วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

อีการันต อิตถีลิงค์

อีการนฺติตฺถิลิงฺคราสิ
กลุ่มนามศัพท์อิการันตอิตถีลิงค์
(ปทมาลา)
อิตฺถี                                            อิตฺถี, อิตฺถิโย, อิถฺโย
โภติ อิตฺถิ, โภติ อิตฺถี                        โภติโย อิตฺถี, โภติโย อิตฺถิโย, โภติโย อิถฺโย
อิตฺถิํ, อิตฺถิยํ                                   อิตฺถี, อิตฺถิโย, อิถฺโย
อิตฺถิยา, อิถฺยา                                อิตฺถีหิ, อิตฺถีภิ
อิตฺถิยา, อิถฺยา                                อิตฺถีนํ, อิตฺถิยา
อิตฺถิมฺหา, อิถฺยา                              อิตฺถีหิ, อิตฺถีภิ
อิตฺถิยา, อิถฺยา                                อิตฺถีนํ
อิตฺถิยา, อิถฺยา, อิตฺถิยํ, อิถฺยํ, อิตฺถิมฺหิ    อิตฺถีสุฯ

๙๖. สิมฺหิ นานปุํสกสฺส [ก. ๘๕; รู. ๑๕๐; นี. ๒๓๙ โมค-ทุ. ๖๖; สิสฺมิํ (พหูสุ)]ฯ
เพราะสิ สระอันเป็นทีฆะ ของนามศัพท์ที่ไม่ใช่นปุงสกลิงค์ไม่เป็นรัสสะ.[๑]

สิมฺหิ ปเร อนปุํสกสฺส ปุมิตฺถีนํ ทีฆสฺส รสฺโส น โหติฯ
อิตฺถี ติฏฺฐติ, อิตฺถี ติฏฺฐนฺติฯ
เพราะสิอันเป็นเบื้องหลัง ความเป็นรัสสะของสระที่ไม่ใช่นปุงสกลิงค์ คือ สระอันเป็นทีฆะของปุงลิงค์และอิตถีลิงค์ ย่อมไม่มี.
ตัวอย่าง
อิตฺถี ติฏฺฐติ = ผู้หญิง ย่อมยืนอยู่
อิตฺถี ติฏฺฐนฺติ = ผู้หญิงท. ย่อมยืนอยู่.

๙๗. เอกวจนโยสฺวโฆนํ [ก. ๘๔; รู. ๑๔๔; นี. ๒๓๗, ๒๓๘]ฯ
เพราะวิภัตติเอกวจนะและโยอันเป็นเบื้องหลัง  สระทีฆะที่ไม่ใช่ ฆและโอ ไม่เป็นรัสสะ.

โฆ จ โอ จ โฆ, น โฆ อโฆฯ เอกวจเนสุ จ โยสุ จ ปเรสุ ฆ, โอวชฺชิตานํ สพฺเพสํ ทีฆานํ รสฺโส โหติฯ
อิตฺถิโย ติฏฺฐนฺติ, อิถฺโย ติฏฺฐนฺติฯ
เพราะวิภัตติเอกวจนะท. และโยท. ความเป็นรัสสะของสระทีฆะทั้งปวง เว้นฆ และ โอ ย่อมมี.
ตัวอย่าง
อิตฺถิโย ติฏฺฐนฺติ,  อิถฺโย ติฏฺฐนฺติ = ผู้หญิงท. ย่อมยืนอยู่

๙๘. เค วา [ก. ๒๔๕, ๒๔๖; รู. ๑๕๒, ๗๓; นี. ๔๗๖-๙]ฯ
เพราะค อันเป็นเบื้องหลัง สระทีฆะที่ไม่ใช่ ฆและโอ ไม่เป็นรัสสะ ได้บ้าง.

เค ปเร ฆ, โอวชฺชิตานํ สพฺเพสํ ทีฆานํ รสฺโส โหติ วาฯ
เพราะค (สิ อาลปนะ) อันเป็นเบื้องหลัง  ความเป็นรัสสะของสระทีฆะทั้งปวง เว้นฆ (อา) และ โอ ย่อมมี ได้บ้าง.
ตัวอย่าง
โภติ อิตฺถิ, โภติ อิตฺถี =  ดูก่อนผู้หญิง
โภติโย อิตฺถี, โภติโย อิตฺถิโย, โภติโย อิถฺโย = ดูก่อนผู้หญิงท.

(ทุติยาวิภัตติ)
อิตฺถิํ ปสฺสติฯ
ตัวอย่าง อิตฺถิํ ปสฺสติ เขาเห็น ซึ่งผู้หญิง.

๙๙. ยํ ปีโต [ก. ๒๒๓; รู. ๑๘๘; นี. ๔๕๐]ฯ
ยํ ปีโต
ท้าย ป ใช้ ยํ แทน อํวิภัตติ ได้บ้าง.

โย ปสญฺโญ อีกาโร, ตโต อํวจนสฺส ยํ โหติ วาฯ อิตฺถิยํ ปสฺสติ,
อีอักษร อันใด ที่มีชื่อว่า ป, ท้าย อีอักษรอันชื่อว่า ป นั้น ความเป็น ยํ แห่งอํวิภัตติ ย่อมมี ได้บ้าง.
ตัวอย่าง อิตฺถิยํ ปสฺสติ
เขา ย่อมเห็น ซึ่งผู้หญิง.

เอตฺถ จ ยนฺติ สุตฺตวิภตฺเตน ‘‘พุชฺฌสฺสุ ชินโพธิย’’นฺติ [พุ. วํ. ๒.๑๘๒] สิชฺฌติฯ
ด้วยการแบ่งสูตร ยํ ในสูตรว่า ยํ ปีโต นี้ จึงสำเร็จรูปเป็น (ชินโพธิยํ) ดังในอุทาหรณ์ว่า
พุชฺฌสฺสุ ชินโพธิยํ
พระผู้มีพระภาคตรัสรู้แล้ว ซึ่งโพธิญาณของพระชินเจ้า. [๒]

อิตฺถี ปสฺสติ, อิตฺถิโย ปสฺสติ, อิถฺโย ปสฺสติ,
(ทุติยา. พหุ.)  อิตฺถี ปสฺสติ, อิตฺถิโย ปสฺสติ, อิถฺโย ปสฺสติ. เขา เห็น ซึ่งผู้หญิงท.
 อิตฺถิยา, อิถฺยา, อิตฺถีหิ, อิตฺถีภิ, อิตฺถิยา, อิถฺยา, อิตฺถีนํ, อิตฺถิยา, อิตฺถิมฺหา, อิถฺยา, อิตฺถีหิ, อิตฺถีภิ, อิตฺถิยา, อิถฺยา, อิตฺถีนํ, อิตฺถิยา, อิถฺยา, อิตฺถิยํ, อิถฺยํ, อิตฺถิมฺหิ, อิตฺถีสุฯ
(ตติยา เอก.) อิตฺถิยา, อิถฺยา                                    (ตติยา. พหุ.) อิตฺถีหิ, อิตฺถีภิ
(จตุตถี. เอก.) อิตฺถิยา, อิถฺยา                                  (จตุตถี.พหุ.) อิตฺถีนํ, อิตฺถิยา
(ปัญจมี. เอก) อิตฺถิมฺหา, อิถฺยา                                (ปัญจมี. พหุ.) อิตฺถีหิ, อิตฺถีภิ
(ฉัฏฐี. เอก.) อิตฺถิยา, อิถฺยา                                    (ฉัฏฐี.พหุ.) อิตฺถีนํ
(สัตตมี.เอก.) อิตฺถิยา, อิถฺยา, อิตฺถิยํ, อิถฺยํ, อิตฺถิมฺหิ       (สัตตมี.พหุ.) อิตฺถีสุฯ

*************
นที สนฺทติ, นที สนฺทนฺติ, นทิโย สนฺทนฺติฯ อิวณฺณโลเป สนฺธิสุตฺเตน ยกาเร ปเร ตวคฺคสฺส จวคฺโค, ยสฺส จ ปุพฺพรูปํ [ก. ๙๘; รู. ๘๗ ปิฏฺเฐ; นี. ๑๐๔; ๒๖๒-๓-๔]ฯ นชฺโช สนฺทนฺติ [ก. ๙๘; รู. ๘๗ ปิฏฺเฐ; นี. ๑๐๔; ๒๖๒-๓-๔], นาทฺเยกวจเนสุ นชฺชา กตํ, นชฺชา เทติ, นชฺชา อเปติ, นชฺชา สนฺตกํ, นชฺชา ติฏฺฐติ, นชฺชํ ติฏฺฐติ, เสสรูปานิ อิตฺถิสทิสานิฯ

นทีศัพท์
(ปฐมาวิภัตติ)
(เอก.) นที สนฺทติ = แม่น้ำ ย่อมไหลไป.
(พหุ.) นที สนิทนฺติ = แม่น้ำท. ย่อมไหลไป.

 (ในรูปว่า นชฺโช เป็นต้น) เพราะ ยข้างหลัง แปลง ต วรรคเป็น จวรรค, และแปลง ย เป็น ปุพพรูป ด้วยสูตรแสดงการเข้าสนธิ ในการลบอิวัณณะ.
นชฺโช สนฺทนฺติ = แม่น้ำท. ย่อมไหลไป.
ในฝ่ายเอกวจนะมีนาเป็นต้น
นชฺชา กตํ การงานอันเขาทำแล้วด้วยแม่น้ำ.
นชฺชา เทติ = เขาย่อมให้แก่แม่น้ำ
นชฺชา อเปติ =  เขาย่อมหลีกออกไปจากแม่น้ำ
นชฺชา สนฺตกํ = ทรัพย์มีอยู่ของแม่น้ำ
นชฺชา ติฏฺฐติ, นชฺชํ ติฏฺฐติ = เขายืนอยู่ใกล้แม่น้ำ
รูปที่เหลือสำเร็จรูปเหมือน อิตฺถี ศัพท์.

เอวํ คจฺฉตี คจฺฉนฺตี, สตี สนฺตี, อสตี อสนฺตี, มหตี มหนฺตี, พฺรหฺมตี พฺรนฺตี, โภตี โภนฺตี, ภวิสฺสตี ภวิสฺสนฺตี, คมิสฺสตี คมิสฺสนฺตี, คุณวตี คุณวนฺตี, สีลวตี สีลวนฺตี, สติมตี สติมนฺตี, สิริมตี สิริมนฺตี, กตวตี กตวนฺตี, ภุตฺตาวตี ภุตฺตาวนฺตี, สพฺพาวตี สพฺพาวนฺตี, ยาวตี ยาวนฺตี, ตาวตี ตาวนฺตีฯ กมฺหิ อาคเม รสฺโส, ยาวติกา, ตาวติกาฯ
ศัพท์เหล่านี้แจกเหมือนอิตฺถี ศัพท์เหมือนกัน [๓]
คจฺฉตี, คจฺฉนฺตี (สตรี) ผู้ไปอยู่
สตี, สนฺตี มีอยู่
อสตี,  อสนฺตี ไม่มีอยู่
มหตี,  มหนฺตี ใหญ่
พฺรหฺมตี,  พฺรหฺมนฺตี [๔] มีธรรมประเสริฐ
โภตี,  โภนฺตี ผู้เจริญ
ภวิสฺสตี,  ภวิสฺสนฺตี[๕] วิภัตติอันแสดงอนาคต
คมิสฺสตี,  คมิสฺสนฺตี ผู้จักไป
คุณวตี,  คุณวนฺตี ผู้มีคุณ
สีลวตี,  สีลวนฺตี ผู้มีศีล
สติมตี, สติมนฺตี ผู้มีสติ
สิริมตี, สิริมนฺตี ผู้มีสิริ
กตวตี,  กตวนฺตี ผู้ทำแล้ว
ภุตฺตาวตี,  ภุตฺตาวนฺตี ผู้กินแล้ว
สพฺพาวตี,  สพฺพาวนฺตี ผู้มีทุกสิ่ง
ยาวตี,  ยาวนฺตี มีเท่าใด[๖]
ตาวตี, ตาวนฺตี มีเท่านั้น
ในกรณีที่ มีการลง กอาคม มีการรัสสะ (อีเป็น อิ) เพราะ ก อาคม เช่น ยาวติกา ตาวติกา.

คาวี, ยกฺขี, ยกฺขินี, อารามิกินี, ทณฺฑปาณินี, ทณฺฑินี, ภิกฺขุนี, ปรจิตฺตวิทุนี, มุฏฺฐสฺสตินี, ฆรณี, โปกฺขรณี, อาจรินี, มาตุลานี, คหปตานี อิจฺจาทโยฯ นทาทิ[๗]
ศัพท์เหล่านี้เป็นกลุ่มศัพท์ที่เหมือนนทศัพท์ (นทาทิคณะ) เช่น
คาวี = แม่โค
ยกฺขี, ยกฺขินี = ยักษินี
อารามิกินี = หญิงชาววัด
ทณฺฑปาณินี = ผู้มีไม้เท้าในมือ
ทณฺฑินี = ผู้มีไม้เท้า
ภิกฺขุนี = ภิกษุนี
ปรจิตฺตวิทุนี = ผู้รู้จิตของผู้อื่น
มุฏฺฐสฺสตินี = ผู้มีสติอันหลงแล้ว (หลงลืมสติ)
ฆรณี  = แม่บ้าน
โปกฺขรณี = สระบัว
อาจรินี = อาจารย์หญิง
มาตุลานี = ภรรยาของลุง (ป้าสะใภ้)
คหปตานี = ภรรยาของคฤหบดี[๘]

วิเสสวิธานมุจฺจเตฯ
จะกล่าววิธีการพิเศษ

๑๐๐. นชฺชา โยสฺวาม [นี. ๒๖๒]ฯ
เพราะโย ลง อา อาคม ในที่สุดแห่งนที ได้บ้าง.

โยสุ ปเรสุ นทิยา อนฺเต อามอาคโม โหติ วาฯ
เพราะโยอันเป็นเบื้องหลัง ลงอา เป็นอาคม ในที่สุดแห่ง นที ศัพท์ ได้บ้าง.

นชฺชาโย สนฺทนฺติ, นชฺชาโย สุปติตฺถาโย ติ ปาฬิ, นิมิชาตเก ปน นชฺโชนุปริยายติ, นานาปุปฺผทุมายุตาติ จ นชฺโช จานุปริยาตีติ จ ปาฬิ, ตตฺถ มหาวุตฺตินา สิสฺส โอตฺตํฯ
ดังพระบาฬีว่า
นชฺชาโย สนฺทนฺติ[สํ. นิ. ๓.๒๒๔]
แม่น้ำท. ย่อมไหลไป.
นชฺชาโย สุปติตฺถาโย [ชา. ๒.๒๒.๑๔๑๔]
แม่น้ำท. หยุดนิ่ง (ไม่ไหล)[๙]

แต่มีพระบาฬีในนิมิชาดก ว่า
นชฺโชนุปริยายติ, นานาปุปฺผทุมายุตา [ชา. ๒.๒๒.๕๓๗]
และแม่น้ำสายหนึ่งที่ประกอบด้วยไม้ดอกนานาชนิด ไหลไปล้อมรอบวิมานนั้น

นชฺโช จานุปริยาติ
และแม่น้ำสายหนึ่งที่ประกอบด้วยไม้ดอกนานาชนิด ไหลไปล้อมรอบวิมานนั้น[๑๐]
ซึ่งในตัวอย่างทั้งสองนี้ แปลง สิ เป็น โอ ด้วยมหาสูตร. [๑๑]

อุฏฺเฐหิ เรวเต สุปาปกมฺเม, ทาสา จ ทาสฺโย จ, อนุชีวิโน, พาราณสฺยํ มหาราช, กากราชา นิวาสโก, พาราณสฺยํ อหุ ราชา, รญฺโญ มโน อุมฺมาทนฺตฺยา นิวิฏฺโฐ, อุมฺมาทนฺตฺยา รมิตฺวาน, สิวิราชา ตโต สิยํ,               ทารเกว อหํ เนสฺสํฯ พฺราหฺมณฺยา ปริจารเก ฯ ตถา โยสุ โปกฺขรญฺโญฯ นาทีสุ ปถพฺยา, ปุถพฺยา, โปกฺขรญฺญาฯ สฺมิํมฺหิ ปถพฺยา, ปถพฺยํ, ปุถพฺยา, ปุถพฺยํ, โปกฺขรญฺญา, โปกฺขรญฺญํ, เวตฺรญฺญา, เวตฺรญฺญํ  อิจฺจาทีนิ ทิสฺสนฺติฯ
อุฏฺเฐหิ เรวเต สุปาปกมฺเม [วิ. ว. ๘๖๓]
นี่แน่ะนางเรวดีผู้แสนจะชั่วช้า เจ้าจงลุกขึ้น[๑๒],

ทาสา จ ทาสฺโย จ, อนุชีวิโน [ชา. ๑.๑๐.๑๐๑],
ทาสชายหญิงท.   บุคคลท.รอบข้างที่อาศัยเลี้ยงชีพ[๑๓]

พาราณสฺยํ มหาราช,       กากราชา นิวาสโก
อสีติยา สหสฺเสหิ           สุปตฺโต  ปริวาริโต [ชา. ๑.๓.๑๒๔], [๑๔]
ข้าแต่มหาราช  พญากาชื่อสุปัตตะ มีบริวาร ๘๐,๐๐๐ ตัวแวดล้อม อาศัยอยู่ที่กรุงพาราณสี

พาราณสฺยํ อหุ ราชา [ชา. ๑.๑๖.๑๗๘],
ได้เป็นพระราชาในเมืองพาราณสี.

รญฺโญ มโน อุมฺมาทนฺตฺยา นิวิฏฺโฐ, (ชา. ๒/๗๑)
พระหทัยของพระราชาจดจ่อเฉพาะพระนางอุมมาทันตี,

อุมฺมาทนฺตฺยา รมิตฺวาน,  สิวิราชา ตโต สิยํ [ชา. ๒.๑๘.๗๐],
ต่อจากนั้นพระเจ้ากรุงสีพีพึงได้อภิรมย์กับนางบ้าง 
ทารเกว อหํ เนสฺสํฯ พฺราหฺมณฺยา ปริจารเก [ชา. ๒.๒๒.๒๑๑๑]ฯ
จักนำทารกทั้งหลายไปเป็นทาสรับใช้ของนางพราหมณีเท่านั้น 

ตถา โยสุ โปกฺขรญฺโญฯ
นาทีสุ ปถพฺยา, ปุถพฺยา, โปกฺขรญฺญาฯ
สฺมิํมฺหิ ปถพฺยา, ปถพฺยํ, ปุถพฺยา, ปุถพฺยํ, โปกฺขรญฺญา, โปกฺขรญฺญํ, เวตฺรญฺญา, เวตฺรญฺญํ [เว ตฺรรญฺญา, (นิสฺสย)] อิจฺจาทีนิ ทิสฺสนฺติฯ
ศัพท์อื่น ก็เช่นกัน กล่าวคือ พบรูปดังต่อไปนี้
ในเพราะ โย -  โปกฺขรญฺโญ (โปกฺขรณี + โย)
ในเพราะ นา - เป็นต้น ปถพฺยา (ปถวี + นา ฯลฯ > ยา), ปุถพฺยํ (ปุถวี + นา ฯลฯ > ยา), โปกฺขรญฺญา (โปกฺขรณี + นา ฯลฯ > ยา)
ในเพราะ สฺมิํ - ปถพฺยา (ปถวี + สฺมิํ > ยา), ปถพฺยํ (ปถวี + สฺมิํ > ยํ), ปุถพฺยา (ปุถวี + สฺมิํ > ยา), ปุถพฺยํ (ปุถวี + สฺมิํ > ยํ), โปกฺขรญฺญา (โปกฺขรณี + สฺมิํ > ยา), โปกฺขรญฺญํ (โปกฺขรณี + สฺมิํ > ยํ),เวตฺรญฺญา (เวตฺตรณี + สฺมิํ > ยา), เวตฺรญฺญํ (เวตฺตรณี + สฺมิํ > ยํ)

อีการนฺติตฺถิลิงฺคราสิ นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มนามศัพท์อิตถีลิงค์ ที่เป็นอีการันต์ จบแล้ว

***

อุการนฺติตฺถิลิงฺคราสิ
สิโลโป, เธนุ คจฺฉติ, เธนุโย คจฺฉนฺติ, โยโลเป ทีโฆ, เธนู คจฺฉนฺติ, โภติ เธนุ, โภติ เธนู,โภติโย เธนุโย, โภติโย เธนู, เธนุํ ปสฺสติ, เธนุโย ปสฺสติ, เธนู ปสฺสติ, เธนุยา, เธนูหิ, เธนูภิ, เธนุยา,เธนูนํ, เธนุยา,เธนุมฺหา, เธนูหิ, เธนูภิ, เธนุยา, เธนูนํ, เธนุยา, เธนุยํ, เธนุมฺหิ, เธนูสุฯ
กลุ่มนามศัพท์อิตถีลิงค์ที่เป็นอุการันต์
(ปทมาลา)
เธนุ,                                                       เธนุโย เธนู
โภติ เธนุ, โภติ เธนู,                                   โภติโย เธนุโย โภติโย เธนู
เธนุํ,                                                       เธนุโย
เธนุยา,                                                   เธนูหิ เธนูภิ
เธนุยา,                                                   เธนูนํ
เธนุยา, เธนุมฺหา,                                       เธนูหิ เธนูภิ
เธนุยา,                                                   เธนูนํ
เธนุยา เธนุยํ เธนุมฺหิ,                                  เธนูสุ

ลบ สิ ท้าย เธนุ สำเร็จรูปเป็น  เธนุ
ตัวอย่าง 
เธนุ คจฺฉติ แม่โค ย่อมเดินไป
เธนุโย คจฺฉนฺติ แม่โคท. ย่อมเดินไป

แต่จะเป็นทีฆะเมื่อลบโย สำเร็จรูปเป็น เธนู 
ตัวอย่าง
เธนู คจฺฉนฺติ แม่โคท. ย่อมเดินไป
เธนุํ ปสฺสติ เขาเห็นซึ่งแม่โค
เธนุโย ปสฺสติ เขาเห็นซึ่งแม่โคท.


เอวํ ยาคุ, กาสุ, ททฺทุ, กณฺฑุ, กจฺฉุ, รชฺชุ, กเรณุ, ปิยงฺคุ, สสฺสุ อิจฺจาทโยฯ เธนฺวาทิฯ
ศัพท์ต่อไปนี้ คือ
ยาคุ ข้าวต้ม       
กาสุ หลุม
ททฺทุ โรคเรื้อน              
กณฺฑุ โรคพุพอง  
กจฺฉุ อ้อย
รชฺชุ เชือก         
กเรณุ ช้างพัง     
ปิยงฺคุ                              
สสฺสุ ข้าวกล้า
แจกเหมือน เธนุ (อาทิศัพท์ที่ เธนฺวาทิ มีอรรถปการะ เหมือน)

ธาตุสทฺโท ปน ปาฬินเย อิตฺถิลิงฺโค, สทฺทสตฺถนเย ปุมิตฺถิลิงฺโคฯ มาตุ, ธีตุ, ทุหิตุสทฺทา อิตฺถิ ลิงฺคา, เตสํ รูปํ ปิตาทิคเณ อาคมิสฺสติฯ
ข้อควรทราบ
ธาตุศัพท์ ตามนัยพระบาฬี เป็นอิตถีลิงค์ แต่ตามนัยคัมภีร์ไวยากรณ์ เป็นได้ทั้งปุงลิงค์และอิตถีลิงค์. มาตุ ธีตุ และทุหิตุ ศัพท์ เป็นอิตถีลิงค์, รูป (บทที่ลงวิภัตติ) ของศัพท์เหล่านี้จะมา (แสดง) ในปิตาทิคณะ (ปิตุศัพท์เป็นต้นป
อุการนฺติตฺถิลิงฺคราสิ นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มนามศัพท์อิตถีลิงค์ที่เป็นอุการันต์ จบแล้ว.

****

อูการนฺติตฺถิลิงฺคราสิ
วธู คจฺฉติ, วธู คจฺฉนฺติ, โยสุ รสฺโส, วธุโย คจฺฉนฺติ, โภติ วธุ, โภติ วธู, โภติโย วธู, วธุโย, วธุํ, วธู, วธุโย, วธุยา, วธูหิ, วธูภิ, วธุยา, วธูนํ, วธุยา, วธุมฺหา, วธูหิ, วธูภิ, วธุยา, วธูนํ, วธุยา, วธุยํ, วธูสุฯ
กลุ่มนามศัพท์อิตถีลิงค์ที่เป็นอูการันต์ (แจกเหมือน วธู หญิงสาว[๑๕])
(ปทมาลา)
วธู,                                    วธู วธุโย
โภติ วธุ โภติ วธู,                   โภติโย วธู โภติโย วธุโย
วธุํ                                     วธู วธุโย
วธุยา,                                 วธูหิ วธูภิ
วธุยา,                                 วธูนํ
วธุยา วธุมฺหา,                       วธูหิ วธูภิ
วธุยา,                                 วธูนํ
วธุยา วธุยํ,                          วธูสุ.

ตัวอย่าง
วธู คจฺฉติ หญิงสาวย่อมเดินไป,
วธู คจฺฉนฺติ หญิงสาวท. ย่อมเดินไป
ในเพราะ โย รัสสะได้ สำเร็จรูปเป็น วธุโย, 
ตัวอย่าง
วธุโย คจฺฉนฺติ หญิงสาวท. ย่อมเดินไป

เอวํ ชมฺพู, สรภู, สุตนู, นาคนาสูรู, สํหิโตรู, วาโมรู, ลกฺขณูรู, พฺรหฺมพนฺธู, ภู, จมู อิจฺจาทโยฯ วธาทิ.
ศัพท์ต่อไปนี้ เหมือนกับวธู ศัพท์ คือ
ชมฺพู ต้นหว้า                
สรภู ตุ๊กแก                               
สุตนู มีสรีระพอเหมาะ (สวยงาม)
สํหิโตรู มีขาอ่อนงาม      
วาโมรู มีขาอ่อนชดช้อย                
นาคนาสูรู มีขาอ่อนเหมือนงวงช้าง
ลกฺขณูรู มีขาอ่อนถูกลักษณะ 
พฺรหฺมพนฺธู เผ่าพันธ์แห่งพรหม  
ภู แผ่นดิน
จมู เสนา
ดังนี้เป็นต้น

สาหํ คนฺตฺวา มนุสฺสตฺตํ, วทญฺญู วีตมจฺฉราติ จ โกธนา อกตญฺญู จาติ จ ปาฬิโย, ตสฺมา นีปจฺจยํ วินาปิ กฺวจิ อูการนฺตกิตกสทฺทา อิตฺถิลิงฺคา ภวนฺติฯ
ในพระบาฬีสองแห่งนี้ แสดงว่า ในบางแห่ง ศัพท์ที่ลงกิตกปัจจัยที่เป็นอูการันต์ ก็เป็นอิตถีลิงค์ โดยไม่ต้องลง นีปัจจัยก็ตาม ดังนี้คือ [๑๖]
สาหํ คนฺตฺวา มนุสฺสตฺตํ    วทญฺญู วีตมจฺฉรา [วิ. ว. ๖๓๔]
ข้าพเจ้านั้น ครั้นไปสู่ความเป็นมนุษย์ เป็นผู้รู้จักคำพูดแห่งผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
โกธนา อกตญฺญู จ [ชา. ๑.๑.๖๓]
ธรรมดาหญิงมีนิสัยมักโกรธ  อกตัญญู (เป็นผู้ไม่รู้อุปการะอันเขาทำแล้ว).

อูการนฺติตฺถิลิงฺคราสิ นิฏฺฐิโตฯ
นามศัพท์อิตถีลิงค์ที่เป็นอูการันต์ จบแล้ว.

*********

โอการนฺตราสิ
โคสทฺโท ทฺวิลิงฺโคฯ ตสฺส รูปานิ กานิจิ ทฺวิยตฺถวเสน อิตฺถิยมฺปิ วตฺตนฺติ ปุเมปิ วตฺตนฺติ มิสฺสเกปิ วตฺตนฺติ, กานิจิ อิตฺถิยํ กานิจิ ปุเมฯ อิธ ปน สพฺพานิ ยานิ สโมธาเนตฺวา ทีปิยนฺเตฯ
กลุ่มนามศัพท์ โอการันต์
โคศัพท์ เป็นสองลิงค์ (คือปุงลิงค์และอิตถีลิงค์). รูปวิภัตติของโคศัพท์นั้น บางรูป เป็นไปในอิตถีลิงค์บ้าง ในปุงลิงค์บ้าง ปะปนกันระหว่างสองลิงค์นี้บ้าง ด้วยอำนาจแห่งอรรถทั้งสอง[๑๗], บางรูป เป็นไปในอิตถีลิงค์อย่างเดียว, บางรูปเป็นไปในปุงลิงค์อย่างเดียว. แต่ในที่นี้ ข้าพเจ้าจะแสดงโดยประมวลรูปทั้งปุงลิงค์และอิตถีลิงค์ทั้งสอง.

สิโลโป, โค คจฺฉติ - เอตฺถ จ โคติ อภินฺนสทฺทลิงฺคตฺตา โคโณติปิ ยุชฺชติ, คาวีติปิ ยุชฺชติฯ
เมื่อลง สิ แล้วลบสิ. เช่น โค คจฺฉติ โค ย่อมเดินไป.
ในโคศัพท์นี้ ไม่ว่าจะเป็น โคโณ หรือ คาวี ก็ใช้ได้ เพราะ โคศัพท์ เป็นสัททลิงค์ที่ยังไม่ได้จำแนก (ว่าเป็นลิงค์ใดแน่[๑๘])
(ปทมาลา)
โค                                                                   คาโว, คโว
เห โค                                                               เห คาโว, เห คโว
คาวํ, ควํ, คาวุํ                                                     คาโว, คโว
คาเวน, คเวน, คาวา, ควา                                       โคหิ โคภิ
คาวสฺส, ควสฺส, ควํ                                               โคนํ, คุนฺนํ, ควํ
คาวสฺมา, ควสฺมา, คาวมฺหา, ควมฺหา, คาวา, ควา           โคหิ, โคภิ,
คาวสฺส, ควสฺส, ควํ                                               โคนํ, คุนฺนํ, ควํ,
คาวสฺมิํ, คาวมฺหิ, คาเว, ควสฺมิํ, ควมฺหิ, คเว,                    โคสุ, คาเวสุ, คเวสุ                       
๑๐๑. โคสฺสาคสิหินํสุ คาวควา [ก. ๗๓-๕; รู. ๑๖๙, ๑๗๐, ๑๗๔; นี. ๒๒๔]ฯ
, สิ, หิ, นํวชฺชิตาสุ วิภตฺตีสุ โคสทฺทสฺส คาว, ควาเทสา โหนฺติฯ
๑๐๑. ในเพราะวิภัตติที่ไม่ใช่ ค สิ หิ และนํ ท. คาว และคว เป็นอาเทศ ของโค
ในเพราะวิภัตติท.อันเว้น ค สิ หิ และ นํ คาว และ คว เป็นอาเทศของโคศัพท์.

๑๐๒. อุภโคหิ โฏ [ก. ๒๐๕; รู. ๑๖๐; นี. ๔๒๑]ฯ
อุภ, โคหิ โยนํ โฏ โหติฯ
๑๐๒. ท้าย อุภ และโค โอเป็นอาเทศของ โยท.
โอ เป็นอาเทศของ โยวิภัตติท. (คือ ปฐมา อาลปนะและทุติยา) ที่อยู่ข้างหลังจาก อุภ และ โค.

คาโว, คโว, เห โค, เห คาโว, เห คโว, คาวํ, ควํฯ
คาโว, คโว โคท.,
เห โค แน่ะโค,
เห คาโว, เห คโว แน่ะโคท.,
คาวํ ควํ ซึ่งโค

๑๐๓. คาวุมฺหิ [ก. ๗๖; รู ๑๗๑, ๒๒๖]ฯ
อํมฺหิ โคสฺส คาวุ โหติ วาฯ
๑๐๓. เพราะอํ อาวุ ใช้แทน โค ได้บ้าง
ในเพราะอํ คาวุ เป็นอาเทศของโค ได้บ้าง

คาวุํ, คาโว, คโว, คาเวน, คเวน
คาวุํ ซึ่งโค
คาโว, คโว ซึ่งโคท.
คาเวน, คเวน ด้วยโค

๑๐๔. นาสฺสา
โคสฺส คาว, ควาเทสโต นาวจนสฺส อา โหติ วาฯ
๑๐๔. นา เป็น อา ถ้าอยู่ข้างหลัง คาว และ คว
ท้าย คาว และ คว อันเป็นอาเทสชองโค ใช้ อาแทนนาวิภัตติได้บ้าง

คาวา, ควา, โคหิ, โคภิ, คาวสฺส, ควสฺสฯ
คาวา, ควา ด้วยโค
โคหิ, โคหิ ด้วยโคท.
คาวสฺส ควสฺส แก่โค

๑๐๕. ควํ เสน
เสน สห โคสฺส ควํ โหติ วาฯ
๑๐๕. โคพร้อมทั้ง สวิภัตติ เป็น ควํ ได้บ้าง
ใช้ ควํ แทน โคพร้อมทั้ง สวิภัตติ ได้บ้าง.

ควํ, โคนํฯ
ควํ แก่โค
โคนํ แก่โคท.
๑๐๖. คุนฺนญฺจ นํนา [ก. ๘๑; รู. ๑๗๒; นี. ๒๓๐]ฯ
นํนา สห โคสฺส คุนฺนญฺจ โหติ ควญฺจฯ
๑๐๖. โคศัพท์พร้อมทั้งนํวิภัตติ เป็น คุนฺนํ ได้อีกด้วย
คุนฺนํ และ ควํ เป็นอาเทสของ โคศัพท์พร้อมกับวิภัตติคือนํได้ด้วย.

คุนฺนํ, ควํ, คาวสฺมา, ควสฺมา, คาวมฺหา, ควมฺหา, คาวา, ควา, โคหิ, โคภิ, คาวสฺส, ควสฺส, ควํ, โคนํ, คุนฺนํ, ควํ, คาวสฺมิํ, คาวมฺหิ, คาเว, ควสฺมิํ, ควมฺหิ, คเว, โคสุ, คาเวสุ, คเวสุฯ
คุนฺนํ, ควํ แก่โคท.
คาวสฺมา, ควมฺหา, ควสฺมา, คาวมฺหา, ควมฺหา, คาวา, ควา จากโค
โคหิ, โคภิ จากโคท.
คาวสฺส, ควสฺส, ควํ  แห่งโค
โคนํ, คุนฺนํ, ควํ แห่งโคท.
คาวสฺมิํ, คาวมฺหิ, คาเว, ควสฺมิํ, ควมฺหิ, คเว ในโค
โคสุ, คาเวสุ, คเวสุ ในโคท.

โยสุ คาว, ควาเทเส กเต อโต โยนํ ฏา, เฏ จ โหนฺติ, อุสภา รุกฺขา คาวิโย ควา จ [ชา. ๑.๑.๗๗]ฯ พลควา ทมฺมควา วา คงฺคาย ปารํ อคมิํสุฯ อถาปเร ปตาเรสิ พลคาเว ทมฺมคาเว [ม. นิ. ๑.๓๕๒ (โถกํ วิสทิสํ)] ติ ปาฬิปทานิฯ
ในเพราะโยท. เมื่อแปลง (โค) เป็น คาว และ ควา แล้ว, มีการแปลง โย เป็น อา และ เอ ได้. มีพระบาฬีเป็นตัวอย่างคือ
อุสภา รุกฺขา คาวิโย ควา จ (ชา ๑/๗๗)
โคอุสภะท. ต้นไม้ท., แม่โคท., และโคท. ...[๑๙]
พลควา ทมฺมควา วา คงฺคาย ปารํ อคมิํสุ.
เหล่าโคที่เป็นโคงานและแม่โค  หรือ โครุ่นว่ายไปถึงฝั่งแม่น้ำคงคา.

อถาปเร ปตาเรสิ พลคาเว ทมฺมคาเว (ม.มู.๓๕๑-๓๕๒๒)
จากนั้นจึงต้อนเหล่าโคงานและโครุ่น[๒๐]ไว้ให้ข้ามไป.[๒๑]

เอตฺถ จ คาโว โน ปรมา มิตฺตา, ยาสุ ชายนฺติ โอสธา [สุ. นิ. ๒๙๘] ติ จ, ควา ขีรํ, ขีรมฺหา ทธิ, ทธิมฺหา นวนีตํ, นวนีตมฺหา สปฺปิ, สปฺปิมฺหา สปฺปิมณฺโฑติ จ อิตฺถิยํ วตฺตนฺติฯ คาวิโย ควาติ จ พลควา ทมฺมควา พลคเว ทมฺมคเวติ [ม. นิ. ๑.๓๕๑] จ คาวุํ วา เต ทมฺมิ คาวิํ วา เต ทมฺมีติ จ ควํว สิงฺคิโน สิงฺคนฺติ            [ชา. ๑.๑๒.๓๙] จ ปุเม ภวนฺติฯ อติตฺเถเนว คาโว ปตาเรสิ, อถ โข ตา คาโว มชฺเฌ คงฺคาย อนยพฺยสนํ อาปชฺชิํสู [ม. นิ. ๑.๓๕๐] ติ จ อนฺนทา พลทา เจตา, วณฺณทา สุขทา จ ตา, เอตมตฺถวสํ ญตฺวา, นาสฺสุ คาโว หนิํสุ เตติ [สุ. นิ. ๒๙๘] จ ภทฺทวเสน[๒๒] อิตฺถิยํ อตฺถวเสน มิสฺสเก วตฺตนฺติฯ คุนฺนํ  เจ ตรมานานํ, ควํ เจ               ตรมานานํ, อุชุํ คจฺฉติ ปุงฺคโว, สพฺพา ตา อุชุํ คจฺฉนฺตีติ [ชา. ๑.๔.๑๓๕; ๒.๑๘.๑๐๔] จ มิสฺสเก เอวฯ พลคว, ทมฺมควสทฺทา ชรคฺคว, ปุงฺคว, สคว, ปรคว, ทารควสทฺทา วิย อการนฺตา สมาสสทฺทาติปิ ยุชฺชติฯ มิสฺสกฏฺฐาเนสุ ปน อิตฺถิพหุลตฺตา ตา คาโว เอตา คาโวติอาทินา อิตฺถิลิงฺคเมว ทิสฺสติฯ
อนึ่ง ในความเป็นลิงค์ต่างๆ ของโคศัพท์นี้
โคศัพท์ที่เป็นไปในอิตถีลิงค์ เช่น
คาโว โน ปรมา มิตฺตา, ยาสุ ชายนฺติ โอสธา [สุ. นิ. ๒๙๘]
ปัญจโครสอันเป็นเภสัช ย่อมเกิดในแม่โคเหล่าใด, (พราหมณ์ท. ไม่ฆ่า) ซึ่งแม่โคท. เหล่านั้นที่มีอุปการะยิ่ง,[๒๓]
ควา ขีรํ, ขีรมฺหา ทธิ, ทธิมฺหา นวนีตํ, นวนีตมฺหา สปฺปิ, สปฺปิมฺหา สปฺปิมณฺโฑ
น้ำนม มาจากแม่โค, นมเปรี้ยวมาจากน้ำนม, เนยใสมาจากนมเปรี้ยว, เนยแข็งมาจากเนยใส, ก้อนเนยมาจากเนยแข็ง.

เป็นไปในปุงลิงค์ เช่น
คาวิโย ควา
แม่โคท. และ โคผู้ท.[๒๔]
พลควา ทมฺมควา พลคเว ทมฺมคเว[๒๕] [ม. นิ. ๑.๓๕๑]
โคงาน โครุ่น
คาวุํ วา เต ทมฺมิ คาวิํ วา เต ทมฺมิ
บุรุษนั้นได้ให้แล้วซึ่งโคผู้หรือแม่โคแก่เจ้า
ควํว สิงฺคิโน สิงฺคํ [ชา. ๑.๑๒.๓๙]
เปรียบเหมือนเขาที่เจริญเติบโตของโคหนุ่ม (ที่กำลังเติบโตอยู่)[๒๖]

เป็นไปในอิตถีลิงค์ เนื่องด้วยสัททลิงค์[๒๗] และ ในมิสสกลิงค์[๒๘]เนื่องด้วยอัตถลิงค์ เช่น
อติตฺเถเนว คาโว ปตาเรสิ, อถ โข ตา คาโว มชฺเฌ คงฺคาย อนยพฺยสนํ อาปชฺชิํสุ [ม.๑๒/๓๕๐]
นายโคบาล ต้อนวัวให้ขึ้นแม่น้ำ ณ สถานที่มิใช่ท่า, ต่อมา โคเหล่านั้น จึงถึงความวอดวายกลางแม่น้ำคงคา[๒๙].  
                อนฺนทา พลทา เจตา,               วณฺณทา สุขทา จ ตา,
                เอตมตฺถวสํ ญตฺวา,                 นาสฺสุ คาโว หนิํสุ เต[๓๐] [สุ. / ๒๙๘]
อนึ่ง แม่โคนั้นให้ข้าว ให้กำลัง ให้ผิวพรรณ และความสุข พราหมณ์ทราบถึงประโยชน์ยิ่งใหญ่เช่นนี้จึงไม่ยอมฆ่าแม่โค

เป็นไปในมิสสกลิงค์เท่านั้น เช่น
                คุนฺนํ เจ ตรมานานํ,                 ควํ เจ ตรมานานํ,
                อุชุํ คจฺฉติ ปุงฺคโว,                    สพฺพา ตา อุชุํ คจฺฉนฺติ
เมื่อฝูงโคข้าม (แม่น้ำ)ไป, หาก โคจ่าฝูง ไปตรง, โคท.ทั้งฝูงย่อมไปตรง.[๓๑]

พลคว และ ทมฺมคว ย่อมควรว่าเป็นศัพท์สมาสที่เป็นอการันต์ เช่นเดียวกับ ชรคว (โคเฒ่า) ปุงฺคว (โคจ่าฝูง) สคว (โคของตน) ปรคว (โคผู้อื่น) ทารคว (ภรรยาและโค)[๓๒].
แต่เพราะในฐานะที่เป็นมิสสกลิงค์โดยมากจะเป็นอิตถีลิงค์ จึงพบแต่อิตถีลิงค์เท่านั้น เช่น ตา คาโว เอตา คาโว.
อิติ โอการนฺตราสิฯ
อิตฺถิลิงฺคราสิ นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มนามศัพท์โอการันต์ เป็นดังนี้
กลุ่มนามศัพท์อิตถีลิงค์ จบ




[๑] ๖๖. สิสฺมิํ นานปุํสกสฺสฯ นปุํสกวชฺชิตสฺส นามสฺส สิสฺมิํ รสฺโส น โหติฯ อิตฺถี, ทณฺฑี, วธู, สยมฺภูฯ สิสฺมินฺติ กิํ? อิตฺถิํ, อนปุํสกสฺสาติ กิํ? ทณฺฑิ กุลํฯ (โมคฺ)
[๒] ๗๓. ยํ ปีโตฯ ปสญฺญีโต อํวจนสฺส ยํ วา โหติฯ อิตฺถิยํ, อิตฺถิํฯ ปีโตติ กิํ? ทณฺฑิํ, รตฺติํฯ ตามที่โมค. ระบุว่า ด้วยคำว่า (ปิโต ป + อี + โต) ห้ามอิการันต์อิตถีลิงค์ แม้จะชื่อว่า ป เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงกล่าวถึงการนำหลักการส่วนหนึ่งของสูตรนี้ไปสำเร็จรูป โพธิ ศัพท์ ที่เป็น อิการันต์ชื่อป ได้โดยการตัดแบ่งสูตรว่า ยํ กล่าวคือ ตัด ปีโต ที่เป็นนิมิตออกไป จึงสามารถแปลง อํ เป็น ยํ แม้ที่อยู่ท้าย ป ที่เป็น อิการันต์.
[๓] กลุ่มศัพท์มีคจฺฉนฺต เป็นต้น ท่านแสดงเฉพาะปฐมาวิภัตติเท่านั้น ในวิภัตติที่เหลือเหมือนกับอิตฺถี.
[๔] พฺรหฺมตี และ พฺรหฺมนฺตี (ปาฐะเดิมเป็น พฺรนฺตี ในที่นี้แก้เป็น พฺรหฺมนฺตี เพื่อให้สอดคล้องกับคำว่า พฺรหฺมตี) ยังไม่พบตัวอย่างการใช้ เข้าใจว่า จะมาจาก พฺรหฺม ธรรมอันประเสริฐ หรือ ความประเสริฐ + วนฺตุ ปัจจัย แปลว่า หญิงผู้มีธรรมอันประเสริฐ.  อีกตัวอย่างหนึ่งที่มีรูปคล้ายกัน คือ พฺรหตี หรือ พฺรหฺนฺตี มาจาก พฺรหนฺต (มีความหมายเท่ากับ มหนฺต ใหญ่)  + อี แปลง นฺต เป็น ต เป็น พฺรหตี มีตัวอย่างการใช้ เช่น กาฬี อิตฺถี พฺรหตี ธงฺกรูปา. (เถร. ๒๕๑) [หญิงชื่อ กาฬี มีร่างกายใหญ่ ดำดังกา], อรรถกถาแก้บทว่า พฺรหฺตี เป็น มหาสรีรา [พฺรหตีติ มหาสรีรา (เถร.อ.๑/๓๔๕)].
[๕] ภวิสฺสนฺตี มาจาก ภู ธาตุ + สฺส+นฺตุ ปัจจัย (ด้วยสูตร ๗๗๕. เต สฺสปุพฺพานาคเตฯ  เมื่อจะกล่าวกาลอนาคต ลงอนฺตและมานปัจจัย ที่มี สฺส ปัจจัยมีอยู่หน้า) + อี อิตถีโชตกปัจจัย วิเคราะห์ว่า ภวิสฺสตีติ ภวิสฺสนฺตี วิภัตติอันจักมี ชื่อว่า ภวิสฺสนฺตี. แปลง นฺตุ เป็น ต ได้ บ้าง (ด้วยสูตร ๗๒. นฺตนฺตูนํ งีมฺหิ โต วา (แปลง นฺต และ นฺตุ เป็น ต เพราะอีข้างหลัง ได้บ้าง) สำเร็จรูปเป็น ภวิสฺสตี. แม้รูปว่า คมิสฺสติ คมิสฺสนฺตี ก็มีนัยนี้.
[๖] เช่น ยาวติกา ภูมิ พบในพระบาฬีว่า ยาวติกา ยานสฺส ภูมิ, ยาเนน คนฺตฺวา, (ที.ม. ๑๓๓) พื้นที่อันไปแห่งรถ มีประมาณเท่าใด, ไปแล้ว ด้วยรถ ตลอดทางมีประมาณเท่านั้น.
[๗] อาทิ ศัพท์ใน นทาทิโต มีอรรถว่า ปการะ (เหมือนกัน) หมายถึง เป็นกลุ่มศัพท์ที่ลง อี ปัจจัยเหมือนกัน. ส่วนคัมภีร์ปทรูปสิทธิจัดศัพท์เหล่านี้แยกเป็นนทาทิคณะและอนาทิคณะ. นทาทิคณะ คือ กลุ่มศัพท์ อ การันต์ที่ลง อี ปัจจัย เช่น นท (นที), อิตฺถ (อิตฺถี), มห (มหี),กุมาร (กุมารี), ตรุณ (ตรุณี). ส่วน อนาทิคณะคือ ศัพท์ที่มิใช่นทาทิคณะ คือ กลุ่มศัพท์อื่นจาก อ การันต์ ได้แก่ อุ การันต์ และ โอ การันต์ ซึ่งลง อี ปัจจัย คือ ปุถุ (ปุถวี), โค (คาวี). 
[๘] มาตุลานี และคหปตานี ลง อานี ปัจจัยในอรรถว่า ภริยาของผู้นั้น ด้วยสูตร ๗๗. มาตุลาทิตฺวานี ภริยายํ ลง อานีปัจจัยท้ายมาตุลศัพท์เป็นต้น ในอรรถว่า ภริยาของเขา.
[๙] คือ แทนที่จะเป็น นชฺโช ดังที่แสดงมาข้างต้น ลง อาอาคมด้วยสูตรนี้ (นทีอาโย) , แปลง อี เป็น ย (นทฺย) แปลง ทฺ  เป็น ชฺ (นชฺย), แปลง ย ที่แปลงมาเป็น ชฺปุพพรูป (นชฺชฺ),  (ดูวิธีการในสนธิกัณฑ์) เป็น นชฺชาโย.
[๑๐] สองอุ.นี้ มีข้อความเดียวกัน ทั้งในพระไตรปิฎกฉัฏฐสังคายนาและสยามรัฐ. แต่พระคันถรจนาจารย์ยกมาให้เห็นว่า ปาฐะที่ ๑ เป็น อนุปริยายติ ส่วน อุ.หลังเป็น อนุปริยาติ.
[๑๑] ลง สิ, แปลง เป็น โอ ด้วยมหาสูตร เป็น นทีโอ แปลง อี เป็น ย เพราะ ย แปลง ทฺ เป็น ชฺปุพพรูป = นชฺโช.
[๑๒] อุ.นี้แสดง สิ อาลปนะ เมื่อควรจะเป็น เรวติ  ตามสูตร ๙๘. เค วา (เพราะค อันเป็นเบื้องหลัง สระทีฆะที่ไม่ใช่ ฆและโอ ไม่เป็นรัสสะ ได้บ้าง.) แต่บางอุ.เป็น เรวเต ที่เหมือน ฆ  (อาการันต์) ก็มีบ้าง.
[๑๓] อุ.นี้ แสดง โย ปฐมา นอกจากจะเป็น ทาสิโย ตามสูตร ๙๗. เอกวจนโยสฺวโฆนํ. [เพราะวิภัตติเอกวจนะและโยอันเป็นเบื้องหลัง  สระทีฆะที่ไม่ใช่ ฆและโอ ไม่เป็นรัสสะ]. ยังมีการลบ อี เหมือนรูปใน ในอิการันต์.
[๑๔] อุ.นี้แสดงสฺมิํ โดยมีการลบ อิ เพราะ ยที่แปลงมาจาก สฺมิํ ได้ แม้ในอุ.ข้างหน้าก็มีนัยนี้
[๑๕] วธูศัพท์ โดยทั่วไปหมายถึง ผู้หญิง, หญิงสาว (ธาน. ๒๓๐) แต่บางแห่งหมายถึง หญิงสะใก้และภรรยา ก็มี (พนฺธ พนฺธเน, อู, พนฺธสฺส วธาเทโส จ[ณฺวาทิ ๓], วธูสทฺโท สุณิสาภริยานมฺป วาจโกฯ ธาน.ฎี.๒๓๐)
[๑๖] กรณีที่เป็นนามศัพท์ลงกิตกปัจจัยอูการันต์ เมื่อใช้เป็นวิเสสนะของนามศัพท์ที่เป็นอิตถีลิงค์ ก็ใช้เป็นอิตถีลิงค์ก็ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องลงอิตถีโชตกปัจจัยคือ นี ดังในตัวอย่างพระบาฬีสองแห่งนี้ คือ วทญฺญู (วท ผู้ขอ + ญา + รู) และ อกตญฺญู (น + กต อุปการํ+ ญา ธาตุ + รู) แต่ก็ถือว่า มีเล็กน้อย เพราะท่านใช้คำว่า กฺวจิ กำกับไว้.
[๑๗] หมายถึง อัตถลิงค์ กล่าวคือ สภาพจริงของนามศัพท์ เช่น ที่เป็นแม่โค ก็เป็นอิตถีลิงค์ ที่เป็นโคผู้ ก็เป็นปุงลิงค์.
[๑๘] หรือจะแปลว่า  โคศัพท์เป็นลิงค์ที่ไม่แตกต่าง. เป็นสามัญ เป็นสาธารณะระหว่างปุงลิงค์และอิตถีลิงค์
[๑๙] ความเต็มของตัวอย่างนี้อยู่ในมหาสุปินชาดก (ชา.๑/๗๗)
                        อุสภา รุกฺขา คาวิโย ควา จ,              อสฺโส กํโส สิงฺคาลี จ กุมฺโภ;
                        โปกฺขรณี จ อปากจนฺทนํ,                 ลาพูนิ สีทนฺติ สิลา ปฺลวนฺติฯ
                        มณฺฑูกิโย กณฺหสปฺเป คิลนฺติ,           กากํ สุปณฺณา ปริวารยนฺติ;
                        ตสา วกา เอฬกานํ ภยาหิ,               วิปริยาโส วตฺตติ นยิธ มตฺถีติฯ
แปลความว่า พระเจ้าพรหมทัตตรัสเล่าพระสุบินให้ดาบสโพธิสัตว์ฟังตามที่ได้ทรงสุบินว่า)พญาโคอุสภะ หมู่ไม้ แม่โค โคผู้ ม้า ถาดทองคำ สุนัขจิ้งจอก หม้อน้ำ สระโบกขรณี ข้าวไม่สุก แก่นจันทน์ น้ำเต้าจมน้ำ หินลอยน้ำ กบกลืนกินงูเห่า หงส์ทองทั้งหลายแวดล้อมกา เสือเหลืองกลัวแพะ. ความฝันเป็นไปโดยวิปริต แต่ความฝันนั้นยังไม่เป็นจริงในยุคนี้
[๒๐] คัมภีร์อรรถกถาอธิบาย พลวคาโว (ในคัมภีร์นี้เป็นพลคาโว) ไว้ว่า หมายถึงทั้งโคงาน กล่าวคือ ที่ผ่านการฝึกแล้วสามารถใช้งานได้แล้ว และแม่โคที่มีน้ำนมสมบูรณ์. (พลวคาโวติ ทนฺตโคเณ เจว เธนุโย จฯ ทมฺมคาโวติ ทเมตพฺพโคเณ เจว อวิชาตคาโว จฯ วจฺฉตเรติ วจฺฉภาวํ ตริตฺวา ฐิเต พลววจฺเฉฯ วจฺฉเกติ เธนุปเก ตรุณวจฺฉเกฯ)
[๒๑] พระบาฬีมูลปัณณาสก์ตามที่พระคันถรจนาจารย์อ้างถึงนั้น ในปัจจุบันมีปาฐะดังนี้
ในข้อที่ ๑. เสยฺยถาปิ เต ภิกฺขเว พลวคาโว ทมฺมคาโว ติริยํ คงฺคาย โสตํ เฉตฺวา โสตฺถินา ปารํ อคมํสุ ฯปฯ.
ภิกษุทั้งหลาย  เหล่าโคผู้ที่เป็นจ่าฝูง  เป็นผู้นำฝูงว่ายตัดกระแสแม่น้ำ  คงคาข้ามไปถึงฝั่งได้โดยสวัสดี  แม้ฉันใด.
ในข้อที่ ๒ ก็มีปาฐะว่า อถาปเร ปตาเรสิ พลวคาโว ทมฺมคาโวฯ
เหล่าโคผู้ที่เป็นจ่าฝูง  เป็นผู้นำฝูงว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาข้ามไปถึงฝั่งได้โดยสวัสดี. 
แสดงว่า ในปัจจุบัน ไม่ได้เป็น ควา และ คเว ตามที่ท่านอธิบายไว้ อาจเป็นไปได้ว่า ในยุคของท่านมีปาฐะเป็นอย่างนี้.
[๒๒] ต้นฉบับของคัมภีร์เป็น ภทฺทวเสน แต่ควรเป็น สทฺทวเสน จึงแปลโดยปาฐะว่า สทฺทวเสน ด้วยอำนาจสัททลิงค์.
[๒๓] ความเต็มของคาถานี้มีว่า
                                    ‘‘อุปฏฺฐิตสฺมิํ ยญฺญสฺมิํ,                     นาสฺสุ คาโว หนิํสุ เต;
                                    ยถา มาตา ปิตา ภาตา,                   อญฺเญ วาปิ จ ญาตกา;
                                    คาโว โน ปรมา มิตฺตา,                    ยาสุ ชายนฺติ โอสธาฯ (ขุ.สุ. ๒๙๘.)
พราหมณ์ทั้งหลายผู้ขอข้าวสาร ที่นอน ผ้า เนยใส และน้ำมันมาเก็บรวบรวมไว้โดยธรรมแล้วบูชายัญด้วยของเหล่านั้นในยัญที่บูชานั้น พราหมณ์จะไม่ยอมฆ่าแม่โคเลย เหมือนมารดาบิดา พี่น้อง หรือแม้ญาติอื่น ๆ ไม่ยอมฆ่าแม่โค  เพราะคิดว่าแม่โคเป็นสัตว์มีอุปการะยิ่งใหญ่ซึ่งผลิตปัญจโครสอันเป็นยา
๒๙๙. กโรนฺตา จ เอวเมตสฺมิํ อุปฏฺฐิตสฺมิํ ทานสงฺขาเต ยญฺญสฺมิํ นาสฺสุ คาโว หนิํสุ เต, น เต คาวิโย หนิํสุฯ คาวีมุเขน เจตฺถ สพฺพปาณา วุตฺตาติ เวทิตพฺพาฯ กิํการณา น หนิํสูติ? พฺรหฺมจริยาทิคุณยุตฺตตฺตาฯ อปิจ วิเสสโต ยถา มาตาเป.นาสฺสุ คาโว หนิํสุ เตฯ ตตฺถ ยาสุ ชายนฺติ โอสธาติ ยาสุ ปิตฺตาทีนํ เภสชฺชภูตา ปญฺจ โครสา ชายนฺติฯ
ดังนั้น คาโว ใน บาทคาถาว่า นาสฺสุ คาโว หนิํสุ พระอรรถกถาจารย์ไขเป็น คาวิโย ดังนั้น แสดงว่า บทว่า คาโว (โค + โย) นี้เป็นอิตถีลิงค์ นอกจากนี้ ในข้อความว่า ยาสุ ชายนฺติ โอสธา บทว่า ยาสุ ใช้เป็นวิเสสนะของคาโว ก็เป็นอิตถีลิงค์ (ย + อา + สุ)  จึงสรุปได้ว่า คาโว โน ปรมา มิตฺตา นี้เป็นอิตถีลิงค์ ไม่ใช่ปุงลิงค์ เพราะปัญจโครสมีนมเป็นต้นต้องได้จากแม่โค.
[๒๔] โค ศัพท์ (คาโว,ควา,คเว,ควํ)  เป็นปุงลิงค์ ส่วนในอุทาหรณ์แรก โคศัพท์ (คาโวและควา) เป็นอิตถีลิงค์.
[๒๕] พระบาฬีมูลปัณณาสก์ (จูฬโคปาลกสูตร ม.มู. ๓๕๑) เป็น พลวคาโว ทมฺมคาโว
[๒๖] ควํ ในที่นี้เป็นปุงลิงค์ ตามที่อรรถกถาแก้เป็น โครูปสฺส วิย (ชา.อ. ๑/๓๗/กามชาตกวัณณนา)
[๒๗] ต้นฉบับของคัมภีร์เป็น ภทฺทวเสน แต่ควรเป็น สทฺทวเสน จึงแปลโดยปาฐะว่า สทฺทวเสน ด้วยอำนาจสัททลิงค์.
[๒๘] มิสสกลิงค์ ได้แก่ ในที่แห่งเดียวกันเป็นทั้งปุงลิงค์และอิตถีลิงค์ แต่อย่างไรก็ตาม พระคันถรจนาจารย์ตั้งข้อสังเกตว่า ในฐานะเช่นนี้พบที่ใช้เป็นอิตถีลิงค์เท่านั้น (ดูในย่อหน้าถัดไป)
[๒๙] ในอุทาหรณ์นี้ พระคันถรจนาจารย์ ต้องการจะชี้ให้เห็นว่า โค (คาโว) เป็นอิตถีลิงค์โดยสัททลิงค์ เพราะประโยคหลังประกอบด้วย ตสัพพนามที่เป็นอิตถีลิงค์ (ตา คาโว). อย่างไรก็ตาม พระบาฬีฉบับฉัฏฐสังคายนาปัจจุบันมีดังนี้ :-
            ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว มาคธโก โคปาลโก ทุปฺปญฺญชาติโก, วสฺสานํ ปจฺฉิเม มาเส สรทสมเย, อสมเวกฺขิตฺวา คงฺคาย นทิยา โอริมํ ตีรํ, อสมเวกฺขิตฺวา ปาริมํ ตีรํ, อติตฺเถเนว คาโว ปตาเรสิ อุตฺตรํ ตีรํ สุวิเทหานํฯ อถ โข ภิกฺขเว คาโว มชฺเฌ คงฺคาย นทิยา โสเต อามณฺฑลิยํ กริตฺวา ตตฺเถว อนยพฺยสนํ อาปชฺชิํสุ. (ม.มู.๓๕๐)
            “ภิกษุทั้งหลาย  เรื่องเคยมีมาแล้ว  นายโคบาลชาวแคว้นมคธ  เป็นคนโง่มาแต่กำเนิด  ในสารทสมัยซึ่งเป็นเดือนท้ายแห่งฤดูฝน  มิได้พิจารณาฝั่งนี้และฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำคงคา ต้อนฝูงโคให้ข้ามไปสู่ฝั่งเหนือของชาวแคว้นวิเทหะ  ณ สถานที่ที่มิใช่ท่า  ครั้งนั้น  ฝูงโคว่ายเข้าไปในวังน้ำวนกลางแม่น้ำคงคา  ถึงความพินาศในแม่น้ำนั้น  ข้อนั้นเพราะเหตุไร  เพราะนายโคบาลชาวแคว้นมคธนั้น  เป็นคนโง่มาแต่กำเนิด  ในสารทสมัยซึ่งเป็นเดือนท้ายแห่งฤดูฝน  มิได้พิจารณาฝั่งนี้และฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำคงคา  ต้อนฝูงโคให้ข้ามไปสู่ฝั่งเหนือของชาวแคว้นวิเทหะ ณ สถานที่ที่มิใช่ท่า”.
[๓๐] กรณีนี้เป็นมิสสกลิงค์เพราะ โค ในประโยคแรกเป็นอิตถีลิงค์เพราะประกอบด้วย ตสัพพนามที่เป็นอิตถีลิงค์ (ตา = คาโว) ส่วนประโยคหลังเป็นปุงลิงค์ เพราะประกอบด้วยตสัพพนามเป็นปุงลิงค์ (เต = คาโว)
[๓๑] ตัวอย่างนี้เป็นมิสสกลิงค์ เพราะ ควํ ก็ดี คุนฺนํ ก็ดี เป็นปุงลิงค์ ส่วน สพฺพา ตา (คาวี) ในประโยคหลังเป็นอิตถีลิงค์. อย่างไรก็ตามปาฐะปัจจุบันเป็น
                        ควํ เจ ตรมานานํ,                          อุชุํ คจฺฉติ ปุงฺคโว;
                        สพฺพา คาวี อุชุํ ยนฺติ,                      เนตฺเต อุชุํ คเต สติฯ (ชา.๒/๑๗๐)
            เมื่อฝูงโคข้ามน้ำไป   ถ้าโคจ่าฝูงไปตรง โคทั้งฝูงก็ไปตรงตามกัน  ในเมื่อโคจ่าฝูงไปตรง
[๓๒] หมายความว่า เมื่อเข้าสมาสแล้ว โค ศัพท์ เช่น ปุงฺคโว จะเป็นศัพท์อการันต์ปุงลิงค์ทั่วไป เช่นเดียวกับ ราช ศัพท์ที่เมื่อเข้าสมาสแล้วเป็นอการันต์ จึงมีการสำเร็จรูปตามปทมาลาของอการันต์ปุงลิงค์. ดูหลักการเป็นอการันต์ของรูปเหล่านี้ในสูตรที่ ๓๗๕ รตฺติทิว ทารคว จตุรสฺสา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น