วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

อิการันต์ อิตถีลิงค์

อิการนฺติตฺถิลิงฺคราสิ
กลุ่มนามศัพท์อิการันตอิตถีลิงค์
คสีนนฺติ สิโลโปฯ รตฺติ ติฏฺฐติ, รตฺติโย ติฏฺฐนฺติฯ
(ปฐมาวิภัตติ : เอกวจนะ - รตฺติ ราตรี) [๑]
ลบ สิวิภัตติท้ายนามศัพท์ด้วยสูตร “คสีนํ [ลบสิอาลปนะ ที่ชื่อว่า ค และ สิ อื่น]
ตัวอย่าง
รตฺติ ติฏฺฐติ = ราตรี ย่อมดำรงอยู่.

อาการันต์ อิตถีลิงค์

กลุ่มนามศัพท์อาการันต์ในอิตถีลิงค์

อิตฺถิลิงฺคํ ฉพฺพิธํ อาการนฺตํ, อิการนฺตํ, อีการนฺตํ, อุการนฺตํ, อูการนฺตํ, โอการนฺตํฯ
นามศัพท์ที่เป็นอิตถีลิงค์ มี ๖ ชนิด คือ อาการันต์[๑], อีการันต์, อุการันต์ อูการันต์ และ โอการันต์.

อีการันต อิตถีลิงค์

อีการนฺติตฺถิลิงฺคราสิ
กลุ่มนามศัพท์อิการันตอิตถีลิงค์
(ปทมาลา)
อิตฺถี                                            อิตฺถี, อิตฺถิโย, อิถฺโย
โภติ อิตฺถิ, โภติ อิตฺถี                        โภติโย อิตฺถี, โภติโย อิตฺถิโย, โภติโย อิถฺโย
อิตฺถิํ, อิตฺถิยํ                                   อิตฺถี, อิตฺถิโย, อิถฺโย
อิตฺถิยา, อิถฺยา                                อิตฺถีหิ, อิตฺถีภิ
อิตฺถิยา, อิถฺยา                                อิตฺถีนํ, อิตฺถิยา
อิตฺถิมฺหา, อิถฺยา                              อิตฺถีหิ, อิตฺถีภิ
อิตฺถิยา, อิถฺยา                                อิตฺถีนํ
อิตฺถิยา, อิถฺยา, อิตฺถิยํ, อิถฺยํ, อิตฺถิมฺหิ    อิตฺถีสุฯ

ทวิภาวสนธิ จบสนธิกัณฑ์

ทฺวิภาวสนฺธิ

ทวิภาวสนธิ
อาคมสนธิ คือ วิธีการเชื่อมบทโดยซ้อนอักษร

อถ ทฺวิภาวสนฺธิ ทีปิยเตฯ
ข้าพเจ้าจะแสดงทวิภาวสนธิ คือ การเชื่อมบทโดยการทำอักษร ๒ สองตัว (ซ้อน) สืบไป

ทฺวิภาโว ติวิโธฯ ตตฺถ ปกฺกโม, ปรกฺกโม อิจฺจาทิ พฺยญฺชนทฺวิตฺตํ นามฯ รุกฺขํ รุกฺขํ สิญฺจติ อิจฺจาทิ วิภตฺยนฺตปททฺวิตฺตํ นามฯ ติติกฺขา, ติกิจฺฉา, ชคมา, ชคมุ อิจฺจาทิ ธาตุปททฺวิตฺตํ นามฯ
ทวิภาวะ (การซ้อน) มี ๓ ชนิด.
๑. ซ้อนพยัญชนะ เช่น
ปกฺกโม พากเพียร
ปรกฺกโม บากบั่น.
๒. ซ้อนบทที่มีวิภัตติเป็นที่สุด (ลงวิภัตติแล้ว) เช่น
รุกฺขํ รุกฺขํ สิญฺจติ
รดน้ำต้นไม้ทุกต้น.
๓. ซ้อนพยัญชนะต้นธาตุ เช่น
ติติกฺขา ความอดกลั้น
ติกิจฺฉา ความรักษา
ชคมา เขาไปแล้ว
ชคมุ เขาไปแล้ว