วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๑๕ นามกัณฑ์ : อิตถีปัจจยราสิ

อิตฺถิปจฺจยราสิ
กลุ่มศัพท์ที่ลงปัจจัยในอิตถีลิงค์

๗๐. อิตฺถิยมตฺวา [1]
๗๐. ลง อาปัจจัย ในอิตถีลิงค์ ท้ายนามศัพท์อการันต์

อิตฺถิยํ+อโต+อาติ เฉโทฯ อการนฺตนามมฺหา อิตฺถิยํ อาปจฺจโย โหติฯ
สูตรนี้ตัดบทเป็น อิตฺถิยํ + อโต + อา. ความหมายคือ อาปัจจัย ย่อมลง ในอิตถีลิงค์ ท้ายนามศัพท์ที่เป็นอการันต์.

ครั้งที่ ๑๔ นามกัณฑ์ : วิภัตติราสิ

๒. นามกณฺฑ
วิภตฺติราสิ
๒. นามกัณฑ์
กลุ่มสาระเกี่ยวกับวิภัตติ

อถ ลิงฺคมฺหา สฺยาทิวิภตฺติวิธานํ ทีปิยเตฯ
ต่อจากสนธิกัณฑ์ จะแสดงการใช้วิภัตติมีสิเป็นต้นลงท้ายนามศัพท์.

ลิงฺคํ, นามํ, ปาฏิปทิกนฺติ อตฺถโต เอกํ, ทพฺพาภิธานสฺส ปุริสาทิกสฺส ปกติรูปสฺเสตํ นามํฯ ตญฺหิ สตฺตนฺนํ วิภตฺตีนํ วเสน วิภาคํ ปตฺวา กิญฺจิ วิสทรูปํ โหติ, กิญฺจิ อวิสทรูปํ, กิญฺจิ มชฺฌิมรูปนฺติ เอวํ ติวิเธน ลิงฺครูเปน ยุตฺตตฺตา ลิงฺคนฺติ วุจฺจติฯ
(ลำดับแรกที่ควรทราบ) คำว่า ลิงคะ ก็ดี นาม ก็ดี ปาฏิปทิกะ ก็ดี ต่างก็เป็นศัพท์ชนิดเดียวกัน โดยที่มีความหมายเหมือนกัน คือ เป็นชื่อของปกติรูป (ศัพท์เดิมที่ยังไม่ได้ลงวิภัตติ) ที่ใช้กล่าวถึงสิ่งของ.
แต่ปกติรูปเหล่านั้น ครั้นจำแนกโดยวิภัตติ ๗ เหตุที่ประกอบด้วยรูปแบบ ๓ ประเภท คือ บางพวกมีรูปที่รู้ได้ง่าย, บางรูปรู้ได้ยาก บางรูปมีลักษณะกลางๆ [๑]จึงเรียกว่า “ลิงคะ”

ครั้งที่ ๑๓ สนธิกัณฑ์ สนธิวิธาน ทวิภาวราสิ วิปัลลาสสนธิ จนสนธิกัณฑ์

ทฺวิภาวสนฺธิ

ทวิภาวสนธิ
อาคมสนธิ คือ วิธีการเชื่อมบทโดยซ้อนอักษร

อถ ทฺวิภาวสนฺธิ ทีปิยเตฯ
ข้าพเจ้าจะแสดงทวิภาวสนธิ คือ การเชื่อมบทโดยการทำอักษร ๒ สองตัว (ซ้อน) สืบไป

ทฺวิภาโว ติวิโธฯ ตตฺถ ปกฺกโม, ปรกฺกโม อิจฺจาทิ พฺยญฺชนทฺวิตฺตํ นามฯ รุกฺขํ รุกฺขํ สิญฺจติ อิจฺจาทิ วิภตฺยนฺตปททฺวิตฺตํ นามฯ ติติกฺขา, ติกิจฺฉา, ชคมา, ชคมุ อิจฺจาทิ ธาตุปททฺวิตฺตํ นามฯ
ทวิภาวะ (การซ้อน) มี ๓ ชนิด.
๑. ซ้อนพยัญชนะ เช่น
ปกฺกโม พากเพียร
ปรกฺกโม บากบั่น.
๒. ซ้อนบทที่มีวิภัตติเป็นที่สุด (ลงวิภัตติแล้ว) เช่น
รุกฺขํ รุกฺขํ สิญฺจติ
รดน้ำต้นไม้ทุกต้น.
๓. ซ้อนพยัญชนะต้นธาตุ เช่น
ติติกฺขา ความอดกลั้น
ติกิจฺฉา ความรักษา
ชคมา เขาไปแล้ว
ชคมุ เขาไปแล้ว

ครั้งที่ ๑๒ สนธิกัณฑ์ สนธิวิธาน อาคมราสิ

อาคมสนฺธิ
อาคมสนธิ คือ วิธีการเชื่อมบทโดยเพิ่มอักษร
อถาคมสนฺธิ ทีปิยเตฯ
ต่อจากอาเทสสนธิ จะแสดงอาคมสนธิ

มหาวุตฺตินา สราคโม
สระเป็นอาคม  ถูกทำได้โดยสูตรใหญ่

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๑๑ สนธิกัณฑ์ สนธิวิธาน พินทาเทสราสิ

พินฺทาเทโส ทีปิยเตฯ
จะแสดงพินทาเทส คือ การแปลงนิคคหิต

๔๖. วคฺเค วคฺคนฺโต[๑]
๔๖. วคฺเค ในเพราะพยัญชนวรรค ปเร อันเป็นเบื้องหลัง วคฺคนฺโต พยัญชนะอันเป็นที่สุดวรรค         อาเทโส เป็นอาเทส นิคฺคหีตสฺส ของนิคคหิต วา ได้บ้าง (ตามอุทาหรณ์)

วคฺคพฺยญฺชเน ปเร นิคฺคหีตสฺส สกวคฺคนฺตพฺยญฺชนาเทโส โหติ วาฯ
เพราะพยัญชนวรรคข้างหลัง แปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคของตนได้บ้างตามอุทาหรณ์.

ทีปงฺกโร, สงฺขาโร, สงฺคโห, สญฺจาโร, สญฺชาโต, สณฺฐิตํ, อตฺตนฺตโป, ปรนฺตโป, อมตนฺทโท, ปุรินฺทโท, สนฺธิ, สนฺนิธิ, สมฺปตฺติ, สมฺพุทฺโธ, สมฺภโว, สมฺภาโร, สมฺภินฺโน, สมฺมโต อิจฺจาทีสุ นิจฺจํ,
ตัวอย่างเหล่านี้เป็นวิธีการแน่นอน (นิจจวิธิ)

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ทีปงฺกโร
ทีปํ + กโร
พระทีปังกรพุทธเจ้า
สงฺขาโร
สํ + ขาโร
สังขาร
สงฺคโห
สํ + สงฺคโห
การรวบรวม,  สังคหะ.
สญฺจาโร
สํ + จาโร
การเที่ยวไป
สญฺชาโต
สํ + ชาโต
เกิดขึ้น
สณฺฐิตํ
สํ + ฐิตํ
ดำรงอยู่
อตฺตนฺตโป
อตฺตํ + ตโป
การทำให้ตนเองเดือดร้อน[๒]
ปรนฺตโป
ปรํ + ตโป
การทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน[๓]
อมตนฺทโท
อมตํ + ทโท
พระผู้มีพระภาค ผู้ประทานอมตธรรม.
ปุรินฺทโท
ปุร + ทโท
ท้าวสักกะ ผู้เคยถวายทานในภพก่อน[๔]
สนฺธิ
สํ + ธา
สนธิ, การเชื่อมต่อ
สนฺนิธิ
สํ + นิธิ
การสะสม
สมฺปตฺติ
สํ + ปตฺติ
สมบัติ,ความสมบูรณ์, ความถึงพร้อม
สมฺพุทฺโธ
สํ + พุทฺโธ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สมฺภโว
สํ + ภโว
การเกิด
สมฺภาโร
สํ + ภาโร
เครื่องประกอบ
สมฺภินฺโน
สํ + ภินฺโน
ปะปน
สมฺมโต
สํ + มโต
พิจารณา,ให้เกียรติ,อนุญาต,เลือกเฟ้น

ตงฺกโร, ตํกโร อิจฺจาทีสุ อนิจฺจํ,
ในตัวอย่างเหล่านี้แปลงนิคคหิตเป็นวัคคันตพยัญชนะไม่แน่นอน (อนิจจวิธิ)
ตงฺกโร ผู้ทำกิจนั้น ตัดบทเป็น ตํกโร และ มีรูปเป็น ตํกโร ก็มี

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ[๕], น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ อิจฺจาทีสุ [๖]นตฺถิฯ
ในตัวอย่างเหล่านี้ ก็ไม่มีวิธีการแปลงนิคคหิตเป็นวัคคันตพยัญชนะ (อสันตวิธิ)
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง (ไม่เป็น สรณงฺคจฺฉามิ)
น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ
กรรมนั้นที่เขาทำแล้ว ไม่ใช่กรรมดี. (ไม่เป็น ตงฺกมฺมํ)

------------

มหาวุตฺติวิธานมุจฺจเตฯ
วคฺคาวคฺเคสุ พฺยญฺชเนสุ ปเรสุ นิคฺคหีตํ ปรรูปํ คจฺฉติ
สำหรับการสำเร็จรูปด้วยมหาสูตร ดังข้าพเจ้าจะแสดงดังนี้
เพราะมีทั้งพยัญชนวรรคและอวรรคอยู่ข้างหลัง นิคคหิตถึงความเป็นรูปเดียวกับอักษรหลัง.

สกฺกโรติ, สกฺกโต, สกฺกาโร, สกฺกจฺจํ, ตกฺกตฺตา, ตกฺกโร, ตกฺขณํ ตงฺขณํ ตํ ขณํ, ตคฺคติกํ ตํ คติกํ,           ตนฺนินฺโน, ตปฺโปโณ, ตปฺปพฺภาโร, ตปฺปธาโน, เอตปฺปรโม, ยคฺคุโณ ยํคุโณ, ตลฺเลณา, มลฺเลณา, สลฺเลโข, ปฏิสลฺลีโน, ตพฺพณฺณนา ตํวณฺณนา, ตสฺสโม ตํสโม, อิทปฺปจฺจยตา, จิรปฺปวาสิํ, หตฺถิปฺปภินฺนํ อิจฺจาทิฯ
ตัวอย่าง

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
สกฺกโรติ,
สํ + กโรติ
ย่อมสักการะ
สกฺกโต,
สํ + กต
สักการะแล้ว
สกฺกาโร,
สํ + กาโร
การสักการะ
สกฺกจฺจํ,
สํ + กจฺจํ
ความเคารพ
ตกฺกตฺตา,
ตํ + กตฺตา
ผู้ทำกิจนั้น
ตกฺกโร,
ตํ + กโร
ผู้ทำกิจนั้น
ตกฺขณํ ตงฺขณํ ตํขณํ,
ตํ + ขณํ
ขณะนั้น
ตคฺคติกํ ตํคติกํ,
ตํ + คติกํ
มีสิ่งนั้นเป็นที่ไป (เหมือนสิ่งนั้น)
ตนฺนินฺโน,
ตํ + นินฺโน
น้อมไปยังสิ่งนั้น
ตปฺโปโณ,
ตํ + โปโณ
เงื้อมไปในสิ่งนั้น
ตปฺปพฺภาโร,
ตํ + ปพฺภาโร
โน้มไปในสิ่งนั้น
ตปฺปธาโน,
ตํ + ปธาโน
มีสิ่งนั้นเป็นประธาน
เอตปฺปรโม,
เอตํ + ปรโม
มีสิ่งนั้นเป็นอย่างยิ่ง
ยคฺคุโณ ยํคุโณ
ยํ + คุโณ
คุณของสิ่งใด
ตลฺเลณา,
ตํ + เลณา
มีท่านเป็นเครื่องต้านทาน
มลฺเลณา,
มํ + เลณา
มีเราเป็นเครื่องต้านทาน
สลฺเลโข,
สํ + เลโข
ขัดเกลา
ปฏิสลฺลีโน,
ปฏิสํ + ลีโน
หลีกเร้น
ตพฺพณฺณนา ตํวณฺณนา,
ตํ + วณฺณนา
อรรถกถาของพระสูตรนั้น
ตสฺสโม ตํสโม,
ตํ + สโม
เสมอด้วยสิ่งนั้น
อิทปฺปจฺจยตา,
อิทํ + ปจฺจยตา
ความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย
จิรปฺปวาสิํ,
จิรํ + ปวาสิํ
จากไปนาน
หตฺถิปฺปภินฺนํ
หตฺถิํ + ปภินฺนํ
ช้างตกมัน

อิมสฺมิํ คนฺเถ เอกตฺถสิทฺธมฺปิ ตํ ตํ รูปํ ตตฺถ ตตฺถ ปุนปฺปุนมฺปิ วิธิยฺยติ ญาณวิจิตฺตตฺถํฯ
(คำชี้แจง)
ในตำรานี้ ถึงอุทาหรณ์ที่มีความหมายเดียวกัน ก็จะแสดงวิธีสำเร็จรูปในอุทาหรณ์เหล่านั้นไว้ซ้ำกันหลายนัย เพื่อจะได้ความรู้ที่หลากหลาย.

******************

๔๗. มยทา สเร [๗]
๔๗. สเร ในเพราะสระ ปเร อันเป็นเบื้องหลัง มยทา ม ย และท (อาเทสา) เป็นอาเทศ นิคฺคหีตสฺส ของนิคคหิต วา ได้บ้าง กฺวจิ ในบางแห่ง โหนฺติ ย่อมเป็น.

สเร ปเร นิคฺคหีตสฺส กฺวจิ ม, , ทา โหนฺติ วาฯ
เพราะสระหลัง แปลงนิคคหิตเป็น ม ย และ ท ได้บ้าง ในบางอุทาหรณ์.

ตตฺถ ทาเทโส ย, , เอตสทฺเทหิ นปุํสเก ทิสฺสติ
ยทพฺรวิ[๘], ตทนิจฺจํ[๙], เอตทโวจ สตฺถา [๑๐]
บรรดาอาเทสทั้งสามนั้น
นิคคหิตที่อยู่หลังจาก ย ต และ เอตศัพท์ ในนปุงสกลิงค์ ใช้ทเป็นอาเทศ เช่น

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ยทพฺรวิ
ยํ + อพฺรวิ
ได้กล่าวคำใดไว้
ตทนิจฺจํ
ตํ + อนิจฺจํ
สิ่งนั้น ไม่เที่ยง
เอตทโวจ สตฺถา
เอตํ + อโวจ สตฺถา
พระศาสดาได้ตรัสพระดำรัสนี้

สมาเส ปน ทาเทโส ติลิงฺเค ทิสฺสติ
ยทนนฺตรํ, ตทนนฺตรํ, เอตทตฺถา กถา [๑๑]ฯ เอตทตฺถา มนฺตนา [๑๒]-ตตฺถ ยสฺส อตฺถสฺส วา ยสฺส ปทสฺส วา ยสฺสา กถาย วา อนนฺตรํ ยทนนฺตรํฯ
แต่ในสมาสทั้งสามลิงค์ ใช้ ท เป็นอาเทสของนิคคหิต เช่น
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ยทนนฺตรํ,
ยํ + อนนฺตรํ
มีในลำดับแห่งเนื้อความใด
ตทนนฺตรํ,
ตํ + อนนฺตรํ
มีในลำดับแห่งบทนั้น
เอตทตฺถา กถา ฯ
เอสา + อตฺถา กถา
กถานั้นมีวิมุตตินี้เป็นประโยชน์
เอตทตฺถา มนฺตนา -
เอสา +  อตฺถา มนฺตนา
การปรึกษากันนั้นมีวิมุตตินี้เป็นประโยชน์

ในตัวอย่างเหล่านี้ รูปวิเคราะห์ของ คำว่า ยทนนฺตรํ (ที่ใช้ทเป็นอาเทสของย เป็นต้น ๓ ลิงค์ในบทสมาส) ว่า
ยสฺส อตฺถสฺส อนนฺตรํ ยทนนฺตรํ ลำดับแห่งเนื้อความใด (ย เป็นปุงลิงค์ในบทสมาส)
ยสฺส ปทสฺส อนนฺตรํ ยทนนฺตรํ ลำดับแห่งบทใด (ย เป็นนปุงสกลิงค์ฯลฯ)
ยสฺสา กถาย อนนฺตรํ ยทนนฺตรํ ลำดับแห่งถ้อยคำใด (ย เป็นอิตถีลิงค์ฯลฯ)

กฺวจิตฺเวว? ยเมตํ วาริชํ ปุปฺผํ, อทินฺนํ อุปสิงฺฆสิ[๑๓]
กฺวจิ ศัพท์ในสูตรนี้ มีประโยชน์อะไร (ใช้ศัพท์ว่า กฺวจิ เพื่ออะไรหรือ?)
เพื่อแสดงว่า ในบางอุทาหรณ์ ท ไม่เป็นอาเทสของนิคหิต บ้าง เช่น

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ยเมตํ วาริชํ ปุปฺผํ,
อทินฺนํ อุปสิงฺฆสิ
ยํ + เอตํ วาริชํ ปุปฺผํ
ท่านดมดอกบัวใด ที่ไม่มีใครเขาให้

มาเทโส ย, , เอตสทฺเทหิ ปุมิตฺถิลิงฺเคสุ ทิสฺสติ
ยมาหุ เทเวสุ สุชมฺปตีติ[๑๔], ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา[๑๕], เอตมตฺถํ วิทิตฺวา [๑๖]
นิคหิตที่อยู่หลังจาก ย ต และ เอตศัพท์ ในปุงลิงค์และอิตถีลิงค์ ใช้มเป็นอาเทส

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ยมาหุ เทเวสุ สุชมฺปตีติ
ยํ + อาหุ เทเวสุ สุชมฺปติ
เรียกเทพใดว่า ท้าวสุชัมบดี ในสวรรค์ท.
ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา
ตํ + อตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา
พระศาสดา เมื่อทรงแสดงเนื้อความนั้น
เอตมตฺถํ วิทิตฺวา
เอตํ อตฺถํ วิทิตฺวา
ครั้นรู้แล้วซึ่งเนื้อความนั้น

อญฺญสทฺเทหิ ปน เทฺว อาเทสา ติลิงฺเค ทิสฺสนฺติ
สกทาคามี, เอวเมตมภิญฺญาย [๑๗]อิจฺจาทิฯ
นิคหิตที่อยู่หลังจากศัพท์อื่นๆในลิงค์ทั้งสาม ใช้อาเทสสอง (คือ ทและม) เช่น

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
สกทาคามี
สกิํ + อาคามี
พระสกทาคามี[๑๘]
เอวเมตมภิญฺญาย
เอวํ + เอตํ + อภิญฺญาย
เพราะรู้ยิ่งซึ่งธรรมนั้นอย่างนี้


ยาเทโส อิทํสทฺเท ปเร ตสทฺทมฺหา เอว กฺวจิ ทิสฺสติ
ตยิทํ น สาธุ[๑๙], ตยิทํ น สุฏฺฐุ [๒๐]
ในบางแห่ง นิคคหิตที่อยู่หลังจากตศัพท์ และมีอิทํศัพท์อยู่ข้างหลัง ใช้ยเป็นอาเทส เช่น

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ตยิทํ น สาธุ
ตํ + อิทํ น สาธุ
กรรมนั้น ไม่ดีเลย
ตยิทํ น สุฏฺฐุ
ตํ + อิทํ น สุฏฺฐุ
กรรมนั้น ไม่ใช่กรรมดี



๔๘. เยวหิสุ โญ
๔๘. เยวหิสุ ในเพราะ ย เอว และ หิศัพท์ท. โญ อาเทศคือญ (นิคฺคหีตสฺส) แห่งนิคคหิต (โหติ) ย่อมมี

, เอว, หิสทฺเทสุ ปเรสุ นิคฺคหีตสฺส โญ โหติฯ ยสฺส ปุพฺพรูปตฺตํฯ
ถ้ามีศัพท์เหล่านี้ คือ ย เอว หิ อยู่หลัง ให้แปลง นิคหิตเป็น ญ.  และ ย นั้นทำเป็นปุพพรูป.

อานนฺตริกญฺญมาหุ[๒๑]อานนฺตริกํ + ยํ + อาหูติ เฉโท, ยญฺญเทว - ยํ + ยํ + เอว, ตญฺเญว ตํ+เอว,                   ปุริสญฺเญว, ปจฺจตฺตญฺเญว, ตญฺหิ, ปุริสญฺหิ, อตฺถสญฺหิโต อตฺถสํหิโต, ธมฺมสญฺหิโต ธมฺมสํหิโตฯ

ตัวอย่าง

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
อานนฺตริกญฺญมาหุ
อานนฺตริกํ + ยํ + อาหุ
บัณฑิตกล่าวอรหัตตผลสมาธิอันใด
ยญฺญเทว
ยํ + ยํ + เอว
ทุกอย่างๆ ทีเดียว
ตญฺเญว
ตํ+เอว
นั้นนั่นเทียว
ปุริสญฺเญว
ปุริสํ + เอว
ซึ่งบุรุษนั้นนั่นเที่ยว
ปจฺจตฺตญฺเญว
ปจฺจตฺตํ + เอว
เฉพาะตนนั่นเทียว
ตญฺหิ
ตํ + หิ
เพราะ ข้อน้ัน
ปุริสญฺหิ
ปุริสํ + หิ
ก็ บุรุษนั้น
อตฺถสญฺหิโต
อตฺถ – สํ + หิโต
ประกอบด้วยประโยชน์
ใช้เป็น อตฺถสํหิโต ก็มี
ธมฺมสญฺหิโต
ธมฺม – สํ + หิโต
ประกอบด้วยเหตุ
ใช้เป็น ธมฺมสํหิโต ก็มี


๔๙. เย สํสฺส[๒๒]
๔๙. เย ในเพราะย โญ ญเป็นอาเทส นิคฺคหีตสฺส ของนิคคหิต สํสสฺส ของสํ อุปสัค โหติ ย่อมมี.

ยมฺหิ ปเร สํ อุปสคฺคสฺส นิคฺคหีตสฺส โญ โหติฯ ยสฺส ปุพฺพรูปตฺตํฯ
ถ้ามียอยู่ข้างหลัง แปลง นิคคหิตของสํอุปสัค เป็น ญ, แปลง ย เป็น ปุพพรูป.

สญฺโญโค สํโยโค, สญฺญุตฺโต สํยุตฺโตฯ สํโยชนํ สํโยชนํ, สญฺญโม สํยโม, สญฺญโต สํยโต, สญฺญมติ สํยมติ, สญฺญาจิกา สํยาจิกา กุฏิํ[๒๓]  อิจฺจาทิฯ
ตัวอย่างเช่น

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
สญฺโญโค
สํ + โยโค
การประกอบ ใช้เป็น สํโยโค ก็มี
สญฺญุตฺโต
สํ + ยุตฺโต
ประกอบแล้ว ใช้เป็น สํยุตฺโต ก็มี
สํโยชนํ [๒๔]
สํ + โยชนํ
สังโยชน์ ใช้เป็น สํโยชนํ ก็มี
สญฺญโม
สํ + ยโม
การสำรวม ใช้เป็น สํยโม ก็มี
สญฺญโต
สํ + ยโต
สำรวมแล้ว ใช้เป็น สํยโต ก็มี
สญฺญมติ
สํ + ยมติ
ย่อมสำรวม ใช้เป็น สํยมติ ก็มี
สญฺญาจิกา กุฏิํ
สํ + ยาจิกา
กุฏีที่ขอด้วยตนเอง ใช้เป็น สํยาจิกา ก็มี



อิติ พินฺทาเทสราสิฯ
อาเทสสนฺธิราสิ นิฏฺฐิโตฯ
จบ กลุ่มศัพท์ที่เกี่ยวกับอาเทสของนิคคหิต
จบ กลุ่มศัพท์ที่เกี่ยวกับการเข้าสนธิโดยการอาเทส



 ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช





[๑] [ก. ๓๑; รู. ๔๙; นี. ๑๓๘-๙]
[๒] รูปอุทาหรณ์นี้เป็นอลุตตสมาส อตฺตํ เป็นทุติยาวิภัตติ เช่นเดียวกับ อตฺตานํ โดยที่ไม่แปลง อํ เป็น อานํ.มีวิ.อตฺตานํ ตปติ ทุกฺขาเปตีติ อตฺตนฺตโป. (อํ.จตุ.อ.อตฺตนฺตปสุตฺตวณฺณนา ๑๙๘} อภิ.อ.๓/๘๑) คัมภีร์ฎีกาอธิบายว่าได้แก่ ตนเอง ไม่ใช่ อัตตภาพที่มีความหมายว่า  เป็นที่อันเขานำความยกตนว่า เรา (อหังการ),  แต่ในที่นี้ อัตตา ชื่อว่า ไม่ใช่คนอื่น.
[๓] (อํ.จตุ.อ.อตฺตนฺตปสุตฺตวณฺณนา ๑๙๘) ตามรูปวิเคราะห์ว่า ปรํ ตปตีติ ปรนฺตโป ผู้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน.
[๔] รูปนี้มาจาก ปุร + ทท ในกรณีที่มี ปุร อยู่หน้าลง อปัจจัยท้าย ทท ธาตุ แปลง อ เป็น อิํ ด้วยสูตร ๕๖๗. ปุเร ททา จ อิํฯ (รูปสิทธิ)  มีรูปวิเคราะห์ว่า ปุเร อททีติ ปุรินฺทโท, สกฺโก ท้าวสักกะ ชื่อว่า ปุรินททะ เพราะดังนั้น รูปนี้จึงเป็นสมาสที่ลบวิภัตติที่บทหน้า คือ ปเร ส่วนคัมภีร์นิรุตตทีปนีกล่าวว่า แปลง อ เป็น อิ ด้วยมหาสูตร และ ลงนิคคหิตเป็นอาคม.
[๕] [ขุ. ปา. ๑.สรณตฺตย]
[๖] [ธ. ป. ๖๗]
[๗] [ก. ๓๔, ๓๕; รู. ๓๔, ๕๒; นี. ๑๔๒-๕]
[๘] [ชา. ๑.๒.๑๔๓]
[๙] [ม. นิ. ๒.๑๙]
[๑๐] [สุ. นิ. ทฺวยตานุปสฺสนาสุตฺต]
[๑๑] [อ. นิ. ๒.๖๘]
[๑๒] [อ. นิ. ๒.๖๘]
[๑๓] [ชา. ๑.๖.๑๑๕]
[๑๔] [ชา. ๑.๑๕.๕๔]
[๑๕] [ชา. อฏฺฐ. ๑.๒๐.๓๕]
[๑๖] [มหาว. ๒-๓]
[๑๗] [สุ. นิ. ๑๑๒๑ โปสาลมาณวปุจฺฉา] ปาฐะปัจจุบันเป็น เอวเมตํ อภิญฺญาย
[๑๘] รูปนี้เคยกล่าวมาแล้วครั้งหนึ่ง จะกล่าวซ้ำอีกครั้ง คือ เมื่อ แปลง นิคคหิตเป็น ท ด้วยสูตรนี้แล้ว แปลง อิ เป็น อ ด้วยมหาสูตร.
[๑๙] [ชา. ๒.๒๒.๒๗๙]
[๒๐] [ชา. ๒.๒๒.๒๗๙]
[๒๑]  [ขุ. ปา. ๖.๕]
[๒๒] [ก. ๓๓; รู. ๕๑; นี. ๑๔๑]
[๒๓] [ปารา. ๓๔๘]
[๒๔] ไม่เข้าใจว่าเหตุไรจึงเป็น สํโยชนํ นี้ ควรเป็น สญฺโญชนํ มากกว่า ในที่นี้คงปาฐะเดิมไว้ก่อน