาม ปทจฺเฉทญาณสุขํฯ ตตฺถ
สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ [ปารา. ๑], สาตฺถิกา ธมฺมเทสนา, จกฺขุมาสฺส ยถา อนฺโธ อิจฺจาทิฯ
๓) ง่ายต่อความรู้ในการตัดบท ชื่อว่า ง่ายต่อการรู้ (รู้ง่าย)
สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ = สอตฺถํ สพฺยญฺชนํ
สาตฺถิกา ธมฺมเทสนา = สอตฺถิกา ธมฺมเทสนา
จกฺขุมาสฺส ยถา อนฺโธ = จกฺขุมา อสฺส ยถา อนฺโธ.

สาระที่ได้จากการศึกษา
โปรดสังเกต เดิม สอตฺถํ สอตฺถิกา จกฺขุมา อสฺส กลายเป็นทีฆะได้ เพื่อ รู้จักการแยกบทได้ง่าย.

พินฺทุลุตฺเต ปน สาราโค, สารตฺโต อิจฺจาทีนิ ปุพฺเพ อุทฺธฏานิเยวฯ
๔) ในที่ลบนิคหิต อุทาหรณ์เหล่านี้เคยแสดงมาแล้วในสูตรก่อน เช่น
สาราโค = สํ ราโค
สารตฺโต = สํ รตฺโต
(คือ เมื่อลบนิคหิตแล้ว เพราะรพยัญชนหลัง ทีฆ อ ที่ ส เป็น สา ได้ ตัวอย่างนี้ ที่ท่านหมายเอาในข้อความว่า ยทิปิ อิมานิ รูปานิ พฺยญฺชเน อุปริสุตฺเตน สิชฺฌนฺติ, ลุตฺตาเทเสสุ ปน นิจฺจมิว ทีฆสิทฺธิญาปนตฺถํ อิทํ สุตฺตํ ปกฺขิตฺตนฺติ ทฏฺฐพฺพํฯ ถึงรูปเหล่านี้ จะสำเร็จในเพราะพยัญชนะหลัง ด้วยสูตรต่อไปได้ก็ตาม, แต่กระนั้น พึงทราบว่า ข้าพเจ้าเพิ่มสูตรนี้เข้ามาเพื่อบอกให้ทราบการเป็นทีฆะ เหมือนกับว่าแน่นอน ในที่ถูกลบและมีอักษรอาเทศ.)
โปรดสังเกต :  
สํ ราโค, สํ รตฺโต  ลบนิคคหิตแล้ว อ ที่เคยเป็นรัสสะ เป็นทีฆะ เพราะ ร ข้างหลัง.

อิติ ทีฆราสิ
ทีฆราสิ (กลุ่มวิธีการทำเป็นทีฆะ) เป็นอย่างนี้










รสฺสสนฺธิมฺหิ คาถาวเสน ตาว
ยิฏฺฐํวหุตํว โลเก [ธ. ป. ๑๐๘], โภวาทิ นาม โส โหติ [ธ. ป. ๓๙๖; สุ. นิ. ๖๒๕], ยถาภาวิ คุเณน โส อิจฺจาทิฯ
ในสนธิโดยทำเป็นรัสสะ แบ่งฐานะการทำเป็นรัสสะได้ดังนี้
๑) เนื่องด้วยคาถา ตัวอย่างเช่น
ยิฏฺฐํ ว หุตํ ว โลเก = ยิฏฺฐํ วา หุตํ วา โลเก
โภวาทิ นาม โส โหติ = โภวาที นาม โส โหติ
ยถาภาวิ คุเณน โส = ยถาภาวี คุเณน โส

อาคเม ย, , ทาคเมสุ ปุพฺพรสฺโส
ยถยิทํ [อ. นิ. ๑.๑-๔], ตถยิทํ, ยถริว อมฺหากํ ภควา, ตถริว ภิกฺขุสงฺโฆ, สมฺมเทว สมาจเร [สํ. นิ. ๑.๑๑๒], สมฺมทกฺขาโต มยา สติสมฺโพชฺฌงฺโค [สํ. นิ. ๕.๑๙๔] อิจฺจาทิฯ
๒) ในที่ลงอาคม คือ ย ร และ ท สระหน้าจะเป็นรัสสะ ตัวอย่างเช่น
ยถยิทํ = ยถา อิทํ
ตถยิทํ = ตถา อิทํ
ยถริว อมฺหากํ ภควา= ยถา อิว อมฺหากํ ภควา
ตถริว ภิกฺขุสงฺโฆ = ตถา อิว ภิกฺขุสงฺโฆ
สมฺมเทว สมาจเร = สมฺมา เอว สมาจเร
สมฺมทกฺขาโต มยา สติสมฺโพชฺฌงฺโค = สมฺมา อกฺขาโต มยา สติสมฺโพชฺฌงฺโค.

สํโยครสฺโส นาม พหุลํ ลพฺภติ
อกฺกโม, ปรกฺกโม, อกฺขาโต, อญฺญา, อญฺญินฺทฺริยํ, อญฺญาตํ ภควา, อญฺญาตํ สุคต, อตฺถรณํ, อปฺโผเฏติ, อลฺลิยติ, อจฺฉินฺทติ, อสฺสาโท, อาภสฺสโร, ปภสฺสโร, สพฺพญฺญุตญฺญาณํ, ฌานสฺส ลาภิมฺหิ วสิมฺหิ [ปารา. ๒๐๓-๒๐๔]
๓) โดยทั่วไป จะพบรัสสสระที่อยู่หน้าสังโยค เป็นส่วนใหญ่ เช่น
อกฺกโม = อา กโม
ปรกฺกโม = ปรา กโม
อกฺขาโต = อา ขาโต
อญฺญา = อา ญา
อญฺญินฺทฺริยํ = อา ญินฺทฺริยํ
อญฺญาตํ ภควา = อาญาตํ ภควา
อญฺญาตํ สุคตํ = อาญาตํ สุคต
อตฺถรณํ = อา ถรณํ
อปฺโผเฏติ = อา โผเฏติ
อลฺลิยติ, = อา ลียติ
อจฺฉินฺทติ, = อา ฉินฺทติ
อสฺสาโท, = อา สาโท
อาภสฺสโร, = อาภา สโร
ปภสฺสโร, = ปภา สโร
สพฺพญฺญุตญฺญาณํ, = สพฺพญฺญุตํ ญาณํ
ฌานสฺส ลาภิมฺหิ วสิมฺหิ = ฌานสฺส ลาภี อมฺหิ, วสี อมฺหิ

ตา, โตปจฺจเยสุปิ รสฺโส
กตญฺญุตา, อตฺถญฺญุตา, ธมฺมญฺญุตา, กญฺญโต, นทิโต, วธุโตฯ
๔) ในกรณีที่มี ตา และ โตปัจจัยอยู่ข้างหลัง สระหน้าต้องเป็นรัสสะ
กตญฺญุตา = กตญฺญู ตา
อตฺถญฺญุตา =, อตฺถญฺญู ตา
ธมฺมญฺญุตา =, ธมฺมญฺญู ตา
กญฺญโต =, กญฺญา โต
นทิโต =, นที โต
วธุโต =วธู โต

สมาเส
อิตฺถิปุมํ, อิตฺถิลิงฺคํ, อิตฺถิภาโว, สพฺพญฺญุพุทฺโธ อิจฺจาทิฯ
๕) ในกรณีที่เข้าสมาส สระหน้าเป็นรัสสะ
อิตฺถิปุมํ =  อิตฺถี + ปุมํ
อิตฺถิลิงฺคํ =, อิตฺถี + ลิงฺคํ
อิตฺถิภาโว =, อิตฺถี + ภาโว
สพฺพญฺญุพุทฺโธ =สพฺพญฺญู + พุทฺโธ


อิติ รสฺสราสิฯ
ทีฆ, รสฺสราสิ นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มการทำสนธิโดยทำเป็นรัสสะ เป็นอย่างนี้
และกลุ่มการทำสนธิโดยทำเป็นทีฆะและรัสสะ จบแล้ว.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น