วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๑๔ นามกัณฑ์ : วิภัตติราสิ

๒. นามกณฺฑ
วิภตฺติราสิ
๒. นามกัณฑ์
กลุ่มสาระเกี่ยวกับวิภัตติ

อถ ลิงฺคมฺหา สฺยาทิวิภตฺติวิธานํ ทีปิยเตฯ
ต่อจากสนธิกัณฑ์ จะแสดงการใช้วิภัตติมีสิเป็นต้นลงท้ายนามศัพท์.

ลิงฺคํ, นามํ, ปาฏิปทิกนฺติ อตฺถโต เอกํ, ทพฺพาภิธานสฺส ปุริสาทิกสฺส ปกติรูปสฺเสตํ นามํฯ ตญฺหิ สตฺตนฺนํ วิภตฺตีนํ วเสน วิภาคํ ปตฺวา กิญฺจิ วิสทรูปํ โหติ, กิญฺจิ อวิสทรูปํ, กิญฺจิ มชฺฌิมรูปนฺติ เอวํ ติวิเธน ลิงฺครูเปน ยุตฺตตฺตา ลิงฺคนฺติ วุจฺจติฯ
(ลำดับแรกที่ควรทราบ) คำว่า ลิงคะ ก็ดี นาม ก็ดี ปาฏิปทิกะ ก็ดี ต่างก็เป็นศัพท์ชนิดเดียวกัน โดยที่มีความหมายเหมือนกัน คือ เป็นชื่อของปกติรูป (ศัพท์เดิมที่ยังไม่ได้ลงวิภัตติ) ที่ใช้กล่าวถึงสิ่งของ.
แต่ปกติรูปเหล่านั้น ครั้นจำแนกโดยวิภัตติ ๗ เหตุที่ประกอบด้วยรูปแบบ ๓ ประเภท คือ บางพวกมีรูปที่รู้ได้ง่าย, บางรูปรู้ได้ยาก บางรูปมีลักษณะกลางๆ [๑]จึงเรียกว่า “ลิงคะ”

ตเทว กิญฺจิ สทฺทลิงฺคานุรูปํ, กิญฺจิ อตฺถลิงฺคานุรูปญฺจ ปริณมนฺตํ ปวตฺตติ, ตสฺมา นามนฺติ จ วุจฺจติฯ
ปกติรูปนั่นเอง มีบางชนิดที่น้อมไปอย่างเหมาะสมต่อความหมายที่จัดเป็นสัททลิงค์, บางชนิดก็น้อมไป อย่างเหมาะสมต่อความหมายที่จัดเป็นอัตถลิงค์ จึงมีชื่อเรียกว่า “นาม”[๒]

ตเทว ธาตุ, ปจฺจย, วิภตฺติปเทหิ เจว สทฺทปทตฺถกปเทหิ จ  วิสุํ ภูตํ ปทนฺติ กตฺวา ปาฏิปทิกนฺติ จ วุจฺจติฯ
ปกติรูปนั่นเอง โดยทำให้เป็นบทอีกชนิดหนึ่งแยกจาก ธาตุบท ปัจจยบท วิภัตติบท สัททปทัตกบท จึงมีชื่อเรียกว่า “ปาฏิปทิกะ”[๓]
ตตฺถ
บทที่ข้าพเจ้ากล่าวมานั้น

ธาตุปทํ นาม พฺรู, ภู, หูอิจฺจาทิฯ
ปจฺจยปทํ นาม ณ, ตพฺพ, อนีย อิจฺจาทิฯ
วิภตฺติปทํ นาม สิ, โย, อํ, โย,ติ, อนฺติ อิจฺจาทิฯ
สทฺทปทตฺถกปทานิ นาม ราชสฺส, สขสฺส, ปุมสฺส อิจฺจาทีนิฯ
 “พฺรู, ภู, หู” เป็นต้น ชื่อว่า ธาตุปท
ณ ตพฺพ อนีย เป็นต้น ชื่อว่า ปัจจยบท
สิ โย อํ โย, ติ อนฺติ เป็นต้น ชื่อว่า วิภัตติบท
คำว่า ราชสฺส (แห่งราชศัพท์) สขสฺส (แห่งสขศัพท์) ปุมสฺส (แห่งปุมศัพท์) เป็นต้น ชื่อว่า สัททัตถปทัตถกะ.

เอตฺถ จ ราชสฺสอิจฺจาทีนิ สทฺทสุตฺเต สทฺทปทตฺถกานิ โหนฺติ, ปโยเค อตฺถปทตฺถกานิ. ธาตุปจฺจยวิภตฺติปทานิ ปน นิจฺจํ สทฺทปทตฺถกานิ เอว โหนฺติ, สทฺทสุตฺเตสฺเวว จ ลพฺภนฺติ, น ปโยเคติ, อิทํ ทฺวินฺนํ นานตฺตํ.
ความต่างกันของบทสองชนิดนี้ มีดังนี้ สัททปทัตถกะ เป็นต้นว่า ราชสฺส นี้ มาในสูตรไวยากรณ์, ส่วนอัตถปทัตถกะ จะพบได้ในประโยคการใช้จริง. ส่วน ธาตุปท ปัจจยปท และวิภัตติปท จัดเป็นสัททัตถปทัตถกะ แน่นอนทีเดียว, และจะพบได้ในสูตรไวยากรณ์เท่านั้น ไม่พบในการนำไปใช้เป็นประโยค.

ยทิ เอวํ ภุสฺส, พฺรุสฺส, ภูโต, หูโต, เณ, ตพฺเพ, สิมฺหิ, ติมฺหิ อิจฺจาทินา เตหิ กถํ วิภตฺตุปฺปตฺติ โหตีติ    ถาม หากเป็นดังนี้ จะลงวิภัตติท้ายบทเหล่านี้เป็น ภุสฺส แห่งภูธาตุ พฺรุสฺส แห่งพฺรู ธาตุ, ภูโต ท้ายภูธาตุ, หูโต ท้ายหูธาตุ, เณ ในเพราะ ณ, ตพฺเพ ในเพราะตพฺพ, สิมฺหิ ในเพราะสิ, ติมฺหิ ในเพราะ ติ เป็นต้น อย่างนี้ได้อย่างไร?

อนุกรณปทานิ นาม ตานิ อตฺถิสฺส, กโรติสฺส อิจฺจาทีนิ วิย, ตสฺมา ตานิ จ ราชสฺส อิจฺจาทีนิ จ อนุกรณลิงฺคภาเวน เอตฺถ สงฺคยฺหนฺติ, น เอกนฺตลิงฺคภาเวนาติฯ
ตอบ บทเหล่านี้เป็น “อนุกรณบท”  เช่น อตฺถิสฺส ของ อตฺถิ ศัพท์, กโรติสฺส แห่งบทว่ากโรติ. เพราะฉะนั้น อนุกรณบทเหล่านี้มี ราชสฺส เป็นต้น ก็จัดลงในบทเหล่านั้น  โดยความเป็นอนุกรณลิงค์, มิใช่โดยเป็นลิงค์ที่ถูกต้อง.[๔]
เอวญฺจ กตฺวา ธาตุ- ปจฺจย, วิภตฺติวชฺชิตมตฺถวํ ลิงฺคนฺติ อโวจุํฯ ตตฺถ อตฺถวนฺติ อตฺถปทตฺถกํ วุจฺจติ, ราชสฺสอิจฺจาทิกํ สทฺทปทตฺถกํ วิวชฺเชติ,
เพราะเหตุนี้ ครูทั้งหลายจึงได้กล่าวเป็นหลักการทั่้วไปว่า “ธาตุปจฺจยวิภตฺติวชฺชิตมตฺถวํ ลิงฺคํ ลิงค์ ได้แก่ บทที่มีความหมายโดยเว้นธาตุ ปัจจัย และวิภัตติ”. ในข้อความนี้ อัตถปทัตถกะ ได้แก่ บทที่มีความหมาย ซึ่งเว้นสัททปทัตถกะ เช่น ราชสฺส เป็นต้น เสีย.

เอเตน อตฺถปทตฺถเก สติ ตทฺธิต, สมาส, กิตกปทานมฺปิ เอกนฺตลิงฺคภาวํ สาเธนฺติฯ น หิ เตสํ ลิงฺคนามพฺยปเทสกิจฺจํ อตฺถิ,
เมื่อแสดงอัตถปทัตถกะด้วยข้อความนี้ แม้บทตัทธิต บทสมาสและบทกิตก์ จึงมีความเป็นลิงค์โดยแน่นอน. ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีกิจคือการแสดงชื่อโดยพิเศษว่าลิงค์ของบทเหล่านั้น,

ยานิ จ นามสฺส วิเสสนานิ ภวิตุํ อรหนฺติ, ตานิ อุปสคฺค, นิปาตปทานิ ตฺวานฺตาทิปทานิ จ อิธ วิเสสนนามภาเวน สงฺคยฺหนฺตีติฯ
อย่างไรก็ตาม บทชนิดอื่นๆ คือ อุปสัคคบท นิปาตบท และปัจจยบทเช่น ตฺวา และอนฺต เป็นต้น อันควรเป็นวิเสสนะของคำนาม ก็จัดรวมเข้าไว้ในคำว่า “ลิงค์” นี้โดยความเป็นวิเสสนนาม.[๕]

**********

๖๑. ทฺเว ทฺเวกาเนเกสุ นามสฺมา สิ โย อํโย นา หิ ส นํ สฺมาหิ สนํสฺมิํสุ[๖]
๖๑. วิภัติเหล่านี้ อย่างละสองๆ  คือ สิ โย, อํ โย, นา หิ, ส นํ, สฺมา หิ, ส นํ, สฺมิํ สุ ใช้ลงท้าย นามศัพท์ ในเนื้อความ ๑ อย่าง และในเนื้อความหลายอย่างด้วย.

เอกสฺมิํ อตฺเถ จ อเนเกสุ อตฺเถสุ จ ปวตฺตา นามสฺมา ทฺเว ทฺเว สิ, โยเป. สฺมิํ, สุ วิภตฺติโย โหนฺติ.
วิภัตติทั้งหลาย คือ สิ โย, อํ โย, นา หิ, ส นํ, สฺมา หิ, ส นํ, สฺมิํ สุ ย่อมลงท้ายนามศัพท์ที่เป็นไปในเนื้อความ ๑ อย่าง ด้วย, ในเนื้อความหลายอย่าง ด้วย.

วิภชนฺตีติ วิภตฺติโย, เอกเมกํ ปกตินามปทํ นานารูปวิภาควเสน กตฺตุ, กมฺมาทินานาอตฺถวิภาควเสน เอกตฺต, พหุตฺตสงฺขฺยาวิภาควเสน จ วิภชนฺตีติ อตฺโถฯ
คำว่า วิภัตติ หมายถึง กลุ่มอักษรที่จำแนก หมายถึง จำแนกนามบทอันเป็นปกติรูป บทหนึ่งๆ โดยเป็นรูปที่แจกเป็นหลายรูป ประการหนึ่ง, โดยเป็นความหมายที่แจกเป็นหลายความหมายอาทิ เป็นกัตตา เป็นกรรมเป็นต้น, และโดยพจน์ที่แจกเป็น ๒ ชนิดคือ หนึ่งอย่าง และหลายอย่าง.

สิ, โย อิติ ปฐมา นามเป.สฺมิํ, สุ อิติ สตฺตมี นามฯ ทฺวีสุ ทฺวีสุ ปุพฺพํ ปุพฺพํ เอกสฺมิํ อตฺเถ ปวตฺตํ วจนนฺติ เอกวจนํ นามฯ ปรํ ปรํ อเนเกสุ อตฺเถสุ ปวตฺตํ วจนนฺติ อเนกวจนํ นามฯ พหุวจนนฺติ จ ปุถุวจนนฺติ จ เอตสฺส นามํฯ สพฺพมิทํ อิมินา สุตฺเตน สิทฺธํฯ
(ในตัวสูตร มีคำอธิบายแต่ละบทดังนี้) สิ และ โย ชื่อว่า ปฐมา ฯลฯ สฺมิํ และ สุ  ชื่อว่า สัตตมี.[๗] วิภัตติตัวแรก ในแต่ละคู่นั้น เป็นวิภัตติที่เป็นไปในเนื้อความ ๑ อย่าง จึงชื่อว่า เอกวจนะ. วิภัตติตัวหลัง เป็นวิภัตติที่เป็นไปในเนื้อความหลายอย่าง จึงชื่อว่า อเนกวจนะ. คำว่า พหุวจนะ ก็ดี ปุถุวจนะ ก็ดี เป็นชื่อว่า อเนกวจนะ นั้น. [๘] ชื่อทั้งหมดนี้ สำเร็จด้วยสูตรนี้.[๙]

๖๒. ปฐมาตฺถมตฺเต [๑๐]
๖๒. ปฐมาวิภัตติใช้ในความหมายว่าเป็นเพียงความหมายเดิมของลิงค์

กตฺตุ, กมฺมาทิกํ พาหิรตฺถํ อนเปกฺขิตฺวา ลิงฺคตฺถมตฺเต ปวตฺตา นามสฺมา ปฐมาวิภตฺติ โหติฯ
อยํ มม ปุริโส, อิเม มม ปุริสาฯ
ปฐมาวิภัตติ ย่อมลงท้ายนามศัพท์ ที่เป็นไปในความหมายเป็นเพียงความหมายของลิงค์[๑๑] โดยไม่เล็งถึง พาหิรัตถะ (ความหมายภายนอก) [๑๒]มี กัตตา และกรรมเป็นต้น.
ตัวอย่าง
อยํ มม ปุริโส = บุรุษนี้ ของเรา
อิเม มม ปุริสา = บุรุษทั้งหลายเหล่านี้ ของเรา.

๖๓. อามนฺตเน [๑๓]
๖๓. ปฐมาวิภัตติใช้ในความหมายว่า อามันตนะ (การเรียกให้ผู้ฟังรู้ตัว).

อามนฺตนํ วุจฺจติ อาลปนํฯ อามนฺตนวิสเย ลิงฺคตฺถมตฺเต ปวตฺตา นามสฺมา ปฐมาวิภตฺติ โหติฯ
โภ ปุริส, โภนฺโต ปุริสาฯ
อาลปนะ เรียกว่า อามันตนะ การเรียก. ปฐมาวิภัตติ ย่อมลงท้ายนามศัพท์ที่เป็นไปในความหมายอันเป็นเพียงความหมายของลิงค์ ซึ่งมีการเรียกเป็นที่ตั้ง[๑๔].
ตัวอย่าง
โภ ปุริส ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ
โภนฺโต ปุริสา ดูก่อนบุรุษผู้เจริญทั้งหลาย


๖๔. กมฺเม ทุติยา [๑๕]
๖๔. ทุติยาวิภัตติใช้ในความหมายว่า กรรม.

นามสฺมา กมฺมตฺเถ ทุติยาวิภตฺติ โหติฯ
ปุริสํ ปสฺสติ, ปุริเส ปสฺสนฺติฯ
ทุติยาวิภัตติ ย่อมลง ในความหมายที่เป็นกรรม[๑๖] ท้ายนามศัพท์.
ตัวอย่าง
ปุริสํ ปสฺสติ ย่อมเห็นซึ่งบุรุษ
ปุริเส ปสฺสนฺติ ย่อมเห็น ซึ่งบุรุษทั้งหลาย.

๖๕. กตฺตุกรเณสุ ตติยา [๑๗]
๖๕. ตติยาวิภัตติ ใช้ในความหมายว่า กัตตา และ กรณะ

นามสฺมา กตฺตริ จ กรเณ จ ตติยาวิภตฺติ โหติฯ
ปุริเสน กตํ, ปุริเสหิ กตํ, ปุริเสน กุลํ โสภติ, ปุริเสหิ กุลํ โสภติฯ
ตติยาวิภัตติ ย่อมลง ในความหมายว่า กัตตา และ กรณะ[๑๘]ท้ายนามศัพท์.
ตัวอย่าง
ปุริเสน กตํ การงาน อันบุรุษ ทำแล้ว
ปุริเสหิ กตํ การงาน อันบุรุษทั้งหลาย ทำแล้ว
ปุริเสน กุลํ โสภติ ตระกูล ย่อมงดงาม ด้วยบุรุษ
ปุริเสหิ กุลํ โสภติ ตระกูล ย่อมงดงาม ด้วยบุรุษทั้งหลาย.

๖๖. จตุตฺถี สมฺปทาเน [๑๙]
๖๗. จตุตถีวิภัตติ ใช้ในความหมายว่า สัมปทานะ.

นามสฺมา สมฺปทานตฺเถ จตุตฺถีวิภตฺติ โหติฯ
ปุริสสฺส เทติ, ปุริสานํ เทติฯ
จตุตถีวิภัตติ ย่อมลง ในความหมายว่า สัมปทานะ[๒๐]ท้ายนามศัพท์.
ตัวอย่าง
ปุริสสฺส เทติ ย่อมให้ แก่บุรุษ
ปุริสานํ เทติ ย่อมให้ แก่บุรุษทั้งหลาย.

๖๗. ปญฺจมฺยาวธิสฺมิํ [๒๑]
๖๗. ปัญจมีวิภัตติ ใช้ในความหมายว่า อวธิ ท้ายนามศัพท์

อวธิ วุจฺจติ อปาทานํฯ นามสฺมา อวธิอตฺเถ ปญฺจมีวิภตฺติ โหติฯ
ปุริสสฺมา อเปติ, ปุริเสหิ อเปติฯ
อปาทาน เรียกว่า อวธิ. ปัญจมีวิภัตติ ย่อมลงในความหมายว่า อวธิ[๒๒] ท้ายนามศัพท์.
ตัวอย่าง
ปุริสสฺมา อเปติ ย่อมออกไป จากบุรุษ
ปุริเสหิ อเปติ ย่อมออกไป จากบุรุษทั้งหลาย.

๖๘. ฉฏฺฐี สมฺพนฺเธ [๒๓]
๖๙. ฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในความหมายว่า สัมพันธะ.

นามสฺมา สมฺพนฺธตฺเถ ฉฏฺฐีวิภตฺติ โหติฯ
ปุริสสฺส ธนํ, ปุริสานํ ธนํฯ
ฉัฏฐีวิภัตติ ย่อมลง ในความหมายว่า สัมพันธะ ท้ายนามศัพท์[๒๔].
ตัวอย่าง
ปุริสสฺส ธนํ ทรัพย์ของบุรุษ.
ปุริสานํ ธนํ ทรัพย์ของบุรุษทั้งหลาย.

๖๙. สตฺตมฺยาธาเร [๒๕]
๖๙. สัตตมีวิภัตติ ใช้ในความหมายว่า อาธาระ

นามสฺมา อาธารตฺเถ สตฺตมีวิภตฺติ โหติฯ
ปุริสสฺมิํ ติฏฺฐติ, ปุริเสสุ ติฏฺฐติฯ
สัตตมีวิภัตติ ย่อมลงในความหมายว่า อาธาระ[๒๖] ท้ายนามศัพท์.
ตัวอย่างเช่น
ปุริสสฺมิํ ติฏฺฐติ ย่อมตั้งอยู่ ในบุรุษ
ปุริเสสุ ติฏฺฐติ ย่อมตั้งอยู่ ในบุรุษทั้งหลาย.


วิภตฺติราสิ นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มวิภัตติทั้ง ๗ จบ.

*****

ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช


[๑]  คำว่า รู้ง่ายเป็นต้น เป็นการกล่าวโดยสรุปความหมาย โดยมีศัพท์นิยมตามคัมภีร์ว่า วิสทรูป หรือ วิสทาการะ แปลโดยศัพท์ว่า มีรูปที่องอาจ กล่าวคือ ชัดเจน, ไม่ชัดเจน และกลางๆ ระหว่างนั้น โดยไม่ถึงกับรู้ง่าย และไม่ถึงกับรู้ยาก
[๒] สัททลิงค์ คือ นามศัพท์ที่เป็นปุงลิงค์ อิตถีลิงค์ นปุงสกลิงค์ ตามที่กำหนดขึ้นให้ใช้ในไวยากรณ์ โดยไม่เกี่ยวข้องกับตัวบุรุษเพศหรือสตรีเพศตามที่เป็นจริง ปกติรูปนี้สื่อถึงเนื้อความที่เป็นสัททลิงค์ คือ ลิงค์ที่กำหนดไว้ ๓ ประการเหล่านั้นโดยอาศัยหลักการว่า มีรูปแบบในการจำแนกโดยวิภัตติทั้ง ๗ ที่รู้ได้ง่ายเป็นต้น.
อัตถลิงค์ คือ นามศัพท์ที่เป็นปุงลิงค์เป็นต้นโดยสภาพจริงตามธรรมชาติ ปกติรูปนี้ก็จะมีความหมายคล้อยตามอัตถลิงค์ คือ ตามสภาพที่เป็นชายหรือหญิงนั้น.
[๓] บทในที่นี้ไม่ใช่บทที่ลงวิภัตติ แต่ท่านหมายถึง ธาตุ ปัจจัย วิภัตติ.  สัททปทัตถกะ คือ บทที่มีศัพท์เป็นอรรถของบท คือ เป็นบทที่้ใช้คำนั้นนั่นแหละเป็นความหมาย ซึ่งเมื่อจะแปลก็ให้แปลทับศัพท์เดิมไม่ต้องแปลความหมายในภาษาไทยเพื่อสื่อความหมายนี้อีก และอัตถปทัตถกะ คือ บทที่มีอรรถหรือความหมายเป็นอรรถของบท ได้แก่บททั่วไปที่สามารถแปลความหมายตามที่เป็นจริง
[๔] อนุกรณบท คือ บทที่ทำเลียนแบบคำที่มีความหมาย ใช้ในสูตรไวยากรณ์เพื่อแสดงการนำบทจริงๆ มาใช้ในกรณีต่างๆ อาทิ เป็นการี การิยะ หรือ นิมิต อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ภู คือ ภูธาตุที่มีความหมายว่า  มี หรือ เป็น,  แต่ ภุสฺส แปลว่า แห่งภูธาตุ ดังนั้น ภู ในคำว่า ภุสฺส เรียกว่า อนุกรณบท บทที่เลียนแบบบทว่า ภู ที่มีความหมายจริง. ในที่นี้ท่านเรียกว่า อนุกรณลิงค์หรือนามศัพท์ที่สมมุติหรือเขียนทับศัพท์เดิม.
[๕] เพราะมีความหมายคล้อยตามนามคำนั้นที่เป็นวิเสสยะ วิเสสนะ จึงถือเป็นคำนามประเภทหนึ่ง ดังที่ท่านจำแนกนามเป็น ๓  คือ นามนาม สัพพนาม คุณนาม

[๖] [ก. ๕๕; รู. ๖๓; นี. ๒๐๐]ฯ
[๗] ท่านย่อคำว่า อํ โย  ชื่อว่า ทุติยา, นา หิ  ชื่อว่า ตติยา, ส นํ  ชื่อว่า จตุตถี, สฺมา หิ  ชื่อว่า ปัญจมี, ส นํ ชื่อว่า ฉัฏฐี.
[๘] คัมภีร์สัททนีติ ปทมาลา (ฉบับแปล วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม) หน้า ๓๑๘ กล่าวว่า คำว่า พหุวจนํ ก็ดี, คำว่า ปุถุวจนํ ก็ดี, คำว่า อเนกวจนํ ก็ดี ว่าโดยความหมายเป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น เพราะฉะนั้น ในที่ทุกแห่ง คำว่า พหูพจน์, ปุถุพจน์ และอเนกพจน์ สามารถใช้แทนกันได้, คำว่ ปุถุวจนํ และ อเนกวจนํ เป็นคำที่นักไวยากรณ์ทางศาสนาบัญญัติใช้, คำว่า พหุวจนํ เป็นคำที่นักไวยากรณ์สันสกฤตบัญญัติใช้.
[๙] ตั้งชื่อเหล่านี้ด้วยสูตรนี้. สูตรนี้เป็นสัญญาสูตรใช้ตั้งชื่อวิภัตติเหล่านี้ว่า สิ โย ว่า ปฐมาเป็นต้น ว่า เอกวจนะเป็นต้น
[๑๐] [ก. ๒๘๔; รู. ๖๕; นี. ๕๗๗; จํ. ๒.๑.๙๓; ปา. ๒.๓.๔๖]
[๑๑] ลิงคัตถะ คือ ความหมายล้วนๆ ของนามศัพท์เพียงอย่างเดียว ไม่มีความหมายอื่นมี กัตตาและกรรมเป็นต้นปะปน.
[๑๒] พาหิรัตถะ คือ อรรถภายนอก หมายถึง ความหมายของวิภัตติและปัจจัยที่อยู่ภายนอกปกติรูป คือ ลิงคะ และธาตุ ไม่ใช่ความหมายเดิมของปกติรูป. ส่วนอันโตรัตถะ คือ อรรถภายใน หมายถึง อรรถเดิมของลิงค์และอรรถของธาตุ เช่น ภู ธาตุ มีอรรถว่า มีหรือเป็น เมื่อลง ติ อาขยาติกวิภัตติ เป็น ภวติ แปลว่า ย่อมมี. ในที่นี้อรรถกัตตาอันเป็นอรรถของ ติ เรียกว่า พาหิรัตถะ ส่วนอรรถว่า มีหรือเป็น ของภูธาตุ เรียกว่า อันโตรัตถะ.  แม้คำว่า ภโว = สถานที่อันเป็นที่อยู่ มาจาก ภู + ณ ที่มีอรรถว่า เป็นสถานที่อยู่ ดังนั้น อรรถว่า มี จึงชื่อว่า อันโตรัตถะ อรรถภายใน,  ส่วนอรรถว่า เป็นที่อยู่ ของ ณ ปัจจัย เป็นพาหิรัตถะ. แม้ในฝ่ายนามศัพท์ เช่น ปุริสํ (ปุริส + อํ) อํวิภัตติ มีอรรถกรรม ดังนั้น อรรถว่า บุรุษ ของ ปุริส  เป็นอันโตรัตถะ อรรถภายใน,  ส่วนอรรถกรมของอํ เป็น พาหิรัตถะ อรรถภายนอก.  ดังนั้น สิ และ โย เป็นวิภัตติที่ใช้ลงท้ายนามศัพท์ที่เป็นไปในอรรถของตนเท่านั้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพาหิรัตะ มีกัตตาแลกรรมเป็นต้น.  
[๑๓] [ก. ๒๘๕; รู. ๗๐; นี. ๕๗๘; จํ. ๒.๑.๙๔; ปา. ๒.๓.๔๗]
[๑๔] ปฐมาวิภัตติ แม้เป็นไปในความหมายว่าเป็นเพียงลิงคัตถะ ก็จริง แต่มีการเรียกเป็นความหมายที่เพิ่มมาอีกส่วนหนึ่ง.
[๑๕] [ก. ๒๙๗; รู. ๗๖, ๒๘๔; นี. ๕๘๐; จํ. ๒.๑.๔๓; ปา. ๑.๔.๔๙-๕๑]
[๑๖] กรรม คือ สิ่งที่ถูกทำโดยกิริยาของกัตตา.
[๑๗] [ก. ๒๘๖, ๒๘๘; รู. ๘๓; นี. ๕๙๑, ๕๙๔; จํ. ๒.๑.๖๒, ๖๓; ปา. ๒.๓.๑๘]
[๑๘] กัตตา คือ ผู้ทำกิริยานั้น ส่วนกรณะ คือ เป็นสิ่งช่วยเหลือของกัตตาในการทำกิริยา.
[๑๙] [ก. ๒๙๓; รู ๘๕, ๓๐๑; นี. ๖๐๕; จํ. ๒.๑.๗๓; ปา. ๒.๓.๑๓]
[๒๐] สัมปทานะ คือ ผู้เป็นที่ให้ของกัตตา กล่าวคือ ผู้รับ.
[๒๑] [ก. ๒๙๕; รู. ๘๙, ๓๐๗; นี. ๖๐๗ จํ. ๒.๑.๘๑; ปา. ๒.๓.๒๘; ๑.๔.๒๔ ปญฺจมฺยวธิสฺมา (พหูสุ)]
[๒๒] อวธิ คือ เขตแดนที่กำหนดขอบเขตเป็นที่เริ่มต้น จรดถึง และแยกออก อย่างใดอย่างหนึ่งตามควรแก่บริบท. คัมภีร์กัจจายนไวยากรณ์เรียกว่า อปาทาน แต่คัมภีร์นี้และคัมภีร์อรรถกถาฎีกาเรียกว่า อวธิ. สองคำนี้มี ความหมายเหมือนกันต่างเพียงชื่อเรียก.
[๒๓] [ก. ๓๐; รู. ๙๒, ๓๑๕; นี. ๖๐๙; จํ. ๒.๑.๙๕; ปา. ๒.๓.๕๐]
[๒๔] สัมพันธะ คือ ความเกี่ยวข้องของนามศัพท์ศัพท์นี้กับศัพท์อื่นในฐานะต่างๆ เช่น เป็นเจ้าของ เป็นที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น.
[๒๕] [ก. ๓๑๒; รู. ๙๔, ๓๑๙; นี. ๖๓๐; จํ. ๒.๑.๘๘; ปา. ๒.๓.๓๖; ๑.๓.๔๕]
[๒๖] อาธาระ คือ สถานที่ตั้งแห่งกิริยาของกัตตา โดยเป็นที่อยู่อาศัยเป็นต้น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น