วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

อาการันต์ อิตถีลิงค์

กลุ่มนามศัพท์อาการันต์ในอิตถีลิงค์

อิตฺถิลิงฺคํ ฉพฺพิธํ อาการนฺตํ, อิการนฺตํ, อีการนฺตํ, อุการนฺตํ, อูการนฺตํ, โอการนฺตํฯ
นามศัพท์ที่เป็นอิตถีลิงค์ มี ๖ ชนิด คือ อาการันต์[๑], อีการันต์, อุการันต์ อูการันต์ และ โอการันต์.

(การสำเร็จรูปในนามศัพท์อิตถีลิงค์อาการันต์ “กญฺญาศัพท์”)
ตตฺถ กญฺญาสทฺทมฺหา อตฺถมตฺเต ปฐมาฯ
บรรดาการันต์ ๖ นั้น ลงปฐมาวิภัตติในความเป็นเพียงเนื้อความ ท้ายกญฺญาศัพท์.

๘๒. คสีนํ [ก. ๒๒๐; รู. ๗๔; นี. ๔๔๗]ฯ
๘๒. ลบสิอาลปนะ ที่ชื่อว่า ค และ สิ อื่น

เกนจิ สุตฺเตน อลทฺธวิธีนํ คสีนํ โลโป โหตีติ สิโลโปฯ
ลบ ค และสิทั้่งหลาย ที่ยังไม่ได้ลบด้วยสูตรใดๆ[๒]. ลบสิ ปฐมาวิภัตติ ด้วยสูตรนี้.
(สำเร็จรูปเป็น กญฺญา) เช่น

กญฺญา ติฏฺฐติฯ
กญฺญา ติฏฺฐติหญิงสาว ยืนอยู่.
-----
อามนฺตนตฺเถ ปฐมา, ‘โคสฺยาลปเนติ คสญฺญาฯ
ลงปฐมาวิภัตติในอรรถอาลปนะ, สิ ปฐมาวิภัตติ ในอรรถอาลปนะ ชื่อว่า ค ด้วยสูตร “โคสฺยาลปเน = สิในอรรถอาลปนะ ชื่อค”.

๘๔. ฆพฺรหฺมาทิตฺเว [ก. ๑๑๔, ๑๙๓; รู. ๑๒๒, ๑๗๘; นี. ๒๘๘; ฆพฺรหฺมาทิเต (พหสุ)]ฯ
๘๔. ท้าย ฆ และ พฺรหฺม เป็นต้น สิ อาลปนะ ชื่อ ค เป็น เอ ได้บ้าง.

ฆโต จ พฺรหฺมาทิโต จ คสฺส เอ โหติ วาฯ อาทิสทฺเทน อิสิ, มุนิ, เรวตี, กตฺตุ, ขตฺตุอิจฺจาทิโตปิฯ
เอเป็นอาเทสของ ค ที่อยู่ท้าย ฆ และ พฺรหฺมศัพท์เป็นต้น ได้ก็มี. คำว่า เป็นต้น หมายถึงค ที่อยู่ท้าย อิสิ มุนิ เรวตี กตฺตุ ขตฺตุ ศัพท์เป็นต้น ก็มี เอ เป็นอาเทส เหมือนกัน.

โภติ กญฺเญ, โภติ กญฺญา, โภติโย กญฺญาโย, โภตี กญฺญาโย,
ตัวอย่าง
โภติ กญฺเญ, นี่แน่ะ หญิงสาว
โภติ กญฺญา, นี่แน่ะ หญิงสาว
โภติโย กญฺญาโย, นี่แน่ะ หญิงสาวทั้งหลาย
โภตี กญฺญาโย นี่แน่ะ หญิงสาวทั้งหลาย[๓]
‘‘อุฏฺเฐหิ ปุตฺติก ปพฺพชฺชา ทุกฺกรา ปุตฺติก’’ อิติ เถรีปาฬิ [เถรีคา. ๔๖๕], ตสฺมา เค ปเร มหาวุตฺตินา รสฺโสปิ ยุชฺชติฯ กุสชาตเก ‘‘’’ติปิ [ชา. ๒.๒๐.๔๗] อตฺถิฯ
พระบาฬีเถรีคาถา มีข้อความว่า
อุฏฺเฐหิ ปุตฺติก ปพฺพชฺชา ทุกฺกรา ปุตฺติก
ลูกหญิง ลุกขึ้นเถิด, บรรพชา ทำได้ยากนะลูก.
เพราะฉะนั้น ในเพราะ สิอาลปนะ แม้จะทำรัสสะ ก็ควร กรณีนี้ ให้ทำด้วยมหาสูตร.
ถึงพระบาฬีกุสชาดก ก็มีข้อความว่า
น เม อกาสิ วจนํ, อตฺถกามาย ปุตฺติเก
ลูกหญิง ลูกไม่เชื่อฟังแม่ที่หวังดีเลย.
(กรณีนี้ ถ้าไม่รัสสะ ก็คงอาเทสสิเป็น เอ ตามสูตร)

------
กมฺมตฺเถ ทุติยา, ‘สโร โลโป สเรติ ปุพฺพสรโลโปฯ
ลงทุติยาวิภัตติในความหมายคือกรรม,  (จากนั้น) มีการลบสระหน้า ด้วยสูตร “สโร โลโป สเร” (๒๖ โลปราสิ).  เพราะสระหลัง สระหนัาย่อมถึงการลบไปได้บ้าง.

กญฺญํ ปสฺสติ, กญฺญา ปสฺสติ, กญฺญาโย ปสฺสติฯ
(สำเร็จรูปเป็น กญฺญํ, กญฺญา กญฺญาโย)
ตัวอย่างการใช้ เช่น
กญฺญํ ปสฺสติ (เขา) ย่อมเห็นซึ่งหญิงสาว,
กญฺญา ปสฺสติ, กญฺญาโย ปสฺสติ  (เขา) ย่อมเห็นซึ่งหญิงสาวท.

******
กตฺตริ ตติยาฯ
ลงตติยาวิภัตติ ในความหมายคือกัตตา. นา ถึงความเป็น ย และยา ด้วยสูตรนี้

๘๕. ฆปเตกสฺมิํ นาทีนํ ยยา [ก. ๑๑๑, ๑๑๒; รู. ๑๗๙, ๑๘๓ นี. ๒๘๓, ๒๘๔]ฯ
ฆโต จ ปสญฺเญหิ อิวณฺณุวณฺเณหิ จ เอกตฺเต ปวตฺตานํ นาทีนํ ปญฺจนฺนํ เอกวจนานํ กเมน ย, ยา โหนฺติฯ
๘๕. ฆปเตกสฺมิํ นาทีนํ ยยา
ยและยา เป็นอาเทศ ของวิภัตติคือนาเป็นต้น ฝ่ายเอกวจนะ หนปลายจากฆและป
วิภัตติ ๕ ตัวมี นา เป็นต้น ที่เป็นไปในความเป็นอย่างเดียว (เอกวจนะ) ท้าย ฆ และ อิวัณณะ อุวัณณะ ที่ชื่อว่า ป ย่อมเป็น ย และ ยา ตามลำดับ.

กญฺญาย กตํ, กญฺญาหิ กตํฯ
(สำเร็จรูปเป็น กญฺญาย, กญฺญาหิ)
ตัวอย่างการใช้ เช่น
กญฺญาย กตํ การงาน อันหญิงสาว กระทำแล้ว
กญฺญาหิ กตํ การงาน อันหญิงสาวท. กระทำแล้ว.

เอตฺถ จ ฆโตปิ ยาอาเทโส ทิสฺสติฯ ‘‘เต จ ตตฺถ นิสีทิตฺวา, ตสฺส รุกฺขสฺส ฉายยา’’ [ชา. ๑.๑๔.๑๘๒] ติ จ ‘‘สมนฺตา ปริวาริํสุ, ตสฺส รุกฺขสฺส ฉายยา’’ [ชา. ๑.๑๔.๑๘๙] ติ จ ปาฬิ, ตถา ‘‘สกฺขโรปมยา วเท’’ [สจฺจสงฺเขป ๑๗๖ คาถา], ‘‘พาลทารกลีลยา’’ติ [วิภาวินี ๑๕๔] จ ทิสฺสนฺติฯ มหาวุตฺตินา ฆสฺส รสฺโสฯ
ในตติยาวิภัตตินี้ ยังพบ ยาอาเทศ (ของนาวิภัตติท้าย ฆ) ได้บ้าง. ดังพระบาฬี [มหาวาณิชชาดก คาถาที่ ๑๘๒]
เต จ ตตฺถ นิสีทิตฺวา,         ตสฺส รุกฺขสฺส ฉายยา
วาณิชา สมจินฺเตสุํ,          พาลา โมเหน ปารุตาฯ (ชา. ๑/๑๘๒)
พ่อค้าเหล่านั้นพากันนั่งที่ร่มเงาต้นไทรนั้นนั่นเอง พวกที่เป็นคนโง่ถูกโมหะครอบงำ คิดเห็นพ้องกัน.

และ (คาถาที่ ๑๘๙ ของมหาวาณิชชาดกนั้น)
อปิ สุ วาณิชา เอกา         นาริโย ปณฺณวีสติ;
สมนฺตา ปริวาริํสุ             ตสฺส รุกฺขสฺส ฉายยา  [๔] (ชา. ๑/๑๘๙)
ก็พ่อค้าแต่ละคนมีนารีนางหนึ่ง ส่วนหัวหน้ากองเกวียนมีนารี ๒๕ นาง แวดล้อมอยู่รอบข้างที่ร่มเงาต้นไทรนั้น
ปกรณ์อื่นๆ เช่น
[สัจจสังเขป คาถาที่ ๑๗๖],
ฆฏฺฏิเต อญฺญวตฺถุมฺหิ,      อญฺญนิสฺสิตกมฺปนํ;
เอกาพทฺเธน โหตีติ,          สกฺขโรปมยา วเทฯ
เมื่อวัตถุอื่น [มีจักขุวัตถุเป็นต้น] ถูกอารมณ์กระทบแล้ว ความไหวของภวังคจิตอันอาศัยหทัยวัตถุย่อมมีได้เพราะเนื่องถึงกัน ดังนั้นจึงควรกล่าวด้วยการอุปมาเหมือนน้ำตาลกรวด

[อภิธัมมัตถวิภาวินี ข้อที่ ๑๕๔]
ชนกํ ตํสมานํ วา,             ชวนํ อนุพนฺธติ;
น ตุ อญฺญํ ตทาลมฺพํ,        พาลทารกลีลยา
ตทาลัมพนะนั้น ย่อมติดตามชวนะที่เป็นต้นกำเนิด หรือ ที่เสมอกับตน ย่อมไม่ติดตามชวนะอื่นเหมือนการเอาอย่างของเด็กไร้เดียงสา ฉะนั้น.[๕]

ในกรณีนี้ ให้รัสสะอาเป็น อ ด้วยมหาสูตร.

(ตติยาวิภัตติ พหุวจนะ)
๘๖. สฺมาหิสฺมิํนํ มฺหาภิมฺหิ วา [ก. ๙๙; รู. ๘๑]ฯ
เตสํ กเมน มฺหา, ภิ, มฺหิ โหนฺติ วาฯ เอเต อาเทสา คาถาสุ พหุลํ ทิสฺสนฺติฯ
๘๖. สฺมาหิสฺมิํนํ มฺหาภิมฺหิ วา
มฺหา ภิ และ มฺหิ เป็นอาเทศของ สฺมา หิ และสฺมิํ ได้บ้าง ตามลำดับ.
อาเทส คือ มฺหา ภิ และ มฺหิ ของวิภัตติคือ สฺมา หิ และ สฺมิํ. อาเทศเหล่านี้ พบในคาถาเป็นส่วนมาก.

กญฺญาหิ กตํ, กญฺญาภิ กตํฯ
ตัวอย่างเช่น
กญฺญาหิ กตํ, กญฺญาภิ กตํ  การงาน อันหญิงสาวท. กระทำแล้ว,
----
(จตุตถีจนถึงสัตตมี)
สมฺปทาเน จตุตฺถี, กญฺญาย เทติ, กญฺญานํ เทติ, กญฺญาย อาภตํ วตฺถํ, กญฺญานํ อาภตํ วตฺถํฯ
อปาทาเน ปญฺจมี, กญฺญาย อเปติ, กญฺญมฺหา อเปติรสฺสตฺตํ, กญฺญาหิ กญฺญาภิ อเปติฯ
สมฺพนฺเธ ฉฏฺฐี, กญฺญาย สนฺตกํ, กญฺญานํ สนฺตกํฯ
โอกาเส สตฺตมี, กญฺญาย ติฏฺฐติฯ
จตุตถีวิภัตติลงในอรรถสัมปทานะ (เป็นที่ให้ ความหมายคือ เป็นผู้รับ) เช่น
กญฺญาย เทติ, เขาให้แก่หญิงสาว
กญฺญานํ เทติ เขาให้แก่หญิงสาวท.
กญฺญาย อาภตํ วตฺถํ ผ้า อันเขานำมาแล้ว เพื่อหญิงสาว
กญฺญานํ อาภตํ วตฺถํ ผ้า อันเขานำมาแล้ว เพื่อหญิงสาวท.

ปัญจมีวิภัตติ ลงในอรรถอปาทาน (เป็นแหล่งกำเนิด หรือแยกออก) เช่น
กญฺญาย อเปติ ย่อมหลีกออก จากหญิงสาว
กญฺญมฺหา อเปติ ย่อมหลีกออก จากหญิงสาว. (อา ที่กญฺญา) ทำเป็นรัสสะ
กญฺญาหิ - กญฺญาภิ อเปติ ย่อมหลีกออก จากหญิงสาว.

ฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถสัมพันธะ (ความเกี่ยวเนื่อง) เช่น
กญฺญาย สนฺตกํ ทรัพย์ที่มีอยู่ ของหญิงสาว
กญฺญานํ สนฺตกํ ทรัพย์ที่มีอยู่ ของหญิงสาวท.

สัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถโอกาสะ (เป็นสถานที่ตั้ง) เช่น
กญฺญาย ติฏฺฐติ ยืนอยู่ใกล้หญิงสาว

(ในสัตตมีวิภัตติ ยํ  เป็นอาเทสของ สฺมิํ ด้วยสูตรนี้)
๘๗. ยํ [ก. ๑๑๖; รู. ๑๘๐; นี. ๔๔๓]ฯ
ฆโต จ ปสญฺเญหิ อิวณฺณุวณฺเณหิ จ สฺมิํโน ยํ โหติ วาฯ
๘๗. ยํ
ยํ เป็นอาเทสของสฺมิํ อันเป็นเบื้องหลังจาก ฆ และ ป ได้บ้าง
ยํ เป็นอาเทศของ สฺมิํ ที่อยู่ข้างหลัง ฆ (อา การันต์อิตถีลิงค์) และ อิวัณณะและอุวัณณะ ที่มีชื่อว่า ป (อิ อี อุ อู การันต์อิตถีลิงค์) ได้บ้าง.

กญฺญายํ ติฏฺฐติ, กญฺญาย ติฏฺฐติ, กญฺญาสุ ติฏฺฐติฯ
ตัวอย่าง
กญฺญายํ ติฏฺฐติ, กญฺญาย ติฏฺฐติ ยืนอยู่ใกล้หญิงสาว
กญฺญาสุ ติฏฺฐติ ยืนอยู่ใกล้หญิงสาวท.

สทฺธา เมธา ปญฺญา วิชฺชา, จินฺตา มนฺตา วีณา ตณฺหาฯ
อิจฺฉา มุจฺฉา เอชา มายา, เมตฺตา มตฺตา สิกฺขา ภิกฺขาฯ
ชงฺฆา คีวา ชิวฺหา วาจา, ฉายา อาสา คงฺคา นาวาฯ
คาถา เสนา เลขา สาขา, มาลา เวลา ปูชา ขิฑฺฑาฯ
ปิปาสา เวทนา สญฺญา, เจตนา ตสิณา ปชาฯ
เทวตา วฏฺฏกา โคธา, พลากา ปริสา สภาฯ
อูกา เสผาลิกา ลงฺกา, สลากา วาลิกา สิขาฯ
วิสาขา วิสิขา สาขา, คจฺฉา วญฺฌา ชฏา ฆฏาฯ
เชฏฺฐา โสณฺฑา วิตณฺฑา จ, วรุณา วนิตา ลตาฯ
กถา นิทฺทา สุธา ราธา, วาสนา สีสปา ปปาฯ
ปภา สีมา ขมา ชายา, ขตฺติยา สกฺขรา สุราฯ
โทลา ตุลา สิลา ลีลา, ลาเลลา เมขลา กลาฯ
วฬวาลมฺพุสา มูสา, มญฺชูสา สุลสา ทิสาฯ
นาสา ชุณฺหา คุหา อีหา, ลสิกา วสุธาทโยฯ

ศัพท์เหล่านี้ แจกตาม กญฺญา เช่น
สทฺธา = ความเชื่อ                               เมธา =  ปัญญา                     ปญฺญา = ปัญญา
วิชฺชา = ความรู้,                        จินฺตา = ความคิด                   มนฺตา = ความคิด
วีณา = พิณ                             ตณฺหา = ความอยาก              อิจฺฉา = ความอยาก
มุจฺฉา = ความหลง                    เอชา = ความเคลื่อนไหว          มายา = ความลวง,
เมตฺตา = ความเป็นมิตร              มตฺตา = ประมาณ                  สิกฺขา = ข้อศึกษา  
ภิกฺขา = อาหาร                        ชงฺฆา = แข้ง                        คีวา = คอ                 
ชิวฺหา = ลิ้น                             วาจา = คำพูด,                      ฉายา = เงา  
อาสา = ความหวัง                               คงฺคา = แม่น้ำคงคา                นาวา = เรือ
คาถา = คาถา                          เสนา = กองทัพ                     เลขา = รอยข่วน
สาขา = กิ่ง                              มาลา = พวง                        เวลา = เวลา
ปูชา = บูชา                             ขิฑฺฑา = การเล่น                   ปิปาสา = ความกระหาย
เวทนา = ความเสวยอารมณ์         สญฺญา = ความจำได้และหมายรู้, เจตนา = สภาพจัดแจง
ตสิณา = ความสะดุ้ง                  ปชา = เหล่าสัตว์                    เทวตา = เทวดา
วฏฺฏกา = นกคุ่ม                       โคธา = เหี้ย,                        พลากา = นกกระยาง          
ปริสา = บริษัท                         สภา = ที่ประชุม                              อูกา = เล็น
เสผาลิกา = ดอกสุพรรณิการ์        ลงฺกา = เกาะลังกา,                 สลากา = เข็ม (ไม้สลาก)
วาลิกา = ทราย                         สิขา = เปลว                         วิสาขา = เดือนวิสาขะ
วิสิขา = ถนน                           สาขา = กิ่งไม้ **,                   คจฺฉา = หญิงผู้มีพุ่มไม้ **
วญฺฌา = หญิงหมัน                    ชฏา = มวยผม                      ฆฏา = กลุ่ม
เชฏฺฐา = พี่สาว                         โสณฺฑา = งวง                      วิตณฺฑา = พูดหลอกลวง
วรุณา = พระพิรุณ                     วนิตา = หญิงสาว                  ลตา = เถาวัลย์ฯ
กถา = คำพูด                           นิทฺทา = ความหลับ                สุธา = เครื่องฉาบ
ราธา = ความผิด                       วาสนา = ความอบรม              สีสปา = ต้นประดู่ลาย
ปปา = บ่อน้ำ                           ปภา = แสงสว่าง                   สีมา = เขตแดน
ขมา = ความอดโทษ                  ชายา = พระมเหสี                  ขตฺติยา = กษัตริย์
สกฺขรา = ก้อนกรวด (น้ำตาลกรวด) สุรา = เหล้า                         โทลา = เอียง, ไม่มั่นคง
ตุลา = ความเสมอ                     สิลา = หิน                           ลีลา = การเลียนแบบ,
ลาลา = น้ำลาย                         เอลา = น้ำลาย                      เมขลา = เครื่องคาดเอว  
กลา = เสี้ยว                            วฬวา = ม้าตัวเมีย                 อลมฺพุสา=นางอัปสร(นางฟ้า) มูสา = เบ้าหลอม                           มญฺชูสา = หีบ                       สุลสา = สตรีผู้มีผ้าแดง**
ทิสา = ทิศ                               นาสา = จมูก                        ชุณฺหา = แสงจันทร์
คุหา = ถ้ำ                               อีหา = ความเพียร                  ลสิกา = ไขข้อ
วสุธา = แผ่นดิน.

** (๑) คำว่า คจฺฉา มาจาก คจฺฉ พุ่มไม้ + ณ อัสสัตถิตัทธิต จึงหมายถึง หญิงที่มีพุ่มไม้ ซึ่งเป็นต้นไม้ประดับเล็กๆ.  อย่างไรก็ตามยังไม่แน่ใจว่า ท่านใช้หมายถึงความหมายนี้หรือเปล่า. อีกกรณีหนึ่ง ถ้าเป็น กจฺฉา จะแปลว่า รักแร้. ในที่นี้แปลไปตามปาฐะที่ปรากฏ.
** (๒) คำว่า สาขา ซ้ำกัน ๒ ตัว เข้าใจว่า เกิดการผิดพลาดในขั้นตอนบางอย่าง อาจใช้คำอื่นที่มีความเป็นไปได้ เช่น สาลา ศาลา เป็นต้น
** (๓) คำว่า สุลสา มาจาก สุลส คือ ผ้าที่ย้อมด้วยเมล็ดแสด หรือดอกคำซึ่งมีสีแดง + ณ อัสสัตถิตัทธิต หมายถึง หญิงผู้มีผ้าดังกล่าว.  ส่วนในคัมภีร์สุลสชาดกและเขตตูปมาเปตวัตถุเป็นชื่อของหญิงนครโสภิณีคนหนึ่ง.

****************






[๑] การนฺต คือ อักษรสุดท้ายของนามศัพท์ อาการนฺต คือ นามศัพท์ที่มีอาเป็นต้นเป็นอักษรที่สุด ดังคัมภีร์ปทรูปสิทธิฎีกาแสดงว่า อกาโร อนฺโต ปริยนฺโต อสฺสาติ อการนฺโต ออักษร เป็นที่สุด คือ สุดท้ายของศัพท์ใด ศัพท์นั้น ชื่อว่า อการนฺต นามศัพท์มี ออักษรเป็นที่สุด.  คัมภีร์นิรุตติทีปนี ยกอิตถีลิงค์แสดงก่อน เข้าใจว่า เป็นการแสดงให้ต่อเนื่องจากอิตถิปัจยราสิ การแสดงการเป็นอิตถีลิงค์โดยการลงปัจจัย
[๒] มีการลบ สิ อาลปนะที่ชื่อ ค และ สิอื่นๆทั้งหลาย ที่มีวิธีอันไม่ได้แล้ว ด้วยสูตรใดๆ. ในอุทาหรณ์ กญฺญา เท่านั้น เป็นรูปที่สำเร็จด้วยสูตรนี้ ส่วน กริยาว่า ติฏฺฐติ เพิ่มเข้ามาเพื่อแสดงความเป็นลิงคัตถะของ กญฺญา เท่านั้น. หมายความว่า ให้เห็นหน้าที่ของ กญฺญา ที่ลงปฐมาวิภัตติด้วยสูตรนี้.
[๓] ทำไมไม่เป็น โภตี กญฺญา ? รูปสิทธิเป็น โภติโย กญฺญา, กญฺญาโย.
[๔] ข้อนี้สอดคล้องกับที่คัมภีร์อรรถกถาอธิบายโดยรูปของ ยอาเทศ ว่า ฉายยาติ ฉายาย.
[๕] คัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินีอัตถโยชนา (๒/๔๔๖/๓๖๗) อธิบายว่า รูปนี้เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถปฐมา โดยมีความหมายว่า อนุกรณ (เลียนแบบ หรือทำตามอย่าง). ส่วนคัมภีร์มณิสารมัญชูสา(๑/๔๒๓) อธิบายว่า วิชมฺภน (การเล่น) หรือ กีฬน (สนุกสนาน). ทั้งสองคัมภีร์มีความเห็นว่า เดิมเป็น ลีลาย แต่มีการรัสสะเป็น ลีลย แล้วทีฆะเป็น ลีลยา อีกครั้ง เนื่องจากข้อบังคับตามฉันทลักษณ์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น