วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

อิการันต์ อิตถีลิงค์

อิการนฺติตฺถิลิงฺคราสิ
กลุ่มนามศัพท์อิการันตอิตถีลิงค์
คสีนนฺติ สิโลโปฯ รตฺติ ติฏฺฐติ, รตฺติโย ติฏฺฐนฺติฯ
(ปฐมาวิภัตติ : เอกวจนะ - รตฺติ ราตรี) [๑]
ลบ สิวิภัตติท้ายนามศัพท์ด้วยสูตร “คสีนํ [ลบสิอาลปนะ ที่ชื่อว่า ค และ สิ อื่น]
ตัวอย่าง
รตฺติ ติฏฺฐติ = ราตรี ย่อมดำรงอยู่.

(ปฐมาวิภัตติ : พหุวจนะ - รตฺติโย, รตฺตี, รตฺยา ราตรีท.)
ตัวอย่าง
รตฺติโย ติฏฺฐนฺติ = ราตรีท. ย่อมดำรงอยู่

ชนฺตุเหตฺวาทิสุตฺเตน โยโลเป
๙๑. โยโลปนีสุ ทีโฆ [ก. ๘๘; รู. ๑๔๗; นี. ๒๔๕]ฯ
ติลิงฺเค โยนํ โลเป จ นิอาเทเส จ รสฺสานํ ทีโฆ โหติฯ รตฺตี ติฏฺฐนฺติฯ

(ในรูปว่า รตฺตี) เมื่อลบ โย ด้วยสูตร “ชนฺตุเหตฺวีฆเปหิ วา [ลบ โย ท้ายชนฺตุศัพท์, เหตุศัพท์, นามศัพท์อีการันต์, , และ ป ได้บ้าง]”  (สระที่สุดของรตฺติ ถึงความเป็นทีฆะด้วยสูตรนี้)
๙๑. โยโลปนีสุ ทีโฆ = เมื่อลบโยและอาเทสโยเป็นนิแล้ว สระที่สุดเป็นทีฆะ
ในลิงค์ทั้งสาม เมื่อลบโย และอาเทสโยเป็นนิแล้ว สระที่สุดอันเป็นรัสสะ ย่อมเป็นทีฆะ.
ตัวอย่าง รตฺตี ติฏฺฐนฺติ : ราตรีท. ย่อมดำรงอยู่.

๙๒. เย ปสฺสิวณฺณสฺส
วิภตฺติภูเต วิภตฺตาเทสภูเต จ ยกาเร ปเร ปสญฺญสฺส อิวณฺณสฺส โลโป โหติฯ คาถาสุเยว อิทํ วิธานํ ทฏฺฐพฺพํฯ
รตฺโย ติฏฺฐนฺติ -สนฺธิวเสน อาทิตการโลโปฯ

(ในรูปว่า รตฺโย สำเร็จรูปด้วยสูตรนี้)
๙๒. เย ปสฺสิวณฺณสฺส = ลบ อิวัณณะ ที่ชื่อ ป เพราะ ยข้างหลัง.
เพราะ ย ที่เป็นวิภัตติ [๒] และที่เป็นอาเทสของวิภัตติ อันเป็นเบื้องหลัง มีการลบอิวัณณะ ที่ชื่อ ป. สำหรับวิธีนี้ ควรทราบว่า มีใช้ในคาถาเท่านั้น.
ตัวอย่าง รตฺโย ติฏฺฐนฺติ = ราตรีท. ย่อมดำรงอยู่.
ลบ ตอักษรตัวต้น ด้วยอำนาจแห่งสนธิ.

๖๓. อยุนํ วา ทีโฆ [ก. ๘๘; รู. ๑๔๗; นี. ๒๔๕]ฯ
เค ปเร ติลิงฺเค ออิอุนํ ทีโฆ โหติ วาฯ
เห รตฺตี, เห รตฺติฯ พหุวจเน เห รตฺตี, เห รตฺติโย, เห รตฺโยฯ

(อาลปนะ : เอกวจนะ) - เห รตฺตี, เห รตฺติ. แน่ะ ราตรี
รูปว่า รตฺตี สำเร็จรูปด้วยสูตรนี้
๖๓. อยุนํ วา ทีโฆ = เพราะ ค อันเป็นเบื้องหลัง อ อิ อุ เป็นทีฆะ.
เพราะ ค อันเป็นเบื้องหลัง อ อิ และ อุ เป็นทีฆะ ได้บ้าง.
เห รตฺตี, เห รตฺติ. แน่ะ ราตรี

(อาลปนะ : พหุวจนะ -  เห รตฺตี, เห รตฺติโย, เห รตฺโย. แน่ะ ราตรีท.)

อํวจเน ปโร กฺวจีติ สุตฺเตน ปรสเร ลุตฺเต นิคฺคหีตํ ปุพฺเพ อิวณฺณุวณฺเณสุ ติฏฺฐติฯ
รตฺติํ, ตถา อิตฺถิํ, เธนุํ, วธุํ, อคฺคิํ, ทณฺฑิํ, ภิกฺขุํ, สยมฺภุํ อิติฯ รตฺติยํ, ‘พุชฺฌสฺสุ ชินโพธิยนฺติ ปาฬิ [พุ.วํ. ๑๘๒], รตฺตินํ วา, ‘ยาวนฺโต ปุริสสฺสตฺถํ, คุยฺหํ ชานนฺติ มนฺตินนฺติปาฬิ [ชา. ๑/๒๒๔]ฯ
รตฺตี, รตฺติโย, รตฺโย-
(ทุติยาวิภัตติ : เอกวจนะ - รตฺติํ ซึ่งราตรี)
ในอํวิภัตติ เมื่อลบสระหลังด้วยสูตรว่า ปโร กฺวจิ [ในบางแห่ง ลบสระหลังได้] แล้ว นิคคหิต จะไปตั้งอยู่ข้างหน้า ที่อิ อี อุ และอู
สำเร็จรูปเป็น รตฺติํ. (ในการันต์อื่น) เช่น อิตฺถิํ ซึ่งผู้หญิง, เธนุํ ซึ่งแม่โค, วธุํ ซึ่งหญิงสาว, อคฺคิํ ซึ่งไฟ, ทณฺฑิํ ซึ่งไม้เท้า, ภิกฺขุํ ซึ่งภิกษุ, สยมฺภุํ ซึ่งพระสยัมภู.
(รูปอื่นนอกจากนี้ คือ)
รตฺติยํ พบในพระบาฬีพุทธวงศ์ว่า พุชฺฌสฺสุ ชินโพธิยํ [พุ.วํ.๑๘๒] ขอพระมหาวีรเจ้าจงตรัสรู้ซึ่งพระโพธิญาณของพระชินเจ้าเถิด, [๓]
รตฺตินํ พบในพระบาฬีชาดกว่า ยาวนฺโต ปุริสสฺสตฺถํ, คุยฺหํ ชานนฺติ มนฺตินํ  [ชา.๑/๓๓๕] คนมีประมาณเท่าใดรู้เรื่องที่ลับอันเป็นความรู้ของบุรุษ] [๔]
(ทุติยาวิภัตติ : พหุวจนะ - รตฺตี, รตฺติโย, รตฺโย ซึ่งราตรีท.)

ฆปเตกสฺมิํ นาทีนํ ยยาติ นาทีนํ ยา โหติ, รตฺติยา, ยกาเร ปเร อิวณฺณโลโป, รตฺยาฯ รตฺตีหิ, รตฺตีภิ,
๙๔. สุนํหิสุ [ก. ๘๙; รู. ๘๗; นี. ๒๔๖]ฯ
สุ, นํ, หิสุ รสฺสานํ ทีโฆ โหติฯ

(ตติยาวิภัตติ เอกวจนะ) - รตฺติยา, รตฺยา ด้วยราตรี
รูป รตฺติยา สำเร็จรูปโดยอาเทส นาเป็นต้น เป็น ยา ด้วยสูตรว่า ฆปเตกสฺมิํ นาทีนํ ยยา”, และรูป รตฺยา โดยลบ อิวัณณะ เพราะ ย ข้างหลัง.
 (ตติยาวิภัตติ พหุวจนะ) - รตฺตีหิ, รตฺตีภิ ด้วยราตรีท. สำเร็จรูปด้วยสูตรนี้
๙๔. สุนํหิสุ = เพราะ สุ นํ และหิ รัสสสระเป็นทีฆะ.
เพราะสุ นํ และหิวิภัตติอันเป็นเบื้องหลัง รัสสสระ เป็นทีฆะ.

รตฺติยา, รตฺยา, รตฺตีนํ, รตฺติยา, รตฺยา, รตฺตีหิ, รตฺตีภิ, รตฺติยา, รตฺยา, รตฺตีนํ, รตฺติยา, รตฺยา, รตฺติยํ, รตฺยํ, รตฺตีสุฯ
เอตฺถ ครู สุ, นํ, หิสุ ทีฆตฺตํ อนิจฺจํ อิจฺฉนฺติ, ตํ คาถาสุ ยุชฺชติฯ
(จตุตถีเอกวจนะ) - รตฺยา แก่ราตรี
(จตุตถีพหุวจนะ) - รตฺตีนํ แก่ราตรีท.
(ปัญจมีวิภัตติ เอกวจนะ) - รตฺติยา, รตฺยา จากราตรี
(ปัญจมีวิภัตติ พหุวจนะ) - รตฺตีหิ, รตฺตีภิ จากราตรีท.
(ฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ) - รตฺติยา, รตฺยา ของราตรี, (พหุวจนะ) - รตฺตีนํ ของราตรีท.
(สัตตมีวิภัตติ เอกวจนะ) - รตฺติยา, รตฺยา, รตฺยํ ในราตรี (สัตตีวิภตติ) - รตฺตีสุ ในราตรีท.
อนึ่ง ในสูตรนี้ ข้อที่ครูทั้งหลายประสงค์ให้สระรัสสะเป็นทีฆะโดยมี สุ นํ และหิ เป็นนิมิต ไม่แน่นอนนั้น ใช้ได้ในกรณีที่เป็นคาถา.

ปตฺติ ยุตฺติ วุตฺติ กิตฺติ,                  มุตฺติ ติตฺติ ขนฺติ กนฺติฯ
สนฺติ ตนฺติ สิทฺธิ สุทฺธิ,                 อิทฺธิ วุทฺธิ พุทฺธิ โพธิฯ
ภูมิ ชาติ ปีติ สุติ,                        นนฺทิ สนฺธิ สาณิ โกฏิฯ
ทิฏฺฐิ วุฑฺฒิ ตุฏฺฐิ ยฏฺฐิ,                ปาฬิ อาฬิ นาฬิ เกฬิฯ
สติ มติ คติ มุติ,                          ธีติ ยุวติ วิกติฯ
รติ รุจิ รสฺมิ อสนิ วสนิ โอสธิ องฺคุลิ ธูลิ ทุทฺรภิ โทณิ อฏวิ ฉวิอาทโย รตฺตาทิฯ

ศัพท์ต่อไปนี้ แจกเหมือนกับรตฺติ
ปตฺติ = ทหารราบ           ยุตฺติ = ความสมควร    วุตฺติ = อาชีพ             กิตฺติ=ชื่อเสียง
มุตฺติ = ความหลุดพ้น       ติตฺติ= ความอิ่ม          ขนฺติ= ความอดทน      กนฺติ= ความงาม
สนฺติ = ความสงบ            ตนฺติ= แบบแผน         สิทฺธิ= ความสำเร็จ       สุทฺธิ= ความบริสุทธิ์
อิทฺธิ = ฤทธิ์                  วุทฺธิ = ความเจริญ       พุทฺธิ = ความรู้             โพธิ= ความตรัสรู้
ภูมิ = แผ่นดิน                ชาติ = การเกิด            ปีติ= ความอิ่มใจ          สุติ = การเกิด,
นนฺทิ = ความเพลินเพลิน   สนฺธิ = การปฏิสนธิ      สาณิ = ผ้าม่าน             โกฏิ = ปลาย,จำนวนโกฏิ
ทิฏฺฐิ = ความเห็น            วุฑฺฒิ= ความเจริญ       ตุฏฺฐิ= ความยินดี         ยฏฺฐิ= ไม้เท้า
ปาฬิ = ภาษาบาลี            อาฬิ = แถว               นาฬิ = ทะนาน           เกฬิ= การเล่น
สติ = ความระลึกได้         มติ = ความรู้              คติ = การไป              มุติ = ปัญญา[๕]
ธีติ = ความเพียร            ยุวติ = หญิงสาว         วิกติ= การเปลี่ยนแปลง รติ = ความยินดี
รุจิ = ความชอบใจ, รัศมี    รสฺมิ= รัศมี                อสนิ = สายฟ้า           วสนิ = ผ้า
โอสธิ = ดาวประกายพฤกษ์ องฺคุลิ = นิ้วมือ          ธูลิ = ธุลี                   ทุทฺรภิ  = กลองใหญ่
โทณิ = รางไม้                อฏวิ= ป่าดง               ฉวิ = ผิวหนัง


**************

เอตฺถ วิเสสวิธานมุจฺจเตฯ
ข้าพเจ้าจะกล่าวรูปพิเศษ ในอิการันตอิตถีลิงค์นี้[๖]

๙๕. รตฺตาทีหิ โฏ สฺมิํโน [ก. ๖๙; รู. ๑๘๖; นี. ๒๑๘, ๒๑๙;]ฯ
รตฺติสทฺท, อาทิสทฺเทหิ สฺมิํโน โฏ โหติ วาฯ
๙๕. รตฺตาทีหิ โฏ สฺมิํโน = สฺมิํ ที่อยู่ท้ายรตฺตและอาทิศัพท์ เป็น โอ บ้าง
สฺมิํ เป็น โอ เมื่ออยู่ท้ายศัพท์ คือ รตฺติ และ อาทิ.

ทิวา จ รตฺโต จ [ขุ. ปา. ๖.๒; ชา. ๑.๙.๙๒], อาโท, อาทิมฺหิ, ปาทาโท, ปาทาทิมฺหิ, คาถาโท,          คาถาทิมฺหิ-อาทิสทฺโท ปน ปุลฺลิงฺโคเยว, รตฺติํ โภชนํ ภุญฺชติ, อาทิํ ติฏฺฐตีติ อาธารตฺเถ ทุติยาว,
ตัวอย่าง
ทิวา จ รตฺโต [ขุ. ปา. ๖.๒; ชา. ๑.๙.๙๒] = ในวันและคืน 

ส่วน อาทิ ศัพท์ เป็นปุงลิงค์เท่านั้น เช่น
อาโท = อาทิมฺหิ ในเบื้องต้น,
คาถาปาโท - คาถาปาทมฺหิ ในที่ต้นแห่งบาทคาถา,
คาถาโท-คาถาทิมฺหิ ที่ต้นคาถา

ในตัวอย่างนี้ เป็นเพียงทุติยาวิภัตติลงในความหมายอาธาระ (สัตตมีวิภัตติ)
รตฺติํ โภชนํ ภุญฺชติ,
ทานอาหารเวลากลางคืน
อาทิํ ติฏฺฐตี
ยืนอยู่หน้า

รตฺโย อโมฆา คจฺฉนฺติ [ชา. ๒.๒๒.๑๐๕], ติณลตานิ โอสธฺโย [ชา. ๒.๒๒.๒๑๗๔], ตโต รตฺยา วิวสาเน [ชา. ๒.๒๒.๑๖๘๙], น ชจฺจา วสโล โหติ, น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ [สุ. นิ. ๑๔๒] -ชจฺจาติ ชาติยา, น นิกตฺยา สุขเมธติ [ชา. ๑.๑.๓๘], ขนฺตฺยา ภิยฺโย น วิชฺชติ [สํ. นิ. ๑.๒๕๐],  นาญฺญตฺร โพชฺฌา ตปสา [สํ. นิ. ๑.๙๘], ยเถว ขลตี ภูมฺยา, ภูมฺยาเยว ปติฏฺฐติ [ชา. ๒.๒๒.๑๕๒๒],
(หลักฐานการใช้รูปที่สำเร็จรูปเหมือน รตฺติ ที่พิเศษ)

รตฺโย อโมฆา คจฺฉนฺติ [ชา. ๒.๒๒.๑๐๕][๗]
ราตรีท. ที่ชื่อว่า ไม่ว่างเปล่า ก็เป็นไปอยู่

ติณลตานิ โอสธฺโย [ชา. ๒.๒๒.๒๑๗๔][๘]
ข้าแต่เทพเจ้าทั้งหลายผู้สิงสถิตอยู่ ณ ป่าหญ้า ลดาวัลย์ ต้นไม้ที่เป็นโอสถ

ตโต รตฺยา วิวสาเน [ชา. ๒.๒๒.๑๖๘๙],
ต่อแต่นั้น เมื่อราตรีสิ้นสุด [๙]

น ชจฺจา วสโล โหติ, น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ [สุ. นิ. ๑๔๒] -ชจฺจาติ ชาติยา,
บุคคลชื่อว่า เป็นคนถ่อย โดยชาติ ก็หามิได้, เป็นพราหมณ์ โดยชาติก็หามิได้. กรณีนี้ บทว่า ชจฺจา คือ ชาติยา [๑๐]

น นิกตฺยา สุขเมธติ [ชา. ๑.๑.๓๘],
ผู้มีปัญญาหลอกลวง ย่อมไม่ได้รับความสุขเพราะการหลอกลวง.

ขนฺตฺยา ภิยฺโย น วิชฺชติ [สํ. นิ. ๑.๒๕๐]
ในโลกนี้มีอะไรที่จะยิ่งไปกว่าสัจจะ ทมะ ขันติ  จาคะ.

นาญฺญตฺร โพชฺฌา ตปสา [สํ. นิ. ๑.๙๘]
อื่นจากปัญญาเครื่องตรัสรู้ (โพชฌงค์)[๑๑] และตบะ ย่อมไม่มี.

ยเถว ขลตี ภูมฺยา, ภูมฺยาเยว ปติฏฺฐติ [ชา. ๒.๒๒.๑๕๒๒]
เหมือนคนพลาดล้มลงบนแผ่นดินแล้วกลับยืนขึ้นได้บนแผ่นดินนั่นเอง[๑๒]

มหาวุตฺตินา มาติ, ปิติสทฺทา นาทีหิ สทฺธิํ มตฺยา, เปตฺยาติ สิชฺฌนฺติ, มตฺยา จ เปตฺยา จ เอตํ ชานามิ มาติโต ปิติโตติ อตฺโถ,  มตฺยา จ เปตฺยา จ กตํ สุสาธุ [ชา. ๒.๑๘.๖๑] -กตนฺติ กตํ นามํ, สุสาธูติ อติสุนฺทรํ.อนุญฺญาโต อหํ มตฺยา, สญฺจตฺโต ปิตรา อหนฺติ [ชา. ๒.๒๒.๒๙] ปาฬิปทานิฯ “มาตีนํ โทหโฬ นาม ชนินฺท วุจฺจตี”ติ จ ปาฬิฯ
ในรูปว่า มตฺยา และ เปตฺยา แปลว่า ด้วยมารดา และ ด้วยบิดา เป็นต้น ให้นำหลักการของมหาสูตรมาสำเร็จรูป โดยนำ มาติ (ฝ่ายมารดา) และ ปีติ (ฝ่ายบิดา) พร้อมกับนาวิภัตติเป็นต้น ให้เป็น มตฺยา และ เปตฺยา ดังบทพระบาฬีว่า   ‘‘อหญฺหิ ชานามิ ชนินฺท เอตํ, มตฺยา จ เปตฺยา จ อโถปิ อสฺสา;[๑๓] [ข้าแต่พระองค์ผู้จอมชน ข้าพระองค์รู้จักหญิงคนนั้นโดยมารดาและบิดา, แม้สามีของนาง (ก็รู้จัก)]. ในพระบาฬีนี้ บทว่า มตฺยา และ เปตฺยา มีความหมายเท่ากับ มาติโต [โดยมารดา], ปิติโต [โดยบิดา].

มตฺยา จ เปตฺยา จ กตํ สุสาธุ
ชื่อของนางนี้มารดาและบิดาตั้งให้เหมาะสมดีจริง[๑๔]
กตํ เพิ่ม นามํ เป็น กตํ นามํ (ชื่อของนางอัน ... ตั้งแล้ว)
สุสาธุ หมายความว่า อติสุนฺทรํ (ดีเยี่ยม)

อนุญฺญาโต อหํ มตฺยา, สญฺจตฺโต ปิตรา อหํ
เราเป็นผู้อันพระมารดาทรงอนุญาตแล้ว และพระบิดาก็ทรงสละขาดแล้ว[๑๕]

และพระบาฬีนี้ว่า
มาตีนํ โทหโฬ นาม ชนินฺท วุจฺจติ
พระองค์ผู้เป็นจอมชน    ชื่อว่า ความร้อนรุ่มในหทัยเป็นธรรมดาของหญิงทั้งหลายในหมู่มนุษย์[๑๖]


วีสติ, ติํสติ, สฏฺฐิ, สตฺตติ, อสีติ, นวุติ, โกฏิ, ปโกฏิ อิจฺเจเต สงฺขฺยาราสิมฺหิ อาคมิสฺสนฺติฯ
อิการันต์ที่เป็นจำนวนนับ คือ วีสติ ยี่สิบ, ติํสติ สามสิบ, สฏฺฐิ หกสิบ, สตฺตติ เจ็ดสิบ, นวุติ เก้าสิบ, โกฏิ หนึ่งโกฏิ, ปโกฏิ สิบโกฏิ จะมาในกลุ่มสังขยาศัพท์

อิการนฺติตฺถิลิงฺคราสิ นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มนามศัพท์อิการันตอิตถีลิงค์ จบ.

******************




[๑] ข้อความในวงเล็บผู้แปลเพิ่มเข้ามาเพื่อความสะดวกในการสืบต่อเนื้อเรื่อง
[๒] หมายถึง ย ของ โยวิภัตติ ในที่นี้กล่าวเพียงบางส่วน แต่หมายถึงส่วนทั้งหมดเรียกว่า เอกเทสูปจารนัย.
[๓] ในที่นี้ท่านให้แปลเป็นทุติยาวิภัตติว่า ซึ่งโพธิญาณของพระชินพุทธเจ้า. แม้ใน อีการันต์ข้างหน้า ท่านได้แสดงรูปนี้อีก โดยระบุว่า สามารถแปลง อํวิภัตติ เป็น ยํ ได้ ด้วยการแบ่งสูตรว่า ยํ ในสูตรที่ ๙๙ว่า ยํ ปีโต ท้าย อีการันต์ ชื่อว่า ป แปลง อํ เป็น ยํ. อย่างไรก็ตาม อรรถกถาพุทธวงศ์ อธิบายเป็นสัตตมีวิภัตติว่า  ชินโพธิยนฺติ ชินานํ พุทฺธานํ โพธิยาสพฺพญฺญุโพธิมูเลติ อตฺโถฯ [ชินโพธิยํ คือ ที่ต้นโพธิ ของพระชินพุทธเจ้าท., หมายความว่า ที่โคนต้นโพธิ์แห่งพระสัพพัญญูเจ้า]
[๔] บาฬีชาดก (ขุ.ชา. ๑/๓๓๕ ปญฺจปณฺฑิตชาตก) มีข้อความเต็มว่า ‘‘ยาวนฺโต ปุริสสฺสตฺถํ, คุยฺหํ ชานนฺติ มนฺตินํ; ตาวนฺโต ตสฺส อุพฺเพคา, ตสฺมา คุยฺหํ น วิสฺสเช; [คนมีประมาณเท่าใดรู้ความลับที่ปรึกษากันของบุรุษ ความหวาดเสียวมีประมาณเท่านั้นย่อมเกิดแก่เขา เพราะเหตุนั้นจึงไม่ควรเปิดเผยเรื่องนั้นให้ผู้อื่นได้รู้].  คัมภีร์อรรถกถาชาดก (อุมงฺคชาตกวณฺณนา ๒/) อธิบายเป็นรูปที่ลงตปัจจัยว่า มนฺติตํ ความว่า มนฺตินนฺติ มนฺติตํ, มนฺตีนํ วา อนฺตเร ยาวนฺโต ชานนฺตีติ อตฺโถฯ  [ซึ่งเรื่องลับที่ปรึกษากัน, อีกนัยหนึ่ง ชนเท่าใดในภายในแห่งชนที่ปรึกษากัน ย่อมรู้]. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์ให้มาจาก มนฺต + อิ ปัจจัย เรื่องที่ปรึกษา แล้วลง อํ เป็น มนฺติํ แปลง อํ เป็น นํ ได้รูปเป็น มนฺตินํ โดยนัยนี้ ต้องแปลว่า ซึ่งเรื่องลับที่ปรึกษากัน โดยแจกเทียบกับ รตฺตินํ ของ รตฺติ ศัพท์. แม้ในคำว่า ชินโพธิยํ ข้างต้นก็มีนัยนี้.

[๕] มุติ ได้แก่ ปัญญา (มุน รู้ + ติ)  วิเคราะห์ว่า มุนาตีติ มุติ [สภาพที่รู้] (ที.ฎี.๓/๑๒๐). ในที่นี้แสดงตัวอย่างที่แจกตามรตฺติ เหมือนคัมภีร์ปทรูปสิทธิ ทุกประการ ต่างกันเพียงศัพท์นี้โดยเป็น จุติ  การเคลื่อน, การจุติ
[๖] หมายถึง เป็นรูปพิเศษจากที่ได้กล่าวไว้โดยสูตรพื้นฐาน ซึ่งมีใช้ไม่มาก คือ แปลง สฺมิํ ท้าย รตฺติ และ อาทิศัพท์เป็น โอ ด้วยสูตร (๙๕) รตฺตาทีหิ โฏ สฺมิํโน สฺมิํ. และรูปที่มีการลบ อิ ด้วยสูตร (๙๒) เย ปสฺสิวณฺณสฺส  ซึ่งมีใช้เฉพาะในคาถา.
[๗] รตฺโย ในที่นี้เป็นอาลปนะ แต่บางแห่งเป็นปฐมาวิภัตติ ควรกำหนดตามบริบท. นอกจากจะเป็นรูปว่า รตฺติโย แล้วยังเป็น รตฺโย. โดยลบ อิ เพราะโย ตามสูตร เย ปสฺสิวณฺณสฺส (๙๒) เพราะเป็นไปในคาถา.
[๘] นอกจากจะเป็น โอสธิโย ก็เป็น โอสธฺโย ได้ด้วย เหมือน รตฺโย
[๙] รตฺยา รูปนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ตามที่อรรถกถาจารย์แก้เป็น ตสฺส รตฺติยา (ชา.อ. ๒/๑๗๘๓)
[๑๐] ลบ อิ ด้วยสูตร เย ปสฺสิวณฺณสฺส เป็น ชาตฺยา แปลง ตฺย เป็น จฺจ = ชจฺจา
[๑๑] ตามที่คัมภีร์สังยุตตฎีกาอธิบายว่า เป็นปัญจมีวิภัตติ.  โพชฺฌา มาจาก โพธิ + สฺมา > ยา ลบ อิ, แปลง ธฺยา เป็น ชฺฌา สำเร็จรูปเป็น โพชฺฌา
[๑๒] ภูมฺยา ในที่นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ตามที่อรรถกถาแก้เป็น ภูมิยํ.  (ชา.อ.๒/๑๕๒๒)
[๑๓] เพิ่มมาจาก ชุ.ชา.๒๘/๕๙ อันเป็นอาคตสถาน เพื่อความสมบูรณ์ในคำอธิบายของพระคันถรจนาจารย์. คัมภีร์อรรถกถาอธิบายโดยรูปที่ลงโตปัจจัย ว่า มาติโต และ ปีติโต จึงแปลตามนัยอรรถกถาว่า ข้าพระองค์ รู้จักนางโดยบิดา และมารดา. ในเรื่องนี้ มาติโต และ ปีติโต เป็นรูปพิเศษ คือ มีการแปลง อุ ของ มาตุ และปิตุ เป็นอิ ถ้ามี โต, สญฺญา, ภรณ, ปกฺข ศัพท์เป็นต้นอยู่ท้าย. (นีติ.สุตฺต.๔๒๗) แต่ในอุทาหรณ์เหล่านี้สามารถแปลง อุ เป็น อิ ได้แม้ไม่มีโตเป็นต้นอยู่ท้าย และแปลง มาติ, ปิติศัพท์ กับ นา เป็น มตฺยา และเปตฺยา.
[๑๔] มตฺยา = มาตรา (อันมารดา), เปตฺยา = ปิตรา (อันบิดา)
[๑๕] มตฺยา = มาตรา
[๑๖] ตัวอย่างนี้ มาตีนํ อรรถกถาแก้เป็น อิตฺถีนํ เพื่อแสดงว่า มาติ หมายถึง หญิง ไม่ได้หมายถึง มารดา  และพระคันถรจนาจารย์ยกมาเป็นตัวอย่างในการแปลง อิ ที่ มาตุ เป็นมาติ ที่ไม่มีโตเป็นต้นอยู่ท้าย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น